พบผลลัพธ์ทั้งหมด 222 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3916/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินมรดก: การครอบครอง, การโอน, และขอบเขตการฟ้องร้อง
แม้จะได้ความว่าก่อนตาย พ. ทำพินัยกรรมยกที่ดินโฉนดเลขที่ 20218 ซึ่งเดิมเป็นที่ดิน น.ค. 3 เล่มที่ 17 เลขที่ 805 ที่ 18/2524 ให้แก่ บ. ก็ตาม แต่ขณะนั้นที่ดินพิพาทยังไม่มีการออกโฉนดหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ตาม พ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ.2511 จึงยังเป็นที่ดินของรัฐ การทำพินัยกรรมยกที่ดินพิพาทให้แก่ บ. มิใช่การตกทอดโดยทางมรดก จึงขัดกับ พ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ.2511 มาตรา 12 วรรคหนึ่ง อย่างไรก็ตามการที่ พ. ได้รับอนุญาตให้เข้าไปทำประโยชน์ในที่ดิน พ. จึงมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท ซึ่งสิทธิดังกล่าวถือเป็นทรัพย์มรดกอย่างหนึ่ง ย่อมตกแก่ทายาทโดยธรรมของ พ. ข้อเท็จจริงเชื่อได้ว่าหลังจาก พ. ถึงแก่ความตาย ทายาทของ พ. ได้ตกลงให้ใส่ชื่อ บ. ในหนังสือแสดงการทำประโยชน์ และการที่ได้มีการออกโฉนดที่ดินเป็นชื่อของ บ. เป็นกรณีที่ทายาทของ พ. ให้ บ. ดำเนินการตาม พ.ร.บ. ดังกล่าว ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่เป็นส่วนของจำเลยและบุตรของ พ. คนอื่นรวมอยู่ด้วย บ. เป็นแต่เพียงมีชื่อในโฉนดแทนบุตรคนอื่นเท่านั้น บ. ไม่มีสิทธิทำพินัยกรรมยกที่ดินพิพาททั้งแปลงให้แก่ อ. อ. จึงไม่มีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในที่ดินพิพาท สิทธิของโจทก์ผู้รับโอนต่อมาก็คงมีสิทธิในทำนองเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2871/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความคล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้าและโอกาสสับสนของผู้บริโภคเป็นเหตุต้องห้ามการจดทะเบียน
ในการพิจารณาว่าเครื่องหมายการค้าที่โจทก์ยื่นขอจดทะเบียนกับเครื่องหมายการค้าที่โอเอซิส แฟชั่นส์ ลิมิเต็ด ได้จดทะเบียนไว้แล้วคล้ายกันจนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าหรือไม่นั้น ต้องพิจารณาจากภาพรวมของเครื่องหมายการค้า ลักษณะเด่น และสำเนียงเรียกขานในเครื่องหมายการค้าทั้งสองว่าคล้ายกันเพียงใด ตลอดจนพิจารณาว่ารายการสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าทั้งสองเป็นสินค้าจำพวกเดียวกันหรือต่างจำพวกกันแต่มีลักษณะอย่างเดียวกัน จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าหรือไม่ ทั้งต้องคำนึงถึงช่องทางการจำหน่ายสินค้าและกลุ่มผู้บริโภคสินค้านั้น ๆ เป็นสำคัญว่าเครื่องหมายการค้าดังกล่าวจะช่วยให้กลุ่มผู้บริโภคสามารถแยกแยะเจ้าของสินค้า หรือแสดงความเชื่อมโยงระหว่างสินค้ากับเจ้าของสินค้าได้หรือไม่ เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบเครื่องหมายการค้าที่โจทก์ยื่นขอจดทะเบียนกับเครื่องหมายการค้าคำว่า OASIS ที่โอเอซิส แฟชั่นส์ ลิมิเต็ด ได้จดทะเบียนไว้แล้วนั้น ต่างก็มีคำว่า OASIS เป็นสาระสำคัญหรือลักษณะเด่นเช่นเดียวกัน แม้เครื่องหมายการค้าของโจทก์จะมีรูปต้นมะพร้าวประดิษฐ์ประกอบอยู่ที่ด้านหลังด้วย แต่ก็เป็นเพียงภาคส่วนประกอบเท่านั้น สำหรับเสียงเรียกขาน เครื่องหมายการค้าของโจทก์อาจเรียกขานได้ว่า โอเอซิส หรือโอเอซิส ต้นมะพร้าว ส่วนเครื่องหมายการค้าของโอเอซิส แฟชั่นส์ ลิมิเต็ด อาจเรียกขานได้ว่า โอเอซิส นับได้ว่ามีเสียงเรียกขานใกล้เคียงกัน เครื่องหมายการค้าทั้งสองจึงมีรูปลักษณะและเสียงเรียกขานคล้ายกันอย่างมาก ซึ่งโจทก์ก็ไม่ได้โต้แย้งในส่วนนี้ แต่ความคล้ายกันดังกล่าวจะถึงขนาดทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าหรือไม่นั้น ย่อมต้องพิจารณาจากรายการสินค้าที่ขอจดทะเบียน ช่องทางการจำหน่ายสินค้า และกลุ่มสาธารณชนผู้บริโภคสินค้าของโจทก์และผู้บริโภคสินค้าของโอเอซิส แฟชั่นส์ ลิมิเต็ด เป็นสำคัญด้วย ซึ่งเมื่อพิจารณาเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ยื่นขอจดทะเบียนเพื่อใช้กับสินค้าในจำพวกที่ 25 รายการสินค้า เสื้อ (ยกเว้นเสื้อชั้นใน) เสื้อกีฬา กางเกง (ยกเว้นกางเกงกีฬา) กางเกงชั้นใน เข็มขัด รองเท้า (ยกเว้นรองเท้ากีฬา) เสื้อสำหรับเด็ก หมวก ตามคำขอจดทะเบียนเลขที่ 790118 ซึ่งเป็นสินค้าประเภทเครื่องแต่งกาย ส่วนเครื่องหมายการค้าของโอเอซิส แฟชั่นส์ ลิมิเต็ด ที่ได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้แล้วนั้นใช้กับสินค้าในจำพวกที่ 18 รายการสินค้า หนังฟอกและหนังเทียม หีบเดินทางและกระเป๋าเดินทาง กระเป๋าเดินทางขนาดเล็ก กระเป๋าสะพายนักเรียน กระเป๋าหนังใส่ชุดเครื่องใช้เดินทาง กระเป๋าใส่เครื่องสำอาง ถุงใส่ของทำด้วยหนัง กระเป๋าสะพาย กระเป๋าที่เปิดออกสองข้างที่มีสายรัด เครื่องสะพายหลัง กระเป๋าจ่ายของ กระเป๋าใส่ของใช้ชายหาด กระเป๋าถือ กระเป๋าใส่เอกสาร กระเป๋าใส่เงิน กระเป๋าใส่กุญแจ กระเป๋าใส่บัตรเครดิต กระเป๋าใส่บัตรธุรกิจ กระเป๋าใส่สตางค์ ร่มและร่มกันแดด ไม้เท้า ตามทะเบียนเครื่องหมายการค้าเลขที่ ค205612 ซึ่งเป็นสินค้าที่ใช้โดยการพกพาติดตัวหรือใช้เป็นส่วนประกอบเสริมกับเครื่องแต่งกาย จึงมีลักษณะการใช้ควบคู่หรืออยู่เคียงกับเครื่องแต่งกายของผู้บริโภคโดยทั่วไป แม้จะเป็นการจดทะเบียนเพื่อใช้กับสินค้าต่างจำพวกกัน แต่สินค้ามีลักษณะเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันดังกล่าว ผู้บริโภคสินค้าก็เป็นกลุ่มเดียวกัน หากไม่ได้พิจารณาเครื่องหมายการค้าโดยละเอียดหรือไม่ได้นำเครื่องหมายการค้ามาพิจารณาเปรียบเทียบกัน หรือใช้แต่เสียงเรียกขานของเครื่องหมายการค้าในการเลือกซื้อสินค้า โดยไม่ได้สังเกตลักษณะของเครื่องหมายการค้าโดยตรงแล้ว ก็มีโอกาสที่จะสับสนในการเลือกสินค้าหรือแยกแยะเจ้าของสินค้าได้ ถือได้ว่าสินค้ามีลักษณะอย่างเดียวกัน เครื่องหมายการค้าของโจทก์จึงคล้ายกับเครื่องหมายการค้าคำว่า OASIS ของโอเอซิส แฟชั่นส์ ลิมิเต็ด จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า อันต้องห้ามมิให้รับจดทะเบียนตามมาตรา 13 แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2465-2469/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า: ลักษณะบ่งเฉพาะ, การพิจารณาคำว่า DATA, และขอบเขตการบังคับใช้คำพิพากษา
เครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการคำว่า ของโจทก์ เป็นการนำคำว่า "NTT" ย่อมาจาก Nippon Telegraph and Telephone ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของชื่อนิติบุคคลของโจทก์ มารวมกับคำว่า "DATA" แม้โจทก์อ้างว่าคำว่า เรียงติดกันเป็นคำเดียว แต่เมื่อพิเคราะห์คำดังกล่าวแล้วเห็นได้ว่าคำดังกล่าวมีระยะห่างระหว่างคำว่า "NTT" กับคำว่า "DATA" มากกว่าตัวอักษรอื่น จึงยังคงมองแยกส่วนออกได้เป็นสองคำ สอดคล้องกับที่โจทก์ก็ระบุเสียงเรียกขานในคำขอจดทะเบียนว่า "เอ็นทีที ดาต้า" แสดงว่ามีเสียงเรียกขานแบ่งเป็นสองคำเช่นกัน เครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการของโจทก์คำว่า จึงไม่ได้เรียงติดกันเป็นคำเดียว แต่ประกอบไปด้วยสองภาคส่วน เมื่อพิจารณาในส่วนของคำว่า "NTT" ไม่ปรากฏความหมายในพจนานุกรมและมีลักษณะเป็นอักษรโรมันตัวพิมพ์ใหญ่ธรรมดาเรียงติดกัน โดยคำดังกล่าวไม่ได้เป็นเส้นทึบหนาแตกต่างจากตัวอักษรอื่น และตัวอักษร T ก็หาได้เขียนติดกันโดยส่วนหัวด้านบนเป็นเส้นตรงเชื่อมติดต่อกัน จึงไม่มีลักษณะประดิษฐ์ ส่วนคำว่า "DATA" โจทก์ระบุคำแปลในคำขอจดทะเบียนว่า คำว่า "ดาต้า" แปลว่า ข้อมูล และเมื่อนำคำดังกล่าวมาวางอยู่หลังคำว่า "NTT" เสียงเรียกขานอ่านออกเสียงได้ว่า "เอ็นทีที ดาต้า" โดยคำว่า "DATA" ยังคงอ่านออกเสียง "ดาต้า" และยังมีความหมายว่า ข้อมูล เหมือนเดิม แม้โจทก์จะได้ดัดแปลงคำว่า "DATA" โดยให้ตัวอักษร a เป็นอักษรโรมันตัวพิมพ์เล็กมีลักษณะแตกต่างจากตัวอักษรตัวอื่นในเครื่องหมายที่เป็นอักษรโรมันตัวพิมพ์ใหญ่ และให้ตัวอักษร a มีขนาดและความสูงเท่ากับตัวอักษรอื่น แต่ก็เป็นเพียงรายละเอียดปลีกย่อยเล็กน้อย ดังนั้นลำพังการนำคำที่มีความหมายมารวมกับตัวอักษรบางตัวในลักษณะเช่นนี้ จึงยังไม่มีลักษณะถึงขนาดที่จะเป็นคำที่ประดิษฐ์ขึ้นอันมีลักษณะบ่งเฉพาะ
ส่วนปัญหาว่าเครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการของโจทก์คำว่า ทั้งห้าคำขอ เป็นคำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าหรือบริการโดยตรงหรือไม่นั้น เห็นว่า แม้เครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการของโจทก์คำว่า ไม่มีลักษณะประดิษฐ์ แต่การเลือกเอาตัวอักษรมาเรียงกันในลักษณะเช่นนี้ ไม่น่าที่จะมีการเรียงตัวอักษรโรมันลักษณะเช่นเดียวกันนี้เป็นการทั่วไป ประกอบกับคำดังกล่าวย่อมาจาก Nippon Telegraph and Telephone ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของชื่อนิติบุคคลของโจทก์ ไม่ใช่คำย่อที่มาจากคำที่เกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์ใกล้ชิดกับลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าหรือบริการของโจทก์โดยตรงจนถึงขนาดที่ว่าทำให้สาธารณชนที่พบเห็นคำย่อดังกล่าวทราบถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าหรือบริการนั้นทันที หรือหากสาธารณชนใช้วิจารณญาณเพียงเล็กน้อยก็สามารถเข้าใจได้ เพราะเป็นคำย่อที่สาธารณชนทราบว่าสื่อถึงคำที่บรรยายหรือพรรณนาถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าหรือบริการนั้นโดยตรง อีกทั้งยังเป็นภาคส่วนของคำที่อยู่ด้านหน้า และใช้เป็นส่วนสำคัญในการเรียกขาน คำว่า "NTT" จึงมีลักษณะเด่นทำให้สาธารณชนโดยทั่วไปจดจำและแยกความแตกต่างระหว่างสินค้าหรือบริการที่ใช้เครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการของโจทก์จากสินค้าหรือบริการอื่นได้ ถือเป็นสาระสำคัญของเครื่องหมายและมีลักษณะบ่งเฉพาะ ส่วนคำว่า "DATA" ตามพจนานุกรม มีความหมายว่า ข้อมูล สถิติ จึงมีความหมายกว้าง มิได้จำกัดว่าต้องสื่อถึงข้อมูลเพียงอย่างเดียว อีกทั้งเป็นคำธรรมดาทั่วไปที่สามารถสื่อไปถึงสินค้าหรือบริการได้หลายชนิด คำว่า "DATA" จึงเป็นเพียงส่วนประกอบของคำว่า "NTT" ซึ่งเป็นคำหลัก เมื่อการพิจารณาว่าเครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการใดมีลักษณะบ่งเฉพาะหรือไม่ต้องพิจารณาองค์ประกอบโดยรวมของทั้งเครื่องหมาย การที่ตัวอักษรทั้งสองคำมีขนาดเท่ากันและเรียงต่อกันเป็นลำดับ โดยคำว่า "NTT" ซึ่งเป็นสาระสำคัญของเครื่องหมายไม่ใช่คำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าหรือบริการของโจทก์โดยตรงและมีลักษณะบ่งเฉพาะ เครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการของโจทก์คำว่า จึงไม่ได้เกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์โดยตรงกับลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าหรือบริการตามคำขอทั้งห้าคำขอโดยตรงจนถึงขนาดทำให้สาธารณชนทราบถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าหรือบริการนั้นทันที หรือหากสาธารณชนใช้วิจารณญาณเพียงเล็กน้อยก็สามารถเข้าใจได้ในทันที เพราะเป็นคำที่บรรยายหรือพรรณนาถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าหรือบริการนั้นโดยตรง ถือได้ว่าเครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการของโจทก์คำว่า เป็นคำที่ไม่ได้เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าหรือบริการนั้นโดยตรง และมีลักษณะบ่งเฉพาะ
อย่างไรก็ตามคำว่า "DATA" ซึ่งแปลว่า ข้อมูล สถิติ เมื่อพิจารณากับสินค้าหรือบริการบางชนิดของโจทก์ในแต่ละคำขอเห็นได้ว่าเป็นคำที่บ่งบอกถึงลักษณะของสินค้าหรือบริการของโจทก์ที่มีความเกี่ยวข้องกับข้อมูล ถือว่าคำดังกล่าวไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะ จึงให้โจทก์แสดงปฏิเสธไม่ขอถือเป็นสิทธิของตนแต่ผู้เดียวที่จะใช้คำดังกล่าว
ที่โจทก์มีคำขอให้นายทะเบียนเครื่องหมายการค้ารับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการตามคำขอทั้งห้าคำขอของโจทก์นั้น เห็นว่า สภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตามคำฟ้องเป็นเรื่องที่โจทก์กล่าวอ้างว่าคำสั่งของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าที่ไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการด้วยเหตุที่เครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการตามคำขอของโจทก์ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะ เป็นคำสั่งและคำวินิจฉัยที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ประเด็นข้อพิพาทที่ต้องวินิจฉัยในคดีนี้จึงมีเฉพาะเกี่ยวกับเหตุที่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าและคณะกรรมการเครื่องหมายการค้ามีคำสั่งและคำวินิจฉัยปฏิเสธไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการตามคำขอของโจทก์เท่านั้น ไม่มีประเด็นข้อพิพาทให้ต้องวินิจฉัยในข้อพิจารณาอื่น ๆ เกี่ยวกับลักษณะอันพึงรับจดทะเบียนตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 6 รวมทั้งข้อพิจารณาอื่น ๆ เกี่ยวกับการพิจารณารับจดทะเบียนและขั้นตอนต่าง ๆ ที่ต้องดำเนินการในการรับจดทะเบียนตามบทบัญญัติมาตราอื่น ดังนั้น แม้คำสั่งของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าที่ไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการตามคำขอของโจทก์จะเป็นคำสั่งและคำวินิจฉัยที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งสมควรต้องเพิกถอนดังที่ได้วินิจฉัยแล้วข้างต้นก็ตาม แต่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้ายังต้องดำเนินการเกี่ยวกับคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการของโจทก์ต่อไปตามขั้นตอนต่าง ๆ ในการพิจารณาจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการซึ่งมีอีกหลายขั้นตอน หาใช่โจทก์มีสิทธิขอให้บังคับนายทะเบียนเครื่องหมายการค้ารับจดทะเบียนให้เลยไม่ จึงไม่อาจพิพากษาให้ตามคำขอของโจทก์ คงพิพากษาให้ได้แต่เพียงว่าให้เพิกถอนคำสั่งของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า กับให้นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าดำเนินการเกี่ยวกับคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการของโจทก์ต่อไปเท่านั้น
ส่วนปัญหาว่าเครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการของโจทก์คำว่า ทั้งห้าคำขอ เป็นคำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าหรือบริการโดยตรงหรือไม่นั้น เห็นว่า แม้เครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการของโจทก์คำว่า ไม่มีลักษณะประดิษฐ์ แต่การเลือกเอาตัวอักษรมาเรียงกันในลักษณะเช่นนี้ ไม่น่าที่จะมีการเรียงตัวอักษรโรมันลักษณะเช่นเดียวกันนี้เป็นการทั่วไป ประกอบกับคำดังกล่าวย่อมาจาก Nippon Telegraph and Telephone ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของชื่อนิติบุคคลของโจทก์ ไม่ใช่คำย่อที่มาจากคำที่เกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์ใกล้ชิดกับลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าหรือบริการของโจทก์โดยตรงจนถึงขนาดที่ว่าทำให้สาธารณชนที่พบเห็นคำย่อดังกล่าวทราบถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าหรือบริการนั้นทันที หรือหากสาธารณชนใช้วิจารณญาณเพียงเล็กน้อยก็สามารถเข้าใจได้ เพราะเป็นคำย่อที่สาธารณชนทราบว่าสื่อถึงคำที่บรรยายหรือพรรณนาถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าหรือบริการนั้นโดยตรง อีกทั้งยังเป็นภาคส่วนของคำที่อยู่ด้านหน้า และใช้เป็นส่วนสำคัญในการเรียกขาน คำว่า "NTT" จึงมีลักษณะเด่นทำให้สาธารณชนโดยทั่วไปจดจำและแยกความแตกต่างระหว่างสินค้าหรือบริการที่ใช้เครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการของโจทก์จากสินค้าหรือบริการอื่นได้ ถือเป็นสาระสำคัญของเครื่องหมายและมีลักษณะบ่งเฉพาะ ส่วนคำว่า "DATA" ตามพจนานุกรม มีความหมายว่า ข้อมูล สถิติ จึงมีความหมายกว้าง มิได้จำกัดว่าต้องสื่อถึงข้อมูลเพียงอย่างเดียว อีกทั้งเป็นคำธรรมดาทั่วไปที่สามารถสื่อไปถึงสินค้าหรือบริการได้หลายชนิด คำว่า "DATA" จึงเป็นเพียงส่วนประกอบของคำว่า "NTT" ซึ่งเป็นคำหลัก เมื่อการพิจารณาว่าเครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการใดมีลักษณะบ่งเฉพาะหรือไม่ต้องพิจารณาองค์ประกอบโดยรวมของทั้งเครื่องหมาย การที่ตัวอักษรทั้งสองคำมีขนาดเท่ากันและเรียงต่อกันเป็นลำดับ โดยคำว่า "NTT" ซึ่งเป็นสาระสำคัญของเครื่องหมายไม่ใช่คำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าหรือบริการของโจทก์โดยตรงและมีลักษณะบ่งเฉพาะ เครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการของโจทก์คำว่า จึงไม่ได้เกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์โดยตรงกับลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าหรือบริการตามคำขอทั้งห้าคำขอโดยตรงจนถึงขนาดทำให้สาธารณชนทราบถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าหรือบริการนั้นทันที หรือหากสาธารณชนใช้วิจารณญาณเพียงเล็กน้อยก็สามารถเข้าใจได้ในทันที เพราะเป็นคำที่บรรยายหรือพรรณนาถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าหรือบริการนั้นโดยตรง ถือได้ว่าเครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการของโจทก์คำว่า เป็นคำที่ไม่ได้เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าหรือบริการนั้นโดยตรง และมีลักษณะบ่งเฉพาะ
อย่างไรก็ตามคำว่า "DATA" ซึ่งแปลว่า ข้อมูล สถิติ เมื่อพิจารณากับสินค้าหรือบริการบางชนิดของโจทก์ในแต่ละคำขอเห็นได้ว่าเป็นคำที่บ่งบอกถึงลักษณะของสินค้าหรือบริการของโจทก์ที่มีความเกี่ยวข้องกับข้อมูล ถือว่าคำดังกล่าวไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะ จึงให้โจทก์แสดงปฏิเสธไม่ขอถือเป็นสิทธิของตนแต่ผู้เดียวที่จะใช้คำดังกล่าว
ที่โจทก์มีคำขอให้นายทะเบียนเครื่องหมายการค้ารับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการตามคำขอทั้งห้าคำขอของโจทก์นั้น เห็นว่า สภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตามคำฟ้องเป็นเรื่องที่โจทก์กล่าวอ้างว่าคำสั่งของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าที่ไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการด้วยเหตุที่เครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการตามคำขอของโจทก์ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะ เป็นคำสั่งและคำวินิจฉัยที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ประเด็นข้อพิพาทที่ต้องวินิจฉัยในคดีนี้จึงมีเฉพาะเกี่ยวกับเหตุที่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าและคณะกรรมการเครื่องหมายการค้ามีคำสั่งและคำวินิจฉัยปฏิเสธไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการตามคำขอของโจทก์เท่านั้น ไม่มีประเด็นข้อพิพาทให้ต้องวินิจฉัยในข้อพิจารณาอื่น ๆ เกี่ยวกับลักษณะอันพึงรับจดทะเบียนตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 6 รวมทั้งข้อพิจารณาอื่น ๆ เกี่ยวกับการพิจารณารับจดทะเบียนและขั้นตอนต่าง ๆ ที่ต้องดำเนินการในการรับจดทะเบียนตามบทบัญญัติมาตราอื่น ดังนั้น แม้คำสั่งของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าที่ไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการตามคำขอของโจทก์จะเป็นคำสั่งและคำวินิจฉัยที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งสมควรต้องเพิกถอนดังที่ได้วินิจฉัยแล้วข้างต้นก็ตาม แต่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้ายังต้องดำเนินการเกี่ยวกับคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการของโจทก์ต่อไปตามขั้นตอนต่าง ๆ ในการพิจารณาจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการซึ่งมีอีกหลายขั้นตอน หาใช่โจทก์มีสิทธิขอให้บังคับนายทะเบียนเครื่องหมายการค้ารับจดทะเบียนให้เลยไม่ จึงไม่อาจพิพากษาให้ตามคำขอของโจทก์ คงพิพากษาให้ได้แต่เพียงว่าให้เพิกถอนคำสั่งของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า กับให้นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าดำเนินการเกี่ยวกับคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการของโจทก์ต่อไปเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2464/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การเพิกถอนการจดทะเบียนเมื่อเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นมีสิทธิก่อนและอาจทำให้สับสน
คดีนี้โจทก์ฟ้องใจความว่า โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าภาพลูกศรอยู่ระหว่างอักษร N และ M กับคำว่า นิวมอส และเครื่องหมายการค้าภาพสมอเรือ ลูกศร อยู่ระหว่างอักษร N และ M กับคำว่า นิวมอส โดยได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวก่อนแล้วกับสินค้าจำพวกที่ 25 และจำพวกที่ 16 ต่อมาจำเลยนำคำว่า มอส ประกอบภาพสมอเรือไปยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าใช้กับสินค้าประเภทชุดเครื่องแบบนักเรียน เสื้อ เสื้อกีฬา กางเกง และกางเกงกีฬา เช่นเดียวกับโจทก์ โดยรู้อยู่แล้วว่าเครื่องหมายการค้าที่มีคำว่า มอส เป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ซึ่งต่อมาจำเลยได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าว โจทก์เห็นว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยทั้ง 3 เครื่องหมายทำให้เกิดความสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าของโจทก์ ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยทั้งสามดังกล่าว กรณีจึงถือได้ว่าโจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเพราะเหตุว่าตนมีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นดีกว่าจำเลยซึ่งได้จดทะเบียนเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าดังกล่าว ดังนี้โจทก์ในฐานะผู้มีส่วนได้เสียจึงมีสิทธิร้องขอต่อศาลให้สั่งเพิกถอนการจดทะเบียนโดยไม่จำต้องดำเนินการตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดที่ต้องร้องขอต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าให้สั่งเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าก่อน
เมื่อเครื่องหมายการค้าของจำเลยมีคำว่า มอส เป็นภาคส่วนที่เป็นสาระสำคัญของเครื่องหมาย มีลักษณะตัวอักษรของคำว่า มอส ที่ใช้ในเครื่องหมายการค้าทั้งสามของจำเลยเป็นตัวอักษรหนาขนาดใหญ่ สามารถมองเห็นได้ชัดเจน โดยมีเครื่องหมายการค้าใช้คำว่า ตรามอส ประกอบอยู่ด้วยในลักษณะเป็นการบ่งบอกยี่ห้อของสินค้า และเมื่อพิจารณาสินค้าที่จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าทั้งสามของจำเลยแล้ว พบว่าเป็นสินค้าจำพวกที่ 25 รายการสินค้า เสื้อ กางเกง กระโปรง รองเท้า รองเท้าบู๊ท รองเท้าแตะ อันเป็นสินค้าที่มีลักษณะอย่างเดียวกันกับสินค้าของโจทก์ที่ได้รับการจดทะเบียนซึ่งเครื่องหมายการค้าทั้งสามของโจทก์ดังกล่าวใช้คำว่า มอส เป็นภาคส่วนที่เป็นสาระสำคัญเช่นกัน ดังนี้ เครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยดังกล่าวจึงเป็นเครื่องหมายการค้าที่มีคำว่า มอส เป็นภาคส่วนที่เป็นสาระสำคัญของเครื่องหมายเหมือนกัน ใช้กับสินค้าที่มีลักษณะอย่างเดียวกัน ย่อมอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าได้
ส่วนประเด็นว่าโจทก์หรือจำเลยได้สิทธิดีกว่าในเครื่องหมายการค้า คำว่า มอส ที่ใช้กับสินค้าที่จดทะเบียนไว้แล้ว จำเลยรับว่าโจทก์ได้ใช้คำว่า มอส เป็นคำประกอบในเครื่องหมายการค้าของเสื้อผ้าชุดนักเรียนของโจทก์ที่โจทก์เป็นผู้ผลิตและจัดส่งให้แก่จำเลยเพื่อนำไปจำหน่าย โดยโจทก์ได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่มีคำว่า มอส ก่อนที่จำเลยจะได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ดังนี้ โจทก์จึงได้สิทธิในเครื่องหมายการค้า คำว่า มอส ที่ใช้กับสินค้าที่จดทะเบียนไว้แล้วและมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่มีคำว่า มอส ดีกว่าจำเลย
เมื่อเครื่องหมายการค้าของจำเลยมีคำว่า มอส เป็นภาคส่วนที่เป็นสาระสำคัญของเครื่องหมาย มีลักษณะตัวอักษรของคำว่า มอส ที่ใช้ในเครื่องหมายการค้าทั้งสามของจำเลยเป็นตัวอักษรหนาขนาดใหญ่ สามารถมองเห็นได้ชัดเจน โดยมีเครื่องหมายการค้าใช้คำว่า ตรามอส ประกอบอยู่ด้วยในลักษณะเป็นการบ่งบอกยี่ห้อของสินค้า และเมื่อพิจารณาสินค้าที่จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าทั้งสามของจำเลยแล้ว พบว่าเป็นสินค้าจำพวกที่ 25 รายการสินค้า เสื้อ กางเกง กระโปรง รองเท้า รองเท้าบู๊ท รองเท้าแตะ อันเป็นสินค้าที่มีลักษณะอย่างเดียวกันกับสินค้าของโจทก์ที่ได้รับการจดทะเบียนซึ่งเครื่องหมายการค้าทั้งสามของโจทก์ดังกล่าวใช้คำว่า มอส เป็นภาคส่วนที่เป็นสาระสำคัญเช่นกัน ดังนี้ เครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยดังกล่าวจึงเป็นเครื่องหมายการค้าที่มีคำว่า มอส เป็นภาคส่วนที่เป็นสาระสำคัญของเครื่องหมายเหมือนกัน ใช้กับสินค้าที่มีลักษณะอย่างเดียวกัน ย่อมอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าได้
ส่วนประเด็นว่าโจทก์หรือจำเลยได้สิทธิดีกว่าในเครื่องหมายการค้า คำว่า มอส ที่ใช้กับสินค้าที่จดทะเบียนไว้แล้ว จำเลยรับว่าโจทก์ได้ใช้คำว่า มอส เป็นคำประกอบในเครื่องหมายการค้าของเสื้อผ้าชุดนักเรียนของโจทก์ที่โจทก์เป็นผู้ผลิตและจัดส่งให้แก่จำเลยเพื่อนำไปจำหน่าย โดยโจทก์ได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่มีคำว่า มอส ก่อนที่จำเลยจะได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ดังนี้ โจทก์จึงได้สิทธิในเครื่องหมายการค้า คำว่า มอส ที่ใช้กับสินค้าที่จดทะเบียนไว้แล้วและมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่มีคำว่า มอส ดีกว่าจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2463/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เครื่องหมายการค้าคล้ายกันจนอาจทำให้สาธารณชนสับสน เป็นเหตุต้องห้ามการจดทะเบียนตามพ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า
เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 ที่ยื่นขอจดทะเบียนมีรูปเครื่องหมายโดยมีลักษณะเป็นรูปประดิษฐ์คล้ายมังกรและสิงห์ และมีอักษรโรมันคำว่า "EXPRESS MEN" อ่านว่า เอ็กซ์เพรส เมน ส่วนเครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการของโจทก์ที่จดทะเบียนไว้แล้ว ได้แก่ซึ่งอ่านว่า เอ็กซ์เพรสซึ่งอ่านว่า เอ็กซ์เพรส เวิล แบรนซึ่งอ่านว่า เอ็กซ์เพรสแฟชั่น และ 3 - EXPRESS ซึ่งอ่านว่า ทรี เอ็กซ์เพรส เมื่อพิจารณาภาพรวมของเครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการของโจทก์ทั้งสี่เครื่องหมายแล้ว พบว่ามีอักษรโรมันคำว่า "EXPRESS" เป็นส่วนสาระสำคัญของเครื่องหมาย ซึ่งคำดังกล่าวเป็นชื่อบริษัทโจทก์ ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 แม้จะมีภาคส่วนของรูปประดิษฐ์เป็นรูปคล้ายมังกรและสิงห์ประกอบอยู่ด้วย แต่ก็มีตัวอักษรโรมันคำว่า "EXPRESS" ซึ่งเป็นภาคส่วนที่วางอยู่ด้านบนของตัวมังกรและสิงห์อย่างเด่นชัด มองเห็นได้ชัดเจน ส่วนคำว่า "MEN" เป็นตัวอักษรประดิษฐ์ที่ซ่อนอยู่ในรูปประดิษฐ์เหนือคำว่า "EXPRESS" ซึ่งยากแก่การสังเกตเห็น ดังนี้ คำว่า "EXPRESS" ในเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวจึงถือว่าเป็นคำหลักที่ใช้เพื่อเรียกชื่อและแสดงว่าเป็นสินค้าของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นภาคส่วนที่เป็นสาระสำคัญของเครื่องหมาย และเมื่อพิจารณาเปรียบเทียบความคล้ายกันในส่วนที่เป็นสาระสำคัญของเครื่องหมายแล้ว เห็นได้ว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 มีคำและเสียงเรียกขานของคำในส่วนสาระสำคัญของเครื่องหมายคล้ายกับเครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการของโจทก์ที่มีภาคส่วนคำว่า "EXPRESS" ประกอบอยู่ด้วย ประกอบกับเครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการของโจทก์ทั้งสี่เครื่องหมายจดทะเบียนใช้กับสินค้าจำพวกที่ 3, 14, 18 และ 25 รายการสินค้าที่เกี่ยวกับเครื่องแต่งกาย และบริการจำพวกที่ 35 บริการจัดการขายเสื้อผ้าและผลิตภัณฑ์บำรุงที่ใช้ส่วนตัวในร้านค้าปลีก ส่วนจำเลยที่ 1 ยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเพื่อใช้กับสินค้าจำพวกที่ 25 รายการสินค้า เสื้อ (ยกเว้นเสื้อชั้นใน และเสื้อกีฬา) กางเกงชั้นใน กรณีจึงเป็นสินค้าจำพวกเดียวกันหรือต่างจำพวกกันที่มีลักษณะอย่างเดียวกัน ดังนั้น เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 จึงมีลักษณะที่อาจทำให้ประชาชนหรือผู้ใช้สินค้านั้นเข้าใจผิดได้ว่าสินค้าของจำเลยที่ 1 ที่ใช้เครื่องหมายการค้าที่มีคำว่า "EXPRESS" เป็นสินค้าที่ผลิตจากโจทก์ อันถือได้ว่าเป็นเครื่องหมายการค้าที่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการของโจทก์ที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า ต้องห้ามมิให้รับจดทะเบียนตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 13 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2462/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดลิขสิทธิ์ผ่านตู้คาราโอเกะ: การพิสูจน์เจตนา 'รู้' หรือ 'ควรรู้' ถึงการละเมิดลิขสิทธิ์
พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 31 (2) บัญญัติว่า "ผู้ใดรู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรรู้ว่างานใดได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น กระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่งานนั้นเพื่อหากำไร ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์ถ้าได้กระทำดังต่อไปนี้...(๒) เผยแพร่ต่อสาธารณชน..." แม้โจทก์มิได้บรรยายโดยชัดแจ้งว่าจำเลยกับพวกรู้หรือมีเหตุอันควรรู้ว่างานที่นำออกเผยแพร่ต่อสาธารณชนนั้นเป็นงานที่ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายอันเป็นองค์ประกอบสำคัญของความผิดดังกล่าว แต่คดีนี้โจทก์ก็บรรยายฟ้องในตอนต้นว่า จำเลยกับพวกร่วมกันละเมิดลิขสิทธิ์ในงานของผู้เสียหายด้วยการทำซ้ำหรือดัดแปลงในงานสร้างสรรค์ประเภทงานดนตรีกรรม ซึ่งประกอบด้วยเนื้อร้องและทำนองของผู้เสียหาย โดยการนำสิ่งบันทึกเสียงที่มีคำร้อง ทำนองเสียงเพลง อันเป็นลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายไปบันทึกข้อมูลลงในเครื่องคอมพิวเตอร์บรรจุลงในตู้คาราโอเกะหยอดเหรียญในลักษณะทำซ้ำหรือดัดแปลงให้ปรากฏคำร้องและทำนองเสียงเพลงในส่วนอันเป็นสาระสำคัญ อันเป็นการบรรยายให้พอเข้าใจได้ว่างานที่อยู่ในตู้คาราโอเกะหยอดเหรียญดังกล่าวนั้นเป็นงานที่ได้กระทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย เนื่องจากอ้างว่าเป็นงานที่จำเลยกับพวกร่วมกันทำซ้ำหรือดัดแปลงงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องต่อไปในตอนท้ายว่า โดยนำออกเผยแพร่ต่อสาธารณชนด้วยการเปิดงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายดังกล่าวผ่านทางตู้คาราโอเกะหยอดเหรียญให้บริการร้องเพลงคาราโอเกะแก่ลูกค้าในร้านที่เกิดเหตุโดยเรียกเก็บเงินค่าตอบแทนจากลูกค้า เพื่อแสวงหากำไรในทางการค้า โดยจำเลยกับพวกรู้อยู่แล้วว่าเป็นการกระทำละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายและไม่ได้รับอนุญาตจากผู้เสียหาย ดังนี้ เมื่ออ่านฟ้องทั้งหมดแล้วย่อมพอเข้าใจได้ว่าเป็นการบรรยายฟ้องที่อ้างว่าจำเลยกับพวกรู้หรือมีเหตุอันควรรู้ว่างานที่อยู่ในตู้คาราโอเกะหยอดเหรียญดังกล่าวที่นำออกเผยแพร่ต่อสาธารณชนนั้นเป็นงานที่ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายอันเป็นองค์ประกอบของความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 70 วรรคสอง ประกอบมาตรา 31 (2) แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2461/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปลอมแปลงเครื่องหมายการค้า HITACHI และจำหน่ายสินค้าเลียนแบบ ศาลฎีกาพิพากษากลับให้จำเลยมีความผิด
เมื่อพิจารณาฉลากสินค้า ของจำเลยทั้งสอง ในภาคส่วนคำว่า เปรียบเทียบกับเครื่องหมายการค้าคำว่า ของผู้เสียหาย แล้วจะเห็นได้ว่าเครื่องหมาย ของจำเลยทั้งสองมีสาระสำคัญอยู่ที่คำว่า HITACHI เหมือนกับเครื่องหมายการค้า ของผู้เสียหายทุกประการ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบตัวอักษรและเสียงเรียกขาน ทั้งคำว่า HITACHI เป็นคำที่มีลักษณะเฉพาะตัว ไม่ใช่คำสามัญที่มีความหมายตามธรรมดาทั่วไป แม้เครื่องหมายของจำเลยทั้งสองที่ด้านหลังของคำว่า HITACHI จะมีเส้นบาง ๆ ต่อเฉียงออกไปทางขวามือ ในลักษณะที่ทำให้ตัวอักษรเป็นสามมิติ แต่ส่วนที่เพิ่มเติมดังกล่าวเป็นเพียงส่วนประกอบปลีกย่อยที่มองเห็นได้ยากและไม่ได้มีลักษณะโดดเด่นเพียงพอที่จะทำให้สาธารณชนแยกแยะความแตกต่างระหว่างเครื่องหมายของจำเลยทั้งสองและเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายได้ นอกจากนี้ ส่วนประกอบดังกล่าวไม่ได้ทำให้ภาคส่วนสาระสำคัญคำว่า HITACHI ในเครื่องหมายของจำเลยทั้งสองที่เหมือนกับเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายเปลี่ยนแปลงหรือสูญเสียลักษณะความเหมือนกันกับเครื่องหมายการค้าคำว่า ของผู้เสียหายไป ภาคส่วนคำว่า HITACHI ในเครื่องหมายของจำเลยทั้งสองยังคงสภาพความเหมือนกับเครื่องหมายการค้าคำว่า ของผู้เสียหายอยู่ ดังนั้น เครื่องหมาย ของจำเลยทั้งสองจึงเป็นเครื่องหมายปลอมเครื่องหมายการค้า ของผู้เสียหายที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว การที่จำเลยทั้งสองร่วมกันผลิตสติกเกอร์ ที่มีเครื่องหมาย รวมอยู่ด้วย แล้วนำไปติดที่สินค้าสายทองแดงที่หุ้มฉนวนของจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นสินค้าประเภทเดียวกับสินค้าที่ผู้เสียหายได้จดทะเบียนไว้แล้วเพื่อจำหน่ายแก่ลูกค้าของจำเลยทั้งสอง จำเลยทั้งสองจึงมีความผิดฐานร่วมกันปลอมเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักร และฐานร่วมกันจำหน่าย เสนอจำหน่าย หรือมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมเครื่องหมายการค้าที่แท้จริงของผู้เสียหายตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1267/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เครื่องหมายการค้า DERMATIX ULTRA มีลักษณะบ่งเฉพาะ แม้ ULTRA จะสื่อถึงคุณสมบัติโดยตรง ศาลกลับคำพิพากษา
การที่จะพิจารณาว่าคำในภาษาต่างประเทศเป็นคำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าอันจะทำให้ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 7 วรรคสอง (2) นั้น นอกจากจะต้องพิจารณาว่าคำดังกล่าวมีคำแปลเป็นภาษาไทยว่าอย่างไรแล้ว ยังต้องคำนึงถึงการใช้คำดังกล่าวในประเทศไทยด้วยว่าคำดังกล่าวถูกนำมาใช้ในความหมายหรือในลักษณะใด และต้องพิจารณาต่อไปว่าคำดังกล่าวเกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์ใกล้ชิดกับลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรงจนถึงขนาดทำให้เมื่อสาธารณชนเห็นเครื่องหมายการค้าดังกล่าวแล้วก็จะทราบถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้านั้นได้ในทันทีหรืออาจใช้วิจารณญาณเพียงเล็กน้อยก็สามารถเข้าใจได้ในทันทีว่าเครื่องหมายการค้าดังกล่าวสื่อให้เห็นถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้านั้นได้ ในขณะที่เครื่องหมายการค้าที่มีความหมายเป็นการบรรยายถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้านั้นทางอ้อม ผู้ใช้สินค้าจะต้องใช้ความคิดและจินตนาการหรือแปลความหมายที่ซ้ำซ้อนกันนั้นอีกชั้นหนึ่งก่อนจึงจะรู้ว่าเป็นเครื่องหมายการค้าที่เกี่ยวข้องกับสินค้าใด หาใช่เป็นเครื่องหมายการค้าที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าที่ขอจดทะเบียนโดยตรงไม่
เมื่อพิจารณาเครื่องหมายการค้าของโจทก์คำว่า DERMATIX ULTRA เป็นการนำคำว่า DERMATIX มารวมกับคำว่า ULTRA แม้คำว่า DERMATIX จะมีอักษรโรมันและมีคำอ่านคล้ายกับคำว่า DERMATIC ซึ่งจำเลยนำสืบว่า ตามพจนานุกรม MEDICAL DICTIONARY ให้ความหมายว่า ซึ่งเกี่ยวกับผิวหนัง แต่พจนานุกรมดังกล่าวเป็นพจนานุกรมคำศัพท์เฉพาะทางการแพทย์ ไม่ใช่เป็นคำประเภทคำสามัญที่ใช้กันอยู่โดยทั่วไปที่สาธารณชนจะเข้าใจความหมายได้ สาธารณชนในประเทศไทยเมื่อเห็นคำว่า DERMATIX ไม่อาจทราบหรือเข้าใจได้ในทันทีหรือใช้วิจารณญาณเพียงเล็กน้อยก็ไม่อาจทราบหรือเข้าใจได้ในทันทีว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวเป็นสินค้าประเภทใดหรือมีคุณสมบัติของสินค้าอย่างไร และไม่อาจคิดไปถึงสินค้าในจำพวกที่ 3 รายการสินค้า ซิลิโคนสำหรับเสริมสวย สารที่เตรียมขึ้นเพื่อใช้รักษาผิวหนังที่เสียหาย แผลเป็น และแผล ที่ไม่มีส่วนผสมของยา ได้ คำว่า DERMATIX จึงมีลักษณะเป็นเพียงคำแนะนำที่ไม่ได้อธิบายหรือพรรณนาถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรง ส่วนคำว่า ULTRA เป็นคำธรรมดาทั่วไปที่ปรากฏความหมายของคำตามพจนานุกรม ซึ่งแปลว่า เกิน อย่างรุนแรง ดีเยี่ยม ที่สุด คำดังกล่าวจึงเป็นคำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรง แต่การพิจารณาว่าเครื่องหมายการค้าใดมีลักษณะบ่งเฉพาะหรือไม่ต้องพิจารณาองค์ประกอบโดยรวมของทั้งเครื่องหมาย เมื่อนำคำว่า ULTRA ไปใช้รวมกับคำว่า DERMATIX โดยอักษรดังกล่าวต่างมีขนาดเท่ากันและเรียงติดต่อกันตามลำดับ และคำว่า DERMATIX เป็นคำที่ไม่ได้เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าที่ขอจดทะเบียนโดยตรง เช่นนี้ เครื่องหมายการค้าคำว่า DERMATIX ULTRA ของโจทก์โดยรวมทั้งเครื่องหมายจึงไม่ได้พรรณนาถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรง การที่โจทก์นำคำว่า DERMATIX ULTRA มาใช้เป็นเครื่องหมายการค้าย่อมถือได้ว่าเป็นการใช้ในลักษณะที่ทำให้สาธารณชนหรือผู้ใช้สินค้านั้นทราบหรือเข้าใจได้ว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์แตกต่างจากสินค้าของบุคคลอื่น ดังนั้น เครื่องหมายการค้าคำว่า DERMATIX ULTRA ของโจทก์ จึงเป็นคำที่ไม่ได้เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้านั้นโดยตรง ถือว่ามีลักษณะบ่งเฉพาะตามมาตรา 7 วรรคสอง (2) (เดิม) แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 และมีลักษณะอันพึงรับจดทะเบียนได้ แต่เครื่องหมายการค้าของโจทก์ดังกล่าวภาคส่วนคำว่า ULTRA ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะ จึงให้โจทก์แสดงปฏิเสธไม่ขอถือเป็นสิทธิของตนแต่ผู้เดียวในอันที่จะใช้คำดังกล่าว ตามมาตรา 17
ข้อหาและข้ออ้างที่เป็นหลักแห่งข้อหาตามคำฟ้องเป็นเรื่องที่โจทก์กล่าวอ้างว่าคำสั่งของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าที่ไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นคำสั่งและคำวินิจฉัยที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ประเด็นข้อพิพาทที่ต้องวินิจฉัยในคดีนี้จึงมีเฉพาะเกี่ยวกับเหตุที่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าและคณะกรรมการเครื่องหมายการค้ามีคำสั่งและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ปฏิเสธไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอของโจทก์เท่านั้น ไม่มีประเด็นให้ต้องวินิจฉัยในข้อพิจารณาอื่น ๆ เกี่ยวกับลักษณะอันพึงรับจดทะเบียนตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 6 รวมทั้งข้อพิจารณาอื่น ๆ เกี่ยวกับการพิจารณารับจดทะเบียนและขั้นตอนต่าง ๆ ที่ต้องดำเนินการในการรับจดทะเบียนตามบทบัญญัติมาตราอื่น ดังนั้น แม้คำสั่งของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าที่ไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอของโจทก์จะเป็นคำสั่งและคำวินิจฉัยที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งสมควรต้องเพิกถอนดังได้วินิจฉัยแล้วข้างต้นก็ตาม แต่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้ายังต้องดำเนินการเกี่ยวกับคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ต่อไปตามขั้นตอนต่าง ๆ ในการพิจารณาจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าซึ่งมีอีกหลายขั้นตอน หาใช่โจทก์มีสิทธิขอให้บังคับให้นายทะเบียนเครื่องหมายการค้ารับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าให้แก่โจทก์ได้เลยไม่ จึงไม่อาจพิพากษาให้ตามคำขอของโจทก์ดังกล่าวได้ คงพิพากษาได้แต่เพียงว่าให้เพิกถอนคำสั่งของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า กับให้นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าดำเนินการเกี่ยวกับคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ต่อไปเท่านั้น
เมื่อพิจารณาเครื่องหมายการค้าของโจทก์คำว่า DERMATIX ULTRA เป็นการนำคำว่า DERMATIX มารวมกับคำว่า ULTRA แม้คำว่า DERMATIX จะมีอักษรโรมันและมีคำอ่านคล้ายกับคำว่า DERMATIC ซึ่งจำเลยนำสืบว่า ตามพจนานุกรม MEDICAL DICTIONARY ให้ความหมายว่า ซึ่งเกี่ยวกับผิวหนัง แต่พจนานุกรมดังกล่าวเป็นพจนานุกรมคำศัพท์เฉพาะทางการแพทย์ ไม่ใช่เป็นคำประเภทคำสามัญที่ใช้กันอยู่โดยทั่วไปที่สาธารณชนจะเข้าใจความหมายได้ สาธารณชนในประเทศไทยเมื่อเห็นคำว่า DERMATIX ไม่อาจทราบหรือเข้าใจได้ในทันทีหรือใช้วิจารณญาณเพียงเล็กน้อยก็ไม่อาจทราบหรือเข้าใจได้ในทันทีว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวเป็นสินค้าประเภทใดหรือมีคุณสมบัติของสินค้าอย่างไร และไม่อาจคิดไปถึงสินค้าในจำพวกที่ 3 รายการสินค้า ซิลิโคนสำหรับเสริมสวย สารที่เตรียมขึ้นเพื่อใช้รักษาผิวหนังที่เสียหาย แผลเป็น และแผล ที่ไม่มีส่วนผสมของยา ได้ คำว่า DERMATIX จึงมีลักษณะเป็นเพียงคำแนะนำที่ไม่ได้อธิบายหรือพรรณนาถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรง ส่วนคำว่า ULTRA เป็นคำธรรมดาทั่วไปที่ปรากฏความหมายของคำตามพจนานุกรม ซึ่งแปลว่า เกิน อย่างรุนแรง ดีเยี่ยม ที่สุด คำดังกล่าวจึงเป็นคำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรง แต่การพิจารณาว่าเครื่องหมายการค้าใดมีลักษณะบ่งเฉพาะหรือไม่ต้องพิจารณาองค์ประกอบโดยรวมของทั้งเครื่องหมาย เมื่อนำคำว่า ULTRA ไปใช้รวมกับคำว่า DERMATIX โดยอักษรดังกล่าวต่างมีขนาดเท่ากันและเรียงติดต่อกันตามลำดับ และคำว่า DERMATIX เป็นคำที่ไม่ได้เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าที่ขอจดทะเบียนโดยตรง เช่นนี้ เครื่องหมายการค้าคำว่า DERMATIX ULTRA ของโจทก์โดยรวมทั้งเครื่องหมายจึงไม่ได้พรรณนาถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรง การที่โจทก์นำคำว่า DERMATIX ULTRA มาใช้เป็นเครื่องหมายการค้าย่อมถือได้ว่าเป็นการใช้ในลักษณะที่ทำให้สาธารณชนหรือผู้ใช้สินค้านั้นทราบหรือเข้าใจได้ว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์แตกต่างจากสินค้าของบุคคลอื่น ดังนั้น เครื่องหมายการค้าคำว่า DERMATIX ULTRA ของโจทก์ จึงเป็นคำที่ไม่ได้เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้านั้นโดยตรง ถือว่ามีลักษณะบ่งเฉพาะตามมาตรา 7 วรรคสอง (2) (เดิม) แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 และมีลักษณะอันพึงรับจดทะเบียนได้ แต่เครื่องหมายการค้าของโจทก์ดังกล่าวภาคส่วนคำว่า ULTRA ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะ จึงให้โจทก์แสดงปฏิเสธไม่ขอถือเป็นสิทธิของตนแต่ผู้เดียวในอันที่จะใช้คำดังกล่าว ตามมาตรา 17
ข้อหาและข้ออ้างที่เป็นหลักแห่งข้อหาตามคำฟ้องเป็นเรื่องที่โจทก์กล่าวอ้างว่าคำสั่งของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าที่ไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นคำสั่งและคำวินิจฉัยที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ประเด็นข้อพิพาทที่ต้องวินิจฉัยในคดีนี้จึงมีเฉพาะเกี่ยวกับเหตุที่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าและคณะกรรมการเครื่องหมายการค้ามีคำสั่งและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ปฏิเสธไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอของโจทก์เท่านั้น ไม่มีประเด็นให้ต้องวินิจฉัยในข้อพิจารณาอื่น ๆ เกี่ยวกับลักษณะอันพึงรับจดทะเบียนตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 6 รวมทั้งข้อพิจารณาอื่น ๆ เกี่ยวกับการพิจารณารับจดทะเบียนและขั้นตอนต่าง ๆ ที่ต้องดำเนินการในการรับจดทะเบียนตามบทบัญญัติมาตราอื่น ดังนั้น แม้คำสั่งของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าที่ไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอของโจทก์จะเป็นคำสั่งและคำวินิจฉัยที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งสมควรต้องเพิกถอนดังได้วินิจฉัยแล้วข้างต้นก็ตาม แต่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้ายังต้องดำเนินการเกี่ยวกับคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ต่อไปตามขั้นตอนต่าง ๆ ในการพิจารณาจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าซึ่งมีอีกหลายขั้นตอน หาใช่โจทก์มีสิทธิขอให้บังคับให้นายทะเบียนเครื่องหมายการค้ารับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าให้แก่โจทก์ได้เลยไม่ จึงไม่อาจพิพากษาให้ตามคำขอของโจทก์ดังกล่าวได้ คงพิพากษาได้แต่เพียงว่าให้เพิกถอนคำสั่งของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า กับให้นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าดำเนินการเกี่ยวกับคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ต่อไปเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1266/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เครื่องหมายการค้า DERMATIX/ULTRA มีลักษณะบ่งเฉพาะ แม้มีคำทั่วไป ศาลฎีกาเพิกถอนคำสั่งไม่อนุมัติ
เครื่องหมายการค้าของโจทก์คำว่า DERMATIX เป็นคำที่ไม่ปรากฏในพจนานุกรมและเป็นคำไม่มีความหมายหรือคำแปล สาธารณชนที่พบเห็นคำดังกล่าวย่อมไม่อาจเข้าใจได้ว่าเป็นคำที่สื่อความหมายเกี่ยวกับอะไร แม้คำดังกล่าวมีเสียงเรียกขานหรือคำอ่านคล้ายกับคำว่า Dermatic มีความหมายว่า ซึ่งเกี่ยวกับผิวหนัง ทำให้สาธารณชนที่ได้ยินเสียงเรียกขานหรือคำอ่านของคำว่า DERMATIX ที่โจทก์ขอจดทะเบียนอาจเข้าใจได้ว่าสินค้าของโจทก์เป็นสินค้าเกี่ยวกับผิวหนังก็ตาม แต่เมื่อพิจารณาเครื่องหมายการค้าของโจทก์ดังกล่าวประกอบกับรายการสินค้าที่โจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอเลขที่ 796655 สินค้าจำพวก 3 คือ ซิลิโคนสำหรับเสริมสวย สารที่เตรียมขึ้นเพื่อใช้รักษาผิวหนังที่เสียหาย แผลเป็น และแผล ที่ไม่มีส่วนผสมของยาแล้ว เห็นได้ว่า คำว่า DERMATIX ซึ่งมีเสียงเรียกขานหรือคำอ่านที่สื่อความหมายว่าสินค้าของโจทก์เป็นสินค้าเกี่ยวกับผิวหนังนั้น มีลักษณะเป็นเพียงคำหรือเครื่องหมายเชิงแนะนำ (Suggestive Mark) ที่ชี้ชวนหรือแนะนำให้ทราบเป็นเบื้องต้นว่าเป็นสินค้าที่ใช้เกี่ยวกับผิวหนังเท่านั้น โดยไม่ได้อธิบายหรือพรรณนาถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรงว่าเป็นซิลิโคนสำหรับเสริมสวย สารที่เตรียมขึ้นเพื่อใช้รักษาผิวหนังที่เสียหาย แผลเป็น และแผล ที่ไม่มีส่วนผสมของยา และเนื่องจากสิ่งที่ใช้เกี่ยวกับผิวหนังมีได้หลายประเภท สาธารณชนโดยทั่วไปเมื่อเห็นหรือได้ยินเสียงเรียกขานหรือคำอ่านของคำหรือเครื่องหมายดังกล่าวยังไม่อาจทราบได้โดยทันทีว่าสินค้าของโจทก์มีลักษณะอย่างไรหรือคุณสมบัติของสินค้าเป็นอย่างไร คงทราบได้แต่เพียงว่าเป็นสินค้าเกี่ยวกับผิวหนัง โดยจะต้องคิด จินตนาการ สืบหาต่อไป หรือเห็นตัวสินค้าที่คำหรือเครื่องหมายนั้นติดอยู่จึงจะทราบถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าได้ ดังนี้ เครื่องหมายการค้าคำว่า DERMATIX ของโจทก์จึงเป็นคำที่ไม่ได้เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าที่ขอจดทะเบียนโดยตรง มีลักษณะบ่งเฉพาะซึ่งไม่ต้องห้ามมิให้รับจดทะเบียนตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 6 (1) และมาตรา 7 วรรคสอง (2) (เดิม)
ส่วนเครื่องหมายการค้าคำว่า DERMATIX ULTRA ตามคำขอเลขที่ 796657 ซึ่งโจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนกับสินค้าจำพวก 5 รายการสินค้า ยาที่ใช้ในการรักษารอยแผลเป็นนั้น ภาคส่วนคำว่า DERMATIX เป็นคำที่ไม่ได้เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าที่ขอจดทะเบียนโดยตรง โดยมีเหตุผลทำนองเดียวกันกับเครื่องหมายการค้าคำว่า DERMATIX ตามคำขอเลขที่ 796655 ที่ได้วินิจฉัยมาข้างต้น เนื่องจากรายการสินค้าที่ขอจดทะเบียนมีลักษณะอย่างเดียวกัน ส่วนภาคส่วนคำว่า ULTRA แม้เป็นคำซึ่งมีความหมายว่า เกิน อย่างรุนแรง ที่สุด หรือดีเยี่ยม และโดยตัวมันเองถือได้ว่าเป็นคำสามัญที่บ่งบอกถึงคุณสมบัติของสินค้าโดยทั่วไป อันเป็นคำที่มีลักษณะไม่บ่งเฉพาะก็ตาม แต่เมื่อพิจารณาประกอบกับภาคส่วนคำว่า DERMATIX โดยภาพรวมแล้ว เห็นได้ว่า คำว่า ULTRA เป็นภาคส่วนประกอบที่ขยายความภาคส่วนคำว่า DERMATIX ซึ่งเป็นภาคส่วนสาระสำคัญ แต่โดยที่คำว่า DERMATIX นั้นเป็นคำที่ไม่ได้เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้า ที่ขอจดทะเบียนดังที่ได้วินิจฉัยมาข้างต้น เมื่อพิจารณารวมกันแล้วเครื่องหมายการค้าคำว่า DERMATIX ULTRA จึงเป็นคำหรือข้อความที่ไม่ได้อธิบายหรือพรรณนาถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าใดโดยตรง เพราะสาธารณชนไม่อาจทราบได้โดยทันทีว่าเป็นสินค้าประเภทยาที่ใช้รักษารอยแผลเป็น และคำว่า ULTRA ไม่อาจทำให้ทราบได้ว่าสินค้าที่มีคุณสมบัติดีเยี่ยมนั้นคืออะไร เครื่องหมายการค้าคำว่า DERMATIX ULTRA จึงเป็นคำหรือข้อความที่ไม่ได้เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าที่ขอจดทะเบียนโดยตรง จึงเป็นเครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะบ่งเฉพาะอันไม่ต้องห้ามมิให้รับจดทะเบียนตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 6 (1) ประกอบมาตรา 7 วรรคสอง (2) (เดิม) แต่เนื่องจากเครื่องหมายการค้าคำว่า DERMATIX ULTRA ภาคส่วนคำว่า ULTRA เป็นคำที่มีลักษณะไม่บ่งเฉพาะดังกล่าวข้างต้น ซึ่งนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าอาจมีคำสั่งให้โจทก์ผู้ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นแสดงปฏิเสธว่าไม่ขอถือเป็นสิทธิของตนแต่ผู้เดียวในอันที่จะใช้ส่วนดังกล่าวของเครื่องหมายการค้านั้นตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 17 (1) ดังนั้น ในการขอจดทะเบียนการเครื่องหมายการค้านี้จึงให้โจทก์แสดงการปฏิเสธว่าไม่ขอถือเป็นสิทธิของตนแต่ผู้เดียวในอันที่จะใช้คำดังกล่าวด้วย
ส่วนเครื่องหมายการค้าคำว่า DERMATIX ULTRA ตามคำขอเลขที่ 796657 ซึ่งโจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนกับสินค้าจำพวก 5 รายการสินค้า ยาที่ใช้ในการรักษารอยแผลเป็นนั้น ภาคส่วนคำว่า DERMATIX เป็นคำที่ไม่ได้เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าที่ขอจดทะเบียนโดยตรง โดยมีเหตุผลทำนองเดียวกันกับเครื่องหมายการค้าคำว่า DERMATIX ตามคำขอเลขที่ 796655 ที่ได้วินิจฉัยมาข้างต้น เนื่องจากรายการสินค้าที่ขอจดทะเบียนมีลักษณะอย่างเดียวกัน ส่วนภาคส่วนคำว่า ULTRA แม้เป็นคำซึ่งมีความหมายว่า เกิน อย่างรุนแรง ที่สุด หรือดีเยี่ยม และโดยตัวมันเองถือได้ว่าเป็นคำสามัญที่บ่งบอกถึงคุณสมบัติของสินค้าโดยทั่วไป อันเป็นคำที่มีลักษณะไม่บ่งเฉพาะก็ตาม แต่เมื่อพิจารณาประกอบกับภาคส่วนคำว่า DERMATIX โดยภาพรวมแล้ว เห็นได้ว่า คำว่า ULTRA เป็นภาคส่วนประกอบที่ขยายความภาคส่วนคำว่า DERMATIX ซึ่งเป็นภาคส่วนสาระสำคัญ แต่โดยที่คำว่า DERMATIX นั้นเป็นคำที่ไม่ได้เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้า ที่ขอจดทะเบียนดังที่ได้วินิจฉัยมาข้างต้น เมื่อพิจารณารวมกันแล้วเครื่องหมายการค้าคำว่า DERMATIX ULTRA จึงเป็นคำหรือข้อความที่ไม่ได้อธิบายหรือพรรณนาถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าใดโดยตรง เพราะสาธารณชนไม่อาจทราบได้โดยทันทีว่าเป็นสินค้าประเภทยาที่ใช้รักษารอยแผลเป็น และคำว่า ULTRA ไม่อาจทำให้ทราบได้ว่าสินค้าที่มีคุณสมบัติดีเยี่ยมนั้นคืออะไร เครื่องหมายการค้าคำว่า DERMATIX ULTRA จึงเป็นคำหรือข้อความที่ไม่ได้เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าที่ขอจดทะเบียนโดยตรง จึงเป็นเครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะบ่งเฉพาะอันไม่ต้องห้ามมิให้รับจดทะเบียนตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 6 (1) ประกอบมาตรา 7 วรรคสอง (2) (เดิม) แต่เนื่องจากเครื่องหมายการค้าคำว่า DERMATIX ULTRA ภาคส่วนคำว่า ULTRA เป็นคำที่มีลักษณะไม่บ่งเฉพาะดังกล่าวข้างต้น ซึ่งนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าอาจมีคำสั่งให้โจทก์ผู้ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นแสดงปฏิเสธว่าไม่ขอถือเป็นสิทธิของตนแต่ผู้เดียวในอันที่จะใช้ส่วนดังกล่าวของเครื่องหมายการค้านั้นตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 17 (1) ดังนั้น ในการขอจดทะเบียนการเครื่องหมายการค้านี้จึงให้โจทก์แสดงการปฏิเสธว่าไม่ขอถือเป็นสิทธิของตนแต่ผู้เดียวในอันที่จะใช้คำดังกล่าวด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1265/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลิขสิทธิ์งานศิลปกรรม: การสร้างสรรค์ด้วยวิริยะอุตสาหะ แม้มีนโยบาย/แนวคิดจากผู้อื่น ก็ยังถือเป็นการริเริ่มสร้างสรรค์
ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 4 และมาตรา 6 งานสร้างสรรค์ประเภทศิลปกรรมที่มีลักษณะเป็นงานจิตรกรรมจะเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ที่ได้รับความคุ้มครองตามบทบัญญัติดังกล่าวของ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 นั้น ต้องเป็นงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ทำหรือก่อให้เกิดงานนั้นด้วยการริเริ่มขึ้นเองโดยมิได้ทำซ้ำหรือดัดแปลงจากงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต งานอันมีลิขสิทธิ์ไม่จำต้องเป็นงานใหม่อย่างเช่นกรณีของสิทธิบัตรการประดิษฐ์ซึ่งจะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายสิทธิบัตรต่อเมื่อเป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่หรือต้องไม่เป็นงานที่ปรากฏอยู่แล้ว งานอันมีลิขสิทธิ์จึงอาจเหมือนหรือคล้ายกับงานอันมีลิขสิทธิ์ที่ปรากฏอยู่แล้วได้ แต่งานที่เหมือนหรือคล้ายกันนั้นต้องเกิดจากการริเริ่มสร้างสรรค์ขึ้นเองของผู้สร้างสรรค์โดยมิได้ทำซ้ำหรือดัดแปลงจากงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต คุณค่าของงานหรือคุณค่าทางศิลปะไม่ใช่เงื่อนไขของการคุ้มครองลิขสิทธิ์ แม้งานที่สร้างขึ้นนั้นจะไม่มีคุณค่าของงานหรือคุณค่าทางศิลปะ หากผู้สร้างสรรค์ได้ทำขึ้นด้วยความวิริยะอุตสาหะ ด้วยการทุ่มเทกำลังสติปัญญาความรู้ความสามารถ ใช้ประสบการณ์และวิจารณญาณในการสร้างงานนั้น งานนั้นก็ได้รับความคุ้มครองลิขสิทธิ์ โดยการคุ้มครองลิขสิทธิ์เป็นการให้ความคุ้มครองรูปแบบของการแสดงออกซึ่งความคิด ไม่คุ้มครองความคิดหรือแนวความคิด เมื่อพิจารณาถึงแบบซุ้มประตูเมืองที่ขยายมาตราส่วน ซึ่งอาจแบ่งได้เป็น 3 ส่วน คือ ส่วนแรก ซุ้มประตูด้านบน ซึ่งประกอบไปด้วยรูปโบราณสถานของเมือง 5 อย่าง ได้แก่ ศาลหลักเมือง พระเจ้าศรีธรรมาโศกราชและกำแพงเมือง พระบรมมหาธาตุ ศาลาพุทธสิหิงค์ และหอพระนารายณ์ ส่วนที่สอง คานของซุ้มประตู โดยด้านซ้ายและขวามีลายไทย 4 มุม วงกลมล้อมรูป 12 นักษัตร ด้านละ 6 ตัว ตรงกลางเป็นแผ่นป้าย "ยินดีต้อนรับ เทศบาลนครนครศรีธรรมราช" และส่วนที่สาม เสาของซุ้มประตูเมือง โดยเสาซ้ายและขวามีลายเส้นดอกไม้ใหญ่เริ่มจากตรงกลางเสา เสาละ 1 ดอก ส่วนเสากลางมีดอกไม้ 1 ดอก เริ่มตั้งแต่ฐานล่างสุดของเสา ด้านบนเป็นตราของจำเลยที่ 1 ซึ่งโจทก์นำสืบว่าได้ออกแบบโดยปรึกษากับนายภิญโญ ค้นประวัติของเมืองนครศรีธรรมราช ตรวจสอบศึกษาสถาปัตยกรรมพื้นบ้าน วัตถุโบราณ โบราณสถานในจังหวัด ภูมิปัญญาท้องถิ่น จุดเด่นของจังหวัด รวบรวมหลายอย่างเข้าด้วยกัน แล้วจินตนาการด้วยลีลาการเขียนจิตรกรรม ทำเป็นร่างงานจิตรกรรมขึ้นมา ดังนี้ ย่อมถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ทำหรือก่อให้เกิดงานสร้างสรรค์ด้วยความวิริยะอุตสาหะแล้ว แม้การออกแบบดังกล่าวของโจทก์จะเป็นไปตามนโยบายและแนวคิดของจำเลยที่ 1 และมีการปรับปรุงแก้ไขตามคำแนะนำของจำเลยที่ 1 ตามที่ฝ่ายจำเลยอ้างก็ตาม แต่การคุ้มครองลิขสิทธิ์นั้นเป็นการคุ้มครองในการแสดงออก ไม่คลุมถึงความคิดหรือแนวความคิด การที่โจทก์ปรับปรุงแก้ไขก็เพียงเพื่อให้เป็นไปตามความต้องการของทางจำเลยที่ 1 เพื่อที่โจทก์จะได้รับพิจารณาให้เป็นผู้ก่อสร้างซุ้มประตูตามแบบดังกล่าว นอกจากนี้แม้ซุ้มประตูด้านบนจะประกอบไปด้วยโบราณสถานของจังหวัดซึ่งบุคคลทั่วไปรู้จักและมีการก่อสร้างมานานแล้วก็ตาม แต่การที่โจทก์เลือกโบราณสถานที่สำคัญของจังหวัดมาเพียง 5 รายการ โดยออกแบบโบราณสถานทั้งห้ารายการให้มีลักษณะ มุมมอง ลายเส้น และขนาด ที่เหมาะสมกับซุ้มประตู แล้วนำมาจัดเรียงกัน ตกแต่งด้วยลายไทย ลายดอกไม้ 12 นักษัตร โจทก์ย่อมต้องใช้ความวิริยะอุตสาหะในการดำเนินการเพื่อให้ออกมาเป็นแบบได้ เมื่อไม่ปรากฏว่าแบบซุ้มประตูเมืองดังกล่าวเกิดจากการทำซ้ำหรือดัดแปลงจากงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต ย่อมถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ริเริ่มสร้างสรรค์และเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์งานศิลปกรรมอันมีลักษณะงานจิตรกรรมในแบบซุ้มประตูเมืองดังกล่าว