พบผลลัพธ์ทั้งหมด 222 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1264/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ฟ้องในคดีละเมิดลิขสิทธิ์: การเปลี่ยนแปลงตัวผู้เสียหายและผลกระทบต่อการต่อสู้คดี
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองกระทำละเมิดลิขสิทธิ์งานดนตรีกรรมและสิ่งบันทึกเสียงซึ่งเพลงพิพาท 4 เพลง คือ เพลงแสงจันทร์ เพลงเรือน้อย เพลงเจ็บนิดเดียว และ เพลงวันเวลา อันเป็นงานมีลิขสิทธิ์ของผู้อื่น โดยในส่วนที่เกี่ยวกับผู้เป็นเจ้าของงานอันมีลิขสิทธิ์ซึ่งถือว่าเป็นผู้เสียหายตามกฎหมายนั้น ฟ้องฉบับเดิมบรรยายว่า บริษัท ส. เป็นผู้เสียหาย โดย ช. ผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์งานดนตรีกรรมและสิ่งบันทึกเสียงซึ่งเพลงแสงจันทร์ และเพลงเรือน้อย ทำสัญญาแต่งตั้งให้บริษัท ส. เป็นผู้รับอนุญาตให้เป็นตัวแทนจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ในการเผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งงานดังกล่าว และบริษัท ท. ผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์งานดนตรีกรรมและสิ่งบันทึกเสียงซึ่งเพลงเจ็บนิดเดียว และ เพลงวันเวลา ทำสัญญาแต่งตั้งให้บริษัท ส. เป็นผู้รับอนุญาตให้เป็นตัวแทนจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ในการเผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งงานดังกล่าว ต่อมาโจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ฟ้องในส่วนนี้เป็นว่า ช. เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์งานดนตรีกรรมและสิ่งบันทึกเสียงซึ่งเพลงแสงจันทร์ และเพลงเรือน้อย และบริษัท ป. เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์งานดนตรีกรรมและสิ่งบันทึกเสียงซึ่งเพลงเจ็บนิดเดียว และเพลงวันเวลา บริษัท ป. ได้อนุญาตให้บริษัท ท. ใช้ลิขสิทธิ์ในเพลงเจ็บนิดเดียว และเพลงวันเวลา ได้โดยชอบด้วยกฎหมาย ช. และบริษัท ท. จึงเป็นผู้เสียหาย ทั้งนี้ ช. และบริษัท ท. ได้มอบหมายให้บริษัท ส. เป็นผู้รับอนุญาตและให้เป็นตัวแทนในการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์เพลงแสงจันทร์ เพลงเรือน้อย เพลงเจ็บนิดเดียว และเพลงวันเวลา ดังนี้ ที่ฟ้องฉบับเดิมบรรยายว่า บริษัท ส. เป็นผู้ได้รับแต่งตั้งจาก ช. และบริษัท ท. เจ้าของงานอันมีลิขสิทธิ์ตามฟ้อง ให้เป็นตัวแทนจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ในการเผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งงานดังกล่าว ไม่ได้บรรยายว่าเป็นเจ้าของงานอันมีลิขสิทธิ์ แม้ตอนต้นของฟ้องจะระบุว่าบริษัทดังกล่าวเป็นผู้เสียหายก็ถือไม่ได้ว่าเป็นผู้ได้รับความเสียหายจากการกระทำผิดตามฟ้องในอันที่จะเป็นผู้เสียหายตามกฎหมาย และคำร้องขอแก้ฟ้องของโจทก์ก็ไม่ได้ขอแก้ฐานะของบริษัท ส. ที่เป็นผู้ได้รับแต่งตั้งให้เป็นตัวแทนจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ของ ช. และบริษัท ท. แต่อย่างใด คงขอแก้ฟ้องเดิมโดยเพิ่มเติมรายละเอียดที่เกี่ยวกับเจ้าของงานอันมีลิขสิทธิ์ในส่วนเพลงเจ็บนิดเดียว และเพลงวันเวลา คำร้องขอแก้ฟ้องของโจทก์ดังกล่าวเป็นการขอเพิ่มเติมรายละเอียดเกี่ยวกับเจ้าของลิขสิทธิ์ในส่วนซึ่งมิได้กล่าวไว้ ไม่ได้แก้ฟ้องโดยเปลี่ยนตัวผู้เสียหายตามกฎหมาย ถือไม่ได้ว่าเป็นการขอแก้ฟ้องในข้อสาระสำคัญที่จะเป็นการแก้ไของค์ประกอบความผิดหรือสภาพแห่งข้อหา จึงไม่ทำให้จำเลยทั้งสองเสียเปรียบในการต่อสู้คดี อีกทั้งในเวลาที่โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ฟ้องนั้นยังไม่มีการสืบพยานของคู่ความทั้งสองฝ่าย จำเลยที่ 1 ย่อมมีโอกาสต่อสู้คดีได้เต็มที่และไม่หลงต่อสู้ในข้อที่ขอแก้ฟ้องนั้น และในกรณีนี้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางชอบที่จะใช้ดุลพินิจสั่งอนุญาตให้โจทก์แก้ฟ้องได้โดยไม่จำต้องสอบถามจำเลยทั้งสองก่อนคำสั่งของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางที่อนุญาตให้โจทก์แก้ฟ้องจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1027/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การงดการพิจารณาคดีแพ่งหลังศาลรับคำร้องขอฟื้นฟูกิจการ และผลของการยกเลิกคำสั่งฟื้นฟูกิจการ
เมื่อมีการยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้และศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งรับคำร้องขอฟื้นฟูกิจการแล้ว ย่อมมีผลต่อการดำเนินคดีแพ่งแก่ลูกหนี้โดยต้องบังคับตามบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ซึ่งพระราชบัญญัติดังกล่าวมาตรา 90/12 (4) ห้ามมิให้ฟ้องลูกหนี้เป็นคดีแพ่งเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้หรือเสนอข้อพิพาทที่ลูกหนี้อาจต้องรับผิดหรือได้รับความเสียหายให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาด ถ้ามูลแห่งหนี้นั้นเกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผน และห้ามมิให้ฟ้องลูกหนี้เป็นคดีล้มละลาย ในกรณีที่มีการฟ้องคดีหรือเสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดไว้ก่อนแล้ว ให้งดการพิจารณาไว้ เว้นแต่ศาลที่รับคำร้องขอจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น คดีนี้ปรากฏข้อเท็จจริงตามสำนวนว่า หลังจากศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำพิพากษาและจำเลยที่ 2 ยื่นอุทธรณ์แล้ว เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2560 จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอให้งดการพิจารณาโดยอ้างว่าจำเลยที่ 2 ได้ยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการไว้เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2560 และศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งรับคำร้องขอฟื้นฟูกิจการดังกล่าวไว้พิจารณาแล้วในวันเดียวกัน โดยจำเลยที่ 2 ได้แนบสำเนาคำร้องขอฟื้นฟูกิจการของจำเลยที่ 2 มาท้ายคำร้องด้วย เมื่อสำเนาคำร้องขอดังกล่าวเป็นสำเนาเอกสารที่เจ้าหน้าที่ศาลล้มละลายกลางรับรองสำเนาถูกต้อง ซึ่งในหน้าสุดท้ายระบุว่าศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งรับคำร้องขอดังกล่าวไว้พิจารณาแล้ว และไม่ปรากฏว่าโจทก์โต้แย้งความถูกต้องแท้จริงของเอกสารดังกล่าวไว้ในคำแก้ฎีกาแต่อย่างใด ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ว่า ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งรับคำร้องขอฟื้นฟูกิจการไว้พิจารณาแล้ว และไม่ปรากฏว่าศาลล้มละลายกลางที่รับคำร้องขอฟื้นฟูกิจการมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น จึงต้องด้วยกรณีที่ศาลที่พิจารณาคดีแพ่งต้องงดการพิจารณาไว้จนถึงวันครบกำหนดระยะเวลาดำเนินการตามแผน หรือวันที่ดำเนินการเป็นผลสำเร็จตามแผน หรือวันที่ศาลมีคำสั่งยกคำร้องขอ หรือจำหน่ายคดีหรือยกเลิกคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ หรือยกเลิกการฟื้นฟูกิจการหรือพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด และย่อมหมายความรวมถึงการพิจารณาคดีในชั้นอุทธรณ์หรือฎีกาด้วย ที่ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษวินิจฉัยว่า ไม่ปรากฏหลักฐานว่าศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งเช่นใดเกี่ยวกับจำเลยที่ 2 จึงไม่มีเหตุที่จะงดการพิจารณาสำหรับจำเลยที่ 2 ยกคำร้องขอให้งดการพิจารณาของจำเลยที่ 2 และมีคำพิพากษาในส่วนของจำเลยที่ 2 ในชั้นอุทธรณ์มานั้น เป็นการไม่ชอบ แต่เมื่อความปรากฏจากคำแถลงข้อเท็จจริงของโจทก์ว่า ในระหว่างการพิจารณาคดีของศาลฎีกา ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งยกเลิกคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของจำเลยที่ 2 แล้ว ผลของคำสั่งยกเลิกคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการทำให้สภาวะพักการชำระหนี้ตามมาตรา 90/12 ในคดีฟื้นฟูกิจการของจำเลยที่ 2 ย่อมสิ้นสุดลง จึงไม่มีเหตุให้งดการพิจารณาสำหรับจำเลยที่ 2 ต่อไป
เมื่อศาลฎีการับฎีกาของจำเลยที่ 2 เฉพาะประเด็นที่ว่า ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษต้องงดการพิจารณาสำหรับจำเลยที่ 2 หรือไม่ ฎีกาของจำเลยที่ 2 ในประเด็นนี้จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ซึ่งต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท แต่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 เสียค่าขึ้นศาลมาอย่างคดีมีทุนทรัพย์ จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาส่วนที่เกิน 200 บาท แก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5
เมื่อศาลฎีการับฎีกาของจำเลยที่ 2 เฉพาะประเด็นที่ว่า ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษต้องงดการพิจารณาสำหรับจำเลยที่ 2 หรือไม่ ฎีกาของจำเลยที่ 2 ในประเด็นนี้จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ซึ่งต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท แต่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 เสียค่าขึ้นศาลมาอย่างคดีมีทุนทรัพย์ จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาส่วนที่เกิน 200 บาท แก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 636/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอคืนของกลางในคดีทรัพย์สินทางปัญญา: เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่แท้จริง & ค่าธรรมเนียมศาล
ที่ผู้ร้องฎีกาทำนองว่า พนักงานสอบสวนไม่มีอำนาจสอบสวน โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ฟ้องโจทก์บรรยายไม่ชอบด้วยกฎหมาย และทรัพย์ของกลางไม่ใช่ทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิด เห็นว่า คดีร้องขอคืนของกลางมีประเด็นต้องวินิจฉัยตามคำร้องของผู้ร้องเพียงว่า ศาลจะสั่งคืนของกลางให้แก่ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าของที่แท้จริงและมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดหรือไม่เท่านั้น แต่ประเด็นดังกล่าวข้างต้นที่ผู้ร้องฎีกามานั้นเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 ต้องยกขึ้นต่อสู้ในคดีหลัก เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ได้ต่อสู้ไว้ ผู้ร้องจะยกประเด็นดังกล่าวขึ้นมาว่ากล่าวในชั้นร้องขอคืนของกลางไม่ได้ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศไม่รับวินิจฉัยฎีกาของผู้ร้องในประเด็นดังกล่าว
คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของผู้ร้องข้อสุดท้ายว่า ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งให้ผู้ร้องวางเงินค่านำส่งหมายนัดไต่สวนและสำเนาคำร้องให้คู่ความทราบชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ โดยผู้ร้องฎีกาทำนองว่า คดีร้องขอคืนของกลางเป็นส่วนหนึ่งของคดีอาญา จึงไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมในการส่งสำเนาคำร้องและหมายศาล เห็นว่า แม้คดีร้องขอคืนของกลางเป็นส่วนหนึ่งของคดีอาญา แต่ค่าใช้จ่ายที่ผู้ร้องวางเพื่อใช้ในการส่งสำเนาคำร้องและหมายนัดให้แก่คู่ความไม่ใช่ค่าธรรมเนียมที่ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 252 บัญญัติไว้มิให้เรียก ที่ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษวินิจฉัยในข้อนี้มานั้น ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเห็นพ้องด้วย ฎีกาของผู้ร้องข้อนี้ฟังไม่ขึ้นเช่นกัน
คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของผู้ร้องข้อสุดท้ายว่า ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งให้ผู้ร้องวางเงินค่านำส่งหมายนัดไต่สวนและสำเนาคำร้องให้คู่ความทราบชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ โดยผู้ร้องฎีกาทำนองว่า คดีร้องขอคืนของกลางเป็นส่วนหนึ่งของคดีอาญา จึงไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมในการส่งสำเนาคำร้องและหมายศาล เห็นว่า แม้คดีร้องขอคืนของกลางเป็นส่วนหนึ่งของคดีอาญา แต่ค่าใช้จ่ายที่ผู้ร้องวางเพื่อใช้ในการส่งสำเนาคำร้องและหมายนัดให้แก่คู่ความไม่ใช่ค่าธรรมเนียมที่ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 252 บัญญัติไว้มิให้เรียก ที่ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษวินิจฉัยในข้อนี้มานั้น ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเห็นพ้องด้วย ฎีกาของผู้ร้องข้อนี้ฟังไม่ขึ้นเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 328/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอคืนของกลาง: เจ้าของแท้จริงต้องพิสูจน์ได้ และค่าใช้จ่ายในการแจ้งคู่ความไม่ใช่ค่าธรรมเนียม
คดีร้องขอคืนของกลางมีประเด็นต้องวินิจฉัยตามคำร้องของผู้ร้องเพียงว่า ศาลจะสั่งคืนของกลางให้แก่ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าของแท้จริงและมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดหรือไม่เท่านั้น แต่ประเด็นที่ผู้ร้องฎีกาทำนองว่า พนักงานสอบสวนไม่มีอำนาจสอบสวน โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ฟ้องโจทก์บรรยายไม่ชอบด้วยกฎหมาย และทรัพย์ของกลางไม่ใช่ทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิดนั้น เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 ต้องยกขึ้นต่อสู้ในคดีหลัก ผู้ร้องจะยกประเด็นดังกล่าวขึ้นมาว่ากล่าวในชั้นร้องขอคืนของกลางไม่ได้ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศไม่รับวินิจฉัยฎีกาของผู้ร้องในประเด็นดังกล่าว
แม้คดีร้องขอคืนของกลางเป็นส่วนหนึ่งของคดีอาญา แต่ค่าใช้จ่ายที่ผู้ร้องวางเพื่อใช้ในการส่งสำเนาคำร้องและหมายนัดให้แก่คู่ความไม่ใช่ค่าธรรมเนียมที่ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 252 บัญญัติไว้มิให้เรียก
แม้คดีร้องขอคืนของกลางเป็นส่วนหนึ่งของคดีอาญา แต่ค่าใช้จ่ายที่ผู้ร้องวางเพื่อใช้ในการส่งสำเนาคำร้องและหมายนัดให้แก่คู่ความไม่ใช่ค่าธรรมเนียมที่ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 252 บัญญัติไว้มิให้เรียก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 327/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอคืนของกลาง: เจ้าของแท้จริงต้องพิสูจน์ได้ & ค่าธรรมเนียมการส่งหมายแจ้งไม่ใช่ค่าธรรมเนียมที่กฎหมายยกเว้น
คดีร้องขอคืนของกลางมีประเด็นต้องวินิจฉัยตามคำร้องของผู้ร้องเพียงว่า ศาลจะสั่งคืนของกลางให้แก่ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าของแท้จริงและมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดหรือไม่เท่านั้น แต่ประเด็นที่ผู้ร้องฎีกาทำนองว่า พนักงานสอบสวนไม่มีอำนาจสอบสวน โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ฟ้องโจทก์บรรยายไม่ชอบด้วยกฎหมาย และทรัพย์ของกลางไม่ใช่ทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิดนั้น เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 ต้องยกขึ้นต่อสู้ในคดีหลัก ผู้ร้องจะยกประเด็นดังกล่าวขึ้นมาว่ากล่าวในชั้นร้องขอคืนของกลางไม่ได้ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศไม่รับวินิจฉัยฎีกาของผู้ร้องในประเด็นดังกล่าว
แม้คดีร้องขอคืนของกลางเป็นส่วนหนึ่งของคดีอาญา แต่ค่าใช้จ่ายที่ผู้ร้องวางเพื่อใช้ในการส่งสำเนาคำร้องและหมายนัดให้แก่คู่ความไม่ใช่ค่าธรรมเนียมที่ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 252 บัญญัติไว้มิให้เรียก
แม้คดีร้องขอคืนของกลางเป็นส่วนหนึ่งของคดีอาญา แต่ค่าใช้จ่ายที่ผู้ร้องวางเพื่อใช้ในการส่งสำเนาคำร้องและหมายนัดให้แก่คู่ความไม่ใช่ค่าธรรมเนียมที่ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 252 บัญญัติไว้มิให้เรียก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7624/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฉีกบัตรเลือกตั้งและโพสต์เผยแพร่ ถือเป็นความวุ่นวาย ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2559 มาตรา 59 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ผู้ใดทำลายบัตรที่มีไว้สำหรับการออกเสียงโดยไม่มีอำนาจกระทำได้ หรือจงใจกระทำการด้วยประการใด ๆ ให้บัตรออกเสียงชำรุดหรือเสียหาย หรือกระทำการด้วยประการใด ๆ แก่บัตรเสียให้เป็นบัตรที่ใช้ได้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี และปรับไม่เกินสองหมื่นบาท" ตามบทบัญญัติดังกล่าวเพียงแค่ทำลายบัตรที่มีไว้สำหรับการออกเสียงก็เป็นความผิดแล้ว ไม่ว่าบัตรออกเสียงนั้นจะทำเครื่องหมายกากบาทแล้วหรือไม่ จำเลยที่ 1 ฉีกบัตรออกเสียงถือว่าเป็นการทำลายบัตรที่มีไว้สำหรับการออกเสียง จึงเป็นความผิดตามบทบัญญัติดังกล่าว
จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิออกเสียง รับบัตรออกเสียงจากเจ้าหน้าที่แล้วไม่ทำเครื่องหมายกากบาทในช่องที่กำหนดภายในคูหาลงคะแนนออกเสียง แต่กลับไปยืนหน้าหีบบัตรออกเสียงพร้อมทั้งชูบัตรออกเสียงขึ้นเหนือศีรษะพร้อมพูดว่า "เผด็จการจงพินาศ ประชาธิปไตยจงเจริญ" พร้อมฉีกบัตรออกเสียง โดยมีจำเลยที่ 2 และที่ 3 ใช้โทรศัพท์มือถือบันทึกวิดีโอเหตุการณ์ดังกล่าวจนเจ้าพนักงานตำรวจต้องเข้าระงับเหตุ ห้ามปรามและนำตัวออกไป ถือได้ว่าเป็นการก่อความวุ่นวายขึ้นในที่ออกเสียง จึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2559 มาตรา 60 (9) ขณะเกิดเหตุรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 ใช้บังคับ ตามรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวมาตรา 4 บัญญัติว่า ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความสมอภาค บรรดาที่ชนชาวไทยเคยได้รับการคุ้มครองตามประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข... ย่อมได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญนี้ ซึ่งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 27 บัญญัติว่า สิทธิและเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญนี้รับรองไว้โดยชัดแจ้ง...ย่อมได้รับความคุ้มครอง... และมาตรา 28 บัญญัติว่า บุคคลย่อม...ใช้สิทธิและเสรีภาพของตนได้เท่าที่ไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น ไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน ซึ่งถือได้ว่าเป็นประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และจำเลยทั้งสามย่อมมีสิทธิเสรีภาพตามบทบัญญัติดังกล่าว แต่ต้องใช้สิทธิและเสรีภาพนั้นไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น ไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญ หรือไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน และไม่ขัดต่อกฎหมาย การที่จำเลยที่ 1 ฉีกบัตรออกเสียง และจำเลยทั้งสามก่อความวุ่นวายขึ้นในที่ออกเสียงซึ่งเป็นความผิดตามกฎหมาย จำเลยทั้งสามจะอ้างว่าเป็นการใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญหาได้ไม่
จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิออกเสียง รับบัตรออกเสียงจากเจ้าหน้าที่แล้วไม่ทำเครื่องหมายกากบาทในช่องที่กำหนดภายในคูหาลงคะแนนออกเสียง แต่กลับไปยืนหน้าหีบบัตรออกเสียงพร้อมทั้งชูบัตรออกเสียงขึ้นเหนือศีรษะพร้อมพูดว่า "เผด็จการจงพินาศ ประชาธิปไตยจงเจริญ" พร้อมฉีกบัตรออกเสียง โดยมีจำเลยที่ 2 และที่ 3 ใช้โทรศัพท์มือถือบันทึกวิดีโอเหตุการณ์ดังกล่าวจนเจ้าพนักงานตำรวจต้องเข้าระงับเหตุ ห้ามปรามและนำตัวออกไป ถือได้ว่าเป็นการก่อความวุ่นวายขึ้นในที่ออกเสียง จึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2559 มาตรา 60 (9) ขณะเกิดเหตุรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 ใช้บังคับ ตามรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวมาตรา 4 บัญญัติว่า ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความสมอภาค บรรดาที่ชนชาวไทยเคยได้รับการคุ้มครองตามประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข... ย่อมได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญนี้ ซึ่งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 27 บัญญัติว่า สิทธิและเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญนี้รับรองไว้โดยชัดแจ้ง...ย่อมได้รับความคุ้มครอง... และมาตรา 28 บัญญัติว่า บุคคลย่อม...ใช้สิทธิและเสรีภาพของตนได้เท่าที่ไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น ไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน ซึ่งถือได้ว่าเป็นประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และจำเลยทั้งสามย่อมมีสิทธิเสรีภาพตามบทบัญญัติดังกล่าว แต่ต้องใช้สิทธิและเสรีภาพนั้นไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น ไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญ หรือไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน และไม่ขัดต่อกฎหมาย การที่จำเลยที่ 1 ฉีกบัตรออกเสียง และจำเลยทั้งสามก่อความวุ่นวายขึ้นในที่ออกเสียงซึ่งเป็นความผิดตามกฎหมาย จำเลยทั้งสามจะอ้างว่าเป็นการใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6296/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อนุญาโตตุลาการแก้ไขประเด็นข้อพิพาทให้ตรงตามที่คู่ความยื่นคำคัดค้าน ไม่ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงประเด็นนอกเหนืออำนาจ
ในชั้นทำคำชี้ขาด อนุญาโตตุลาการ เห็นว่า ในการกำหนดประเด็นข้อพิพาทมีการเรียกผู้คัดค้านทั้งสองสลับกัน จึงได้วินิจฉัยตามประเด็นข้อพิพาทที่ถูกต้อง ซึ่งการแก้ไขดังกล่าวเป็นการแก้ไขโดยเรียกผู้คัดค้านให้ตรงตามที่ผู้ร้องเสนอข้อพิพาทและผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้าน การแก้ไขและการชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการจึงเป็นไปตามประเด็นที่ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านและชอบด้วยกฎหมายแล้ว อุทธรณ์ของผู้คัดค้านจึงไม่ต้องด้วยกรณีที่จะอุทธรณ์ได้ตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 45
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5699/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปลอมแปลงและจำหน่ายสินค้าละเมิดเครื่องหมายการค้า: ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม
โจทก์บรรยายฟ้อง ข้อ (ก) ว่า จำเลยทั้งห้าร่วมกันปลอมเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายทั้งสอง โดยนำน้ำมันหล่อลื่นและน้ำมันเครื่องจากแหล่งผลิตอื่นมาบรรจุในกระป๋องน้ำมันและขวดน้ำมัน ซึ่งเป็นภาชนะผลิตภัณฑ์ที่มีเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายทั้งสองที่จำเลยทั้งห้าร่วมกันทำปลอมขึ้นดังกล่าว แล้วปิดผนึกฝากระป๋องหรือฝาขวดด้วยเครื่องผนึกอลูมิเนียม แล้วนำไปบรรจุใส่กล่องหรือลังกระดาษจนสำเร็จเป็นสินค้าน้ำมันหล่อลื่นที่มีเครื่องหมายการค้ายี่ห้อเวลลอย ซุปเปอร์ทู ที โลวส์โม๊ค ขนาด 0.5 ลิตร จำนวน 1,824 ขวด น้ำมันหล่อลื่นยี่ห้อฮาโวลีน ขนาดบรรจุ 0.5 ลิตร จำนวน 40 ขวด และมีสติกเกอร์ยี่ห้อฮาโวลีนจำนวน 4,800 แผ่น แผ่นฟอยล์ปั๊มปิดฝาขวดยี่ห้อคาร์ลเท็กซ์จำนวน 5,000 แผ่น สติกเกอร์ยี่ห้อคาร์ลเท็กซ์จำนวน 300 แผ่น ใบปะหน้าสินค้ายี่ห้อเวลลอยจำนวน 300 แผ่น ฟอยล์ปั๊มปิดฝาขวดน้ำมันหล่อลื่นยี่ห้อเวลลอยจำนวน 1,000 ชิ้น ฝาปิดขวดน้ำมันเครื่องยี่ห้อเวลลอยสีแดงจำนวน 15,000 ฝา ขวดเปล่าน้ำมันหล่อลื่นยี่ห้อเวลลอยสีแดงจำนวน 2,220 ขวด ขวดเปล่าน้ำมันหล่อลื่นยี่ห้อฮาโวลีนสีดำจำนวน 100 ขวด ขวดเปล่าน้ำมันหล่อลื่นยี่ห้อเวลลอยสีขาวจำนวน 50 ขวด กล่องกระดาษบรรจุสินค้ายี่ห้อเวลลอยจำนวน 80 ใบ กล่องกระดาษบรรจุสินค้ายี่ห้อฮาโวลีนจำนวน 115 ใบ ฉลากปิดขวดน้ำมันหล่อลื่นยี่ห้อเวลลอย 2T ภาษาอังกฤษจำนวน 1,050 แผ่น ฉลากปิดขวดน้ำมันหล่อลื่นยี่ห้อเวลลอย ภาษาไทยจำนวน 30,000 แผ่น ภายใต้เครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายทั้งสองที่จำเลยทั้งห้าทำปลอมขึ้นเพื่อจำหน่าย โดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้เสียหายทั้งสอง และโดยจำเลยทั้งห้ารู้อยู่แล้วว่าเป็นการปลอมเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายทั้งสอง เพื่อให้ผู้อื่นหรือประชาชนทั่วไปหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าและเครื่องหมายการค้าที่แท้จริงของผู้เสียหายทั้งสอง และขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 108 และมาตรา 110 ถือว่าโจทก์บรรยายฟ้องในความผิดฐานร่วมกันปลอมเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนแล้วตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 108 และฐานร่วมกันมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนแล้วตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 110 (1) ประกอบมาตรา 108 ไว้ครบถ้วนแล้ว และประสงค์ให้ลงโทษจำเลยทั้งห้าในความผิดฐานดังกล่าวด้วย เมื่อจำเลยทั้งห้าให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ว่าจำเลยทั้งห้ามีความผิดทั้งสองฐานดังกล่าว ที่ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษไม่ลงโทษจำเลยทั้งห้าในความผิดฐานร่วมกันมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนแล้วตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 110 (1) ประกอบมาตรา 108 นั้น ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศไม่เห็นพ้องด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5698/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลักษณะบ่งเฉพาะของเครื่องหมายการค้า: การพิจารณาความหมายและการสื่อความหมายของคำที่เลียนเสียงจากภาษาต่างประเทศ
การที่จะพิจารณาว่าคำที่เลียนเสียงมาจากคำภาษาต่างประเทศเป็นคำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรงอันจะทำให้ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 7 วรรคสอง (2) นั้น นอกจากจะต้องพิจารณาว่าคำภาษาต่างประเทศดังกล่าวมีคำแปลเป็นภาษาไทยว่าอย่างไรแล้ว ยังต้องคำนึงถึงการใช้ในประเทศไทยด้วยว่า ถูกนำมาใช้ในความหมายหรือในลักษณะใด และต้องพิจารณาต่อไปว่าคำดังกล่าวเกี่ยวข้องหรือมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าที่ขอจดทะเบียนโดยตรงจนถึงขนาดทำให้เมื่อสาธารณชนเห็นเครื่องหมายการค้านี้แล้วสามารถทราบถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้านั้นได้ในทันที หรืออาจใช้วิจารณญาณเพียงเล็กน้อยก็สามารถเข้าใจได้ในทันทีว่าเครื่องหมายการค้าดังกล่าวสื่อให้เห็นถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้านั้นได้ แต่หากเครื่องหมายการค้าดังกล่าวเป็นเพียงคำที่อาจสื่อให้สาธารณชนผู้ใช้สินค้าคิดหรือจินตนาการแล้วยังต้องใช้วิจารณญาณพอสมควรในการพิจารณาจึงจะเข้าใจว่าคำดังกล่าวสื่อให้ทราบถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้านั้น อาจถือไม่ได้ว่าเป็นคำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้านั้นโดยตรง จึงเป็นคำที่มีลักษณะบ่งเฉพาะ
เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นคำภาษาไทย ไม่มีความหมายตามพจนานุกรม คำดังกล่าวพ้องเสียงกับคำภาษาอังกฤษที่โจทก์ประดิษฐ์ขึ้นคำว่า "INTOUCH" ซึ่งเป็นคำผสมระหว่างคำว่า IN แปลว่า ใน ข้างใน และคำว่า TOUCH แปลว่า สัมผัส แตะต้อง ซึ่งสามารถแปลได้หลายความหมาย โดยไม่ปรากฏหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนว่าเหตุใดนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าและคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าจึงเลือกแปลความหมายของคำดังกล่าวเช่นนั้น ประกอบกับการให้ความหมายของคำว่า IN TOUCH ก็เป็นในลักษณะของการสื่อความหมาย ไม่ใช่ความหมายโดยตรง การนำคำว่า IN และคำว่า TOUCH มารวมกันจึงไม่อาจระบุได้แน่ชัดว่ามีความหมายอย่างไร และแม้ตามพจนานุกรมดังกล่าวจะให้ความหมายของคำว่า Be in touch แปลว่า ติดต่อ แต่การติดต่อนั้นมีได้หลายรูปแบบ ทั้งการพบปะ พูดคุย หรือการติดต่อทางลายลักษณ์อักษร สาธารณชนในประเทศไทยเมื่อเห็นเครื่องหมายการค้าดังกล่าวแล้วย่อมไม่อาจทราบหรือเข้าใจได้ในทันทีหรือใช้วิจารณญาณเพียงเล็กน้อยก็ไม่อาจทราบหรือเข้าใจได้ว่าสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวเป็นสินค้าประเภทหรือชนิดใด การใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ย่อมถือได้ว่าเป็นการใช้ในลักษณะที่ทำให้สาธารณชนหรือผู้ใช้สินค้านั้นทราบหรือเข้าใจได้ว่าสินค้าของโจทก์แตกต่างจากสินค้าของบุคคลอื่น เครื่องหมายการค้าของโจทก์ จึงเป็นคำที่ไม่ได้เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรง ถือว่ามีลักษณะบ่งเฉพาะอันพึงรับจดทะเบียนได้
เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นคำภาษาไทย ไม่มีความหมายตามพจนานุกรม คำดังกล่าวพ้องเสียงกับคำภาษาอังกฤษที่โจทก์ประดิษฐ์ขึ้นคำว่า "INTOUCH" ซึ่งเป็นคำผสมระหว่างคำว่า IN แปลว่า ใน ข้างใน และคำว่า TOUCH แปลว่า สัมผัส แตะต้อง ซึ่งสามารถแปลได้หลายความหมาย โดยไม่ปรากฏหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนว่าเหตุใดนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าและคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าจึงเลือกแปลความหมายของคำดังกล่าวเช่นนั้น ประกอบกับการให้ความหมายของคำว่า IN TOUCH ก็เป็นในลักษณะของการสื่อความหมาย ไม่ใช่ความหมายโดยตรง การนำคำว่า IN และคำว่า TOUCH มารวมกันจึงไม่อาจระบุได้แน่ชัดว่ามีความหมายอย่างไร และแม้ตามพจนานุกรมดังกล่าวจะให้ความหมายของคำว่า Be in touch แปลว่า ติดต่อ แต่การติดต่อนั้นมีได้หลายรูปแบบ ทั้งการพบปะ พูดคุย หรือการติดต่อทางลายลักษณ์อักษร สาธารณชนในประเทศไทยเมื่อเห็นเครื่องหมายการค้าดังกล่าวแล้วย่อมไม่อาจทราบหรือเข้าใจได้ในทันทีหรือใช้วิจารณญาณเพียงเล็กน้อยก็ไม่อาจทราบหรือเข้าใจได้ว่าสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวเป็นสินค้าประเภทหรือชนิดใด การใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ย่อมถือได้ว่าเป็นการใช้ในลักษณะที่ทำให้สาธารณชนหรือผู้ใช้สินค้านั้นทราบหรือเข้าใจได้ว่าสินค้าของโจทก์แตกต่างจากสินค้าของบุคคลอื่น เครื่องหมายการค้าของโจทก์ จึงเป็นคำที่ไม่ได้เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรง ถือว่ามีลักษณะบ่งเฉพาะอันพึงรับจดทะเบียนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4658/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจผู้รับมอบอำนาจทำสัญญาประนีประนอมยอมความ – ผลกระทบต่อคำพิพากษา – การตีความหนังสือมอบอำนาจ
สัญญาประนีประนอมยอมความเป็นส่วนหนึ่งของคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความ การที่โจทก์ฎีกาอ้างว่า ผู้รับมอบอำนาจโจทก์ฉ้อฉลโจทก์ทำสัญญาประนีประนอมยอมความโดยโจทก์ไม่ได้มอบอำนาจให้กระทำได้นั้น จึงเป็นการกล่าวอ้างว่าคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความละเมิดต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน โจทก์ย่อมมีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 138 วรรคสอง (2)
การตีความหนังสือมอบอำนาจท้ายคำฟ้องโจทก์ว่าผู้รับมอบอำนาจโจทก์มีอำนาจทำสัญญาประนีประนอมยอมความหรือไม่ เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้โจทก์ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์ โจทก์ก็มีสิทธิฎีกาได้
โจทก์อุทธรณ์และฎีกาขอให้พิพากษาว่า สัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมตกเป็นโมฆะและขอให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาคดีใหม่ เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาชั้นละ 200 บาท
การตีความหนังสือมอบอำนาจท้ายคำฟ้องโจทก์ว่าผู้รับมอบอำนาจโจทก์มีอำนาจทำสัญญาประนีประนอมยอมความหรือไม่ เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้โจทก์ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์ โจทก์ก็มีสิทธิฎีกาได้
โจทก์อุทธรณ์และฎีกาขอให้พิพากษาว่า สัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมตกเป็นโมฆะและขอให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาคดีใหม่ เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาชั้นละ 200 บาท