พบผลลัพธ์ทั้งหมด 17 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2802/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ปืนแบลงค์กันไม่ใช่ 'อาวุธปืน' ตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ แต่เป็น 'สิ่งเทียมอาวุธปืน' การครอบครองไม่ผิดกฎหมาย
แม้โจทก์ฟ้องว่า ปืนแบลงค์กันของกลางเป็นอาวุธปืนที่ใช้ยิงทำอันตรายแก่ร่างกายได้ และจำเลยให้การรับสารภาพ และศาลอาจพิพากษาลงโทษจำเลยตามฟ้องได้โดยไม่ต้องสืบพยานหลักฐานต่อไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ให้ศาลชั้นต้นไต่สวนพยานเพิ่มเติมเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงว่า ปืนแบลงค์กันของกลางเป็นอาวุธปืนตามมาตรา 4 (1) หรือสิ่งเทียมอาวุธปืนตามมาตรา 4 (5) แห่ง พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ แล้วส่งสำนวนมายังศาลอุทธรณ์ภาค 2 เพื่อวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย เป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 (1) เมื่อศาลชั้นต้นไต่สวนพยานเพิ่มเติมเสร็จแล้ว ศาลฎีกาย่อมรับฟังพยานหลักฐานดังกล่าวได้
เมื่อปืนแบลงค์กันของกลางไม่มีการดัดแปลงลำกล้อง สภาพภายในลำกล้องมีเหล็กแกนขวางไม่อาจส่งกระสุนออกมาจากลำกล้องได้ ไม่สามารถใช้ร่วมกับกระสุนปืนจริงได้ เมื่อยิงกับกระสุนปืนแบลงค์กันมีผลเพียงเกิดเสียง เปลวไฟ แรงระเบิด แรงดัน จากการเผาไหม้ดินดอกไม้เพลิงพุ่งออกมาจากปลายลำกล้องเท่านั้น ไม่มีหัวกระสุนปืนออกจากปากลำกล้อง แสดงให้เห็นจุดประสงค์ในการทำหรือประกอบปืนแบลงค์กันขึ้นโดยมิได้ให้เป็นอาวุธปืนที่ใช้ส่งเครื่องกระสุนปืน โดยประสงค์ใช้ยิงให้เกิดเสียงดังและมีเปลวไฟจากการยิงเท่านั้น หากไม่ได้ยิงในระยะประชิดหรือเป็นรัศมีแรงระเบิดหรือกำลังดันของดินดอกไม้เพลิง ก็ไม่มีอานุภาพรุนแรงที่สามารถทำอันตรายแก่กาย ชีวิต หรือวัตถุได้ ดังเช่นอาวุธปืนทั่วไป จึงไม่เข้าตามบทนิยามคำว่า "อาวุธปืน" ตามมาตรา 4 (1) แห่ง พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ การมีรูปร่างลักษณะอันน่าจะทำให้คนทั่วไปหลงเชื่อว่าเป็นอาวุธปืนโดยสภาพ จึงเป็นเพียงสิ่งเทียมอาวุธปืนตามมาตรา 4 (5) แห่ง พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ เท่านั้น การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ฐานพาอาวุธปืนไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาตและโดยไม่มีเหตุสมควร และฐานยิงปืนซึ่งใช้ดินระเบิดโดยใช่เหตุในเมือง หมู่บ้านหรือที่ชุมนุมชน
เมื่อปืนแบลงค์กันของกลางไม่มีการดัดแปลงลำกล้อง สภาพภายในลำกล้องมีเหล็กแกนขวางไม่อาจส่งกระสุนออกมาจากลำกล้องได้ ไม่สามารถใช้ร่วมกับกระสุนปืนจริงได้ เมื่อยิงกับกระสุนปืนแบลงค์กันมีผลเพียงเกิดเสียง เปลวไฟ แรงระเบิด แรงดัน จากการเผาไหม้ดินดอกไม้เพลิงพุ่งออกมาจากปลายลำกล้องเท่านั้น ไม่มีหัวกระสุนปืนออกจากปากลำกล้อง แสดงให้เห็นจุดประสงค์ในการทำหรือประกอบปืนแบลงค์กันขึ้นโดยมิได้ให้เป็นอาวุธปืนที่ใช้ส่งเครื่องกระสุนปืน โดยประสงค์ใช้ยิงให้เกิดเสียงดังและมีเปลวไฟจากการยิงเท่านั้น หากไม่ได้ยิงในระยะประชิดหรือเป็นรัศมีแรงระเบิดหรือกำลังดันของดินดอกไม้เพลิง ก็ไม่มีอานุภาพรุนแรงที่สามารถทำอันตรายแก่กาย ชีวิต หรือวัตถุได้ ดังเช่นอาวุธปืนทั่วไป จึงไม่เข้าตามบทนิยามคำว่า "อาวุธปืน" ตามมาตรา 4 (1) แห่ง พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ การมีรูปร่างลักษณะอันน่าจะทำให้คนทั่วไปหลงเชื่อว่าเป็นอาวุธปืนโดยสภาพ จึงเป็นเพียงสิ่งเทียมอาวุธปืนตามมาตรา 4 (5) แห่ง พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ เท่านั้น การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ฐานพาอาวุธปืนไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาตและโดยไม่มีเหตุสมควร และฐานยิงปืนซึ่งใช้ดินระเบิดโดยใช่เหตุในเมือง หมู่บ้านหรือที่ชุมนุมชน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1967/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งข้อความเท็จแก่เจ้าพนักงานและแจ้งให้จดข้อความเท็จ ประเด็นการใช้กฎหมายเดิมและกฎหมายแก้ไขใหม่
ท. ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องคดีนี้ โดยศาลอุทธรณ์ภาค 1 มีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นสอบถาม ม. กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ เรื่องการถอนฟ้องของ ท. เพื่อให้ได้ความกระจ่างว่า ท. มีอำนาจถอนฟ้องคดีนี้จริงหรือไม่ แต่ ม. ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่นประสบปัญหาเรื่องการเดินทางเข้ามาในประเทศไทย อันเนื่องจากสถานการณ์โลกในขณะนั้นมีการแพร่ระบาดของโรคโควิด - 19 เป็นวงกว้าง ม. จึงส่งบันทึกถ้อยคำตอบข้อซักถามของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ที่กระทำในต่างประเทศโดยมีโนตารีพับลิกและสถานเอกอัครราชทูตไทยในประเทศญี่ปุ่นรับรองว่า ม. ลงลายมือชื่อในเอกสารต่อหน้าตนต่อศาลชั้นต้นแทนการให้ถ้อยคำด้วยวาจาซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาต จึงรับฟังบันทึกถ้อยคำดังกล่าวแทนการสอบถามข้อเท็จจริงด้วยวาจาได้ ทั้งคำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ที่ให้ศาลชั้นต้นสอบถาม ม. ด้วยวาจาในเรื่องการถอนฟ้องเป็นไปเพื่อความกระจ่างในเรื่องดังกล่าว มิใช่เป็นการให้สืบพยานเพิ่มเติมตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 (1) จึงไม่จำต้องสืบพยานปาก ม. ที่ศาลอื่น หรือสถานที่ทำการของทางราชการ หรือสถานที่แห่งอื่นนอกศาล โดยจัดให้มีการถ่ายทอดภาพและเสียงในลักษณะการประชุมทางจอภาพตาม ป.วิ.อ. มาตรา 230/1 ดังนี้ เมื่อบันทึกถ้อยคำของ ม. ระบุว่า ท. ไม่ใช่กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ และตราประทับที่ ท. ได้ประทับในคำร้องขอถอนฟ้องไม่ใช่ตราประทับของโจทก์ กับ ท. ไม่มีอำนาจยื่นคำร้องขอถอนฟ้องในนามของโจทก์ คำร้องขอถอนฟ้องของ ท. จึงไม่มีผลผูกพันโจทก์ และปรากฏตามหนังสือรับรองข้อเท็จจริงว่า ม. ในฐานะกรรมการผู้แทนแต่เพียงผู้เดียวของโจทก์ขอรับรองว่าโจทก์ไม่มีเจตนาจะถอนฟ้องคดีนี้แต่อย่างใด จึงฟังไม่ได้ว่าโจทก์ถอนฟ้องคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 423/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐานใหม่ในชั้นอุทธรณ์ และการสืบพยานเพิ่มเติมเพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริงเรื่องใบอนุญาตขับขี่
ความผิดฐานขับรถโดยไม่ได้รับใบอนุญาตและฐานปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถประเภทผู้ขับรถโดยไม่ได้รับใบอนุญาต เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพศาลสามารถพิพากษาลงโทษโดยไม่จำต้องสืบพยานหลักฐานประกอบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง ต่อมาจำเลยอุทธรณ์โดยแนบสำเนาใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถทุกประเภทชนิดที่ 4 มาท้ายอุทธรณ์ซึ่งยังอยู่ในระยะเวลาได้รับใบอนุญาตจึงถือได้ว่าเป็นข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานใหม่ที่ไม่เคยปรากฏในสำนวน ศาลอุทธรณ์ควรสืบพยานหลักฐานเพิ่มเติมในปัญหาที่ว่าจำเลยมีใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถดังที่อ้างหรือไม่เสียก่อนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 (1) ประกอบมาตรา 228 และ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. 2550 มาตรา 3 ศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาว่าจำเลยมีใบอนุญาตขับขี่ตามที่อ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4230/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ข้อเท็จจริงใหม่ขัดแย้งคำรับสารภาพและข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันในศาลชั้นต้นเป็นเหตุต้องห้ามมิให้อุทธรณ์
การที่จำเลยอุทธรณ์โต้แย้งว่า อาวุธปืนของกลางตรวจพบรอยขูดลบเครื่องหมายทะเบียน แต่ไม่อาจยืนยันได้ว่าเครื่องหมายทะเบียนเดิมเป็นเลขใดตามรายงานผลการตรวจพิสูจน์แนบท้ายอุทธรณ์ จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานมีอาวุธปืนไม่มีทะเบียนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตนั้น เป็นการอุทธรณ์เพื่อขอให้ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงใหม่ผิดไปจากที่ศาลชั้นต้นรับฟังข้อเท็จจริงมาตามฟ้องอันเป็นการขัดแย้งกับคำรับสารภาพของจำเลยและเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นไต่สวนเกี่ยวกับรายงานผลการตรวจพิสูจน์ที่จำเลยเพิ่งยกขึ้นกล่าวอ้าง แล้วอาศัยข้อเท็จจริงจากการไต่สวนดังกล่าวพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดฐานมีอาวุธปืนมีทะเบียนของผู้อื่นและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตนั้น เป็นการมิชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 208 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7950/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รายงานการสืบเสาะไม่เป็นพยานหลักฐาน ศาลมีอำนาจสืบพยานเพิ่มเติมเพื่อพิสูจน์ประเภทยาเสพติด
เมื่อพนักงานคุมประพฤติส่งรายงานการสืบเสาะและพินิจจำเลยให้แก่ศาลแล้วศาลมีอำนาจที่จะนำข้อเท็จจริงที่ปรากฎในรายงานดังกล่าวมาประกอบการใช้ดุลพินิจในการกำหนดโทษที่จะลงแก่จำเลยตามที่บัญญัติใน พ.ร.บ.วิธีดำเนินการคุมความประพฤติฯ มาตรา 13 เท่านั้น โดยจะนำมารับฟังในฐานะเป็นพยานหลักฐานเพื่อวินิจฉัยการกระทำที่ถูกฟ้องด้วยหาได้ไม่
บทบัญญัติ ป.วิ.อ. มาตรา 176 มิได้หมายความว่าเมื่อจำเลยให้การรับสารภาพแล้ว จะต้องพิพากษาลงโทษจำเลยเสมอไป ถ้าศาลเห็นว่าจำเลยมิได้กระทำความผิดหรือการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิด ศาลย่อมพิพากษายกฟ้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 หรือหากศาลเห็นว่าสมควรให้มีการสืบพยานหลักฐานก่อนมีคำพิพากษาก็เป็นอำนาจของศาลที่จะมีคำสั่งให้กระทำได้ เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิจารณารายงานการสืบเสาะและพินิจแล้วเห็นว่า ข้อเท็จจริงไม่แน่ชัดว่าของกลางเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 หรือประเภท 3 จึงมีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นสืบพยานเพิ่มเติมในประเด็นที่ว่าของกลางเป็นยาแก้ไอที่มีส่วนผสมของโคเดอีนหรือไม่ ก็เป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์ภาค 9 ที่จะกระทำได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 (1)
บทบัญญัติ ป.วิ.อ. มาตรา 176 มิได้หมายความว่าเมื่อจำเลยให้การรับสารภาพแล้ว จะต้องพิพากษาลงโทษจำเลยเสมอไป ถ้าศาลเห็นว่าจำเลยมิได้กระทำความผิดหรือการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิด ศาลย่อมพิพากษายกฟ้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 หรือหากศาลเห็นว่าสมควรให้มีการสืบพยานหลักฐานก่อนมีคำพิพากษาก็เป็นอำนาจของศาลที่จะมีคำสั่งให้กระทำได้ เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิจารณารายงานการสืบเสาะและพินิจแล้วเห็นว่า ข้อเท็จจริงไม่แน่ชัดว่าของกลางเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 หรือประเภท 3 จึงมีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นสืบพยานเพิ่มเติมในประเด็นที่ว่าของกลางเป็นยาแก้ไอที่มีส่วนผสมของโคเดอีนหรือไม่ ก็เป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์ภาค 9 ที่จะกระทำได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7950/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ประเภทยาเสพติดที่แตกต่างกัน และการรับฟังคำรับสารภาพที่ต้องอาศัยหลักฐานสนับสนุน
ตาม พ.ร.บ.วิธีดำเนินการควบคุมความประพฤติตามประมวลกฎหมายอาญา ฯ มาตรา 13 ศาลมีอำนาจที่จะนำข้อเท็จจริงที่ปรากฏในรายงานการสืบเสาะและพินิจจำเลยที่พนักงานคุมประพฤติส่งศาลมาประกอบการใช้ดุลพินิจในการกำหนดโทษที่จะลงแก่จำเลยเท่านั้น จะนำมารับฟังเป็นพยานหลักฐานเพื่อวินิจฉัยการกระทำที่ถูกฟ้องด้วยหาได้ไม่ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิจารณารายงานการสืบเสาะและพินิจแล้วเห็นว่าข้อเท็จจริงไม่แน่ชัดว่าของกลางเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 หรือประเภท 3 จึงมีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นสืบพยานเพิ่มเติมในประเด็นที่ว่าของกลางเป็นยาแก้ไอที่มีส่วนผสมของโคเดอีนหรือไม่ ศาลชั้นต้นนัดพร้อมโจทก์และจำเลย และโจทก์ส่งรายงานตรวจวิเคราะห์ยาเสพติดให้โทษของกลางเอกสารหมาย จ. 1 ต่อศาลโดยคู่ความแถลงรับข้อเท็จจริงและไม่คัดค้านผลการตรวจวิเคราะห์ดังกล่าว และศาลอุทธรณ์ภาค 9 นำข้อเท็จจริงที่ปรากฏตามรายงานการตรวจวิเคราะห์ดังกล่าวมาเป็นพยานหลักฐานในการวินิจฉัยคดี จึงไม่ขัดต่อ พ.ร.บ.วิธีดำเนินการควบคุมความประพฤติตามประมวลกฎหมายอาญา ฯ ดังกล่าว เพราะมิใช่เป็นการนำข้อเท็จจริงที่ปรากฏในรายงานสืบเสาะและพินิจจำเลยมาเป็นพยานหลักฐานในการวินิจฉัยคดี
ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 ที่ว่า ในชั้นพิจารณาถ้าจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลจะพิพากษาโดยไม่สืบพยานหลักฐานต่อไปก็ได้นั้น มิได้หมายความว่าเมื่อจำเลยให้การรับสารภาพแล้ว ศาลจะต้องพิพากษาลงโทษจำเลยเสมอไป ถ้าศาลเห็นว่าจำเลยมิได้กระทำความผิด หรือการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิด ศาลย่อมพิพากษายกฟ้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 หรือหากศาลเห็นสมควรให้มีการสืบพยานหลักฐานก่อนมีคำพิพากษา ก็เป็นอำนาจของศาลที่จะมีคำสั่งให้กระทำได้ เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 9 มีข้อสงสัยว่าของกลางเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 หรือประเภท 3 จึงมีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นสืบพยานเพิ่มเติมในประเด็นที่ว่าของกลางเป็นยาแก้ไอที่มีส่วนผสมของโคเดอีนหรือไม่ ก็เป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์ภาค 9 ที่จะกระทำได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 (1)
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยมีโคเดอีน อันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 จำนวน 4 ขวด ปริมาตร 400 มิลลิลิตร น้ำหนักไม่ปรากฏชัด ซึ่งไม่อาจแยกชั่งน้ำหนักโคเดอีนได้ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต แต่ตามรายงานการตรวจวิเคราะห์ของกลางระบุว่าของกลางเป็นของเหลวข้นหนืดสีน้ำตาลผลการตรวจวิเคราะห์พบโคเดอีนและโพรเมทาซีนในของกลาง และมีหมายเหตุไว้ในข้อ 3 ว่า "โดยทั่วไปยาแก้ไอผสมโคเดอีนที่ขึ้นทะเบียนตำรับเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 3 จะมีส่วนประกอบคือ ใน 5 มิลลิลิตรจะประกอบด้วยโคเดอีนฟอสเฟต 9 มิลลิกรัม และโพรเมทาซีนไฮโดรคลอไรด์ 3.6 มิลลิกรัม ซึ่งเทียบเท่ากับโคเดอีนประมาณ 7 มิลลิกรัม และเทียบเท่ากับโพรเมทาซีนประมาณ 3 มิลลิกรัม" แสดงว่า ของกลางเป็นยาแก้ไอที่มีสูตรของสิ่งปรุงตามคำจำกัดความของตำรับยาในมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ ฯ และประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 95 (พ.ศ.2531) ซึ่งกำหนดให้ยาเสพติดให้โทษที่มีลักษณะเป็นตำรับยาและมียาเสพติดให้โทษในประเภท 2 ตามที่กำหนดผสมอยู่ด้วยตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในประกาศดังกล่าว และได้รับใบสำคัญการขึ้นทะเบียนตำรับยาเสพติดให้โทษตามมาตรา 43 แล้วเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 เมื่อของกลางตามผลการตรวจวิเคราะห์เป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 แต่โจทก์ฟ้องว่า จำเลยมียาเสพติดให้โทษในประเภท 2 ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และศาลอุทธรณ์ภาค 9 มีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นสืบพยานเพิ่มเติม โจทก์จึงมีภาระการพิสูจน์ว่าของกลางเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 ตามฟ้อง เมื่อโจทก์อ้างส่งแต่เพียงรายงานการตรวจวิเคราะห์ดังกล่าว ซึ่งระบุว่าของกลางเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 ซึ่งขณะเกิดเหตุการมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายไม่มีความผิดตามกฎหมาย ดังนั้น แม้ว่าจำเลยจะให้การรับสารภาพ ก็ไม่อาจลงโทษจำเลยได้
ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 ที่ว่า ในชั้นพิจารณาถ้าจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลจะพิพากษาโดยไม่สืบพยานหลักฐานต่อไปก็ได้นั้น มิได้หมายความว่าเมื่อจำเลยให้การรับสารภาพแล้ว ศาลจะต้องพิพากษาลงโทษจำเลยเสมอไป ถ้าศาลเห็นว่าจำเลยมิได้กระทำความผิด หรือการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิด ศาลย่อมพิพากษายกฟ้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 หรือหากศาลเห็นสมควรให้มีการสืบพยานหลักฐานก่อนมีคำพิพากษา ก็เป็นอำนาจของศาลที่จะมีคำสั่งให้กระทำได้ เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 9 มีข้อสงสัยว่าของกลางเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 หรือประเภท 3 จึงมีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นสืบพยานเพิ่มเติมในประเด็นที่ว่าของกลางเป็นยาแก้ไอที่มีส่วนผสมของโคเดอีนหรือไม่ ก็เป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์ภาค 9 ที่จะกระทำได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 (1)
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยมีโคเดอีน อันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 จำนวน 4 ขวด ปริมาตร 400 มิลลิลิตร น้ำหนักไม่ปรากฏชัด ซึ่งไม่อาจแยกชั่งน้ำหนักโคเดอีนได้ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต แต่ตามรายงานการตรวจวิเคราะห์ของกลางระบุว่าของกลางเป็นของเหลวข้นหนืดสีน้ำตาลผลการตรวจวิเคราะห์พบโคเดอีนและโพรเมทาซีนในของกลาง และมีหมายเหตุไว้ในข้อ 3 ว่า "โดยทั่วไปยาแก้ไอผสมโคเดอีนที่ขึ้นทะเบียนตำรับเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 3 จะมีส่วนประกอบคือ ใน 5 มิลลิลิตรจะประกอบด้วยโคเดอีนฟอสเฟต 9 มิลลิกรัม และโพรเมทาซีนไฮโดรคลอไรด์ 3.6 มิลลิกรัม ซึ่งเทียบเท่ากับโคเดอีนประมาณ 7 มิลลิกรัม และเทียบเท่ากับโพรเมทาซีนประมาณ 3 มิลลิกรัม" แสดงว่า ของกลางเป็นยาแก้ไอที่มีสูตรของสิ่งปรุงตามคำจำกัดความของตำรับยาในมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ ฯ และประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 95 (พ.ศ.2531) ซึ่งกำหนดให้ยาเสพติดให้โทษที่มีลักษณะเป็นตำรับยาและมียาเสพติดให้โทษในประเภท 2 ตามที่กำหนดผสมอยู่ด้วยตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในประกาศดังกล่าว และได้รับใบสำคัญการขึ้นทะเบียนตำรับยาเสพติดให้โทษตามมาตรา 43 แล้วเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 เมื่อของกลางตามผลการตรวจวิเคราะห์เป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 แต่โจทก์ฟ้องว่า จำเลยมียาเสพติดให้โทษในประเภท 2 ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และศาลอุทธรณ์ภาค 9 มีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นสืบพยานเพิ่มเติม โจทก์จึงมีภาระการพิสูจน์ว่าของกลางเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 ตามฟ้อง เมื่อโจทก์อ้างส่งแต่เพียงรายงานการตรวจวิเคราะห์ดังกล่าว ซึ่งระบุว่าของกลางเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 ซึ่งขณะเกิดเหตุการมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายไม่มีความผิดตามกฎหมาย ดังนั้น แม้ว่าจำเลยจะให้การรับสารภาพ ก็ไม่อาจลงโทษจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2913/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์ข้อเท็จจริงใหม่หลังรับสารภาพ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจสั่งสืบพยานเพิ่มเติม
ศาลชั้นต้นพิพากษาโดยไม่ต้องสืบพยานหลักฐานว่าจำเลยมีความผิดและลงโทษตามฟ้องโจทก์โดยจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องทุกข้อหาซึ่งมีข้อหาฐานมีลูกระเบิดไว้ในความครอบครองรวมอยู่ด้วยเช่นนี้ การที่จำเลยอุทธรณ์ว่าลูกระเบิดไม่มีดินระเบิดและเชื้อปะทุจำเลยย่อมไม่มีความผิดข้อหามีลูกระเบิดจึงเป็นการยกข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ซึ่งมิได้ว่ากล่าวกันมาในศาลชั้นต้นและเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้เป็นยุติตามฟ้องแล้วศาลอุทธรณ์จึงไม่มีอำนาจสั่งให้ศาลชั้นต้นสอบโจทก์เกี่ยวกับรายงานการตรวจพิสูจน์ของกลางหรือสืบพยานผู้ตรวจพิสูจน์ของกลางอีกต่อไป
เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้เป็นยุติตามฟ้องแล้วศาลอุทธรณ์จึงไม่มีอำนาจสั่งให้ศาลชั้นต้นสอบโจทก์เกี่ยวกับรายงานการตรวจพิสูจน์ของกลางหรือสืบพยานผู้ตรวจพิสูจน์ของกลางอีกต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2493/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตรวจศพผู้ตายในคดีอาญา: ศาลอุทธรณ์ไม่จำเป็นต้องเผชิญสืบหากมีพยานหลักฐานยืนยันบาดแผล
เมื่อการพิจารณาคดีได้เสร็จสิ้นแล้ว โดยเฉพาะการตรวจศพผู้ตายได้มีแพทย์มาเบิกความยืนยันว่า ผู้ตายมีบาดแผลตามรายงานการชันสูตรพลิกศพ ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์ไม่ไปเผชิญสืบตรวจศพผู้ตายตามคำขอของจำเลย จึงไม่ผิดกระบวนพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 615/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมีเครื่องกระสุนปืนโดยไม่ผิดกฎหมาย เมื่อมีอาวุธปืนที่ได้รับอนุญาต
เมื่อกระสุนปืนของกลางที่จำเลยมีไว้เป็นกระสุนปืนที่ใช้กับอาวุธปืนซึ่งจำเลยได้รับอนุญาตให้มีและใช้ได้แล้วจำเลยย่อมไม่มีความผิดฐานมีเครื่องกระสุนปืนไว้ในความครอบครองโดยมิได้รับอนุญาต ตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ
ฟ้องกล่าวหาจำเลยมาแต่เพียงว่ามีกระสุนปืนไว้ในความครอบครองโดยมิได้รับอนุญาต โจทก์จะนำสืบว่าจำเลยซื้อกระสุนปืนนั้นมาโดยยังไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่ตามกฎหมายเพื่อแสดงว่าจำเลยมีความผิดฐานมีเครื่องกระสุนปืนไว้ในความครอบครองโดยมิได้รับอนุญาตตามมาตรา 7 พระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ จึงเป็นการนำสืบนอกประเด็นตามข้อกล่าวหาความผิดในคำฟ้อง
ฟ้องกล่าวหาจำเลยมาแต่เพียงว่ามีกระสุนปืนไว้ในความครอบครองโดยมิได้รับอนุญาต โจทก์จะนำสืบว่าจำเลยซื้อกระสุนปืนนั้นมาโดยยังไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่ตามกฎหมายเพื่อแสดงว่าจำเลยมีความผิดฐานมีเครื่องกระสุนปืนไว้ในความครอบครองโดยมิได้รับอนุญาตตามมาตรา 7 พระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ จึงเป็นการนำสืบนอกประเด็นตามข้อกล่าวหาความผิดในคำฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1000/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิโจทก์ร่วม, การอุทธรณ์/ฎีกา, การสืบพยานเพิ่มเติม, ความผิดฐานฉุดคร่าและทำร้ายร่างกาย
แม้พนักงานอัยการโจทก์มิได้อุทธรณ์ แต่โจทก์ร่วมได้อุทธรณ์และฎีกาต่อมา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(14) อธิบายคำว่า "โจทก์" ไว้ว่า หมายความถึงพนักงานอัยการหรือผู้เสียหายซึ่งฟ้องคดีอาญาต่อศาล หรือทั้งคู่ในเมื่อพนักงานอัยการและผู้เสียหายเป็นโจทก์ร่วมกัน ดังนั้น โจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการต่างจึงมีฐานะเป็นโจทก์ด้วยกัน เมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นสืบพยานโจทก์ซึ่งศาลชั้นต้นสั่งงดไม่สืบต่อไปให้เสร็จ พนักงานอัยการโจทก์จึงมีสิทธินำสืบต่อไปได้ ศาลอุทธรณ์จึงฟังพยานที่นำสืบต่อไปนั้นวินิจฉัยคดีได้