พบผลลัพธ์ทั้งหมด 144 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3779/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความต้องมีรายละเอียดชัดเจน หากไม่ชัดเจนถือว่าหนี้ยังไม่ระงับ
แม้จะมีข้อความในรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีที่ร้อยตำรวจโท ม. บันทึกไว้ตอนหนึ่งว่า จำเลยที่ 1 ยอมรับผิดและยอมชดใช้ค่าเสียหายให้กับรถของ น. รถของ ค. และรถของ ส. ทุกประการ ในส่วนของความเสียหายจะไปตรวจสอบอีกครั้งและคู่กรณีแจ้งว่าจะไปตกลงชดใช้ค่าเสียหายกันเอง แต่ข้อความดังกล่าวก็ได้ความเพียงว่าจำเลยที่ 1 ยอมรับผิดว่าเป็นผู้ก่อใหเกิดความเสียหายและตกลงชดใช้ค่าเสียหายให้แก่คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งเท่านั้น โดยไม่มีรายละเอียดหรือข้อตกลงที่แน่นอนเกี่ยวกับจำนวนเงินที่ต้องชำระ วิธีการชำระ ตลอดจนกำหนดเวลาชำระที่แน่นอนอันจะทำให้ปราศจากการโต้แย้งกันอีก นอกจากนี้บันทึกข้อตกลงดังกล่าวหาได้มีข้อความโดยชัดแจ้งว่าคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตกลงระงับข้อพิพาทโดยยอมสละข้อเรียกร้องอื่นทั้งสิ้นแต่อย่างใด ดังนี้ ข้อความในเอกสารดังกล่าวจึงมิใช่เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความอันจะทำให้หนี้ในมูลละเมิดระงับสิ้นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 ถึง 852
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3772/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำผิดฐานเครื่องสำอางปลอม: การบรรจุภัณฑ์หลอกลวงถือเป็นกรรมเดียว
การที่จำเลยทั้งสองร่วมกันนำขวดแชมพูสระผมและครีมนวดผมยี่ห้อเฮด แอนด์ โชว์เดอร์ รีจอยซ์และแพนทีน ที่ใช้ไปหมดแล้ว โดยข้างขวดมีฉลากระบุว่าผลิตจากบริษัท ด. มาบรรจุแชมพูสระผมและครีมนวดผมที่จำเลยทั้งสองร่วมผลิตกันขึ้นเอง ก็เพราะจำเลยทั้งสองมีจุดประสงค์ที่จะนำแชมพูสระผมและครีมนวดผมที่จำเลยทั้งสองผลิตขึ้นออกขายแก่ประชาชน โดยให้ประชาชนทั่วไปเข้าใจว่าแชมพูสระผมและครีมนวดผมที่จำเลยทั้งสองทำขึ้นมีแหล่งกำเนิด สภาพ คุณภาพ ปริมาณ เช่นเดียวกับแชมพูสระผมและครีมนวดผมยี่ห้อเฮด แอนด์ โชว์เดอร์ รีจอยช์ และแพนทีน จึงเป็นการกระทำโดยมีเจตนาและจุดมุ่งหมายอันเดียวกัน เพื่อลวงให้ผู้ซื้อเข้าใจผิดในเครื่องสำอาง จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องว่าการกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นความผิดฐานร่วมกันก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในแหล่งกำเนิด สภาพ คุณภาพ ปริมาณ เกี่ยวกับเครื่องสำอาง และฐานร่วมกันผลิตเพื่อขายซึ่งเครื่องสำอางปลอมที่ใช้ฉลากแจ้งชื่อผู้ผลิตและแหล่งผลิตที่มิใช่ความจริง เป็นสองกรรม และจำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพตามฟ้อง ก็ไม่ทำให้การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3285/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายโมฆียะจากความสำคัญผิดในคุณสมบัติของทรัพย์สิน และสิทธิบอกล้างสัญญา
ที่ดินพิพาทมีเนื้อที่ 2 ใน 3 ส่วน ตั้งอยู่เหนือระดับน้ำทะเลปานกลางที่ 80 เมตร จึงต้องห้ามมิให้ทำการปลูกสร้างอาคารในบริเวณดังกล่าวตามประกาศกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม การที่โจทก์เพิ่งมาทราบข้อเท็จจริงในภายหลังว่าที่ดินพิพาทไม่สามารถปลูกสร้างอาคารได้ภายหลังที่ได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินไปแล้ว ย่อมถือว่าโจทก์แสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในคุณสมบัติของทรัพย์สินซึ่งตามปกติถือว่าเป็นสาระสำคัญตาม ป.พ.พ. มาตรา 157 เพราะโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทมาเพื่อประกอบธุรกิจปลูกสร้างบ้าน อาคารเพื่ออยู่อาศัย ให้เช่าหรือขายให้ผู้อื่น สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินจึงตกเป็นโมฆียะ เมื่อโจทก์มอบหมายให้ทนายความมีหนังสือบอกเลิกสัญญา และขอให้จำเลยคืนเงินค่าที่ดินที่ได้รับไปแล้วแก่โจทก์ จึงเป็นการบอกล้างโมฆียะตามมาตรา 176 วรรคหนึ่ง มีผลให้สัญญาจะซื้อจะขายเป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรก คู่กรณีต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม จำเลยต้องคืนเงินค่าที่ดินที่ได้รับไปทั้งหมดให้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย
โจทก์ฟ้องและอุทธรณ์ขอให้จำเลยคืนเงินมัดจำและค่าที่ดินที่โจทก์ชำระให้แก่จำเลยไปแล้วคืนพร้อมค่าเสียหาย การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษาว่าสัญญาจะซื้อจะขายเป็นโมฆียะ เมื่อโจทก์ใช้สิทธิบอกล้างแล้วจึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 176 แล้วพิพากษาให้จำเลยคืนเงินมัดจำและค่าที่ดินที่โจทก์ชำระให้แก่จำเลยไปแล้วคืน ส่วนคำขอเรียกค่าเสียหายโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเรียกเอาค่าเสียหายอีกได้ เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 ได้ตัดสินตามข้อหาในคำฟ้องและอุทธรณ์ของโจทก์ทุกข้อแล้ว การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ว่าโจทก์และจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาหรือไม่ ศาลอุทธรณ์ภาค 8 ก็ได้วินิจฉัยว่า โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทเพื่อประกอบธุรกิจปลูกสร้างบ้าน อาคารที่อยู่อาศัย ให้เช่า หรือขายให้ผู้อื่น เมื่อโจทก์มาทราบภายหลังว่าที่ดินพิพาทไม่สามารถปลูกสร้างอาคารได้ตามสัญญา โจทก์ย่อมมีสิทธิบอกล้างสัญญาจะซื้อจะขายที่เป็นโมฆียะให้ตกเป็นโมฆะเพื่อกลับสู่ฐานะเดิมในอันที่จะใช้สิทธิเรียกให้จำเลยคืนเงินมัดจำและค่าที่ดินตามที่โจทก์ฟ้องและอุทธรณ์มาได้ จึงมิใช่เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษาหรือทำคำสั่งเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142
โจทก์ฟ้องและอุทธรณ์ขอให้จำเลยคืนเงินมัดจำและค่าที่ดินที่โจทก์ชำระให้แก่จำเลยไปแล้วคืนพร้อมค่าเสียหาย การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษาว่าสัญญาจะซื้อจะขายเป็นโมฆียะ เมื่อโจทก์ใช้สิทธิบอกล้างแล้วจึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 176 แล้วพิพากษาให้จำเลยคืนเงินมัดจำและค่าที่ดินที่โจทก์ชำระให้แก่จำเลยไปแล้วคืน ส่วนคำขอเรียกค่าเสียหายโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเรียกเอาค่าเสียหายอีกได้ เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 ได้ตัดสินตามข้อหาในคำฟ้องและอุทธรณ์ของโจทก์ทุกข้อแล้ว การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ว่าโจทก์และจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาหรือไม่ ศาลอุทธรณ์ภาค 8 ก็ได้วินิจฉัยว่า โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทเพื่อประกอบธุรกิจปลูกสร้างบ้าน อาคารที่อยู่อาศัย ให้เช่า หรือขายให้ผู้อื่น เมื่อโจทก์มาทราบภายหลังว่าที่ดินพิพาทไม่สามารถปลูกสร้างอาคารได้ตามสัญญา โจทก์ย่อมมีสิทธิบอกล้างสัญญาจะซื้อจะขายที่เป็นโมฆียะให้ตกเป็นโมฆะเพื่อกลับสู่ฐานะเดิมในอันที่จะใช้สิทธิเรียกให้จำเลยคืนเงินมัดจำและค่าที่ดินตามที่โจทก์ฟ้องและอุทธรณ์มาได้ จึงมิใช่เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษาหรือทำคำสั่งเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3285/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โมฆียะจากสำคัญผิดในคุณสมบัติทรัพย์สิน สัญญาจะซื้อจะขายตกเป็นโมฆะ จำเลยต้องคืนเงิน
ที่ดินพิพาทมีเนื้อที่ 2 ใน 3 ส่วน ตั้งอยู่เหนือระดับน้ำทะเลปานกลางที่ 80 เมตร จึงต้องห้ามมิให้ทำการปลูกสร้างอาคารในบริเวณดังกล่าวตามประกาศกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม การที่โจทก์เพิ่งมาทราบข้อเท็จจริงว่าที่ดินพิพาทไม่สามารถปลูกสร้างอาคารได้ภายหลังจากที่ได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินไปแล้ว ย่อมถือว่าโจทก์แสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในคุณสมบัติของทรัพย์สินซึ่งตามปกติถือว่าเป็นสาระสำคัญตาม ป.พ.พ. มาตรา 157 ซึ่งหากมิได้มีความสำคัญผิดดังกล่าว สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินคงจะมิได้กระทำขึ้น เพราะความตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินข้อ 6 ระบุไว้โดยชัดแจ้งแล้วว่าโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทก็เพื่อประกอบธุรกิจปลูกสร้างบ้าน อาคารเพื่ออยู่อาศัย ให้เช่า หรือขายให้ผู้อื่น ดังนี้ สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินจึงตกเป็นโมฆียะตามบทบัญญัติดังกล่าว เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าในเวลาต่อมาโจทก์มอบหมายให้ทนายความมีหนังสือบอกเลิกสัญญา และขอให้จำเลยคืนเงินค่าที่ดินได้รับไปแล้วแก่โจทก์ จึงเป็นการบอกล้างโมฆียะกรรมดังกล่าวตาม ป.พ.พ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง มีผลให้สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทเป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรกคู่กรณีต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม กล่าวคือจำเลยต้องคืนเงินค่าที่ดินที่ได้รับไปทั้งหมดให้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย
คดีนี้โจทก์ฟ้องและอุทธรณ์ขอให้จำเลยคืนเงินมัดจำและค่าที่ดินที่โจทก์ชำระให้แก่จำเลยไปแล้วคืนพร้อมค่าเสียหาย การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษาว่าสัญญาจะซื้อจะขายเป็นโมฆียะ เมื่อโจทก์ใช้สิทธิบอกล้างแล้วจึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 176 แล้วพิพากษาให้จำเลยคืนเงินมัดจำและค่าที่ดินที่โจทก์ชำระให้แก่จำเลยไปแล้วคืน ส่วนคำขอเรียกค่าเสียหายโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเรียกเอาค่าเสียหายอีกได้ เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 ได้ตัดสินตามข้อหาในคำฟ้องและอุทธรณ์ของโจทก์ทุกข้อแล้ว การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ว่าโจทก์และจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาหรือไม่ ศาลอุทธรณ์ภาค 8 ก็ได้วินิจฉัยว่า ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทเพื่อประกอบธุรกิจปลูกสร้างบ้าน อาคารที่อยู่อาศัย ให้เช่าหรือขายให้ผู้อื่น เมื่อโจทก์มาทราบภายหลังว่าที่ดินพิพาทไม่สามารถปลูกสร้างอาคารได้ตามสัญญา โจทก์ย่อมมีสิทธิบอกล้างสัญญาจะซื้อจะขายที่เป็นโมฆียะให้ตกเป็นโมฆะเพื่อกลับสู่ฐานะเดิมในอันที่จะใช้สิทธิเรียกให้จำเลยคืนเงินมัดจำและค่าที่ดินตามที่โจทก์ฟ้องและอุทธรณ์มาได้ หาใช่เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษาหรือทำคำสั่งเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 142 แต่อย่างใดไม่
คดีนี้โจทก์ฟ้องและอุทธรณ์ขอให้จำเลยคืนเงินมัดจำและค่าที่ดินที่โจทก์ชำระให้แก่จำเลยไปแล้วคืนพร้อมค่าเสียหาย การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษาว่าสัญญาจะซื้อจะขายเป็นโมฆียะ เมื่อโจทก์ใช้สิทธิบอกล้างแล้วจึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 176 แล้วพิพากษาให้จำเลยคืนเงินมัดจำและค่าที่ดินที่โจทก์ชำระให้แก่จำเลยไปแล้วคืน ส่วนคำขอเรียกค่าเสียหายโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเรียกเอาค่าเสียหายอีกได้ เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 ได้ตัดสินตามข้อหาในคำฟ้องและอุทธรณ์ของโจทก์ทุกข้อแล้ว การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ว่าโจทก์และจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาหรือไม่ ศาลอุทธรณ์ภาค 8 ก็ได้วินิจฉัยว่า ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทเพื่อประกอบธุรกิจปลูกสร้างบ้าน อาคารที่อยู่อาศัย ให้เช่าหรือขายให้ผู้อื่น เมื่อโจทก์มาทราบภายหลังว่าที่ดินพิพาทไม่สามารถปลูกสร้างอาคารได้ตามสัญญา โจทก์ย่อมมีสิทธิบอกล้างสัญญาจะซื้อจะขายที่เป็นโมฆียะให้ตกเป็นโมฆะเพื่อกลับสู่ฐานะเดิมในอันที่จะใช้สิทธิเรียกให้จำเลยคืนเงินมัดจำและค่าที่ดินตามที่โจทก์ฟ้องและอุทธรณ์มาได้ หาใช่เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษาหรือทำคำสั่งเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 142 แต่อย่างใดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3183/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งศาลเพิกถอนการขายทอดตลาด: ศาลฎีกาวินิจฉัย 'ที่สุดทั้งสองทาง' ครอบคลุมทั้งอนุมัติและยกคำร้อง
คำว่า "คำสั่งศาลตามวรรคสองให้เป็นที่สุด" ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 309 ทวิ วรรคสี่ นั้น หมายถึงเป็นที่สุดทั้งสองทาง คือ ทางที่อนุญาตตามคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดหรือยกคำร้องขอดังกล่าว ไม่ใช่เป็นที่สุดเฉพาะคำสั่งที่อนุญาตตามคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3025/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษตามกฎหมายจราจรที่แก้ไขใหม่ การพักใช้ใบอนุญาต และความผิดตามกฎหมายหลายบท
คำขอท้ายฟ้องโจทก์ขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 157 ทวิ แต่ขณะจำเลยกระทำความผิดบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวถูกยกเลิกไปแล้วโดย พ.ร.บ.จราจรทางบก (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2550 มาตรา 9 และให้ใช้ความใหม่ตามมาตรา 157/1 แทน การที่โจทก์ขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 157 ทวิ เป็นการอ้างบทบัญญัติกฎหมายผิดพลาดไปเท่านั้น แม้โจทก์ไม่อ้างบทบัญญัติของกฎหมายที่แก้ไขใหม่ เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยตามฐานความผิดที่ถูกต้องตามบทบัญญัติที่แก้ไขใหม่ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคห้า
คดีนี้แม้โจทก์จะอ้าง พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 ทวิ, 157 ทวิ และมีคำขอให้พักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของจำเลยหรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่ แต่โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยเป็นผู้มีใบอนุญาตขับขี่ ข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่า จำเลยมีใบอนุญาตขับขี่ที่จะต้องพักใช้ ที่ศาลล่างทั้งสองสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของจำเลยเป็นการมิชอบ และพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.ขนส่งทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 127 ทวิ โดยไม่ระบุวรรคนั้นเป็นการไม่ถูกต้อง แม้ไม่มีฝ่ายใดฎีกาแต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คดีนี้แม้โจทก์จะอ้าง พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 ทวิ, 157 ทวิ และมีคำขอให้พักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของจำเลยหรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่ แต่โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยเป็นผู้มีใบอนุญาตขับขี่ ข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่า จำเลยมีใบอนุญาตขับขี่ที่จะต้องพักใช้ ที่ศาลล่างทั้งสองสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของจำเลยเป็นการมิชอบ และพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.ขนส่งทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 127 ทวิ โดยไม่ระบุวรรคนั้นเป็นการไม่ถูกต้อง แม้ไม่มีฝ่ายใดฎีกาแต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2888/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันภัยค้ำจุน: ผู้รับประกันภัยต้องรับผิดเมื่อผู้ขับขี่ได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัย
จำเลยที่ 4 ไม่นำสืบว่าเหตุใดจึงยอมรับทำสัญญาประกันภัยค้ำจุนรถยนต์คันนี้กับจำเลยที่ 3 ทั้งๆ ที่น่าจะทราบดีว่าจำเลยที่ 3 ไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ตามพฤติการณ์เชื่อว่าจำเลยที่ 3 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 เจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์ทำสัญญาประกันภัยกับจำเลยที่ 4 โดยไม่เปิดเผยชื่อตัวการตาม ป.พ.พ. มาตรา 806 ตัวการซึ่งมิได้เปิดเผยชื่อจะกลับแสดงตนให้ปรากฏและเข้ารับเอาสัญญาใดๆ ซึ่งตัวแทนได้ทำให้แทนตนก็ได้ สัญญาประกันภัยค้ำจุนระหว่างจำเลยที่ 3 และที่ 4 จึงมีผลบังคับใช้ได้ การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นสามีของจำเลยที่ 2 เจ้าของกรรมสิทธิ์นำรถยนต์คันนี้ไปใช้ย่อมถือได้ว่า จำเลยที่ 1 เป็นผู้ขับรถคันที่เอาประกันภัยโดยได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัยแล้ว และตามสัญญาประกันภัย หมวดที่ 2 ส่วนที่ 2 ข้อ 2.6 ระบุว่าการคุ้มครองความรับผิดของผู้ขับขี่บริษัทจะถือว่าบุคคลใดซึ่งขับขี่รถยนต์โดยได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัยเสมือนหนึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยเอง
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันทำละเมิดแต่จำเลยที่ 4 เป็นเพียงผู้รับประกันภัยค้ำจุน มีความผูกพันที่จะต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความวินาศภัยอันเกิดขึ้นตามเงื่อนไขที่ได้ระบุไว้ในกรมธรรม์ไม่ใช่ผู้ทำละเมิดหรือต้องร่วมรับผิดกับผู้ทำละเมิดอย่างลูกหนี้ร่วม เมื่อกรมธรรม์กำหนดแต่เพียงวงเงินความเสียหายที่จำเลยที่ 4 จะต้องรับผิดโดยมิได้ระบุให้ร่วมรับผิดเช่นเดียวกับผู้ทำละเมิด จำเลยที่ 4 จึงไม่ต้องรับผิดในดอกเบี้ยนับแต่วันที่ทำละเมิดเมื่อหนี้ตามสัญญาประกันภัยค้ำจุนมิได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ตามวันแห่งปฏิทินและโจทก์มิได้ทวงถามให้จำเลยชำระหนี้จึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 4 ตกเป็นผู้ผิดนัดก่อนที่โจทก์จะนำคดีมาฟ้อง จำเลยที่ 4 จึงต้องรับผิดชดใช้ดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันทำละเมิดแต่จำเลยที่ 4 เป็นเพียงผู้รับประกันภัยค้ำจุน มีความผูกพันที่จะต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความวินาศภัยอันเกิดขึ้นตามเงื่อนไขที่ได้ระบุไว้ในกรมธรรม์ไม่ใช่ผู้ทำละเมิดหรือต้องร่วมรับผิดกับผู้ทำละเมิดอย่างลูกหนี้ร่วม เมื่อกรมธรรม์กำหนดแต่เพียงวงเงินความเสียหายที่จำเลยที่ 4 จะต้องรับผิดโดยมิได้ระบุให้ร่วมรับผิดเช่นเดียวกับผู้ทำละเมิด จำเลยที่ 4 จึงไม่ต้องรับผิดในดอกเบี้ยนับแต่วันที่ทำละเมิดเมื่อหนี้ตามสัญญาประกันภัยค้ำจุนมิได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ตามวันแห่งปฏิทินและโจทก์มิได้ทวงถามให้จำเลยชำระหนี้จึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 4 ตกเป็นผู้ผิดนัดก่อนที่โจทก์จะนำคดีมาฟ้อง จำเลยที่ 4 จึงต้องรับผิดชดใช้ดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2888/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้รับประกันภัยค้ำจุนกรณีผู้ขับขี่รถยนต์ทำละเมิด และดอกเบี้ยจากค่าเสียหาย
จำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของรถยนต์คันที่จำเลยที่ 1 ขับ จำเลยที่ 3 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 ทำสัญญาประกันภัยกับจำเลยที่ 4 โดยไม่เปิดเผยชื่อตัวการตาม ป.พ.พ. มาตรา 806 ตัวการซึ่งเปิดเผยชื่อจะกลับแสดงตนให้ปรากฏและเข้ารับเอาสัญญาใด ๆ ซึ่งตัวแทนได้ทำไว้แทนตนก็ได้ สัญญาประกันภัยค้ำจุนระหว่างจำเลยที่ 3 และที่ 4 จึงมีผลบังคับใช้ได้ การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นสามีของจำเลยที่ 2 นำรถยนต์ไปใช้ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ขับรถคันที่เอาประกันภัยโดยได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัยแล้วตามสัญญาประกันภัยหมวดที่ 2 ส่วนที่ 2 ข้อ 2.6 ระบุว่า การคุ้มครองความรับผิดของผู้ขับขี่บริษัทจะถือว่าบุคคลใดซึ่งขับขี่รถยนต์โดยได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัยเสมือนหนึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยเอง ดังนั้น แม้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งอยู่ในฐานะผู้เอาประกันภัยจะไม่ต้องรับผิดในเหตุละเมิดที่เกิดขึ้นก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ผู้ขับรถยนต์คันที่จำเลยที่ 4 รับประกันภัยไว้ โดยได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัยเป็นฝ่ายทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 4 จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาประกันภัยค้ำจุน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2692/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ใช้ให้กระทำความผิดฐานฆ่า แม้ผู้ถูกใช้ไม่ลงมือทำ ก็มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 84
ตาม ป.อ. มาตรา 84 วรรคแรก บัญญัติว่า "ผู้ใดก่อให้ผู้อื่นกระทำความผิดไม่ว่าด้วยการใช้ บังคับ ขู่เข็ญ จ้าง วาน หรือยุยงส่งเสริม หรือด้วยวิธีอื่นใด ผู้นั้นเป็นผู้ใช้ให้กระทำความผิด" ดังนั้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้ว่าจ้างให้ ศ. กับพวกฆ่าโจทก์ร่วม โดย ศ. กับพวกได้รับเงินค่าจ้างส่วนหนึ่งพร้อมภาพถ่ายของโจทก์ร่วม ก็แสดงว่าจำเลยที่ 2 มีความประสงค์ที่จะให้ ศ. ตัดสินใจกระทำความผิดฐานฆ่าโจทก์ร่วมโดยไตร่ตรองไว้ก่อน อันเป็นการก่อให้ผู้อื่นกระทำความผิดแล้ว เนื่องจากบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวมีจุดมุ่งหมายถึงเจตนาของผู้ก่อให้ผู้อื่นกระทำความผิดเป็นสำคัญ เมื่อผู้ก่อให้ผู้อื่นกระทำความผิดได้ลงมือกระทำด้วยการใช้ บังคับ ขู่เข็ญ จ้าง วาน ยุยงส่งเสริม หรือด้วยวิธีอื่นใด ต่อผู้ถูกใช้แล้ว ไม่ว่าผู้ถูกใช้จะตกลงใจกระทำความผิดตามที่ถูกใช้หรือไม่ ผู้ใช้ก็มีความผิด ดังจะเห็นได้จากที่ ป.อ. มาตรา 84 วรรคสอง บัญญัติว่า "ถ้าผู้ถูกใช้ได้กระทำความผิดนั้น ผู้ใช้ต้องรับโทษเสมือนเป็นตัวการ ถ้าความผิดมิได้กระทำลง ไม่ว่าจะเป็นเพราะผู้ถูกใช้ไม่ยอมกระทำ ยังไม่ได้กระทำหรือเหตุอื่นใด ผู้ใช้ต้องระวางโทษเพียงหนึ่งในสามของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น" เช่นนี้ เมื่อ ศ. ผู้ถูกใช้ให้ฆ่าโจทก์ร่วมไม่ยอมกระทำความผิดตามที่ถูกใช้ ไม่ว่าจะเป็นเพราะ ศ. ไม่มีเจตนาฆ่าโจทก์ร่วมมาก่อนหรือไม่ก็ตาม จำเลยที่ 2 ก็มีความผิด ตาม ป.อ. มาตรา 84 วรรคแรก และวรรคสองตอนท้าย ประกอบมาตรา 289 (4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2686/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจผู้ว่าราชการจังหวัดสั่งการข้าราชการส่วนภูมิภาค และการปฏิบัติหน้าที่โดยชอบตามกฎหมาย
พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ในจังหวัดหนึ่ง ให้มีผู้ว่าราชการจังหวัดคนหนึ่งเป็นผู้รับนโยบายและคำสั่งจากนายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาล คณะรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม มาปฏิบัติการให้เหมาะสมกับท้องที่และประชาชน และเป็นหัวหน้าบังคับบัญชาบรรดาข้าราชการฝ่ายบริหาร ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในราชการส่วนภูมิภาคในเขตจังหวัด และรับผิดชอบในราชการจังหวัดและอำเภอ และจะให้มีรองผู้ว่าราชการจังหวัด หรือผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัด หรือทั้งรองผู้ว่าราชการจังหวัดและผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดก็ได้" เห็นได้ว่า สำหรับกรณีที่ส่วนราชการเป็นส่วนราชการส่วนภูมิภาค ผู้ว่าราชการจังหวัดในฐานะผู้บังคับบัญชาบรรดาข้าราชการฝ่ายบริหารของส่วนราชการที่ปฏิบัติหน้าที่ราชการในส่วนภูมิภาคในเขตจังหวัดย่อมมีอำนาจสั่งให้ข้าราชการฝ่ายบริหารของส่วนราชการดังกล่าวไปปฏิบัติราชการยังส่วนราชการต่าง ๆ ในเขตจังหวัดนั้นได้ เพราะเป็นการใช้อำนาจในทางบริหารของผู้ว่าราชการจังหวัด เพื่อให้การบริหารราชการในส่วนภูมิภาคในเขตจังหวัดดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานีจึงมีอำนาจสั่งให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี ซึ่งเป็นข้าราชการฝ่ายบริหารของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปทุมธานี ซึ่งเป็นราชการส่วนภูมิภาคไปปฏิบัติราชการยังโรงพยาบาลใดโรงพยาบาลหนึ่งในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปทุมธานีในเขตจังหวัดปทุมธานีได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติดังกล่าว การที่จำเลยทั้งสองได้ส่งเรื่องที่คณะกรรมการและประเมินผลมีมติให้โจทก์ซึ่งปฏิบัติราชการที่โรงพยาบาลลาดหลุมแก้วกลับไปปฏิบัติราชการเป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลลำลูกกาเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2542 ไปให้ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานีเพื่อพิจารณาสั่ง จึงเป็นการปฏิบัติที่ชอบด้วยบทบัญญัติดังกล่าว