พบผลลัพธ์ทั้งหมด 144 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1091/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประกันภัยขนส่ง: ความคุ้มครองยังคงมีผลจนกว่าจะส่งมอบสินค้าให้ผู้รับ แม้กรมธรรม์จะหมดอายุ
ป.พ.พ. มาตรา 883 และมาตรา 885 ชี้ชัดถึงเจตนารมณ์ของกฎหมายที่มุ่งประสงค์ให้วิธีการเฉพาะการประกันภัยในการรับขนคุ้มถึงความวินาศภัยทุกอย่างซึ่งอาจจะเกิดแก่ของที่ขนส่งในระหว่างเวลาตั้งแต่ผู้ขนส่งได้รับของไป จนได้ส่งมอบของนั้นแก่ผู้รับตราส่ง จึงได้กำหนดความคุ้มครองไว้ชัดแจ้ง เพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้เอาประกันภัยและบังคับให้ผู้รับประกันภัยต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนอันจะส่งผลก่อเกิดความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกรณีมีวินาศภัยเกิดขึ้น
เมื่อมีบทบัญญัติกฎหมายกำหนดวิธีการเฉพาะการประกันภัยในการรับขนให้คุ้มถึงความวินาศภัยซึ่งอาจเกิดแก่ของที่ขนส่งในระหว่างเวลาตั้งแต่ผู้ขนส่งได้รับขนไปจนได้ส่งมอบของนั้นแก่ผู้รับตราส่ง จึงไม่อาจนำวิธีการประกันภัยซึ่งมีกำหนดเวลาในกรณีทั่วไปมาปรับใช้ เว้นแต่จะได้ระบุไว้ในสัญญาเป็นอย่างอื่น ดังนี้ สัญญาประกันภัยในการรับขนที่มีกำหนดเวลาย่อมคุ้มถึงความวินาศภัยทุกอย่างซึ่งอาจเกิดแก่ของที่ขนส่งตั้งแต่เวลาที่รับของไปในกำหนดเวลาประกันภัย จนได้ส่งมอบของนั้นแก่ผู้รับตราส่ง หาได้มีความหมายว่าสัญญาประกันภัยสิ้นสุดลงเมื่อพ้นกำหนดเวลาประกันภัยทันทีดังเช่นสัญญาประกันวินาศภัยในกรณีทั่วไปที่มิได้มุ่งคุ้มถึงความวินาศภัยซึ่งอาจเกิดแก่ของที่ขนส่งจนได้ส่งมอบของนั้นแก่ผู้รับตราส่ง โจทก์รับประกันภัยรถแทรกเตอร์ที่ขนส่งตั้งแต่โกดังของผู้เอาประกันภัยจนถึงโกดังของลูกค้าของผู้เอาประกันภัย ถึงแม้สัญญาประกันภัยพ้นกำหนดระหว่างเดินทางก็คุ้มครองของที่ขนส่งจนถึงปลายทาง ถือว่าการประกันภัยยังไม่สิ้นสุดจนได้ส่งมอบรถแทรกเตอร์นั้นแก่ผู้รับตราส่ง และกำหนดเวลาประกันภัยหาสิ้นสุดลงตามกำหนดระยะเวลาขนส่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 886 (4) ไม่ ทั้งนี้เพราะบทบัญญัติดังกล่าวเป็นเพียงแต่กำหนดให้ต้องเริ่มทำการขนส่งภายในกำหนดที่ระบุไว้เท่านั้น หาได้มีความหมายว่าการประกันภัยสิ้นสุดเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาขนส่งไม่ เมื่อรถแทรกเตอร์ได้รับความเสียหายระหว่างการขนส่ง และโจทก์ใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เอาประกันภัยแล้วย่อมรับช่วงสิทธิมาฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ทำละเมิดและจำเลยที่ 2 ในฐานะนายจ้างของจำเลยที่ 1 ซึ่งกระทำในการทางที่จ้างของจำเลยที่ 2 ได้
ใบเสนอราคาค่าขนส่งเอกสารหมาย ป.ล. 1 จำเลยที่ 1 แสดงเจตนาเสนอราคาค่าขนส่งแก่บริษัท ส. โดยระบุเพิ่มเติมว่า ราคาที่เสนอมานี้ไม่รวมค่าความเสียหายและสูญหายในระหว่างการขนส่ง เนื่องจากจำเลยที่ 1 ไม่ได้ทำประกันภัยการขนส่งไว้ จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา และจำเลยที่ 1 หวังเป็นอย่างยิ่งว่าคงจะมีโอกาสได้รับใช้ท่านเหมือนเช่นเคยนั้น เป็นเพียงข้อเสนอค่าขนส่งที่ไม่รวมค่าเบี้ยประกันภัย ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าบริษัท ส. แสดงความตกลงเรื่องข้อยกเว้นความรับผิดโดยชัดแจ้ง ส่วนใบรับรถเอกสารหมาย ป.ล. 2 นั้น มีหลายใบแต่ไม่ปรากฏว่ามีใบรับในการขนส่งรถแทรกเตอร์ไปยังห้างหุ้นส่วนจำกัด ป. ลูกค้าของบริษัท ส. ดังนี้ ใบเสนอราคาและใบรับตามเอกสารหมาย ป.ล. 1 และ ป.ล. 2 ดังกล่าว ไม่เป็นข้อตกลงยกเว้นความรับผิดของจำเลยที่ 1
เมื่อมีบทบัญญัติกฎหมายกำหนดวิธีการเฉพาะการประกันภัยในการรับขนให้คุ้มถึงความวินาศภัยซึ่งอาจเกิดแก่ของที่ขนส่งในระหว่างเวลาตั้งแต่ผู้ขนส่งได้รับขนไปจนได้ส่งมอบของนั้นแก่ผู้รับตราส่ง จึงไม่อาจนำวิธีการประกันภัยซึ่งมีกำหนดเวลาในกรณีทั่วไปมาปรับใช้ เว้นแต่จะได้ระบุไว้ในสัญญาเป็นอย่างอื่น ดังนี้ สัญญาประกันภัยในการรับขนที่มีกำหนดเวลาย่อมคุ้มถึงความวินาศภัยทุกอย่างซึ่งอาจเกิดแก่ของที่ขนส่งตั้งแต่เวลาที่รับของไปในกำหนดเวลาประกันภัย จนได้ส่งมอบของนั้นแก่ผู้รับตราส่ง หาได้มีความหมายว่าสัญญาประกันภัยสิ้นสุดลงเมื่อพ้นกำหนดเวลาประกันภัยทันทีดังเช่นสัญญาประกันวินาศภัยในกรณีทั่วไปที่มิได้มุ่งคุ้มถึงความวินาศภัยซึ่งอาจเกิดแก่ของที่ขนส่งจนได้ส่งมอบของนั้นแก่ผู้รับตราส่ง โจทก์รับประกันภัยรถแทรกเตอร์ที่ขนส่งตั้งแต่โกดังของผู้เอาประกันภัยจนถึงโกดังของลูกค้าของผู้เอาประกันภัย ถึงแม้สัญญาประกันภัยพ้นกำหนดระหว่างเดินทางก็คุ้มครองของที่ขนส่งจนถึงปลายทาง ถือว่าการประกันภัยยังไม่สิ้นสุดจนได้ส่งมอบรถแทรกเตอร์นั้นแก่ผู้รับตราส่ง และกำหนดเวลาประกันภัยหาสิ้นสุดลงตามกำหนดระยะเวลาขนส่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 886 (4) ไม่ ทั้งนี้เพราะบทบัญญัติดังกล่าวเป็นเพียงแต่กำหนดให้ต้องเริ่มทำการขนส่งภายในกำหนดที่ระบุไว้เท่านั้น หาได้มีความหมายว่าการประกันภัยสิ้นสุดเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาขนส่งไม่ เมื่อรถแทรกเตอร์ได้รับความเสียหายระหว่างการขนส่ง และโจทก์ใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เอาประกันภัยแล้วย่อมรับช่วงสิทธิมาฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ทำละเมิดและจำเลยที่ 2 ในฐานะนายจ้างของจำเลยที่ 1 ซึ่งกระทำในการทางที่จ้างของจำเลยที่ 2 ได้
ใบเสนอราคาค่าขนส่งเอกสารหมาย ป.ล. 1 จำเลยที่ 1 แสดงเจตนาเสนอราคาค่าขนส่งแก่บริษัท ส. โดยระบุเพิ่มเติมว่า ราคาที่เสนอมานี้ไม่รวมค่าความเสียหายและสูญหายในระหว่างการขนส่ง เนื่องจากจำเลยที่ 1 ไม่ได้ทำประกันภัยการขนส่งไว้ จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา และจำเลยที่ 1 หวังเป็นอย่างยิ่งว่าคงจะมีโอกาสได้รับใช้ท่านเหมือนเช่นเคยนั้น เป็นเพียงข้อเสนอค่าขนส่งที่ไม่รวมค่าเบี้ยประกันภัย ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าบริษัท ส. แสดงความตกลงเรื่องข้อยกเว้นความรับผิดโดยชัดแจ้ง ส่วนใบรับรถเอกสารหมาย ป.ล. 2 นั้น มีหลายใบแต่ไม่ปรากฏว่ามีใบรับในการขนส่งรถแทรกเตอร์ไปยังห้างหุ้นส่วนจำกัด ป. ลูกค้าของบริษัท ส. ดังนี้ ใบเสนอราคาและใบรับตามเอกสารหมาย ป.ล. 1 และ ป.ล. 2 ดังกล่าว ไม่เป็นข้อตกลงยกเว้นความรับผิดของจำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11840/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยายามฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อนจากความโกรธแค้นส่วนตัว ศาลยืนตามอุทธรณ์ให้จำคุกตลอดชีวิต
ว. เป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลย อยู่กินด้วยกันที่อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพรต่อมาเลิกกันโดยมิได้จดทะเบียนหย่า ว. ย้ายไปอยู่จังหวัดภูเก็ต ได้รู้จักกับผู้เสียหายและได้อยู่กินฉันสามีภริยากับผู้เสียหาย จำเลยตามไปจังหวัดภูเก็ตและขู่ว่าหากแต่งงานใหม่จะฆ่า ว. กับผู้เสียหาย ต่อมาปี 2547 ว. กับผู้เสียหายได้มางานศพบิดา ว. ที่อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร จำเลยขู่จะฆ่า ว. และผู้เสียหายอีก จน ว. ได้แจ้งความไว้กับเจ้าพนักงานตำรวจ แสดงว่าจำเลยมีความโกรธแค้น ว. และผู้เสียหายและก็คงหาโอกาสที่จะฆ่าบุคคลทั้งสองมาตลอด จนวันเกิดเหตุเมื่อจำเลยทราบว่า ว. และผู้เสียหายมาที่อำเภอหลังสวน จำเลยก็ได้เดินทางจากบ้านจำเลยไปที่บ้านพักของ ว. และผู้เสียหาย เมื่อไปถึงจำเลยก็ใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายแล้วหลบหนีไป การที่จำเลยนำอาวุธติดตัวไปด้วยแสดงว่าจำเลยเตรียมอาวุธปืนเพื่อที่จะฆ่าผู้เสียหายไว้แล้ว ทั้งบ้านจำเลยและบ้านที่เกิดเหตุซึ่งอยู่คนละหมู่บ้านกันย่อมมีระยะทางห่างกันพอสมควร ระหว่างที่จำเลยเดินทางไปจำเลยย่อมคิดทบทวนหลายครั้งแล้วว่าจะฆ่าผู้เสียหาย เมื่อไปถึงจำเลยก็ได้ใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายไปเลยโดยไม่ได้พูดคุยอะไรกัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นการพยายามฆ่าผู้เสียหายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11252/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถือกรรมสิทธิ์แทนกันในที่ดิน กรณีตัวการ ตัวแทน และการบังคับจำหน่ายที่ดินของคนต่างด้าว
โจทก์เป็นคนสัญชาติเบลเยี่ยมเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย ได้รู้จักกับ ธ. พี่สาวของจำเลยและได้อยู่กินฉันสามีภริยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรส โจทก์ตกลงซื้อที่ดินพิพาทจาก น. เงินที่ซื้อที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ ธ. ทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทและจำเลยทำสัญญาแบ่งขายที่ดินพิพาทโดยจดทะเบียนรับโอนที่ดินพิพาท เป็นการทำแทนโจทก์ ต่อมาที่ดินพิพาทออกโฉนดที่ดินมีชื่อจำเลยถือกรรมสิทธิ์ ถือว่าเป็นการถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแทนโจทก์ โจทก์เป็นตัวการฟ้องเรียกทรัพย์สินคืน จำเลยซึ่งเป็นตัวแทนต้องส่งคืนให้แก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 810
การจะให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยนั้นใช้เฉพาะกรณีการทำนิติกรรมสัญญา และจำเลยเป็นผู้มีหน้าที่ต้องทำนิติกรรมสัญญานั้น แต่คดีนี้จำเลยไม่มีหน้าที่ต้องปฏิบัติด้วยการนำที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างออกขายทอดตลาดแต่อย่างใด แต่เป็นกรณีที่ต้องบังคับตาม ป.ที่ดิน มาตรา 94 ที่บัญญัติให้คนต่างด้าวจัดการจำหน่ายที่ดินภายในเวลาที่อธิบดีกรมที่ดินกำหนด ทั้งการบังคับให้จำหน่ายดังกล่าวก็หมายความเฉพาะที่ดินเท่านั้น ไม่รวมถึงสิ่งปลูกสร้างด้วย เพราะคนต่างด้าวไม่ต้องห้ามมิให้ถือกรรมสิทธิ์สิ่งปลูกสร้าง แต่อย่างไรก็ดี ตามคำฟ้องของโจทก์แปลความได้ว่าโจทก์ฟ้องเรียกเอาทรัพย์คืน ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง กับให้จำหน่ายที่ดินพิพาทให้เป็นไปตามกฎหมายได้ ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ
การจะให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยนั้นใช้เฉพาะกรณีการทำนิติกรรมสัญญา และจำเลยเป็นผู้มีหน้าที่ต้องทำนิติกรรมสัญญานั้น แต่คดีนี้จำเลยไม่มีหน้าที่ต้องปฏิบัติด้วยการนำที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างออกขายทอดตลาดแต่อย่างใด แต่เป็นกรณีที่ต้องบังคับตาม ป.ที่ดิน มาตรา 94 ที่บัญญัติให้คนต่างด้าวจัดการจำหน่ายที่ดินภายในเวลาที่อธิบดีกรมที่ดินกำหนด ทั้งการบังคับให้จำหน่ายดังกล่าวก็หมายความเฉพาะที่ดินเท่านั้น ไม่รวมถึงสิ่งปลูกสร้างด้วย เพราะคนต่างด้าวไม่ต้องห้ามมิให้ถือกรรมสิทธิ์สิ่งปลูกสร้าง แต่อย่างไรก็ดี ตามคำฟ้องของโจทก์แปลความได้ว่าโจทก์ฟ้องเรียกเอาทรัพย์คืน ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง กับให้จำหน่ายที่ดินพิพาทให้เป็นไปตามกฎหมายได้ ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11073/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปิดอากรแสตมป์หนังสือสัญญากู้เงินและค้ำประกัน การใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่ง
โจทก์ปิดอากรแสตมป์ด้านที่เป็นแบบพิมพ์หนังสือสัญญากู้เงินถึง 550 บาท ทั้งที่ต้องปิดอากรแสตมป์เพียง 285 บาท แสดงว่าโจทก์ปิดอากรแสตมป์ตามหนังสือสัญญากู้เงินและหนังสือสัญญาค้ำประกันที่เป็นแบบพิมพ์ด้านหลังครบถ้วนแล้ว หนังสือสัญญาค้ำประกันจึงใช้เป็นพยานหลักฐานได้ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 118
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11059/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องอาญา: การบรรยายฟ้องฐานพรากผู้เยาว์ที่ไม่ครบองค์ประกอบ และขอบเขตการลงโทษตามฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยกับพวกได้บังอาจร่วมกันพา ก. ผู้เยาว์อายุ 16 ปีเศษยังไม่เกิน 18 ปีไปเสียจาก ข. ผู้เป็นบิดาเพื่อการอนาจารโดยใช้อุบายหลอกลวงหรือใช้วิธีการข่มขืนใจด้วยประการอื่นใด สำหรับองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา 319 เป็นการพรากผู้เยาว์อายุกว่า 15 ปี แต่ยังไม่เกิน 18 ปี โดยปราศจากเหตุอันสมควร แม้ฟ้องโจทก์จะระบุว่าพา ก. ไปเสียจาก ข. ก็ตาม ก็เป็นเพียงการบรรยายรายละเอียดโดยปราศจากองค์ประกอบของการพรากไปโดยปราศจากเหตุอันสมควร คำว่า "พาไป" กับคำว่า "พรากไป" มีความหมายแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง แม้คำขอท้ายฟ้องจะอ้างมาตรา 319 มาด้วยก็ตาม กรณีจะแปลรวมไปถึงว่าโจทก์ได้บรรยายฟ้องฐานพรากผู้เยาว์ตามมาตรา 319 ด้วยหาได้ไม่ จึงไม่อาจลงโทษในความผิดฐานนี้ได้ เพราะเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้กล่าวในฟ้องต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง คงแปลได้เพียงว่าโจทก์ฟ้องและประสงค์ให้ลงโทษตามมาตรา 284 เท่านั้น
พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาว่า ร่วมกันโดยใช้อุบายหลอกลวงพรากผู้เยาว์อายุกว่า 15 ปี แต่ยังไม่เกิน 18 ปี ไปเสียจากบิดามารดาเพื่อการอนาจาร แสดงว่าพนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อหาพรากผู้เยาว์ตาม ป.อ. มาตรา 319 อันเป็นข้อหาหลัก แม้ทางสอบสวนปรากฏว่าเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 284 ด้วยซึ่งเป็นข้อหาเพิ่มเติม ถือว่าได้สอบสวนในความผิดดังกล่าวโดยชอบและได้ทำการสอบสวนทั้งความผิดตามมาตรา 284 และ 319 ครบถ้วนแล้ว เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษตามมาตรา 284 ศาลย่อมลงโทษจำเลยตามความผิดมาตรา 284 ตามที่พิจารณาได้ความได้
พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาว่า ร่วมกันโดยใช้อุบายหลอกลวงพรากผู้เยาว์อายุกว่า 15 ปี แต่ยังไม่เกิน 18 ปี ไปเสียจากบิดามารดาเพื่อการอนาจาร แสดงว่าพนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อหาพรากผู้เยาว์ตาม ป.อ. มาตรา 319 อันเป็นข้อหาหลัก แม้ทางสอบสวนปรากฏว่าเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 284 ด้วยซึ่งเป็นข้อหาเพิ่มเติม ถือว่าได้สอบสวนในความผิดดังกล่าวโดยชอบและได้ทำการสอบสวนทั้งความผิดตามมาตรา 284 และ 319 ครบถ้วนแล้ว เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษตามมาตรา 284 ศาลย่อมลงโทษจำเลยตามความผิดมาตรา 284 ตามที่พิจารณาได้ความได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10648/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาความผิดหลายกรรมต่างกันในคดีกระทำชำเราและพรากเด็ก การฎีกาในข้อเท็จจริงที่ต้องห้าม
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า ความผิดฐานกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบสามปีกับฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากมารดาเพื่อการอนาจารเป็นกรรมเดียวกัน ลงโทษจำคุกจำเลย กระทงละ 4 ปี 8 เดือน รวม 2 กระทง จำคุก 8 ปี 16 เดือน ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษาแก้เป็นว่า ความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากมารดาเพื่อการอนาจาร กับความผิดฐานกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบสามปี เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน เป็นเพียงการแก้ไขเล็กน้อย และยังคงลงโทษจำคุกจำเลยแต่ละกระทงไม่เกินห้าปี จึงต้องห้ามคู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8961/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลิตเมทแอมเฟตามีน - การใช้กฎหมายใหม่ (65 วรรคสาม) - การเพิ่มโทษ - ล้างมลทิน
โจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่า จำเลยทั้งสองกับพวกร่วมกันผลิตเมทแอมเฟตามีนจำนวน 50 เม็ด น้ำหนักไม่ปรากฏชัด โดยมิได้บรรยายว่าจำนวนเม็ดของเมทแอมเฟตามีนดังกล่าวเป็นหน่วยการใช้ด้วย จึงไม่อาจรับฟังได้ว่า เมทแอมเฟตามีนจำนวน 50 เม็ด ดังกล่าวที่จำเลยที่ 1 ผลิต และจำเลยที่ 2 เป็นผู้สนับสนุนจำเลยที่ 1 ในการกระทำความผิดฐานผลิตมีปริมาณ 50 หน่วยการใช้หรือมีปริมาณสิบห้าหน่วยการใช้ขึ้นไป กรณีจึงต้องรับฟังข้อเท็จจริงให้เป็นคุณแก่จำเลยทั้งสองว่า เมทแอมเฟตามีนจำนวน 50 เม็ด ดังกล่าวมีจำนวนหน่วยการใช้ไม่ถึงปริมาณที่กำหนดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคสาม (ใหม่) ซึ่งการผลิตเมทแอมเฟตามีนโดยการแบ่งบรรจุมีจำนวนหน่วยการใช้ไม่ถึงปริมาณที่กำหนดตาม พ.ร.บ.บัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคสาม (ใหม่) เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.บัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 65 วรรคสาม ซึ่งเป็นกฎหมายที่บัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมใหม่และมีเงื่อนไขอันเป็นองค์ประกอบความผิดกับมีระวางโทษจำคุกตั้งแต่สี่ปีถึงสิบห้าปี หรือปรับตั้งแต่แปดหมื่นบาทถึงสามแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ที่เป็นคุณมากกว่ามาตรา 65 วรรคหนึ่ง (เดิม) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดและมีระวางโทษจำคุกตลอดชีวิต ดังนั้น จึงต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณบังคับแก่จำเลยทั้งสองตาม ป.อ. มาตรา 3 จำเลยที่ 1 จึงมีความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคหนึ่ง (เดิม), 65 วรรคสาม (ใหม่), 66 วรรคหนึ่ง (ใหม่) ประกอบ ป.อ. มาตรา 83 และจำเลยที่ 2 มีความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคหนึ่ง (เดิม), 65 วรรคสาม (ใหม่) ประกอบ ป.อ. มาตรา 86 ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจหยิบยกขึ้นอ้างและแก้ไขโดยปรับบทกฎหมายให้ถูกต้อง รวมทั้งแก้ไขโทษเสียใหม่ให้เหมาะสมสอดคล้องกับบทกฎหมายที่แก้ไขใหม่ดังกล่าวได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7339/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาซื้อขาย และการคืนเงินพร้อมดอกเบี้ยเมื่อสัญญาเดิมไม่สามารถบังคับได้
โจทก์ทั้งสองทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมอาคารในโครงการเมืองทองสุขสวัสดิ์กับจำเลย และได้ผ่อนชำระเงินดาวน์ให้แก่จำเลยแล้ว 24 งวด แต่จำเลยยังมิได้ก่อสร้างอาคารตามสัญญา อันเป็นการผิดสัญญาต่อโจทก์ทั้งสองซึ่งโจทก์ทั้งสองอาจใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาได้ เมื่อโจทก์ทั้งสองขอรับเงินที่ชำระไปแล้วคืนจากจำเลย แต่จำเลยอ้างว่าไม่อาจคืนเงินได้และเสนอขอชำระหนี้เป็นที่ดินเปล่าในโครงการเมืองทองธานี ต่อมาโจทก์ทั้งสองกับจำเลยตกลงทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินเปล่าในโครงการเมืองทองธานี โดยให้นำเงินที่โจทก์ทั้งสองได้ชำระไว้แล้วตามสัญญาจะซื้อจะขายฉบับเดิมรวมทั้งเงินรางวัลส่วนลดถือเป็นเงินค่าจองมัดจำตามสัญญาจะซื้อจะขายฉบับใหม่ การทำสัญญาจะซื้อจะขายฉบับใหม่จึงเป็นการตกลงเปลี่ยนวัตถุแห่งหนี้ที่จำเลยพึงกระทำเพื่อปฏิบัติการชำระหนี้ให้แก่โจทก์ทั้งสองได้ในขณะนั้น หากจำเลยสามารถโอนที่ดินตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินเปล่าให้แก่โจทก์ทั้งสองได้ ก็ไม่มีเหตุผลใดที่โจทก์ทั้งสองจะไม่ไปรับโอนที่ดินดังกล่าว ประกอบกับคดีนี้โจทก์ทั้งสองฟ้องจำเลยบังคับตามสัญญาจะซื้อจะขายฉบับเดิมโดยมิได้กล่าวถึงสัญญาจะซื้อจะขายฉบับใหม่ และมิได้นำสัญญาจะซื้อจะขายฉบับใหม่มาอ้างอิงต่อศาล เพราะโจทก์ทั้งสองได้คืนต้นฉบับสัญญาจะซื้อจะขายฉบับใหม่ให้แก่จำเลยไปแล้วเนื่องจากจำเลยขอคืนโดยจำเลยแจ้งว่าไม่สามารถโอนที่ดินตามสัญญาจะซื้อจะขายฉบับใหม่ให้แก่โจทก์ทั้งสองได้เพราะติดจำนองกับธนาคารตามที่โจทก์ทั้งสองกล่าวอ้างจริง พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าคู่สัญญาไม่ประสงค์จะบังคับตามสัญญาจะซื้อจะขายฉบับใหม่ต่อกันด้วยต่างล่วงรู้ในข้อเท็จจริงว่าทรัพย์ที่เป็นวัตถุแห่งหนี้ตามสัญญาจะซื้อจะขายฉบับใหม่ไม่สามารถโอนทางทะเบียนให้แก่โจทก์ทั้งสองได้ ประกอบกับข้อตกลงตามสัญญาจะซื้อจะขายฉบับใหม่ ไม่มีข้อความใดๆ ที่แสดงให้เห็นว่ามูลหนี้ตามสัญญาจะซื้อจะขายฉบับเดิมให้เป็นอันระงับสิ้นไป การทำสัญญาจะซื้อจะขายฉบับใหม่เช่นนี้จึงมิใช่การแปลงหนี้ใหม่อันจะทำให้หนี้ตามสัญญาจะซื้อจะขายฉบับเดิมเป็นอันระงับสิ้นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 349 วรรคหนึ่ง เมื่อโจทก์ทั้งสองได้บอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายฉบับเดิมแล้วตามหนังสือบอกเลิกสัญญา คู่สัญญาจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งกลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 จำเลยจึงต้องคืนเงินพร้อมดอกเบี้ยและค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสอง สำหรับเงินรางวัลส่วนลดซึ่งจำเลยยินยอมให้ถือเอาส่วนลดนี้เป็นเงินค่างวดที่โจทก์ทั้งสองได้ชำระแล้วเป็นสิทธิอันพึงมีของโจทก์ทั้งสองสืบเนื่องมาจากการทำสัญญาจะซื้อจะขายฉบับเดิม แม้โจทก์ทั้งสองได้แสดงเจตนาถือเอาประโยชน์ตามสิทธินั้นแล้ว และต่อมามีการถือเอาเงินส่วนลดเป็นส่วนหนึ่งของเงินมัดจำตามสัญญาจะซื้อจะขายฉบับใหม่ แต่เมื่อสัญญาจะซื้อจะขายฉบับใหม่ไม่อาจบังคับได้ โจทก์ทั้งสองย่อมได้สิทธิตามส่วนลดนี้ก็ต่อเมื่อมีการโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์ตามสัญญาจะซื้อจะขายฉบับเดิม เมื่อสัญญาจะซื้อจะขายฉบับเดิมถูกบอกเลิกแล้ว คู่สัญญาแต่ละฝ่ายต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม สิทธิในเงินรางวัลส่วนลดอันสืบเนื่องมาจากสัญญาจะซื้อจะขายฉบับเดิมจึงหมดไปและไม่อาจถือเป็นค่าเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7278-7279/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแต่งตั้งทรัสตี: ผู้มีส่วนได้เสีย, ความเหมาะสม, และการดูแลทรัพย์สินตามวัตถุประสงค์ของทรัสต์
ป่าช้าจีนบ้าบ๋าเป็นที่ดินที่ชาวจีนบ้าบ๋าหรือฮกเกี้ยนที่มาจากสาธารณรัฐสิงคโปร์ร่วมกันออกเงินซื้อมาก่อตั้งเป็นทรัสต์เพื่อใช้เป็นสถานที่ฝังศพของชาวจีนบ้าบ๋าหรือฮกเกี้ยน เมื่อทรัสต์ป่าช้าจีนบ้าบ๋าจัดตั้งขึ้นก่อน ป.พ.พ. บรรพ 6 มาตรา 1686 ประกาศใช้ย่อมมีผลใช้บังคับกันได้ต่อไปไม่มีกำหนดเวลาสิ้นสุด เว้นแต่ผู้รับประโยชน์ทุกคนตกลงให้เลิกกันเมื่อ ล ทรัสตีคนเดิมถึงแก่ความตาย ผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการย่อมร้องขอต่อศาลให้ตั้งทรัสตีคนใหม่แทนเพื่อให้ทรัสต์ป่าช้าจีนบ้าบ๋ามีผู้ดูแลจัดการได้ต่อไป
ผู้ร้องเป็นทายาทของ ต ชั้นหลานและศพของ ต ได้ฝังอยู่ในป่าช้าจีนบ้าบ๋า ซึ่งผู้ร้องและญาติได้มาเคารพกราบไหว้ตามประเพณี เมื่อที่ดินดังกล่าว ต ล และชาวจีนบ้าบ๋าหรือฮกเกี้ยนที่มาจากสาธารณรัฐสิงคโปร์ร่วมกันออกเงินซื้อมาจัดตั้งเป็นทรัสต์ป่าช้าจีนบ้าบ๋าเพื่อใช้เป็นสถานที่ฝังศพของชาวจีนบ้าบ๋าหรือฮกเกี้ยนมิใช่เพื่อชาวจีนกลุ่มอื่น ผู้ร้องจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่จะขอให้ศาลตั้งผู้ร้องเป็นทรัสตีของทรัสต์ป่าช้าบ้าบ๋าได้
ส่วนผู้คัดค้านที่ 3 เป็นชาวจีนแคะ แม้มีบิดาเลี้ยงเป็นชาวจีนบ้าบ๋าหรือฮกเกี้ยน ผู้คัดค้านที่ 3 ก็มิได้เกี่ยวข้องกับบิดาเลี้ยงทางสายโลหิต ย่อมไม่มีบรรพบุรุษฝังอยู่ในป่าช้าจีนบ้าบ๋า และเมื่อผู้คัดค้านที่ 3 เคยยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งว่า ผู้คัดค้านที่ 3 ครอบครองปรปักษ์ที่ดินป่าช้าจีนบ้าบ๋าซึ่งศาลฎีกาตัดสินว่า การดำเนินคดีของผู้คัดค้านที่ 3 กระทำโดยไม่สุจริต แม้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้คัดค้านที่ 3 ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ก็ไม่อาจบังคับได้ ผู้คัดค้านที่ 3 ซึ่งเป็นคู่ความย่อมต้องผูกพันตามคำพิพากษาดังกล่าว ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 ดังนั้น ผู้คัดค้านที่ 3 จึงมิใช่ผู้มีส่วนได้เสียในที่ดินที่จะขอให้ศาลตั้งผู้คัดค้านที่ 3 เป็นทรัสตีป่าช้าจีนบ้าบ๋าแทน ล ทรัสตีคนเดิม ปัญหาดังกล่าวแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาแต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247
ผู้ร้องเป็นทายาทของ ต ชั้นหลานและศพของ ต ได้ฝังอยู่ในป่าช้าจีนบ้าบ๋า ซึ่งผู้ร้องและญาติได้มาเคารพกราบไหว้ตามประเพณี เมื่อที่ดินดังกล่าว ต ล และชาวจีนบ้าบ๋าหรือฮกเกี้ยนที่มาจากสาธารณรัฐสิงคโปร์ร่วมกันออกเงินซื้อมาจัดตั้งเป็นทรัสต์ป่าช้าจีนบ้าบ๋าเพื่อใช้เป็นสถานที่ฝังศพของชาวจีนบ้าบ๋าหรือฮกเกี้ยนมิใช่เพื่อชาวจีนกลุ่มอื่น ผู้ร้องจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่จะขอให้ศาลตั้งผู้ร้องเป็นทรัสตีของทรัสต์ป่าช้าบ้าบ๋าได้
ส่วนผู้คัดค้านที่ 3 เป็นชาวจีนแคะ แม้มีบิดาเลี้ยงเป็นชาวจีนบ้าบ๋าหรือฮกเกี้ยน ผู้คัดค้านที่ 3 ก็มิได้เกี่ยวข้องกับบิดาเลี้ยงทางสายโลหิต ย่อมไม่มีบรรพบุรุษฝังอยู่ในป่าช้าจีนบ้าบ๋า และเมื่อผู้คัดค้านที่ 3 เคยยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งว่า ผู้คัดค้านที่ 3 ครอบครองปรปักษ์ที่ดินป่าช้าจีนบ้าบ๋าซึ่งศาลฎีกาตัดสินว่า การดำเนินคดีของผู้คัดค้านที่ 3 กระทำโดยไม่สุจริต แม้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้คัดค้านที่ 3 ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ก็ไม่อาจบังคับได้ ผู้คัดค้านที่ 3 ซึ่งเป็นคู่ความย่อมต้องผูกพันตามคำพิพากษาดังกล่าว ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 ดังนั้น ผู้คัดค้านที่ 3 จึงมิใช่ผู้มีส่วนได้เสียในที่ดินที่จะขอให้ศาลตั้งผู้คัดค้านที่ 3 เป็นทรัสตีป่าช้าจีนบ้าบ๋าแทน ล ทรัสตีคนเดิม ปัญหาดังกล่าวแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาแต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6475/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความชอบด้วยกฎหมายของคำฟ้องชิงทรัพย์ แม้ไม่ได้ระบุชื่อผู้เสียหาย
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยใช้อาวุธปืนสั้นชิงทรัพย์สร้อยคอทองคำราคา 7,000 บาท พระเครื่องเลี่ยมทองคำราคา 1,800 บาท โทรศัพท์เคลื่อนที่ราคา 4,000 บาท กระเป๋าสตางค์ราคา 1,300 บาท ภายในบรรจุบัตรประจำตัวประชาชน ใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ บัตรเอทีเอ็ม ธนบัตร 4,400 บาท รวมเป็นเงิน 18,100 บาท ของผู้เสียหายไปโดยทุจริต โดยจำเลยใช้อาวุธปืนจี้ขู่เข็ญว่าในทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้าย ใช้อาวุธปืนยิงให้ตายหากขัดขืน เพื่อความสะดวกแก่การลักทรัพย์ พาทรัพย์นั้นไป ให้ยื่นให้ซึ่งทรัพย์และให้พ้นจากการจับกุม อันเป็นการกล่าวถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาและสถานที่ ซึ่งเกิดการกระทำนั้น ๆ อีกทั้งบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แล้ว แม้โจทก์จะไม่ได้ระบุชื่อผู้เสียหายที่เป็นเจ้าของทรัพย์ แต่ความผิดฐานลักทรัพย์หรือชิงทรัพย์องค์ประกอบแห่งความผิดดังกล่าวอยู่ที่การเอาทรัพย์ของผู้อื่นหรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปโดยทุจริต ซึ่งเมื่ออ่านคำฟ้องโดยตลอดแล้ว ที่โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยเอาทรัพย์ของผู้เสียหายไปโดยทุจริตย่อมเข้าใจได้ว่าจำเลยลักเอาทรัพย์ของผู้อื่นซึ่งไม่ใช่ทรัพย์ของจำเลยหรือเป็นทรัพย์ไม่มีเจ้าของไปโดยทุจริต เช่นนี้ฟ้องของโจทก์จึงระบุรายละเอียดเกี่ยวกับบุคคลและสิ่งของพอสมควรที่จำเลยจะต่อสู้คดีได้แล้ว โดยไม่จำต้องระบุชื่อผู้เสียหาย มิฉะนั้นหากไม่ทราบชื่อของผู้เสียหายก็จะทำให้ไม่มีทางที่จะฟ้องคดีในความผิดฐานลักทรัพย์หรือชิงทรัพย์ได้ซึ่งไม่ใช่เป็นเจตนารมณ์ของกฎหมาย