คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สมชาย สินเกษม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 144 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7894/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าที่มีข้อตกลงพิเศษ สิทธิของคู่สัญญาเมื่อมีการโอนกรรมสิทธิ์
การที่ อ. ให้จำเลยที่ 2 เช่าตึกแถวพิพาทมีกำหนด 20 ปี โดยจำเลยที่ 2 ต้องออกเงินช่วยค่าก่อสร้างตึกแถวพิพาท ซึ่งยังก่อสร้างไม่แล้วเสร็จให้ อ. จำนวน 900,000 บาท ย่อมเป็นสัญญาต่างตอบแทนชนิดหนึ่งที่ซ้อนรวมอยู่ในสัญญาเช่าโดยถือเป็นข้อตกลงที่ อ. จะต้องให้จำเลยที่ 2 เช่าตึกแถวพิพาทมีกำหนด 20 ปี สัญญาเช่าตึกแถวพิพาทระหว่าง อ. และจำเลยที่ 2 จึงเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าการเช่าตามธรรมดาซึ่งเป็นเพียงบุคคลสิทธิมีผลผูกพันเฉพาะ อ. กับจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นคู่สัญญาเท่านั้น หามีผลผูกพันไปถึงโจทก์ผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ตึกแถวพิพาทจาก อ. เจ้าของเดิมซึ่งเป็นบุคคลภายนอกสัญญาด้วยไม่ ถึงแม้โจทก์จะรู้เห็นถึงการเช่าดังกล่าวและรับโอนตึกแถวพิพาทมา เมื่อข้อเท็จจริงฟังยุติแล้ว ไม่ปรากฏว่าโจทก์ยินยอมผูกพันตนที่จะปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าวแทน อ. ที่จะให้จำเลยที่ 2 เช่าตึกแถวพิพาท อันจะถือได้ว่าโจทก์ตกลงชำระหนี้ให้แก่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก ตาม ป.พ.พ. มาตรา 374 ซึ่งจะทำให้จำเลยที่ 2 มีสิทธิอยู่ในตึกแถวพิพาทที่เช่าต่อไปข้อตกลงระหว่าง อ. กับจำเลยที่ 2 จึงไม่มีผลผูกพันธ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7892/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อและการส่งมอบรถยนต์ ผู้เช่าซื้อต้องส่งมอบรถคืนโจทก์ด้วยตนเอง
จำเลยที่ 1 เป็นผู้ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์กับโจทก์ การที่จำเลยที่ 1 มอบรถยนต์ให้ ช. ใช้ประโยชน์ ช. ย่อมเป็นผู้ครอบครองรถยนต์แทนจำเลยที่ 1 หากจำเลยที่ 1 จะบอกเลิกสัญญาโดยการส่งมอบรถยนต์คืน ย่อมเป็นหน้าที่ของจำเลยที่ 1 จะต้องเป็นผู้ส่งมอบรถยนต์คืนแก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 573
จำเลยทั้งสองให้การแต่เพียงว่า จำเลยทั้งสองบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อโดยส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อแก่โจทก์แล้ว ข้อเท็จจริงตามอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองที่ว่ามีการแปลงหนี้ใหม่โดยเปลี่ยนตัวลูกหนี้จากจำเลยที่ 1 เป็น ช. หนี้ตามสัญญาเช่าซื้อจึงระงับ หรือมิฉะนั้นก็เป็นกรณีตัวการไม่เปิดเผยชื่อ เมื่อเปิดเผยชื่อตัวการโดยจำเลยที่ 1 แจ้งให้โจทก์ทราบ ช. ตัวการต้องเข้ามาผูกพันรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาเช่าซื้อเป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยทั้งสองไม่ได้ยกขึ้นต่อสู้ในคำให้การจึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น เป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7152/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสมรสซ้อนเป็นโมฆะ ไม่ก่อให้เกิดสินสมรส ยึดทรัพย์สินเพื่อชำระหนี้ไม่ได้
ป.พ.พ. มาตรา 1497 บัญญัติว่า "การสมรสที่เป็นโมฆะ เพราะฝ่าฝืนมาตรา 1452 บุคคลผู้มีส่วนได้เสียคนใดคนหนึ่งจะกล่าวอ้างขึ้นหรือจะร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะก็ได้" การสมรสซ้อนตามมาตรา 1452 จึงอาจเป็นโมฆะได้โดยบุคคลผู้มีส่วนได้เสียกล่าวอ้าง เมื่อจำเลยร่วมที่ 1 กล่าวอ้างว่าการสมรสระหว่างตนเองกับ ช. เจ้ามรดกเป็นการสมรสซ้อนผลก็คือทำให้การสมรสเป็นโมฆะตามบทกฎหมายดังกล่าวและการสมรสที่เป็นโมฆะดังกล่าวไม่ก่อให้เกิดความสัมพันธ์ทางทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาตามมาตรา 1498 วรรคแรก ดังนั้น ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่พิพาทซึ่งมีชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์จึงไม่ใช่ทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรสไม่เป็นสินสมรสของจำเลยร่วมที่ 1 กับ ช. ที่โจทก์จะยึดมาขายทอดตลาดชำระหนี้ของจำเลยร่วมทั้งสามซึ่งเป็นทายาทของ ช. กับจำเลยที่ 1
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 แล้วยื่นคำร้องขอให้เรียกจำเลยร่วมที่ 1 เข้ามาในคดี จำเลยร่วมที่ 1 ได้ยื่นคำให้การอยู่แล้วว่า การสมรสระหว่างจำเลยร่วมที่ 1 กับ ช. เจ้ามรดกเป็นโมฆะเพราะเป็นการสมรสซ้อน โจทก์จึงทราบข้อเท็จจริงดังกล่าวมาแล้วจากคำให้การของจำเลยร่วมที่ 1 แต่โจทก์ก็ยังยินยอมที่จะทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยที่ 1 โดยในสัญญาข้อ 3 ระบุว่า ในส่วนของจำเลยร่วมทั้งสามขอรับผิดเพียงไม่เกินทรัพย์มรดกของ ช. จึงมิใช่เป็นการฉ้อฉลโจทก์ไม่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7152/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสมรสซ้อนทำให้ไม่เกิดสินสมรส และผลต่อการบังคับคดี
ป.พ.พ. มาตรา 1497 บัญญัติว่า "การสมรสที่เป็นโมฆะ เพราะฝ่าฝืนมาตรา 1452 บุคคลผู้มีส่วนได้เสียคนใดคนหนึ่งจะกล่าวอ้างขึ้นหรือจะร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะก็ได้" เมื่อจำเลยร่วมที่ 1 ยื่นคำร้องกล่าวอ้างในคดีนี้ว่า การสมรสระหว่างตนเองกับ ช.เป็นการสมรสซ้อน ผลคือทำให้การสมรสเป็นโมฆะตามบทกฎหมายดังกล่าว การสมรสที่เป็นโมฆะดังกล่าวไม่ก่อให้เกิดความสัมพันธ์ทางทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาตามมาตรา 1498 วรรคแรก ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่พิพาทซึ่งมีชื่อจำเลยร่วมที่ 1 ถือกรรมสิทธิ์จึงไม่ใช่ทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรส ไม่ใช่สินสมรส
โจทก์ยื่นคำคัดค้านแต่เพียงว่า ทรัพย์พิพาทเป็นสินสมรสที่ตกทอดเป็นมรดกของ ช. ไม่ได้คัดค้านว่าเป็นทรัพย์สินที่ ช.ซื้อหรือร่วมกับจำเลยร่วมที่ 1 ซื้อหามา ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าทรัพย์พิพาทเป็นทรัพย์สินของจำเลยร่วมที่ 1 แต่เพียงฝ่ายเดียว ไม่ใช่ทรัพย์มรดกของ ช. ที่โจทก์ฎีกาอ้างว่า ทรัพย์พิพาทเป็นทรัพย์สินที่ ช. ซื้อหามาด้วยเงินของตนเอง แล้วใส่ชื่อของบุตรสาวไว้ ต่อมาจึงโอนใส่ชื่อของจำเลยร่วมที่ 1 เป็นข้อที่โจทก์ไม่ได้คัดค้านและไม่ได้นำสืบต่อสู้ไว้ ถือเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
ขณะโจทก์ยื่นคำร้องขอให้เรียกจำเลยร่วมที่ 1 เข้ามาในคดี จำเลยร่วมที่ 1 ยื่นคำให้การว่า การสมรสระหว่างจำเลยร่วมที่ 1 กับ ช. เป็นโมฆะเพราะเป็นการสมรสซ้อน โจทก์จึงทราบข้อเท็จจริงดังกล่าวจากคำให้การของจำเลยร่วมที่ 1 แล้ว แต่ยังยินยอมที่จะทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยร่วมที่ 1 โดยในสัญญาข้อ 3 ระบุว่า "ในส่วนของจำเลยร่วมทั้งสามขอรับผิดเพียงไม่เกินทรัพย์มรดกของช." ดังนั้น หาก ช. ไม่มีทรัพย์มรดกตกทอดแก่จำเลยร่วมทั้งสาม โจทก์ก็จะเรียกร้องให้จำเลยร่วมทั้งสามรับผิดไม่ได้ การที่จำเลยร่วมที่ 1 ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์โดยโจทก์ทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการสมรสซ้อนอยู่แล้วจึงไม่เป็นการฉ้อฉลโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6711/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกล้างนิติกรรมประกันชีวิตเนื่องจากปกปิดข้อเท็จจริง ศาลพิพากษายืนตามศาลล่างว่าจำเลยมีหน้าที่พิสูจน์การบอกล้างภายในกำหนด
โจทก์บรรยายฟ้องให้จำเลยรับผิดต่อโจทก์ในฐานะผู้รับประโยชน์จากการถึงแก่ความตายของ ก. ซึ่งประกันชีวิตไว้ต่อจำเลย จำเลยให้การรับว่าได้รับประกันชีวิต ก. แต่ยกข้อต่อสู้ว่านิติกรรมเป็นโมฆียะและได้บอกล้างแล้ว ขอให้ยกฟ้อง ดังนี้ ที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยจะต้องรับผิดต่อโจทก์ตามกรมธรรม์ประกันชีวิตตามฟ้องหรือไม่ เพียงใด และให้จำเลยมีภาระการพิสูจน์ จึงเป็นการกำหนดประเด็นข้อพิพาทที่ถูกต้องตามกฎหมาย จำเลยมีหน้าที่ต้องพิสูจน์ข้อยกเว้นความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันชีวิต คือ ก. ปกปิดข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง (H.I.V) หรือโรคเอดส์ และจำเลยได้บอกล้างนิติกรรมที่เป็นโมฆียกรรมภายในกำหนดเดือนหนึ่งนับแต่วันที่จำเลยทราบมูลอันจะบอกล้างได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 865 วรรคสอง บัญญัติให้สิทธิไว้
หลักเกณฑ์ในการบรรยายฟ้องให้ถูกต้องตามกฎหมายดังที่ ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง บัญญัติไว้กำหนดให้โจทก์ต้องบรรยายคำฟ้องโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นเท่านั้น โดยมิได้บัญญัติให้โจทก์ต้องบรรยายถึงข้อปฏิเสธความรับผิดของจำเลยในชั้นก่อนฟ้องมาเป็นสาระสำคัญของคำฟ้องด้วย ดังนี้ในชั้นพิจารณาจึงเป็นหน้าที่ของจำเลยซึ่งปฏิเสธความรับผิดตามที่โจทก์ฟ้องมีภาระการพิสูจน์จะต้องนำสืบให้ครบถ้วนตามหลักเกณฑ์แห่งข้อยกเว้นความรับผิดในฐานะผู้รับประกันชีวิต ก. ที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยข้อเท็จจริงเกี่ยวกับระยะเวลาในการบอกล้างนิติกรรมและพิพากษาคดีมานั้น จึงไม่เป็นการพิจารณาพิพากษานอกฟ้องนอกประเด็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6473/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ไม่เป็นการแปลงหนี้ใหม่, ตัวแทนเรียกเงินทดรองจ่ายจากตัวการ, และอายุความค่าเบี้ยประกันภัย
สัญญาการปรับปรุงโครงสร้างหนี้เป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 ยอมรับว่าในวันที่ 28 กันยายน 2544 จำเลยที่ 1 มียอดหนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชีและเงินกู้ค้างชำระเป็นยอดหนี้ตามบัญชี 2,719,380 บาท และดอกเบี้ยนอกบัญชี 1,408,325.13 บาท ตกลงให้มีการเปลี่ยนแปลงการชำระหนี้โดยมีเงื่อนไขการผ่อนชำระคืนกับเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตามที่กำหนด โดยให้ถือหลักประกันตามสัญญาเดิมเป็นหลักประกันการชำระหนี้ตามสัญญานี้เช่นนี้ แม้สัญญาระบุว่า "โดยมีเงื่อนไขการชำระคืนดังนี้..." ก็ไม่อยู่ในความหมายของการเพิ่มเติมเงื่อนไขเข้าในหนี้อันปราศจากเงื่อนไขที่จะทำให้เป็นการเปลี่ยนแปลงสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้อันเป็นการแปลงหนี้ใหม่ตามความใน ป.พ.พ. มาตรา 349 เพราะเป็นเพียงการกำหนดระยะเวลาชำระหนี้ใหม่เท่านั้นกรณีจึงไม่ใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่อันทำให้หนี้เดิมระงับ
จำเลยที่ 2 มอบอำนาจให้โจทก์ไปทำสัญญาประกันภัยทรัพย์สินที่จำนองแทนเมื่อโจทก์ชำระค่าเบี้ยประกันภัยแทนจำเลยทั้งสอง โจทก์จึงมีฐานะเป็นตัวแทนย่อมฟ้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดในเงินค่าเบี้ยประกันภัยที่ชำระแทนได้ เป็นกรณีที่ตัวแทนเรียกเอาเงินที่ทดรองจ่ายไปจากตัวการซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้ต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6150/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังเอกสารกรมธรรม์ประกันภัยเกินกว่าที่โจทก์อ้าง และขอบเขตความรับผิดจำกัดตามกรมธรรม์
โจทก์นำสืบว่า จำเลยที่ 3 เป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์โดยสารไม่ประจำทางคันเกิดเหตุ มีความรับผิดต้องชดใช้ค่ารักษาพยาบาลแก่โจทก์ตามกรมธรรม์ประกันภัยเอกสารหมาย จ.3 จำเลยที่ 3 ยื่นกรมธรรม์ประกันภัยประกอบคำแถลงต่อศาล ซึ่งปรากฏว่าเป็นกรมธรรม์ประกันภัยฉบับเดียวกันกับที่โจทก์อ้าง หากแต่มีรายละเอียดเพิ่มเติมนอกเหนือจากกรมธรรม์ประกันภัยของโจทก์ระบุความรับผิดของจำเลยที่ 3 ในเรื่องค่ารักษาพยาบาลไว้ในแผ่นที่ 2 ว่า "จำนวนเงินจำกัดความรับผิดแต่ละครั้งเกินกว่าจำนวนเงินค่ารักษาพยาบาลที่ได้รับมาแล้วตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 ถึง 100,000 บาท ต่อหนึ่งคน" แม้จำเลยที่ 3 จะขาดนัดพิจารณาและยื่นกรมธรรม์ประกันภัยฉบับดังกล่าวก่อนที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา แต่ศาลฎีกาเห็นว่าเป็นเอกสารสำคัญอันเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดี ศาลฎีกามีอำนาจรับฟังเอกสารดังกล่าว โดยถือว่าเป็นพยานของศาลเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 86 วรรคท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6037/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเรียกร้องค่าเสียหายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ และการแบ่งความรับผิดตามสัดส่วนของผู้กระทำผิด
แม้ขณะฟ้องคดีโจทก์ยังมิได้ชำระเงินค่าซ่อมรถยนต์ยี่ห้อเบนซ์ซึ่งโจทก์รับประกันภัยไว้ เนื่องจากรถยนต์ได้รับความเสียหายมากต้องซ่อมทั้งคันใช้เวลาซ่อมนานแต่การที่เมื่อหลังเกิดเหตุแล้วโจทก์ได้นำรถยนต์ยี่ห้อเบนซ์ไปให้อู่ซ่อมรถดังกล่าวทำการซ่อมและอู่ซ่อมรถดังกล่าวได้รับทำการซ่อมให้ในราคาที่ตกลงกันไว้นั้น โจทก์ย่อมมีความผูกพันที่จะต้องชำระค่าซ่อมรถยนต์ตามจำนวนเงินที่ตกลงกันไว้ ทั้งต่อมาเมื่ออู่ซ่อมรถดังกล่าวซ่อมรถยนต์ยี่ห้อเบนซ์เสร็จแล้วได้มอบรถยนต์ยี่ห้อเบนซ์คืนให้ผู้เอาประกันภัยไป จึงถือได้ว่าโจทก์ได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนไปแล้วตามจำนวนเงินค่าจ้างที่ได้ตกลงไว้กับอู่ซ่อมรถดังกล่าว โจทก์ย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยเรียกร้องค่าซ่อมรถยนต์ยี่ห้อเบนซ์จากจำเลยทั้งสองได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 880 วรรคหนึ่ง ส่วนในการกำหนดค่าเสียหายนั้น ถึงแม้ความเสียหายทั้งหมดจะเป็นผลจากการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 ซึ่งจำเลยทั้งสองจะปฏิเสธความรับผิดไม่ได้ก็ตาม แต่ศาลก็ย่อมต้องพิจารณาพฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด และกำหนดค่าเสียหายให้จำเลยทั้งสองรับผิดตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งความผิดของจำเลยที่ 1 ในการทำให้เกิดความเสียหายขึ้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 438 วรรคหนึ่ง เมื่อคนขับรถหมายเลขทะเบียน 9ง-2234 กรุงเทพมหานคร มีส่วนประมาทก่อให้เกิดผลร้ายแรงขึ้นด้วย ซึ่งมีเหตุที่ไม่ควรให้จำเลยทั้งสองต้องรับผิดเต็มตามความเสียหายทั้งหมดแต่ฝ่ายเดียวแล้ว ศาลจึงไม่จำต้องให้จำเลยทั้งสองรับผิดเต็มตามความเสียหายนั้นเสมอไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5831/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำนองเพื่อประกันหนี้ในอนาคต & สิทธิเรียกร้องของผู้รับจำนองที่โอนสิทธิ - ประนีประนอมยอมความไม่ระงับสิทธิ
ข้อสัญญาในหนังสือสัญญาจำนองที่ผู้จำนองตกลงจำนองที่ดินแก่ผู้รับจำนองเพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ที่จะมีขึ้นต่อไปในภายหน้าเป็นข้อสัญญาที่ชอบด้วย ป.พ.พ. มาตรา 707 ประกอบมาตรา 681 วรรคสอง และใช้บังคับกันได้
ผู้ร้องกับจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันต่อหน้าศาลชั้นต้นในคดีอื่นว่า จำเลยยอมรับว่าเป็นหนี้ต่อผู้ร้องจริงและขอผ่อนชำระหนี้เป็นงวด หากจำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ให้ผู้ร้องยึดที่ดินที่จำนองไว้และทรัพย์สินอื่นของจำเลยออกขายทอดตลาดแล้วนำเงินมาชำระให้แก่ผู้ร้องจนกว่าจะครบถ้วนและศาลพิพากษาตามยอมแล้วเป็นการที่จำเลยยอมรับว่าเป็นหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินต่อผู้ร้องจริงตามคำฟ้องในคดีนั้น หนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินอันเป็นสัญญาประธานจึงยังไม่ระงับไปตามข้อสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว เมื่อจำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินจำเลยก็ตกลงให้ผู้ร้องยึดที่ดินที่จำเลยจำนองเป็นประกันการชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินไว้อันเป็นการที่จำเลยยอมรับผิดตามสัญญาจำนองอันเป็นสัญญาอุปกรณ์ด้วย สิทธิเรียกร้องของผู้ร้องตามสัญญาจำนองดังกล่าวซึ่งผู้ร้องได้รับโอนจากบริษัทเงินทุน บ. ผู้รับจำนองจึงยังคงมีอยู่และผูกพันจำเลยให้ต้องรับผิดตามสัญญาจำนองนั้น ดังนี้ เมื่อหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินที่จำเลยจำนองที่ดินเป็นประกันการชำระหนี้นั้นยังไม่ระงับสิ้นไปและมิได้มีการปลดจำนองให้แก่จำเลยผู้จำนองหรือมีการไถ่ถอนจำนอง จึงยังไม่ระงับสิ้นไป ตาม ป.พ.พ. มาตรา 744 ผู้ร้องชอบที่จะใช้สิทธิในฐานะผู้รับจำนองขอรับชำระหนี้จากการขายทอดตลาดที่ดินที่จำเลยจำนองเป็นประกันการชำระหนี้ตามสัญญาใช้เงินได้ก่อนเจ้าหนี้อื่น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 289

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5831/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้รับจำนองในการรับชำระหนี้จากการบังคับคดีทรัพย์สินจำนอง แม้มีสัญญาประนีประนอมยอมความ
ผู้ร้องกับจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันต่อหน้าศาลโดยจำเลยยอมรับว่าเป็นหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินต่อผู้ร้องตามคำฟ้องและขอผ่อนชำระหนี้ หากผิดนัดยอมให้ผู้ร้องยึดทรัพย์จำนองและทรัพย์สินอื่นของจำเลยออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้ให้แก่ผู้ร้องจนครบถ้วน และศาลพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นแล้ว การที่จำเลยยอมรับว่าเป็นหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินต่อผู้ร้องหนี้ประธานจึงยังไม่ระงับไปและจำเลยยังตกลงว่าหากจำเลยผิดนัด ให้ผู้ร้องยึดทรัพย์จำนองอันเป็นประกันหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้ให้แก่ผู้ร้อง เป็นการที่จำเลยยอมรับผิดตามสัญญาจำนองอันเป็นหนี้อุปกรณ์ด้วย ดังนี้ เมื่อหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินอันจำนองเป็นประกันยังไม่ระงับสิ้นไป หนี้ตามสัญญาจำนองจึงยังไม่ระงับสิ้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 744 ผู้ร้องในฐานะผู้รับจำนองมีสิทธิขอรับชำระหนี้จากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองได้ก่อนเจ้าหนี้อื่นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 289
of 15