พบผลลัพธ์ทั้งหมด 15 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5069/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดูหมิ่นผู้พิพากษา - การวิพากษ์วิจารณ์การพิจารณาคดี - อายุและประวัติจำเลย - เหตุบรรเทาโทษ - การแก้ไขกฎหมายโทษ
ผู้เสียหายทั้งห้าเป็นองค์คณะตุลาการศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งยืนตามคำสั่งของศาลปกครองชั้นต้นไม่รับคำฟ้องในคดีที่จำเลยเป็นผู้ฟ้องคดี เป็นการพิจารณาหรือพิพากษาคดีตาม ป.อ. มาตรา 198 และการดูหมิ่นศาลหรือผู้พิพากษาในการพิจารณาหรือพิพากษาตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าว คำว่า "ศาลหรือผู้พิพากษา" นั้น มิได้หมายความถึงเฉพาะศาลยุติธรรมหรือผู้พิพากษาซึ่งมีอำนาจทำการอันเกี่ยวกับคดีอาญา ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (1) เท่านั้น หากยังมีความหมายรวมถึงศาลหรือตุลาการศาลอื่นซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายด้วย ซึ่งการดูหมิ่นผู้พิพากษาตามบทบัญญัติมาตรานี้ หมายถึง การกระทำที่ลดคุณค่าในการพิจารณาพิพากษาของผู้พิพากษาในสายตาของผู้กระทำการดูหมิ่น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8244/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฟ้องเท็จและดูหมิ่นศาล: การฟ้องกล่าวหาผู้พิพากษาโดยไม่มีพยานหลักฐาน
จำเลยฟ้องผู้เสียหายทั้งสองอ้างว่าผู้เสียหายทั้งสองปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต มีเจตนาช่วยเหลือ ก. และ ส. ให้พ้นจากการกระทำความผิด เป็นการกล่าวหาว่าผู้เสียหายทั้งสองกระทำความผิดอาญา โดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่าผู้เสียหายทั้งสองไม่ได้กระทำความผิด การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานฟ้องเท็จ และที่จำเลยฟ้องว่าผู้เสียหายทั้งสองไม่มีความยุติธรรมในใจให้กับตัวเองจริงหรือไม่ แม้จะเป็นการบรรยายแบบกึ่งคำถาม แต่เป็นการกล่าวทำนองตำหนิว่าผู้เสียหายทั้งสองไม่มีความยุติธรรม ฟ้องจำเลยมีข้อความที่ดูหมิ่นผู้เสียหายทั้งสองอันเนื่องมาจากการปฏิบัติหน้าที่ผู้พิพากษา เป็นความผิดฐานดูหมิ่นผู้พิพากษาในการพิจารณาหรือพิพากษาคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4302/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องร้องผู้พิพากษาด้วยความเข้าใจผิดด้านข้อกฎหมาย และการฟ้องเท็จที่กระทบต่อเกียรติยศ
จำเลยบรรยายฟ้องในข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นตามกระบวนพิจารณา ซึ่งรวมทั้งได้คัดใจความที่โจทก์ร่วมในฐานะผู้พิพากษามีคำสั่งในสำนวนความ แต่จำเลยไม่เห็นด้วยกับคำสั่งของโจทก์ร่วมในปัญหาข้อกฎหมายว่าการออกคำสั่งงดไต่สวนมูลฟ้องและมีคำพิพากษายกฟ้อง รวมทั้งคำสั่งไม่รับฎีกาของโจทก์ร่วมเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ จึงเป็นการระบุบทกฎหมายในฐานความผิดจากข้อเท็จจริงตามฟ้องมิใช่เป็นการยืนยันข้อเท็จจริงให้แตกต่างจากความเป็นจริงที่เกิดขึ้นตามกระบวนพิจารณา แต่เป็นการยืนยันความเห็นที่แตกต่างในข้อกฎหมายตามความเข้าใจของจำเลย ไม่อาจถือว่าเป็นความเท็จ การฟ้องคดีอาญาของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 175จำเลยเป็นคู่ความในคดีและมีความรู้ทางกฎหมายพอสมควรย่อมทราบและเข้าใจถึงการดำเนินกระบวนพิจารณาในคดีว่าโจทก์ร่วมใช้ดุลพินิจมีคำสั่งในคดีตามบทบัญญัติของกฎหมายมิใช่เป็นการมีคำสั่งโดยอคติและไม่ยุติธรรม แต่จำเลยกลับนำคดีมาฟ้องกล่าวหาโจทก์ร่วมว่า การที่โจทก์ร่วมมีคำสั่งงดไต่สวนมูลฟ้องและพิพากษายกฟ้องในคดีดังกล่าวเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157 นั้น เป็นการกล่าวหาว่าโจทก์ร่วมมีเจตนากระทำโดยมิชอบด้วยหน้าที่และข้อกล่าวหาในฟ้องย่อมมีความหมายอยู่ในตัวว่า การใช้ดุลพินิจของโจทก์ร่วมไม่ได้อยู่บนพื้นฐานของความชอบด้วยกฎหมาย อันเป็นการบั่นทอนและลดคุณค่าในการพิจารณาพิพากษาคดีในหน้าที่ผู้พิพากษาของโจทก์ร่วม ทั้งทำให้ประชาชนทั่วไปซึ่งมิได้รู้ข้อเท็จจริงในเชิงลึกของคดี ขาดความเชื่อมั่นหรือเชื่อถือต่อกระบวนการยุติธรรม การฟ้องคดีของจำเลยเป็นการฟ้องแกล้งกล่าวหาโจทก์ร่วมตามอำเภอใจโดยอาศัยเหตุที่จำเลยเสียประโยชน์ในผลแห่งคดี หาใช่เป็นการใช้สิทธิทางศาลตามปกติและโดยสุจริตไม่ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการดูหมิ่นผู้พิพากษาในการพิจารณาหรือพิพากษาคดีตาม ป.อ. มาตรา 198
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 19706/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำที่ไม่ถึงขั้นดูหมิ่นเจ้าพนักงานหรือศาล แม้มีการร้องเรียนเกี่ยวกับพฤติกรรมการปฏิบัติหน้าที่
จำเลยไม่ได้ยืนยันว่าโจทก์ร่วมทุจริต เพียงแต่สงสัยในพฤติการณ์ของโจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้พิพากษาในคดีที่จำเลยถูกผู้อื่นฟ้องที่มีคำสั่งให้งดชี้สองสถานกับงดสืบพยานในคดีนั้น แม้ว่าเป็นอำนาจและดุลพินิจของโจทก์ร่วม แต่ก็เป็นการใช้ดุลพินิจและอำนาจที่คลาดเคลื่อน เพราะหลังจากนั้นศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาให้ยกคำพิพากษาของศาลชั้นต้นซึ่งโจทก์ร่วมเป็นองค์คณะ และย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นทำการสืบพยานโจทก์และจำเลย และที่โจทก์ร่วมสั่งไม่รับอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงนั้น ศาลอุทธรณ์ภาค 7 ก็มีคำสั่งให้รับอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงไว้แล้ว นอกจากนี้จำเลยยื่นอุทธรณ์เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2554 เวลา 10.50 นาฬิกา แต่โจทก์ร่วมไม่ได้สั่งอุทธรณ์ในวันดังกล่าว ต่อมาโจทก์ร่วมสั่งรับอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยประทับตรายางวันเดือนปี คือ เมษายน 2554 แต่มีการลบวันที่ซึ่งน่าจะเป็นวันที่ 27 และเขียนด้วยลายมือโจทก์ร่วมเป็นวันที่ 30 การที่จำเลยไปพบ ส. ซึ่งรับราชการในตำแหน่งอธิบดีผู้พิพากษาภาค 7 ที่โจทก์ร่วมรับราชการอยู่ในเขตอำนาจเพียงประสงค์จะให้ ส. ดูแลผู้พิพากษาในภาคให้มากกว่านี้ ไม่ได้ไปพบในลักษณะที่ว่าจะให้ตั้งกรรมการสอบสวนโจทก์ร่วม แม้ตามบันทึกเรื่องราวที่จำเลยมอบให้ ส. จะมีข้อความเกินเลยไปบ้าง แต่ก็มีลักษณะเป็นการปรับทุกข์และระบายความทุกข์กับ ส. ที่ดูแลผู้พิพากษาภายในภาค 7 การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานดูหมิ่นเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่หรือเพราะได้กระทำการตามหน้าที่ และดูหมิ่นศาลหรือผู้พิพากษาในการพิจารณาหรือพิพากษาคดีตาม ป.อ. มาตรา 136 และ 198
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10611/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งศาลปกครองกลางระงับการก่อสร้างก่อนมีคำพิพากษา ไม่ถือเป็นการขัดขวางการพิจารณาคดี
แม้การที่ศาลปกครองกลางมีคำสั่งกำหนดมาตรการและวิธีการคุ้มครองบรรเทาทุกข์ชั่วคราวก่อนการพิพากษาตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542 มาตรา 66 ประกอบระเบียบของที่ประชุมใหญ่ในศาลปกครองสูงสุด ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2543 ข้อ 77 ที่กำหนดให้นำความในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งลักษณะ 1 ของภาค 4 วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษามาใช้ เป็นการกระทำตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งอันเกี่ยวด้วยคดีซึ่งศาลได้กระทำต่อคู่ความฝ่ายหนึ่งและเป็นกระบวนพิจารณาก่อนที่ศาลชี้ขาดตัดสินคดี อันเป็นการพิจารณาคดีของศาลตามความหมายของคำว่า กระบวนพิจารณา และการพิจารณา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 1 (7) และ (8) ก็ตาม แต่ก็แยกพิจารณาได้เป็นอีกส่วนหนึ่งจากการพิจารณาพิพากษาในเนื้อหาแห่งคดีที่ฟ้องร้องกัน ทั้งกระบวนพิจารณาของศาลปกครองกลางในการออกคำสั่งดังกล่าวก็ได้เสร็จสิ้นไปแล้ว คงเหลือแต่ผลบังคับถึงจำเลยที่ 2 ให้ต้องปฏิบัติตามเป็นการชั่วคราวก่อนที่คดีที่ฟ้องร้องกันนั้นจะมีคำพิพากษาถึงที่สุด หากจำเลยที่ 2 ซึ่งทราบคำสั่งแล้วไม่ปฏิบัติตาม กระบวนพิจารณาที่เสร็จสิ้นไปแล้วก็ไม่อาจถูกขัดขวางทำให้ไม่สะดวกหรือต้องติดขัดจากการกระทำดังกล่าวไปได้ ทั้งการพิจารณาพิพากษาในเนื้อหาแห่งคดีที่ฟ้องร้องกันก็ยังสามารถดำเนินการต่อไปได้เป็นอีกส่วนหนึ่ง การไม่ปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าวจึงไม่เป็นการขัดขวางการพิจารณาหรือพิพากษาของศาลอันจะเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 198
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1650/2514
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดูหมิ่นศาลและผู้พิพากษาผ่านเอกสารสิ่งพิมพ์ โดยเชื่อมโยงกับการพิจารณาคดีที่ค้างอยู่
จำเลยถูกฟ้องคดีอาญาเรื่องหนึ่ง ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลย ขณะคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาจำเลยได้ประพันธ์ พิมพ์ และนำออกโฆษณา ทำให้แพร่หลายไปถึงประชาชนซึ่งเอกสารสิ่งพิมพ์ กล่าวถึงการกระทำของผู้ทำการแทนในตำแหน่งอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าเป็นผู้จัดให้ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์พิจารณาคดีและตัวผู้ทำการแทนฯ เองก็มีพฤติการณ์ให้การพิพากษาคดีดังกล่าวเป็นไปโดยรวบรัดไม่ชอบด้วยหลักยุติธรรมและกล่าวถึงการกระทำของศาลอาญาศาลอุทธรณ์ และผู้พิพากษาที่พิจารณาพิพากษาคดีนั้นว่า "พิพากษาลงโทษจำเลย โดยไม่คำนึงถึงหลักกฎหมาย หลักความยุติธรรม ประชาชนผู้ได้รับความเดือดร้อนจะวิ่งไปขอความยุติธรรมต่อศาลให้สิ้นเปลืองเงินทองเพื่อประโยชน์อันใด..." ดังนี้ เป็นข้อความที่เรียกได้ว่าจำเลยกล่าวในทำนองตำหนิศาลอาญา ศาลอุทธรณ์ และผู้พิพากษาซึ่งเป็นองค์คณะที่ทำการพิจารณาพิพากษาคดีนั้น ไม่เป็นที่พึ่งของประชาชน นับว่าเป็นการกระทำที่แสดงต่อศาลหรือผู้พิพากษาในการพิจารณาคดีจึงเป็นถ้อยคำดูหมิ่นศาลหรือผู้พิพากษาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 198
เมื่อการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 198 แล้ว ย่อมไม่เป็นความผิดตามมาตรา 136 อีก (อ้างฎีกาที่ 1456/2506)
เมื่อการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 198 แล้ว ย่อมไม่เป็นความผิดตามมาตรา 136 อีก (อ้างฎีกาที่ 1456/2506)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1699/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ข้อเท็จจริงในคดีหมิ่นประมาทต่อศาลแขวง: การห้ามอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวง
คดีที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์โดยฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยร่วมกันจัดพิมพ์หนังสือออกโฆษณาจริง แต่ข้อความนั้นไม่ใช่เรื่องดูหมิ่นเจ้าพนักงานหรือศาลหรือละเมิดอำนาจศาล จำเลยอุทธรณ์ว่าจำเลยไม่ได้ร่วมกันจัดพิมพ์หนังสือหมิ่นประมาทตามฟ้อง และฟ้องโจทก์เคลือบคลุมนั้น ถือว่าเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 22 ส่วนที่อุทธรณ์ว่าฟ้องเคลือบคลุมนั้นไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรรับไว้วินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1699/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์ข้อเท็จจริงในคดีหมิ่นประมาทศาลแขวง: การต้องห้ามอุทธรณ์ตามกฎหมาย
คดีที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์โดยฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยร่วมกันจัดพิมพ์หนังสืออกโฆษณาจริง แต่ข้อความนั้นไม่ใช่เรื่องดูหมิ่นเจ้าพนักงานหรือศาลหรือละเมิดอำนาจศาล จำเลยอุทธรณ์ว่าจำเลยไม่ได้ร่วมกันจัดพิมพ์หนังสือหมิ่นประมาทตามฟ้อง และฟ้องโจทก์เคลือบคลุมนั้น ถือว่าเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 22ส่วนที่ศาลอุทธรณ์ฟ้องเคลือบคลุมนั้นไม่เป็นสารแก่คดีอันควรรับไว้วินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1699/2512
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการอุทธรณ์ในศาลแขวง: อุทธรณ์ข้อเท็จจริงต้องห้ามตาม พ.ร.บ.ศาลแขวง และการพิจารณาฟ้องเคลือบคลุม
คดีที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์โดยฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยร่วมกันจัดพิมพ์หนังสือออกโฆษณาจริง. แต่ข้อความนั้นไม่ใช่เรื่องดูหมิ่นเจ้าพนักงานหรือศาลหรือละเมิดอำนาจศาล. จำเลยอุทธรณ์ว่าจำเลยไม่ได้ร่วมกันจัดพิมพ์หนังสือหมิ่นประมาทตามฟ้อง. และฟ้องโจทก์เคลือบคลุมนั้น. ถือว่าเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา22. ส่วนที่อุทธรณ์ว่าฟ้องเคลือบคลุมนั้นไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรรับไว้วินิจฉัย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1124/2507
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แจ้งความเท็จใส่ความหมิ่นประมาทเจ้าพนักงานศาล มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137, 198, 326
ข้อกล่าวหาของจำเลยที่ว่า นายหิรัญผู้พิพากษาได้ร่วมรับประทานเลี้ยงกับนางนิภาโจทก์ ซึ่งนายหิรัญตัดสินให้ชนะคดี ที่ร้านข้างศาลในตอนเย็นวันตัดสินนั้น เป็นความเท็จ และ จำเลยได้ร้องเรียนความดังกล่าวต่อปลัดกระทรวงยุติธรรม และไปยืนยันให้ถ้อยคำต่ออธิบดีผู้พิพากษาภาค 2 ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชานายหิรัญในการสอบสวนเพื่อดำเนินการทางวินัยแก่นายหิรัญ เช่นนี้ การกระทำของจำเลยเป็นการแจ้งข้อความเท็จโดยเจตนาซึ่งอาจทำให้นายหิรัญเสียหายเป็นความผิดตามมาตรา 137 ยิ่งกว่านั้นข้อความที่จำเลยแจ้งเท็จดังกล่าว ยังมีความหมายไปในทางหาว่านายหิรัญประพฤติตนไม่สมควร เป็นไปในทำนองพิพากษาคดีความไปโดยไม่สุจริตเป็นการหมิ่นประมาทนายหิรัญผู้พิพากษาในการพิพากษาคดีอันเป็นความผิดตามมาตรา 198 และเป็นการหมิ่นประมาทใส่ความแก่นายหิรัญตามมาตรา 326 อีกด้วย กรณีไม่เข้าข้อยกเว้นตาม มาตรา 329(1) เพราะจำเลยมีเจตนาแกล้งกล่าวข้อความเท็จโดยไม่สุจริต
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137 มิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะว่า ผู้รับแจ้งข้อความอันเป็นเท็จนั้นจะต้องเป็นพนักงานสอบสวน แต่ย่อมหมายถึงเจ้าพนักงานโดยทั่วไป เมื่ออธิบดีผู้พิพากษาภาค 2 เป็นผู้บังคับบัญชา มีหน้าที่สอบสวนความผิดทางวินัยกับนายหิรัญ การที่อธิบดีผู้พิพากษาภาค 2 สอบสวนจำเลย จึงเป็นการกระทำตามอำนาจหน้าที่ในฐานะเจ้าพนักงาน เมื่อจำเลยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่ออธิบดีผู้พิพากษาภาค 2 ซึ่งอาจทำให้นายหิรัญเสียหาย จึงเป็นความผิดตามมาตรา 137
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137 มิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะว่า ผู้รับแจ้งข้อความอันเป็นเท็จนั้นจะต้องเป็นพนักงานสอบสวน แต่ย่อมหมายถึงเจ้าพนักงานโดยทั่วไป เมื่ออธิบดีผู้พิพากษาภาค 2 เป็นผู้บังคับบัญชา มีหน้าที่สอบสวนความผิดทางวินัยกับนายหิรัญ การที่อธิบดีผู้พิพากษาภาค 2 สอบสวนจำเลย จึงเป็นการกระทำตามอำนาจหน้าที่ในฐานะเจ้าพนักงาน เมื่อจำเลยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่ออธิบดีผู้พิพากษาภาค 2 ซึ่งอาจทำให้นายหิรัญเสียหาย จึงเป็นความผิดตามมาตรา 137