พบผลลัพธ์ทั้งหมด 15 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1124/2507 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แจ้งความเท็จใส่ความหมิ่นประมาทเจ้าพนักงานศาล ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137, 198, 326
ข้อกล่าวหาของจำเลยที่ว่า นายหิรัญผู้พิพากษาได้ร่วมรับประทานเลี้ยงกับนางนิภาโจทก์ซึ่งนายหิรัญตัดสินให้ชนะคดีที่ร้านข้างศาลในตอนเย็นวันตัดสินนั้น เป็นความเท็จ และจำเลยได้ร้องเรียนความดังกล่าวต่อปลัดกระทรวงยุติธรรมภาค 2 ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชานายหิรัญในการสอบสวนเพื่อดำเนินการทางวินัยแก่นายหิรัญ เช่นนี้ การกระทำของจำเลยเป็นการแจ้งข้อความเท็จดดยเจตนาซึ่งอาจทำให้นายหิรัญเสียหาย เป็นความผิดตามมาตรา 137 ยิ่งกว่านั้นข้อความที่จำเลยแจ้งเท็จดังกล่าว ยังมีความหมายไปในทางหาว่านายหิรัญประพฤติตนไม่สมควรเป็นไปในทำนองที่พิพากษาคดีความไปโดยไม่สุจริต เป็นการหมิ่นประมาทนายหิรัญผู้พิพากษาในการพิพากษาคดีอันเป็นความผิดตามมาตรา 198 และเป็นการหมิ่นประมาทใส่ความแก่นายหิรัญตามมาตรา 326 อีกด้วย กรณีไม่เข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 329(1) เพราะจำเลยมีเจตนาแกล้งกล่าวข้อความเท็จโดยไม่สุจริต
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 137 มิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะว่า ผู้รับแจ้งข้อความอันเป็นเท็จนั้นจะต้องเป็นพนักงานสอบสวน แต่ย่อมหมายถึงเจ้าพนักงานโดยทั่วไป เมื่ออธิบดีผู้พิพากษาภาค 2 เป็นผู้บังคับบัญชา มีหน้าที่สอบสวนความผิดทางวินัยกับนายหิรัญ การที่อธิบดีผู้พิพากษาภาค 2 สอบสวนจำเลยซึ่งเป็นการกระทำตามอำนาจหน้าที่ในฐานะเจ้าพนักงาน เมื่อจำเลยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่ออธิบดีผู้พิพากษาภาค 2 ซึ่งอาจทำให้นายหิรัญเสียหาย จึงเป็นความผิดตามมาตรา 1371
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 137 มิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะว่า ผู้รับแจ้งข้อความอันเป็นเท็จนั้นจะต้องเป็นพนักงานสอบสวน แต่ย่อมหมายถึงเจ้าพนักงานโดยทั่วไป เมื่ออธิบดีผู้พิพากษาภาค 2 เป็นผู้บังคับบัญชา มีหน้าที่สอบสวนความผิดทางวินัยกับนายหิรัญ การที่อธิบดีผู้พิพากษาภาค 2 สอบสวนจำเลยซึ่งเป็นการกระทำตามอำนาจหน้าที่ในฐานะเจ้าพนักงาน เมื่อจำเลยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่ออธิบดีผู้พิพากษาภาค 2 ซึ่งอาจทำให้นายหิรัญเสียหาย จึงเป็นความผิดตามมาตรา 1371
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1456/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดูหมิ่นศาลและผู้พิพากษา, การใส่ความหมิ่นประมาท, และการเพิ่มเติมฟ้องในคดีอาญา
ขณะที่ ก. ผู้พิพากษานั่งพิจารณาคดีอยู่ จำเลยกำลังนั่งฟังอยู่ข้างนอก ได้พูดกับผู้อื่นว่า " ไม่นึกเลยว่าสำนวนนี้จะมาตกอยู่แก่คนๆ นี้" รูปการณ์เช่นนี้บ่งชัดว่าหมายถึงสำนวนเรื่องนั้นตกแก่ ก. ซึ่งกำลังนั่งพิจารณาอยู่นั้น และศาลจะต้องพิจารณาพฤติการณ์ตามที่โจทก์นำสืบประกอบคำกล่าวของจำเลยต่อไป จึงจะชี้ชัดถึงเจตนาของจำเลยได้ (แม้คำฟ้องจะมิได้บรรยายถึงพฤติการณ์ต่างๆเหล่านั้นก็ตาม) เมื่อเห็นเจตนาว่า ที่จำเลยกล่าวข้อความนั้นเพราะไม่พอใจที่เห็นสำนวนความเรื่องนั้นตกแก่ ก. ผู้ซึ่งจำเลยเห็นว่าเป็นผู้พิพากษาที่พิจารณาความด้วยอคติไม่ให้ความยุติธรรม จึงได้กล่าวตำหนิ ก. เป็นนัยเช่นนั้น อันมีความหมายไปในทางไม่ดี เป็นที่ระคายเคืองแก่ศักดิ์ศรีของ ก. การกระทำของจำเลยก็เป็นการดูหมิ่นศาลหรือผู้พิพากษาในการพิจารณาคดีตามมาตรา 198 แห่งประมวลกฎหมายอาญา
จำเลยทำโทรเลขและหนังสือกล่าวโทษ ก. ผู้พิพากษาไปยังอธิบดีฯภาค อันเป็นการใส่ความหมิ่นประมาท (ผิดตามมาตรา 326) นั้น ต้องถือว่าเป็นการดูหมิ่น ก. ผู้พิพากษาไปในขณะเดียวกันด้วยว่า พิจารณาคดีไม่เที่ยงธรรม แม้จะมิได้ทำในขณะที่ ก. ทำการพิจารณาคดีอยู่ก็ดีก็นับได้ว่าได้หมิ่นผู้พิพากษาในการพิจารณาคดี ต้องตามมาตรา 198ด้วย เมื่อเป็นความผิดตามมาตรา 198 แล้ว ก็ไม่เป็นผิดตามมาตรา 136 อีก เพราะกฎหมายบัญญัติแยกความผิดฐานดูหมิ่นผู้พิพากษากับดูหมิ่นเจ้าพนักงานอื่นทั่วๆ ไปไว้ต่างหากจากกัน จึงต้องปรับบทแยกกัน (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 16/2506เฉพาะข้อกฎหมายข้างต้นนี้)
การที่จำเลยกล่าวโทษ ก. ไปนั้น ถือว่าเป็นกรรมเดียวเป็นผิดต่อกฎหมายหลายบทโทษตามมาตรา 198 หนักกว่ามาตรา 326 จึงลงโทษตามมาตรา 198 เพียงบทเดียว
การยื่นคำแถลงโต้แย้งคำสั่งในระหว่างพิจารณาเพื่อใช้สิทธิอุทธรณ์เมื่อมีคำพิพากษาแล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(2) ไม่มีกำหนดเวลาว่าต้องยื่นภายหลังทราบคำสั่งแล้วเพียงใดประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 196 ก็มิได้บัญญัติให้ต้องโต้แย้งคำสั่งระหว่างพิจารณาไว้อย่างใด ดังนั้นการที่โจทก์ยื่นคำร้องขอเพิ่มเติมฟ้อง ศาลสั่งไม่อนุญาตโจทก์ก็ยังไม่ยื่นคำแถลงโต้แย้งหรือคัดค้านคำสั่งแล้ว โจทก์ยังยื่นคำร้องขอเพิ่มเติมฟ้องเช่นเดียวกับฉบับแรกอีกแล้วจึงยื่นคำแถลงโต้แย้งหรือคัดค้านคำสั่งศาลตามคำร้องฉบับแรก ดังนี้ โจทก์ก็ชอบที่จะทำได้ ศาลอุทธรณ์จึงรับวินิจฉัยคำร้องขอเพิ่มเติมฟ้องได้
แม้เมื่อได้สืบพยานโจทก์ไปมากแล้ว ก็ยังไม่พ้นเวลาที่โจทก์จะขอเพิ่มฟ้อง การที่โจทก์ขอเพิ่มเติมความในฟ้องว่า "ผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ให้เจ้าพนักงานนำคดีขึ้นว่ากล่าวแล้ว"และเพิ่มมาตรา 326 แห่งประมวลกฎหมายอาญาลงในคำขอท้ายฟ้อง โดยอ้างว่าเป็นรายละเอียดที่ยังบกพร่องไม่ครบถ้วนเนื่องจากผู้พิมพ์ฟ้องพิมพ์ตกไป ดังนี้ เป็นการเพิ่มเติมรายละเอียดและอ้างบทขอให้ลงโทษตามฐานความผิดที่ได้บรรยายไว้ในฟ้องมาแต่ต้นแล้วไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบหรือหลงต่อสู้คดี ชอบที่จะอนุญาตให้เพิ่มเติมได้
จำเลยทำโทรเลขและหนังสือกล่าวโทษ ก. ผู้พิพากษาไปยังอธิบดีฯภาค อันเป็นการใส่ความหมิ่นประมาท (ผิดตามมาตรา 326) นั้น ต้องถือว่าเป็นการดูหมิ่น ก. ผู้พิพากษาไปในขณะเดียวกันด้วยว่า พิจารณาคดีไม่เที่ยงธรรม แม้จะมิได้ทำในขณะที่ ก. ทำการพิจารณาคดีอยู่ก็ดีก็นับได้ว่าได้หมิ่นผู้พิพากษาในการพิจารณาคดี ต้องตามมาตรา 198ด้วย เมื่อเป็นความผิดตามมาตรา 198 แล้ว ก็ไม่เป็นผิดตามมาตรา 136 อีก เพราะกฎหมายบัญญัติแยกความผิดฐานดูหมิ่นผู้พิพากษากับดูหมิ่นเจ้าพนักงานอื่นทั่วๆ ไปไว้ต่างหากจากกัน จึงต้องปรับบทแยกกัน (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 16/2506เฉพาะข้อกฎหมายข้างต้นนี้)
การที่จำเลยกล่าวโทษ ก. ไปนั้น ถือว่าเป็นกรรมเดียวเป็นผิดต่อกฎหมายหลายบทโทษตามมาตรา 198 หนักกว่ามาตรา 326 จึงลงโทษตามมาตรา 198 เพียงบทเดียว
การยื่นคำแถลงโต้แย้งคำสั่งในระหว่างพิจารณาเพื่อใช้สิทธิอุทธรณ์เมื่อมีคำพิพากษาแล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(2) ไม่มีกำหนดเวลาว่าต้องยื่นภายหลังทราบคำสั่งแล้วเพียงใดประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 196 ก็มิได้บัญญัติให้ต้องโต้แย้งคำสั่งระหว่างพิจารณาไว้อย่างใด ดังนั้นการที่โจทก์ยื่นคำร้องขอเพิ่มเติมฟ้อง ศาลสั่งไม่อนุญาตโจทก์ก็ยังไม่ยื่นคำแถลงโต้แย้งหรือคัดค้านคำสั่งแล้ว โจทก์ยังยื่นคำร้องขอเพิ่มเติมฟ้องเช่นเดียวกับฉบับแรกอีกแล้วจึงยื่นคำแถลงโต้แย้งหรือคัดค้านคำสั่งศาลตามคำร้องฉบับแรก ดังนี้ โจทก์ก็ชอบที่จะทำได้ ศาลอุทธรณ์จึงรับวินิจฉัยคำร้องขอเพิ่มเติมฟ้องได้
แม้เมื่อได้สืบพยานโจทก์ไปมากแล้ว ก็ยังไม่พ้นเวลาที่โจทก์จะขอเพิ่มฟ้อง การที่โจทก์ขอเพิ่มเติมความในฟ้องว่า "ผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ให้เจ้าพนักงานนำคดีขึ้นว่ากล่าวแล้ว"และเพิ่มมาตรา 326 แห่งประมวลกฎหมายอาญาลงในคำขอท้ายฟ้อง โดยอ้างว่าเป็นรายละเอียดที่ยังบกพร่องไม่ครบถ้วนเนื่องจากผู้พิมพ์ฟ้องพิมพ์ตกไป ดังนี้ เป็นการเพิ่มเติมรายละเอียดและอ้างบทขอให้ลงโทษตามฐานความผิดที่ได้บรรยายไว้ในฟ้องมาแต่ต้นแล้วไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบหรือหลงต่อสู้คดี ชอบที่จะอนุญาตให้เพิ่มเติมได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 580/2505
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใส่ความหมิ่นประมาทและดูหมิ่นเจ้าพนักงานในหน้าที่ แม้ส่งถึงบุคคลที่สามก็มีความผิดตามกฎหมาย
หนังสือใส่ความผู้อื่นนั้นแม้จะส่งไปถึงนายกรัฐมนตรีเพียงคนเดียวก็ถือว่าใส่ความต่อบุคคลที่ 3 ตามมาตรา 326 แห่งประมวลกฎหมายอาญา
เมื่อปรากฏว่าโจทก์เป็นผู้พิพากษาศาลฎีกาและได้ร่วมเป็นองค์คณะตัดสินคดีที่ทำให้จำเลยแพ้ และจำเลยได้กล่าวข้อความซึ่งเป็นการดูหมิ่นโจทก์ในฐานะที่เป็นผู้พิพากษาศาลฎีกาย่อมเป็นความผิดต่อมาตรา 198ประมวลกฎหมายอาญา
เมื่อปรากฏว่าโจทก์เป็นผู้พิพากษาศาลฎีกาและได้ร่วมเป็นองค์คณะตัดสินคดีที่ทำให้จำเลยแพ้ และจำเลยได้กล่าวข้อความซึ่งเป็นการดูหมิ่นโจทก์ในฐานะที่เป็นผู้พิพากษาศาลฎีกาย่อมเป็นความผิดต่อมาตรา 198ประมวลกฎหมายอาญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 580/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หมิ่นประมาทและดูหมิ่นเจ้าพนักงาน: การใส่ความต่อบุคคลที่ 3 และการดูหมิ่นผู้พิพากษา
หนังสือใส่ความผู้อื่นนั้น แม้จะส่งไปถึงนายกรัฐมนตรี เพียงคนเดียว ก็ถือว่าใส่ความต่อบุคคลที่ 3 ตามมาตรา 326 แห่ง ประมวลกฎหมายอาญา
เมื่อปรากฏว่าโจทก์เป็นผู้พิพากษาศาลฎีกา และได้ร่วมเป็นองค์คณะตัดสินคดีที่ทำให้จำเลยแพ้และจำเลยได้กล่าวข้อความซึ่งเป็นการดูหมิ่น โจทก์ในฐานะที่เป็นผู้พิพากษาศาลฎีกา ย่อมเป็นความผิดต่อมาตรา 198ประมวลกฎหมายอาญา
เมื่อปรากฏว่าโจทก์เป็นผู้พิพากษาศาลฎีกา และได้ร่วมเป็นองค์คณะตัดสินคดีที่ทำให้จำเลยแพ้และจำเลยได้กล่าวข้อความซึ่งเป็นการดูหมิ่น โจทก์ในฐานะที่เป็นผู้พิพากษาศาลฎีกา ย่อมเป็นความผิดต่อมาตรา 198ประมวลกฎหมายอาญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 880/2497 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขู่เข็ญด้วยอาวุธและการชิงทรัพย์ แม้ไม่ได้ขอในฟ้อง ศาลแก้ไขฐานความผิดได้
พวกจำเลยคนหนึ่งได้ชักวัตถุมีด้ามจากพุง ทำกริยาชักเข้าชักออก ซึ่งผู้เสียหายเชื่อว่าเป็นมีดมีความกลัว แล้วพวกของจำเลยได้กระชากปากกาจากกระเป๋าเสื้อของผู้เสียหาย โดยผู้เสียหายมิได้ขัดขวางอย่างใด ดังนี้ ย่อมถือได้ว่าการกระทำของจำเลยกับพวกเป็นการขู่เข็ญจะทำร้าย เพื่อจะเอาทรัพย์หรือให้ผู้เสียหายส่งทรัพย์ให้และพวกของจำเลยได้ดึงปากกาที่กระเป๋าของผู้เสียหายไป จึงมีความผิดฐานชิงทรัพย์