พบผลลัพธ์ทั้งหมด 11 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2546/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเช่าที่ดินเพื่อปลูกกล้วยและพืชล้มลุกไม่เข้าข่ายการเช่านาตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม คชก.วินิจฉัยผิด ศาลมีอำนาจปฏิเสธบังคับตามคำชี้ขาด
พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯ มุ่งคุ้มครองการเช่าที่ดินเพื่อการทำนาเป็นจดหมายหลัก จึงได้ให้คำนิยามไว้ในหมวด 2 การเช่านาในมาตรา 21 ว่า "นา" หมายความว่า ที่ดินที่เช่าเพื่อทำนาทั้งหมดหรือเป็นส่วนใหญ่ "ทำนา" หมายความว่า การเพาะปลูกข้าวหรือพืชไร่ "พืชไร่" หมายความว่า พืชซึ่งต้องการน้ำน้อยและอายุสั้น หรือสามารถเก็บเกี่ยวครั้งแรกได้ภายใน 12 เดือน จึงเป็นกรณีที่กฎหมายบัญญัติคำนิยามไว้โดยเฉพาะ จะนำเอาความหมายตามที่พจนานุกรมบัญญัติไว้มาใช้บังคับไม่ได้
กล้วยไม่ใช่พืชที่อายุสั้น ส่วนพืชล้มลุกไม่ใช่พืชที่ต้องการน้ำน้อยและอายุสั้น หรือสามารถเก็บเกี่ยวครั้งแรกได้ภายใน 12 เดือน กล้วยและพืชล้มลุกจึงไม่ใช่พืชไร่ตามนิยามข้างต้น โจทก์ซึ่งเช่าที่ดินเพื่อปลูกต้นกล้วยและพืชล้มลุกจึงไม่ใช่ผู้เช่านาตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯ
เมื่อการเช่าที่ดินของโจทก์ไม่ใช่การเช่านา การที่คณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (คชก.) จังหวัดราชบุรี วินิจฉัยว่า การเช่าที่ดินของโจทก์เป็นการเช่านาจึงเป็นการขัดต่อกฎหมาย ศาลมีอำนาจปฏิเสธไม่รับบังคับตามคำชี้ขาดนั้นได้ตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯ มาตรา 58 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 221 และ พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการฯ มาตรา 24 อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดเหตุ
กล้วยไม่ใช่พืชที่อายุสั้น ส่วนพืชล้มลุกไม่ใช่พืชที่ต้องการน้ำน้อยและอายุสั้น หรือสามารถเก็บเกี่ยวครั้งแรกได้ภายใน 12 เดือน กล้วยและพืชล้มลุกจึงไม่ใช่พืชไร่ตามนิยามข้างต้น โจทก์ซึ่งเช่าที่ดินเพื่อปลูกต้นกล้วยและพืชล้มลุกจึงไม่ใช่ผู้เช่านาตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯ
เมื่อการเช่าที่ดินของโจทก์ไม่ใช่การเช่านา การที่คณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (คชก.) จังหวัดราชบุรี วินิจฉัยว่า การเช่าที่ดินของโจทก์เป็นการเช่านาจึงเป็นการขัดต่อกฎหมาย ศาลมีอำนาจปฏิเสธไม่รับบังคับตามคำชี้ขาดนั้นได้ตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯ มาตรา 58 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 221 และ พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการฯ มาตรา 24 อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดเหตุ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 108/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิเรียกร้องค่าปรับจากสัญญาจ้างก่อสร้างที่ล่าช้า ศาลพิจารณาความเหมาะสมของการบอกเลิกสัญญาและปรับลดค่าปรับ
จำเลยรับจ้างโจทก์ก่อสร้างอาคาร เมื่อจำเลยส่งมอบงานงวดที่ 6 ล่าช้า โจทก์แจ้งสงวนสิทธิขอปรับตามสัญญาว่าจ้างก่อสร้าง จำเลยไม่ยินยอม คู่สัญญาจึงทำข้อพิพาทเสนอให้อนุญาโตตุลาการพิจารณา โดยอนุญาโตตุลาการมีคำชี้ขาดให้ขยายเวลาปฏิบัติตามสัญญาออกไปอีก 120 วัน นับแต่วันที่สัญญาสิ้นสุด จำเลยมิได้ทำงานงวดที่ 7 ถึงที่ 10 โจทก์จึงมีหนังสือบอกเลิกสัญญาโดยขอคิดค่าปรับจากจำเลยในช่วงเวลาที่ผิดสัญญา แต่แม้ตามสัญญาจะมีการกำหนดให้คิดเบี้ยปรับไว้ แต่เบี้ยปรับดังกล่าวก็เป็นการกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าอาจจะสูงหรือต่ำกว่าค่าเสียหายแท้จริงก็ได้ ซึ่งต้องปรับด้วย ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคแรก ที่ให้ศาลพิจารณาลดเบี้ยปรับที่สูงเกินส่วนลงเป็นจำนวนที่พอสมควรตามบทบัญญัติดังกล่าวได้ เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าโจทก์ใช้สิทธิไม่เหมาะสมโดยมิได้บอกเลิกสัญญาแก่จำเลยในเวลาอันสมควร การที่ศาลอุทธรณ์กำหนดให้เอาวันหลังจากอนุญาโตตุลาการมีคำวินิจฉัยและจำเลยทำหนังสือข้อตกลงขยายระยะเวลาปฏิบัติงานตามสัญญา 1 เดือนเศษ โดยการขยายระยะเวลาดังกล่าวไม่มีผลให้ปฏิบัติได้จริง เพราะมีคำวินิจฉัยเมื่อพ้นกำหนดเวลานั้นแล้ว คงมีผลเพียงเพื่อลดวันที่จำเลยจะต้องชำระค่าปรับและจำเลยไม่อาจดำเนินการตามสัญญาต่อไปได้อีก เป็นวันเลิกสัญญา เป็นการใช้ดุลพินิจที่ถูกต้องเป็นธรรมแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8599/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการ-การอุทธรณ์-ข้ออ้างเรื่องหลักฐานสัญญา-ความสงบเรียบร้อย
การที่ พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ ฯ มาตรา 23 วรรคสอง บังคับให้ศาลต้องไต่สวนก่อนมีคำพิพากษาตามหรือปฏิเสธคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการก็เพื่อที่จะให้รับฟังข้ออ้างหรือข้อเถียงของแต่ละฝ่ายเป็นที่ชัดแจ้งก่อน จึงเป็นหน้าที่โดยตรงของทั้งผู้ร้องและผู้คัดค้านที่จะต้องเสนอข้อเท็จจริงต่อศาล และไม่มีบทบัญญัติใดกำหนดให้เป็นหน้าที่ของศาลที่จะต้องเรียกตัวผู้เป็นอนุญาโตตุลาการมาไต่สวนด้วยก่อนมีคำพิพากษาแต่อย่างใด เมื่อคู่ความไม่นำอนุญาโตตุลาการเข้าเบิกความ ผู้คัดค้านจะฎีกาว่าศาลชั้นต้นมิได้ไต่สวนตัวอนุญาโตตุลาการหาได้ไม่
เมื่อศาลชั้นต้นไต่สวนมีคำพิพากษาตามหรือปฏิเสธคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการแล้ว จึงห้ามอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้น โดยไม่ต้องคำนึงว่าทุนทรัพย์ที่พิพาทกันจะมีจำนวนมากน้อยเพียงใด เว้นแต่การอุทธรณ์นั้นจะเป็นไปตาม พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ ฯ มาตรา 26 (1) (2) (3) (4) (5)
ผู้คัดค้านอุทธรณ์ว่า อนุญาโตตุลาการกับผู้ร้องหลอกลวงให้มีการสืบพยานบุคคลแทนที่จะพิจารณาชี้ขาดตามเอกสารที่มีอยู่เป็นการรับฟังพยานบุคคลมาหักล้างพยานเอกสารอันฝ่าฝืน ป.วิ.พ. มาตรา 94 ที่แสดงว่าอนุญาโตตุลาการมีความประสงค์จะใช้ข้ออ้างในคำเบิกความของพยานที่เป็นเท็จของ พ. มากล่าวอ้างหักล้างพยานเอกสารตามแผนการที่อนุญาโตตุลาการได้สมคบผู้ร้องไว้แล้วตั้งแต่เมื่อเริ่มต้นคดีชั้นอนุญาโตตุลาการ เพื่อประสงค์เพียงอย่างเดียวคือให้ฝ่ายผู้ร้องชนะ เป็นกรณีที่ผู้คัดค้านอ้างว่า อนุญาโตตุลาการกระทำการไม่สุจริตและผู้ร้องใช้กลฉ้อฉลคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการจึงไม่ชอบ ผู้คัดค้านย่อมมีสิทธิที่จะอุทธรณ์ได้ตาม พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ ฯ มาตรา 26 (1)
ผู้คัดค้านอุทธรณ์ว่า ศาลชั้นต้นพิพากษาบังคับผู้คัดค้านตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการมาจากมูลเหตุข้อพิพาทเกี่ยวกับการผิดสัญญาซื้อขายมีจำนวนเงินเกินกว่า 500 บาท เมื่อไม่มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อผู้รับผิดเป็นสำคัญแล้ว จะฟ้องร้องบังคับคดีหาได้ไม่ สัญญาซื้อขายที่ผู้ร้องอ้างฟ้องร้องผู้คัดค้านนั้นไม่อาจที่จะนำมาฟ้องร้องได้ เพราะผู้คัดค้านมิได้ลงลายมือชื่อในสัญญา ซึ่งหากไม่มีการตั้งอนุญาโตตุลาการแล้ว ผู้ร้องก็ไม่อาจที่จะนำคดีมาฟ้องร้องบังคับผู้คัดค้านได้ เพราะขัดต่อ ป.พ.พ. มาตรา 456 ซึ่งเป็นบทกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย เป็นการอุทธรณ์ที่ผู้คัดค้านกล่าวอ้างว่า คำพิพากษาของศาลชั้นต้นฝ่าฝืนต่อบทกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน คือฝ่าฝืน ป.พ.พ. มาตรา 456 ไม่อาจที่จะบังคับผู้คัดค้านได้นั่นเอง จึงหาเป็นอุทธรณ์ที่ต้องห้ามไม่ การที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวให้แก่ผู้คัดค้าน ย่อมเป็นการไม่ชอบ
แม้การซื้อขายที่มีราคาเกินกว่า 500 บาท มิได้มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้รับผิดเป็นสำคัญตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 แต่บทบัญญัติดังกล่าวก็หาใช่เป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนไม่ เพราะสัญญาซื้อขายระหว่างผู้ร้องและผู้คัดค้านได้เกิดขึ้นแล้วโดยชอบ เพียงแต่จะฟ้องร้องบังคับกันได้หรือไม่จำต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดเท่านั้น นอกจากนี้คำคัดค้านของผู้คัดค้านในชั้นอนุญาโตตุลาการผู้คัดค้านมิได้ยกข้ออ้างที่ว่าการตกลงซื้อขายระหว่างผู้ร้องกับผู้คัดค้านมิได้มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายผู้คัดค้านไว้เป็นสำคัญที่ผู้ร้องไม่อาจยกขึ้นบังคับดังกล่าวแต่อย่างใด การที่อนุญาโตตุลาการใช้ดุลพินิจวินิจฉัยความผูกพันระหว่างผู้ร้องกับผู้คัดค้านเฉพาะเรื่องความรับผิดในการที่ผู้คัดค้านเป็นฝ่ายผิดสัญญาซื้อขายแล้วมีคำชี้ขาดให้ผู้คัดค้านใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้ร้อง จึงเป็นการชอบแล้ว
เมื่อศาลชั้นต้นไต่สวนมีคำพิพากษาตามหรือปฏิเสธคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการแล้ว จึงห้ามอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้น โดยไม่ต้องคำนึงว่าทุนทรัพย์ที่พิพาทกันจะมีจำนวนมากน้อยเพียงใด เว้นแต่การอุทธรณ์นั้นจะเป็นไปตาม พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ ฯ มาตรา 26 (1) (2) (3) (4) (5)
ผู้คัดค้านอุทธรณ์ว่า อนุญาโตตุลาการกับผู้ร้องหลอกลวงให้มีการสืบพยานบุคคลแทนที่จะพิจารณาชี้ขาดตามเอกสารที่มีอยู่เป็นการรับฟังพยานบุคคลมาหักล้างพยานเอกสารอันฝ่าฝืน ป.วิ.พ. มาตรา 94 ที่แสดงว่าอนุญาโตตุลาการมีความประสงค์จะใช้ข้ออ้างในคำเบิกความของพยานที่เป็นเท็จของ พ. มากล่าวอ้างหักล้างพยานเอกสารตามแผนการที่อนุญาโตตุลาการได้สมคบผู้ร้องไว้แล้วตั้งแต่เมื่อเริ่มต้นคดีชั้นอนุญาโตตุลาการ เพื่อประสงค์เพียงอย่างเดียวคือให้ฝ่ายผู้ร้องชนะ เป็นกรณีที่ผู้คัดค้านอ้างว่า อนุญาโตตุลาการกระทำการไม่สุจริตและผู้ร้องใช้กลฉ้อฉลคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการจึงไม่ชอบ ผู้คัดค้านย่อมมีสิทธิที่จะอุทธรณ์ได้ตาม พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ ฯ มาตรา 26 (1)
ผู้คัดค้านอุทธรณ์ว่า ศาลชั้นต้นพิพากษาบังคับผู้คัดค้านตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการมาจากมูลเหตุข้อพิพาทเกี่ยวกับการผิดสัญญาซื้อขายมีจำนวนเงินเกินกว่า 500 บาท เมื่อไม่มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อผู้รับผิดเป็นสำคัญแล้ว จะฟ้องร้องบังคับคดีหาได้ไม่ สัญญาซื้อขายที่ผู้ร้องอ้างฟ้องร้องผู้คัดค้านนั้นไม่อาจที่จะนำมาฟ้องร้องได้ เพราะผู้คัดค้านมิได้ลงลายมือชื่อในสัญญา ซึ่งหากไม่มีการตั้งอนุญาโตตุลาการแล้ว ผู้ร้องก็ไม่อาจที่จะนำคดีมาฟ้องร้องบังคับผู้คัดค้านได้ เพราะขัดต่อ ป.พ.พ. มาตรา 456 ซึ่งเป็นบทกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย เป็นการอุทธรณ์ที่ผู้คัดค้านกล่าวอ้างว่า คำพิพากษาของศาลชั้นต้นฝ่าฝืนต่อบทกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน คือฝ่าฝืน ป.พ.พ. มาตรา 456 ไม่อาจที่จะบังคับผู้คัดค้านได้นั่นเอง จึงหาเป็นอุทธรณ์ที่ต้องห้ามไม่ การที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวให้แก่ผู้คัดค้าน ย่อมเป็นการไม่ชอบ
แม้การซื้อขายที่มีราคาเกินกว่า 500 บาท มิได้มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้รับผิดเป็นสำคัญตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 แต่บทบัญญัติดังกล่าวก็หาใช่เป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนไม่ เพราะสัญญาซื้อขายระหว่างผู้ร้องและผู้คัดค้านได้เกิดขึ้นแล้วโดยชอบ เพียงแต่จะฟ้องร้องบังคับกันได้หรือไม่จำต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดเท่านั้น นอกจากนี้คำคัดค้านของผู้คัดค้านในชั้นอนุญาโตตุลาการผู้คัดค้านมิได้ยกข้ออ้างที่ว่าการตกลงซื้อขายระหว่างผู้ร้องกับผู้คัดค้านมิได้มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายผู้คัดค้านไว้เป็นสำคัญที่ผู้ร้องไม่อาจยกขึ้นบังคับดังกล่าวแต่อย่างใด การที่อนุญาโตตุลาการใช้ดุลพินิจวินิจฉัยความผูกพันระหว่างผู้ร้องกับผู้คัดค้านเฉพาะเรื่องความรับผิดในการที่ผู้คัดค้านเป็นฝ่ายผิดสัญญาซื้อขายแล้วมีคำชี้ขาดให้ผู้คัดค้านใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้ร้อง จึงเป็นการชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4148/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิซื้อคืนที่ดินเช่าเมื่อผู้ให้เช่าขายต่อ - คชก.มีอำนาจชี้ขาด - ราคาซื้อขายตามกฎหมาย
โจทก์ที่ 2 เป็นเจ้าของที่นาพิพาท มีจำเลยเป็นผู้เช่าทำนา ที่นาพิพาทอยู่ในบังคับของพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 และโจทก์ที่ 2 ขายที่นาพิพาทให้แก่โจทก์ที่ 1 ในราคา 250,000 บาท อันเป็นกรณีที่ จำเลยผู้เช่านาหมดสิทธิที่จะซื้อที่นาพิพาทเพราะจำเลยยอมทำบันทึกตกลงปฏิเสธไม่ซื้อที่นาพิพาทแล้ว แต่โจทก์ที่ 2ซึ่งเป็นผู้ให้เช่าได้ขายที่นาพิพาทให้แก่โจทก์ที่ 1 ในราคาที่แตกต่างไปจากราคาที่เสนอขายต่อจำเลย โจทก์ที่ 2 จึงมีหน้าที่ต้องดำเนินการเสนอขายเพื่อให้จำเลยมีโอกาสแสดงความ จำนงจะซื้อที่นาพิพาทใหม่ตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 มาตรา 53 วรรคสี่ เมื่อเป็นเช่นนี้กรณีจึงไม่จำต้องวินิจฉัยในประเด็นที่ว่า สัญญายกเลิกการเช่าที่นาพิพาทเป็นโมฆียะหรือไม่ เพราะการที่จำเลยยอมเลิกการเช่าที่นาพิพาทเป็นผลที่เกิดจากการกระทำที่มิชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ที่ 2 ย่อมไม่มีผลผูกพันจำเลย นอกจากนี้จำเลยยังมีสิทธิซื้อที่นาพิพาทจากโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ รับโอนตามราคาและวิธีการชำระเงินที่โจทก์ที่ 1 ซื้อไว้ หรือตามราคาตลาดในขณะนั้น แล้วแต่ราคาใดจะสูงกว่ากัน ตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524มาตรา 54 วรรคหนึ่ง คชก.ตำบล บ. ได้วินิจฉัยให้โจทก์ที่ 1 ขายที่นาพิพาทให้แก่จำเลยในราคา 250,000 บาท ตามที่จำเลยร้องขอและคำวินิจฉัยนี้เป็นที่สุดตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 วรรคสองแล้ว คำวินิจฉัยของคชก.ตำบล บ. ที่ให้โจทก์ที่ 1 ขายที่นาพิพาทแก่จำเลยในราคา 250,000 บาท จึงผูกพันโจทก์ที่ 1 และถือว่าเป็นคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ เมื่อไม่ปรากฏว่าเป็นคำชี้ขาดที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือเกิดจากการกระทำหรือวิธีการอันมิชอบอย่างใดอย่างหนึ่ง ศาลจึงชอบที่จะพิพากษาบังคับให้ตามคำชี้ขาดดังกล่าว ตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 มาตรา 58 วรรคหนึ่ง ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 221 และพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 มาตรา 24 วรรคหนึ่ง เมื่อราคา250,000 บาท เป็นราคาตลาดในขณะนั้นและเป็นราคาตามมาตรา 54 วรรคหนึ่ง จำเลยย่อมมีสิทธิซื้อที่นาพิพาทคืนจากโจทก์ที่ 1 ในราคา 250,000 บาท โจทก์ทั้งสองจึงยังไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่กับเรียกค่าเสียหายจากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4148/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิซื้อคืนที่ดินเช่า: การเสนอขายใหม่ตามกฎหมาย และผลผูกพันตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการ
โจทก์ที่ 2 เป็นเจ้าของที่นาพิพาท มีจำเลยเป็นผู้เช่าทำนาที่นาพิพาทอยู่ในบังคับของ พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 และโจทก์ที่ 2 ขายที่นาพิพาทให้แก่โจทก์ที่ 1 ในราคา 250,000 บาท อันเป็นกรณีที่จำเลยผู้เช่านาหมดสิทธิที่จะซื้อที่นาพิพาทเพราะจำเลยยอมทำบันทึกตกลงปฏิเสธไม่ซื้อที่นาพิพาทแล้ว แต่โจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ให้เช่าได้ขายที่นาพิพาทให้แก่โจทก์ที่ 1ในราคาที่แตกต่างไปจากราคาที่เสนอขายต่อจำเลย โจทก์ที่ 2 จึงมีหน้าที่ต้องดำเนินการเสนอขายเพื่อให้จำเลยมีโอกาสแสดงความจำนงจะซื้อที่นาพิพาทใหม่ตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 มาตรา 53 วรรคสี่เมื่อเป็นเช่นนี้ กรณีจึงไม่จำต้องวินิจฉัยในประเด็นที่ว่า สัญญายกเลิกการเช่าที่นาพิพาทเป็นโมฆียะหรือไม่ เพราะการที่จำเลยยอมเลิกการเช่าที่นาพิพาทเป็นผลที่เกิดจากการกระทำที่มิชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ที่ 2 ย่อมไม่มีผลผูกพันจำเลยนอกจากนี้ จำเลยยังมีสิทธิซื้อที่นาพิพาทจากโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นผู้รับโอนตามราคาและวิธีการชำระเงินที่โจทก์ที่ 1 ซื้อไว้ หรือตามราคาตลาดในขณะนั้น แล้วแต่ราคาใดจะสูงกว่ากัน ตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
คชก. ตำบล บ.ได้วินิจฉัยให้โจทก์ที่ 1 ขายที่นาพิพาทให้แก่จำเลยในราคา 250,000 บาท ตามที่จำเลยร้องขอ และคำวินิจฉัยนี้เป็นที่สุดตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 วรรคสองแล้วคำวินิจฉัยของ คชก.ตำบล บ.ที่ให้โจทก์ที่ 1 ขายที่นาพิพาทแก่จำเลยในราคา250,000 บาท จึงผูกพันโจทก์ที่ 1 และถือว่าเป็นคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการเมื่อไม่ปรากฏว่าเป็นคำชี้ขาดที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือเกิดจากการกระทำหรือวิธีการอันมิชอบอย่างใดอย่างหนึ่ง ศาลจึงชอบที่จะพิพากษาบังคับให้ตามคำชี้ขาดดังกล่าว ตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 มาตรา 58วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.พ.มาตรา 221 และ พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530 มาตรา 24 วรรคหนึ่ง เมื่อราคา 250,000 บาท เป็นราคาตลาดในขณะนั้นและเป็นราคาตามมาตรา 54 วรรคหนึ่ง จำเลยย่อมมีสิทธิซื้อที่นาพิพาทคืนจากโจทก์ที่ 1 ในราคา 250,000 บาท โจทก์ทั้งสองจึงยังไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่กับเรียกค่าเสียหายจากจำเลย
คชก. ตำบล บ.ได้วินิจฉัยให้โจทก์ที่ 1 ขายที่นาพิพาทให้แก่จำเลยในราคา 250,000 บาท ตามที่จำเลยร้องขอ และคำวินิจฉัยนี้เป็นที่สุดตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 วรรคสองแล้วคำวินิจฉัยของ คชก.ตำบล บ.ที่ให้โจทก์ที่ 1 ขายที่นาพิพาทแก่จำเลยในราคา250,000 บาท จึงผูกพันโจทก์ที่ 1 และถือว่าเป็นคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการเมื่อไม่ปรากฏว่าเป็นคำชี้ขาดที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือเกิดจากการกระทำหรือวิธีการอันมิชอบอย่างใดอย่างหนึ่ง ศาลจึงชอบที่จะพิพากษาบังคับให้ตามคำชี้ขาดดังกล่าว ตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 มาตรา 58วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.พ.มาตรา 221 และ พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530 มาตรา 24 วรรคหนึ่ง เมื่อราคา 250,000 บาท เป็นราคาตลาดในขณะนั้นและเป็นราคาตามมาตรา 54 วรรคหนึ่ง จำเลยย่อมมีสิทธิซื้อที่นาพิพาทคืนจากโจทก์ที่ 1 ในราคา 250,000 บาท โจทก์ทั้งสองจึงยังไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่กับเรียกค่าเสียหายจากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9935/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมการ คชก. มีส่วนได้เสีย ทำให้คำวินิจฉัยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลไม่รับบังคับตามคำวินิจฉัยได้
เมื่อ ช.กรรมการคชก.ตำบลลำโพเป็นบุตรของโจทก์ทั้งสอง ช. จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในกรณีพิพาทรายนี้คำวินิจฉัยของ คชก. ตำบลลำโพ จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 18 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 ศาลมีอำนาจปฎิเสธไม่รับบังคับตามคำวินิจฉัยนั้นได้ ตามมาตรา 58 วรรคหนึ่ง ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 221 และพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 มาตรา 3 และมาตรา 24 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5595/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิซื้อที่ดินจากการเช่าเมื่อผู้ขายไม่ปฏิบัติตามกม. และการกำหนดราคาซื้อตามราคาตลาด
ตามบันทึกการประชุมคชก.จังหวัดพิจิตรซึ่งมีมติให้โจทก์ผู้เช่าสามารถซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่2ผู้รับโอนในราคา65,000บาทตามราคาที่จดทะเบียนไว้โดยไม่ได้มีการพิจารณาว่าขณะที่จำเลยที่2และที่3ซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่1นั้นราคาที่ดินพิพาทตามราคาตลาดมีราคาสูงเท่าใดสูงกว่าราคาตามที่จดทะเบียนซื้อขายกันหรือไม่แม้มติคชก.ได้ถึงที่สุดไปแล้วก็ตามแต่การพิจารณาเฉพาะเรื่องราคาที่ให้โจทก์มีสิทธิซื้อที่ดินพิพาทในราคา65,000บาทนั้นไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติ การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ.2524มาตรา54วรรคหนึ่งศาลบังคับตามมติในเรื่องนี้ของคชก.ไม่ได้ตามมาตรา58ประกอบพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการพ.ศ.2530มาตรา24แต่คำวินิจฉัยของคชก.ในส่วนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายนี้เป็นเพียงส่วนประกอบส่วนคำวินิจฉัยที่ให้โจทก์มีสิทธิซื้อที่ดินพิพาทนั้นเป็นคำวินิจฉัยส่วนหลักชอบด้วยกฎหมายไม่เสียไปดังนั้นในส่วนประกอบที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายนี้ศาลมีอำนาจพิจารณาจากพยานหลักฐานที่คู่ความนำสืบแล้วพิพากษาให้ถูกต้องตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯมาตรา54ได้ ระยะเวลาที่โจทก์ขอซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่1ในราคาไร่ละ5,000บาทแต่จำเลยที่1ไม่ยอมขายให้แก่โจทก์ในราคาดังกล่าวห่างจากเวลาที่จำเลยที่1กับบุตรจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่2และที่3ประมาณ1ปีและได้ความจากคำพยานโจทก์ว่านับแต่ปี2531เป็นต้นมาราคาที่ดินขยับตัวสูงขึ้นเรื่อยๆเพิ่งหยุดนิ่งเมื่อปี2534และทางราชการปรับราคาประเมินที่ดินพิพาทในปี2535จากไร่ละ5,000บาทเป็นไร่ละ12,000บาทอันเนื่องมาจากสภาพของราคาที่ดินได้เพิ่มสูงขึ้นมากนั้นเองจึงเชื่อได้ว่าวันจดทะเบียนขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่2และที่3นั้นราคาตลาดของที่ดินพิพาทสูงกว่าไร่ละ5,000บาทมากประกอบกับจำเลยทั้งสามนำสืบถึงราคาตลาดของที่ดินพิพาทว่าในขณะนั้นมีราคาไร่ละ12,000บาทเป็นราคาที่สมเหตุสมผลโจทก์จึงต้องซื้อที่ดินพิพาทในราคาไร่ละ12,000บาทตามราคาตลาดซึ่งเป็นราคาที่สูงกว่าราคาที่จำเลยที่2และที่3ซื้อไว้ตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อการเกษตรกรรมฯมาตรา54วรรคหนึ่ง ตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯมาตรา54บัญญัติให้ผู้เช่านามีสิทธิซื้อนาที่เช่าจากผู้รับโอนโดยตรงหากการขายนาที่เช่ามิได้ปฏิบัติตามมาตรา53เมื่อโจทก์เป็นผู้เช่าที่ดินพิพาทและผู้ให้เช่านาขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่2และที่3โดยมิได้ปฏิบัติตามมาตรา53ทั้งโจทก์ได้ร้องขอต่อคชก.เพื่อวินิจฉัยให้ผู้รับโอนขายที่ดินพิพาทแก่โจทก์และได้ผ่านขั้นตอนการอุทธรณ์ต่อคชก.แล้วโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่2และที่3ผู้รับโอนที่ดินพิพาทขายที่ดินพิพาททั้งแปลงให้แก่โจทก์โดยไม่ต้องคำนึงว่าเดิมมีผู้ใดเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทบ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 467/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับตามคำวินิจฉัย คชก.ตำบล: ศาลมีอำนาจพิจารณาราคาตาม พ.ร.บ.เช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมได้
คำวินิจฉัยของ คชก.ตำบลที่มิได้อุทธรณ์จะเป็นที่สุด แต่เมื่อผู้มีส่วนได้เสียร้องต่อศาลในการพิจารณาว่ามีการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำวินิจฉัยดังกล่าว กฎหมายให้นำ ป.วิ.พ.มาใช้บังคับโดยอนุโลม ตาม ป.วิ.พ. มาตรา221 บัญญัติให้เป็นไปตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530 ซึ่งในกรณีที่ศาลเห็นว่าคำชี้ขาดใดไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือมีความบกพร่องอันมิใช่สาระสำคัญและอาจแก้ไขให้ถูกต้องได้ ศาลมีอำนาจทำคำสั่งปฏิเสธไม่รับบังคับตามคำชี้ขาดนั้นหรือแก้ไขให้ถูกต้องได้
การนำบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณาพิพากษาตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการมาใช้บังคับแก่การพิจารณาพิพากษาบังคับตามคำวินิจฉัยที่ถึงที่สุดของ คชก.ตำบล จะต้องนำบทบัญญัติดังกล่าวมาใช้บังคับเพียงเท่าที่ไม่ขัดต่อสภาพความชอบด้วยกฎหมายของคำวินิจฉัยที่ถึงที่สุดของ คชก.ตำบล โดยเฉพาะในข้อที่ว่าราคาที่ คชก.ตำบลวินิจฉัยให้ผู้รับโอนขายนาให้แก่ผู้เช่านาเป็นราคาตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง หรือไม่ มิใช่ข้อที่เป็นดุลพินิจเด็ดขาดของ คชก.ตำบลในการพิจารณาว่าจะบังคับตามคำวินิจฉัยของคชก.ตำบลหรือไม่ ศาลต้องพิจารณาว่าราคาที่ คชก.ตำบลวินิจฉัยเป็นราคาตามบทบัญญัติดังกล่าวหรือไม่ ถ้ามิใช่ศาลย่อมพิจารณาจากพยานหลักฐานและกำหนดราคาให้ถูกต้อง แล้วพิพากษาให้บังคับให้ขายตามราคาที่กำหนดไปได้
การนำบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณาพิพากษาตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการมาใช้บังคับแก่การพิจารณาพิพากษาบังคับตามคำวินิจฉัยที่ถึงที่สุดของ คชก.ตำบล จะต้องนำบทบัญญัติดังกล่าวมาใช้บังคับเพียงเท่าที่ไม่ขัดต่อสภาพความชอบด้วยกฎหมายของคำวินิจฉัยที่ถึงที่สุดของ คชก.ตำบล โดยเฉพาะในข้อที่ว่าราคาที่ คชก.ตำบลวินิจฉัยให้ผู้รับโอนขายนาให้แก่ผู้เช่านาเป็นราคาตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง หรือไม่ มิใช่ข้อที่เป็นดุลพินิจเด็ดขาดของ คชก.ตำบลในการพิจารณาว่าจะบังคับตามคำวินิจฉัยของคชก.ตำบลหรือไม่ ศาลต้องพิจารณาว่าราคาที่ คชก.ตำบลวินิจฉัยเป็นราคาตามบทบัญญัติดังกล่าวหรือไม่ ถ้ามิใช่ศาลย่อมพิจารณาจากพยานหลักฐานและกำหนดราคาให้ถูกต้อง แล้วพิพากษาให้บังคับให้ขายตามราคาที่กำหนดไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 467/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิซื้อคืนที่ดินเช่าเมื่อมีการขายทอดตลาด และการแก้ไขราคาซื้อขายโดยศาลตามกฎหมายเช่าที่ดิน
คำวินิจฉัยของคชก.ตำบลที่มิได้อุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯตามมาตรา56ย่อมถึงที่สุดแต่มาตรา58วรรคหนึ่งบัญญัติว่าในกรณีที่มีการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำวินิจฉัยดังกล่าวเมื่อ ผู้มีส่วนได้เสียร้องขอต่อศาลในการพิจารณาคดีของศาลให้ถือว่าคำวินิจฉัยดังกล่าวเป็น คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการโดยให้นำบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณาพิพากษาตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับแก่การพิจารณาพิพากษาตามคำวินิจฉัยดังกล่าวในกรณีนี้โดยอนุโลมซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา221บัญญัติให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยอนุญาโตตุลาการคือพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการฯมาตรา24วรรคสองให้ศาลมีอำนาจแก้ไขในกรณีที่คำชี้ขาดมีข้อบกพร่องอันมิใช่สาระและอาจแก้ไขได้เช่นการคำนวณตัวเลขหรือการกล่าวอ้างถึงบุคคลหรือทรัพย์สิ่งใดผิดพลาดไปแต่การนำบทบัญญัติดังกล่่าวมาใช้บังคับเพียงเท่าที่ไม่ขัดต่อสภาพความชอบกฎหมายของคำวินิจฉัยถึงที่สุดของคชก.ตำบลโดยเฉพาะข้อที่ว่าราคาที่คชก.ตำบลวินิจฉัยให้ผู้รับโอนขายนาให้แก่ผู้เช่านาเป็นราคาตามพระราชบัญญัติ การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯมาตรา54วรรคหนึ่งหรือไม่ศาลต้องพิจารณาจากพยานหลักฐานและกำหนดราคาให้ถูกต้องแล้วพิพากษาบังคับให้ขายตามราคาที่กำหนดไปได้แม้จะเป็นการแก้ไขคำวินิจฉัยที่ถึงที่สุดของคชก.ตำบลก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 467/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิซื้อคืนที่ดินเช่าเมื่อมีการซื้อขายจากผู้ให้เช่า: ศาลมีอำนาจแก้ไขราคาคำวินิจฉัยคชก. หากไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
คำวินิจฉัยของคชก.ตำบลที่มิได้อุทธรณ์จะเป็นที่สุดแต่เมื่อผู้มีส่วนได้เสียร้องต่อศาลในการพิจารณาว่ามีการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำวินิจฉัยดังกล่าวกฎหมายให้นำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา221บัญญัติให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติ อนุญาโตตุลาการพ.ศ.2530ซึ่งในกรณีที่ศาลเห็นว่าคำชี้ขาดใดไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือมีความบกพร่องอันมิใช่สาระสำคัญและอาจแก้ไขให้ถูกต้องได้ศาลมีอำนาจทำคำสั่งปฏิเสธไม่รับบังคับตามคำชี้ขาดนั้นหรือแก้ไขให้ถูกต้องได้ การนำบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณาพิพากษาตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการมาใช้บังคับแก่การพิจารณาพิพากษาบังคับตามคำวินิจฉัยถึงที่สุดของคชก.ตำบลจะต้องนำบทบัญญัติดังกล่าวมาใช้บังคับเพียงเท่าที่ไม่ขัดต่อสภาพความชอบด้วยกฎหมายของคำวินิจฉัยที่ถึงที่สุดของคชก.ตำบลโดยเฉพาะในข้อที่ว่าราคาที่คชก.ตำบลวินิจฉัยให้ผู้รับโอนขายนาให้แก่ผู้เช่านาเป็นราคาตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ.2524มาตรา54วรรคหนึ่งหรือไม่มิใช่ข้อที่เป็นดุลพินิจเด็ดขาดของคชก.ตำบลในการพิจารณาว่าจะบังคับตามคำวินิจฉัยของคชก.ตำบลหรือไม่ศาลต้องพิจารณาว่าราคาที่คชก.ตำบลวินิจฉัยเป็นราคาตามบทบัญญัติดังกล่าวหรือไม่ถ้ามิใช่ศาลย่อมพิจารณาจากพยานหลักฐานและกำหนดราคาให้ถูกต้องแล้วพิพากษาให้บังคับให้ขายตามราคาที่กำหนดไปได้