พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7431/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การพิจารณาความสับสนและความเหนือกว่าของสิทธิเมื่อใช้เครื่องหมายการค้าก่อน
แม้ว่าเครื่องหมายการค้า ของโจทก์และเครื่องหมายการค้า ของจำเลยจะมีรายละเอียดแตกต่างกันไปบ้างโดยเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ประกอบด้วยอักษรโรมันสีขาว คำว่า "Kyuta" อยู่ในกรอบวงรีวางอยู่เหนือกรอบสี่เหลี่ยมซึ่งมีเส้นทึบตามแนวกรอบ บริเวณเส้นทึบด้านล่างมีอักษรโรมันสีขาวคำว่า "KYUTACHEM.," บริเวณกลางของกรอบสี่เหลี่ยมมีกรอบสี่เหลี่ยมสีขาวซ้อนอยู่ ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยมีอักษรโรมันสีขาวคำว่า "Kyuta"อยู่ในกรอบวงรี แต่เครื่องหมายการค้าของจำเลยอาจทำให้สาธารณชนทั่วไปที่มิได้พิจารณาให้ละเอียดถี่ถ้วนสับสนหลงผิด เมื่อเห็นคำว่า "Kyuta" ซึ่งเป็นจุดเด่นของเครื่องหมายการค้าของจำเลยและเข้าใจว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์ได้แม้ว่าโจทก์จะได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์สำหรับสินค้าในรายการจำพวกสินค้าจำพวกที่ 1 ทั้งจำพวก อันได้แก่ เคมีวัตถุสำหรับใช้ในการหัตถกรรมการถ่ายรูป หรือการค้นหาความรู้ทางฟิสิกส์ และใช้เป็นยากันผุเสีย ส่วนจำเลยจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้สำหรับสินค้าในรายการจำพวกสินค้าจำพวกที่ 42ทั้งจำพวก อันได้แก่ วัตถุที่ใช้เป็นอาหาร หรือเป็นเครื่องปรุงอาหารก็ตาม แต่โจทก์ก็ได้ใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ตั้งแต่ปี 2523 กับสินค้าเคมีภัณฑ์ประกอบอาหารและจำหน่ายให้แก่โรงงานผลิตอาหารเพื่อนำไปปรับสภาพอาหารให้คงอยู่ได้นาน อันมีลักษณะเป็นการใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์กับสินค้าที่มีลักษณะครอบคลุมถึงสินค้าในรายการจำพวกสินค้าจำพวกที่ 42 ด้วย และเมื่อโจทก์จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลเมื่อปี2529 แล้วก็ได้ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวต่อมา ถือได้ว่าโจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "Kyuta" กับสินค้าในรายการจำพวกสินค้าจำพวกที่ 42 มาก่อนจำเลยหลายปี โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า "Kyuta" ของโจทก์ และเครื่องหมายการค้าคำว่า "Kyuta" ตามคำขอจดทะเบียน สำหรับสินค้าในรายการจำพวกสินค้าจำพวกที่ 42 ดีกว่าจำเลย
โจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "Kyuta" มาตั้งแต่ปี2523 เมื่อโจทก์จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลเมื่อปี 2529 โจทก์ก็ได้ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวต่อมา และโจทก์ได้นำเครื่องหมายการค้าคำว่า "Kyuta" ไปจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและได้รับการจดทะเบียนเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2530สำหรับสินค้าในรายการจำพวกสินค้าจำพวกที่ 1 ทั้งจำพวก เมื่อโจทก์อ้างว่าเครื่องหมายการค้าคำว่า "Kyuta" ของจำเลยซึ่งจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าวันที่ 24 มีนาคม 2530 โต้แย้งสิทธิของโจทก์ การใช้สิทธิฟ้องคดีของโจทก์จึงต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิ
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลย โดยโจทก์อ้างว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า "Kyuta"ดีกว่า อันเป็นการฟ้องคดีตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา41 (1) ซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้ จึงต้องนำบทบัญญัติทั่วไปว่าด้วยอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 164 เดิม หรือมาตรา 193/30 ใหม่ ซึ่งมีกำหนด10 ปี มาใช้บังคับโดยอนุโลม และต้องเริ่มนับอายุความขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป ตามมาตรา 169 เดิม หรือมาตรา 193/12 ใหม่ คือนับตั้งแต่วันจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลย
โจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "Kyuta" มาตั้งแต่ปี2523 เมื่อโจทก์จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลเมื่อปี 2529 โจทก์ก็ได้ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวต่อมา และโจทก์ได้นำเครื่องหมายการค้าคำว่า "Kyuta" ไปจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและได้รับการจดทะเบียนเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2530สำหรับสินค้าในรายการจำพวกสินค้าจำพวกที่ 1 ทั้งจำพวก เมื่อโจทก์อ้างว่าเครื่องหมายการค้าคำว่า "Kyuta" ของจำเลยซึ่งจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าวันที่ 24 มีนาคม 2530 โต้แย้งสิทธิของโจทก์ การใช้สิทธิฟ้องคดีของโจทก์จึงต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิ
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลย โดยโจทก์อ้างว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า "Kyuta"ดีกว่า อันเป็นการฟ้องคดีตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา41 (1) ซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้ จึงต้องนำบทบัญญัติทั่วไปว่าด้วยอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 164 เดิม หรือมาตรา 193/30 ใหม่ ซึ่งมีกำหนด10 ปี มาใช้บังคับโดยอนุโลม และต้องเริ่มนับอายุความขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป ตามมาตรา 169 เดิม หรือมาตรา 193/12 ใหม่ คือนับตั้งแต่วันจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5535/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความเริ่มนับเมื่อมีสิทธิเรียกร้อง การรับสภาพหนี้ต้องกระทำโดยลูกหนี้หรือตัวแทน
คณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงที่ กรป.กลาง ตั้งขึ้นเพื่อสอบให้แน่ชัดว่าได้มีการซ่อมรถยนต์ 9 คัน กับโจทก์จริงหรือไม่ นั้น เป็นเรื่องภายในของหน่วยราชการที่สังกัดจำเลยที่ 2 แม้คณะกรรมการดังกล่าวจะลงความเห็นว่าได้ว่าจ้างให้โจทก์ซ่อมจริงและควรหาทางนำเงินค่าซ่อมไปชำระแก่โจทก์ตามเอกสารหมาย จ.34 ถือไม่ได้ว่าเป็นการรับสภาพหนี้ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงเพราะการรับสภาพหนี้ต้องเป็นกรณีที่ลูกหนี้รับสภาพต่อเจ้าหนี้ว่าจะชำระหนี้ให้ซึ่งจะต้องกระทำโดยลูกหนี้เองหรือโดยตัวแทนของลูกหนี้เท่านั้น แต่ตามเอกสารหมาย จ.34 ไม่ปรากฏว่า จำเลยที่ 2 ได้รับทราบในการกระทำดังกล่าว และไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2ได้แต่งตั้งให้ กรป.กลาง เป็นตัวแทนไปรับสภาพหนี้ต่อโจทก์ แม้ กรป.กลาง จะเป็นส่วนราชการในสังกัดของจำเลยที่ 2 ก็มิได้หมายความว่าเป็นผู้แทนของจำเลยที่ 2เป็นเพียงผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชาเท่านั้น จะเปรียบลักษณะอย่างผู้ทำการแทนบริษัทกับบริษัทหาได้ไม่
เมื่อ กรป.กลาง เป็นเพียงหน่วยงานหนึ่งของจำเลยที่ 2 ซึ่งจะต้องปฏิบัติภารกิจตามที่จำเลยที่ 2 มอบหมาย โดยเฉพาะการทำนิติกรรมสัญญากับบุคคลภายนอก กรป.กลาง ย่อมไม่อาจทำได้เพราะมิใช่นิติบุคคลตามกฎหมาย ต้องให้จำเลยที่ 2 เป็นคู่สัญญากับบุคคลภายนอก หรือให้ กรป.กลาง เป็นผู้กระทำแทนในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากจำเลยที่ 2 ดังนี้ สิทธิเรียกร้องค่าจ้างซ่อมรายนี้โจทก์สามารถเรียกร้องเองแก่จำเลยที่ 2 ในฐานคู่สัญญาได้นับตั้งแต่วันที่โจทก์ส่งมอบรถยนต์ที่ซ่อมเสร็จ จึงถือได้ว่าโจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องนั้นแก่จำเลยที่ 2 ได้ตั้งแต่วันดังกล่าว และอายุความย่อมเริ่มนับแต่วันนั้น แต่โจทก์รีรอฟังผลจาก กรป.กลาง เรื่อยมาจนกระทั่งพ้นกำหนด 2 ปี นับแต่วันที่มีการส่งมอบและรับมอบรถยนต์ที่ซ่อมแล้ว จึงต้องถือว่าคดีของโจทก์ขาดอายุความแล้ว
เมื่อ กรป.กลาง เป็นเพียงหน่วยงานหนึ่งของจำเลยที่ 2 ซึ่งจะต้องปฏิบัติภารกิจตามที่จำเลยที่ 2 มอบหมาย โดยเฉพาะการทำนิติกรรมสัญญากับบุคคลภายนอก กรป.กลาง ย่อมไม่อาจทำได้เพราะมิใช่นิติบุคคลตามกฎหมาย ต้องให้จำเลยที่ 2 เป็นคู่สัญญากับบุคคลภายนอก หรือให้ กรป.กลาง เป็นผู้กระทำแทนในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากจำเลยที่ 2 ดังนี้ สิทธิเรียกร้องค่าจ้างซ่อมรายนี้โจทก์สามารถเรียกร้องเองแก่จำเลยที่ 2 ในฐานคู่สัญญาได้นับตั้งแต่วันที่โจทก์ส่งมอบรถยนต์ที่ซ่อมเสร็จ จึงถือได้ว่าโจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องนั้นแก่จำเลยที่ 2 ได้ตั้งแต่วันดังกล่าว และอายุความย่อมเริ่มนับแต่วันนั้น แต่โจทก์รีรอฟังผลจาก กรป.กลาง เรื่อยมาจนกระทั่งพ้นกำหนด 2 ปี นับแต่วันที่มีการส่งมอบและรับมอบรถยนต์ที่ซ่อมแล้ว จึงต้องถือว่าคดีของโจทก์ขาดอายุความแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2557/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความการกู้ยืมเงิน เริ่มนับจากวันผิดสัญญาชำระดอกเบี้ย
การกู้ยืมเงินมิได้กำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164 เดิม (มาตรา 193/30) และตามมาตรา 169เดิม (มาตรา 193/32) บัญญัติว่า อายุความให้เริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป เมื่อตามสัญญาข้อ 4 จำเลยที่ 1 จะต้องชำระดอกเบี้ยให้โจทก์เดือนแรกภายในวันที่ 4 มกราคม 2524 การที่จำเลยที่ 1 ไม่ชำระดอกเบี้ยให้โจทก์เลยจึงเป็นการผิดสัญญา ซึ่งสัญญาข้อ 6 ระบุว่าโจทก์ฟ้องเรียกเงินต้นและดอกเบี้ยได้ ถือได้ว่าระยะเวลาซึ่งโจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ นับแต่วันที่ 4มกราคม 2524 ซึ่งนับถึงวันฟ้องเกิน 10 ปี คดีโจทก์จึงขาดอายุความ