พบผลลัพธ์ทั้งหมด 31 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6178/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการเมื่อย้ายที่ทำการ – ข้อยกเว้นตาม พ.ร.ก.ค่าเช่าบ้านข้าราชการ
เดิมจำเลยรับราชการที่กรมวิเทศสหการโดยเริ่มรับราชการครั้งแรกที่หน่วยงานในท้องที่กรุงเทพมหานครและได้โอนมารับราชการที่มหาวิทยาลัยโจทก์ตั้งแต่วันที่16มกราคม2526ซึ่งขณะนั้นที่ทำการของโจทก์ตั้งอยู่ที่ทบวงมหาวิทยาลัยเขตพญาไทกรุงเทพมหานครต่อมาได้ย้ายที่ทำการไปอยู่ที่ตำบลบางพูดอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรีการที่โจทก์ย้ายสำนักงานหรือที่ทำการจากท้องที่ในกรุงเทพมหานครไปอยู่ในท้องที่จังหวัดนนทบุรีโดยจำเลยต้องย้ายติดตามไปปฏิบัติราชการประจำที่สำนักงานแห่งใหม่ของโจทก์มีผลเท่ากับจำเลยได้รับคำสั่งให้เดินทางไปประจำสำนักงานแห่งใหม่ของโจทก์ในต่างท้องที่และการที่จำเลยเช่าบ้านอยู่นอกเขตท้องที่สำนักงานแห่งใหม่ของโจทก์ไม่อยู่ในข้อยกเว้นของมาตรา7วรรคหนึ่ง(1)ถึง(4)หรือมาตราอื่นใดแห่งพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการพ.ศ.2527อันจะเป็นเหตุให้จำเลยไม่มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการจำเลยมีสิทธิเบิกเงินค่าเช่าบ้านข้าราชการได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6178/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการเมื่อย้ายตามที่ทำการ - ข้อยกเว้น พ.ร.ฎ.ค่าเช่าบ้าน
เดิมจำเลยรับราชการที่กรมวิเทศสหการ โดยเริ่มรับราชการครั้งแรกที่หน่วยงานในท้องที่กรุงเทพมหานคร และได้โอนมารับราชการที่มหาวิทยาลัยโจทก์ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2526 ซึ่งขณะนั้นที่ทำการของโจทก์ตั้งอยู่ที่ทบวงมหาวิทยาลัย เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร ต่อมาได้ย้ายที่ทำการไปอยู่ที่ตำบลบางพูด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี การที่โจทก์ย้ายสำนักงานหรือที่ทำการจากท้องที่ในกรุงเทพมหานครไปอยู่ในท้องที่จังหวัดนนทบุรี โดยจำเลยต้องย้ายติดตามไปปฏิบัติราชการประจำที่สำนักงานแห่งใหม่ของโจทก์ มีผลเท่ากับจำเลยได้รับคำสั่งให้เดินทางไปประจำสำนักงานแห่งใหม่ของโจทก์ในต่างท้องที่ และการที่จำเลยเช่าบ้านอยู่นอกเขตท้องที่สำนักงานแห่งใหม่ของโจทก์ ไม่อยู่ในข้อยกเว้นของมาตรา 7 วรรคหนึ่ง (1) ถึง (4) หรือมาตราอื่นใดแห่ง พ.ร.ฎ.ค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. 2527 อันจะเป็นเหตุให้จำเลยไม่มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการ จำเลยมีสิทธิเบิกเงินค่าเช่าบ้านข้าราชการได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6178/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการเมื่อย้ายที่ทำการ – การย้ายไปต่างท้องที่และข้อยกเว้นตามกฎหมาย
เดิมที่ทำการของโจทก์อยู่ที่กรุงเทพมหานครส่วนจำเลยเป็นข้าราชการสังกัดของโจทก์โดยเริ่มรับราชการครั้งแรกที่กรุงเทพมหานครเช่นกันต่อมาโจทก์ย้ายที่ทำการไปอยู่ที่จังหวัดนนทบุรีโดยจำเลยต้องย้ายติดตามไปปฎิบัติราชการประจำที่ที่ทำการใหม่ของโจทก์ด้วยมีผลเท่ากับจำเลยได้รับคำสั่งให้เดินทางไปประจำที่ทำการของโจทก์ในต่างท้องที่และเมื่อการที่จำเลยเช่าบ้านอยู่นอกเขตท้องที่ทำการแห่งใหม่ของโจทก์ไม่อยู่ในข้อยกเว้นของมาตรา7วรรคหนึ่งหรือมาตราอื่นใดแห่งพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการฯที่จะเป็นเหตุให้จำเลยไม่มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านจำเลยจึงมีสิทธิเบิกเงินค่าเช่าบ้านข้าราชการได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3911-3917/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีค่าเช่าบ้าน: จำเลยไม่ใช่ผู้มีอำนาจอนุมัติจ่ายเงิน ผู้มีอำนาจคืออธิการบดีมหาวิทยาลัย
ผู้ที่มีอำนาจอนุมัติให้เบิกจ่ายเงินค่าเช่าบ้านข้าราชการให้แก่โจทก์ทั้งเจ็ดได้คืออธิการบดีมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชและเบิกจ่ายจากเงินงบประมาณรายจ่ายของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ซึ่งเป็นนิติบุคคลต่างหากจากจำเลย จำเลยเป็นผู้ดูแลการใช้จ่ายเงินงบประมาณและการจ่ายเงินค่าเช่าบ้านข้าราชการต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่จำเลยกำหนดจำเลยเพียงแต่เป็นผู้ตอบข้อหารือของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินที่หารือไปว่ากรณีของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชซึ่งย้ายที่ทำการจากกรุงเทพมหานครไปตั้งที่จังหวัดนนทบุรีนั้นไม่ถือเป็นการย้ายสถานที่ปฏิบัติงานของข้าราชการเท่านั้น ซึ่งเป็นการปฏิบัติราชการภายในของฝ่ายบริหารด้วยกัน เมื่อสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินได้แจ้งความเห็นของจำเลยไปยังมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชก็มิได้ปฏิบัติตาม แต่ได้หารือไปยังสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เมื่อคณะกรรมการกฤษฎีกามีความเห็นว่า โจทก์ทั้งเจ็ดไม่มีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชจึงเรียกเงินค่าเช่าบ้านข้าราชการที่เบิกไปแล้วคืนจากโจทก์ทั้งเจ็ดและไม่เบิกจ่ายเงินค่าเช่าบ้านข้าราชการให้แก่โจทก์ทั้งเจ็ดอีกต่อไป จำเลยมิได้กระทำการใดที่ถือได้ว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ทั้งเจ็ดโดยตรงโจทก์ทั้งเจ็ดจึงไม่มีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยจ่ายเงินค่าเช่าบ้านให้แก่โจทก์ทั้งเจ็ดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3911-3917/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องค่าเช่าบ้านข้าราชการ: จำเลยไม่ใช่ผู้มีอำนาจอนุมัติจ่ายเงิน ผู้มีอำนาจคืออธิการบดีมหาวิทยาลัย
ผู้ที่มีอำนาจอนุมัติให้เบิกจ่ายเงินค่าเช่าบ้านข้าราชการให้แก่โจทก์ทั้งเจ็ดได้คืออธิการบดีมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชและเบิกจ่ายจากเงินงบประมาณรายจ่ายของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ซึ่งเป็นนิติบุคคลต่างหากจากจำเลยจำเลยเป็นผู้ดูแลการใช้จ่ายเงินงบประมาณและการเบิกจ่ายเงินค่าเช่าบ้านข้าราชการต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่จำเลยกำหนดจำเลยเพียงแต่เป็นผู้ตอบข้อหารือของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินที่หารือไปว่ากรณีของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชซึ่งย้ายที่ทำการจากกรุงเทพมหานครไปตั้งที่จังหวัดนนทบุรีนั้นไม่ถือเป็นการย้ายสถานที่ปฏิบัติงานของข้าราชการเท่านั้นซึ่งเป็นการปฏิบัติราชการภายในของฝ่ายบริหารด้วยกันเมื่อสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินได้แจ้งความเห็นของจำเลยไปยังมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชก็มิได้ปฏิบัติตามแต่ได้หารือไปยังสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเมื่อคณะกรรมการกฤษฎีกามีความเห็นว่าโจทก์ทั้งเจ็ดไม่มีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชจึงเรียกเงินค่าเช่าบ้านข้าราชการที่เบิกไปแล้วคืนจากโจทก์ทั้งเจ็ดและไม่เบิกจ่ายเงินค่าเช่าบ้านข้าราชการให้แก่โจทก์ทั้งเจ็ดอีกต่อไปจำเลยมิได้กระทำการใดที่ถือได้ว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ทั้งเจ็ดโดยตรงโจทก์ทั้งเจ็ดจึงไม่มีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยจ่ายเงินค่าเช่าบ้านให้แก่โจทก์ทั้งเจ็ดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3911-3917/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีเรียกร้องค่าเช่าบ้านข้าราชการ จำเลยไม่มีหน้าที่อนุมัติจ่ายเงินโดยตรง
ผู้ที่มีอำนาจอนุมัติให้เบิกจ่ายเงินค่าเช่าบ้านข้าราชการให้แก่โจทก์ทั้งเจ็ดได้คืออธิการบดีมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชและเบิกจ่ายจากเงินงบประมาณรายจ่ายของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ซึ่งเป็นนิติบุคคลต่างหากจากจำเลยจำเลยเป็นผู้ดูแลการใช้จ่ายเงินงบประมาณและการจ่ายเงินค่าเช่าบ้านข้าราชการต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่จำเลยกำหนดจำเลยเพียงแต่เป็นผู้ตอบข้อหารือของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินที่หารือไปว่ากรณีของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชซึ่งย้ายที่ทำการจากกรุงเทพมหานครไปตั้งที่จังหวัดนนทบุรีนั้นไม่ถือเป็นการย้ายสถานที่ปฏิบัติงานของข้าราชการเท่านั้นซึ่งเป็นการปฏิบัติราชการภายในของฝ่ายบริหารด้วยกันเมื่อสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินได้แจ้งความเห็นของจำเลยไปยังมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชก็มิได้ปฏิบัติตามแต่ได้หารือไปยังสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเมื่อคณะกรรมการกฤษฎีกามีความเห็นว่าโจทก์ทั้งเจ็ดไม่มีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชจึงเรียกเงินค่าเช่าบ้านข้าราชการที่เบิกไปแล้วคืนจากโจทก์ทั้งเจ็ดและไม่เบิกจ่ายเงินค่าเช่าบ้านข้าราชการให้แก่โจทก์ทั้งเจ็ดอีกต่อไปจำเลยมิได้กระทำการใดที่ถือได้ว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ทั้งเจ็ดโดยตรงโจทก์ทั้งเจ็ดจึงไม่มีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยจ่ายเงินค่าเช่าบ้านให้แก่โจทก์ทั้งเจ็ดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1212/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเช่าบ้านข้าราชการ: การย้ายที่ทำการถือเป็นการได้รับคำสั่งให้เดินทาง
ตาม พ.ร.ฎ. ค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ.2527 มาตรา 7ข้าราชการผู้มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการคือข้าราชการที่ทางราชการได้มีคำสั่งให้เดินทางไปประจำสำนักงานในต่างท้องที่ แต่กรณีคดีนี้ ทางราชการได้ย้ายที่ทำการใหม่อันเป็นการก่อให้เกิดสภาพการณ์เช่นเดียวกันกับการมีคำสั่งให้เดินทาง กล่าวคือข้าราชการจำต้องเดินทางไปประจำสำนักงานในต่างท้องที่ ซึ่งเป็นผลเช่นเดียวกันกับการมีคำสั่งของทางราชการนั่นเอง ดังนั้น ในกรณีเช่นนี้ทำให้ถ้อยคำตามตัวอักษรที่ว่า "ได้รับคำสั่งให้เดินทาง" ไม่ชัดแจ้งว่าจะมีความหมายครอบคลุมถึงกรณีที่มีสภาพการณ์เช่นเดียวกับการได้รับคำสั่งให้เดินทางหรือไม่ ชอบที่ศาลจะต้องค้นหาความหมายของบทบัญญัตินี้ว่ามีขอบเขตแห่งความมุ่งหมายแค่ไหนเพียงใด เมื่อพิจารณาถึงเหตุผลท้ายพระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าวมาแล้ว จะพบว่าพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ทางราชการมีเจตนารมณ์ที่จะช่วยเหลือข้าราชการที่ได้รับความเดือนร้อนในเรื่องที่อยู่อาศัยอันเนื่องมาจากทางราชการเป็นเหตุ จึงเห็นได้ว่าการย้ายที่ทำการใหม่ของโจทก์ซึ่งทำให้ข้าราชการของโจทก์ต้องเดินทางไปทำงานประจำสำนักงานใหม่นี้ก็เนื่องมาจากทางราชการเป็นเหตุเช่นเดียวกับการได้รับคำสั่งให้เดินทางและทำให้ข้าราชการได้รับความเดือดร้อนในเรื่องที่อยู่อาศัย ดังนั้น ถ้อยคำตามตัวอักษรที่ว่า"ได้รับคำสั่งให้เดินทาง" ย่อมมีขอบเขตแห่งความมุ่งหมายครอบคลุมถึงกรณีย้ายที่ทำการใหม่ไปต่างท้องที่ด้วย ดังนั้นกรณีเช่นคดีนี้ ย่อมอยู่ในขอบเขตแห่งความมุ่งหมายของบทบัญญัติที่ให้จำเลยมีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1212/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเช่าบ้านข้าราชการ: การย้ายที่ทำการราชการเทียบเท่าคำสั่งให้เดินทาง
ตามพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการพ.ศ.2527มาตรา7ข้าราชการผู้มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการคือข้าราชการที่ทางราชการได้มีคำสั่งให้เดินทางไปประจำสำนักงานในต่างท้องที่แต่กรณีคดีนี้ทางราชการได้ย้ายที่ทำการใหม่อันเป็นการก่อให้เกิดสภาพการณ์เช่นเดียวกันกับการมีคำสั่งให้เดินทางกล่าวคือข้าราชการจำต้องเดินทางไปประจำสำนักงานในต่างท้องที่ซึ่งเป็นผลเช่นเดียวกันกับการมีคำสั่งของทางราชการนั้นเองดังนั้นในกรณีเช่นนี้ทำให้ถ้อยคำตามตัวอักษรที่ว่า"ได้รับคำสั่งให้เดินทาง"ไม่ชัดแจ้งว่าจะมีความหมายครอบคลุมถึงกรณีที่มีสภาพการณ์เช่นเดียวกับการได้รับคำสั่งให้เดินหรือไม่ชอบที่ศาลจะต้องค้นหาความหมายของบทบัญญัตินี้ว่ามีขอบเขตแห่งความมุ่งหมายแค่ไหนเพียงใดเมื่อพิจารณาถึงเหตุผลท้ายพระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าวมาแล้วจะพบว่าพระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าวมาแล้วจะพบว่าพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ทางราชการมีเจตนารมณ์ที่จะช่วยเหลือข้าราชการที่ได้รับความเดือนร้อนในเรื่องที่อยู่อาศัยอันเนื่องมาจากทางราชการเป็นเหตุจึงเห็นได้ว่าการย้ายที่ทำการใหม่ของโจทก์ซึ่งทำให้ข้าราชการของโจทก์ต้องเดินทางไปทำงานประจำสำนักงานใหม่นี้ก็เนื่องมาจากทางราชการเป็นเหตุเช่นเดียวกับการได้รับคำสั่งให้เดินทางและทำให้ข้าราชการได้รับความเดือนร้อนในเรื่องที่อยู่อาศัยดังนั้นถ้อยคำตามตัวอักษรที่ว่า"ได้รับคำสั่งให้เดินทาง"ย่อมมีขอบเขตแห่งความมุ่งหมายครอบคลุมถึงกรณีย้ายที่ทำการใหม่ไปต่างท้องที่ด้วยดังนั้นกรณีเช่นคดีนี้ย่อมอยู่ในขอบเขตแห่งความมุ่งหมายของบทบัญญัติที่ให้จำเลยมีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1212/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเช่าบ้านข้าราชการ: การย้ายที่ทำการของโจทก์มีสภาพเช่นเดียวกับการได้รับคำสั่งให้เดินทาง
การที่โจทก์ย้าย ที่ทำการใหม่ไป ต่างท้องที่ เป็นเหตุให้จำเลยซึ่งเป็นข้าราชการของโจทก์ต้องเดินทางไปทำงานประจำสำนักงานแห่งใหม่มีสภาพการณ์เช่นเดียวกับการได้รับคำสั่งให้เดินทางตามพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการพ.ศ.2527มาตรา7จำเลยจึงมี สิทธิได้รับ ค่าเช่าบ้านข้าราชการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2623/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการเมื่อหน่วยงานย้ายที่ทำการ แม้ไม่มีคำสั่งย้าย
จำเลยรับราชการครั้งแรกในกรุงเทพมหานครแล้วโอนมารับราชการที่มหาวิทยาลัยโจทก์ซึ่งขณะนั้นอยู่ในกรุงเทพมหานครแต่ต่อมาโจทก์ได้ย้ายที่ทำการใหม่ไปอยู่ที่จังหวัดนนทบุรีต้องถือว่าจำเลยได้ไปรับราชการตามที่ทำการในต่างท้องที่จากที่รับราชการณที่เดิมแม้จะไม่มีคำสั่งให้จำเลยเดินทางไปประจำในที่ทำการการต่างท้องที่แต่เป็นเพราะเหตุโจทก์ย้ายที่ทำการใหม่ก็ตามก็ไม่มีผลแตกต่างกันเพราะที่ทำการใหม่ของโจทก์ที่ไม่ใช่ท้องที่ที่จำเลยเข้ารับราชการครั้งแรกจำเลยจึงมีสิทธิได้รับเงินค่าเช่าบ้านตามพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการพ.ศ.2527