พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2802/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า: ชื่อทางภูมิศาสตร์ที่ไม่เป็นที่รู้จักทั่วไปและลักษณะบ่งเฉพาะ
พระราชบัญญัติโอนอำนาจหน้าที่และกิจการบริหารบางส่วนของกรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์ และของกรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการ ไปเป็นของกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ฯ มาตรา 3 ได้บัญญัติให้โอนบรรดาอำนาจหน้าที่เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการปฏิบัติงานตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องหมายการค้าและกฎหมายว่าด้วยสิทธิบัตรไปเป็นของกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์และพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการ กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ฯมาตรา 3 กำหนดให้ส่วนงานของกรมทรัพย์สินทางปัญญา จำเลยที่ 1 มีอำนาจหน้าที่ในการปฏิบัติงานตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องหมายการค้าและทรัพย์สินทางปัญญาอื่นและมาตรา 5 กำหนดให้ส่วนงานในสังกัดของจำเลยที่ 1 มีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการเกี่ยวกับการตรวจสอบเพื่อการจดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องหมายการค้าประกาศโฆษณาและการรับจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา และให้คำปรึกษาแนะนำและบริการเกี่ยวกับการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา ดังนั้น การดำเนินการเกี่ยวกับการรับจดทะเบียนหรือไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าฯ จึงอยู่ในกรอบอำนาจหน้าที่และการควบคุมของจำเลยที่ 1 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1
คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า ซึ่งเป็นที่สุดตามมาตรา 18 วรรคหนึ่ง นั้น มีความหมายเพียงว่าผู้อุทธรณ์จะอุทธรณ์คำวินิจฉัยดังกล่าวต่อเจ้าพนักงานอื่นอีกไม่ได้เท่านั้น หากคำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวเป็นคำวินิจฉัยที่ไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้อุทธรณ์ย่อมมีสิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลเพื่อขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยดังกล่าวได้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินฯ มาตรา 26 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งหกเป็นคดีนี้ได้ชื่อเมืองหลวงของประเทศและชื่อทางภูมิศาสตร์อื่น ๆ ที่ประชาชนโดยทั่วไปรู้จักถือว่าเป็นชื่อทางภูมิศาสตร์ ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะ แต่คำว่า "PHOENIX" ไม่ถือว่าเป็นชื่อทางภูมิศาสตร์ เพราะเป็นเพียงชื่อเมืองหลวงของมลรัฐหนึ่งในประเทศสหรัฐอเมริกามิใช่ชื่อเมืองหลวงของประเทศสหรัฐอเมริกา และจะถือว่าเป็นชื่อทางภูมิศาสตร์อื่น ๆ เสียทีเดียวหาได้ไม่ เพราะยังจะต้องพิจารณาในรายละเอียดว่าเป็นชื่อเมืองที่ประชาชนทั่วไปรู้จักหรือไม่ หากประชาชนทั่วไปไม่รู้จักแล้วก็ถือว่าเป็นชื่อที่มีลักษณะบ่งเฉพาะซึ่งไม่ต้องห้ามมิให้รับจดทะเบียนแม้โจทก์จะมิได้มีคำขอมาท้ายฟ้องขอให้จำเลยทั้งหกร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ด้วย แต่ความรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมเป็นเรื่องที่ศาลจะต้องมีคำสั่งลงไว้ในคำพิพากษาตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินฯ มาตรา 26 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 141(5) และมาตรา 167 ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ มิได้มีคำพิพากษาเกี่ยวกับเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมมาจึงไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า ซึ่งเป็นที่สุดตามมาตรา 18 วรรคหนึ่ง นั้น มีความหมายเพียงว่าผู้อุทธรณ์จะอุทธรณ์คำวินิจฉัยดังกล่าวต่อเจ้าพนักงานอื่นอีกไม่ได้เท่านั้น หากคำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวเป็นคำวินิจฉัยที่ไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้อุทธรณ์ย่อมมีสิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลเพื่อขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยดังกล่าวได้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินฯ มาตรา 26 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งหกเป็นคดีนี้ได้ชื่อเมืองหลวงของประเทศและชื่อทางภูมิศาสตร์อื่น ๆ ที่ประชาชนโดยทั่วไปรู้จักถือว่าเป็นชื่อทางภูมิศาสตร์ ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะ แต่คำว่า "PHOENIX" ไม่ถือว่าเป็นชื่อทางภูมิศาสตร์ เพราะเป็นเพียงชื่อเมืองหลวงของมลรัฐหนึ่งในประเทศสหรัฐอเมริกามิใช่ชื่อเมืองหลวงของประเทศสหรัฐอเมริกา และจะถือว่าเป็นชื่อทางภูมิศาสตร์อื่น ๆ เสียทีเดียวหาได้ไม่ เพราะยังจะต้องพิจารณาในรายละเอียดว่าเป็นชื่อเมืองที่ประชาชนทั่วไปรู้จักหรือไม่ หากประชาชนทั่วไปไม่รู้จักแล้วก็ถือว่าเป็นชื่อที่มีลักษณะบ่งเฉพาะซึ่งไม่ต้องห้ามมิให้รับจดทะเบียนแม้โจทก์จะมิได้มีคำขอมาท้ายฟ้องขอให้จำเลยทั้งหกร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ด้วย แต่ความรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมเป็นเรื่องที่ศาลจะต้องมีคำสั่งลงไว้ในคำพิพากษาตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินฯ มาตรา 26 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 141(5) และมาตรา 167 ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ มิได้มีคำพิพากษาเกี่ยวกับเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมมาจึงไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 608/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า: เครื่องหมายไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะตามกฎหมาย แม้จดทะเบียนในต่างประเทศก็ไม่อาจรับจดทะเบียนในไทยได้
แม้ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 18 วรรคหนึ่ง จะให้คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าเป็นที่สุดก็ตาม แต่หากคำวินิจฉัยดังกล่าวไม่ชอบหรือไม่ถูกต้องตามกฎหมายแล้ว ผู้อุทธรณ์ย่อมมีสิทธินำคดีมาฟ้องศาลเพื่อให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการดังกล่าวได้
โจทก์ขอจดทะเบียนการค้าคำว่า "JAVACAFE" ซึ่งสิ่งที่เป็นสาระสำคัญของคำดังกล่าวนอกจากอักษรโรมันติดกัน 8 พยางค์แล้ว สำเนียงเรียกขานก็ถือเป็นสาระสำคัญด้วยเพราะสามารถทำให้ประชาชนทราบและเข้าใจได้ว่าสินค้าที่มีเสียงเรียกขานของสินค้าดังกล่าวแตกต่างจากสินค้าอื่น คำว่า "JAVACAFE" สามารถแยกออกเป็น "JAVA"เรียกขานว่า "จาวา"หมายถึงชื่อเกาะในประเทศสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ซึ่งประชาชนทั่วไปรู้จักดีว่าหมายถึงเกาะชวา ซึ่งประกาศกระทรวงพาณิชย์ ฉบับที่ 5ฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์กำหนดให้ชื่อเมืองท่า จังหวัด... เกาะ เป็นชื่อทางภูมิศาสตร์ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 7 วรรคสอง (2) ดังนั้น "JAVA" หรือ"จาวา"จึงเป็นคำไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะส่วนคำว่า"CAFE"เรียกขานว่า"คาเฟ่" หมายถึงกาแฟ หรือภัตตาคารขนาดเล็ก ถือเป็นคำสามัญไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะเช่นเดียวกันแม้จะนำทั้งสองคำมาเขียนติดกันเป็น "JAVACAFE" เรียกขานว่า "จาวาคาเฟ่" และจะแปลไม่ได้ แต่ก็สามารถสื่อความหมายให้คนทั่วไปเข้าใจว่าหมายถึงกาแฟที่มีแหล่งกำเนิดมาจากเกาะชวาในประเทศสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ดังนั้น ตัวอักษรโรมันที่สะกดเป็นคำทั้งหมดไม่ว่าจะออกสำเนียงแยกหรือเป็นคำหรือรวมกัน เสียงเรียกขานก็ไม่แตกต่างกัน และสื่อความหมายให้ประชาชนทั่วไปเข้าใจว่าเป็นเครื่องหมายการค้าที่เล็งถึงลักษณะและแหล่งกำเนิดของสินค้านั้นโดยตรง จึงเป็นเครื่องหมายการค้าที่ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 7 วรรคสอง
การที่เครื่องหมายการค้าคำว่า "JAVACAFE" ของโจทก์ได้รับการจดทะเบียนมาแล้วในหลายประเทศนั้น ย่อมขึ้นอยู่กับกฎหมายของแต่ละประเทศที่จะวางหลักเกณฑ์ในการพิจารณาอย่างไร และความเห็นของนายทะเบียนในประเทศนั้น ๆ ไม่อาจนำมาเป็นเหตุผลให้นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าต้องรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์โดยไม่ต้องพิจารณาถึงหลักเกณฑ์ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าฯ ได้
โจทก์ขอจดทะเบียนการค้าคำว่า "JAVACAFE" ซึ่งสิ่งที่เป็นสาระสำคัญของคำดังกล่าวนอกจากอักษรโรมันติดกัน 8 พยางค์แล้ว สำเนียงเรียกขานก็ถือเป็นสาระสำคัญด้วยเพราะสามารถทำให้ประชาชนทราบและเข้าใจได้ว่าสินค้าที่มีเสียงเรียกขานของสินค้าดังกล่าวแตกต่างจากสินค้าอื่น คำว่า "JAVACAFE" สามารถแยกออกเป็น "JAVA"เรียกขานว่า "จาวา"หมายถึงชื่อเกาะในประเทศสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ซึ่งประชาชนทั่วไปรู้จักดีว่าหมายถึงเกาะชวา ซึ่งประกาศกระทรวงพาณิชย์ ฉบับที่ 5ฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์กำหนดให้ชื่อเมืองท่า จังหวัด... เกาะ เป็นชื่อทางภูมิศาสตร์ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 7 วรรคสอง (2) ดังนั้น "JAVA" หรือ"จาวา"จึงเป็นคำไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะส่วนคำว่า"CAFE"เรียกขานว่า"คาเฟ่" หมายถึงกาแฟ หรือภัตตาคารขนาดเล็ก ถือเป็นคำสามัญไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะเช่นเดียวกันแม้จะนำทั้งสองคำมาเขียนติดกันเป็น "JAVACAFE" เรียกขานว่า "จาวาคาเฟ่" และจะแปลไม่ได้ แต่ก็สามารถสื่อความหมายให้คนทั่วไปเข้าใจว่าหมายถึงกาแฟที่มีแหล่งกำเนิดมาจากเกาะชวาในประเทศสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ดังนั้น ตัวอักษรโรมันที่สะกดเป็นคำทั้งหมดไม่ว่าจะออกสำเนียงแยกหรือเป็นคำหรือรวมกัน เสียงเรียกขานก็ไม่แตกต่างกัน และสื่อความหมายให้ประชาชนทั่วไปเข้าใจว่าเป็นเครื่องหมายการค้าที่เล็งถึงลักษณะและแหล่งกำเนิดของสินค้านั้นโดยตรง จึงเป็นเครื่องหมายการค้าที่ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 7 วรรคสอง
การที่เครื่องหมายการค้าคำว่า "JAVACAFE" ของโจทก์ได้รับการจดทะเบียนมาแล้วในหลายประเทศนั้น ย่อมขึ้นอยู่กับกฎหมายของแต่ละประเทศที่จะวางหลักเกณฑ์ในการพิจารณาอย่างไร และความเห็นของนายทะเบียนในประเทศนั้น ๆ ไม่อาจนำมาเป็นเหตุผลให้นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าต้องรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์โดยไม่ต้องพิจารณาถึงหลักเกณฑ์ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าฯ ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2625/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลอกเลียนเครื่องหมายการค้า: การตัดต่อเครื่องหมายเดิมและการแสวงหาประโยชน์จากชื่อเสียงของผู้อื่น
โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าคำว่า"SIBELIUM""ไซบีเลี่ยม""สตูเจอร่อน""SIBELIUM"กับรูปม้าบนอักษร"J"และ"STUGERON"กับรูปม้าบนอักษร"J"โดยโจทก์ใช้กับสินค้ายารักษาโรคเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือดมาก่อนทั้งในประเทศและต่างประเทศจนเป็นที่แพร่หลายจำเลยเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าคำว่า"STUBELIUM"หลังโจทก์หลายปีโดยใช้กับสินค้ายาขยายหลอดเลือดและใช้ตัวยา"FLUNARIZINE"ตัวเดียวกับยาของโจทก์เครื่องหมายการค้า"STUBELIUM"ของจำเลยเป็นการผสมของพยางค์""STU+BELIUM"คำดังกล่าวเป็นอักษรโรมัน9ตัวอักษร3ตัวแรกตรงกับอักษร3ตัวแรกของคำว่า"STUGERON"และอักษร6ตัวหลังตรงกับอักษร6ตัวหลังของคำว่า"SIBELIUM"ซึ่งล้วนเป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์คำดังกล่าวเป็นคำที่ประดิษฐ์ขึ้นเฉพาะไม่ใช่คำที่ใช้สามัญอักษรโรมันมี26ตัวหากจำเลยคิดประดิษฐ์เองโดยไม่ได้เห็นคำทั้งสองที่โจทก์ประดิษฐ์ใช้มาก่อนโอกาสที่จะตรงกันถึง9ตัวเรียงกันเช่นนั้นย่อมเป็นไปได้ยากการที่โจทก์นำสืบถึงเครื่องหมายการค้าคำว่า"STUGERON"เพื่อให้เห็นถึงพฤติกรรมของจำเลยในประเด็นเกี่ยวกับที่มาของเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่จะให้เหมือนหรือคล้ายกันเครื่องหมายการค้าคำว่า"SIBELIUM"แม้โจทก์จะไม่ได้กล่าวถึงเครื่องหมายการค้าคำว่า"STUGERON"มาในฟ้องโจทก์ก็มีสิทธินำสืบและเป็นการนำสืบในประเด็นหาใช่นอกประเด็นไม่ กรณีพิพาทเรื่องเครื่องหมายการค้าที่ขอจดทะเบียนไม่ใช่วินิจฉัยแต่เพียงว่าเครื่องหมายการค้าทั้งสองจะต้องเหมือนกันทุกสิ่งทุกอย่างแต่ต้องวินิจฉัยว่าเครื่องหมายการค้านั้นชวนให้เห็นว่าเป็นลักษณะทำนองเดียวกันและเมื่อเทียบเคียงแล้วมีลักษณะแตกต่างกันบ้างจะชี้ขาดว่าไม่เหมือนกันไม่ได้ต้องเอามาเปรียบเทียบให้เห็นลักษณะในเวลาใช้อยู่ตามปกติและความสุจริตประกอบกับประเภทสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้ากับสภาพแห่งท้องตลาดการที่จำเลยนำเครื่องหมายการค้าที่แพร่หลายของโจทก์2เครื่องหมายมาตัดตอนหัวท้ายนำมาเป็นเครื่องหมายการค้าของจำเลยและใช้กับสินค้ายารักษาโรคชนิดเดียวกันโดยไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ลงทุนโฆษณาตามวิสัยทางการค้าเลยจึงเป็นการแสวงหาประโยชน์จากชื่อเสียงเกียรติคุณของโจทก์ถือได้ว่าจำเลยใช้สิทธิโดยไม่สุจริตการที่จำเลยลอกเครื่องหมายการค้าของโจทก์มาตัดต่อเป็นเครื่องหมายการค้าของจำเลยย่อมทำให้สาธารณชนสับสนอาจเข้าใจได้ว่าเป็นของโจทก์ได้ถือได้ว่าเครื่องหมายการค้าคำว่า"STUBELIUM"ของจำเลยเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าคำว่า"SIBELIUM"ของโจทก์ถึงขนาดเป็นการลวงสาธารณชนให้หลงผิดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2625/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้เครื่องหมายการค้าโดยไม่สุจริต เลียนแบบเครื่องหมายการค้าของผู้อื่น จนทำให้สาธารณชนสับสน
โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าคำว่า"SIBELIUM""ไซบีเลี่ยม""สตูเจอร่อน""SIBELIUM"กับรูปม้าบนอักษร"J"และ"STUGERON"กับรูปม้าบนอักษร"J"โดยโจทก์ใช้กับสินค้ายารักษาโรคเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือดมาก่อนทั้งในประเทศและต่างประเทศจนเป็นที่แพร่หลายจำเลยเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าคำว่า"STUBELIUM"หลังโจทก์หลายปีโดยใช้กับสินค้ายาขยายหลอดเลือดและใช้ตัวยา"FLUNARIZINE"ตัวเดียวกับยาของโจทก์เครื่องหมายการค้าคำว่า"STUBELIUM"ของจำเลยเป็นการผสมของพยางค์"STU+BELIUM"คำดังกล่าวเป็นอักษรโรมัน9ตัวอักษร3ตัวแรกตรงกับอักษร3ตัวแรกของคำว่า"STUGERON"และอักษร6ตัวหลังตรงกับอักษร6ตัวหลังของคำว่า"SIBELIUM"ซึ่งล้วนเป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์คำดังกล่าวเป็นคำที่ประดิษฐ์ขึ้นเฉพาะไม่ใช่คำที่ใช้สามัญอักษรโรมันมี26ตัวหากจำเลยคิดประดิษฐ์เองโดยไม่ได้เห็นคำทั้งสองที่โจทก์ประดิษฐ์ใช้มาก่อนโอกาสที่จะตรงกันถึง9ตัวเรียงกันเช่นนั้นย่อมเป็นไปได้ยากการที่โจทก์นำสืบถึงเครื่องหมายการค้าคำว่า"STUGERON"เพื่อให้เห็นถึงพฤติกรรมของจำเลยในประเด็นเกี่ยวกับที่มาของเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่จะให้เหมือนหรือคล้ายกันเครื่องหมายการค้าคำว่า"SIBELIUM"แม้โจทก์จะไม่ได้กล่าวถึงเครื่องหมายการค้าคำว่า"SIUGERON"มาในฟ้องโจทก์ก็มีสิทธินำสืบและเป็นการนำสืบในประเด็นหาใช่นอกประเด็นไม่ กรณีพิพาทเรื่องเครื่องหมายการค้าที่ขอจดทะเบียนไม่ใช่วินิจฉัยแต่เพียงว่าเครื่องหมายการค้าทั้งสองจะต้องเหมือนกันทุกอย่างแต่ต้องวินิจฉัยว่าเครื่องหมายการค้านั้นชวนให้เห็นว่าเป็นลักษณะทำนองเดียวกันและเมื่อเทียบเคียงแล้วมีลักษณะแตกต่างกันบ้างจะชี้ขาดว่าไม่เหมือนกันไม่ได้ต้องเอามาเปรียบเทียบให้เห็นลักษณะในเวลาใช้อยู่ตามปกติและความสุจริตประกอบกับประเภทสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้ากับสภาพแห่งท้องตลาดการที่จำเลยนำเครื่องหมายการค้าที่แพร่หลายของโจทก์2เครื่องหมายมาตัดตอนหัวท้ายนำมาเป็นเครื่องหมายการค้าของจำเลยและใช้กับสินค้ายารักษาโรคชนิดเดียวกันโดยไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ลงทุนโฆษณาตามวิสัยทางการค้าเลยจึงเป็นการแสวงหาประโยชน์จากชื่อเสียงเกียรติคุณของโจทก์ถือได้ว่าจำเลยใช้สิทธิโดยไม่สุจริตการที่จำเลยลอกเครื่องหมายการค้าของโจทก์มาติดต่อเป็นเครื่องหมายการค้าของจำเลยย่อมทำให้สาธารณชนสับสนอาจเข้าใจได้ว่าเป็นของโจทก์ได้ถือได้ว่าเครื่องหมายการค้าคำว่า"STUBELIUM"ของจำเลยเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าคำว่า"SIBELIUM"ของโจทก์ถึงขนาดเป็นการลวงสาธารณชนให้หลงผิดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2625/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้เครื่องหมายการค้าที่คล้ายคลึงกันจนทำให้สาธารณชนสับสน ถือเป็นการลอกเลียนแบบและแสวงหาประโยชน์จากชื่อเสียงผู้อื่น
โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าคำว่า "SIBELIUM""ไซบีเลี่ยม""สตูเจอร่อน""SIBELIUM" กับรูปม้าบนอักษร"J" และ "STUGERON" กับรูปม้าบนอักษร "J" โดยโจทก์ใช้กับสินค้ายารักษาโรคเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือดมาก่อนทั้งในประเทศและต่างประเทศจนเป็นที่แพร่หลาย จำเลยเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าคำว่า "STUBELIUM" หลังโจทก์หลายปีโดยใช้กับสินค้ายาขยายหลอดเลือด และใช้ตัวยา "FLUNARIZINE"ตัวเดียวกับยาของโจทก์ เครื่องหมายการค้า "STUBELIUM"ของจำเลยเป็นการผสมของพยางค์""STU+BELIUM" คำดังกล่าวเป็นอักษรโรมัน 9 ตัว อักษร 3 ตัวแรก ตรงกับอักษร 3 ตัวแรกของคำว่า "STUGERON" และอักษร 6 ตัวหลังตรงกับอักษร 6 ตัวหลังของคำว่า "SIBELIUM" ซึ่งล้วนเป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์คำดังกล่าวเป็นคำที่ประดิษฐ์ขึ้นเฉพาะ ไม่ใช่คำที่ใช้สามัญอักษรโรมันมี 26 ตัว หากจำเลยคิดประดิษฐ์เองโดยไม่ได้เห็นคำทั้งสองที่โจทก์ประดิษฐ์ใช้มาก่อน โอกาสที่จะตรงกันถึง 9 ตัวเรียงกันเช่นนั้นย่อมเป็นไปได้ยาก การที่โจทก์นำสืบถึงเครื่องหมายการค้าคำว่า "STUGERON" เพื่อให้เห็นถึงพฤติกรรมของจำเลยในประเด็นเกี่ยวกับที่มาของเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่จะให้เหมือนหรือคล้ายกันเครื่องหมายการค้าคำว่า"SIBELIUM" แม้โจทก์จะไม่ได้กล่าวถึงเครื่องหมายการค้าคำว่า "STUGERON" มาในฟ้อง โจทก์ก็มีสิทธินำสืบและเป็นการนำสืบในประเด็น หาใช่นอกประเด็นไม่ กรณีพิพาทเรื่องเครื่องหมายการค้าที่ขอจดทะเบียนไม่ใช่วินิจฉัยแต่เพียงว่าเครื่องหมายการค้าทั้งสองจะต้องเหมือนกันทุกสิ่งทุกอย่างแต่ต้องวินิจฉัยว่าเครื่องหมายการค้านั้นชวนให้เห็นว่าเป็นลักษณะทำนองเดียวกันและเมื่อเทียบเคียงแล้วมีลักษณะแตกต่างกันบ้าง จะชี้ขาดว่าไม่เหมือนกันไม่ได้ต้องเอามาเปรียบเทียบให้เห็นลักษณะในเวลาใช้อยู่ตามปกติและความสุจริตประกอบกับประเภทสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้ากับสภาพแห่งท้องตลาด การที่จำเลยนำเครื่องหมายการค้าที่แพร่หลายของโจทก์ 2 เครื่องหมาย มาตัดตอนหัวท้ายนำมาเป็นเครื่องหมายการค้าของจำเลย และใช้กับสินค้ายารักษาโรคชนิดเดียวกัน โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ลงทุนโฆษณาตามวิสัยทางการค้าเลย จึงเป็นการแสวงหาประโยชน์จากชื่อเสียงเกียรติคุณของโจทก์ ถือได้ว่าจำเลยใช้สิทธิโดยไม่สุจริตการที่จำเลยลอกเครื่องหมายการค้าของโจทก์มาตัดต่อเป็นเครื่องหมายการค้าของจำเลยย่อมทำให้สาธารณชนสับสนอาจเข้าใจได้ว่าเป็นของโจทก์ได้ ถือได้ว่าเครื่องหมายการค้าคำว่า "STUBELIUM" ของจำเลยเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าคำว่า "SIBELIUM" ของโจทก์ถึงขนาดเป็นการลวงสาธารณชนให้หลงผิดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2625/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้เครื่องหมายการค้าโดยไม่สุจริต เลียนแบบตัดต่อจนชวนสับสน ถือเป็นการลอกเลียนแบบที่ทำให้สาธารณชนหลงผิดได้
โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าคำว่า "SIBELIUM""ไซบีเลี่ยม" "สตูเจอร่อน" "SIBELIUM" กับรูปม้าบนอักษร "J" และ"STUGERON" กับรูปม้าบนอักษร "J" โดยโจทก์ใช้กับสินค้ายารักษาโรคเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือดมาก่อนทั้งในประเทศและต่างประเทศจนเป็นที่แพร่หลายจำเลยเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าคำว่า "STUBELIUM" หลังโจทก์หลายปีโดยใช้กับสินค้ายาขยายหลอดเลือด และใช้ตัวยา "FLUNARIZINE" ตัวเดียวกับยาของโจทก์ เครื่องหมายการค้าคำว่า "STUBELIUM" ของจำเลยเป็นการผสมของพยางค์ ""STU + BELIUM" คำดังกล่าวเป็นอักษรโรมัน 9 ตัว อักษร 3 ตัวแรกตรงกับอักษร 3 ตัวแรกของคำว่า "STUGERON" และอักษร 6 ตัวหลังตรงกับอักษร 6 ตัวหลังของคำว่า "SIBELIUM" ซึ่งล้วนเป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์คำดังกล่าวเป็นคำที่ประดิษฐ์ขึ้นเฉพาะ ไม่ใช่คำที่ใช้สามัญ อักษรโรมันมี 26 ตัวหากจำเลยคิดประดิษฐ์เองโดยไม่ได้เห็นคำทั้งสองที่โจทก์ประดิษฐ์ใช้มาก่อน โอกาสที่จะตรงกันถึง 9 ตัว เรียงกันเช่นนั้นย่อมเป็นไปได้ยาก การที่โจทก์นำสืบถึงเครื่องหมายการค้าคำว่า "STUGERON" เพื่อให้เห็นถึงพฤติกรรมของจำเลยในประเด็นเกี่ยวกับที่มาของเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่จะให้เหมือนหรือคล้ายกันเครื่องหมายการค้าคำว่า "SIBELIUM" แม้โจทก์จะไม่ได้กล่าวถึงเครื่องหมายการค้าคำว่า "STUGERON" มาในฟ้อง โจทก์ก็มีสิทธินำสืบและเป็นการนำสืบในประเด็น หาใช่นอกประเด็นไม่
กรณีพิพาทเรื่องเครื่องหมายการค้าที่ขอจดทะเบียนไม่ใช่วินิจฉัยแต่เพียงว่าเครื่องหมายการค้าทั้งสองจะต้องเหมือนกันทุกสิ่งทุกอย่างแต่ต้องวินิจฉัยว่าเครื่องหมายการค้านั้นชวนให้เห็นว่าเป็นลักษณะทำนองเดียวกันและเมื่อเทียบเคียงแล้วมีลักษณะแตกต่างกันบ้าง จะชี้ขาดว่าไม่เหมือนกันไม่ได้ต้องเอามาเปรียบเทียบให้เห็นลักษณะในเวลาใช้อยู่ตามปกติและความสุจริตประกอบกับประเภทสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้ากับสภาพแห่งท้องตลาด การที่จำเลยนำเครื่องหมายการค้าที่แพร่หลายของโจทก์ 2 เครื่องหมาย มาตัดตอนหัวท้ายนำมาเป็นเครื่องหมายการค้าของจำเลย และใช้กับสินค้ายารักษาโรคชนิดเดียวกัน โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ลงทุนโฆษณาตามวิสัยทางการค้าเลยจึงเป็นการแสวงหาประโยชน์จากชื่อเสียงเกียรติคุณของโจทก์ ถือได้ว่าจำเลยใช้สิทธิโดยไม่สุจริต การที่จำเลยลอกเครื่องหมายการค้าของโจทก์มาตัดต่อเป็นเครื่องหมายการค้าของจำเลยย่อมทำให้สาธารณชนสับสนอาจเข้าใจได้ว่าเป็นของโจทก์ได้ ถือได้ว่าเครื่องหมายการค้าคำว่า "STUBELIUM" ของจำเลยเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าคำว่า "SIBELIUM" ของโจทก์ถึงขนาดเป็นการลวงสาธารณชนให้หลงผิดได้
(เสริม บุญทรงสันติกุล - ยงยุทธ ธารีสาร - มงคลสระฏัน)ศาลแพ่ง นางสาวสุมาณี ทองภักดีศาลอุทธรณ์ นายสมชาย จุลนิติ์
นายสุพิศ ปราณีตพลกรัง - ย่อ
เยาวลักษณ์ พ/ท
กรณีพิพาทเรื่องเครื่องหมายการค้าที่ขอจดทะเบียนไม่ใช่วินิจฉัยแต่เพียงว่าเครื่องหมายการค้าทั้งสองจะต้องเหมือนกันทุกสิ่งทุกอย่างแต่ต้องวินิจฉัยว่าเครื่องหมายการค้านั้นชวนให้เห็นว่าเป็นลักษณะทำนองเดียวกันและเมื่อเทียบเคียงแล้วมีลักษณะแตกต่างกันบ้าง จะชี้ขาดว่าไม่เหมือนกันไม่ได้ต้องเอามาเปรียบเทียบให้เห็นลักษณะในเวลาใช้อยู่ตามปกติและความสุจริตประกอบกับประเภทสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้ากับสภาพแห่งท้องตลาด การที่จำเลยนำเครื่องหมายการค้าที่แพร่หลายของโจทก์ 2 เครื่องหมาย มาตัดตอนหัวท้ายนำมาเป็นเครื่องหมายการค้าของจำเลย และใช้กับสินค้ายารักษาโรคชนิดเดียวกัน โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ลงทุนโฆษณาตามวิสัยทางการค้าเลยจึงเป็นการแสวงหาประโยชน์จากชื่อเสียงเกียรติคุณของโจทก์ ถือได้ว่าจำเลยใช้สิทธิโดยไม่สุจริต การที่จำเลยลอกเครื่องหมายการค้าของโจทก์มาตัดต่อเป็นเครื่องหมายการค้าของจำเลยย่อมทำให้สาธารณชนสับสนอาจเข้าใจได้ว่าเป็นของโจทก์ได้ ถือได้ว่าเครื่องหมายการค้าคำว่า "STUBELIUM" ของจำเลยเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าคำว่า "SIBELIUM" ของโจทก์ถึงขนาดเป็นการลวงสาธารณชนให้หลงผิดได้
(เสริม บุญทรงสันติกุล - ยงยุทธ ธารีสาร - มงคลสระฏัน)ศาลแพ่ง นางสาวสุมาณี ทองภักดีศาลอุทธรณ์ นายสมชาย จุลนิติ์
นายสุพิศ ปราณีตพลกรัง - ย่อ
เยาวลักษณ์ พ/ท