คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 ม. 160 วรรคหนึ่ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1368/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจอดรถกีดขวางทาง-ประมาททำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ศาลยกฟ้องข้อหาจอดรถ และให้รอการลงโทษ
ผู้กระทำความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ มาตรา 78 วรรคหนึ่ง, 160 วรรคหนึ่ง ต้องเป็นผู้ขับรถในทางซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่นและไม่หยุดให้ความช่วยเหลือพร้อมแสดงตัวและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งการจะเป็นความผิดดังกล่าวได้ ต้องเป็นผู้ขับรถที่กำลังแล่นอยู่ หาใช่กรณีผู้ขับรถที่จอดหรือหยุดรถไม่ เมื่อเหตุเกิดขณะจำเลยจอดรถ จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานขับรถในทางซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่นตามบทมาตราดังกล่าว ปัญหาดังกล่าวแม้จำเลยที่ 1 จะไม่ได้ยกขึ้นในชั้นอุทธรณ์และฎีกา แต่เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและพิพากษายกฟ้องในข้อหาดังกล่าวได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง, 215, 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2429/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบรรยายฟ้องความผิด พ.ร.บ.จราจร ต้องระบุเจตนา 'ไม่คำนึงถึงความปลอดภัย' จึงจะลงโทษฐานขับรถประมาทได้
โจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่า จำเลยขับรถด้วยความประมาท เป็นเหตุให้ผู้เสียหายที่ 1 ได้รับอันตรายสาหัส และผู้เสียหายที่ 2 ถึงที่ 4 ได้รับอันตรายแก่กาย โดยโจทก์มิได้บรรยายฟ้องให้เห็นว่าจำเลยขับรถโดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยหรือความเดือดร้อนของผู้อื่นอันเป็นการไม่ปฏิบัติตามมาตรา 43 (8) แห่ง พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 คดีจึงไม่อาจลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 160 วรรคสาม ได้ ปัญหานี้แม้คู่ความมิได้อุทธรณ์ฎีกา แต่เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2429/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบรรยายฟ้องไม่ชัดเจนเกี่ยวกับความประมาทเลินเล่อและการขาดอายุความของคดีอาญา ส่งผลต่อการพิพากษา
โจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่า จำเลยขับรถด้วยความประมาท เป็นเหตุให้ผู้เสียหายที่ 1 ได้รับอันตรายสาหัส และผู้เสียหายที่ 2 ถึงที่ 4 ได้รับอันตรายแก่กาย โดยโจทก์มิได้บรรยายฟ้องให้เห็นว่าจำเลยขับรถโดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยหรือความเดือดร้อนของผู้อื่นอันเป็นการไม่ปฏิบัติตามมาตรา 43 (8) แห่ง พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ คดีจึงไม่อาจลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ มาตรา 160 วรรคสาม ได้ ปัญหานี้แม้คู่ความมิได้อุทธรณ์ฎีกา แต่เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8663/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของผู้ขับรถที่หยุดรอโดยสารหลังเกิดอุบัติเหตุ ผู้ขับไม่ถือเป็นผู้ก่อให้เกิดความเสียหาย
ผู้ขับรถในทางซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินที่ต้องหยุดรถให้ความช่วยเหลือพร้อมทั้งแสดงตัวและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ใกล้เคียงทันทีไม่ว่าจะเป็นความผิดของผู้ขับขี่หรือไม่ ตาม พ.ร.บ.จราจร ทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 78 หมายถึง ผู้ควบคุมรถที่กำลังแล่นอยู่และมีความเสียหายเกิดขึ้น หาใช่ผู้ขับรถที่จอดอยู่หรือหยุดอยู่ไม่
จำเลยหยุดรถในช่องเดินรถด้ายซ้ายอยู่แล้ว โดยมีผู้โดยสารกำลังขึ้นรถ มิใช่ขับมาแล้วหยุดกะทันหัน การที่ผู้ตายขับรถจักรยานยนต์มาด้วยความประมาทเฉี่ยวชนท้ายรถแท๊กซี่ที่จำเลยขับ จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยเป็นผู้ก่อความเสียหายอันจะต้องหยุดรถให้ความช่วยเหลือและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 78, 160 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7282/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทในการขับรถบรรทุกที่บรรทุกของยื่นเกินความยาวตัวรถ และการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายความปลอดภัย
รถบรรทุกคันที่จำเลยขับเป็นรถที่บรรทุกอ้อยยื่นเกินความยาวของตัวรถขณะที่อยู่ในทางเดินรถ และถนนที่เกิดเหตุมีแสงสว่างเพียงพอที่จะทำให้มองเห็นรถจำเลยได้โดยชัดแจ้งภายในระยะไม่น้อยกว่า 150 เมตร จำเลยซึ่งเป็น ผู้ขับรถในทางต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 11 มาตรา 15 กฎกระทรวงฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2522) และข้อกำหนดกรมตำรวจ คือต้องใช้หรือมีโคมไฟแสงแดงติดไว้ที่ปลายสุดของต้นอ้อยส่วนที่ยื่นล้ำออกนอกท้ายรถจำเลยโดยให้ไฟสัญญาณแสงแดงส่องออกท้ายรถให้สามารถเห็นแสงไฟได้ชัดเจนในระยะไม่น้อยกว่า 150 เมตร
การที่จำเลยขับรถบรรทุกคันเกิดเหตุซึ่งเป็นรถที่บรรทุกต้นอ้อยยื่นล้ำออกนอกตัวรถโดยไม่มีโคมไฟแสงแดง ติดไว้ที่ปลายสุดของต้นอ้อยส่วนที่ยื่นออกไปด้วย ทำให้รถยนต์ที่ ถ. ขับตามหลังมาไม่สามารถมองเห็นรถจำเลยหรือแสงไฟได้ชัดเจนในระยะไม่น้อยกว่า 150 เมตร การกระทำของจำเลยเป็นการขับรถโดยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติตาม พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 11 มาตรา 15 กฎกระทรวงฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2522 ) และข้อกำหนดกรมตำรวจ ซึ่งเป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นเพื่อความปลอดภัยในการขับรถ และการกระทำดังกล่าวเป็นสาเหตุโดยตรงที่ทำให้รถยนต์ ที่ ถ. ขับพุ่งชนท้ายรถบรรทุกที่จำเลยขับ จนเป็นเหตุให้ ถ. ได้รับบาดเจ็บสาหัสถือได้ว่าจำเลยขับรถโดยประมาท ส่วนที่ ถ. ขับรถโดยประมาทด้วย ก็หาทำให้การกระทำของจำเลยที่เป็นการกระทำโดยประมาทกลับเป็นไม่ประมาทไปได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2870/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีจราจร: ศาลฎีกายกฟ้องข้อหาจราจรที่ขาดอายุความ แม้ไม่มีการอุทธรณ์
ข้อหาความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ.2522มาตรา43,78,157,160วรรคหนึ่งมีอัตราโทษจำคุกตั้งแต่1เดือนลงมาจึงมีอายุความเพียง1ปีตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา95(5)จำเลยกระทำความผิดวันที่4มกราคม2529นับถึงวันฟ้องคือวันที่8มิถุนายน2537คดีของโจทก์สำหรับความผิดตามมาตราดังกล่าวจึงเป็นอันขาดอายุความสิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา39(6)ปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ฎีกาศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2870/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีจราจร: ศาลฎีกาพิจารณาเองได้แม้ไม่มีการอุทธรณ์
ข้อหาความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา43, 78, 157, 160 วรรคหนึ่ง มีอัตราโทษจำคุกตั้งแต่ 1 เดือนลงมา จึงมีอายุความเพียง 1 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 95 (5) จำเลยกระทำความผิดวันที่ 4 มกราคม 2529 นับถึงวันฟ้องคือวันที่ 8 มิถุนายน 2537 คดีของโจทก์สำหรับความผิดตามมาตราดังกล่าวจึงเป็นอันขาดอายุความ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไป ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (6) ปัญหานี้ แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ฎีกาศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้