พบผลลัพธ์ทั้งหมด 9 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 547/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ การร่วมรับผิดของผู้ประกอบการขนส่งและผู้รับประกันภัย รวมถึงดอกเบี้ยผิดนัด
คดีนี้จำเลยทั้งสามให้การว่า ฟ้องโจทก์ขาดอายุความละเมิดเพราะฟ้องเกิน 1 ปี นับแต่วันเกิดเหตุละเมิด แต่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าเป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้ง เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง จำเลยทั้งสามหาจำต้องอุทธรณ์ในประเด็นนี้ไม่ แต่เมื่อโจทก์อุทธรณ์ในประเด็นอื่น จำเลยทั้งสามได้กล่าวคำแก้อุทธรณ์ว่าคำให้การของจำเลยทั้งสามชัดแจ้งและฟ้องโจทก์ขาดอายุความแล้ว คดีจึงมีประเด็นตามคำแก้อุทธรณ์ แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ไม่วินิจฉัยให้ เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาเห็นสมควรหยิบยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยโดยไม่จำต้องย้อนสำนวนให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยก่อน
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดในฐานะผู้กระทำละเมิด ให้จำเลยที่ 2 รับผิดในฐานะนายจ้างซึ่งต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ที่กระทำละเมิดในทางการที่จ้าง และให้จำเลยที่ 3 รับผิดในฐานะผู้รับประกันภัย จำเลยที่ 2 ไม่ได้ให้การชัดแจ้งว่าโจทก์รู้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นนายจ้างต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 เมื่อไร จำเลยที่ 3 ก็ไม่ได้ให้การชัดแจ้งเรื่องอายุความตามสัญญาประกันภัย ดังนี้ ที่ศาลชั้นต้นเห็นว่า ตามคำให้การจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่า ฟ้องโจทก์ขาดอายุความนั้น ชอบแล้ว สำหรับจำเลยที่ 1 ที่เป็นผู้กระทำละเมิดตามคำให้การย่อมเป็นการแสดงเหตุแห่งการขาดอายุความให้เป็นที่เข้าใจแล้วว่า นับแต่วันเกิดเหตุละเมิดถึงวันฟ้องคดีโจทก์ขาดอายุความ 1 ปีแล้ว เฉพาะคำให้การของจำเลยที่ 1 จึงชัดแจ้งชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง แล้ว ปัญหาเรื่องอายุความจึงเป็นประเด็นในคดี โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 กระทำละเมิดต่อโจทก์ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย และโจทก์ได้ฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดีอาญา ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดตาม ป.อ. มาตรา 300 ตามคดีอาญาหมายเลขแดงที่ อ. 4677/2560 ของศาลชั้นต้น กรณีจึงเป็นการฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา เมื่อปรากฏตามคำฟ้องว่า คดีอาญาถึงที่สุดก่อนโจทก์ฟ้องคดีแพ่ง การฟ้องคดีแพ่งย่อมมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา193/32 โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องคดีแพ่งเรียกค่าเสียหายภายในกำหนดอายุความ 10 ปี ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 51 วรรคสาม ประกอบ ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคสอง เมื่อโจทก์รู้ตัวผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทนว่าเป็นจำเลยที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม 2559 อันเป็นวันเกิดเหตุละเมิด โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2561 คดีโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 จึงยังไม่ขาดอายุความ
จำเลยที่ 3 เป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุน ไม่ใช่ผู้ทำละเมิดหรือต้องร่วมรับผิดกับผู้ทำละเมิด จำเลยที่ 3 จึงไม่ต้องรับผิดในดอกเบี้ยนับแต่วันที่ทำละเมิด ประกอบกับหนี้หรือค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัยค้ำจุนมิได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ตามวันแห่งปฏิทินและโจทก์ไม่ได้ทวงถามจำเลยที่ 3 ให้ชำระหนี้ก่อน ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 ตกเป็นผู้ผิดนัดมาก่อนที่โจทก์จะนำคดีมาฟ้อง จำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดชดใช้ดอกเบี้ยตั้งแต่วันฟ้องเป็นตันไป ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาให้จำเลยที่ 3 ร่วมรับผิดในดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 15 กรกฎาคม 2559 ซึ่งเป็นวันทำละเมิด จึงไม่ชอบ
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดในฐานะผู้กระทำละเมิด ให้จำเลยที่ 2 รับผิดในฐานะนายจ้างซึ่งต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ที่กระทำละเมิดในทางการที่จ้าง และให้จำเลยที่ 3 รับผิดในฐานะผู้รับประกันภัย จำเลยที่ 2 ไม่ได้ให้การชัดแจ้งว่าโจทก์รู้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นนายจ้างต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 เมื่อไร จำเลยที่ 3 ก็ไม่ได้ให้การชัดแจ้งเรื่องอายุความตามสัญญาประกันภัย ดังนี้ ที่ศาลชั้นต้นเห็นว่า ตามคำให้การจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่า ฟ้องโจทก์ขาดอายุความนั้น ชอบแล้ว สำหรับจำเลยที่ 1 ที่เป็นผู้กระทำละเมิดตามคำให้การย่อมเป็นการแสดงเหตุแห่งการขาดอายุความให้เป็นที่เข้าใจแล้วว่า นับแต่วันเกิดเหตุละเมิดถึงวันฟ้องคดีโจทก์ขาดอายุความ 1 ปีแล้ว เฉพาะคำให้การของจำเลยที่ 1 จึงชัดแจ้งชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง แล้ว ปัญหาเรื่องอายุความจึงเป็นประเด็นในคดี โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 กระทำละเมิดต่อโจทก์ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย และโจทก์ได้ฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดีอาญา ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดตาม ป.อ. มาตรา 300 ตามคดีอาญาหมายเลขแดงที่ อ. 4677/2560 ของศาลชั้นต้น กรณีจึงเป็นการฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา เมื่อปรากฏตามคำฟ้องว่า คดีอาญาถึงที่สุดก่อนโจทก์ฟ้องคดีแพ่ง การฟ้องคดีแพ่งย่อมมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา193/32 โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องคดีแพ่งเรียกค่าเสียหายภายในกำหนดอายุความ 10 ปี ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 51 วรรคสาม ประกอบ ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคสอง เมื่อโจทก์รู้ตัวผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทนว่าเป็นจำเลยที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม 2559 อันเป็นวันเกิดเหตุละเมิด โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2561 คดีโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 จึงยังไม่ขาดอายุความ
จำเลยที่ 3 เป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุน ไม่ใช่ผู้ทำละเมิดหรือต้องร่วมรับผิดกับผู้ทำละเมิด จำเลยที่ 3 จึงไม่ต้องรับผิดในดอกเบี้ยนับแต่วันที่ทำละเมิด ประกอบกับหนี้หรือค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัยค้ำจุนมิได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ตามวันแห่งปฏิทินและโจทก์ไม่ได้ทวงถามจำเลยที่ 3 ให้ชำระหนี้ก่อน ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 ตกเป็นผู้ผิดนัดมาก่อนที่โจทก์จะนำคดีมาฟ้อง จำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดชดใช้ดอกเบี้ยตั้งแต่วันฟ้องเป็นตันไป ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาให้จำเลยที่ 3 ร่วมรับผิดในดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 15 กรกฎาคม 2559 ซึ่งเป็นวันทำละเมิด จึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 22850/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางแพ่งและอาญาของเจ้าหน้าที่รัฐและผู้รับจ้างเอกชน กรณีตรวจรับงานบกพร่อง ทำให้เกิดความเสียหายต่อรัฐ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ตามสัญญาจ้างเหมาติดตั้งระบบไฟฟ้าบกระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 5 ข้อ 4 เกี่ยวกับการส่งมอบงานงวดที่ 3 อันเป็นงวดสุดท้าย คู่สัญญาทั้งผู้ว่าจ้างและผู้รับจ้างต้องมีการทดลองระบบทุกระบบที่ติดตั้งให้คณะกรรมการตรวจการจ้างรับว่าใช้ราชการได้ดี แต่ในการตรวจรับงานงวดที่ 3 จำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ไม่ได้ทำการทดลองทุกระบบ รวมทั้งไม่ได้ทดลองจ่ายไฟฟ้าบกให้แก่เรือรบหลวงตามสัญญาอันจะทำให้ทราบว่าระบบไฟฟ้าบกใช้ราชการได้ดีหรือไม่ และต่อมาเมื่อมีการใช้ระบบไฟฟ้าบกแก่เรือรบหลวง ปรากฏว่าไม่สามารถใช้ได้ตามสัญญา เป็นเหตุให้เรือรบหลวง 5 ลำ ต้องเดินเครื่องกำเนิดไฟฟ้าในเรือซึ่งต้องเสียค่าใช้จ่ายเป็นค่าน้ำมันเชื้อเพลิง น้ำมันหล่อลื่น ค่าบำรุงรักษา และค่าสึกหรอของเครื่องยนต์กำเนิดไฟฟ้าสูงกว่าการใช้ระบบไฟฟ้าบกเป็นเงิน 4,591,790.07 บาท นั้น เห็นได้ว่า คำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่าโจทก์กล่าวอ้างว่า จำเลยที่ 5 ปฏิบัติตามสัญญาจ้างเหมาติดตั้งระบบไฟฟ้าบกไม่ครบถ้วน และไม่มีประสิทธิภาพตามสัญญา อันเป็นการปฏิบัติผิดสัญญา และเรียกค่าเสียหายที่เกิดขึ้นเนื่องจากเหตุที่ปฏิบัติผิดสัญญาจ้างทำของ ซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงเป็นกรณีตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 ที่บัญญัติให้มีกำหนดอายุความ 10 ปี โดยสิทธิเรียกร้องตามคำฟ้องดังกล่าวมิใช่สิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 5 รับผิดเพื่อการที่ทำชำรุดบกพร่องในตัวทรัพย์อันจะมีอายุความ 1 ปี ตามมาตรา 601 แต่อย่างใด ดังนี้ เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าโจทก์รับมอบงานจากจำเลยที่ 5 ในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2531 วันดังกล่าวจึงเป็นวันที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้จากการที่จำเลยที่ 5 ผิดสัญญา การที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยที่ 5 เพราะเหตุปฏิบัติผิดสัญญาต่อโจทก์ในวันที่ 25 กันยายน 2540 จึงไม่ขาดอายุความ
โจทก์ว่าจ้างจำเลยที่ 5 ให้ติดตั้งระบบไฟฟ้าบกก็เพื่อให้สามารถส่งกระแสไฟฟ้าจากภาคพื้นดินให้แก่เรือรบหลวงที่จอดเทียบท่าเทียบเรือแหลมเทียน ฐานทัพเรือสัตหีบ ทำให้เรือรบหลวงนั้นไม่ต้องใช้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าให้ต้องสิ้นเปลืองค่าน้ำมันเชื้อเพลิง น้ำมันหล่อลื่น และเครื่องยนต์สึกหรอ และงานการติดตั้งระบบไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้าตามรูปแบบที่กำหนดตามสัญญาดังกล่าวก็มีรายละเอียดมาก ทั้งงานทั้งระบบก็มีมูลค่าค่าจ้างสูงถึง 5,600,000 บาท ย่อมมีเหตุผลที่โจทก์จะต้องตรวจสอบระบบและอุปกรณ์ต่าง ๆ ทั้งหมดให้ใช้งานได้ตามวัตถุประสงค์ในการจ้างติดตั้งระบบไฟฟ้าบกดังกล่าวอย่างมีประสิทธิภาพสมบูรณ์ โดยมีการกำหนดเป็นข้อสัญญาว่า ต้องมีการทดลองระบบไฟฟ้าที่ติดตั้งทุกระบบ ให้คณะกรรมการตรวจการจ้างได้ตรวจสอบและรับว่าใช้ราชการได้ดีด้วยนั้นเป็นข้อสำคัญที่จำเลยที่ 5 ต้องปฏิบัติตามข้อสัญญานี้ โดยต้องทดลองในสภาพเช่นเดียวกับการใช้งานจริงตามวัตถุประสงค์ของสัญญาที่มีการจ่ายกระแสไฟฟ้าผ่านระบบนี้ให้แก่เรือรบหลวงด้วย มิใช่เพียงทดลองตรวจสอบระบบที่ติดตั้งโดยไม่ต้องทดลองจ่ายไฟฟ้าแก่เรือรบหลวงดังที่จำเลยที่ 5 ให้การแต่อย่างใด จำเลยที่ 5 มิได้ทดลองจ่ายไฟฟ้าตามระบบที่ติดตั้งนี้ให้แก่เรือรบหลวงที่จอดเทียบท่าเทียบเรือแหลมเทียนว่าใช้งานได้เรียบร้อยดีหรือไม่ ย่อมเป็นการที่จำเลยที่ 5 ยังมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องครบถ้วนตามข้อสัญญาดังกล่าว อันเป็นการปฏิบัติผิดสัญญาแล้ว
คดีอาญาหมายเลขแดงที่ 363/2537 ของศาลทหารกรุงเทพ ซึ่งกองทัพเรือโจทก์ในคดีนี้เป็นผู้เสียหายจากการกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 โดยอัยการศาลทหารกรุงเทพดำเนินคดีแทนโจทก์ ดังนั้น โจทก์และจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ในคดีอาญาจึงเป็นคู่ความเดียวกันกับคดีนี้ และปัญหาข้อเท็จจริงในคดีอาญาว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์คดีนี้หรือไม่ จึงเป็นประเด็นโดยตรงที่โจทก์นำมาฟ้องในทางแพ่งเป็นคดีนี้ ขอให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ร่วมกันรับผิดในมูลละเมิดอันเกิดจากการกระทำของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ในคดีอาญาดังกล่าว และปรากฏตามคำพิพากษาคดีอาญาว่า มีการกล่าวอ้างและสืบพยานหลักฐานในปัญหาข้อเท็จจริงนี้แล้ว ซึ่งในที่สุดศาลทหารกรุงเทพก็ได้วินิจฉัยถึงสัญญาจ้างเหมาติดตั้งระบบไฟฟ้าบกว่า คณะกรรมการตรวจการจ้างมีหน้าที่ต้องให้ผู้รับจ้างทดลองระบบทุกระบบรวมถึงการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้แก่เรือด้วย และวินิจฉัยฟังข้อเท็จจริงว่า ผู้รับจ้างไม่ได้ทดลองระบบทุกระบบต่อจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ซึ่งเป็นคณะกรรมการตรวจการจ้าง และจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ไม่ได้ทดลองจ่ายกระแสไฟฟ้าให้แก่เรือ ทั้ง ๆ ที่ในวันตรวจรับงานมีเรือจอดที่ท่าเทียบเรือ การตรวจรับงานงวดที่ 3 ของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เป็นเหตุให้ทางราชการกองทัพเรือได้รับความเสียหาย และเมื่อคดีนี้เป็นคดีแพ่งที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าเสียหายตามสิทธิเรียกร้องในมูลละเมิดที่เกิดจากการกระทำความผิดอาญาของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ในคดีดังกล่าว คดีนี้จึงเป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาซึ่งศาลทหารกรุงเทพได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว คำพิพากษาของศาลทหารกรุงเทพจึงย่อมมีผลผูกพันจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ในคดีนี้ และศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีอาญาของศาลทหารกรุงเทพดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ตาม พ.ร.บ.ธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ.2498 มาตรา 54 จึงต้องฟังว่า จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 จงใจกระทำละเมิดต่อโจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ซึ่งจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 ตามคำฟ้อง
สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในการยื่นฟ้องคดีแพ่งคดีนี้ย่อมเป็นสิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นโดยคำพิพากษาของศาลที่ถึงที่สุดอันมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/32 และ ป.วิ.อ. มาตรา 51 วรรคสาม ไม่ใช่มีกำหนดอายุความ 1 ปี นับแต่วันที่ผู้เสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือ 10 ปี นับแต่วันทำละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคหนึ่ง แต่อย่างใด
ค่าเสียหายที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ต้องรับผิดชดใช้แก่โจทก์นั้น ไม่ใช่กรณีที่ต้องถือข้อเท็จจริงตามคดีอาญาของศาลทหารกรุงเทพ หากแต่ต้องพิจารณาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยความรับผิดของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ในทางแพ่งเกี่ยวกับความรับผิดในค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 47 วรรคหนึ่ง และ ป.พ.พ. มาตรา 424
จำเลยที่ 5 ไม่ได้ทดลองจ่ายไฟฟ้าในระบบไฟฟ้าบกแก่เรือจริง แต่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ก็ยังยอมรับมอบงานและรับรองว่างานถูกต้องตามสัญญาอันเป็นการเอื้อต่อการปฏิบัติผิดสัญญาของจำเลยที่ 5 โดยมิชอบ จนเกิดความเสียหายแก่โจทก์ที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเดินเครื่องกำเนิดไฟฟ้าในเรือรบหลวงในช่วงเวลาที่ต้องตรวจสอบเหตุบกพร่องของระบบไฟฟ้าบกที่จำเลยที่ 5 รับจ้างโจทก์ติดตั้ง อันมีเหตุแห่งความเสียหายและลักษณะแห่งความเสียหายเดียวกัน ย่อมมีผลให้มีจำนวนค่าเสียหายจำนวนเดียวกัน โดยตามพฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ก็ไม่มีเหตุที่ควรกำหนดค่าเสียหายแตกต่างกัน จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์เป็นเงินจำนวน 1,000,000 บาท เช่นเดียวกับที่จำเลย ที่ 5 ต้องรับผิดจากการผิดสัญญา โดยจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ผู้ร่วมกันทำละเมิดต้องรับผิดร่วมกันอย่างลูกหนี้ร่วม แต่สำหรับจำเลยที่ 5 แม้ต้องรับผิดในหนี้จำนวนเดียวแต่เป็นหนี้เงินซึ่งมิใช่หนี้ที่ไม่อาจแบ่งแยกกันชำระได้ ทั้งมูลเหตุแห่งความรับผิดในมูลละเมิดและการผิดสัญญาก็แตกต่างกัน จำเลยที่ 5 จึงมิใช่ลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ทั้งนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 290
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 3/2555)
โจทก์ว่าจ้างจำเลยที่ 5 ให้ติดตั้งระบบไฟฟ้าบกก็เพื่อให้สามารถส่งกระแสไฟฟ้าจากภาคพื้นดินให้แก่เรือรบหลวงที่จอดเทียบท่าเทียบเรือแหลมเทียน ฐานทัพเรือสัตหีบ ทำให้เรือรบหลวงนั้นไม่ต้องใช้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าให้ต้องสิ้นเปลืองค่าน้ำมันเชื้อเพลิง น้ำมันหล่อลื่น และเครื่องยนต์สึกหรอ และงานการติดตั้งระบบไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้าตามรูปแบบที่กำหนดตามสัญญาดังกล่าวก็มีรายละเอียดมาก ทั้งงานทั้งระบบก็มีมูลค่าค่าจ้างสูงถึง 5,600,000 บาท ย่อมมีเหตุผลที่โจทก์จะต้องตรวจสอบระบบและอุปกรณ์ต่าง ๆ ทั้งหมดให้ใช้งานได้ตามวัตถุประสงค์ในการจ้างติดตั้งระบบไฟฟ้าบกดังกล่าวอย่างมีประสิทธิภาพสมบูรณ์ โดยมีการกำหนดเป็นข้อสัญญาว่า ต้องมีการทดลองระบบไฟฟ้าที่ติดตั้งทุกระบบ ให้คณะกรรมการตรวจการจ้างได้ตรวจสอบและรับว่าใช้ราชการได้ดีด้วยนั้นเป็นข้อสำคัญที่จำเลยที่ 5 ต้องปฏิบัติตามข้อสัญญานี้ โดยต้องทดลองในสภาพเช่นเดียวกับการใช้งานจริงตามวัตถุประสงค์ของสัญญาที่มีการจ่ายกระแสไฟฟ้าผ่านระบบนี้ให้แก่เรือรบหลวงด้วย มิใช่เพียงทดลองตรวจสอบระบบที่ติดตั้งโดยไม่ต้องทดลองจ่ายไฟฟ้าแก่เรือรบหลวงดังที่จำเลยที่ 5 ให้การแต่อย่างใด จำเลยที่ 5 มิได้ทดลองจ่ายไฟฟ้าตามระบบที่ติดตั้งนี้ให้แก่เรือรบหลวงที่จอดเทียบท่าเทียบเรือแหลมเทียนว่าใช้งานได้เรียบร้อยดีหรือไม่ ย่อมเป็นการที่จำเลยที่ 5 ยังมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องครบถ้วนตามข้อสัญญาดังกล่าว อันเป็นการปฏิบัติผิดสัญญาแล้ว
คดีอาญาหมายเลขแดงที่ 363/2537 ของศาลทหารกรุงเทพ ซึ่งกองทัพเรือโจทก์ในคดีนี้เป็นผู้เสียหายจากการกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 โดยอัยการศาลทหารกรุงเทพดำเนินคดีแทนโจทก์ ดังนั้น โจทก์และจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ในคดีอาญาจึงเป็นคู่ความเดียวกันกับคดีนี้ และปัญหาข้อเท็จจริงในคดีอาญาว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์คดีนี้หรือไม่ จึงเป็นประเด็นโดยตรงที่โจทก์นำมาฟ้องในทางแพ่งเป็นคดีนี้ ขอให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ร่วมกันรับผิดในมูลละเมิดอันเกิดจากการกระทำของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ในคดีอาญาดังกล่าว และปรากฏตามคำพิพากษาคดีอาญาว่า มีการกล่าวอ้างและสืบพยานหลักฐานในปัญหาข้อเท็จจริงนี้แล้ว ซึ่งในที่สุดศาลทหารกรุงเทพก็ได้วินิจฉัยถึงสัญญาจ้างเหมาติดตั้งระบบไฟฟ้าบกว่า คณะกรรมการตรวจการจ้างมีหน้าที่ต้องให้ผู้รับจ้างทดลองระบบทุกระบบรวมถึงการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้แก่เรือด้วย และวินิจฉัยฟังข้อเท็จจริงว่า ผู้รับจ้างไม่ได้ทดลองระบบทุกระบบต่อจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ซึ่งเป็นคณะกรรมการตรวจการจ้าง และจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ไม่ได้ทดลองจ่ายกระแสไฟฟ้าให้แก่เรือ ทั้ง ๆ ที่ในวันตรวจรับงานมีเรือจอดที่ท่าเทียบเรือ การตรวจรับงานงวดที่ 3 ของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เป็นเหตุให้ทางราชการกองทัพเรือได้รับความเสียหาย และเมื่อคดีนี้เป็นคดีแพ่งที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าเสียหายตามสิทธิเรียกร้องในมูลละเมิดที่เกิดจากการกระทำความผิดอาญาของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ในคดีดังกล่าว คดีนี้จึงเป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาซึ่งศาลทหารกรุงเทพได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว คำพิพากษาของศาลทหารกรุงเทพจึงย่อมมีผลผูกพันจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ในคดีนี้ และศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีอาญาของศาลทหารกรุงเทพดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ตาม พ.ร.บ.ธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ.2498 มาตรา 54 จึงต้องฟังว่า จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 จงใจกระทำละเมิดต่อโจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ซึ่งจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 ตามคำฟ้อง
สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในการยื่นฟ้องคดีแพ่งคดีนี้ย่อมเป็นสิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นโดยคำพิพากษาของศาลที่ถึงที่สุดอันมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/32 และ ป.วิ.อ. มาตรา 51 วรรคสาม ไม่ใช่มีกำหนดอายุความ 1 ปี นับแต่วันที่ผู้เสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือ 10 ปี นับแต่วันทำละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคหนึ่ง แต่อย่างใด
ค่าเสียหายที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ต้องรับผิดชดใช้แก่โจทก์นั้น ไม่ใช่กรณีที่ต้องถือข้อเท็จจริงตามคดีอาญาของศาลทหารกรุงเทพ หากแต่ต้องพิจารณาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยความรับผิดของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ในทางแพ่งเกี่ยวกับความรับผิดในค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 47 วรรคหนึ่ง และ ป.พ.พ. มาตรา 424
จำเลยที่ 5 ไม่ได้ทดลองจ่ายไฟฟ้าในระบบไฟฟ้าบกแก่เรือจริง แต่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ก็ยังยอมรับมอบงานและรับรองว่างานถูกต้องตามสัญญาอันเป็นการเอื้อต่อการปฏิบัติผิดสัญญาของจำเลยที่ 5 โดยมิชอบ จนเกิดความเสียหายแก่โจทก์ที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเดินเครื่องกำเนิดไฟฟ้าในเรือรบหลวงในช่วงเวลาที่ต้องตรวจสอบเหตุบกพร่องของระบบไฟฟ้าบกที่จำเลยที่ 5 รับจ้างโจทก์ติดตั้ง อันมีเหตุแห่งความเสียหายและลักษณะแห่งความเสียหายเดียวกัน ย่อมมีผลให้มีจำนวนค่าเสียหายจำนวนเดียวกัน โดยตามพฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ก็ไม่มีเหตุที่ควรกำหนดค่าเสียหายแตกต่างกัน จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์เป็นเงินจำนวน 1,000,000 บาท เช่นเดียวกับที่จำเลย ที่ 5 ต้องรับผิดจากการผิดสัญญา โดยจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ผู้ร่วมกันทำละเมิดต้องรับผิดร่วมกันอย่างลูกหนี้ร่วม แต่สำหรับจำเลยที่ 5 แม้ต้องรับผิดในหนี้จำนวนเดียวแต่เป็นหนี้เงินซึ่งมิใช่หนี้ที่ไม่อาจแบ่งแยกกันชำระได้ ทั้งมูลเหตุแห่งความรับผิดในมูลละเมิดและการผิดสัญญาก็แตกต่างกัน จำเลยที่ 5 จึงมิใช่ลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ทั้งนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 290
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 3/2555)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14086/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีแพ่งหลังมีคำพิพากษาคดีอาญาหมิ่นประมาท และการกำหนดค่าเสียหายที่เหมาะสม
โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาฐานหมิ่นประมาทตาม ป.อ. มาตรา 326 และศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลย คดีเสร็จเด็ดขาดไปแล้วก่อนที่จะได้ยื่นฟ้องคดีนี้ซึ่งเป็นการฟ้องคดีแพ่งเรียกค่าเสียหายในมูลละเมิดอันสืบเนื่องมาจากการกระทำความผิดที่มีโทษตาม ป.อ. ดังกล่าว อายุความในการฟ้องคดีนี้จึงอยู่ในบังคับแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคสอง ที่ว่า สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายในมูลอันเป็นความผิดมีโทษตามกฎหมายลักษณะอาญา และมีกำหนดอายุความทางอาญายาวกว่าที่กล่าวมานั้นไซร้ ท่านให้เอาอายุความที่ยาวกว่านั้นมาบังคับ ดังนั้นคดีนี้จึงมีอายุความ 10 ปี นับแต่วันที่คดีอาญาที่โจทก์ฟ้องจำเลยถึงที่สุดตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/32 และ ป.วิ.อ. มาตรา 51 วรรคสาม
เมื่อคดีอาญาที่โจทก์ฟ้องจำเลยถึงที่สุดเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2549 และโจทก์นำคดีนี้มาฟ้องวันที่ 13 ตุลาคม 2549 ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คดีนี้จำเลยรับข้อเท็จจริงว่า ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาคดีดังกล่าวจริง ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการมีอยู่ของคำพิพากษาคดีดังกล่าวจึงเป็นอันยุติไปตามคำรับของจำเลยแล้ว โจทก์จึงไม่ต้องเสียค่าอ้างเอกสารเป็นพยานตาม ตาราง 2 ท้าย ป.วิ.พ. ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ขณะฟ้องคดีนี้อีก
ผลของคดีอาญาทำให้โจทก์ได้รับการเยียวยาแก้ไขความเสียหายต่อชื่อเสียงในระดับหนึ่งแล้ว คดีนี้โจทก์ไม่ได้นำสืบเลยว่าความเสียหายของโจทก์จากการที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเยียวยาแก้ไขความเสียหายต่อชื่อเสียงมีเพียงใด และเมื่อคำนึงสภาพเศรษฐกิจในพื้นที่เกิดเหตุกับฐานะของโจทก์และจำเลยที่เป็นมูลเหตุให้มีการกล่าวหมิ่นประมาทแล้ว เห็นควรกำหนดค่าเสียหายให้เพียง 30,000 บาท
ส่วนที่จำเลยฎีกาว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมเพราะโจทก์ไม่ได้นำสืบให้ฟังได้ว่ามีความเสียหายแก่ชื่อเสียงเพียงใดนั้น เห็นว่า การนำสืบฟังได้หรือไม่ ไม่ใช่เรื่องเดียวกันกับเรื่องที่ว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่ ฎีกาของจำเลยที่ว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมจึงเป็นฎีกาในข้อที่ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
อนึ่ง คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับถัดจากวันฟ้อง แต่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 3 กำหนดดอกเบี้ยให้นับแต่วันทำละเมิดซึ่งเกินคำขอ เป็นการไม่ชอบ ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไข
เมื่อคดีอาญาที่โจทก์ฟ้องจำเลยถึงที่สุดเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2549 และโจทก์นำคดีนี้มาฟ้องวันที่ 13 ตุลาคม 2549 ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คดีนี้จำเลยรับข้อเท็จจริงว่า ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาคดีดังกล่าวจริง ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการมีอยู่ของคำพิพากษาคดีดังกล่าวจึงเป็นอันยุติไปตามคำรับของจำเลยแล้ว โจทก์จึงไม่ต้องเสียค่าอ้างเอกสารเป็นพยานตาม ตาราง 2 ท้าย ป.วิ.พ. ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ขณะฟ้องคดีนี้อีก
ผลของคดีอาญาทำให้โจทก์ได้รับการเยียวยาแก้ไขความเสียหายต่อชื่อเสียงในระดับหนึ่งแล้ว คดีนี้โจทก์ไม่ได้นำสืบเลยว่าความเสียหายของโจทก์จากการที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเยียวยาแก้ไขความเสียหายต่อชื่อเสียงมีเพียงใด และเมื่อคำนึงสภาพเศรษฐกิจในพื้นที่เกิดเหตุกับฐานะของโจทก์และจำเลยที่เป็นมูลเหตุให้มีการกล่าวหมิ่นประมาทแล้ว เห็นควรกำหนดค่าเสียหายให้เพียง 30,000 บาท
ส่วนที่จำเลยฎีกาว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมเพราะโจทก์ไม่ได้นำสืบให้ฟังได้ว่ามีความเสียหายแก่ชื่อเสียงเพียงใดนั้น เห็นว่า การนำสืบฟังได้หรือไม่ ไม่ใช่เรื่องเดียวกันกับเรื่องที่ว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่ ฎีกาของจำเลยที่ว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมจึงเป็นฎีกาในข้อที่ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
อนึ่ง คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับถัดจากวันฟ้อง แต่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 3 กำหนดดอกเบี้ยให้นับแต่วันทำละเมิดซึ่งเกินคำขอ เป็นการไม่ชอบ ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไข
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8124/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา: กำหนด 10 ปีนับจากคดีอาญาถึงที่สุด แม้ผู้เสียหายไม่ได้ร่วมฟ้อง
ประเด็นในคดีอาญาและคดีแพ่งนี้เป็นประเด็นเดียวกันว่าจำเลยกระทำโดยประมาทเลินเล่อหรือไม่ กรณีจึงเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา และการที่พนักงานอัยการฟ้องคดีอาญาถือว่าพนักงานอัยการได้ดำเนินคดีอาญาแทนโจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหาย เมื่อคดีอาญาถึงที่สุดแล้วโดยศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยก่อนที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ สิทธิของโจทก์ที่จะฟ้องคดีแพ่งย่อมมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/32 และ ป.วิ.อ. มาตรา 51 วรรคสาม แม้โจทก์จะมิได้ฟ้องหรือขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการในคดีอาญาดังกล่าวก็ตาม เพราะบทบัญญัติตาม ป.วิ.อ. มาตรา 51 วรรคสาม มิได้บัญญัติให้ใช้บังคับเฉพาะกรณีที่ผู้เสียหายเป็นโจทก์ฟ้องคดีอาญาหรือเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1818/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา: ศาลพิพากษาลงโทษจำเลยแล้ว โจทก์มีสิทธิฟ้องภายใน 10 ปี
ประเด็นในคดีอาญาและคดีนี้เป็นประเด็นเดียวกันว่าจำเลยกระทำโดยประมาทเลินเล่อหรือไม่ กรณีจึงเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา เมื่อโจทก์ที่ 1 เป็นผู้รับช่วงสิทธิของโจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยมาฟ้องเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้อันเกิดจากมูลละเมิดในการที่จำเลยกระทำโดยประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้รถยนต์ของโจทก์ที่ 2ผู้เอาประกันภัยเสียหาย โจทก์ที่ 1 จึงชอบที่จะใช้สิทธิทั้งหลายบรรดาที่โจทก์ที่ 2 มีอยู่ในมูลหนี้ต่อจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 880 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 226 วรรคหนึ่ง เมื่อคดีอาญาถึงที่สุดแล้ว โดยศาลพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 ก่อนที่โจทก์ที่ 2 ได้ยื่นฟ้องคดีแพ่ง สิทธิของโจทก์ที่ 2 ที่จะฟ้องคดีแพ่งย่อมมีตามกำหนดอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/32 ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 51 วรรคสาม เมื่อโจทก์ที่ 1 เป็นผู้รับช่วงสิทธิของโจทก์ที่ 2 ที่มีอยู่ดังกล่าว สิทธิของโจทก์ที่ 1 จึงย่อมมีอายุความ 10 ปี เช่นเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 481/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา: การถือข้อเท็จจริงจากคำพิพากษาอาญา, อายุความ 10 ปี, การรับพยานหลักฐาน
โจทก์ขอส่งสำเนาคำพิพากษาคดีอาญาเป็นพยานหลักฐานภายหลังที่โจทก์แถลงต่อศาลว่าหมดพยานแล้ว แต่เป็นคำพิพากษาซึ่งศาลลงโทษจำเลยฐานบุกรุกอันเป็นมูลคดีนี้ซึ่งโจทก์ก็ได้กล่าวอ้างผลของคำพิพากษาและหมายเลขคดีอาญานั้นมาในฟ้องแล้ว จำเลยไม่ได้ให้การปฏิเสธ จึงถือว่าจำเลยรับข้อเท็จจริงนั้นแล้ว โจทก์ก็ไม่จำเป็นต้องนำสืบเกี่ยวกับข้อเท็จจริงนั้นอีก แต่เมื่อโจทก์อ้างส่งและศาลชั้นต้นเห็นว่าเป็นพยานหลักฐานอันเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดีและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลย่อมมีอำนาจที่จะรับสำเนาเอกสารดังกล่าวไว้ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 86วรรคสาม 87(2)
เมื่อคดีอาญาดังกล่าวศาลฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยกระทำผิดฐานบุกรุกตึกแถวพิพาท คดีถึงที่สุดแล้ว การพิพากษาคดีนี้ซึ่งเป็นคดีส่วนแพ่ง ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามคดีอาญานั้น
คดีนี้เป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาซึ่งจำเลยถูกฟ้องฐานบุกรุกและถูกลงโทษเสร็จเด็ดขาดแล้วก่อนโจทก์ฟ้องคดีนี้ สิทธิของโจทก์ที่จะฟ้องคดีแพ่งย่อมมีกำหนดอายุความ10 ปี ตามมาตรา 168 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา51วรรคสาม
เมื่อคดีอาญาดังกล่าวศาลฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยกระทำผิดฐานบุกรุกตึกแถวพิพาท คดีถึงที่สุดแล้ว การพิพากษาคดีนี้ซึ่งเป็นคดีส่วนแพ่ง ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามคดีอาญานั้น
คดีนี้เป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาซึ่งจำเลยถูกฟ้องฐานบุกรุกและถูกลงโทษเสร็จเด็ดขาดแล้วก่อนโจทก์ฟ้องคดีนี้ สิทธิของโจทก์ที่จะฟ้องคดีแพ่งย่อมมีกำหนดอายุความ10 ปี ตามมาตรา 168 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา51วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 481/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา การรับพยานหลักฐาน และอายุความฟ้องคดี
โจทก์ขอส่งสำเนาคำพิพากษาคดีอาญาเป็นพยานหลักฐานภายหลังที่โจทก์แถลงต่อศาลว่าหมดพยานแล้ว แต่เป็นคำพิพากษาซึ่งศาลลงโทษจำเลยฐานบุกรุกอันเป็นมูลคดีนี้ซึ่งโจทก์ก็ได้กล่าวอ้างผลของคำพิพากษา และหมายเลขคดีอาญานั้นมาในฟ้องแล้วจำเลยไม่ได้ให้การปฏิเสธ จึงถือว่าจำเลยรับข้อเท็จจริงนั้นแล้ว โจทก์ก็ไม่จำเป็นต้องนำสืบเกี่ยวกับข้อเท็จจริงนั้นอีก แต่เมื่อโจทก์อ้างส่งและศาลชั้นต้นเห็นว่าเป็นพยานหลักฐานอันเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดีและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลย่อมมีอำนาจที่จะรับสำเนาเอกสารดังกล่าวไว้ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 86 วรรคสาม, 87 (2)
เมื่อคดีอาญาดังกล่าวศาลฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยกระทำผิดฐานบุกรุกตึกแถวพิพาท คดีถึงที่สุดแล้ว การพิพากษาคดีนี้ซึ่งเป็นคดีส่วนแพ่ง ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามคดีอาญานั้น
คดีนี้เป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาซึ่งจำเลยถูกฟ้องฐานบุกรุกและถูกลงโทษเสร็จเด็ดขาดแล้วก่อนโจทก์ฟ้องคดีนี้ สิทธิของโจทก์ที่จะฟ้องคดีแพ่งย่อมมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 168 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 51 วรรคสาม
เมื่อคดีอาญาดังกล่าวศาลฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยกระทำผิดฐานบุกรุกตึกแถวพิพาท คดีถึงที่สุดแล้ว การพิพากษาคดีนี้ซึ่งเป็นคดีส่วนแพ่ง ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามคดีอาญานั้น
คดีนี้เป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาซึ่งจำเลยถูกฟ้องฐานบุกรุกและถูกลงโทษเสร็จเด็ดขาดแล้วก่อนโจทก์ฟ้องคดีนี้ สิทธิของโจทก์ที่จะฟ้องคดีแพ่งย่อมมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 168 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 51 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 180/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีแพ่งจากการกระทำละเมิดที่ไม่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา การฟ้องเกินกำหนดทำให้ขาดอายุความ
การที่จำเลยขุดและล้อมรั้วปิดกั้นทางสาธารณะซึ่งอยู่ทางทิศเหนือของนาโจทก์ตามสำนวนคดีอาญา เฉพาะแต่รัฐเท่านั้นที่ฟ้องจำเลยได้ โจทก์มิใช่ผู้เสียหายในความผิดดังกล่าว การที่โจทก์จะฟ้องคดีแพ่งเรียกค่าสินไหมทดแทนได้เพียงไรหรือไม่ขึ้นอยู่กับโจทก์ได้รับความเสียหายเป็นพิเศษ จากการที่จำเลยขุดและล้อมรั้วปิดกั้นทางสาธารณะเพียงไรหรือไม่ การฟ้องคดีแพ่งจึงมิได้อาศัยผลแห่งคดีอาญาดังกล่าว จึงมิใช่คดีแพ่งที่เกี่ยวกับคดีอาญา ไม่อยู่ในบังคับแห่งอายุความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 51 วรรคสาม และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 168 เมื่อโจทก์ฟ้องคดีแพ่งเกินหนึ่งปีนับแต่วันทำละเมิด คดีของโจทก์จึงขาดอายุความตามมาตรา 448 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 180/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีแพ่งจากการกระทำละเมิดที่ไม่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา
การที่จำเลยขุดและล้อมรั้วปิดกั้นทางสาธารณะซึ่งอยู่ทางทิศเหนือของนาโจทก์ตามสำนวนคดีอาญา เฉพาะแต่รัฐเท่านั้นที่ฟ้องจำเลยได้ โจทก์มิใช่ผู้เสียหายในความผิดดังกล่าว การที่โจทก์จะฟ้องคดีแพ่งเรียกค่าสินไหมทดแทนได้เพียงไรหรือไม่ขึ้นอยู่กับโจทก์ได้รับความเสียหายเป็นพิเศษจากการที่จำเลยขุดและล้อมรั้วปิดกั้นทางสาธารณะเพียงไรหรือไม่การฟ้องคดีแพ่งจึงมิได้อาศัยผลแห่งคดีอาญาดังกล่าว จึงมิใช่คดีแพ่งที่เกี่ยวกับคดีอาญา ไม่อยู่ในบังคับแห่งอายุความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 51 วรรคสาม และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 168 เมื่อโจทก์ฟ้องคดีแพ่งเกินหนึ่งปีนับแต่วันทำละเมิด คดีของโจทก์จึงขาดอายุความตามมาตรา 448 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์