คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2534 ม. 4

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 42 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1395/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะ 'ฝ่ายบริหาร' ใน พ.ร.บ.รัฐวิสาหกิจสัมพันธ์: ผู้จัดการสาขาธนาคารไม่มีสิทธิเป็นสมาชิกสมาคมพนักงาน
พ.ร.บ.พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2534 มาตรา 4วรรคสาม บัญญัติว่า "พนักงาน หมายความว่า พนักงานและลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจแต่ไม่หมายความรวมถึงฝ่ายบริหาร" และวรรคสี่ บัญญัติว่า "ฝ่ายบริหาร หมายความว่าพนักงานรัฐวิสาหกิจตั้งแต่ระดับหัวหน้ากองหรือเทียบเท่าขึ้นไป และหมายความรวมถึงผู้อำนวยการ ผู้ว่าการ กรรมการผู้จัดการใหญ่ กรรมการผู้จัดการ และผู้จัดการด้วย"โจทก์ทั้งสี่เป็นหัวหน้าหน่วยงานโดยเป็นพนักงานในตำแหน่งผู้จัดการสาขาของธนาคาร ก.ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ ถือได้ว่าโจทก์ทั้งสี่เป็นผู้จัดการอันเป็นฝ่ายบริหารตามความหมายของ พ.ร.บ.พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2534 มาตรา 4 วรรคสี่ หาใช่เป็นเพียงพนักงานตามบทกฎหมายดังกล่าวในมาตรา 4 วรรคสาม ไม่ โดยไม่จำต้องพิจารณาว่าโจทก์ทั้งสี่มีอำนาจเด็ดขาดในการพิจารณาให้คุณให้โทษแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาด้วยตนเองหรือไม่ เมื่อโจทก์ทั้งสี่เป็นฝ่ายบริหาร โจทก์ทั้งสี่จึงไม่มีสิทธิเป็นสมาชิกหรือกรรมการของสมาคมพนักงานรัฐวิสาหกิจ ตาม พ.ร.บ.พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์พ.ศ.2534 มาตรา 4, 30, 35

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1395/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะ 'ฝ่ายบริหาร' ใน พ.ร.บ.รัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ ทำให้ไม่มีสิทธิเป็นสมาชิก/กรรมการสมาคม
พระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์พ.ศ.2534มาตรา4วรรคสามบัญญัติว่า"พนักงานหมายความว่าพนักงานและลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจแต่ไม่หมายความรวมถึงฝ่ายบริหาร"และวรรคสี่บัญญัติว่า"ฝ่ายบริหารหมายความว่าพนักงานรัฐวิสาหกิจตั้งแต่ระดับหัวหน้ากองหรือเทียบเท่าขึ้นไปและหมายความรวมถึงผู้อำนวยการผู้ว่าการกรรมการผู้จัดการใหญ่กรรมการผู้จัดการและผู้จัดการด้วย"โจทก์ทั้งสี่เป็นหัวหน้าหน่วยงานโดยเป็นพนักงานในตำแหน่งผู้จัดการสาขาของธนาคารก. ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจถือได้ว่าโจทก์ทั้งสี่เป็นผู้จัดการอันเป็นฝ่ายบริหารตามความหมายของพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์พ.ศ.2534มาตรา4วรรคสี่หาใช่เป็นเพียงพนักงานตามบทกฎหมายดังกล่าวในมาตรา4วรรคสามไม่โดยไม่จำต้องพิจารณาว่าโจทก์ทั้งสี่มีอำนาจเด็ดขาดในการพิจารณาให้คุณให้โทษแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาด้วยตนเองหรือไม่เมื่อโจทก์ทั้งสี่เป็นฝ่ายบริหารโจทก์ทั้งสี่จึงไม่มีสิทธิเป็นสมาชิกหรือกรรมการของสมาคมพนักงานรัฐวิสาหกิจตามพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์พ.ศ.2534มาตรา4,30,35

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5323/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะรัฐวิสาหกิจขององค์การค้าคุรุสภา: ไม่เข้าข่ายตามกฎหมาย
องค์การค้าคุรุสภาไม่ใช่องค์การของรัฐบาลตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาลหรือกิจการของรัฐตามกฎหมายที่จัดตั้งกิจการนั้นและไม่ใช่หน่วยงานธุรกิจที่รัฐเป็นเจ้าขององค์การค้าคุรุสภาจึงไม่ใช่รัฐวิสาหกิจตามพระราชบัญญัติ พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์พ.ศ.2534มาตรา4

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5323/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะทางกฎหมายขององค์การค้าของคุรุสภา: ไม่ใช่รัฐวิสาหกิจ
องค์การค้าของคุรุสภา จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2493ตามมติของคณะกรรมการอำนวยการคุรุสภา ไม่ใช่จัดตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาล พ.ศ.2496 ที่มีผลใช้บังคับภายหลังจากที่มีการจัดตั้งองค์การค้าของคุรุสภาแล้ว และตาม พ.ร.บ.ครู พ.ศ.2488 มาตรา 4, 6กำหนดให้คุรุสภาซึ่งเป็นเจ้าขององค์การค้าของคุรุสภาเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากกระทรวงศึกษาธิการ และให้คุรุสภามีอำนาจหน้าที่ให้ความเห็นแก่กระทรวง-ศึกษาธิการในเรื่องการจัดการศึกษาโดยทั่วไป รวมทั้งการปกครองดูแลและคุ้มครองสิทธิของผู้ที่ประกอบอาชีพครูโดยเฉพาะ แต่ไม่มีอำนาจหน้าที่ปกครองดูแลหรือดำเนินการใด ๆ แก่ประชาชนโดยทั่วไป ทั้งตาม พ.ร.บ.ปรับปรุงกระทรวงทบวง กรม พ.ศ.2534 มาตรา 26 ก็ไม่ได้บัญญัติให้คุรุสภาเป็นส่วนราชการของกระทรวงศึกษาธิการ ถือไม่ได้ว่าคุรุสภาซึ่งเป็นเจ้าขององค์การค้าของคุรุสภาเป็นรัฐ องค์การค้าของคุรุสภาจึงไม่ใช่องค์การของรัฐบาลตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาล หรือกิจการของรัฐตามกฎหมายที่จัดตั้งกิจการนั้นและไม่ใช่หน่วยงานธุรกิจที่รัฐเป็นเจ้าของ องค์การค้าของคุรุสภาจึงไม่ใช่รัฐวิสาหกิจตาม พ.ร.บ.พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2534 มาตรา 4

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3026/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิค่าชดเชยพนักงานรัฐวิสาหกิจ: การตีความสถานะ 'พนักงาน' และข้อยกเว้นสำหรับฝ่ายบริหาร
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดกิจการที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม 2515 ไม่ใช้บังคับ ซึ่งประกาศ ณ วันที่12 กันยายน 2534 ข้อ 2 ระบุว่า ให้รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เป็นกิจการที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวไม่ใช้บังคับทำให้ตำแหน่งงานของโจทก์ไม่อยู่ภายใต้บังคับประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 อีกต่อไป ประกอบกับระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2534 ที่ออกตามความในมาตรา 11 แห่ง พ.ร.บ.พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2534 ได้ระบุในข้อ 45 และข้อ 47 มีความหมายว่าเงินค่าชดเชยที่รัฐวิสาหกิจใดจะพึงจ่ายให้นั้นได้กำหนดเจาะจงจ่ายให้เฉพาะแก่พนักงานของรัฐวิสาหกิจนั้นเท่านั้น โดยข้อ 3 ได้ให้คำนิยามคำว่า พนักงานหมายความว่า พนักงานตาม พ.ร.บ.พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2534 ซึ่งในมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.นี้ได้ให้คำนิยามคำว่า พนักงาน หมายความว่า พนักงานและลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจ แต่ไม่หมายความรวมถึงฝ่ายบริหาร และคำว่า ฝ่ายบริหารหมายความว่า พนักงานรัฐวิสาหกิจตั้งแต่ระดับหัวหน้ากองหรือเทียบเท่าขึ้นไป โดยให้หมายความรวมถึงผู้อำนวยการด้วย เมื่อขณะที่โจทก์พ้นจากการทำงานให้แก่จำเลยในปี 2537 ขณะ พ.ร.บ.พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2534 ใช้บังคับเพราะเหตุเกษียณอายุ โจทก์มีตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการ ถือได้ว่าโจทก์มีฐานะเป็นฝ่ายบริหารไม่ใช่พนักงานของจำเลย โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าชดเชยตามข้อ 45 และข้อ 47แห่งระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ดังกล่าว
การที่โจทก์เรียกร้องสิทธิประโยชน์ในเงินค่าชดเชยโจทก์จะถือสิทธิความเป็นพนักงานตามมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.คุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2518 หาได้ไม่ เพราะบทบัญญัติแห่งกฎหมายฉบับนี้ใช้สำหรับพิจารณาว่าคุณสมบัติขั้นมาตรฐานและลักษณะต้องห้ามของพนักงานรัฐวิสาหกิจมีอย่างไรเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3026/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิค่าชดเชยพนักงานรัฐวิสาหกิจ: การพ้นตำแหน่ง ผู้อำนวยการ และระยะเวลาทำงานที่ไม่ต่อเนื่อง
โจทก์พ้นจากตำแหน่งผู้อำนวยการของจำเลยหลังจากพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์พ.ศ.2534ออกใช้บังคับแล้วและต่อมาได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องกำหนดกิจการที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่103ลงวันที่16มีนาคม2515ไม่ใช้บังคับข้อ2ระบุให้รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์เป็นกิจการที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่103ฯไม่ใช่บังคับดังนั้นตำแหน่งงานของโจทก์จึงไม่อยู่ภายใต้บังคับประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานลงวันที่16เมษายน2515อีกต่อไปเมื่อโจทก์พ้นจากตำแหน่งผู้อำนวยการของจำเลยโจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานฯข้อ46 ตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์เรื่องมาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจพ.ศ.2534ข้อ45และข้อ47ระบุให้รัฐวิสาหกิจจ่ายค่าชดเชยให้เฉพาะแก่พนักงานของรัฐวิสาหกิจซึ่งเลิกจ้างเท่านั้นและในข้อ3คำว่าพนักงานหมายความว่าพนักงานตามพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์พ.ศ.2534ซึ่งตามพระราชบัญญัติ พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ฯมาตรา4คำว่าพนักงานหมายถึงเฉพาะพนักงานและลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจเท่านั้นไม่รวมถึงฝ่ายบริหารซึ่งมีความหมายรวมถึงผู้อำนวยการด้วยขณะที่โจทก์พ้นจากการทำงานโจทก์มีตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการของจำเลยโจทก์จึงมีฐานะเป็นฝ่ายบริหารจึงไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามข้อ45และข้อ47แห่งระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ฯ การที่โจทก์เรียกร้องสิทธิประโยชน์โจทก์จะถือสิทธิความเป็นพนักงานตามมาตรา4แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจพ.ศ.2581หาได้ไม่เพราะบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวใช้สำหรับพิจารณาว่าคุณสมบัติขั้นมาตรฐานและลักษณะต้องห้ามของพนักงานรัฐวิสาหกิจมีอย่างไรเท่านั้น การที่โจทก์เคยเป็นพนักงานของจำเลยต่อมาจำเลยได้มีคำสั่งให้โจทก์ลาออกพ้นจากการเป็นพนักงานแล้วแต่งตั้งให้โจทก์เป็นผู้อำนวยการนับแต่นั้นจนกระทั่งมีคำสั่งให้โจทก์พ้นจากตำแหน่งเพราะมีอายุครบ60ปีบริบูรณ์ถือได้ว่าระยะเวลาทำงานของโจทก์สองช่วงดังกล่าวได้ขาดตอนจากกันแล้วไม่อาจนับติดต่อกันเพื่อให้โจทก์มีสถานะเป็นพนักงานของจำเลยได้โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามระเบียบเกี่ยวกับมาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจฯและถือไม่ได้ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างโดยโจทก์มิได้ให้ความยินยอมเพราะสิทธิประโยชน์ของโจทก์นี้จะได้รับหรือไม่เพียงใดย่อมเป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายและระเบียบข้อบังคับของหน่วยงานรัฐวิสาหกิจนั้นเมื่อพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ฯออกใช้บังคับในขณะที่โจทก์ออกจากงานของจำเลยซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจกรณีจึงมิใช่เป็นกฎหมายย้อนหลังตัดสิทธิประโยชน์ของโจทก์
of 5