พบผลลัพธ์ทั้งหมด 12 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3224/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขายผิดสัญญา โอนให้ผู้อื่น ผู้ขายต้องรับผิดค่าเสียหายตามสัญญาและราคาที่สูงขึ้น
การที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและห้องแถวพิพาทให้แก่โจทก์ แต่ต่อมากลับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและห้องแถวพิพาทตามสัญญาดังกล่าวให้แก่ผู้อื่นเป็นการผิดสัญญาทำให้โจทก์เสียหายโจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ปฏิบัติตามสัญญาหรือใช้ค่าเสียหายได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 213 จำเลยที่ 1 ที่ 2 ขายที่ดินและห้องแถวพิพาทให้แก่จำเลยที่ 3ถึง ที่ 5 ในราคา 900,000 บาท มากกว่าราคาที่ขายให้แก่โจทก์100,000 บาท เงินจำนวนดังกล่าวเป็นความเสียหายของโจทก์ที่ควรจะได้รับเนื่องจากการผิดสัญญาด้วยแต่เนื่องจากสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ที่ 2 ได้กำหนดความเสียหายไว้ล่วงหน้าเป็นเบี้ยปรับ ในจำนวนเงิน 100,000 บาท ไว้แล้ว โจทก์จะได้รับค่าเสียหายเกินกว่าเบี้ยปรับได้ต่อเมื่อแสดงให้เห็นได้ว่าความเสียหายของตนมีสูงกว่าจำนวนเบี้ยปรับตามนัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 380 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1037/2491
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเสียหายจากผิดสัญญา: ศาลให้ได้ทั้งค่าเสียหายจริงและค่าปรับตามสัญญา
คดีเรียกค่าเสียหายฐานผิดสัญญา เมื่อจำเลยรู้ดีว่า เมื่อตนผิดสัญญาโจทก์จะต้องเสียหาย ดังนี้ จำเลยต้องรับผิดในค่าเสียหาย ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 380 วรรค2 ซึ่งศาลอาจจะให้ค่าเสียหายได้
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายฐานผิดสัญญา 1,000 บาทและค่าเสียหายจากการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง 7,000 บาทศาลชั้นต้นให้จำเลยใช้ค่าเสียหาย 1,000 บาท โจทก์อุทธรณ์ศาลอุทธรณ์เห็นควรให้ค่าเสียหายทั้งหมดรวมกัน 7,000 บาทดังนี้ จะเรียกว่าศาลอุทธรณ์ไปวินิจฉัยในเรื่อง 1,000 บาทซึ่งโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ไม่ได้
เมื่อมีกรณีผิดสัญญาแล้ว ก็ย่อมเรียกค่าเสียหายแก่กันได้ถ้าผู้ได้รับความเสียหายพิสูจน์ได้ว่าตนได้เสียหายจริงจังเป็นเงินเท่าใดแล้ว ศาลก็ให้ตามนั้น หากพิสูจน์ไม่ได้ ศาลก็ให้ค่าเสียหายตามควรแก่กรณีโดยศาลกำหนดให้เองแล้วแต่ศาลจะเห็นสมควร และผู้เสียหายอาจได้รับค่าเสียหายทั้งสองประเภทก็ได้
คดีนี้ โจทก์ต้องเสียหายเพราะต้องรื้อสิ่งปลูกสร้างไป และต้องเสียหายเพราะไม่ได้ที่ดิน โจทก์จึงชอบที่จะได้ค่าเสียหายทั้งสองจำนวนรวมกันเป็น8,000 บาท
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายฐานผิดสัญญา 1,000 บาทและค่าเสียหายจากการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง 7,000 บาทศาลชั้นต้นให้จำเลยใช้ค่าเสียหาย 1,000 บาท โจทก์อุทธรณ์ศาลอุทธรณ์เห็นควรให้ค่าเสียหายทั้งหมดรวมกัน 7,000 บาทดังนี้ จะเรียกว่าศาลอุทธรณ์ไปวินิจฉัยในเรื่อง 1,000 บาทซึ่งโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ไม่ได้
เมื่อมีกรณีผิดสัญญาแล้ว ก็ย่อมเรียกค่าเสียหายแก่กันได้ถ้าผู้ได้รับความเสียหายพิสูจน์ได้ว่าตนได้เสียหายจริงจังเป็นเงินเท่าใดแล้ว ศาลก็ให้ตามนั้น หากพิสูจน์ไม่ได้ ศาลก็ให้ค่าเสียหายตามควรแก่กรณีโดยศาลกำหนดให้เองแล้วแต่ศาลจะเห็นสมควร และผู้เสียหายอาจได้รับค่าเสียหายทั้งสองประเภทก็ได้
คดีนี้ โจทก์ต้องเสียหายเพราะต้องรื้อสิ่งปลูกสร้างไป และต้องเสียหายเพราะไม่ได้ที่ดิน โจทก์จึงชอบที่จะได้ค่าเสียหายทั้งสองจำนวนรวมกันเป็น8,000 บาท