พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5792/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ที่ดินหลังจัดหาประโยชน์ตามประมวลกฎหมายที่ดิน และการละเมิดจากการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง
โจทก์ครอบครองที่ดินพิพาทต่อเนื่องจากผู้ครอบครองเดิมที่ครอบครองมาก่อนใช้ ป.ที่ดิน โดยมิได้มาซึ่งสิทธิครอบครองโดยชอบแม้ว่าเดิมที่ดินพิพาทจะเป็นที่ดินรกร้างว่างเปล่าอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตาม ป.พ.พ. มาตรา 1304 (1) ก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ได้ดำเนินการตาม ป.ที่ดิน มาตรา 10 และมาตรา 11 จนได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแล้ว จำเลยที่ 1 ย่อมมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทนั้นได้ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1334 จำเลยที่ 1 จึงมีสิทธิในที่ดินพิพาทดีกว่าโจทก์ อย่างไรก็ตาม แม้จำเลยที่ 1 จะได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทและมีสิทธิในที่ดินพิพาทดีกว่าโจทก์ก็ตาม แต่โจทก์ได้ครอบครองทำประโยชน์โดยปลูกสร้างอาคารและปลูกต้นไม้และพืชผลต่อเนื่องจากผู้ครอบครองเดิมโดยสุจริตตลอดมาตั้งแต่ก่อนที่จำเลยที่ 1 จะได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท การที่จำเลยที่ 1 ใช้สิทธิในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1336 เรียกร้องให้โจทก์รื้อถอนอาคารและเก็บเกี่ยวพืชผลขนย้ายออกไปจากที่ดินพิพาท แต่โจทก์เพิกเฉยนั้น ก็มีผลเพียงถือว่าโจทก์ได้โต้แย้งสิทธิของจำเลยที่ 1 ซึ่งชอบที่จำเลยที่ 1 จะต้องใช้สิทธิฟ้องขับไล่โจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 เพื่อที่ว่าเมื่อจำเลยที่ 1 ชนะคดีแล้วจะได้ดำเนินการบังคับคดีให้เป็นไปตามคำพิพากษาของศาลตามขั้นตอนของกฎหมายดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 296 ทวิ, 296 ตรี, 296 จัตวา, 296 เบญจ 296 ฉ และมาตรา 296 สัตต แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งต่อไป จำเลยที่ 1 หามีสิทธิที่จะใช้อำนาจโดยพลการเข้าดำเนินการรื้อถอนเพื่อขับไล่โจทก์ออกไปจากที่ดินพิพาทด้วยตนเองไม่ ดังนั้น การกระทำของจำเลยที่ 1 ที่เข้าไปรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและไถปรับหน้าดินทำให้พืชผลโจทก์เสียหาย ย่อมเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 882/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง: คำพิพากษาให้ขนย้ายทรัพย์สินครอบคลุมถึงการรื้อถอน
เมื่อศาลพิพากษาให้จำเลยทั้งสี่ขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกไปจากที่ดินพิพาท พร้อมส่งมอบคืนให้โจทก์ในสภาพเรียบร้อย จำเลยทั้งสี่จึงมีหน้าที่ต้องดำเนินการรื้อถอนและขนย้ายทรัพย์สินออกไปจากที่ดินพิพาทพร้อมส่งมอบคืนให้โจทก์ในสภาพเรียบร้อยตามคำพิพากษาถ้าจำเลยทั้งสี่ไม่ปฏิบัติ โจทก์ย่อมขอให้บังคับให้ปฏิบัติได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 เบญจ โดยไม่จำต้องยื่นคำร้องขอให้เพิ่มเติมคำว่า "รื้อถอน" ลงในคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 143
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5374/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีตามคำพิพากษาศาลฎีกา: ศาลชั้นต้นต้องสั่งการบังคับคดี ไม่ใช่แค่สั่งให้จำเลยปฏิบัติตาม
เมื่อศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยแพ้คดี จำเลยต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาโดยรื้อรั้วตามรูปกากบาทเส้นสีแดงในแผนที่เอกสารท้ายฟ้อง เฉพาะบางส่วนที่เริ่มตั้งแต่ด้านทิศตะวันออกไปทางทิศตะวันตกจนถึงแนวยุ้งข้าวของโจทก์ตามระยะทางที่โจทก์สามารถนำรถยนต์เข้าไปขนข้าวในยุ้งข้าวของโจทก์ได้ ฉะนั้น การที่จำเลยแถลงต่อศาลว่าไม่ได้รื้อรั้วตั้งแต่ด้านทิศตะวันออกไปทางทิศตะวันตกจนถึงแนวยุ้งข้าวของโจทก์แต่อย่างใดแสดงว่าจำเลยมิได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลฎีกา เมื่อศาลชั้นต้นออกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีแล้ว จึงมีอำนาจโดยชอบโดยตรงที่จะดำเนินการแก่จำเลยเพื่อให้คำพิพากษาของศาลฎีกามีผลบังคับใช้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 302 ส่วนวิธีดำเนินการกับจำเลยเกี่ยวกับการรื้อรั้วนั้น ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 เบญจ ได้บัญญัติไว้แล้ว แต่ศาลชั้นต้นหาได้กระทำไม่ กลับออกคำสั่งให้จำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลฎีกาซึ่งเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบ เพราะจำเลยมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลฎีกาอยู่แล้วโดยไม่จำต้องให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งดังกล่าว ศาลชั้นต้นชอบที่จะสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีบังคับคดีต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3706/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและการปฏิบัติตามขั้นตอนของเจ้าพนักงานบังคับคดี
หลังจากศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยและบริวารออกไปจากที่ดินโจทก์ ให้จำเลยรื้อถอนรั้วลวดหนามออกไปจากที่ดินโจทก์ และห้ามเกี่ยวข้องอีกต่อไปปรากฏว่าขณะคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ จำเลยยอมรับว่าได้ปลูกสร้างบ้านในที่พิพาท เมื่อคดีถึงที่สุดโดยศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลชั้นต้น โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนบ้านพิพาทดังกล่าวออกจากที่ดินซึ่งโจทก์มีสิทธิครอบครองได้ ไม่เป็นการบังคับคดีเกินหรือนอกคำพิพากษา
ในกรณีที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจากอสังหาริมทรัพย์นั้น ป.วิ.พ.มาตรา 296 เบญจ กำหนดให้เจ้าพนักงานบังคับคดีจัดการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างนั้น และในการรื้อถอนให้ปิดประกาศกำหนดการรื้อถอนไว้ ณบริเวณนั้นไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีทำการส่งมอบบ้านพิพาทให้โจทก์ครอบครองจึงไม่ใช่เป็นวิธีการบังคับคดีตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ ชอบที่ศาลจะมีคำสั่งให้ยกวิธีการบังคับคดีดังกล่าวและให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการใหม่เสียให้ถูกต้อง
ในกรณีที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจากอสังหาริมทรัพย์นั้น ป.วิ.พ.มาตรา 296 เบญจ กำหนดให้เจ้าพนักงานบังคับคดีจัดการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างนั้น และในการรื้อถอนให้ปิดประกาศกำหนดการรื้อถอนไว้ ณบริเวณนั้นไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีทำการส่งมอบบ้านพิพาทให้โจทก์ครอบครองจึงไม่ใช่เป็นวิธีการบังคับคดีตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ ชอบที่ศาลจะมีคำสั่งให้ยกวิธีการบังคับคดีดังกล่าวและให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการใหม่เสียให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3706/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างต้องเป็นไปตามขั้นตอนกฎหมาย หากไม่เป็นไปตามขั้นตอน ศาลมีอำนาจยกการบังคับคดีได้
หลังจากศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยรื้อถอนรั้วลวดหนามออกไปจากที่ดินโจทก์และห้ามจำเลยและบริวารเกี่ยวข้องกับที่ดินดังกล่าวอีกต่อไปขณะคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค3จำเลยรับว่าได้ปลูกสร้างบ้านในที่พิพาทเมื่อศาลอุทธรณ์ภาค3และศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลชั้นต้นโจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนบ้านพิพาทดังกล่าวออกจากที่ดินซึ่งโจทก์มีสิทธิครอบครองได้แต่ในกรณีที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจากอสังหาริมทรัพย์นั้นประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา296เบญจกำหนดให้เจ้าพนักงานบังคับคดีจัดการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างนั้นและในการรื้อถอนให้ปิดประกาศกำหนดการรื้อถอนไว้ณบริเวณนั้นไม่น้อยกว่าเจ็ดวันดังนั้นการที่เจ้าพนักงานบังคับคดีส่งมอบบ้านพิพาทให้โจทก์ครอบครองย่อมไม่ใช่เป็นวิธีการบังคับคดีตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ศาลชอบที่จะมีคำสั่งให้ยกวิธีการบังคับคดีเฉพาะบ้านพิพาทและให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการใหม่เสียให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3316/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีรื้อถอนโรงเรือนรุกล้ำที่ดิน: การปฏิบัติตามคำพิพากษาต้องครบถ้วนและตรวจสอบแนวเขตที่แท้จริง
คดีมีประเด็นข้อพิพาทว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์หรือของจำเลยแต่ในระหว่างการพิจารณาคดีไม่มีการทำแผนที่พิพาทต่อมาศาลชั้นต้นพิพากษาว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ให้จำเลยทั้งสองและบริวารรื้อถอนโรงเรือนที่รุกล้ำออกไปศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาพิพากษายืนคดีไม่มีประเด็นข้อพิพาทเกี่ยวกับแนวเขตที่พิพาทแม้โจทก์จะบรรยายมาในฟ้องด้วยว่าจำเลยทั้งสองปลูกโรงเรือนรุกล้ำที่ดินของโจทก์กว้างประมาณ2.50เมตรยาวประมาณ8เมตรก็ตามก็เป็นเพียงการประมาณเอาเท่านั้นหากต่อมาภายหลังจากศาลพิพากษาไปแล้วมีปัญหาเกี่ยวกับแนวเขตที่พิพาทก็เป็นปัญหาในชั้นบังคับคดีการที่จำเลยทั้งสองเพียงแต่รื้อห้องน้ำมีความกว้าง2เมตรยาว3.3เมตรออกไปนั้นยังถือไม่ได้ว่าได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาถูกต้องครบถ้วนแล้วชอบที่ศาลชั้นต้นจะสั่งให้ไปตรวจสอบดูว่าโรงเรือนของจำเลยทั้งสองยังคงรุกล้ำที่ดินตามแบบแจ้งการครอบครองของโจทก์หรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3316/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แนวเขตที่พิพาทและการปฏิบัติตามคำพิพากษา ศาลมีอำนาจตรวจสอบการรื้อถอนหากยังไม่ครบถ้วน
คดีมีประเด็นข้อพิพาทว่า ที่พิพาทเป็นของโจทก์หรือของจำเลย แต่ในระหว่างการพิจารณาคดี ไม่มีการทำแผนที่พิพาท ต่อมาศาลชั้นต้นพิพากษาว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ ให้จำเลยทั้งสองและบริวารรื้อถอนโรงเรือนที่รุกล้ำออกไปศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาพิพากษายืน คดีไม่มีประเด็นข้อพิพาทเกี่ยวกับแนวเขตที่พิพาทแม้โจทก์จะบรรยายมาในฟ้องด้วยว่า จำเลยทั้งสองปลูกโรงเรือนรุกล้ำที่ดินของโจทก์กว้างประมาณ 2.50 เมตร ยาวประมาณ 8 เมตร ก็ตาม ก็เป็นเพียงการประมาณเอาเท่านั้น หากต่อมาภายหลังจากศาลพิพากษาไปแล้ว มีปัญหาเกี่ยวกับแนวเขตที่พิพาท ก็เป็นปัญหาในชั้นบังคับคดี การที่จำเลยทั้งสองเพียงแต่รื้อห้องน้ำมีความกว้าง 2 เมตร ยาว 3.3 เมตร ออกไปนั้น ยังถือไม่ได้ว่าได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาถูกต้องครบถ้วนแล้ว ชอบที่ศาลชั้นต้นจะสั่งให้ไปตรวจสอบดูว่าโรงเรือนของจำเลยทั้งสองยังคงรุกล้ำที่ดินตามแบบแจ้งการครอบครองของโจทก์หรือไม่