พบผลลัพธ์ทั้งหมด 145 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 730/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์หลักฐานในคดีข่มขืน การพิจารณาความผิดหลายกรรม และการริบของกลางที่ไม่เกี่ยวข้อง
ยาคุมกำเนิดมิใช่ทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเรา เพราะมิใช่ทรัพย์สินที่ได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 33 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6104/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบรถจักรยานยนต์ในคดีวิ่งราวทรัพย์: รถจักรยานยนต์เป็นเพียงยานพาหนะ ไม่ใช่เครื่องมือในการกระทำความผิด
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ในการวิ่งราวทรัพย์ จำเลยกับพวกร่วมกันใช้รถจักรยานยนต์ของกลางเป็นยานพาหนะเพื่อสะดวกแก่การกระทำความผิดและพาทรัพย์นั้นไป และเพื่อให้พ้นการจับกุม อันเป็นการบรรยายฟ้องให้ครบองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา 336 ทวิ แต่บทบัญญัติดังกล่าวหาได้ให้ถือว่ายานพาหนะนั้นเป็นทรัพย์ที่ได้ใช้ในการกระทำความผิดด้วยไม่ การที่จำเลยกับพวกใช้รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะเพื่อสะดวกแก่การกระทำความผิดและพาทรัพย์นั้นไป และเพื่อให้พ้นการจับกุม ก็มิได้หมายความว่าจำเลยกับพวกได้ใช้รถจักรยานยนต์ดังกล่าวเป็นเครื่องมือหรือส่วนหนึ่งในการวิ่งราวทรัพย์ รถจักรยานยนต์ของกลางจึงมิใช่ทรัพย์สินที่จำเลยกับพวกได้ใช้ในการกระทำความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์โดยตรง และไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่ศาลมีอำนาจสั่งริบตาม ป.อ. มาตรา 33 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 767/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบทรัพย์สินที่ใช้โดยสะดวกในการกระทำความผิด การพิจารณาความเกี่ยวข้องโดยตรงกับการกระทำความผิด
การที่ศาลจะมีอำนาจสั่งริบทรัพย์สินซึ่งบุคคลได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 33 (1) นั้น มีความมุ่งหมายถึงให้ริบตัวทรัพย์สินที่ผู้กระทำความผิดได้ใช้ในการกระทำความผิดนั้น ๆ โดยตรง คือทรัพย์สินนั้นจะต้องเกี่ยวข้องเป็นส่วนหนึ่งของการกระทำความผิดด้วย ซึ่งต้องพิจารณาถึงพฤติการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นเรื่อง ๆ ไป สำหรับคดีนี้ โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยกับพวกลักทรัพย์โดยในการลักทรัพย์ดังกล่าวจำเลยกับพวกได้ใช้รถจักรยานยนต์ของกลางเป็นยานพาหนะเพื่อสะดวกแก่การกระทำความผิด การพาทรัพย์นั้นไป และเพื่อให้พ้นการจับกุม เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง และโจทก์จำเลยไม่ติดใจสืบพยานจึงฟังได้ว่าจำเลยกับพวกใช้รถจักรยานยนต์ของกลางเพื่อสะดวกแก่การลักทรัพย์ของผู้เสียหาย หรือพาเอาทรัพย์ของผู้เสียหายที่จำเลยลักได้มานั้นไป หรือเพื่อให้จำเลยพ้นจากการจับกุมเท่านั้น รถจักรยานยนต์ของกลางจึงไม่ใช่ทรัพย์ที่จำเลยได้ใช้ในการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์โดยตรงที่ศาลจะมีอำนาจสั่งริบได้ตาม ป.อ. มาตรา 33 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6596/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบรถยนต์ที่ใช้เป็นยานพาหนะในการฉ้อโกงประชาชน ไม่ถือเป็นทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิดโดยตรง
การที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 กับพวกร่วมกันใช้รถกระบะของกลางบรรทุกถังเรี่ยไรของกลางนำไปตั้งไว้ตามชุมชนในตำบลที่เกิดเหตุ เพื่อหลอกลวงประชาชนที่พบเห็นและใช้รถกระบะของกลางบรรทุกทรัพย์ที่ได้มาจากการหลอกลวงด้วยนั้น รถกระบะของกลางเป็นเพียงยานพาหนะที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 กับพวกใช้เดินทางไปมาในการกระทำความผิดเท่านั้น จึงไม่ใช่ทรัพย์สินซึ่งจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 กับพวกที่ใช้ในการกระทำความผิดโดยตรงอันจะพึงริบได้ตาม ป.อ. มาตรา 33 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3044/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบรถบรรทุกที่ใช้บรรทุกน้ำหนักเกินตาม พ.ร.บ.ทางหลวง และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยขับรถยนต์บรรทุกสิบล้อบรรทุกทรายซึ่งมีน้ำหนักยานพาหนะรวมน้ำหนักบรรทุกเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด อันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ทางหลวงฯ และขอให้ศาลสั่งริบรถยนต์บรรทุกสิบล้อของกลาง เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องและคดีไม่จำต้องสืบพยานประกอบคำรับสารภาพจึงฟังได้ว่าจำเลยได้ใช้รถยนต์บรรทุกสิบล้อของกลางบรรทุกน้ำหนักเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด อันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย รถยนต์บรรทุกสิบล้อของกลางจึงเป็นทรัพย์สินที่บุคคลได้ใช้ในการกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 33 (1) แม้ พ.ร.บ.ทางหลวงฯ มาตรา 61, 73 มิได้บัญญัติถึงการริบของกลางไว้ แต่ก็มิได้บัญญัติถึงเรื่องนี้ไว้เป็นอย่างอื่น จึงนำมาตรา 33 มาใช้บังคับได้ตามมาตรา 17 แห่ง ป.อ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2224/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการริบทรัพย์สินและหลักการรับฟังข้อเท็จจริงเมื่อจำเลยรับสารภาพ
การริบทรัพย์สินในกรณีที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะย่อมเป็นอำนาจทั่วไปของศาลที่จะริบได้ตามที่ ป.อ. บัญญัติไว้ เมื่อโจทก์มีคำขอให้ริบรถยนต์บรรทุกของกลางแล้ว และของกลางดังกล่าวเป็นทรัพย์สินซึ่งจำเลยได้ใช้ในการกระทำความผิด แม้ฟ้องโจทก์จะมิได้อ้างกฎหมายที่ให้อำนาจโจทก์ในการขอริบรถยนต์บรรทุกของกลางหรือ ป.อ. มาตรา 33 มาด้วย ศาลก็มีอำนาจริบรถยนต์บรรทุกของกลางได้ตาม ป.อ. มาตรา 33 (1) ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ถูกต้องได้
ในคดีอาญาที่ไม่จำต้องสืบพยานประกอบ เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพข้อเท็จจริงย่อมรับฟังได้ตามฟ้องของโจทก์ หากจำเลยจะโต้เถียงเป็นอย่างอื่นต้องยกเป็นข้อต่อสู้ไว้ มิฉะนั้นถือว่าเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น
ในคดีอาญาที่ไม่จำต้องสืบพยานประกอบ เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพข้อเท็จจริงย่อมรับฟังได้ตามฟ้องของโจทก์ หากจำเลยจะโต้เถียงเป็นอย่างอื่นต้องยกเป็นข้อต่อสู้ไว้ มิฉะนั้นถือว่าเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1372/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกเว้นความผิดฐานมีอาวุธปืนตาม พ.ร.บ. ยกเว้นความผิดอาญา และความผิดฐานพาอาวุธปืน
พ.ร.บ. ยกเว้นความผิดทางอาญาให้แก่ผู้นำอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน หรือวัตถุระเบิดที่ไม่ได้รับอนุญาตหรือที่กฎหมายห้ามออกใบอนุญาต มามอบให้แก่ทางราชการ พ.ศ. 2546 มาตรา 3 วรรคหนึ่งบัญญัติว่า ผู้ใดมีอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืนที่ไม่ได้รับอนุญาต ถ้าได้นำอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืนดังกล่าวมามอบให้แก่นายทะเบียนท้องที่ภายในกำหนดหกสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับ ให้ผู้นั้นได้รับยกเว้นจากความผิดทางอาญาตามกฎหมายว่าด้วยอาวุธปืน ฯ แม้ขณะถูกจับกุมไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยจะนำอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนของกลางไปมอบให้แก่นายทะเบียนท้องที่ก็ตาม แต่ขณะที่จำเลยถูกจับกุมและตกเป็นผู้ต้องหายังอยู่ในระยะเวลาที่จำเลยจะนำอาวุธปืนและกระสุนปืนของกลางมามอบให้แก่นายทะเบียนท้องที่ได้ จำเลยย่อมได้รับยกเว้นความผิดฐานมีอาวุธปืนตามพระราชบัญญัติดังกล่าว
ซองพกอาวุธปืนของกลางเป็นทรัพย์ที่จำเลยได้ใช้ในการกระทำความผิดฐานพาอาวุธปืน จึงเป็นทรัพย์ที่สมควรริบตาม ป.อ. มาตรา 33 (1)
ซองพกอาวุธปืนของกลางเป็นทรัพย์ที่จำเลยได้ใช้ในการกระทำความผิดฐานพาอาวุธปืน จึงเป็นทรัพย์ที่สมควรริบตาม ป.อ. มาตรา 33 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 671/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบรถยนต์ของกลางที่ใช้ขนส่งผู้กระทำผิด ไม่เป็นทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิด
รถยนต์ของกลางเป็นพาหนะที่คนต่างด้าวโดยสาร เพื่อพาคนต่างด้าวให้พ้นจากการจับกุม ไม่ใช่ทรัพย์สินที่ทำหรือมีไว้เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 32 ทั้งไม่ใช่ทรัพย์สินซึ่งได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้กระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 33 (1) รถยนต์ของกลางโดยสภาพมีไว้เพื่อบรรทุกคนและสิ่งของจากที่หนึ่งไปยังที่อื่นอันเป็นวัตถุประสงค์ทั่วไป จึงริบรถยนต์ของกลางไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7326/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายและครอบครองยาเสพติดเพื่อจำหน่าย การริบของกลางที่เป็นยานพาหนะและเครื่องมือใช้ในการกระทำผิด
จำเลยใช้รถจักรยานยนต์ของกลางเป็นพาหนะนำเมทแอมเฟตามีนไปจำหน่ายแก่สายลับ รถจักรยานยนต์ดังกล่าวจึงเป็นยานพาหนะซึ่งใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับการจำหน่ายยาเสพติดให้โทษโดยตรง ต้องริบตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 102 ส่วนกระดาษตะกั่ว ถุงพลาสติก และกรรไกรของกลางค้นได้ในบ้านของจำเลยที่ 1 ข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าเป็นเครื่องมือเครื่องใช้หรือวัตถุอื่นซึ่งจำเลยใช้ในการกระทำความผิดจำหน่ายและมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จึงไม่อาจริบได้ ปัญหาดังกล่าวเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยทั้งสองจะไม่ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215 และ 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4040/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบเรือในความผิดศุลกากร: ข้อจำกัดขนาดระวางบรรทุกและองค์ประกอบความผิด
โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยนำหรือยอมให้ผู้อื่นนำของที่ต้องเสียภาษีลงในเรือหรือออกจากเรือในทะเล ซึ่งอาจเป็นทางแก่การฉ้อประโยชน์รายได้ของแผ่นดิน หรือเป็นการหลีกเลี่ยง ข้อจำกัด หรือข้อห้าม ซึ่งเป็นองค์ประกอบของความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากรฯ มาตรา 31 เพียงแต่ระบุในคำขอท้ายฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามมาตราดังกล่าวเท่านั้น เป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) ศาลจึงพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดดังกล่าวไม่ได้
มาตรา 32 แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 ซึ่งใช้บังคับขณะเกิดการกระทำความผิดคดีนี้บัญญัติว่า เรือชนิดใด ๆ อันมีระวางบรรทุกไม่เกินสองร้อยห้าสิบตัน? หากใช้ในการย้ายถอน ซ่อนเร้น หรือขนของที่ยังมิได้เสียค่าภาษี หรือที่ต้องจำกัด หรือต้องห้าม ท่านว่าให้ริบเสียสิ้น? แสดงว่า พ.ร.บ.ศุลกากรได้บัญญัติถึงการริบเรือที่นำมาใช้ในการกระทำความผิดตามบทมาตราดังกล่าวไว้เป็นพิเศษโดยชัดแจ้งว่า เฉพาะเรือที่มีระวางบรรทุกไม่เกิน 250 ตันเท่านั้น ที่จะพึงริบได้ ดังนั้น การริบเรือที่มีระวางบรรทุกเกิน 250 ตัน จึงไม่อาจกระทำได้ ซึ่งจะเห็นเจตนารมณ์ของบทกฎหมายดังกล่าวได้จากมาตรา 32 วรรคสอง ที่แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.ศุลกากร (ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2542 มาตรา 4 ที่บัญญัติว่า ถ้าเรือที่ได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำตามวรรคหนึ่งมีระวางบรรทุกเกินสองร้อยห้าสิบตัน ให้ศาลมีอำนาจสั่งริบเรือนั้นได้ตามสมควรแก่การกระทำความผิด
มาตรา 120 แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 บัญญัติว่า เมื่อใดบทบัญญัติพระราชบัญญัติศุลกากรแตกต่างกับบทกฎหมายหรือพระราชบัญญัติอื่น ให้ยกเอาบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ กรณีจึงไม่อาจนำบทบัญญัติเรื่องการริบทรัพย์สินตาม ป.อ. มาตรา 33 (1) มาใช้บังคับแก่คดีนี้ซึ่งเป็นเรื่องการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากรฯ มาตรา 27 ได้
มาตรา 32 แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 ซึ่งใช้บังคับขณะเกิดการกระทำความผิดคดีนี้บัญญัติว่า เรือชนิดใด ๆ อันมีระวางบรรทุกไม่เกินสองร้อยห้าสิบตัน? หากใช้ในการย้ายถอน ซ่อนเร้น หรือขนของที่ยังมิได้เสียค่าภาษี หรือที่ต้องจำกัด หรือต้องห้าม ท่านว่าให้ริบเสียสิ้น? แสดงว่า พ.ร.บ.ศุลกากรได้บัญญัติถึงการริบเรือที่นำมาใช้ในการกระทำความผิดตามบทมาตราดังกล่าวไว้เป็นพิเศษโดยชัดแจ้งว่า เฉพาะเรือที่มีระวางบรรทุกไม่เกิน 250 ตันเท่านั้น ที่จะพึงริบได้ ดังนั้น การริบเรือที่มีระวางบรรทุกเกิน 250 ตัน จึงไม่อาจกระทำได้ ซึ่งจะเห็นเจตนารมณ์ของบทกฎหมายดังกล่าวได้จากมาตรา 32 วรรคสอง ที่แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.ศุลกากร (ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2542 มาตรา 4 ที่บัญญัติว่า ถ้าเรือที่ได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำตามวรรคหนึ่งมีระวางบรรทุกเกินสองร้อยห้าสิบตัน ให้ศาลมีอำนาจสั่งริบเรือนั้นได้ตามสมควรแก่การกระทำความผิด
มาตรา 120 แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 บัญญัติว่า เมื่อใดบทบัญญัติพระราชบัญญัติศุลกากรแตกต่างกับบทกฎหมายหรือพระราชบัญญัติอื่น ให้ยกเอาบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ กรณีจึงไม่อาจนำบทบัญญัติเรื่องการริบทรัพย์สินตาม ป.อ. มาตรา 33 (1) มาใช้บังคับแก่คดีนี้ซึ่งเป็นเรื่องการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากรฯ มาตรา 27 ได้