พบผลลัพธ์ทั้งหมด 145 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5363/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ตัวผู้กระทำผิดจากพยานหลักฐานที่ไม่หนักแน่นเพียงพอ และการริบของกลางที่ไม่เกี่ยวข้องกับการกระทำผิด
มีคนร้ายใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายหลายนัด ขณะเกิดเหตุเป็นเวลาก่อน 6 นาฬิกา แม้จะได้ความว่าสว่างแล้วเพราะอยู่ในฤดูร้อนก็ตาม แต่ก็ยังอยู่ในช่วงเช้าตรู่ ยังไม่อาจมองเห็นเหตุการณ์ได้ชัดเจน พยานทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจต่างเห็นคนร้าย เพียงชั่วขณะเดียวที่คนร้ายหันหน้าไปหาตนเท่านั้น อีกทั้งเป็นระยะห่างถึง 20 และ 30 เมตร ในสภาวะดังกล่าวจึงไม่น่าเชื่อว่าพยานโจทก์ทั้งสองจะจำหน้าคนร้ายได้ ทั้งพยานทั้งสองปากมิได้เบิกความยืนยันว่าจำเลยคือคนร้ายเพียงแต่เบิกความว่าลักษณะของคนร้ายคล้ายกับจำเลยเท่านั้น และเมื่อพยานได้เห็นภาพถ่ายของจำเลยในแฟ้มประวัติคนร้าย ในวันเกิดเหตุก็ไม่ปรากฏว่าได้ยืนยันว่าจำเลยเป็นคนร้าย การที่พยานทั้งสองชี้ตัวจำเลย ได้ถูกต้องเพราะต่างได้เห็นจำเลยมาก่อนเนื่องจากเป็นผู้ร่วมจับกุมจำเลย และชี้เสื้อและ กางเกงของจำเลยโดยอ้างว่าเป็นเสื้อและกางเกงที่จำเลยสวมในวันเกิดเหตุโดยที่เสื้อและ กางเกงดังกล่าวไม่ได้มีลักษณะพิเศษอันควรแก่การจดจำแต่อย่างใด ทั้งบุคคลทั่วไปก็อาจมีเสื้อและกางเกงเช่นนั้นได้ อีกทั้งเสื้อของกลางพยานโจทก์เบิกความว่าได้ให้จำเลยไปก่อน เกิดเหตุนานถึง 2 ปี จึงไม่แน่ว่าผู้สวมเสื้อในวันเกิดเหตุจะต้องเป็นจำเลย เมื่อมีการตรวจ พิสูจน์กลิ่นโดยสุนัขตำรวจพยานโจทก์เบิกความตอบทนายถามค้านว่าไม่แน่ใจว่ากลิ่นตัว ของคนร้ายจะติดอยู่หรือไม่ ทั้งเสื้อและหมวกของกลางอยู่ในความครอบครองของ พนักงานสอบสวนรวมทั้งเสื้อและกางเกงของจำเลย การตรวจพิสูจน์โดยวิธีนี้จึงยังไม่อาจ รับฟังได้ว่าจำเลยเป็นผู้สวมเสื้อและหมวกของกลางในขณะเกิดเหตุ พยานหลักฐานของโจทก์ จึงไม่มีน้ำหนักเพียงพอให้รับฟังว่าจำเลยเป็นคนร้ายรายนี้ เสื้อและหมวกของกลางมิใช่ทรัพย์สินซึ่งได้ใช้ในการกระทำความผิดโดยตรงจึงริบไม่ได้และต้องคืนให้เจ้าของ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6556/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบของกลางวีดีโอ/เทปที่ไม่มีฉลาก: พิจารณาความผิด พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค และการขอริบตาม พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทป
ของกลางอันได้แก่วีดีโอเทปที่ไม่มีฉลาก จำนวน 323 ม้วน และเทปเพลงที่ไม่มีฉลากจำนวน 629 ม้วน ที่โจทก์ขอให้ริบนั้น ล้วนแต่เป็นจำพวกที่ไม่มีฉลาก อันต้องด้วยความผิดตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 ซึ่งในขณะเดียวกันเฉพาะวีดีโอเทปที่ไม่มีฉลากนั้นยังเป็นทรัพย์สินที่มิได้มีการแสดงตรา หมายเลขรหัส อันต้องด้วยความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ.2530อีกด้วย ฉะนั้น การที่โจทก์ขอให้สั่งริบของกลางทั้งสองจำพวกที่ไม่มีฉลาก โดยมิได้ขอให้สั่งริบวีดีโอเทปที่มิได้แสดงตรา หมายเลขรหัสด้วย ย่อมแสดงว่าโจทก์มีเจตนาขอให้สั่งริบของกลางในส่วนความผิดตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522เท่านั้น คดีนี้เหตุเกิดเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2539 จึงต้องนำบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 ฉบับเดิมมาใช้บังคับ ซึ่งมิได้บัญญัติเกี่ยวกับการริบของกลางไว้ กรณีจึงต้องบังคับตามบทบัญญัติแห่ง ป.อ.มาตรา 33 ดังที่โจทก์ขอมา แต่โดยที่ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ฉบับที่ 58 (พ.ศ.2536) ลงวันที่ 14พฤษภาคม 2536 กำหนดให้ของกลางทั้งสองจำพวกเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก ประกอบกับบทกำหนดโทษตามมาตรา 52 แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 บัญญัติให้ลงโทษผู้ขายสินค้าที่ควบคุมฉลากโดยไม่มีฉลาก ย่อมแสดงให้เห็นว่า กรณีจะเกิดเป็นความผิดตามมาตรา 52 ได้นั้น ก็เพราะเหตุที่สินค้าที่ควบคุมฉลากนั้นไม่มีฉลากนั่นเอง หาใช่เกิดจากตัวสินค้าโดยตรงไม่ ดังนั้น ของกลางทั้งสองจำพวกจึงมิใช่ทรัพย์สินซึ่งบุคคลได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดอันจะพึงริบได้ตาม ป.อ.มาตรา 33 (1)
ส่วนที่โจทก์ฎีกาขอให้ริบของกลางโดยอ้างว่าวีดีโอเทปของกลางมิได้มีการแสดงตรา หมายเลขรหัส จึงเป็นทรัพย์ที่มีไว้เป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา32 นั้น เป็นกรณีที่โจทก์ขอให้ริบของกลางอันเนื่องมาจากความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ.2530 ซึ่งเป็นเรื่องที่นอกเหนือคำขอท้ายฟ้อง ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคแรก ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โดยที่ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 มาตรา 52วรรคหนึ่ง ระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท ฉะนั้น การที่ศาลชั้นต้นวางโทษปรับจำเลยก่อนที่จะลดโทษ โดยให้ปรับจำเลยฐานนำออกขาย เสนอขาย มีไว้เพื่อขายซึ่งเทปเพลงและวีดีโอเทปที่ไม่ปิดฉลากเป็นเงินสองหมื่นบาทนั้น เป็นเรื่องข้อผิดพลาดในการพิมพ์หรือเขียน ทั้งนี้เพราะเมื่อศาลชั้นต้นรวมค่าปรับทุกกระทงความผิดแล้วเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 801,000 บาท ย่อมแสดงให้เห็นว่าศาลชั้นต้นวางโทษปรับถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนดไว้แล้ว การที่ศาลอุทธรณ์อ้างว่าศาลชั้นต้นรวมโทษปรับผิดและรวมโทษปรับใหม่เพิ่มขึ้นอีก 10,000 บาท นั้น จึงไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องได้เพราะเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ส่วนที่โจทก์ฎีกาขอให้ริบของกลางโดยอ้างว่าวีดีโอเทปของกลางมิได้มีการแสดงตรา หมายเลขรหัส จึงเป็นทรัพย์ที่มีไว้เป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา32 นั้น เป็นกรณีที่โจทก์ขอให้ริบของกลางอันเนื่องมาจากความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ.2530 ซึ่งเป็นเรื่องที่นอกเหนือคำขอท้ายฟ้อง ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคแรก ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โดยที่ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 มาตรา 52วรรคหนึ่ง ระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท ฉะนั้น การที่ศาลชั้นต้นวางโทษปรับจำเลยก่อนที่จะลดโทษ โดยให้ปรับจำเลยฐานนำออกขาย เสนอขาย มีไว้เพื่อขายซึ่งเทปเพลงและวีดีโอเทปที่ไม่ปิดฉลากเป็นเงินสองหมื่นบาทนั้น เป็นเรื่องข้อผิดพลาดในการพิมพ์หรือเขียน ทั้งนี้เพราะเมื่อศาลชั้นต้นรวมค่าปรับทุกกระทงความผิดแล้วเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 801,000 บาท ย่อมแสดงให้เห็นว่าศาลชั้นต้นวางโทษปรับถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนดไว้แล้ว การที่ศาลอุทธรณ์อ้างว่าศาลชั้นต้นรวมโทษปรับผิดและรวมโทษปรับใหม่เพิ่มขึ้นอีก 10,000 บาท นั้น จึงไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องได้เพราะเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6556/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบของกลางคดีคุ้มครองผู้บริโภคและเทปฯ พิจารณาจากความผิดตามกฎหมายและเหตุผลการริบ
ของกลางอันได้แก่วีดีโอเทปที่ไม่มีฉลาก จำนวน 323 ม้วน และเทปเพลงที่ไม่มีฉลากจำนวน 629 ม้วน ที่โจทก์ขอให้ริบนั้น ล้วนแต่เป็นจำพวกที่ไม่มีฉลาก อันต้องด้วยความผิดตาม พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ซึ่งในขณะเดียวกัน เฉพาะวีดีโอเทปที่ไม่มีฉลากนั้นยังเป็นทรัพย์สินที่มิได้ มีการแสดงตรา หมายเลขรหัส อันต้องด้วยความผิดตาม พระราชบัญญัติควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ. 2530 อีกด้วย ฉะนั้น การที่โจทก์ขอให้สั่งริบของกลางทั้งสองจำพวกที่ไม่มีฉลาก โดยมิได้ขอให้สั่งริบวีดีโอเทปที่มิได้แสดงตรา หมายเลขรหัสด้วย ย่อมแสดงว่าโจทก์มีเจตนาขอให้สั่งริบของกลาง ในส่วนความผิดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 เท่านั้น คดีนี้เหตุเกิดเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2539 จึงต้องนำบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ฉบับเดิมมาใช้บังคับ ซึ่งมิได้บัญญัติเกี่ยวกับ การริบของกลางไว้ กรณีจึงต้องบังคับตามบทบัญญัติแห่ง ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 ดังที่โจทก์ขอมา แต่โดยที่ ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ฉบับที่ 58 (พ.ศ. 2536) ลงวันที่ 14 พฤษภาคม 2536 กำหนดให้ของกลางทั้งสองจำพวก เป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก ประกอบกับบทกำหนดโทษตามมาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 บัญญัติ ให้ลงโทษผู้ขายสินค้าที่ควบคุมฉลากโดยไม่มีฉลาก ย่อมแสดง ให้เห็นว่า กรณีจะเกิดเป็นความผิดตามมาตรา 52 ได้นั้น ก็เพราะเหตุที่สินค้าที่ควบคุมฉลากนั้นไม่มีฉลากนั่นเอง หาใช่เกิดจากตัวสินค้าโดยตรงไม่ ดังนั้น ของกลางทั้งสองจำพวก จึงมิใช่ทรัพย์สินซึ่งบุคคลได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการ กระทำความผิดอันจะพึงริบได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33(1) ส่วน ที่ โจทก์ ฎีกา ขอ ให้ ริบ ของ กลาง โดย อ้าง ว่า วีดีโอเทป ของกลาง มิได้ มี การ แสดง เจตนา หมาย เลข รหัส จึง เป็น ทรัพย์ ที่ มี ไว้ เป็น ความผิด ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32 นั้น เป็น กรณี ที่ โจทก์ ขอให้ ริบ ของกลาง อัน เนื่อง มา จาก ความผิด ตามพระราชบัญญัติควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ. 2530ซึ่งเป็นเรื่องที่นอกเหนือคำขอท้ายฟ้อง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคแรกศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย โดยที่พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522มาตรา 52 วรรคหนึ่ง ระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท ฉะนั้น การที่ศาลชั้นต้นวางโทษปรับจำเลยก่อนที่จะลดโทษ โดยให้ ปรับจำเลยฐานนำออกขาย เสนอขาย มีไว้เพื่อขาย ซึ่งเทปเพลง และวีดีโอเทปที่ไม่ปิดฉลากเป็นเงินสองหมื่นบาทนั้น เป็นเรื่องข้อผิดพลาดในการพิมพ์หรือเขียน ทั้งนี้เพราะ เมื่อศาลชั้นต้นรวมค่าปรับทุกกระทงความผิดแล้วเป็นจำนวนเงิน ทั้งสิ้น 801,000 บาท ย่อมแสดงให้เห็นว่าศาลชั้นต้น วางโทษปรับถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนดไว้แล้ว การที่ศาลอุทธรณ์ อ้างว่าศาลชั้นต้น รวมโทษปรับผิดและรวมโทษปรับใหม่ เพิ่มขึ้นอีก 10,000 บาท นั้นจึงไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควร แก้ไขให้ถูกต้องได้เพราะเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4105/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวผิดหลายบท-ระงับสิทธิฟ้อง: คดีผลิตและครอบครองยาเสพติด
บทบัญญัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(4) มุ่งหมายถึงการกระทำที่ก่อให้เกิดความผิดอันหนึ่ง ๆ ในคราวเดียวกัน หาได้หมายถึงฐานความผิดที่ขอให้ลงโทษไม่ เฮโรอีนจำนวนที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ในคดีนี้กับเฮโรอีน ที่จำเลยที่ 2 มีไว้ในครอบครองตามคดีอาญาเรื่องก่อน เจ้าพนักงานตำรวจยึดได้ในคราวเดียวกัน เป็นการกระทำกรรมเดียวกัน ทั้งโจทก์บรรยาย ฟ้องคดีนี้ว่า จำเลยทั้งสามร่วมกันผลิตเฮโรอีน โดยแบ่งเฮโรอีนจากหลอดพลาสติกขนาดใหญ่จำนวน 3 หลอด บรรจุในหลอดกาแฟที่ตัดเป็นท่อนสั้น ๆ จำนวน 5 หลอด และที่โจทก์ บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสามร่วมกันมีเฮโรอีนไว้ในครอบครอง เพื่อจำหน่ายก็เป็นเฮโรอีนจำนวนเดียวกับที่ฟ้องว่าจำเลยผลิตดังนี้ เมื่อเฮโรอีนที่จำเลยทั้งสามร่วมกันผลิตกับเฮโรอีนที่ จำเลยทั้งสามมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายเป็นจำนวนเดียวกันการกระทำของจำเลยทั้งสามย่อมเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 หาเป็นความผิดฐานผลิตเฮโรอีนเป็นความผิดอีกกรรมหนึ่งไม่เมื่อการกระทำของ จำเลยที่ 2 ในคดีนี้กับการกระทำของจำเลยที่ 2 ในคดีก่อนเป็นการกระทำกรรมเดียวในวาระเดียวกันและศาลได้พิพากษาลงโทษจำเลยที่ 2 ไปแล้ว ฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2ในคดีนี้จึงเป็นฟ้องที่ศาลได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิด ที่ได้ฟ้องแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 จึงระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(4) ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ไม่ได้วินิจฉัยสั่งในเรื่องของกลางย่อมเป็นการไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นควรแก้ไข เฮโรอีนของกลางเป็นทรัพย์สินที่ผู้ใดมีไว้เป็นความผิดส่วนของกลางอื่นก็เป็นเครื่องมือที่มีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดฐานผลิตเฮโรอีนจึงเป็นทรัพย์ที่พึงริบ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 32,33(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4105/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวผิดหลายบท – การระงับสิทธิฟ้องคดีซ้ำ – การริบของกลาง
บทบัญญัติตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39 (4) มุ่งหมายถึงการกระทำที่ก่อให้เกิดความผิดอันหนึ่ง ๆ ในคราวเดียวกัน หาได้หมายถึงฐานความผิดที่ขอให้ลงโทษไม่
เฮโรอีนจำนวนที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ในคดีนี้กับเฮโรอีนที่จำเลยที่ 2 มีไว้ในครอบครองตามคดีอาญาเรื่องก่อน เจ้าพนักงานตำรวจยึดได้ในคราวเดียวกัน เป็นการกระทำกรรมเดียวกัน ทั้งโจทก์บรรยายฟ้องคดีนี้ว่า จำเลยทั้งสามร่วมกันผลิตเฮโรอีนโดยแบ่งเฮโรอีนจากหลอดพลาสติกขนาดใหญ่จำนวน3 หลอด บรรจุในหลอดกาแฟที่ตัดเป็นท่อนสั้น ๆ จำนวน 5 หลอด และที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสามร่วมกันมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายก็เป็นเฮโรอีนจำนวนเดียวกับที่ฟ้องว่าจำเลยผลิต ดังนี้ เมื่อเฮโรอีนที่จำเลยทั้งสามร่วมกันผลิตกับเฮโรอีนที่จำเลยทั้งสามมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายเป็นจำนวนเดียวกันการกระทำของจำเลยทั้งสามย่อมเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทตามป.อ.มาตรา 90 หาเป็นความผิดฐานผลิตเฮโรอีนเป็นความผิดอีกกรรมหนึ่งไม่เมื่อการกระทำของจำเลยที่ 2 ในคดีนี้กับการกระทำของจำเลยที่ 2 ในคดีก่อนเป็นการกระทำกรรมเดียวในวาระเดียวกันและศาลได้พิพากษาลงโทษจำเลยที่ 2ไปแล้ว ฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 ในคดีนี้จึงเป็นฟ้องที่ศาลได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดที่ได้ฟ้องแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 จึงระงับไปตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39 (4)
ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ไม่ได้วินิจฉัยสั่งในเรื่องของกลางย่อมเป็นการไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นควรแก้ไข
เฮโรอีนของกลางเป็นทรัพย์สินที่ผู้ใดมีไว้เป็นความผิด ส่วนของกลางอื่นก็เป็นเครื่องมือที่มีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดฐานผลิตเฮโรอีนจึงเป็นทรัพย์ที่พึงริบ ตาม ป.อ.มาตรา 32, 33 (1)
เฮโรอีนจำนวนที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ในคดีนี้กับเฮโรอีนที่จำเลยที่ 2 มีไว้ในครอบครองตามคดีอาญาเรื่องก่อน เจ้าพนักงานตำรวจยึดได้ในคราวเดียวกัน เป็นการกระทำกรรมเดียวกัน ทั้งโจทก์บรรยายฟ้องคดีนี้ว่า จำเลยทั้งสามร่วมกันผลิตเฮโรอีนโดยแบ่งเฮโรอีนจากหลอดพลาสติกขนาดใหญ่จำนวน3 หลอด บรรจุในหลอดกาแฟที่ตัดเป็นท่อนสั้น ๆ จำนวน 5 หลอด และที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสามร่วมกันมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายก็เป็นเฮโรอีนจำนวนเดียวกับที่ฟ้องว่าจำเลยผลิต ดังนี้ เมื่อเฮโรอีนที่จำเลยทั้งสามร่วมกันผลิตกับเฮโรอีนที่จำเลยทั้งสามมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายเป็นจำนวนเดียวกันการกระทำของจำเลยทั้งสามย่อมเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทตามป.อ.มาตรา 90 หาเป็นความผิดฐานผลิตเฮโรอีนเป็นความผิดอีกกรรมหนึ่งไม่เมื่อการกระทำของจำเลยที่ 2 ในคดีนี้กับการกระทำของจำเลยที่ 2 ในคดีก่อนเป็นการกระทำกรรมเดียวในวาระเดียวกันและศาลได้พิพากษาลงโทษจำเลยที่ 2ไปแล้ว ฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 ในคดีนี้จึงเป็นฟ้องที่ศาลได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดที่ได้ฟ้องแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 จึงระงับไปตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39 (4)
ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ไม่ได้วินิจฉัยสั่งในเรื่องของกลางย่อมเป็นการไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นควรแก้ไข
เฮโรอีนของกลางเป็นทรัพย์สินที่ผู้ใดมีไว้เป็นความผิด ส่วนของกลางอื่นก็เป็นเครื่องมือที่มีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดฐานผลิตเฮโรอีนจึงเป็นทรัพย์ที่พึงริบ ตาม ป.อ.มาตรา 32, 33 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4003/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบรถจักรยานยนต์ที่ใช้ในการแข่งรถบนถนนสาธารณะ แม้ไม่ใช่ของผู้กระทำผิดโดยตรง
รถจักรยานยนต์ของกลางที่ใช้แข่งขันกันตามถนนหลวงที่คนทั่วไปต้องใช้สัญจรไปมาเป็นทรัพย์สินที่จำเลยทั้งสองได้ใช้ในการกระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33(1)การที่จำเลยทั้งสองได้ขับรถจักรยานยนต์ของกลางแข่งขันกันโดยฝ่าฝืนกฎหมายและคำสั่งของเจ้าพนักงานจราจรโดยไม่คำนึงถึงความเดือดร้อนรำคาญและอาจเป็นอันตรายแก่ชีวิตและทรัพย์สินของบุคคลอื่น เป็นพฤติการณ์ที่พึงริบรถจักรยานยนต์ของกลางแม้รถจักรยานยนต์ของกลางเป็นของบิดาจำเลยที่ 1 ซึ่งมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วย ก็เป็นเรื่องที่เจ้าของแท้จริงจะต้องร้องขอคืนของกลางต่อศาล ไม่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3629/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ชิงทรัพย์โดยใช้กำลังประทุษร้าย การริบรถจักรยานยนต์
จำเลยกระชากสร้อยคอทองคำหนัก 15 บาท ของผู้เสียหายผู้เสียหายจับเหรียญรัชกาลที่ 5 ที่ห้อยอยู่ที่สร้อยคอทองคำไว้ และใช้มืออีกข้างหนึ่งตีจำเลย จำเลยลากผู้เสียหายไป 3 ถึง 4 ก้าว จนผู้เสียหายล้มลง จำเลยใช้มือกดหน้าอกผู้เสียหายพร้อมกับกระชากสร้อยคอทองคำผู้เสียหาย แล้วจำเลยวิ่งไปขึ้นรถจักรยานยนต์ขับหลบหนีไป แม้ไม่ปรากฏว่าขณะจำเลยกระชากสร้อยคอทองคำผู้เสียหาย และผู้เสียหายจับเหรียญรัชกาลที่ 5 ที่ห้อยอยู่ที่สร้อยคอทองคำนั้น จำเลยได้พูดขู่เข็ญว่า ทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้ายผู้เสียหายก็ตาม แต่การที่จำเลยลากผู้เสียหายโดยเร็วและแรงมาก โดยจำเลยมีเจตนาเพื่อให้ผู้เสียหายเกิดความกลัวและทำให้ผู้เสียหายอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ กรณีถือได้ว่าจำเลยใช้กำลังประทุษร้ายผู้เสียหายตาม ป.อ.มาตรา 1 (6) เพื่อให้ความสะดวกแก่การกระชากสร้อยคอทองคำของผู้เสียหาย การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ตามมาตรา 339 วรรคหนึ่ง
หลังจากจำเลยกระชากสร้อยคอทองคำของผู้เสียหายแล้ว จำเลยวิ่งไปขึ้นรถจักรยานยนต์ที่จอดอยู่ห่างจากที่เกิดเหตุถึง 100 เมตร แล้วขับหลบหนีไปการนำรถจักรยานยนต์ไปจอดห่างมากเช่นนั้นเป็นพฤติการณ์ที่บ่งชี้ว่าจำเลยมีเจตนาเพียงใช้รถจักรยานยนต์ของกลางไปและกลับจากการกระทำความผิด และเพื่อหลบหนีให้พ้นจากการจับกุมโดยสะดวกรวดเร็วเท่านั้น รถจักรยานยนต์ของกลางจึงไม่ใช่ทรัพย์ที่จะพึงริบตาม ป.อ.มาตรา 33 (1)
หลังจากจำเลยกระชากสร้อยคอทองคำของผู้เสียหายแล้ว จำเลยวิ่งไปขึ้นรถจักรยานยนต์ที่จอดอยู่ห่างจากที่เกิดเหตุถึง 100 เมตร แล้วขับหลบหนีไปการนำรถจักรยานยนต์ไปจอดห่างมากเช่นนั้นเป็นพฤติการณ์ที่บ่งชี้ว่าจำเลยมีเจตนาเพียงใช้รถจักรยานยนต์ของกลางไปและกลับจากการกระทำความผิด และเพื่อหลบหนีให้พ้นจากการจับกุมโดยสะดวกรวดเร็วเท่านั้น รถจักรยานยนต์ของกลางจึงไม่ใช่ทรัพย์ที่จะพึงริบตาม ป.อ.มาตรา 33 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3629/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ชิงทรัพย์โดยใช้กำลังประทุษร้าย และการริบรถจักรยานยนต์ที่ใช้หลบหนี
จำเลยกระชากสร้อยคอทองคำหนัก 15 บาท ของผู้เสียหาย ผู้เสียหายจับเหรียญรัชกาลที่ 5 ที่ห้อยอยู่ที่สร้อยคอทองคำไว้ และใช้มืออีกข้างหนึ่งตีจำเลย จำเลยลาก ผู้เสียหายไป 3 ถึง 4 ก้าว จนผู้เสียหายล้มลง จำเลยใช้มือ กดหน้าอกผู้เสียหายพร้อมกับกระชากสร้อยคอทองคำผู้เสียหาย แล้วจำเลยวิ่งไปขึ้นรถจักรยานยนต์ขับหลบหนีไป แม้ไม่ปรากฏ ว่าขณะจำเลยกระชากสร้อยคอทองคำผู้เสียหาย และผู้เสียหาย จับเหรียญรัชกาลที่ 5 ที่ห้อยอยู่ที่สร้อยคอทองคำนั้น จำเลยได้พูดขู่เข็ญว่า ทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้ายผู้เสียหายก็ตาม แต่การที่จำเลยลากผู้เสียหายโดยเร็วและแรงมาก โดยจำเลยมีเจตนาเพื่อให้ผู้เสียหายเกิดความกลัว และทำให้ผู้เสียหายอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ กรณี ถือได้ว่าจำเลยใช้กำลังประทุษร้ายผู้เสียหายตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1(6) เพื่อให้ความสะดวกแก่การกระชาก สร้อยคอทองคำของผู้เสียหาย การกระทำ ของจำเลยเป็นความผิด ฐานชิงทรัพย์ตาม มาตรา 339 วรรคหนึ่ง หลังจากจำเลยกระชากสร้อยคอทองคำของผู้เสียหายแล้วจำเลยวิ่งไปขึ้นรถจักรยานยนต์ที่จอดอยู่ห่างจากที่เกิดเหตุถึง 100 เมตร แล้วขับหลบหนีไปการนำรถจักรยานยนต์ไปจอดห่างมาก เช่นนั้นเป็นพฤติการณ์ที่บ่งชี้ว่าจำเลยมีเจตนาเพียงใช้ รถจักรยานยนต์ของกลางไปและกลับจากการกระทำความผิด และเพื่อหลบหนีให้พ้นจากการจับกุมโดยสะดวกรวดเร็วเท่านั้น รถจักรยานยนต์ของกลางจึงไม่ใช่ทรัพย์ที่จะพึงริบตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7777/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองอาวุธปืนผิดกฎหมายและการริบของกลาง: การปรับบทและขอบเขตการริบ
จำเลยมีอาวุธปืนไม่มีหมายเลขทะเบียนและอาวุธปืนมีหมายเลขทะเบียน ซึ่งเป็นอาวุธปืนของกลางรวมทั้งสิ้น 3 กระบอก ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องปรับบทลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ มาตรา 72 วรรคสามด้วย การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ มาตรา 7, 72วรรคหนึ่ง และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นในส่วนนี้ จึงไม่ถูกต้อง ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
จำเลยมีอาวุธปืนยาวประจุปาก (ปืนแก๊ป) ชนิดประกอบขึ้นเองเมื่อเป็นอาวุธปืนที่มีทะเบียน จำเลยจึงมีความผิดในส่วนที่ไม่ได้รับอนุญาตให้มีและซ่อมแซมอาวุธปืนเท่านั้น อาวุธปืนดังกล่าวมิใช่ทรัพย์สินที่มีไว้เป็นความผิด อันจะพึงต้องริบตาม ป.อ.มาตรา 32 และมิใช่ทรัพย์สินซึ่งได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด ตามมาตรา 33 (1) การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้ริบอาวุธปืนกระบอกดังกล่าวจึงไม่ถูกต้อง ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้คืนอาวุธปืนกระบอกดังกล่าวแก่เจ้าของตามที่ปรากฏชื่อทางทะเบียน
จำเลยมีอาวุธปืนยาวประจุปาก (ปืนแก๊ป) ชนิดประกอบขึ้นเองเมื่อเป็นอาวุธปืนที่มีทะเบียน จำเลยจึงมีความผิดในส่วนที่ไม่ได้รับอนุญาตให้มีและซ่อมแซมอาวุธปืนเท่านั้น อาวุธปืนดังกล่าวมิใช่ทรัพย์สินที่มีไว้เป็นความผิด อันจะพึงต้องริบตาม ป.อ.มาตรา 32 และมิใช่ทรัพย์สินซึ่งได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด ตามมาตรา 33 (1) การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้ริบอาวุธปืนกระบอกดังกล่าวจึงไม่ถูกต้อง ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้คืนอาวุธปืนกระบอกดังกล่าวแก่เจ้าของตามที่ปรากฏชื่อทางทะเบียน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7777/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดอาวุธปืน การปรับบทลงโทษ และการริบของกลางที่มิชอบ
จำเลยมีอาวุธปืนไม่มีหมายเลขทะเบียนและอาวุธปืนมีหมายเลขทะเบียน ซึ่งเป็นอาวุธปืนของกลางรวมทั้งสิ้น 3 กระบอก ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องปรับบทลงโทษจำเลยตาม พระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ มาตรา 72 วรรคสามด้วย การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ มาตรา 7,72 วรรคหนึ่งและศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นในส่วนนี้จึงไม่ถูกต้อง ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง จำเลยมีอาวุธปืนยาวประจุปาก (ปืนแก๊ป) ชนิดประกอบขึ้นเอง เมื่อเป็นอาวุธปืนที่มีทะเบียน จำเลยจึงมีความผิด ในส่วนที่ไม่ได้รับอนุญาตให้มีและซ่อมแซมอาวุธปืนเท่านั้น อาวุธปืนดังกล่าวมิใช่ทรัพย์สินที่มีไว้เป็นความผิด อันจะพึงต้องริบตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32และมิใช่ทรัพย์สินซึ่งได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด ตามมาตรา 33(1) การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้ริบอาวุธปืนกระบอกดังกล่าวจึงไม่ถูกต้อง ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้คืนอาวุธปืนกระบอกดังกล่าวแก่เจ้าของตามที่ปรากฏชื่อทางทะเบียน