พบผลลัพธ์ทั้งหมด 11 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 57/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดจากการบุกรุกทำลายทรัพย์สิน (สัปปะรด) และการคิดดอกเบี้ยค่าเสียหายตามกฎหมาย
ฎีกาของจำเลยทั้งสองมี 2 ข้อ โดยข้อ 2.1 ระบุว่าปัญหาข้อเท็จจริง ส่วนข้อ 2.2 ระบุว่าปัญหาข้อกฎหมายเมื่อผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 7 ไม่อนุญาตให้จำเลยทั้งสองฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในฎีกาของจำเลยทั้งสองในคดีส่วนอาญาเพียงว่าผู้พิพากษาศาลดังกล่าวมีคำสั่งไม่รับรองให้จำเลยทั้งสอง จึงมีคำสั่งไม่รับ โดยไม่ได้สั่งฎีกาของจำเลยทั้งสองข้อ 2.2 ที่จำเลยทั้งสองอ้างว่าเป็นปัญหาข้อกฎหมายจึงไม่ชอบ จึงให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าวเสียและมีคำสั่งใหม่เป็นสั่งรับฎีกาข้อ 2.2 และถึงแม้จะมีความบกพร่องเกี่ยวกับการสอบคำให้การของพยานโจทก์ในชั้นสอบสวนดังที่จำเลยทั้งสองฎีกา ก็เพียงมีผลต่อน้ำหนักในการรับฟังคำให้การดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานในชั้นศาลเท่านั้น หาได้ทำให้การสอบสวนเสียไปไม่ ส่วนข้อที่ว่าพนักงานสอบสวนไม่ปฏิบัติตาม ป.วิ.อ. มาตรา 134/1 ถึงมาตรา 134/4 นั้น บทบัญญัติดังกล่าวเป็นบทบัญญัติคุ้มครองสิทธิของผู้ต้องหาในชั้นที่พนักงานสอบสวนถามคำให้การของผู้ต้องหา แต่ในวันที่จำเลยทั้งสองกล่าวอ้างในฎีกานั้นยังอยู่ในระหว่างรับคำร้องทุกข์ของผู้เสียหาย พนักงานสอบสวนยังไม่ได้แจ้งข้อหาหรือสอบถามคำให้การของจำเลยทั้งสอง กรณีไม่อยู่ภายใต้บังคับของบทบัญญัติดังกล่าว การสอบสวนจึงชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7123/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งความเท็จและแสดงบัตรประชาชนผู้อื่นต่อพนักงานสอบสวนเป็นความผิดอาญา
ป.วิ.อ. ได้บัญญัติถึงอำนาจและหน้าที่ของพนักงานสอบสวนในชั้นแจ้งข้อหาตามมาตรา 134 ซึ่งความในวรรคหนึ่งกำหนดให้พนักงานสอบสวนต้องถามชื่อตัว ชื่อรอง ชื่อสกุล สัญชาติ บิดามารดา อายุ อาชีพ ที่อยู่ที่เกิดของผู้ต้องหาเป็นประการแรก ต่อจากนั้นจึงแจ้งให้ทราบถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำที่ถูกกล่าวหา แล้วจึงแจ้งข้อหาให้ผู้ต้องหาทราบ รวมทั้งให้โอกาสผู้ต้องหาที่จะแก้ข้อหาและแสดงข้อเท็จจริงอันเป็นประโยชน์แก่ตน ดังนั้น เมื่อเริ่มทำการสอบสวนพนักงานสอบสวนจึงมีอำนาจสอบถามข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับตัวผู้ต้องหา ผู้ต้องหามีหน้าที่ให้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับตนเองตามบทบัญญัติดังกล่าว ซึ่งมีสภาพบังคับทางอาญาดังที่บัญญัติไว้ใน ป.อ. มาตรา 367 ภายใต้หลักเกณฑ์ที่พนักงานสอบสวนต้องให้โอกาสผู้ต้องหาที่จะแก้ข้อกล่าวหาและแสดงข้อเท็จจริงที่เป็นประโยชน์แก่ตนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 134 วรรคสี่เพื่อให้การสอบสวนดำเนินต่อไปได้ถูกต้องและชอบธรรม ส่วนการถามคำให้การผู้ต้องหาอันเป็นอีกขั้นตอนหนึ่ง ซึ่ง ป.วิ.อ. มาตรา 134/4 บัญญัติให้เป็นหน้าที่พนักงานสอบสวนต้องแจ้งให้ผู้ต้องหาทราบถึงสิทธิที่จะให้การหรือไม่ก็ได้ รวมทั้งสิทธิในการให้ทนายความและบุคคลที่ผู้ต้องหาไว้วางใจเข้าฟังการสอบปากคำ ซึ่งเป็นขั้นตอนเมื่อผ่านการแจ้งข้อหาแก่ผู้ต้องหาแล้ว ไม่อาจแปลความไปถึงขนาดให้สิทธิผู้ต้องหาที่จะปฏิเสธอำนาจหน้าที่ของพนักงานสอบสวนเมื่อเริ่มทำการสอบสวนดังกล่าวข้างต้น จำเลยแจ้งความเท็จและแจ้งให้ร้อยตำรวจโท ด. เจ้าพนักงานสอบสวนจดข้อความอันเป็นเท็จลงในบันทึกคำให้การของจำเลยซึ่งเป็นผู้ต้องหาในความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นว่าจำเลยเป็น ธ. ซึ่งถึงแก่ความตายไปแล้ว หลังจากนั้นเมื่อพนักงานสอบสวนเรียกตัวจำเลยไปสอบถามเนื่องจากจำเลยผิดเงื่อนไขการคุมความประพฤติตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น จำเลยแจ้งความเท็จและแสดงบัตรประจำตัวประชาชนของ ธ. เพื่อให้ร้อยตำรวจโท ด. หลงเชื่อว่าจำเลยเป็น ธ. จึงไม่อาจถือได้ว่าเป็นการให้การและใช้สิทธิในขั้นตอนการทำคำให้การที่จำเลยเป็นผู้ต้องหาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 134/4 (1) การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 137, 267, 367
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8542/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติด การร่วมกันกระทำผิด และการใช้คำรับสารภาพที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 นั่งรถคันเดียวกันมาที่ร้านอาหาร แล้วจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 เจรจาตกลงขายเมทแอมเฟตามีนให้แก่ดาบตำรวจ ก. ต่อมาสิบตำรวจโท ป. พาจำเลยที่ 3 ไปตรวจนับเงินค่าเมทแอมเฟตามีน วันรุ่งขึ้นจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 มาที่จุดนัดหมาย จำเลยที่ 1 ตรวจนับเงิน จำเลยที่ 2 พาสิบตำรวจโท ป. ไปรับเมทแอมเฟตามีนที่สถานีบริการน้ำมันคิวเอท ส่วนจำเลยที่ 4 นำเมทแอมเฟตามีนมามอบให้จำเลยที่ 2 ที่สถานีบริการน้ำมันคิวเอทและจำเลยที่ 2 ส่งมอบต่อให้สายลับในทันที พฤติการณ์ของจำเลยทั้งสี่ฟังได้ว่า จำเลยทั้งสี่ได้ร่วมกันรู้เห็นเป็นใจและแบ่งหน้าที่กันทำมาตั้งแต่ต้น
ที่จำเลยที่ 4 ฎีกาว่า คำให้การรับสารภาพในชั้นจับกุมและคำให้การในชั้นสอบสวนซึ่งเจ้าพนักงานไม่ได้แจ้งสิทธิของผู้ต้องหาให้ทราบก่อนและไม่ได้แจ้งว่าจะไม่ให้การก็ได้เป็นพยานหลักฐานที่รับฟังไม่ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 84, 134/1 และ 134/4 นั้น เห็นว่า มาตรา 84, 134/1 และ 134/4 ได้มีการแก้ไขโดยพ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 22) พ.ศ.2547 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 24 ธันวาคม 2547 เป็นต้นไป โดยไม่มีผลบังคับย้อนหลัง จึงไม่กระทบต่อกระบวนพิจารณาความอาญาที่ได้ดำเนินการเสร็จสิ้นไปแล้ว แต่คำรับสารภาพในชั้นจับกุมและคำให้การในชั้นสอบสวนของจำเลยที่ 4 ได้กระทำขึ้นก่อนวันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวมีผลบังคับ คำรับสารภาพในชั้นจับกุมและคำให้การในชั้นสอบสวนของจำเลยที่ 4 จึงไม่ต้องห้ามใช้เป็นพยานหลักฐาน
ที่จำเลยที่ 4 ฎีกาว่า คำให้การรับสารภาพในชั้นจับกุมและคำให้การในชั้นสอบสวนซึ่งเจ้าพนักงานไม่ได้แจ้งสิทธิของผู้ต้องหาให้ทราบก่อนและไม่ได้แจ้งว่าจะไม่ให้การก็ได้เป็นพยานหลักฐานที่รับฟังไม่ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 84, 134/1 และ 134/4 นั้น เห็นว่า มาตรา 84, 134/1 และ 134/4 ได้มีการแก้ไขโดยพ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 22) พ.ศ.2547 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 24 ธันวาคม 2547 เป็นต้นไป โดยไม่มีผลบังคับย้อนหลัง จึงไม่กระทบต่อกระบวนพิจารณาความอาญาที่ได้ดำเนินการเสร็จสิ้นไปแล้ว แต่คำรับสารภาพในชั้นจับกุมและคำให้การในชั้นสอบสวนของจำเลยที่ 4 ได้กระทำขึ้นก่อนวันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวมีผลบังคับ คำรับสารภาพในชั้นจับกุมและคำให้การในชั้นสอบสวนของจำเลยที่ 4 จึงไม่ต้องห้ามใช้เป็นพยานหลักฐาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3939/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังคำสารภาพของจำเลยชาวเขาที่ไม่เข้าใจภาษาไทย ต้องมีล่ามแปลตามกฎหมาย หากไม่มี ถ้อยคำรับสารภาพนั้นใช้เป็นหลักฐานไม่ได้
จำเลยเป็นชาวเขาเผ่าว้าไม่เข้าใจภาษาไทยและต้องสื่อสารกันด้วยภาษามือ กับจำเลยต้องเบิกความผ่านล่าม เชื่อว่าจำเลยไม่รู้และเข้าใจภาษาไทย การที่พันตำรวจโท ช. สอบปากคำจำเลยโดยไม่ได้จัดหาล่ามแปลให้จำเลยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 13 จึงยังถือไม่ได้ว่า จำเลยเข้าใจข้อหาและให้การรับสารภาพด้วยความสมัครใจ ถ้อยคำรับสารภาพของจำเลยจึงไม่สามารถรับฟังเป็นพยานหลักฐานเพื่อพิสูจน์ความผิดของจำเลยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 134/4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13535/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจับกุม ตรวจค้น และแจ้งสิทธิผู้ต้องหา: กฎหมายไม่มีผลย้อนหลัง และอำนาจเจ้าพนักงานตำรวจ
ในขณะที่เจ้าพนักงานตำรวจจับกุมจำเลยและพนักงานสอบสวนได้สอบสวนจำเลยนั้น พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.อ. (ฉบับที่ 22)ฯ มาตรา 4 และมาตรา 39 ซึ่งได้บัญญัติเพิ่มเติมมาตรา 7/1 และมาตรา 134/4 ที่บัญญัติให้มีการแจ้งสิทธิดังกล่าวแก่ผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหายังได้ออกใช้บังคับ ประกอบกับ ป.วิ.อ. ที่แก้ไขใหม่ดังกล่าวก็ไม่มีบทบัญญัติให้นำมาตรา 7/1 และ มาตรา 134/4 มาใช้บังคับแก่คดีที่มีการจับกุมและสอบสวนเสร็จสิ้นไปก่อนวันที่กฎหมายที่แก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวมีผลใช้บังคับ จึงต้องใช้หลักทั่วไปที่ว่ากฎหมายไม่มีผลย้อนหลัง ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานตำรวจชุดจับกุมและพนักงานสอบสวนไม่ได้แจ้งให้จำเลยทราบถึงสิทธิต่างๆ โดยละเอียดดังกล่าวจึงชอบแล้ว
โจทก์ได้บรรยายฟ้องไว้แล้วว่ามีการสอบสวนแล้ว ทั้งจำเลยก็มิได้ฎีกาว่าการสอบสวนไม่ชอบเพราะเหตุผลอื่นๆ เพียงแต่อ้างว่าการตรวจค้นโดยไม่มีหมายค้นเป็นการไม่ชอบ จึงต้องถือว่าการสอบสวนในความผิดที่กล่าวหาตามฟ้องชอบแล้วนอกจากนี้การตรวจค้นและการสอบสวนเป็นการดำเนินการคนละขั้นตอนกัน แม้การตรวจค้นจับกุมและไม่ชอบด้วยกฎหมายก็หามีผลทำให้การสอบสวนไม่ชอบด้วยกฎหมายไปด้วยไม่
ร้อยตำรวจเอก ป. ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจย่อมมีอำนาจหน้าที่ในการรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชนและทำการจับกุมปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมายได้ นอกจากนี้ยังมีอำนาจทำการสืบสวนคดีอาญาได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (16) (17) และมาตรา 17 ซึ่งเป็นไปโดยผลของกฎหมาย ดังนั้น ร้อยตำรวจเอก ป. จึงมีอำนาจจับกุม ควบคุมตัวจำเลย ตลอดจนการจัดทำเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในอำนาจหน้าที่ได้ หาใช่จะเป็นเจ้าพนักงานตำรวจหรือไม่ขึ้นอยู่กับการลงบันทึกประจำวันว่าออกปฏิบัติหน้าที่ดังที่จำเลยอ้างในฎีกาแต่อย่างใดไม่
โจทก์ได้บรรยายฟ้องไว้แล้วว่ามีการสอบสวนแล้ว ทั้งจำเลยก็มิได้ฎีกาว่าการสอบสวนไม่ชอบเพราะเหตุผลอื่นๆ เพียงแต่อ้างว่าการตรวจค้นโดยไม่มีหมายค้นเป็นการไม่ชอบ จึงต้องถือว่าการสอบสวนในความผิดที่กล่าวหาตามฟ้องชอบแล้วนอกจากนี้การตรวจค้นและการสอบสวนเป็นการดำเนินการคนละขั้นตอนกัน แม้การตรวจค้นจับกุมและไม่ชอบด้วยกฎหมายก็หามีผลทำให้การสอบสวนไม่ชอบด้วยกฎหมายไปด้วยไม่
ร้อยตำรวจเอก ป. ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจย่อมมีอำนาจหน้าที่ในการรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชนและทำการจับกุมปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมายได้ นอกจากนี้ยังมีอำนาจทำการสืบสวนคดีอาญาได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (16) (17) และมาตรา 17 ซึ่งเป็นไปโดยผลของกฎหมาย ดังนั้น ร้อยตำรวจเอก ป. จึงมีอำนาจจับกุม ควบคุมตัวจำเลย ตลอดจนการจัดทำเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในอำนาจหน้าที่ได้ หาใช่จะเป็นเจ้าพนักงานตำรวจหรือไม่ขึ้นอยู่กับการลงบันทึกประจำวันว่าออกปฏิบัติหน้าที่ดังที่จำเลยอ้างในฎีกาแต่อย่างใดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10704/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งข้อหาอาญา: การเปิดเผยรายละเอียดความผิดก่อนแจ้งข้อหาและความเข้าใจของผู้ต้องหา
ก่อนที่พนักงานสอบสวนจะแจ้งข้อหาแก่จำเลยทั้งสอง พนักงานสอบสวนเคยเรียกจำเลยทั้งสองไปสอบถามถึงเรื่องราวที่เกิดขึ้น จำเลยที่ 1 ให้ถ้อยคำไว้ตามบันทึกถ้อยคำของจำเลยที่ 1 ส่วนจำเลยที่ 2 ให้การรับสารภาพตามบันทึกคำรับสารภาพของจำเลยที่ 2 ที่เขียนด้วยลายมือของจำเลยที่ 2 เอง แสดงว่าจำเลยทั้งสองต่างรู้ดีถึงเรื่องราวที่เกิดขึ้น ทั้งในวันที่พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาแก่จำเลยทั้งสอง จำเลยทั้งสองให้การว่า ทราบและเข้าใจข้อหาที่พนักงานสอบสวนแจ้งดีแล้ว ดังนั้น การที่พนักงานสอบสวนไม่ได้กล่าวย้ำถึงข้อเท็จจริงและรายละเอียดของเรื่องที่กล่าวหาว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันกระทำความผิดอีกครั้งหนึ่ง ก็ไม่ทำให้การสอบสวนไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1486/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังคำให้การในชั้นสอบสวนภายหลังการแก้ไขกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา: การใช้กฎหมายเดิมก่อนแก้ไข
ก่อนสอบคำให้การจำเลย พนักงานสอบสวนได้แจ้งสิทธิแก่จำเลยซึ่งเป็นผู้ต้องหาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 134 ประกอบด้วยมาตรา 7 ทวิ จึงชอบด้วยกฎหมายในขณะที่พนักงานสอบสวนทำการสอบคำให้การจำเลยแล้ว ส่วน ป.วิ.อ. มาตรา 134/4 ซึ่งบัญญัติว่า ในการถามคำให้การผู้ต้องหา ให้พนักงานสอบสวนแจ้งให้ผู้ต้องหาทราบก่อนว่า (1) ผู้ต้องหามีสิทธิที่จะให้การหรือไม่ก็ได้ ถ้าผู้ต้องหาให้การ ถ้อยคำที่ผู้ต้องหาให้การนั้นอาจใช้เป็นพยานหลักฐานในการพิจารณาคดีได้ (2) ผู้ต้องหามีสิทธิให้ทนายความหรือผู้ซึ่งตนไว้วางใจเข้าฟังการสอบปากคำตนได้เป็นบทบัญญัติที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา 39 แห่ง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.อ. (ฉบับที่ 22)ฯ ซึ่งมีผลใช้บังคับภายหลังวันที่เจ้าพนักงานสอบสวนทำการสอบคำให้การจำเลย ดังนั้น ถ้อยคำของจำเลยที่ให้ไว้แก่พนักงานสอบสวนตามบันทึกคำให้การของผู้ต้องหาจึงเป็นไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 134 ซึ่งเป็นบทบัญญัติของกฎหมายก่อนมีการแก้ไขให้ถ้อยคำของผู้ต้องหาใช้เป็นพยานหลักฐานยันจำเลยในการพิจารณาได้ ประกอบกับ ป.วิ.อ. ที่แก้ไขใหม่ดังกล่าว ก็ไม่มีบทบัญญัติให้นำ มาตรา 134/4 มาใช้บังคับแก่คดีที่การสอบสวนเสร็จสิ้นไปก่อนวันที่กฎหมายที่แก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวมีผลใช้บังคับ จึงต้องใช้หลักทั่วไปว่ากฎหมายไม่มีผลย้อนหลัง ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์รับฟังคำให้การรับสารภาพในชั้นสอบสวนของจำเลยนั้นชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4146/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งสิทธิผู้ถูกจับ-สอบสวน และการใช้กฎหมายใหม่ย้อนหลัง กรณีคดียาเสพติด
ในขณะที่เจ้าพนักงานตำรวจจับกุมจำเลยที่ 2 และพนักงานสอบสวนได้สอบสวนจำเลยที่ 2 นั้น พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.อ. (ฉบับที่ 22)ฯ มาตรา 4 และมาตรา 38 ซึ่งได้บัญญัติเพิ่มเติมมาตรา 7/1 และมาตรา 134/4 ที่บัญญัติให้มีการแจ้งสิทธิดังกล่าวแก่ผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหายังมิได้ออกใช้บังคับ ประกอบกับ ป.วิ.อ. ที่แก้ไขใหม่ดังกล่าว ก็ไม่มีบทบัญญัติให้นำมาตรา 7/1 และมาตรา 134/4 มาใช้บังคับแก่คดีที่มีการจับกุมและสอบสวนเสร็จสิ้นไปก่อนวันที่กฎหมายที่แก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวมีผลใช้บังคับ จึงต้องใช้หลักทั่วไปว่ากฎหมายไม่มีผลย้อนหลัง ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานตำรวจผู้จับกุมและพนักงานสอบสวนไม่ได้แจ้งให้จำเลยที่ 2 ทราบถึงสิทธิต่างๆ ดังกล่าว จึงชอบด้วยกฎหมายขณะที่มีการจับกุมและสอบสวน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3119/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสอบสวนที่ไม่แจ้งสิทธิทนายความและการรับฟังคำรับสารภาพที่ไม่เกิดจากความสมัครใจ
แม้ ป.วิ.อ. มาตรา 7/1 (2) จะบัญญัติให้ผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหามีสิทธิให้ทนายความหรือผู้ที่ตนไว้วางใจเข้าฟังการสอบสวนปากคำตนได้ในชั้นสอบสวนและมาตรา 134/3 บัญญัติว่าผู้ต้องหามีสิทธิให้ทนายความหรือผู้ที่ตนไว้วางใจเข้าฟังการสอบปากคำตนได้ และมาตรา 134/4 (2) บัญญัติในเรื่องการถามคำให้การผู้ต้องหานั้นให้พนักงานสอบสวนแจ้งให้ผู้ต้องหาทราบก่อนว่าผู้ต้องหามีสิทธิให้ทนายความหรือผู้ที่ไว้วางใจเข้าฟังการสอบปากคำตนได้ก็ตาม แต่ในบทบัญญัติของมาตรา 134/4 วรรคท้าย ก็บัญญัติไว้แต่เพียงว่า ถ้อยคำใดๆ ที่ผู้ต้องหาให้ไว้ต่อพนักงานสอบสวนก่อนมีการแจ้งสิทธิตามวรรคหนึ่ง หรือก่อนที่จะดำเนินการตามมาตรา 134/3 จะรับฟังเป็นพยานหลักฐานในการพิสูจน์ความผิดของผู้นั้นไม่ได้เท่านั้น ดังนั้น แม้พนักงานสอบสวนจะไม่ได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้นก็หาทำให้การสอบสวนคดีไม่ชอบแต่อย่างใดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2390/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสอบสวนผู้ต้องหาอายุ 16 ปี ก่อนบังคับใช้ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 20) พ.ศ.2542 ถือชอบด้วยกฎหมาย
พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 20)ฯ มาตรา 6 บังคับใช้วันที่ 14 กันยายน 2542 อันเป็นเวลาภายหลังที่มีการสอบสวนจำเลยแล้ว ฉะนั้นการสอบสวนจำเลยซึ่งมีอายุ 16 ปี จึงไม่อยู่ในบังคับตาม พระราชบัญญัติดังกล่าว และไม่ต้องมีผู้เชี่ยวชาญหรือทนายความหรือบิดามารดาหรือผู้ที่จำเลยไว้วางใจอันเป็นบุคคลที่จำเลยอ้างร่วมฟังการสอบสวน การสอบสวนจำเลยจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว