คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 ม. 7 (1)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 30 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1412/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษี: การออกหมายเรียก, สิทธิอุทธรณ์, และรายจ่ายต้องห้าม
ตาม ป. รัษฎากร มาตรา 19 และ 20 การออกหมายเรียกเป็นขั้นตอนหนึ่งของการประเมิน หากโจทก์เห็นว่าการออกหมายเรียกไม่ชอบด้วยกฎหมายโจทก์ก็ชอบที่จะโต้แย้งคัดค้านโดยอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ภายในกำหนดเวลาสามสิบวันนับแต่ได้รับแจ้งการประเมินคือได้รับหนังสือแจ้งการเปลี่ยนแปลงผลขาดทุนสุทธิสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2530 ถึง 2532 ตาม ป. รัษฎากร มาตรา 30 เมื่อโจทก์ไม่ใช้สิทธิอุทธรณ์ก็ต้องถือว่าการประเมินชอบด้วยกฎหมายแล้ว โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินตามหนังสือแจ้งการเปลี่ยนแปลงผลการขาดทุนสุทธิดังกล่าวเพราะต้องห้ามตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรฯ มาตรา 7 (1) และ 8
ในปี 2533 โจทก์เป็นเพียงผู้ผลิตและขายสินค้าให้แก่ลูกค้าภายในประเทศ และโจทก์มีบริษัท บ. ซึ่งเป็นบริษัทในเครือเป็นลูกค้ารับซื้อแป้งจากโจทก์ไปจำหน่ายยังต่างประเทศอยู่แล้ว จึงไม่มีเหตุจำเป็นที่กรรมการโจทก์ต้องไปดำเนินการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สินค้าให้แก่ลูกค้าในต่างประเทศ ทั้งโจทก์ไม่มีหลักฐานที่เป็นเอกสารในการติดต่อทางการค้ากับลูกค้าของโจทก์ในต่างประเทศมาแสดงต่อศาล จึงฟังไม่ได้ว่ากรรมการของโจทก์เดินทางไปต่างประเทศเพื่อติดต่อลูกค้าเพื่อเปิดตลาดใหม่และแก้ไขปัญหาสินค้าของโจทก์เพื่อประโยชน์แก่ธุรกิจของโจทก์ ค่าใช้จ่ายดังกล่าวจึงเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการส่วนตัวและเป็นรายจ่ายซึ่งมิใช่รายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะ จึงต้องห้ามไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตาม ป. รัษฎากร มาตรา 65 ตรี (3) และ (13)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11979/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีภาษีมูลค่าเพิ่ม: ต้องรอการวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการภาษีอากรเสียก่อน
หนังสือทวงถามของโจทก์กรณีเรียกภาษีมูลค่าเพิ่มที่จำเลยที่ 1 ได้รับคืนไป แม้จะมิใช่หนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ข้ออ้างสิทธิของโจทก์และจำนวนเงินที่โจทก์ทวงถามตามหนังสือดังกล่าว ก็เป็นมูลเดียวกันกับที่เจ้าพนักงานประเมินออกหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มแก่จำเลยที่ 1 โดยอ้างว่าจำเลยที่ 1 แสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ถูกต้องนั่นเอง ข้อพิพาทในคดีนี้ที่ว่าจำเลยที่ 1 ต้องคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ได้รับคืนไปให้แก่โจทก์หรือไม่ จึงเป็นคดีอุทธรณ์คำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานหรือคณะกรรมการตามกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากรตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรฯ มาตรา 7(1) ซึ่งจะฟ้องคดีในศาลภาษีอากรได้ก็ต่อเมื่อได้มีการวินิจฉัยชี้ขาดคำคัดค้านหรือคำอุทธรณ์นั้นเสร็จสิ้นแล้ว เมื่อจำเลยที่ 1 ได้อุทธรณ์คัดค้านการประเมินแต่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยชี้ขาดอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 โจทก์จึงยังไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้อง และไม่มีอำนาจฟ้องตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรฯ มาตรา 8
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 10/2547)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11979/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีภาษีอากร: ต้องรอการวินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นก่อน จึงจะฟ้องคดีได้
จำเลยที่ 1 เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม มีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชำระภาษีทุกเดือนภาษีหากภาษีซื้อมากกว่าภาษีขายจำเลยที่ 1 มีสิทธิได้รับคืนภาษีตาม ป.รัษภากร ฯ มาตรา 82/3 วรรคสาม โดยมีสิทธิขอคืนพร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีของเดือนภาษีนั้นตาม ป.รัษฎากร ฯ มาตรา 84 ภาษีมูลค่าเพิ่มที่จำเลยที่ 1 ได้รับคืนไปจากโจทก์ เป็นการปฏิบัติตามบทกฎหมาย และภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นภาษีอากรประเมินตาม ป.รัษฎากร ฯ มาตรา 77
เจ้าพนักงานของโจทก์ออกหมายเรียกตาม ป.รัษฎากร ฯ เพื่อตรวจสอบการชำระภาษีอากรในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2537 ของจำเลยที่ 1 และพบว่าบางเดือนภาษีจำเลยที่ 1 มีสิทธิได้รับคืนภาษีมูลค่าเพิ่มบางส่วน บางเดือนภาษีจำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิได้รับคืนภาษีมูลค่าเพิ่มและเจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งการประเมินแก่จำเลยที่ 1 แล้ว เป็นกรณีที่เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งจำเลยที่ 1 มีสิทธิอุทธรณ์การประเมินตาม ป.รัษฎากร ฯ มาตรา 88/5
แม้หนังสือทวงถามของโจทก์จะมิใช่หนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มแต่ข้ออ้างสิทธิของโจทก์และจำนวนเงินที่โจทก์ทวงถามตามหนังสือก็เป็นมูลเดียวกันกับที่เจ้าพนักงานประเมินออกหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มแก่จำเลยที่ 1 โดยอ้างว่าจำเลยที่ 1 แสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ถูกต้อง ข้อพิพาทที่ว่าจำเลยที่ 1 ต้องคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ได้รับคืนไปให้แก่โจทก์หรือไม่ จึงเป็นคดีอุทธรณ์คำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานหรือคณะกรรมการตามกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากรตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร ฯ มาตรา 7 (1) ซึ่งจะฟ้องในศาลภาษีอากรได้ก็ต่อเมื่อได้มีการวินิจฉัยชี้ขาดคำคัดค้านหรือคำอุทธรณ์นั้นเสร็จสิ้นแล้ว เมื่อจำเลยที่ 1 ได้อุทธรณ์คัดค้านการประเมินแต่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยชี้ขาดอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 โจทก์จึงยังไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้องและไม่มีอำนาจฟ้องตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธิพิจารณาคดีภาษีอากร ฯ มาตรา 8
(ประชุมใหญ่)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4776/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีภาษีอากรเมื่อมีกฎหมายบัญญัติให้คำวินิจฉัยของอธิบดีกรมสรรพากรเป็นที่สุด
คำวินิจฉัยของอธิบดีกรมสรรพากรที่กฎหมายบัญญัติให้ถือเป็นที่สุดนั้นเมื่อไม่ปรากฏว่า อธิบดีกรมสรรพากรได้กลั่นแกล้งหรือไม่สุจริตผู้ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยจะอุทธรณ์ต่อศาลภาษีอากรตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ.2528มาตรา7(1)หาได้ไม่เพราะการอุทธรณ์คำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานตามกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากรตามมาตรา7(1)นั้นหมายถึงกรณีที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติให้คำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานดังกล่าวเป็นที่สุดเท่านั้นหากมีกฎหมายบัญญัติให้คำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานตามกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากรถือเป็นที่สุดแล้วก็ต้องบังคับตามบทบัญญัติของกฎหมายที่บัญญัติเป็นพิเศษเฉพาะกรณีนั้นๆดังนั้นโจทก์ผู้ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยจึง ไม่มี อำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 373/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีภาษีอากรที่ศาลภาษีอากรกลางไม่มีอำนาจพิจารณา เนื่องจากยังไม่มีคำสั่งหรือคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงาน
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยรับแบบคำขอรับสิทธิยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับยอดลูกค้าเช่าซื้อคงเหลือที่ได้ทำสัญญาเช่าซื้อก่อนวันที่ 1 มกราคม 2535 และหรือให้จำเลยไม่มีสิทธินำยอดลูกค้าเช่าซื้อคงเหลือดังกล่าวมาเป็นฐานในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อเรียกเก็บภาษีจากโจทก์ แต่ตามคำฟ้องไม่ปรากฏข้อพิพาทเกี่ยวกับภาษีอากรว่าจำเลยได้นำเงินค่าเช่าซื้อดังกล่าวมาเป็นฐานในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อเรียกเก็บภาษีอากรจากโจทก์ และการที่โจทก์ไม่ได้ยื่นแบบคำขอดังกล่าวภายในกำหนดเวลาก็มิได้เกิดจากคำสั่งหรือคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงาน แต่เป็นเพราะเชื่อตามคำแนะนำชี้แจงของเจ้าพนักงาน และโจทก์ไม่ได้ยืนยันที่จะยื่นในขณะที่ยังอยู่ในกำหนดเวลาที่จะยื่นได้ เจ้าพนักงานตามกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากรจึงยังมิได้มีคำสั่งหรือคำวินิจฉัยในเรื่องนี้ตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ. 2528 มาตรา 7(1) คดีของโจทก์ไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลภาษีอากรกลาง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3711/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลภาษีอากรกลางในการพิจารณาคดีกักยึดสินค้าและการกักยึดโดยชอบด้วยกฎหมาย
ปัญหาว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลภาษีอากรกลางหรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยย่อมยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์ได้
โจทก์ฟ้องโต้แย้งการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานศุลกากรที่อ้างว่า สินค้าที่โจทก์นำเข้าโจทก์ได้สำแดงเท็จเพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากรและกักยึดสินค้าไว้ โดยโจทก์เห็นว่าจำเลยกักยึดสินค้าของโจทก์ไม่ได้ เพราะโจทก์เสียภาษีอากรถูกต้องแล้ว จึงเป็นการโต้แย้งในปัญหาอันเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 ว่าเป็นไปโดยชอบหรือไม่ ฟ้องของโจทก์จึงเป็นคดีอุทธรณ์คำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 ตามนัยมาตรา 7 (1) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาศาลภาษีอากร พ.ศ.2528 และการกักยึดทรัพย์สินของบุคคล หากเป็นไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายย่อมกระทบถึงสิทธิในทรัพย์สินของบุคคล ซึ่งเป็นสิทธิในทางแพ่งศาลภาษีอากรกลางจึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ได้
การที่พนักงานศุลกากรของจำเลยกักยึดสินค้าพิพาทที่โจทก์นำเข้าไว้เพื่อดำเนินคดีอาญาแก่โจทก์ในข้อหาสำแดงเท็จ หลีกเลี่ยงการเสียภาษีศุลกากร ปลอมและใช้เอกสารราชการปลอมนั้น เป็นการกักยึดสินค้าไว้โดยมีเหตุอันควรสงสัยที่พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 24 และ25 ให้อำนาจไว้ และสินค้าพิพาทที่ถูกกักยึดนี้ก็เป็นของใด ๆ อันเนื่องด้วยความผิดตามมาตรา 27อันอาจถูกศาลสั่งริบได้ตามพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ.2482 มาตรา 17 ด้วย อีกทั้งพนักงานศุลกากรของจำเลยมีอำนาจกักยึดไว้จนกว่าคดีถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 85 วรรคสาม ดังนั้นการกักยึดสินค้าพิพาทจึงเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ไม่มีอำนาจขอคืนสินค้าพิพาทในชั้นนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3711/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลภาษีอากรกลางในคดีกักยึดสินค้า และความชอบด้วยกฎหมายของการกักยึดเพื่อดำเนินคดีอาญา
ปัญหาว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลภาษีอากรกลางหรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยย่อมยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์ได้ โจทก์ฟ้องโต้แย้งการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานศุลกากรที่อ้างว่าสินค้าที่โจทก์นำเข้าโจทก์ได้สำแดงเท็จเพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากรและกักยึดสินค้าไว้ โดยโจทก์เห็นว่าจำเลยกักยึดสินค้าของโจทก์ไม่ได้ เพราะโจทก์เสียภาษีอากรถูกต้องแล้ว จึงเป็นการโต้แย้งในปัญหาอันเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ. 2469 ว่าเป็นไปโดยชอบหรือไม่ ฟ้องของโจทก์จึงเป็นคดีอุทธรณ์คำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 ตามนัยมาตรา 7(1) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาศาลภาษีอากร พ.ศ. 2528 และการกักยึดทรัพย์สินของบุคคล หากเป็นไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายย่อมกระทบถึงสิทธิในทรัพย์สินของบุคคลซึ่งเป็นสิทธิในทางแพ่งศาลภาษีอากรกลางจึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ได้ การที่พนักงานศุลกากรของจำเลยกักยึดสินค้าพิพาทที่โจทก์นำเข้าไว้เพื่อดำเนินคดีอาญาแก่โจทก์ในข้อหาสำแดงเท็จ หลีกเลี่ยงการเสียภาษีศุลกากร ปลอมและใช้เอกสารราชการปลอมนั้น เป็นการกักยึดสินค้าไว้โดยมีเหตุอันควรสงสัยที่พระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ. 2469 มาตรา 24 และ 25 ให้อำนาจไว้ และสินค้าพิพาทที่ถูกกักยึดนี้ก็เป็นของใด ๆ อันเนื่องด้วยความผิดตามมาตรา 27อันอาจถูกศาลสั่งริบได้ตามพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 9)พ.ศ. 2482 มาตรา 17 ด้วย อีกทั้งพนักงานศุลกากรของจำเลยมีอำนาจกักยึดไว้จนกว่าคดีถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 85 วรรคสาม ดังนั้นการกักยึดสินค้าพิพาทจึงเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ไม่มีอำนาจขอคืนสินค้าพิพาทในชั้นนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5555/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีภาษีอากรต้องรอการวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เสียก่อน
ปัญหาที่ว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยต่อศาลภาษีอากรกลางก่อนที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยหรือไม่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีฝ่ายใดอุทธรณ์ เมื่อศาลฎีกาเห็นสมควรก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้พระราชบัญญัติ ญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ. 2528 มาตรา 8 บัญญัติถึงการฟ้องคดีตามมาตรา 7(1) ต่อศาลภาษีอากรว่าจะต้องมีการวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เสียก่อนและบทกฎหมายมาตรานี้หาได้บังคับเฉพาะผู้ถูกประเมินแต่เพียงฝ่ายเดียวไม่ ดังนั้นเมื่อจำเลยได้ใช้สิทธิอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แล้ว และคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ยังไม่ได้มีคำวินิจฉัยชี้ขาด โจทก์จึงต้องห้ามมิให้นำคดีมาฟ้องต่อศาลภาษีอากรกลางตามบทกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5555/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีภาษีอากรต้องรอการวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก่อน แม้โจทก์เป็นกรมสรรพากร
ปัญหาที่ว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยต่อศาลภาษีอากรกลางก่อนที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ ของจำเลยหรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีฝ่ายใดอุทธรณ์ เมื่อศาลฎีกาเห็นสมควรก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 8 บัญญัติถึงการฟ้องคดีตามมาตรา 7(1) ต่อศาลภาษีอากรว่าจะต้องมีการวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เสียก่อนและบทกฎหมายมาตรานี้ หาได้บังคับเฉพาะผู้ถูกประเมินแต่เพียงฝ่ายเดียวไม่ ดังนั้นเมื่อจำเลยได้ใช้สิทธิอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แล้ว และคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ยังไม่ได้มีคำวินิจฉัยชี้ขาด โจทก์จึงต้องห้ามมิให้นำคดีมาฟ้องต่อศาลภาษีอากรกลางตามบทกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1136/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีภาษีโรงเรือนและที่ดิน: ต้องชำระภาษีค้างชำระก่อนฟ้อง
การฟ้องคดีต่อศาลภาษีอากรให้ยกเลิกการเรียกเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดินเป็นการฟ้องคดีตามมาตรา 7(1) แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 ซึ่งมาตรา 8บัญญัติว่าจะฟ้องได้ก็ต่อเมื่อได้มีการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาเกี่ยวกับการคัดค้านหรืออุทธรณ์คำสั่ง คำวินิจฉัย ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากรนั้นแล้ว คดีของโจทก์เป็นการฟ้องโดยใช้สิทธิในฐานะผู้รับประเมินตามมาตรา 31 แห่ง พ.ร.บ. ภาษีโรงเรือนและที่ดินพุทธศักราช 2475 ซึ่งมีมาตรา 39 บัญญัติว่า 'ห้ามมิให้ศาลประทับฟ้อง...เว้นแต่จะเป็นที่พอใจศาลว่าผู้รับประเมินได้ชำระค่าภาษีทั้งสิ้น...' ดังนั้นเมื่อโจทก์ยังมิได้ชำระค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินตามที่จำเลยชี้ขาดเสียก่อน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีได้ แม้โจทก์จะตั้งรูปคดีเป็นเรื่องละเมิดมาด้วย ก็หาเป็นเหตุให้โจทก์มีสิทธิฟ้องคดีโดยไม่ปฏิบัติตามมาตรา 39 ดังกล่าวเสียก่อนไม่.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
of 3