คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 10

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 73 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 655/2565

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือค้ำประกัน - ศาลอุทธรณ์ชี้ว่าแม้แจ้งหลังกำหนด แต่การตีความสัญญาต้องคำนึงถึงเหตุผลทางธุรกิจและการขัดแย้งของกฎหมาย
หนังสือค้ำประกันทั้งสี่ฉบับ ข้อ 2 มีข้อความเช่นเดียวกันว่า เมื่อจำเลยได้รับหนังสือแจ้งจากโจทก์ว่าผู้ร้องสอดปฏิบัติผิดสัญญาและไม่ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ไม่ว่าทั้งหมดหรือเฉพาะส่วน จำเลยยอมชำระเงินแทนภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งความดังกล่าว ย่อมแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าหนังสือค้ำประกันทุกฉบับที่จำเลยมอบแก่โจทก์ก็เพื่อค้ำประกันการทำงานของผู้ร้องสอดในช่วงระยะเวลาที่หนังสือค้ำประกันแต่ละฉบับกำหนดไว้ เพราะหากพ้นจากช่วงระยะเวลาดังกล่าวของหนังสือค้ำประกันฉบับใดฉบับหนึ่ง ก็ไม่อาจถือได้ว่าผู้ร้องสอดปฏิบัติผิดสัญญาจ้างแก่โจทก์ในฉบับนั้น อันมีผลให้โจทก์ไม่อาจเรียกร้องให้จำเลยในฐานะผู้ค้ำประกันต้องรับผิดแทนผู้ร้องสอดได้ และหากตีความว่าเมื่อผู้ร้องสอดปฏิบัติผิดสัญญาต่อโจทก์ในช่วงเวลาตามที่กำหนดไว้ในหนังสือค้ำประกันก็ตาม โจทก์ยังต้องมีหนังสือแจ้งให้จำเลยชำระหนี้ตามหนังสือค้ำประกันภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในแต่ละฉบับ ย่อมขัดต่อความประสงค์และมุ่งหมายที่โจทก์ให้จำเลยค้ำประกันการทำงานของผู้ร้องสอดอย่างแท้จริง ทั้งจำเลยประกอบกิจการธนาคารพาณิชย์ โดยได้รับผลประโยชน์ในรูปค่าธรรมเนียมในการออกหนังสือค้ำประกันหนี้ของลูกค้า เช่นผู้ร้องสอด จากผู้ร้องสอดเป็นเงินตอบแทนในอัตราร้อยละ 2 ต่อปี ของยอดวงเงินค้ำประกัน ซึ่งคิดเป็นรายปี จำเลยย่อมทราบดีว่าในกรณีที่มีการกล่าวอ้างว่า ลูกหนี้ที่ตนค้ำประกันประพฤติผิดสัญญา ย่อมมีข้อโต้แย้งทำให้ไม่อาจแจ้งเหตุให้จำเลยทราบได้ภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ดังเช่นคดีนี้ โจทก์อ้างว่าผู้ร้องสอดผิดสัญญาตั้งแต่การส่งมอบงานชุดแรกในวันที่ 30 มิถุนายน 2554 และมีหนังสือแจ้งให้จำเลยชำระหนี้ตามหนังสือค้ำประกันเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2554 ภายหลังจากโจทก์แจ้งถึงการผิดสัญญาให้ผู้ร้องสอดทราบและบอกเลิกสัญญาแล้ว ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้จำเลยต้องรับผิดตามหนังสือค้ำประกัน โดยถือเอาวันที่ผู้ร้องสอดปฏิบัติผิดสัญญาในระหว่างช่วงเวลาที่หนังสือค้ำประกันการทำงานของผู้ร้องสอดกำหนดไว้ แม้จะมีหนังสือแจ้งให้จำเลยทราบเมื่อพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวก็หามีผลให้จำเลยหลุดพ้นความรับผิดไม่ จึงชอบด้วยหลักการตีความสัญญาตาม ป.พ.พ. มาตรา 368 เมื่อคำนึงประกอบกับสัญญาจ้างเหมางานก่อสร้างอาคารเรือนแถวและสัญญาจ้างเหมางานก่อสร้างอาคารพาณิชย์ ซึ่งระบุข้อความในข้อ 16.3 เช่นเดียวกันว่า "ในกรณีข้อพิพาท เพื่อระงับข้อพิพาท คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตกลงนำข้อพิพาทดังกล่าวเข้าสู่การพิจารณาของอนุญาโตตุลาการ กระทรวงยุติธรรม ผลของการพิจารณาจากอนุญาโตตุลาการ ถือว่าเป็นที่สิ้นสุดในข้อพิพาทนั้น" ย่อมมีผลให้โจทก์ต้องเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการว่าผู้ร้องสอดผิดสัญญาและต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์จำนวนเท่าใด ซึ่งตามสภาพการณ์ดังกล่าวจะต้องใช้เวลาพิจารณาเนิ่นนานพอสมควร โจทก์ย่อมไม่อาจแจ้งถึงความรับผิดของผู้ร้องสอดให้จำเลยทราบภายในกำหนดเวลาของหนังสือค้ำประกันแต่ละฉบับได้ ซึ่งจะมีผลให้หนังสือค้ำประกันสิ้นผลไปโดยปริยายและไม่มีประโยชน์อันใดที่โจทก์ต้องให้จำเลยทำหนังสือค้ำประกันการทำงานของผู้ร้องสอดแก่โจทก์ อันจะเป็นการขัดแย้งกับหลักการตีความตาม ป.พ.พ. มาตรา 10 เช่นนี้ การตีความสัญญาของศาลอุทธรณ์ที่ให้จำเลยต้องรับผิดในการผิดสัญญาของผู้ร้องสอดแก่โจทก์ แม้โจทก์จะมีหนังสือแจ้งให้จำเลยทราบภายหลังกำหนดเวลาดังกล่าวผ่านพ้นไปแล้วจึงชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยมิได้ยกข้อที่ว่า การที่โจทก์มิได้ทวงถามให้ผู้ร้องสอดชำระหนี้แก่โจทก์ก่อน ผู้ร้องสอดจึงยังมิได้ผิดนัด โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยให้รับผิดตามหนังสือค้ำประกันทั้งสี่ฉบับ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 686 ขึ้นเป็นข้อต่อสู้เรื่องอำนาจฟ้อง ทั้งผู้ร้องสอดก็กล่าวอ้างเพียงว่าแม้คณะอนุญาโตตุลาการจะได้มีคำชี้ขาดให้ผู้ร้องสอดรับผิดต่อโจทก์ แต่ผู้ร้องสอดได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลแพ่งเพิกถอนคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการดังกล่าว และคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาล อันเป็นเหตุเพียงพอให้ผู้ร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) ซึ่งหากคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการถูกศาลมีคำสั่งหรือคำพิพากษาให้เพิกถอนแล้ว ผู้ร้องสอดไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์และโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยจ่ายเงินตามหนังสือค้ำประกันได้อีกต่อไป โดยไม่มีประเด็นข้อพิพาทให้โจทก์ต้องนำสืบว่า โจทก์ได้เรียกร้องให้ผู้ร้องสอดรับผิดเพราะเหตุผิดสัญญา และผู้ร้องสอดผิดนัดแล้วจึงมีหนังสือแจ้งให้จำเลยต้องรับผิดตามหนังสือค้ำประกัน ดังนั้น อุทธรณ์ของผู้ร้องสอดในข้อนี้จึงเป็นข้อที่ผู้ร้องสอดมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ดังที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย แม้ผู้ร้องสอดฎีกาปัญหาข้อนี้มา ศาลฎีกาก็ไม่อาจรับวินิจฉัยให้เช่นเดียวกันตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 252
อนึ่ง ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยและผู้ร้องสอดร่วมกันชดใช้เงิน 9,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้อง เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์นั้น ปรากฎว่าระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา มีประกาศใช้ พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ.2564 โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน 2564 อันมีสาระสำคัญเกี่ยวกับมาตรา 7 และมาตรา 224 ว่าให้คิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดในอัตราร้อยละสามต่อปีบวกด้วยอัตราเพิ่มร้อยละสองต่อปี รวมเป็นดอกเบี้ยอัตราร้อยละห้าต่อปี หรืออัตราดอกเบี้ยใหม่ที่กระทรวงการคลังปรับเปลี่ยนโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกาบวกด้วยอัตราเพิ่มร้อยละสองต่อปี แต่ถ้าเจ้าหนี้อาจจะเรียกดอกเบี้ยได้สูงกว่านั้น โดยอาศัยเหตุอย่างอื่นอันชอบด้วยกฎหมาย ก็ให้คงคิดดอกเบี้ยต่อไปตามนั้น เมื่อปรากฏว่าสัญญาจ้างเหมางานก่อสร้างอาคารเรือนแถวและสัญญาจ้างเหมางานก่อสร้างอาคารพาณิชย์ มิได้กำหนดดอกเบี้ยไว้ ผู้ร้องสอดและจำเลยจึงต้องรับผิดโดยชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องตามที่โจทก์ขอ จนถึงวันที่ 10 เมษายน 2564 และดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 5 ต่อปี นับแต่วันที่ 11 เมษายน 2564 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ เมื่อปัญหาเรื่องอัตราดอกเบี้ยขัดต่อกฎหมายหรือไม่เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและกำหนดดอกเบี้ยให้ถูกต้องตามพระราชกำหนดดังกล่าวได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 252

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3281/2562

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาอนุญาโตตุลาการมีผลผูกพันแม้สัญญาหลักสิ้นสุด - การตีความเจตนาคู่สัญญาและการบังคับตามสัญญา
สัญญาตัวแทนตามคำฟ้องเป็นสัญญาระหว่างโจทก์ซึ่งมีสำนักงานอยู่ในประเทศไทยกับจำเลยซึ่งมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่เมืองเบรเมิน ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี การที่คู่สัญญาตกลงกันให้นำข้อพิพาทที่เกิดขึ้นจากสัญญาดังกล่าวซึ่งมีลักษณะเป็นการให้บริการระหว่างประเทศไปฟ้องยังศาลแห่งเมืองเบรเมิน ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ซึ่งถือเป็นภูมิลำเนาของจำเลยจึงสามารถทำได้ตามหลักกฎหมายทั่วไประหว่างประเทศ ไม่ตกเป็นโมฆะ
สำหรับการตีความสัญญานั้นต้องตีความไปตามความประสงค์หรือเจตนาอันมีร่วมกันของคู่สัญญาซึ่งเป็นเจตนาที่คาดหมายในทางสุจริต โดยพิเคราะห์ถึงปกติประเพณีซึ่งต้องสอดคล้องกับหลักปฏิบัติและกฎหมายไทยด้วย การที่พระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 ซึ่งนำกฎหมายแม่แบบว่าด้วยอนุญาโตตุลาการทางพาณิชย์ระหว่างประเทศของคณะกรรมาธิการว่าด้วยกฎหมายการค้าระหว่างประเทศแห่งสหประชาชาติ (UNCITRAL Model Law on International Commercial Arbitration) มาเป็นหลักในการพัฒนานั้น มีบทบัญญัติให้คู่พิพาทฝ่ายที่ประสงค์จะให้มีการบังคับตามคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการที่ทำขึ้นในต่างประเทศยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอให้บังคับตามคำชี้ขาดนั้นได้ และผู้ซึ่งจะถูกบังคับตามคำชี้ขาดนั้นก็อาจพิสูจน์เพื่อให้ศาลมีคำสั่งปฏิเสธไม่รับบังคับตามคำชี้ขาดนั้นได้เช่นกัน แต่ไม่มีบทบัญญัติใดที่ให้คู่พิพาทหรือคู่สัญญาต้องนำข้อพิพาทไปฟ้องร้องต่อศาลจนมีคำสั่งหรือคำพิพากษาเสียก่อน แล้วจึงอุทธรณ์คำสั่งหรือคำพิพากษานั้นต่ออนุญาโตตุลาการ แม้การระงับข้อพิพาทของคู่ความมีด้วยกันหลายวิธี การนำคดีขึ้นสู่ศาลย่อมเป็นทางเลือกสุดท้าย ดังคำกล่าวว่าศาลเป็นที่พึ่งสุดท้ายของประชาชน ดังนั้น การแปลและตีความสัญญาตัวแทนซึ่งมีข้อตกลงเกี่ยวกับการระงับข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยตามที่จำเลยนำสืบมาจึงรับฟังได้ว่า คู่สัญญาประสงค์ให้ทั้งสองฝ่ายตกลงหาทางระงับข้อพิพาทร่วมกันก่อนเป็นอันดับแรก หากตกลงเจรจากันไม่สำเร็จ คู่สัญญาสามารถเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการตามรายละเอียดที่กำหนดไว้ในย่อหน้าที่สองได้ ส่วนศาลที่มีเขตอำนาจในการพิจารณาไม่ว่าจะเป็นการร้องขอให้บังคับตามคำชี้ขาดหรือคัดค้านเพื่อไม่ให้มีการบังคับตามคำชี้ขาดนั้นเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในย่อหน้าแรก สัญญาข้อดังกล่าวจึงมีผลใช้บังคับได้ โดยไม่มีเหตุที่ทำให้สัญญาอนุญาโตตุลาการนั้นเป็นโมฆะ ใช้บังคับไม่ได้ หรือมีเหตุที่ทำให้ไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญานั้นได้
เมื่อสัญญามีข้อตกลงให้ต้องดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการอันถือว่าเป็นสัญญาอนุญาโตตุลาการตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 11 แล้ว แม้ต่อมาสัญญาดังกล่าวจะสิ้นสุดลง ก็มิใช่กรณีมีเหตุที่ทำให้สัญญาอนุญาโตตุลาการนั้นเป็นโมฆะ ใช้บังคับไม่ได้หรือมีเหตุที่ทำให้ไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญานั้นได้ ตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 14 วรรคหนึ่ง โจทก์และจำเลยยังมีหน้าที่ปฏิบัติตามเงื่อนไขในข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการดังกล่าวเมื่อข้อพิพาทเกิดขึ้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7249/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมยกที่ดิน: เจตนาที่แท้จริง, การคำนวณเนื้อที่ผิดพลาด, และผลกระทบต่อการแบ่งมรดก
ผู้ตายทำพินัยกรรมฉบับแรก ข้อ 1 ยกที่ดินโฉนดเลขที่ 2668 ให้แก่บุตร 5 คน คนละ 626.8 ตารางวา ข้อ 2 ยกที่ดินโฉนดเลขที่ 2308 เฉพาะส่วนของผู้ตายให้แก่จำเลยที่ 2 เท่ากับที่ยกให้บุตรตามข้อ 1 ต่อมาผู้ตายทำพินัยกรรมฉบับที่สองว่า ที่ดินโฉนดเลขที่ 2308 เนื้อที่ 1 ไร่ 3 งาน 10 ตารางวา ที่เหลือจากยกให้จำเลยที่ 2 ยินดียกให้โจทก์ทั้งหมด ดังนี้ เห็นได้ว่าเกิดจากการคำนวณเนื้อที่ดินเฉพาะส่วนของผู้ตายผิดพลาดว่าเนื้อที่ 1 ไร่ 3 งาน 10 ตารางวา หรือ 710 ตารางวา แต่ความจริงที่ดินส่วนของผู้ตายมีเนื้อที่เพียง 606.66 ตารางวา เมื่อยกที่ดินโฉนดเลขที่ 2308 เฉพาะส่วนของผู้ตายให้แก่จำเลยที่ 2 จำนวน 606.66 ตารางวา ยังไม่ครบตามจำนวนเนื้อที่ดินที่ผู้ตายระบุไว้ตามที่พินัยกรรมฉบับแรก จึงไม่มีที่ดินโฉนดเลขที่ 2308 เหลือแบ่งแก่โจทก์ ข้อกำหนดพินัยกรรมที่ยกที่ดินแก่โจทก์จึงสิ้นผล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7249/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมยกที่ดิน: การคำนวณพื้นที่ผิดพลาดทำให้การยกมรดกแก่ทายาทสิ้นผล
ผู้ตายทำพินัยกรรมฉบับแรกระบุว่า ข้อ 1 ยกที่ดินโฉนดเลขที่ 2668 ให้แก่บุตร 5 คน คนละ 626.8 ตารางวา ข้อ 2 ยกที่ดินโฉนดเลขที่ 2308 เฉพาะส่วนของผู้ตายให้แก่จำเลยที่ 2 เท่ากับที่ยกให้บุตรตามข้อ 1 ต่อมาผู้ตายทำพินัยกรรมฉบับที่สองว่า ระบุว่า ที่ดินโฉนดเลขที่ 2308 เนื้อที่ 1 ไร่ 3 งาน 10 ตารางวา ที่เหลือจากยกให้จำเลยที่ 2 ยินดียกให้โจทก์ทั้งหมด ดังนี้ เห็นได้ว่าเกิดจากการคำนวณเนื้อที่ดินเฉพาะส่วนของผู้ตายผิดพลาดว่าเนื้อที่ 1 ไร่ 3 งาน 10 ตารางวา หรือ 710 ตารางวา แต่ความจริงที่ดินส่วนของผู้ตายมีเนื้อที่เพียง 606.66 ตารางวา เมื่อยกที่ดินโฉนดเลขที่ 2308 เฉพาะส่วนของผู้ตายให้แก่จำเลยที่ 2 จำนวน 606.66 ตารางวา ยังไม่ครบตามจำนวนเนื้อที่ดินที่ผู้ตายระบุไว้ตามที่พินัยกรรมฉบับแรก จึงไม่มีที่ดินโฉนดเลขที่ 2308 เหลือแบ่งแก่โจทก์ ข้อกำหนดพินัยกรรมที่ยกที่ดินแก่โจทก์จึงสิ้นผล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 886/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจช่วง: การตีความเจตนาผู้มอบอำนาจตาม ป.พ.พ. มาตรา 10 เพื่อให้เกิดผลบังคับใช้
หนังสือมอบอำนาจของโจทก์มีข้อความระบุว่า "ข้าพเจ้า บริษัท ส. โดย ซ. และ ว. กรรมการผู้มีอำนาจดำเนินการแทนบริษัทดังจะกล่าวต่อไปนี้... ข้อ 1 ให้ตัวแทนมีอำนาจฟ้องคดี... ข้อ 9 ... ให้มีอำนาจแต่งตั้งตัวแทนช่วง เพื่อให้มีอำนาจและดำเนินการตามอำนาจดังกล่าวข้างต้นให้ทุกประการ..." และหนังสือมอบอำนาจอีกฉบับมีข้อความว่า "ด้วยหนังสือนี้ข้าพเจ้าบริษัท ส. โดย ว. กรรมการผู้มีอำนาจ ขอแต่งตั้งให้ จ. และหรือ ก. ให้เป็นตัวแทนของบริษัท และให้อำนาจดำเนินการแทนบริษัทดังจะกล่าวต่อไปนี้..." แม้หนังสือมอบอำนาจฉบับหลังจะระบุว่า ว. ผู้มอบอำนาจกระทำการในฐานะกรรมการผู้มีอำนาจโจทก์ มิได้ระบุว่ากระทำการแทนในฐานะตัวแทนโจทก์ก็ตามแต่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 10 บัญญัติว่า "เมื่อความข้อใดข้อหนึ่งในเอกสารอาจตีความได้สองนัย นัยไหนจะทำให้เป็นผลบังคับได้ ให้ถือเอาตามนัยนั้น ดีกว่าที่จะถือเอานัยที่ไร้ผล" ดังนั้น การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้โดยในคำฟ้องระบุว่า จ. และหรือ ก. เป็นผู้รับมอบอำนาจช่วง กับอ้างหนังสือมอบอำนาจทั้งสองฉบับดังกล่าวเป็นพยานหลักฐาน ทั้งใบแต่งทนายความโจทก์ระบุว่า ผู้แต่งทนายความคือโจทก์โดย จ. ผู้รับมอบอำนาจช่วง จึงต้องถือว่า ว. มีเจตนาลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญโจทก์ในหนังสือมอบอำนาจฉบับหลังเพื่อมอบอำนาจช่วงให้ จ. และหรือ ก. ฟ้องคดีนี้ตามที่ได้รับมอบอำนาจจากโจทก์ หาได้กระทำการในฐานะกรรมการผู้มีอำนาจโจทก์แต่อย่างใดไม่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 886/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีและการมอบอำนาจช่วง กรณีกรรมการบริษัทลงนามมอบอำนาจแทนบริษัท
หนังสือมอบอำนาจเอกสารหมาย จ.2 มีข้อความระบุว่า "ข้าพเจ้า บริษัท สแกนดิเนเวียฯ โดยนาย ซ. และนาย ว. กรรมการผู้มีอำนาจ ขอแต่งตั้งให้นาย ว. แต่ผู้เดียวลงลายมือชื่อพร้อมประทับตราสำคัญบริษัท ให้เป็นตัวแทนของบริษัท และให้อำนาจดำเนินการแทนบริษัท ดังจะกล่าวต่อไปนี้ ?ข้อ 1 ให้ตัวแทนมีอำนาจฟ้องคดี ? ข้อ 9 ? ให้มีอำนาจแต่งตั้งตัวแทนช่วง เพื่อให้มีอำนาจและดำเนินการตามอำนาจดังกล่าวข้างต้นให้ทุกประการ?" และหนังสือมอบอำนาจเอกสารหมาย จ.3 มีข้อความว่า "ด้วยหนังสือนี้ ข้าพเจ้า บริษัทสแกนดิเนเวียฯ โดยนาย ว. กรรมการผู้มีอำนาจ ขอแต่งตั้งให้ นาย จ. และหรือ นาย ก. ให้เป็นตัวแทนของบริษัทและให้อำนาจดำเนินการแทนบริษัทดังจะกล่าวต่อไปนี้?" แม้หนังสือมอบอำนาจเอกสารหมาย จ.3 ระบุว่านาย ว. ผู้มอบอำนาจกระทำการในฐานะกรรมการผู้มีอำนาจโจทก์ มิได้ระบุว่ากระทำการแทนในฐานะตัวแทนโจทก์ก็ตาม แต่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 10 บัญญัติว่า "เมื่อความข้อใดข้อหนึ่งในเอกสารอาจตีความได้สองนัย นัยไหนจะทำให้เป็นผลบังคับได้ ให้ถือเอาตามนัยนั้น ดีกว่าที่จะถือเอานัยที่ไร้ผล" ดังนั้น การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้โดยในคำฟ้องระบุว่า นาย จ. และหรือ นาย ก. เป็นผู้รับมอบอำนาจช่วง กับอ้างหนังสือมอบอำนาจเอกสารหมาย จ.2 และ จ.3 เป็นพยานหลักฐาน ทั้งใบแต่งทนายความโจทก์ระบุว่า ผู้แต่งทนายความ คือ โจทก์ โดยนาย จ. ผู้รับมอบอำนาจช่วง จึงต้องถือว่านาย ว. มีเจตนาลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญโจทก์ในหนังสือมอบอำนาจเอกสารหมาย จ.3 เพื่อมอบอำนาจช่วงให้นาย จ. และหรือ นาย ก. ฟ้องคดีนี้ตามที่ได้รับมอบอำนาจจากโจทก์ หาได้กระทำการในฐานะกรรมการผู้มีอำนาจโจทก์แต่อย่างใด ดังนี้ หนังสือมอบอำนาจเอกสารหมาย จ.3 จึงมีผลสมบูรณ์ โจทก์มีอำนาจฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องได้ความว่าโจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทมหาชนจำกัด มีกรรมการสองคนลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราสำคัญ มีอำนาจกระทำการแทนและมีผลผูกพันโจทก์ ตามหนังสือรับรองเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 1 ในการดำเนินคดีนี้ โจทก์มอบอำนาจให้นาย ว. เป็นผู้ดำเนินคดีแทนและมีอำนาจแต่งตั้งตัวแทนช่วงได้ ซึ่งนาย ว. ได้มอบอำนาจช่วงให้นาย จ. และ/หรือ นาย ก. เป็นผู้ดำเนินคดีแทน ตามหนังสือมอบอำนาจเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 2 และ 3 ดังนั้น นาย ว.ซึ่งเป็นกรรมการคนหนึ่งของโจทก์มีฐานะเป็นผู้รับมอบอำนาจของโจทก์ด้วย รวมทั้งมีอำนาจแต่งตั้งตัวแทนช่วงได้ การกระทำของนาย ว. ตามหนังสือมอบอำนาจทั้งสองฉบับดังกล่าวจึงไม่ขัดกัน ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
หนังสือมอบอำนาจเอกสารหมาย จ.4 มีข้อความระบุให้ผู้รับมอบอำนาจมีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ "ข้อ 1 มีอำนาจกระทำการ และลงลายมือชื่อในเอกสารต่าง ๆ และมีอำนาจมอบอำนาจช่วงแก่บุคคล หรือนิติบุคคลอื่นใดเกี่ยวกับกิจการให้เช่า/เช่าซื้อของบริษัท ดังนี้ 1.1 ยึดทรัพย์สินที่ให้เช่า/เช่าซื้อ 1.2? 1.6?" ข้อความดังกล่าวเป็นการมอบอำนาจให้ผู้รับมอบอำนาจมีอำนาจกระทำการและลงลายมือชื่อในเอกสารต่างๆ แทนโจทก์ส่วนหนึ่ง กับมีอำนาจมอบอำนาจช่วงแก่บุคคลหรือนิติบุคคลอื่นใดเกี่ยวกับกิจการให้เช่าหรือเช่าซื้อของโจทก์ตามที่ระบุในข้อ 1.1 ถึง ข้อ 1.6 อีก
ส่วนหนึ่ง ดังนั้น นางสาว พ. และนาย ส. ผู้รับมอบอำนาจโจทก์ จึงมีอำนาจลงลายมือชื่อในสัญญาเช่าซื้อแทนโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1651/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความ: การบังคับตามสัญญา แม้เกินกำหนดระยะเวลา และเจตนาของคู่สัญญา
โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในศาล ระบุให้จำเลยจดทะเบียนโอนสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ภายใน 6 เดือน นับแต่วันทำสัญญาประนีประนอมยอมความ โดยโจทก์ตกลงชำระเงินให้จำเลย 200,000 บาท ในวันจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาท หากจำเลยผิดนัด จำเลยยินยอมให้โจทก์ถือเอาสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความไปจดทะเบียนโอนสิทธิครอบครองได้ทันทีและถือเป็นการแสดงเจตนาของจำเลย ดังนี้ วัตถุประสงค์ในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความจึงเป็นกรณีที่โจทก์จำเลยมุ่งระงับข้อพิพาทระหว่างกันด้วยการที่จำเลยจะโอนที่ดินให้แก่โจทก์และโจทก์ก็จะชำระราคาให้แก่จำเลย การกำหนดระยะเวลา 6 เดือนไว้ จึงเป็นกำหนดเวลาให้โจทก์จำเลยปฏิบัติตามสัญญา หากไม่ปฏิบัติก็บังคับคดีกันไปเพื่อให้สมวัตถุประสงค์แห่งการทำสัญญาที่ต้องการให้ข้อพิพาทระหว่างกันระงับไปด้วยวิธีการดังกล่าว หาใช่ว่าหากไม่ปฏิบัติตามสัญญาภายในกำหนดเวลาดังกล่าวแล้วจะทำให้ข้อกำหนดในสัญญาประนีประนอมยอมความสิ้นผลไปโดยคู่สัญญาไม่จำต้องปฏิบัติตามสัญญาแต่อย่างใดไม่ เนื่องจากไม่เป็นการระงับข้อพิพาทระหว่างกันตามที่โจทก์จำเลยมีเจตนาในการเข้าทำสัญญามาแต่ต้น ฉะนั้น เมื่อโจทก์วางเงินจำนวน 200,000 บาท ต่อศาลแล้ว แม้จะเกินเวลา 6 เดือน จำเลยจึงต้องรับเงินและมีหน้าที่จดทะเบียนโอนสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทให้โจทก์ หากจำเลยไม่ปฏิบัติ โจทก์ชอบที่จะขอให้บังคับตามสัญญาประนีประนอมยอมความได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6509/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยผิดนัดสูงสุดตามสัญญาเป็นโมฆะ ศาลใช้ดอกเบี้ยตามกฎหมายแพ่ง
จำเลยทำใบคำเสนอขอสินเชื่อจากธนาคารโจทก์โดยตกลงจะชำระดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ในอัตราร้อยละ 14.5 ต่อปี และในวันเดียวกัน จำเลยได้ทำสัญญากู้ยืมเงินให้แก่โจทก์ โดยยอมเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ซึ่งจำเลยได้รับเงินกู้ไปเรียบร้อยแล้ว จะเห็นได้ว่า ใบคำเสนอขอสินเชื่อเป็นเพียงคำเสนอของจำเลยที่เสนอต่อโจทก์เท่านั้น ส่วนสัญญากู้ยืมเงินเป็นข้อตกลงในการทำสัญญาที่จัดทำขึ้นภายหลังที่โจทก์ได้พิจารณาคำเสนอของจำเลยแล้ว โจทก์จึงกำหนดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 19 ต่อปี ดังนั้นข้อความหรือข้อเท็จจริงเกี่ยวกับดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่โจทก์ให้จำเลยกู้ยืม จึงเป็นจำนวนที่ชัดแจ้งไม่มีข้อความเป็นที่น่าสงสัยหรือมีความเป็นสองนัยอันจะต้องตีความตามเจตนาอันแท้จริงของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีสิทธินำพยานบุคคลมาสืบเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยในสัญญากู้ยืมเงินว่าอัตราร้อยละ 19 ต่อปี เป็นอัตราดอกเบี้ยกรณีที่จำเลยผิดนัดเพราะต้องห้ามมิให้นำสืบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข)
แม้โจทก์จะมีวิธีคิดในการเรียกเก็บดอกเบี้ยจากจำเลยทั้งในกรณีที่ไม่ผิดนัดและผิดนัดตามประกาศของโจทก์ก็ตาม แต่วิธีการปฏิบัติดังกล่าวก็เป็นเพียงแนวทางในการปฏิบัติของโจทก์ต่อจำเลยเท่านั้น หามีผลกระทบต่อข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยอัตราร้อยละ19 ต่อปี ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ได้ตกลงกันอย่างชัดแจ้งในสัญญากู้ยืมเงินไม่ข้อตกลงดังกล่าวของโจทก์จึงเป็นการเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 654 และเป็นการฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯ อย่างชัดแจ้ง จึงตกเป็นโมฆะ และแม้โจทก์จะมีสถานะเป็นสถาบันการเงินตามความหมายแห่งพระราชบัญญัติดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงินฯ มาตรา 3(2) และพระราชบัญญัติดังกล่าวให้สิทธิโจทก์เรียกดอกเบี้ยได้เกินกว่าร้อยละ 15 ต่อปี ก็ตาม แต่ตามประกาศของกระทรวงการคลังและของโจทก์ที่ออกมาใช้บังคับในช่วงของการทำสัญญากู้ยืมเงินนี้กำหนดอัตราดอกเบี้ยและส่วนลดสูงสุดในกรณีที่ลูกหนี้ปฏิบัติผิดเงื่อนไข หรือเบิกเงินเกินวงเงินให้โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้ไม่เกินร้อยละ 19 ต่อปีเท่านั้น ดังนั้น อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 19 ต่อปีที่โจทก์กำหนดไว้ในสัญญากู้ยืมเงินจึงเป็นอัตราดอกเบี้ยที่จำเลยปฏิบัติผิดเงื่อนไขมิใช่อัตราดอกเบี้ยที่เรียกเก็บจากลูกค้าในกรณีเงินกู้ทั่วไป การที่โจทก์กำหนดในสัญญากู้ยืมเงินให้จำเลยเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี จึงเกินกว่าประกาศและคำสั่งของโจทก์ซึ่งโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทั่วไปจากจำเลยได้ในอัตราร้อยละ 14.5 ต่อปีเท่านั้น ข้อตกลงเกี่ยวกับดอกเบี้ยที่โจทก์เรียกจากจำเลยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปีจึงตกเป็นโมฆะ จำเลยคงรับผิดชำระดอกเบี้ยให้โจทก์เพียงอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4135/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความเรื่องหย่า ไม่ถือเป็นความสมัครใจแยกกันอยู่ เหตุฟ้องหย่าไม่สมบูรณ์
บันทึกข้อตกลงระหว่างโจทก์และจำเลยเป็นข้อตกลงมีวัตถุประสงค์เป็นการระงับข้อพิพาทในเรื่องการหย่าโดยตรงโดยเฉพาะข้อตกลงซึ่งระบุว่าโจทก์และจำเลยตกลงที่จะ ไม่ทำการจดทะเบียนหย่าซึ่งกันและกัน และโจทก์ยอมจ่ายเงิน ค่าอุปการะเลี้ยงดูและเงินบำเหน็จหรือบำนาญให้แก่จำเลย ถือได้ว่าเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850 ย่อมทำให้ประเด็นเรื่องการหย่าซึ่งทั้งโจทก์และจำเลยยอมสละระงับสิ้นไปตามมาตรา 852 ในสัญญาประนีประนอมยอมความไม่มีข้อความใดระบุว่าจำเลยสมัครใจแยกกันอยู่กับโจทก์ จึงไม่อาจแปลสัญญาประนีประนอมยอมความนี้เป็นเรื่องจำเลยสมัครใจแยกกันอยู่ กับโจทก์ แต่กรณีเป็นเรื่องจำเลยมีสิทธิที่จะหย่าโจทก์ได้ เนื่องจากโจทก์มีภริยาอีกคนหนึ่งและทิ้งร้างจำเลยไป การที่ โจทก์ยินยอมทำสัญญาประนีประนอมยอมความจึงเป็นเรื่อง ที่โจทก์ไม่ยินยอมหย่ากับจำเลย และจำเลยสละสิทธิที่จะขอหย่ากับโจทก์โดยจำเลยขอรับค่าอุปการะเลี้ยงดูแทนเท่านั้น แม้จำเลยทราบดีว่าเมื่อทำสัญญาประนีประนอมยอมความแล้ว โจทก์จำเลย ก็ต้องแยกกันไปทำมาหากินเช่นเดิมก็ตาม ก็ไม่อาจถือได้ว่าจำเลย สมัครใจแยกกันอยู่กับโจทก์ แต่พฤติการณ์ที่โจทก์ปฏิบัติต่อจำเลย นับแต่โจทก์ทิ้งร้างจำเลยจนกระทั่งทำสัญญาประนีประนอมยอมความ ย่อมเป็นที่เข้าใจว่าโจทก์สมัครใจแยกกันอยู่กับจำเลยฝ่ายเดียวเท่านั้น ซึ่งพฤติการณ์ดังกล่าวนั้นย่อมไม่เปิดโอกาสให้จำเลยไปอยู่กับโจทก์ได้ ก็ใช่เป็นเรื่องที่จำเลยมีความสมัครใจที่จะ แยกกันอยู่กับโจทก์ นอกจากนั้นก็ไม่ปรากฏว่าภายหลังทำสัญญาประนีประนอมยอมความโจทก์จำเลยได้ตกลงกันนอกเหนือจากข้อสัญญาในสัญญาประนีประนอมยอมความว่าจำเลยสมัครใจแยกกันอยู่กับโจทก์ เหตุที่โจทก์จำเลยแยกกันอยู่มาเกิน 3 ปี นับแต่ วันทำสัญญาประนีประนอมยอมความจึงมิได้เกิดขึ้นด้วยความสมัครใจ ของจำเลยเพราะเหตุไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้ โดยปกติสุขแต่เป็นความสมัครใจของโจทก์ฝ่ายเดียวเท่านั้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องหย่าจำเลยโดยอาศัยเหตุฟ้องหย่าตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516(4/2) ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4135/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความกับการฟ้องหย่า: ความสมัครใจแยกกันอยู่
บันทึกข้อตกลงระหว่างโจท์และจำเลยเป็นข้อตกลงมีวัตถุประสงค์เป็นการระงับข้อพิพาทในเรื่องการหย่าโดยตรง โดยเฉพาะข้อตกลงซึ่งระบุว่าโจทก์และจำเลยตกลงที่จะไม่ทำการจดทะเบียนหย่าซึ่งกันและกัน และโจทก์ยอมจ่ายเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูและเงินบำเหน็จหรือบำนาญให้แก่จำเลย ถือได้ว่าเป็นสัญญาประนี-ประนอมยอมความตาม ป.พ.พ.มาตรา 850 ย่อมทำให้ประเด็นเนื่องการหย่าซึ้งทั้งโจทก์และจำเลยยอมสละระงับสิ้นไปตามมาตรา 852 อีกทั้งในสัญญาประนีประนอม-ยอมความก็ไม่มีข้อความใดระบุว่า จำเลยสมัครใจแยกกันอยู่กับโจทก์ จึงไม่อาจแปลสัญญาประนีประนอมยอมความนี้เป็นเรื่องจำเลยสมัครใจแยกกันอยู่กับโจทก์หรือแปลสาเหตุการทำสัญญาประนีประนอมยอมความฉบับนี้ว่าเกิดจากโจทก์จำเลยทะเลาะวิวาทกันด้วยเหตุที่โจทก์ได้ บ.เป็นภริยาอีกคนหนึ่งจนจำเลยประสงค์จะหย่าจากโจทก์แต่กรณีเป็นเรื่องจำเลยมีสิทธิที่จะหย่าโจทก์ได้ เนื่องจากโจทก์มีภริยาอีกคนหนึ่งและทิ้งร้างจำเลยไป การที่โจทก์ยินยอมทำสัญญาประนีประนอมยอมความจึงเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ยินยอมหย่ากับจำเลย และจำเลยสละสิทธิที่จะขอหย่ากับโจทก์โดยจำเลยขอรับค่าอุปการะเลี้ยงดูแทนเท่านั้น แม้จำเลยทราบดีว่าเมื่อทำสัญญาประนีประนอม-ยอมความแล้ว โจทก์จำเลยก็ต้องแยกกันไปทำมาหากินเช่นเดิมก็ตาม ก็ไม่อาจถือได้ว่าจำเลยสมัครใจแยกกันอยู่กับโจทก์ แต่เป็นเรื่องที่โจทก์ไปอยู่กับ บ.เช่นเดิม โดยจำเลยไม่ติดใจเรื่องหย่ากับโจทก์หรือฟ้องร้อง บ.ตามที่ปรากฏในสัญญาประนีประนอม-ยอมความเท่านั้น และในสัญญาประนีประนอมยอมความก็ไม่มีข้อใดที่ระบุห้ามมิให้จำเลยไปอยู่กับโจทก์ แต่พฤติการณ์ที่โจทก์ปฏิบัติต่อจำเลยนับแต่โจทก์ทิ้งร้างจำเลยจนกระทั่งทำสัญญาประนีประนอมยอมความย่อมเป็นที่เข้าใจว่าโจทก์สมัครใจแยกกันอยู่กับจำเลยฝ่ายเดียวเท่านั้น ซึ่งพฤติการณ์ดังกล่าวนั้นย่อมไม่เปิดโอกาสให้จำเลยไปอยู่กับโจทก์ได้มิใช่เป็นเรื่องที่จำเลยมีความสมัครใจที่จะแยกกันอยู่กับโจทก์ นอกจากนั้นก็ไม่ปรากฏว่าภายหลังทำสัญญาประนีประนอมยอมความโจทก์จำเลยได้ตกลงกันนอกเหนือจากข้อสัญญาในสัญญาประนีประนอมยอมความว่า จำเลยสมัครใจแยกกันอยู่กับโจทก์ เหตุที่โจทก์จำเลยแยกกันอยู่มาเกิน 3 ปี นับแต่วันทำสัญญาประนีประนอมยอมความจึงมิได้เกิดขึ้นด้วยความสมัครใจของจำเลยเพราะเหตุไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขแต่เป็นความสมัครใจของโจทก์ฝ่ายเดียวเท่านั้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องหย่าจำเลยโดยอาศัยเหตุฟ้องหย่าตาม ป.พ.พ.มาตรา 1516 (4/2) ได้
of 8