พบผลลัพธ์ทั้งหมด 101 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5091/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาต่างตอบแทน การบังคับชำระหนี้ตามสัญญาซื้อขาย และอำนาจฟ้องของทายาท
ส. ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างไว้กับจำเลย โดย ส. ชำระราคารวมมัดจำให้แก่จำเลยแล้ว 1,691,272 บาท คงมีหนี้ค้างชำระ 22,828 บาท ไม่ปรากฏว่าโจทก์ทั้งสี่ในฐานะทายาทโดยธรรมของ ส. กับจำเลยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทั้งสองฝ่ายแสดงความประสงค์จะเลิกสัญญาดังกล่าวแต่อย่างใด แสดงให้เห็นว่าคู่ความทั้งสองฝ่ายยังมีความประสงค์ที่จะให้มีการบังคับให้เป็นไปตามสัญญาที่ทำไว้ต่อกัน ดังนี้ เมื่อสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นสัญญาต่างตอบแทนซึ่งคู่สัญญาต่างฝ่ายต่างมีหน้าที่ต้องชำระหนี้ต่อกัน หากบังคับฝ่ายหนึ่งชำระหนี้ก็ต้องบังคับให้อีกฝ่ายชำระหนี้ตอบแทนได้ แม้โจทก์ทั้งสี่ฟ้องขอให้บังคับจำเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่โจทก์ทั้งสี่ โดยมิได้มีคำขอท้ายฟ้องเสนอขอชำระราคาที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่เหลือให้แก่จำเลยตามสัญญาก็ตาม เนื่องจากโจทก์ทั้งสี่เข้าใจว่า ส. ได้ชำระราคาให้แก่จำเลยครบถ้วนแล้วเช่นนี้ ก็หาเป็นเหตุให้โจทก์ทั้งสี่ไม่มีอำนาจฟ้อง โจทก์ทั้งสี่จึงมีอำนาจฟ้อง และศาลย่อมมีอำนาจพิจารณาพิพากษาให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของคู่สัญญา โดยบังคับให้จำเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่โจทก์ทั้งสี่ และกำหนดให้โจทก์ทั้งสี่ร่วมกันชำระราคาบ้านและที่ดินให้แก่จำเลยได้ เพราะเป็นเรื่องการชำระหนี้ตามสัญญาต่างตอบแทน กรณีไม่เป็นการพิพากษาเกินกว่าคำขอของโจทก์ทั้งสี่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4998/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในส่วนของดอกเบี้ยและค่าขึ้นศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
แม้ข้อเท็จจริงจะรับฟังได้ว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 เป็นบริวารของจำเลยที่ 1 ซึ่งโจทก์ได้บังคับคดีในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 541/2554 ของศาลชั้นต้นแล้ว แต่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ไม่ได้ถูกฟ้องเป็นจำเลยด้วย จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 จึงไม่ใช่คู่ความรายเดียวกันกับคดีดังกล่าว ฟ้องโจทก์ในส่วนของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 ฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4409/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลักลอบนำเข้าเรือโดยหลีกเลี่ยงภาษี, การประเมินราคา, การริบของกลาง, และการจ่ายสินบน/รางวัลจากประกัน
จำเลยทั้งสองกับพวกร่วมกันนำเรือยอช์ท ซึ่งเป็นของที่ยังไม่ได้เสียภาษีและมิได้ผ่านศุลกากรโดยถูกต้องแล่นเข้ามาในราชอาณาจักรเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2540 โดยแจ้งต่อนายด่านศุลกากรว่าเป็นการนำเข้าชั่วคราว ซึ่งมีเวลาอยู่ในราชอาณาจักร 6 เดือน คือภายในวันที่ 20 ตุลาคม 2540 จากนั้น จำเลยทั้งสองกับพวกนำเรือของกลางจอดแล่นใช้งานตั้งแต่วันที่ 21 เมษายน 2540 จนกระทั่งมีผู้แจ้งความนำจับและเจ้าพนักงานอายัดเรือไว้เป็นของกลางเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2541 ดังนี้ วันที่กระทำความผิดจึงเป็นวันที่ 20 เมษายน 2540 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยทั้งสองกับพวกร่วมกันนำเรือของกลางเข้ามา หาใช่วันที่ 21 ตุลาคม 2540 ซึ่งเป็นวันที่เรือของกลางอยู่ในราชอาณาจักรเกินกำหนด 6 เดือน ดังที่จำเลยทั้งสองกล่าวอ้างว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมไม่ ดังนั้น ฟ้องโจทก์ที่บรรยายว่า จำเลยทั้งสองกับพวกร่วมกันกระทำผิดเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2540 นั้น จึงชอบแล้ว
เงินตามสัญญาประกันค่าเรือที่บริษัท ล. ซึ่งเป็นเจ้าของเรือทำสัญญาไว้กับกรมศุลกากรในการรับเรือของกลางไปเก็บรักษา หากเรือของกลางชำรุดเสียหายหรือไม่สามารถส่งมอบเรือคืนให้ในสภาพเดิมได้ จะยินยอมชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงิน 133,821,659 บาท นั้น เงินจำนวนนี้มิใช่เงินที่ศาลจะมีอำนาจสั่งริบแทนเรือของกลางซึ่งเป็นทรัพย์ที่ใช้กระทำความผิด เพราะหากปรากฏภายหลังศาลมีคำพิพากษาให้ริบเรือของกลางแล้ว บริษัท ล. ไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาได้ กรมศุลกากรก็มีสิทธิฟ้องบังคับเงินค่าเสียหายจากบริษัทดังกล่าวได้เป็นอีกคดีหนึ่งต่างหาก ดังนั้น ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาในส่วนที่ให้ริบเงินตามสัญญาประกันเท่ากับขายเรือของกลาง และให้จ่ายสินบนนำจับและเงินรางวัลแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งจับกุมผู้กระทำผิดจากเงินตามสัญญาประกันจึงไม่ชอบ กรณีดังกล่าวเป็นปัญหาเรื่องอำนาจฟ้อง แม้โจทก์และจำเลยทั้งสองไม่ได้อุทธรณ์คัดค้านในประเด็นดังกล่าวนี้ไว้ แต่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย โจทก์มีสิทธิยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นฎีกาได้
เงินตามสัญญาประกันค่าเรือที่บริษัท ล. ซึ่งเป็นเจ้าของเรือทำสัญญาไว้กับกรมศุลกากรในการรับเรือของกลางไปเก็บรักษา หากเรือของกลางชำรุดเสียหายหรือไม่สามารถส่งมอบเรือคืนให้ในสภาพเดิมได้ จะยินยอมชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงิน 133,821,659 บาท นั้น เงินจำนวนนี้มิใช่เงินที่ศาลจะมีอำนาจสั่งริบแทนเรือของกลางซึ่งเป็นทรัพย์ที่ใช้กระทำความผิด เพราะหากปรากฏภายหลังศาลมีคำพิพากษาให้ริบเรือของกลางแล้ว บริษัท ล. ไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาได้ กรมศุลกากรก็มีสิทธิฟ้องบังคับเงินค่าเสียหายจากบริษัทดังกล่าวได้เป็นอีกคดีหนึ่งต่างหาก ดังนั้น ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาในส่วนที่ให้ริบเงินตามสัญญาประกันเท่ากับขายเรือของกลาง และให้จ่ายสินบนนำจับและเงินรางวัลแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งจับกุมผู้กระทำผิดจากเงินตามสัญญาประกันจึงไม่ชอบ กรณีดังกล่าวเป็นปัญหาเรื่องอำนาจฟ้อง แม้โจทก์และจำเลยทั้งสองไม่ได้อุทธรณ์คัดค้านในประเด็นดังกล่าวนี้ไว้ แต่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย โจทก์มีสิทธิยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นฎีกาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4172/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประนอมหนี้ก่อนล้มละลายที่ไม่สุจริต และการพิสูจน์ความสามารถในการชำระหนี้
คดีนี้มีเจ้าหนี้ 13 ราย จำนวนเงินทั้งสิ้น 1,579,969,429.28 บาท จำเลยยื่นคำขอประนอมหนี้ยอมชำระหนี้ที่ศาลมีคำสั่งให้ได้รับชำระหนี้เป็นจำนวนร้อยละ 5 ของหนี้ที่ศาลมีคำสั่งให้ได้รับชำระหนี้ ส่วนหนี้ของเจ้าหนี้มีประกันให้ได้รับชำระหนี้จำนวนร้อยละ 5 ของส่วนที่ขาดจากการบังคับชำระหนี้จากหลักประกันแล้ว โดยกำหนดผ่อนชำระทุก 6 เดือน ให้เสร็จสิ้นภายใน 5 ปี เมื่อพิจารณาทรัพย์สินและรายได้ของจำเลยดังกล่าวแล้ว ไม่น่าเชื่อว่าจำเลยจะมีเงินพอที่จะสามารถชำระหนี้ตามคำขอประนอมหนี้ได้เสร็จสิ้น ทั้งยังไม่พอที่จะรับฟังให้เป็นที่แน่นอนได้ว่า ไม่ปรากฏว่าจำเลยกระทำความผิดอันเป็นเหตุให้มีโทษทางอาญา ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 เพราะเจ้าหนี้ยังคงโต้แย้งอยู่ว่าจำเลยกับเจ้าหนี้รายที่ 11 ซึ่งขอรับชำระหนี้จำนวนมากกว่าร้อยละ 82 ของหนี้ที่ขอรับชำระหนี้ทั้งหมดร่วมกันก่อหนี้อันเป็นเท็จในลักษณะเป็นหนี้ที่สมยอมกันโดยไม่มีหนี้อยู่จริง และเจ้าหนี้รายที่ 11 ขอถอนคำขอรับชำระหนี้ภายหลังจากที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ของจำเลยแล้ว พฤติการณ์ตามข้อเท็จจริงเชื่อว่าการประนอมหนี้ของจำเลยกระทำโดยไม่สุจริตเพื่อจะชำระหนี้แก่เจ้าหนี้เพียงร้อยละ 5 และจะได้หลุดพ้นจากการล้มละลายทันทีเมื่อศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ กรณีจึงมีเหตุไม่สมควรที่ศาลจะมีคำสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ก่อนล้มละลายของจำเลย ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 53 (2) และมาตรา 54 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3332/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าหนี้มีประกันในการได้รับชำระหนี้พร้อมดอกเบี้ยจนถึงวันขายทอดตลาด แม้จะยื่นคำร้องขอใช้สิทธิเหนือทรัพย์สิน
ผู้ร้องใช้สิทธิยื่นคำร้องขอให้ผู้คัดค้านนำทรัพย์หลักประกันออกขายทอดตลาดในฐานะเจ้าหนี้มีประกันตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 95 จึงเป็นกรณีที่ผู้รับจำนองขอเอาบุริมสิทธิในทรัพย์ที่รับจำนองไว้ไม่เกินกว่าหนี้ที่รับจำนองเท่านั้น หากขายทอดตลาดได้เงินเกินกว่าหนี้จำนอง เงินส่วนที่เกินย่อมตกเข้าแก่กองทรัพย์สินของจำเลยผู้ล้มละลาย แต่ถ้าขายไม่ได้ถึงราคาทรัพย์จำนองหนี้ส่วนที่เหลือก็ตกเป็นพับแก่ผู้รับจำนองไป ฉะนั้นต้องคิดดอกเบี้ยให้ผู้ร้องจนถึงวันขายทอดตลาด เมื่อเป็นการยื่นคำร้องเพื่อขอใช้สิทธิเหนือทรัพย์อันเป็นหลักประกัน มิใช่การยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 91 ประกอบมาตรา 96 จึงไม่ต้องห้ามคิดดอกเบี้ยภายหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ตามมาตรา 100
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2865/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตั้งผู้จัดการมรดก: ศาลไม่ควรบังคับให้ผู้ร้องนำเอกสารที่ไม่ใช่ข้อบังคับมาพร้อมคำร้อง ขอให้รับคำร้องและไต่สวน
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของ น. ผู้ตาย โดยบรรยายคำร้องขอว่า ผู้ร้องเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับผู้ตาย เป็นบุตรของ บ. และ ห. มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน 4 คน บิดามารดาและพี่น้องบางคนได้ถึงแก่ความตายไปก่อนแล้ว ผู้ร้องถึงแก่ความตายโดยไม่เคยแต่งงานและไม่มีบุตร ผู้ตายมีทรัพย์มรดกและมีเหตุขัดข้องในการจัดการมรดก ผู้ร้องในฐานะทายาทโดยธรรมและไม่เป็นบุคคลต้องห้ามตามกฎหมาย ขอให้ศาลตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดก คำร้องขอของผู้ร้องได้บรรยายโดยแจ้งชัดถึงรายละเอียดแห่งข้อเท็จจริงว่าผู้ร้องเป็นทายาทที่มีสิทธิยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1713 เป็นคำร้องที่สมบูรณ์และชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 171 ประกอบมาตรา 172 วรรคสอง ศาลชอบที่จะมีคำสั่งรับคำร้องไว้ไต่สวนต่อไป
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้ร้องเสนอหนังสือรับรองการตายของบิดามารดาผู้ตายซึ่งรับรองโดยเจ้าพนักงานหรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องต่อศาลภายใน 7 วัน จึงจะพิจารณาสั่งคำร้องขอ มิฉะนั้นถือว่าไม่รับ แม้เป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นตรวจคำร้องขอแล้วใช้ดุลพินิจสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 ก็ตาม แต่หนังสือรับรองการตายของบิดามารดาผู้ตายดังกล่าวไม่ใช่เอกสารที่กฎหมายบังคับให้ต้องแนบมาพร้อมคำร้องขอ คงเป็นเอกสารเกี่ยวกับรายละเอียดที่ผู้ร้องสามารถนำสืบได้ในชั้นไต่สวนว่า บิดามารดาของผู้ตายถึงแก่ความตายไปก่อนแล้ว เพื่อแสดงให้เห็นว่าผู้ร้องในฐานะพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกับผู้ตาย เป็นทายาทผู้มีสิทธิยื่นคำร้องขอจัดการมรดกผู้ตาย และอาจส่งเอกสารดังกล่าวเป็นพยานต่อศาลในชั้นไต่สวนได้ คำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงไม่ชอบ แม้ผู้ร้องจะมิได้ปฏิบัติตามภายในระยะเวลาที่กำหนด ศาลชั้นต้นก็จะมีคำสั่งไม่รับคำร้องขอของผู้ร้องที่ยื่นโดยชอบแล้วหาได้ไม่และกรณีไม่ใช่เรื่องที่ผู้ร้องเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลเห็นสมควร
อีกทั้งการที่ศาลชั้นต้นสั่งว่า ผู้ร้องทิ้งคำร้องขอตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ด้วยก็ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากศาลชั้นต้นยังไม่ได้มีคำสั่งรับคำร้องขอของผู้ร้องไว้ไต่สวนแต่อย่างใด คำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งทิ้งคำร้องจึงไม่ชอบด้วยเช่นกัน ต้องยกคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ผู้ร้องเสนอหนังสือรับรองการตายของบิดามารดาผู้ตายโดยให้รับคำร้องขอแล้วดำเนินการไต่สวนต่อไปตามรูปคดีต่อไป
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้ร้องเสนอหนังสือรับรองการตายของบิดามารดาผู้ตายซึ่งรับรองโดยเจ้าพนักงานหรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องต่อศาลภายใน 7 วัน จึงจะพิจารณาสั่งคำร้องขอ มิฉะนั้นถือว่าไม่รับ แม้เป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นตรวจคำร้องขอแล้วใช้ดุลพินิจสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 ก็ตาม แต่หนังสือรับรองการตายของบิดามารดาผู้ตายดังกล่าวไม่ใช่เอกสารที่กฎหมายบังคับให้ต้องแนบมาพร้อมคำร้องขอ คงเป็นเอกสารเกี่ยวกับรายละเอียดที่ผู้ร้องสามารถนำสืบได้ในชั้นไต่สวนว่า บิดามารดาของผู้ตายถึงแก่ความตายไปก่อนแล้ว เพื่อแสดงให้เห็นว่าผู้ร้องในฐานะพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกับผู้ตาย เป็นทายาทผู้มีสิทธิยื่นคำร้องขอจัดการมรดกผู้ตาย และอาจส่งเอกสารดังกล่าวเป็นพยานต่อศาลในชั้นไต่สวนได้ คำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงไม่ชอบ แม้ผู้ร้องจะมิได้ปฏิบัติตามภายในระยะเวลาที่กำหนด ศาลชั้นต้นก็จะมีคำสั่งไม่รับคำร้องขอของผู้ร้องที่ยื่นโดยชอบแล้วหาได้ไม่และกรณีไม่ใช่เรื่องที่ผู้ร้องเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลเห็นสมควร
อีกทั้งการที่ศาลชั้นต้นสั่งว่า ผู้ร้องทิ้งคำร้องขอตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ด้วยก็ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากศาลชั้นต้นยังไม่ได้มีคำสั่งรับคำร้องขอของผู้ร้องไว้ไต่สวนแต่อย่างใด คำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งทิ้งคำร้องจึงไม่ชอบด้วยเช่นกัน ต้องยกคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ผู้ร้องเสนอหนังสือรับรองการตายของบิดามารดาผู้ตายโดยให้รับคำร้องขอแล้วดำเนินการไต่สวนต่อไปตามรูปคดีต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2466/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐานจากคำรับของจำเลย แม้เช็คพิพาทไม่มีแสตมป์ และการฟ้องไล่เบี้ยจากอาวัลผู้สั่งจ่าย
จำเลยให้การรับว่าจำเลยลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทจริงเพียงแต่อ้างว่าเช็คพิพาทไม่มีมูลหนี้ การรับฟังข้อเท็จจริงเพื่อวินิจฉัยคดีจึงไม่จำต้องอาศัยเช็คพิพาทเป็นพยานหลักฐาน เพราะรับฟังได้ตามคำรับของจำเลยแล้ว จึงไม่มีกรณีอันเป็นการต้องห้ามตาม ป.รัษฎากร มาตรา 118 ที่ห้ามรับฟังตราสารที่ไม่ปิดแสตมป์บริบูรณ์เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1530/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลกระทบการยกเลิกคำสั่งฟื้นฟูกิจการต่อการชำระหนี้และการบังคับสิทธิของเจ้าหนี้
คดีก่อนศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งยกเลิกคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ มีผลให้คำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการและคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนของศาลที่สั่งไปก่อนหน้านั้นเป็นอันยกเลิกเพิกถอนไป ดังนั้น ข้อกำหนดในแผนที่ให้ลูกหนี้ชำระหนี้เพียงบางส่วนอันเป็นความผูกพันตามแผนนั้นต้องสิ้นผลไปด้วย สิทธิและหน้าที่ของเจ้าหนี้ซึ่งได้รับโอนสิทธิเรียกร้องย่อมกลับไปเป็นดังเดิมตามที่เจ้าหนี้เดิมมีอยู่ก่อนศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ
เมื่อการชำระหนี้ของลูกหนี้ตามแผนในคดีก่อนเป็นการชำระหนี้บางส่วน ทำให้หนี้ที่เจ้าหนี้มีต่อลูกหนี้ระงับไปเพียงเท่าจำนวนที่เจ้าหนี้เดิมได้รับชำระหนี้เท่านั้น เจ้าหนี้เดิมได้รับชำระเงินจากลูกหนี้รวม 55,782,026.86 บาท จึงต้องนำเงินดังกล่าวไปหักชำระดอกเบี้ยก่อน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 329 วรรคหนึ่ง มิใช่หักต้นเงินดังที่ผู้บริหารแผนอุทธรณ์ แม้คดีก่อนศาลมีคำสั่งให้ยกเลิกคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ แต่ก็ไม่กระทบถึงการใดที่ผู้ทำแผนได้กระทำไปแล้วก่อนศาลมีคำสั่งยกเลิกคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/76
เมื่อการชำระหนี้ของลูกหนี้ตามแผนในคดีก่อนเป็นการชำระหนี้บางส่วน ทำให้หนี้ที่เจ้าหนี้มีต่อลูกหนี้ระงับไปเพียงเท่าจำนวนที่เจ้าหนี้เดิมได้รับชำระหนี้เท่านั้น เจ้าหนี้เดิมได้รับชำระเงินจากลูกหนี้รวม 55,782,026.86 บาท จึงต้องนำเงินดังกล่าวไปหักชำระดอกเบี้ยก่อน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 329 วรรคหนึ่ง มิใช่หักต้นเงินดังที่ผู้บริหารแผนอุทธรณ์ แม้คดีก่อนศาลมีคำสั่งให้ยกเลิกคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ แต่ก็ไม่กระทบถึงการใดที่ผู้ทำแผนได้กระทำไปแล้วก่อนศาลมีคำสั่งยกเลิกคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/76
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 525-526/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกานี้ยืนยันหลักการเรื่องการยื่นคำร้องซ้ำ และอำนาจของคณะอนุญาโตตุลาการในการวินิจฉัยความสมบูรณ์ของสัญญา
พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 40 วรรคสอง บัญญัติให้สิทธิคู่พิพาทฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งร้องขอให้เพิกถอนคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการได้ ผู้คัดค้านใช้สิทธินี้โดยเป็นผู้ร้องขอไปแล้วแต่ศาลชั้นต้นยกคำร้อง คดีถึงที่สุดแล้ว ผู้คัดค้านมายื่นคำร้องขออย่างเดียวกันอีกในเดือนเดียวกันโดยอ้างเหตุใหม่ ซึ่งเป็นเหตุผลที่ผู้คัดค้านสามารถยกขึ้นอ้างได้ในขณะยื่นคำร้องขอครั้งก่อน และประเด็นตามคำร้องทั้งสองครั้งเป็นอย่างเดียวกัน ซึ่งศาลชั้นต้นพิพากษายกคำร้องโดยวินิจฉัยในเนื้อหาของคดีตามคำร้องขอไปแล้ว ถือว่าเป็นการที่ผู้คัดค้านรื้อร้องฟ้องให้ศาลวินิจฉัยกันใหม่อีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยไปแล้วโดยอาศัยเหตุอย่างเดียว คำร้องขอให้เพิกถอนคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการของผู้คัดค้านฉบับหลังจึงซ้ำกับคำร้องขอฉบับแรก ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 วรรคหนึ่ง ผู้คัดค้านไม่มีอำนาจยื่นคำร้อง ปัญหานี้แม้ผู้ร้องมิทันยกขึ้นต่อสู้ก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา เพิ่งยกขึ้นในคำแก้อุทธรณ์ แต่เป็นเรื่องอำนาจฟ้องอันเป็นเรื่องเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ผู้ร้องยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 355/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาที่วัตถุประสงค์ขัดต่อความสงบเรียบร้อย/ศีลธรรมเป็นโมฆะ แม้ผู้รับผลประโยชน์ไม่ทราบรายละเอียด
การที่โจทก์มอบเงินจำนวน 700,000 บาท ให้ น. นำไปใช้ในลักษณะวิ่งเต้นต่อเจ้าพนักงานหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการช่วยเหลือบุตรชายของโจทก์ให้เข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนทหารช่างฝีมือด้วยวิธีการมิชอบ ถือเป็นการเอาเปรียบผู้สมัครสอบรายอื่น ๆ มีผลก่อให้เกิดการสอบคัดเลือกที่ไม่เป็นธรรมโปร่งใส แม้โจทก์จะไม่ทราบว่า น. เอาเงินไปติดต่อกับเจ้าพนักงานหรือเจ้าหน้าที่คนใดก็ดี หรือ น. เป็นคนเชื้อเชิญจนโจทก์หลงเชื่อให้เงินไปก็ดี โจทก์ก็มีส่วนสมรู้ร่วมคิดรู้เห็นเป็นใจกับการกระทำของ น. ทั้งสิ้น เมื่อ น. ไม่สามารถนำบุตรชายโจทก์เข้าศึกษาได้ โจทก์เรียกเงินคืนโดย น. ทำสัญญากู้เงินตกลงชดใช้เงินจำนวนดังกล่าวคืนโจทก์ ถือว่า น. ไม่ได้กู้ยืมเงินจากโจทก์แต่อย่างใด แต่เป็นเรื่องที่โจทก์ต้องการให้ น. คืนเงินที่เป็นค่าใช้จ่ายในการวิ่งเต้นนำบุตรของโจทก์เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนทหารช่างฝีมือนั่นเอง วัตถุประสงค์ของการทำสัญญากู้เงินดังกล่าว จึงขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนย่อมตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระเงินตามเช็คพิพาทที่สั่งจ่ายเพื่อชำระเงินตามสัญญากู้เงินดังกล่าว ส่วนประเด็นว่าวัตถุประสงค์ของสัญญาเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยจะไม่ได้ให้การไว้โดยชัดแจ้งจำเลยก็มีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาค 5 ก็มีอำนาจวินิจฉัยได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 225 วรรคสอง