พบผลลัพธ์ทั้งหมด 73 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1325/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณค่าชดเชยการลาออกของลูกจ้างก่อนอายุ 55 ปี โดยอิงตามข้อบังคับบริษัท และความหมายของหนังสือลาออก
โจทก์มีอายุ 50 ปี ยื่นหนังสือลาออกจากงานต่อจำเลยมีข้อความว่า "ข้าพเจ้า (โจทก์) มีความประสงค์ขอลาออกจากงานเพื่อขอรับเงินชดเชยและสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ให้แก่ข้าพเจ้า เต็มตามสิทธิของพนักงานที่ได้ปฏิบัติงานธนาคารมาด้วยดีจนอายุครบ 55 ปี" คำว่า "สิทธิของพนักงานที่ได้ปฏิบัติงานมาจนอายุครบ 55 ปี" นั้น เมื่อตามคำสั่งของจำเลยที่ 6/2525 เรื่อง กำหนดระยะเวลาจ้าง ตลอดจนกำหนดการจ่ายค่าชดเชยและเงินทดแทน ข้อ 9 มีข้อความว่า พนักงานชายอายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป และพนักงานหญิงอายุตั้งแต่ 45 ปี ขึ้น ไปหากกรรมการผู้จัดการใหญ่พิจารณาเห็นว่าสมควรอนุมัติ ให้ในกรณีพิเศษให้ลาออกเพื่อรับค่าชดเชยก็อาจทำได้ แต่ทั้งนี้ให้คำนวณค่าชดเชยตามข้อ 13.2 และตามข้อ 13.2การจ่ายค่าชดเชย ให้คำนวณจ่ายให้เท่ากับเงินเดือนสุดท้ายคูณด้วยปีที่ทำงาน ดังนั้น พนักงานที่อายุตั้งแต่ 55 ปี ขึ้นไปเท่านั้นที่มีสิทธิพิเศษได้รับค่าชดเชยตามข้อ 9 นี้ ส่วน ส่วนพนักงานชายที่มีอายุยังไม่ครบ 55 ปี แต่ปฏิบัติงานมานานเช่นโจทก์ในคดีนี้เมื่อลาออกจากงานจะได้รับค่าชดเชยตาม ข้อ 10 คือเท่ากับเงินเดือนสุดท้าย คูณด้วยจำนวนปีที่ทำงาน หารด้วยสอง ทำให้ค่าชดเชยลดลงกึ่งหนึ่งการที่โจทก์ระบุข้อความไว้ในหนังสือลาออกทำนองว่า ขอให้โจทก์ได้รับสิทธิ เท่าเทียมกับพนักงานที่ได้ปฏิบัติงานมาจนมีอายุ 55 ปีดังกล่าว ก็เพื่อหวังให้ตนได้รับประโยชน์จากการคำนวณค่าชดเชย อันเป็นการอิงสิทธิของพนักงานที่มีคุณสมบัติตามข้อ 9เท่านั้น หามีความหมายนอกเหนือไปจากนี้ไม่ ที่จำเลยอนุมัติ ให้โจทก์ลาออกจากงานโดยยินยอมตามเงื่อนไขในหนังสือลาออกของโจทก์ จึงเป็นคุณแก่โจทก์เท่าที่ระเบียบข้อบังคับของจำเลยจะเอื้อ ให้ เมื่อข้อความในหนังสือลาออกของโจทก์มีความชัดเจนในตัวและ มีความหมายเป็นนัยเดียวไม่อาจแปลความเกินเลยไปถึงว่า จำเลยยังมีหน้าที่ต้องจ่ายสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ตามที่ โจทก์เรียกร้องข้างต้นโดยคำนวณจนถึงโจทก์มีอายุครบ 55 ปี ซึ่งเป็นข้อเรียกร้องนอกเหนือจากข้อความที่ระบุไว้ใน หนังสือลาออกอีก ดังนั้น ที่จำเลยจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ โดยคำนวณตามหลักเกณฑ์ในข้อ 9 จึงเป็นการชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4524/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินพิพาทเป็นที่หลวง ครอบครอง ส.ค.1 ไม่อาจอ้างสิทธิได้
ประกาศพระบรมราชโองการตามเอกสารหมาย ล.1 ที่มีข้อความว่า"ประกาศขนานนามเปลี่ยนนามตำบลบางกรา แขวงจังหวัดเพชรบุรี มีพระบรมราชโองการดำรัสเหนือเกล้าฯ สั่งว่าในที่หลวงซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดสร้างขึ้นใหม่ ตำบลบางกรา แขวงจังหวัดเพชรบุรีนั้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ขนานนามพระราชทานว่ามฤคทายวัน"มีความหมายสองนัย คือ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ขนานนามบางกราเปลี่ยนเป็นมฤคทายวัน และโปรดเกล้าฯ ให้จัดสร้างที่หลวงขึ้นใหม่ ส่วนประกาศพระบรมราชโองการตามเอกสารหมาย ล.2 ที่มีข้อความว่า "ประกาศ เขตราชนิเวศน์มฤคทายวัน และห้ามไม่ให้ทำอันตรายแก่สัตว์ มีพระบรมราชโองการ ดำรัสเหนือเกล้าฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ประกาศให้ทราบทั่วกันว่า ที่ตำบลมฤคทายวันซึ่งโปรดเกล้าฯให้สร้างราชนิเวศน์เป็นที่ประทับขึ้นแล้วนั้น มีเขตด้านตะวันออกชายฝั่งทะเลตั้งแต่วัดบางควายจดบ้านบ่อเคี่ยะยาว 125 เส้นด้านเหนือจากฝั่งทะเลยื่นขึ้นไปถึงเขาเสวยกะปิยาว 190 เส้นด้านใต้ยื่นจากชายทะเลขึ้นไปถึงเขาสามพระยายาว 175 เส้น ด้านตะวันตกตั้งแต่เขาเสวยกะปิถึงเขาสามพระยายาว 125 เส้น ภายในเขตที่เป็นราชนิเวศน์นี้พระราชทานอภัยทานแก่สัตว์ที่ชนมักใช้เป็นภักษาหารทั้งจัตตุบททวิบาทที่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารอยู่ จึงประกาศห้ามมิให้ผู้หนึ่งผู้ใดที่มีน้ำจิตร์เป็นสัมมาทิษฐิกระทำร้ายแก่สัตว์นั้น ๆ ด้วยประการใด ๆ ในเขตที่กำหนดมาแล้ว"นั้น เป็นประกาศพระบรมราชโองการที่มีพระราชประสงค์สืบเนื่องจากประกาศพระบรมราชโองการตามเอกสารหมาย ล.1 ซึ่งโปรดเกล้าฯ เพียงให้สร้างที่หลวงขึ้นใหม่โดยยังมิได้กำหนดอาณาเขต จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตามเอกสารหมาย ล.2 กำหนดเขตที่หลวงที่ได้จัดสร้างขึ้นใหม่ให้แน่ชัด และได้โปรดเกล้าฯ ให้เป็นเขตอภัยทานแก่สัตว์ด้วย สถานที่ที่ได้กำหนดตามประกาศพระราชโองการตามเอกสารหมาย ล.1และ ล.2 จึงเป็นสถานที่เดียวกัน ดังนั้น ที่ดินพิพาทจึงเป็นที่หลวง หาใช่เป็นที่ดินที่ทรงโปรดเกล้าฯ ให้เป็นเขตอภัยทานแก่สัตว์แต่อย่างเดียวไม่ แม้โจทก์จะได้แจ้งการครอบครองที่ดินพิพาทแล้วก็ตาม แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าที่ดินพิพาทเป็นที่หลวงซึ่งเป็นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เช่นนี้ โจทก์จึงไม่อาจอ้างสิทธิครอบครองดังกล่าวขึ้นเป็นข้อต่อสู้จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2003/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความเอกสารประกวดราคา: เจตนาของผู้เสนอราคาและผู้รับซองสำคัญกว่าถ้อยคำ
เมื่อความข้อใดข้อหนึ่งในเอกสารอาจตีความได้เป็น 2 นัยนัยไหนจะทำให้เป็นผลบังคับได้ ให้ถือเอาตามนัยนั้นดีกว่าที่จะถือเอานัยที่ไร้ผล และในการตีความแสดงเจตนานั้น ให้เพ่งเล็งถึงเจตนาอันแท้จริงยิ่งกว่าถ้อยคำสำนวนหรือตัวอักษร เมื่อตามประกาศของจำเลยที่ 1 เรื่องการประกวดราคาเช่าสะพานท่าเทียบเรือวางเงื่อนไขไว้ว่า ผู้ยื่นซองจะต้องเป็นนิติบุคคลเท่านั้น และโจทก์จำเลยทั้งสามต่างก็ยอมรับว่าโจทก์เป็นผู้เสนอราคามาโดยตลอดดังนั้น ข้อความในใบเสนอการประกวดราคาที่ระบุว่า "ข้าพเจ้าบ. ผู้จัดการ ห้างหุ้นส่วนจำกัดโรงน้ำแข็งเฉลิมพล... ขอเสนอการประกวดราคาการเช่าสะพานท่าเทียบเรือ..." จึงต้องถือว่าบ. เสนอราคาในนามของโจทก์ ซึ่งเป็นนิติบุคคล มิใช่เสนอราคาในฐานะส่วนตัว เพราะหากถือว่า บ. เสนอราคาในฐานะส่วนตัว ย่อมทำให้การเสนอราคาไร้ผลและขัดเจตนาของคู่กรณี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3666/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งทรัพย์สินหลังหย่า: สัญญาเกี่ยวกับทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา, สินสมรส, และการบังคับตามสัญญา
โจทก์จำเลยเป็นสามีภริยากัน ต่อมาโจทก์ได้ทำร้ายจำเลยทั้งสองฝ่ายไม่ประสงค์จะเป็นสามีภริยากันต่อไป จึงไปทำความตกลงกันที่สถานีตำรวจ โดยให้เจ้าพนักงานตำรวจทำบันทึกว่า โจทก์จำเลยจะหย่าขาดจากกันและจะแบ่งทรัพย์สินกันตามบันทึก ซึ่งมีร้อยตำรวจโทส. และจ่าสิบตำรวจ จ. เป็นพยาน เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการหย่าและเพื่อให้จำเลยไม่ติดใจเอาความโจทก์ โจทก์จึงยินยอมให้จำเลยได้รับทรัพย์สินจากโจทก์เป็นการตอบแทน เมื่อมิได้เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายหรือเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนอันจะเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113 ข้อตกลงนั้นย่อมมีผลใช้เป็นหลักฐานแห่งการหย่าได้ตามมาตรา 1514 วรรคสอง และยังใช้บังคับในเรื่องการแบ่งทรัพย์สินตามบันทึกนั้นได้ด้วย ข้อตกลงเรื่องการหย่าและแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาเป็นข้อตกลงที่แบ่งแยกจากกันมิได้ จึงมิได้เป็นสัญญาที่เกี่ยวกับทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาอย่างเดียวโดยตรง อันจะมีผลทำให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสิทธิที่จะบอกล้างได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1469 ข้อตกลงในการหย่าและแบ่งทรัพย์สินที่ว่าโจทก์ตกลงขายรถยนต์ที่โจทก์ใช้อยู่โดยจะแบ่งเงินที่ขายได้ให้แก่โจทก์ 20,000 บาทจำเลยจะจ่ายให้ทันที่ 10,000 บาท ส่วนที่เหลือจำเลยจะจ่ายเป็นเช็คให้อีก 10,000 บาท มีกำหนด 1 เดือน นั้น เมื่อปรากฏว่าโจทก์ยังใช้รถยนต์อยู่มิได้ขายตามข้อตกลง ส่วนจำเลยก็ชำระเงินให้โจทก์ไปเพียง 10,000 บาท ดังนั้น เมื่อข้อตกลงดังกล่าวมิได้กำหนดถึงกรณีที่มิได้ขายรถไว้ว่าคู่กรณีตกลงกันอย่างไร จึงต้องตีความโดยนัยที่จะทำให้เป็นผลบังคับได้ เห็นได้ว่าโจทก์ประสงค์จะได้เงินจากการขายรถเพียง 20,000 บาท เงินส่วนที่เหลือจากการขายเป็นของจำเลยทั้งหมด เมื่อไม่มีการขายรถ จำเลยจึงควรจะเป็นผู้มีสิทธิจัดการเกี่ยวกับรถนั้นโดยชำระเงินส่วนที่เหลือตามข้อตกลงจำนวน 10,000 บาท ให้แก่โจทก์ และโจทก์ต้องส่งมอบรถให้แก่จำเลย บันทึกข้อตกลงในการหย่าและแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาจะใช้บังคับทรัพย์สินอื่นที่มีอยู่ก่อนหรือได้มาหลังข้อตกลงนอกจากที่ปรากฏในบันทึกข้อตกลงนั้นไม่ได้ เมื่อยังไม่มีการหย่า ทรัพย์สินที่ได้มาในระหว่างนั้นจึงต้องเป็นสินสมรสที่จะต้องนำมาแบ่งครึ่งกั สร้อยคอทองคำและพระเครื่องที่จำเลยซื้อให้แก่โจทก์ระหว่างสมรสเป็นทรัพย์ที่เป็นเครื่องประดับกายตามควรแก่ฐานะของโจทก์โดยเฉพาะ จึงเป็นสินส่วนตัว ทรัพย์สินที่ได้มาหลังจากมีการตกลงจะหย่ากัน เมื่อยังไม่มีการหย่า ทรัพย์สินนั้นต้องเป็นสินสมรส การจดทะเบียนหย่าโดยคำพิพากษาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1531 วรรคสอง คู่สมรสไม่จำต้องไปแสดงเจตนาขอจดทะเบียนหย่าต่อนายทะเบียน ทั้งตามพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัวพ.ศ. 2478 มาตรา 16 ก็บัญญัติให้ผู้มีส่วนได้เสียเพียงแต่ยื่นสำเนาคำพิพากษาอันถึงที่สุดที่รับรองถูกต้องต่อนายทะเบียน และขอให้นายทะเบียนบันทึกการหย่าไว้ในทะเบียนเท่านั้น ศาลจึงไม่จำต้องสั่งให้โจทก์จำเลยไปจดทะเบียนหย่า หากไม่ไปให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลแทนการแสดงเจตนาตามคำขอท้ายฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5476/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตพินัยกรรมจำกัดเฉพาะทรัพย์สินในต่างประเทศ ผู้จัดการมรดกไม่มีส่วนได้เสียในทรัพย์สินที่ไม่ได้ระบุ
ผู้ตายทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้ จ. โดยให้ผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดก ในพินัยกรรมมีการกรอกข้อความในช่องทรัพย์สินระบุเฉพาะทรัพย์สินที่มีอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกาเท่านั้น ไม่ได้ระบุถึงทรัพย์สินที่มีอยู่ในประเทศไทย ทั้งหลังคำว่าอื่น ๆ ก็เว้นว่างไว้ แสดงว่าผู้ตายประสงค์จะยกทรัพย์สินเฉพาะที่ระบุในพินัยกรรมให้ จ. เท่านั้น ผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกผู้ตายตามคำสั่งศาลสูงของมลรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกาจึงไม่มีส่วนได้เสียที่จะขอให้ถอนผู้ร้องซึ่งเป็นผู้จัดการทรัพย์มรดกในประเทศไทยของผู้ตาย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2966/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความสัญญาจ้างเหมา: ค่าเค, การปรับราคา, และผลของการแก้ไขสัญญาหลังส่งมอบงาน
ตามสัญญาจ้างเหมา กำหนดให้ปรับราคาค่างานตามราคาวัสดุที่ขึ้นลงเกินกว่าร้อยละ 5 ขึ้นไป ซึ่งเรียกว่าค่า 'เค' ได้ และเงื่อนไขในสัญญาที่ว่า คู่กรณีตกลงกันให้นำเอาสูตรการคำนวณค่าเคมาใช้ในการคิดคำนวณค่างานที่จะจ่ายจริงให้แก่โจทก์ซึ่งเป็น ผู้รับจ้าง ย่อมต้องถือว่าคู่สัญญาต่างมีเจตนาที่จะใช้สูตรคำนวณค่าเคนี้ ต่องานจ้างเหมาทั้งหมดในทุกรายการแม้ในสัญญาจะมิได้ระบุการแยกส่วนของเนื้องานออกเป็นแต่ละประเภทไว้ก็ตาม ก็หาเป็นเหตุผลเพียงพอที่จำเลยจะอ้างเพื่อปฏิเสธความรับผิดไม่ชำระราคาค่างานเพิ่มให้แก่โจทก์ไม่
เดิมโจทก์จำเลยตกลงกันให้การจ้างเหมางานพิพาทเสร็จสิ้นภายในเดือนสิงหาคม 2522 และโจทก์ก็ได้ส่งมอบงานครบถ้วนตรงตามกำหนดระยะเวลาในสัญญา ต่อมาภายหลังที่กำหนดเวลาในสัญญาฉบับแรกสิ้นสุดลงทั้งการส่งมอบงานก็เสร็จเรียบร้อยไปแล้ว ได้มีการแก้ไขสัญญาย่นระยะเวลาให้สั้นเข้ามาจากสัญญาเดิมอีก 1 เดือน ดังนี้เมื่อโจทก์ได้ปฏิบัติงานครบถ้วนตามสัญญาจ้างเหมาจนเสร็จสิ้นไปก่อนแล้ว การที่มาแก้ไขสัญญากันในภายหลังแล้วถือเอาเงื่อนไขจากระยะเวลาที่ได้มีการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเป็นสาเหตุว่าโจทก์ผิดสัญญานั้นย่อมไม่มีผลบังคับ เพราะขณะส่งมอบงานโจทก์มิได้ปฏิบัติผิดสัญญาแต่ประการใด.
เดิมโจทก์จำเลยตกลงกันให้การจ้างเหมางานพิพาทเสร็จสิ้นภายในเดือนสิงหาคม 2522 และโจทก์ก็ได้ส่งมอบงานครบถ้วนตรงตามกำหนดระยะเวลาในสัญญา ต่อมาภายหลังที่กำหนดเวลาในสัญญาฉบับแรกสิ้นสุดลงทั้งการส่งมอบงานก็เสร็จเรียบร้อยไปแล้ว ได้มีการแก้ไขสัญญาย่นระยะเวลาให้สั้นเข้ามาจากสัญญาเดิมอีก 1 เดือน ดังนี้เมื่อโจทก์ได้ปฏิบัติงานครบถ้วนตามสัญญาจ้างเหมาจนเสร็จสิ้นไปก่อนแล้ว การที่มาแก้ไขสัญญากันในภายหลังแล้วถือเอาเงื่อนไขจากระยะเวลาที่ได้มีการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเป็นสาเหตุว่าโจทก์ผิดสัญญานั้นย่อมไม่มีผลบังคับ เพราะขณะส่งมอบงานโจทก์มิได้ปฏิบัติผิดสัญญาแต่ประการใด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2966/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างเหมา: การตีความเจตนาการปรับราคาค่างาน และผลของการแก้ไขสัญญาหลังส่งมอบงาน
ตามสัญญาจ้างเหมา กำหนดให้ปรับราคาค่างานตามราคาวัสดุที่ขึ้นลงเกินกว่าร้อยละ 5 ขึ้นไป ซึ่งเรียกว่าค่า 'เค' ได้ และเงื่อนไขในสัญญาที่ว่า คู่กรณีตกลงกันให้นำเอาสูตรการคำนวณค่าเคมาใช้ในการคิดคำนวณค่างานที่จะจ่ายจริงให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับจ้าง ย่อมต้องถือว่าคู่สัญญาต่างมีเจตนาที่จะใช้สูตรคำนวณค่าเคนี้ ต่องานจ้างเหมาทั้งหมดในทุกรายการแม้ในสัญญาจะมิได้ระบุการแยกส่วนของเนื้องานออกเป็นแต่ละประเภทไว้ก็ตาม ก็หาเป็นเหตุผลเพียงพอที่จำเลยจะอ้างเพื่อปฏิเสธความรับผิดไม่ชำระราคาค่างานเพิ่มให้แก่โจทก์ไม่
เดิมโจทก์จำเลยตกลงกันให้การจ้างเหมางานพิพาทเสร็จสิ้นภายในเดือนสิงหาคม 2522 และโจทก์ก็ได้ส่งมอบงานครบถ้วนตรงตามกำหนดระยะเวลาในสัญญา ต่อมาภายหลังที่กำหนดเวลาในสัญญาฉบับแรกสิ้นสุดลงทั้งการส่งมอบงานก็เสร็จเรียบร้อยไปแล้ว ได้มีการแก้ไขสัญญาย่นระยะเวลาให้สั้นเข้ามาจากสัญญาเดิมอีก 1 เดือน ดังนี้เมื่อโจทก์ได้ปฏิบัติงานครบถ้วนตามสัญญาจ้างเหมาจนเสร็จสิ้นไปก่อนแล้ว การที่มาแก้ไขสัญญากันในภายหลังแล้วถือเอาเงื่อนไขจากระยะเวลาที่ได้มีการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเป็นสาเหตุว่าโจทก์ผิดสัญญานั้นย่อมไม่มีผลบังคับ เพราะขณะส่งมอบงานโจทก์มิได้ปฏิบัติผิดสัญญาแต่ประการใด.
เดิมโจทก์จำเลยตกลงกันให้การจ้างเหมางานพิพาทเสร็จสิ้นภายในเดือนสิงหาคม 2522 และโจทก์ก็ได้ส่งมอบงานครบถ้วนตรงตามกำหนดระยะเวลาในสัญญา ต่อมาภายหลังที่กำหนดเวลาในสัญญาฉบับแรกสิ้นสุดลงทั้งการส่งมอบงานก็เสร็จเรียบร้อยไปแล้ว ได้มีการแก้ไขสัญญาย่นระยะเวลาให้สั้นเข้ามาจากสัญญาเดิมอีก 1 เดือน ดังนี้เมื่อโจทก์ได้ปฏิบัติงานครบถ้วนตามสัญญาจ้างเหมาจนเสร็จสิ้นไปก่อนแล้ว การที่มาแก้ไขสัญญากันในภายหลังแล้วถือเอาเงื่อนไขจากระยะเวลาที่ได้มีการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเป็นสาเหตุว่าโจทก์ผิดสัญญานั้นย่อมไม่มีผลบังคับ เพราะขณะส่งมอบงานโจทก์มิได้ปฏิบัติผิดสัญญาแต่ประการใด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4371/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจอนุมัติใบลาออกของผู้จัดการโรงงาน: การตีความระเบียบข้อบังคับและหลักการตีความ
การที่ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์ได้ยื่นใบลาออกและผู้จัดการโรงงานลงลายมือชื่ออนุมัติแล้วนั้น ศาลแรงงานกลางมิได้ถือเอาตัวอย่างใบลาพยานเอกสารเป็นข้อวินิจฉัยในการรับฟัง ข้อเท็จจริงดังกล่าว หากแต่ศาลแรงงานกลางชั่งน้ำหนักคำเบิกความ ของพยานจำเลยกับคำเบิกความของตัวโจทก์โดยมิได้วินิจฉัยหรือ กล่าวพาดพิงถึงพยานเอกสารดังกล่าว คำวินิจฉัยของศาลแรงงานกลาง หาได้ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา93 ไม่
ระเบียบข้อบังคับว่าด้วยการลาออกมิได้กำหนดตัวผู้มีอำนาจหน้าที่อนุมัติใบลาออกไว้ชัดแจ้ง แต่ไม่อาจแปลจำกัดเพียงว่านอกจากกรรมการผู้จัดการผู้มีอำนาจหน้าที่กระทำการแทนจำเลยผู้เดียวเท่านั้นแล้ว ผู้อื่นใดหามีอำนาจที่จะอนุมัติอีกไม่เป็นการแปลเฉพาะข้อความตอนใดตอนหนึ่งอันไม่ต้องด้วยหลักการตีความ การตีความจักต้องตีความไปตามความประสงค์ในทางสุจริตโดยพิเคราะห์เทียบเคียงถึงข้อสัญญาและข้อตกลงอื่นๆ ประกอบด้วย และต้องตีความโดยนัยที่จะทำให้เป็นผลบังคับได้การเลิกจ้างตามระเบียบข้อบังคับของจำเลยมีข้อความเป็นทำนองเดียวกับประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯข้อ 47(1) ถึง (6) เป็นการเลิกจ้างในทางวินัย เป็นการลงโทษในสถานที่หนักที่สุดที่นายจ้างพึงกระทำต่อลูกจ้างได้นั้น ให้อำนาจผู้จัดการโรงงานไว้ ส่วนการลาออกโดยความสมัครใจ ซึ่งโดยปกติย่อมไม่มีผลร้ายแก่ลูกจ้างไม่มีประโยชน์และความจำเป็นประการใดที่จำเลยจะสงวนอำนาจเช่นว่านี้ไว้เป็นอำนาจโดยเฉพาะสำหรับกรรมการผู้จัดการผู้เดียวเท่านั้น ผู้จัดการโรงงานจึงมีอำนาจอนุมัติได้
ระเบียบข้อบังคับว่าด้วยการลาออกมิได้กำหนดตัวผู้มีอำนาจหน้าที่อนุมัติใบลาออกไว้ชัดแจ้ง แต่ไม่อาจแปลจำกัดเพียงว่านอกจากกรรมการผู้จัดการผู้มีอำนาจหน้าที่กระทำการแทนจำเลยผู้เดียวเท่านั้นแล้ว ผู้อื่นใดหามีอำนาจที่จะอนุมัติอีกไม่เป็นการแปลเฉพาะข้อความตอนใดตอนหนึ่งอันไม่ต้องด้วยหลักการตีความ การตีความจักต้องตีความไปตามความประสงค์ในทางสุจริตโดยพิเคราะห์เทียบเคียงถึงข้อสัญญาและข้อตกลงอื่นๆ ประกอบด้วย และต้องตีความโดยนัยที่จะทำให้เป็นผลบังคับได้การเลิกจ้างตามระเบียบข้อบังคับของจำเลยมีข้อความเป็นทำนองเดียวกับประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯข้อ 47(1) ถึง (6) เป็นการเลิกจ้างในทางวินัย เป็นการลงโทษในสถานที่หนักที่สุดที่นายจ้างพึงกระทำต่อลูกจ้างได้นั้น ให้อำนาจผู้จัดการโรงงานไว้ ส่วนการลาออกโดยความสมัครใจ ซึ่งโดยปกติย่อมไม่มีผลร้ายแก่ลูกจ้างไม่มีประโยชน์และความจำเป็นประการใดที่จำเลยจะสงวนอำนาจเช่นว่านี้ไว้เป็นอำนาจโดยเฉพาะสำหรับกรรมการผู้จัดการผู้เดียวเท่านั้น ผู้จัดการโรงงานจึงมีอำนาจอนุมัติได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4371/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจอนุมัติลาออกของผู้จัดการโรงงาน: การตีความระเบียบข้อบังคับของนายจ้างตามหลักสุจริตและสภาพบังคับ
การที่ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์ได้ยื่นใบลาออกและผู้จัดการโรงงานลงลายมือชื่ออนุมัติแล้วนั้น ศาลแรงงานกลางมิได้ถือเอาตัวอย่างใบลาพยานเอกสารเป็นข้อวินิจฉัยในการรับฟัง ข้อเท็จจริงดังกล่าว หากแต่ศาลแรงงานกลางชั่งน้ำหนักคำเบิกความ ของพยานจำเลยกับคำเบิกความของตัวโจทก์โดยมิได้วินิจฉัยหรือ กล่าวพาดพิงถึงพยานเอกสารดังกล่าว คำวินิจฉัยของศาลแรงงานกลาง หาได้ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93 ไม่
ระเบียบข้อบังคับว่าด้วยการลาออกมิได้กำหนดตัวผู้มีอำนาจหน้าที่อนุมัติใบลาออกไว้ชัดแจ้ง แต่ไม่อาจแปลจำกัดเพียงว่านอกจากกรรมการผู้จัดการผู้มีอำนาจหน้าที่กระทำการแทนจำเลยผู้เดียวเท่านั้นแล้ว ผู้อื่นใดหามีอำนาจที่จะอนุมัติอีกไม่เป็นการแปลเฉพาะข้อความตอนใดตอนหนึ่งอันไม่ต้องด้วยหลักการตีความ การตีความจักต้องตีความไปตามความประสงค์ในทางสุจริตโดยพิเคราะห์เทียบเคียงถึงข้อสัญญาและข้อตกลงอื่น ๆ ประกอบด้วย และต้องตีความโดยนัยที่จะทำให้เป็นผลบังคับได้การเลิกจ้างตามระเบียบข้อบังคับของจำเลยมีข้อความเป็นทำนองเดียวกับประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ฯ ข้อ 47 (1) ถึง (6) เป็นการเลิกจ้างในทางวินัย เป็นการลงโทษในสถานที่หนักที่สุดที่นายจ้างพึงกระทำต่อลูกจ้างได้นั้น ให้อำนาจผู้จัดการโรงงานไว้ส่วนการลาออกโดยความสมัครใจ ซึ่งโดยปกติย่อมไม่มีผลร้ายแก่ลูกจ้างไม่มีประโยชน์และความจำเป็นประการใดที่จำเลยจะสงวนอำนาจเช่นว่านี้ไว้เป็นอำนาจโดยเฉพาะสำหรับกรรมการผู้จัดการผู้เดียวเท่านั้น ผู้จัดการโรงงานจึงมีอำนาจอนุมัติได้
ระเบียบข้อบังคับว่าด้วยการลาออกมิได้กำหนดตัวผู้มีอำนาจหน้าที่อนุมัติใบลาออกไว้ชัดแจ้ง แต่ไม่อาจแปลจำกัดเพียงว่านอกจากกรรมการผู้จัดการผู้มีอำนาจหน้าที่กระทำการแทนจำเลยผู้เดียวเท่านั้นแล้ว ผู้อื่นใดหามีอำนาจที่จะอนุมัติอีกไม่เป็นการแปลเฉพาะข้อความตอนใดตอนหนึ่งอันไม่ต้องด้วยหลักการตีความ การตีความจักต้องตีความไปตามความประสงค์ในทางสุจริตโดยพิเคราะห์เทียบเคียงถึงข้อสัญญาและข้อตกลงอื่น ๆ ประกอบด้วย และต้องตีความโดยนัยที่จะทำให้เป็นผลบังคับได้การเลิกจ้างตามระเบียบข้อบังคับของจำเลยมีข้อความเป็นทำนองเดียวกับประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ฯ ข้อ 47 (1) ถึง (6) เป็นการเลิกจ้างในทางวินัย เป็นการลงโทษในสถานที่หนักที่สุดที่นายจ้างพึงกระทำต่อลูกจ้างได้นั้น ให้อำนาจผู้จัดการโรงงานไว้ส่วนการลาออกโดยความสมัครใจ ซึ่งโดยปกติย่อมไม่มีผลร้ายแก่ลูกจ้างไม่มีประโยชน์และความจำเป็นประการใดที่จำเลยจะสงวนอำนาจเช่นว่านี้ไว้เป็นอำนาจโดยเฉพาะสำหรับกรรมการผู้จัดการผู้เดียวเท่านั้น ผู้จัดการโรงงานจึงมีอำนาจอนุมัติได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2505/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บันทึกข้อตกลงซื้อขายที่ดินไม่สมบูรณ์ เพราะจำเลยไม่ได้สมัครใจทำสัญญา และไม่มีเจตนาผูกพัน
ก่อนวันทำบันทึกเอกสารหมาย ล. 3 แม้ฝ่ายโจทก์จะต้องการให้ จำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทให้โจทก์ แต่จำเลยก็มิได้สมัครใจที่จะทำสัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทขึ้นให้เป็นการผูกพันระหว่างโจทก์จำเลย ส่วนบันทึกหมายล.3 รวม 7 แผ่น ศ. ปลัดอำเภอทำขึ้นระหว่างจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของนากับ ล. และพวกซึ่งเป็นผู้เช่านาและผู้ปลูกบ้านอาศัยอยู่ในที่พิพาท ในแผ่นที่ 1 และที่ 2 ระบุข้อความว่าเป็นเรื่องแจ้งการขายที่ดินโดยจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของที่นาจะทำการขายให้โจทก์หรือนิติบุคคลอื่นใดที่โจทก์เป็นกรรมการหรือผู้ถือหุ้น แต่ที่ดินแปลงนี้จำเลยได้ให้ผู้มีชื่อรวม 11 รายเช่าและปลูกบ้านอยู่อาศัย จำเลยมีความ ประสงค์จะขายที่นาแปลงดังกล่าวในราคา 2,688,000 บาท โดยชำระเงินงวดเดียวในวันโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดิน จึงขอเสนอขายให้ผู้เช่ามาก่อน จำเลยกับผู้เช่านารวม 8 รายได้ลงชื่อไว้ในบันทึกแผ่นที่ 2 นี้ ส่วนโจทก์มิได้ลงชื่อไว้ แผ่นที่ 3 ถึงที่ 5 เป็นบันทึกเกี่ยวกับความยินยอมของผู้เช่านาที่ยินยอมให้จำเลยขายที่พิพาทให้โจทก์และผู้เช่านาทั้งหมดขอเลิกการเช่านาโดยมีเงื่อนไขว่าผู้เช่าขอที่นาจากโจทก์ผู้ซื้อคนละ 1 ไร่ ผู้เช่าและผู้ปลูกบ้านขอค่ารื้อถอนและผู้เช่านาทั้งหมดไม่มีความต้องการจะซื้อที่นาแปลงดังกล่าว โดยมีผู้เช่านาทั้งหมดลงชื่อไว้ฝ่ายเดียวในแผ่นที่ 4 และแผ่นที่ 5 ส่วนโจทก์และจำเลยมิได้ลงชื่อไว้ สำหรับแผ่นที่ 6 เป็นบันทึกเปรียบเทียบของนายอำเภอว่าผู้เช่านาและผู้อาศัยยินดีเลิกการเช่าและรื้อถอนบ้านออกไปจากที่ดินยอมให้เจ้าของนาขายที่นาให้โจทก์และโจทก์ยินดียกที่นาให้ผู้เช่านารายละ 1 ไร่ และยินยอมให้ค่ารื้อบ้านแก่ผู้เช่านาและผู้อาศัยปลูกบ้าน โดยผู้เช่านาและผู้อาศัยรวม 11 ราย จำเลยในฐานะผู้ให้เช่านา โจทก์ในฐานะผู้จะซื้อกับนายอำเภอผู้เปรียบเทียบลงชื่อไว้ในแผ่นที่ 7 ดังนี้ บันทึกหมาย ล. 3 ที่จำเลยเข้าไปเกี่ยวข้องลงชื่อไว้ เป็นเพียงการกระทำของจำเลยในฐานะผู้ให้เช่านาเสนอขายที่นาให้แก่ผู้เช่านาก่อน ตามที่กฎหมายบังคับไว้ มิได้มีใจสมัครที่จะมุ่งหมายให้ข้อความในบันทึกดังกล่าวเป็นสัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทระหว่างโจทก์จำเลย บันทึกหมาย ล. 3 จึงมิใช่สัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาท