คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 10

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 73 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2505/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขายต้องมีเจตนาผูกพัน สัญญาที่ไม่ชัดเจนไม่ถือเป็นสัญญาจะซื้อจะขายที่สมบูรณ์
ก่อนวันทำบันทึกเอกสารหมาย ล.3 แม้ฝ่ายโจทก์จะต้องการให้ จำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทให้โจทก์ แต่จำเลยก็มิได้สมัครใจที่จะทำสัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทขึ้นให้เป็นการผูกพันระหว่างโจทก์จำเลย ส่วนบันทึกหมายล.3 รวม 7 แผ่น ศ. ปลัดอำเภอทำขึ้นระหว่างจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของนากับล.และพวกซึ่งเป็นผู้เช่านาและผู้ปลูกบ้านอาศัยอยู่ในที่พิพาท ในแผ่นที่ 1 และที่ 2 ระบุข้อความว่าเป็น เรื่องแจ้งการขายที่ดินโดยจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของที่นาจะทำการขายให้โจทก์หรือนิติบุคคลอื่นใดที่โจทก์เป็นกรรมการหรือผู้ถือหุ้น แต่ที่ดินแปลงนี้จำเลยได้ให้ผู้มีชื่อรวม 11 รายเช่าและปลูกบ้านอยู่อาศัย จำเลยมีความประสงค์จะขายที่นาแปลงดังกล่าวในราคา 2,688,000 บาทโดยชำระเงินงวดเดียวในวันโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดิน จึงขอเสนอขาย ให้ผู้เช่ามาก่อน จำเลยกับผู้เช่านารวม 8 รายได้ลงชื่อไว้ในบันทึกแผ่นที่ 2 นี้ ส่วนโจทก์มิได้ลงชื่อไว้ แผ่นที่ 3 ถึงที่ 5 เป็นบันทึกเกี่ยวกับ ความยินยอมของผู้เช่านาที่ยินยอมให้จำเลยขายที่พิพาทให้โจทก์ และผู้เช่านาทั้งหมดขอเลิกการเช่านาโดยมีเงื่อนไขว่าผู้เช่าขอที่นาจากโจทก์ผู้ซื้อคนละ 1 ไร่ ผู้เช่าและผู้ปลูกบ้านขอค่ารื้อถอน และผู้เช่านาทั้งหมดไม่มีความต้องการจะซื้อที่นาแปลงดังกล่าว โดยมีผู้เช่านาทั้งหมดลงชื่อไว้ฝ่ายเดียวในแผ่นที่ 4 และแผ่นที่ 5 ส่วนโจทก์และจำเลยมิได้ลงชื่อไว้ สำหรับแผ่นที่ 6 เป็นบันทึกเปรียบเทียบของนายอำเภอว่าผู้เช่านาและผู้อาศัยยินดีเลิกการเช่าและรื้อถอนบ้านออกไปจากที่ดินยอมให้เจ้าของนาขายที่นาให้โจทก์ และโจทก์ยินดียกที่นาให้ผู้เช่านารายละ 1 ไร่ และยินยอมให้ค่ารื้อบ้านแก่ผู้เช่านาและผู้อาศัยปลูกบ้าน โดยผู้เช่านาและผู้อาศัยรวม 11 ราย จำเลยในฐานะผู้ให้เช่านา โจทก์ในฐานะผู้จะซื้อกับนายอำเภอผู้เปรียบเทียบลงชื่อไว้ในแผ่นที่ 7 ดังนี้ บันทึกหมาย ล.3ที่จำเลยเข้าไปเกี่ยวข้องลงชื่อไว้เป็นเพียงการกระทำของจำเลยในฐานะผู้ให้เช่านาเสนอขายที่นาให้แก่ผู้เช่านาก่อน ตามที่กฎหมายบังคับไว้ มิได้มีใจสมัครที่จะมุ่งหมายให้ข้อความในบันทึกดังกล่าวเป็นสัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทระหว่างโจทก์จำเลย บันทึกหมาย ล.3 จึงมิใช่สัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2175/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพัน ยุติข้อพิพาท แม้จะมีข้อโต้แย้งเรื่องความผิดสัญญาหรือความเสียหาย
จำเลยได้ว่าจ้างโจทก์ให้ก่อสร้างอาคารเรียน โจทก์ใช้เหล็กเส้นผิดขนาดจากที่กำหนดไว้ในแบบในการก่อสร้างอาคารเรียนดังกล่าว โจทก์จึงบันทึกข้อความไว้ว่ายอมให้จำเลยหักเงินเป็นค่าปรับตามจำนวนที่จำเลยกำหนดไว้ได้และจำเลยยินยอมให้โจทก์ดำเนินการก่อสร้างต่อไป โดยไม่ต้องรื้ออาคารที่ก่อสร้างไปแล้ว ดังนี้ ไม่ใช่เป็นเรื่องเบี้ยปรับที่ตกลงกันไว้ล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 379 แต่เป็นกรณีที่โจทก์จำเลยมาทำความตกลงระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นแล้วซึ่งมีผลเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850 จำเลยย่อมมีสิทธิหักเงินตามจำนวนที่กำหนดไว้ ปัญหาว่าโจทก์ผิดสัญญาหรือไม่หรือจำเลยเสียหายมากน้อยเพียงใด ย่อมเป็นอันยุติไปแล้วโดยผลของสัญญาประนีประนอมยอมความ ไม่มีเหตุที่จะรื้อฟื้นขึ้นมาพิจารณาอีก
การที่โจทก์บันทึกไว้ว่ายินดีให้หักเงินจำนวน 119,412 บาทก่อนหมายความว่าโจทก์ยอมให้หักไว้ก่อนตามจำนวนดังกล่าว โดยโจทก์ยินดีรับไปเฉพาะส่วนที่เหลือจากหักแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2643/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตคำว่า 'ผลิตภัณฑ์อาหาร' ในประมวลรัษฎากร: อาหารสัตว์รวมด้วยหรือไม่
คำว่า 'ผลิตภัณฑ์อาหาร' ตามบัญชีที่ 1 หมวด 1 (4)ท้ายพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากร (ฉบับที่ 21) พ.ศ. 2509 ไม่มีบทนิยามให้มีความหมายโดยเฉพาะ ย่อมค้นหาความหมายได้โดยเปรียบเทียบจากบทบัญญัติที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งคือจากบทมาตราอื่นๆ ของประมวลรัษฎากร
คำว่า 'อาหาร' ในบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร ถ้าใช้เป็นคำกลางๆ หมายถึงอาหารสำหรับคนเท่านั้น หามีความหมายถึงอาหารสัตว์ด้วยไม่ คำว่า 'ผลิตภัณฑ์อาหาร' จึงหมายถึง อาหารคนแต่อย่างเดียว ถ้ากฎหมายประสงค์จะให้หมายถึงอาหารอย่างอื่น ก็จำเป็นจะต้องบัญญัติไว้ให้ชัดเป็นแห่ง ๆ ไป ฉะนั้น อาหารสัตว์จึงไม่อยู่ในความหมายของคำว่า 'ผลิตภัณฑ์อาหาร'

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2643/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำว่า 'ผลิตภัณฑ์อาหาร' ตามกฎหมายภาษีอากร ไม่รวมถึงอาหารสัตว์
คำว่า 'ผลิตภัณฑ์อาหาร' ตามบัญชีที่ 1 หมวด 1(4)ท้ายพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากร (ฉบับที่ 21) พ.ศ. 2509 ไม่มีบทนิยามให้มีความหมายโดยเฉพาะ ย่อมค้นหาความหมายได้โดยเปรียบเทียบจากบทบัญญัติที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งคือจากบทมาตราอื่นๆ ของประมวลรัษฎากร
คำว่า 'อาหาร' ในบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร ถ้าใช้เป็นคำกลางๆ หมายถึงอาหารสำหรับคนเท่านั้น หามีความหมายถึงอาหารสัตว์ด้วยไม่ คำว่า 'ผลิตภัณฑ์อาหาร' จึงหมายถึง อาหารคนแต่อย่างเดียว ถ้ากฎหมายประสงค์จะให้หมายถึงอาหารอย่างอื่น ก็จำเป็นจะต้องบัญญัติไว้ให้ชัดเป็นแห่ง ๆ ไปฉะนั้น อาหารสัตว์จึงไม่อยู่ในความหมายของคำว่า 'ผลิตภัณฑ์อาหาร'

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1077-1079/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดัดแปลงทรัพย์สินที่เช่า: การกั้นห้องที่ไม่ทำให้เกิดความเสียหายและการอนุญาตดัดแปลงบันไดด้วยวาจา
ข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยผู้เช่าได้กั้นห้องด้วยไม้อัดไม่แน่นหนา รื้อออกได้ง่ายและไม่ทำให้เกิดความเสียหายหรือเปลี่ยนแปลงรูปทรงอาคารเดิมของโจทก์ จึงไม่ถือว่าเป็นการดัดแปลงหรือต่อเติมแก่ทรัพย์ที่เช่า
ส่วนการดัดแปลงบันไดนั้น ปรากฏว่าโจทก์ได้อนุญาตด้วยวาจาให้จำเลยดัดแปลงได้ การที่ระบุไว้ในสัญญาว่าจำเลยจะไม่ดัดแปลงหรือต่อเติมอย่างใดแก่ทรัพย์ที่เช่าโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรนั้น ก็เพื่อความสะดวกแก่การพิสูจน์โดยมีหลักฐานแน่นอนและชัดแจ้งเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นเท่านั้นไม่ใช่ว่าโจทก์จะไม่อาจให้คำอนุญาตด้วยวาจาได้เลยประการหนึ่งและอีกประการหนึ่งเมื่อโจทก์ได้อนุญาตด้วยวาจาแล้วเช่นนี้ ย่อมถือได้ว่าโจทก์ได้สละข้อห้ามในสัญญานั้นแล้ว โจทก์จึงบอกเลิกสัญญาเช่าไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1220/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาขัดแย้งกัน ศาลต้องสืบพยานเพื่อหาเจตนาจริงของคู่สัญญา
เมื่อข้อความในสัญญาฉบับเดียวกันขัดแย้งกันเองและไม่ชัดเจนพอที่จะพิจารณาถึงเจตนาอันแท้จริงของคู่สัญญาได้ ศาลจะให้งดสืบพยานโจทก์จำเลยเสียโดยพิจารณาแต่เพียงตัวสัญญาเท่านั้นย่อมไม่ได้ ในกรณีเช่นนี้ ศาลต้องสืบพยานต่อไปตามข้อต่อสู้ของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1220/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาขัดแย้ง – เจตนาไม่ชัดเจน – ศาลต้องสืบพยาน
เมื่อข้อความในสัญญาฉบับเดียวกันขัดแย้งกันเอง และไม่ชัดเจนพอที่จะพิจารณาถึงเจตนาอันแท้จริงของคู่สัญญาได้ศาลจะให้งดสืบพยานโจทก์จำเลยเสียโดยพิจารณาแต่เพียงตัวสัญญาเท่านั้นย่อมไม่ได้ ในกรณีเช่นนี้ ศาลต้องสืบพยานต่อไปตามข้อต่อสู้ของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 848/2499

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกทรัพย์สิน (ห้องแถว) โดยไม่รวมที่ดิน การเพิกถอนพินัยกรรม และสิทธิในการจัดการมรดก
เกี่ยวกับทรัพย์สินที่ยกให้นั้นเมื่อข้อความในสัญญาบางแห่งใช้คำว่า'ห้องแถว'บางแห่งใช้คำว่า'ที่ห้องแถว' และเมื่อพิเคราะห์ข้อความในสัญญาโดยตลอดแล้วเห็นว่า'ที่ห้องแถว' คงหมายความว่า'ห้องแถว' ไม่ได้หมายความถึงที่ดินด้วยประกอบกับการทำนิติกรรมยกให้ต่อกรมการอำเภอก็แสดงว่ายกให้แต่เฉพาะห้องแถว ถ้ายกให้ทั้งที่ดินซึ่งมีโฉนดแล้วด้วยก็ต้องไปทำนิติกรรมและจดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานที่ดินหรือผู้ทำการแทน มิฉะนั้นการยกให้ไม่สมบูรณ์
เมื่อทรัพย์ส่วนใดในพินัยกรรมผู้ทำพินัยกรรมกลับใจยกให้แก่ผู้อื่นไปทรัพย์ส่วนนั้นก็ถูกเพิกถอนไปเท่านั้นเองพินัยกรรมไม่เสียไปทั้งฉบับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1636-1639/2498 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความกับการบังคับคดีขับไล่: การตีความขอบเขตระยะเวลาเช่า
โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยจากที่ของโจทก์ ชั้นพิจารณาคู่ความตกลงกันว่าโจทก์ยอมให้จำเลยเช่าต่อไป 2 ปี แม้ในสัญญาประนีประนอมจะมิได้ระบุว่าเมื่อครบ 2 ปี แล้วจำเลยจะต้องยอมออกไปก็ตาม ก็ต้องตีความตามสัญญานั้นว่าเมื่อครบ 2 ปีแล้วจำเลยก็ต้องออกไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1636-1639/2498 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความกับการบังคับคดีขับไล่ การตีความขอบเขตการเช่าและการสิ้นสุดสัญญา
โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยจากที่ของโจทก์ ชั้นพิจารณาคู่ความตกลงกันว่าโจทก์ยอมให้จำเลยเช่าต่อไป 2 ปี แม้ในสัญญาประนีประนอมจะมิได้ระบุว่าเมื่อครบ 2 ปีแล้วจำเลยจะต้องยอมออกไปก็ตาม ก็ต้องตีความตามสัญญานั้นว่าเมื่อครบ 2 ปีแล้วจำเลยก็ต้องออกไป
of 8