พบผลลัพธ์ทั้งหมด 101 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12797/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาเกินคำขอและทรัพย์สินที่ไม่เกี่ยวข้องกับการกระทำผิด ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขได้
ที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษาว่า จำเลยทั้งสามมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 364 นั้น แม้คำขอท้ายฟ้องของโจทก์จะระบุอ้าง ป.อ. มาตรา 364 ไว้ด้วย แต่โจทก์ไม่ได้กล่าวบรรยายในคำฟ้องว่า จำเลยทั้งสามเข้าไปในเคหสถานในความครอบครองของผู้อื่นโดยไม่มีเหตุอันสมควร อันจะเป็นความผิดตามมาตรา 364 ดังนั้น ศาลจะพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสามตาม ป.อ. มาตรา 364 ไม่ได้ เป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้อง ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง แม้จำเลยที่ 2 ให้การรับสารภาพและคดีถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นไปแล้วและไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาก็ตาม แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและพิพากษาแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
ตามบันทึกการตรวจยึดและบัญชีของกลางคดีอาญาระบุว่า ป้ายผ้าผืนแรกมีข้อความว่า "ที่ดินคนไทย ทำไมให้ต่างชาติทำกิน" ผืนที่สองมีข้อความว่า "แผ่นดินไทยแต่คนไทยไม่มีที่ทำกิน ต้องยกเลิกสัญญา" ส่วนไม้กระดานอัดแผ่นแรกเขียนข้อความเกี่ยวกับระเบียบการเข้ามาอยู่ในที่ดินที่เกิดเหตุและแผ่นที่สองเขียนข้อความเกี่ยวกับค่าสมัครสมาชิก แม้ป้ายผ้าและไม้กระดานอัดซึ่งมีข้อความดังกล่าวแขวนหรือติดไว้ในที่เกิดเหตุ แต่ป้ายผ้าและไม้กระดานอัดไม่ใช่ทรัพย์สินที่บุคคลได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดในคดีนี้โดยตรง จึงริบทรัพย์สินดังกล่าวไม่ได้ ที่ศาลล่างทั้งสองมีคำพิพากษาให้ริบทรัพย์สิน ไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกาปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 เมื่อไม่ริบทรัพย์สินดังกล่าวจึงต้องคืนแก่เจ้าของ แม้โจทก์มิได้มีคำขอมาก็ตาม ศาลฎีกามีอำนาจสั่งคืนของกลางแก่เจ้าของได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 49 ประกอบมาตรา 186 (9)
ตามบันทึกการตรวจยึดและบัญชีของกลางคดีอาญาระบุว่า ป้ายผ้าผืนแรกมีข้อความว่า "ที่ดินคนไทย ทำไมให้ต่างชาติทำกิน" ผืนที่สองมีข้อความว่า "แผ่นดินไทยแต่คนไทยไม่มีที่ทำกิน ต้องยกเลิกสัญญา" ส่วนไม้กระดานอัดแผ่นแรกเขียนข้อความเกี่ยวกับระเบียบการเข้ามาอยู่ในที่ดินที่เกิดเหตุและแผ่นที่สองเขียนข้อความเกี่ยวกับค่าสมัครสมาชิก แม้ป้ายผ้าและไม้กระดานอัดซึ่งมีข้อความดังกล่าวแขวนหรือติดไว้ในที่เกิดเหตุ แต่ป้ายผ้าและไม้กระดานอัดไม่ใช่ทรัพย์สินที่บุคคลได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดในคดีนี้โดยตรง จึงริบทรัพย์สินดังกล่าวไม่ได้ ที่ศาลล่างทั้งสองมีคำพิพากษาให้ริบทรัพย์สิน ไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกาปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 เมื่อไม่ริบทรัพย์สินดังกล่าวจึงต้องคืนแก่เจ้าของ แม้โจทก์มิได้มีคำขอมาก็ตาม ศาลฎีกามีอำนาจสั่งคืนของกลางแก่เจ้าของได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 49 ประกอบมาตรา 186 (9)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12516/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามตามมาตรา 248 วรรคหนึ่ง ป.วิ.พ. เนื่องจากทุนทรัพย์แต่ละส่วนไม่เกิน 200,000 บาท และเป็นการโต้แย้งข้อเท็จจริง
โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่พิพาทตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) โดยอ้างว่าจำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนยกที่พิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ต่อมาจำเลยที่ 2 นำที่พิพาทไปจดทะเบียนจำนองแก่สหกรณ์การเกษตร ว. จำกัด ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองโอนที่พิพาทคืนแก่กองมรดก ท. นั้น เป็นการฟ้องเรียกที่พิพาทให้ได้กลับคืนมาเป็นทรัพย์มรดกเพื่อประโยชน์แก่โจทก์ทั้งสอง คดีของโจทก์ทั้งสองจึงเป็นคดีที่มีคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เป็นคดีมีทุนทรัพย์ตามจำนวนราคาที่พิพาท จึงเป็นหนี้อันอาจแบ่งแยกได้ แม้โจทก์ทั้งสองฟ้องรวมกันมา การอุทธรณ์หรือฎีกาก็ต้องถือทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนแยกกัน เพราะเป็นเรื่องที่โจทก์แต่ละคนใช้สิทธิเฉพาะของตน เมื่อโจทก์ทั้งสองตีราคาที่พิพาทรวมกันมามีราคา 312,000 บาท ที่ดินแต่ละส่วนที่โจทก์แต่ละคนฟ้องขอแบ่งจึงมีราคาไม่เกิน 200,000 บาท ดังนั้น ราคาทรัพย์สินหรือทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาสำหรับโจทก์แต่ละคนจึงไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามคู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
ฎีกาของโจทก์ทั้งสองที่ว่า โจทก์ทั้งสองมีอำนาจฟ้องคดีขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่พิพาทแปลงที่ห้าตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) ที่จำเลยที่ 1 รับโอนมาทางมรดกจาก ท. และโอนให้แก่จำเลยที่ 2 ตามฟ้อง มีลักษณะเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายเรื่องอำนาจฟ้องถือเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง และที่โจทก์ทั้งสองฎีกาว่า ทรัพย์มรดกของ ท. เจ้ามรดกยังไม่มีการแบ่งปันกันระหว่างทายาท โจทก์ทั้งสองใช้สิทธิติดตามเอาคืนที่พิพาทจากจำเลยที่ 2 เพื่อนำมาแบ่งปันให้แก่ทายาททุกคน เพราะจำเลยที่ 1 โอนยกที่พิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ไป โดยทายาทคนอื่น ๆ ไม่ได้ให้ความยินยอมและไม่รับทราบ รวมทั้ง ส. ในฐานะผู้จัดการมรดกก็ไม่ทราบเรื่องดังกล่าว โดยขอให้ศาลฎีกาได้โปรดมีคำพิพากษากลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4 และมีคำพิพากษาตามคำฟ้องของโจทก์ทั้งสองต่อไปนั้น เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 4 จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเช่นเดียวกัน
ฎีกาของโจทก์ทั้งสองที่ว่า โจทก์ทั้งสองมีอำนาจฟ้องคดีขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่พิพาทแปลงที่ห้าตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) ที่จำเลยที่ 1 รับโอนมาทางมรดกจาก ท. และโอนให้แก่จำเลยที่ 2 ตามฟ้อง มีลักษณะเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายเรื่องอำนาจฟ้องถือเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง และที่โจทก์ทั้งสองฎีกาว่า ทรัพย์มรดกของ ท. เจ้ามรดกยังไม่มีการแบ่งปันกันระหว่างทายาท โจทก์ทั้งสองใช้สิทธิติดตามเอาคืนที่พิพาทจากจำเลยที่ 2 เพื่อนำมาแบ่งปันให้แก่ทายาททุกคน เพราะจำเลยที่ 1 โอนยกที่พิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ไป โดยทายาทคนอื่น ๆ ไม่ได้ให้ความยินยอมและไม่รับทราบ รวมทั้ง ส. ในฐานะผู้จัดการมรดกก็ไม่ทราบเรื่องดังกล่าว โดยขอให้ศาลฎีกาได้โปรดมีคำพิพากษากลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4 และมีคำพิพากษาตามคำฟ้องของโจทก์ทั้งสองต่อไปนั้น เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 4 จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเช่นเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10918/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
องค์ประกอบความผิดฐานตั้งสถานบริการและค้ามนุษย์: การบรรยายฟ้องต้องครบถ้วนตามกฎหมาย
โจทก์บรรยายฟ้องในความผิดฐานตั้งสถานบริการโดยไม่ได้รับใบอนุญาตแต่เพียงว่า จำเลยตั้งสถานบริการประเภทที่มีอาหาร สุรา น้ำชาหรือเครื่องดื่มอย่างอื่นจำหน่าย โดยจัดให้มีการแสดงดนตรีและการแสดงอย่างอื่นเพื่อการบันเทิงบริการแก่ลูกค้า ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในการค้าของจำเลยโดยไม่ได้รับใบอนุญาต โดยไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยยินยอมหรือปล่อยปละละเลยให้นักร้อง นักแสดงหรือพนักงานอื่นใดนั่งกับลูกค้าหรือซึ่งปิดทำการหลังเวลา 24.00 นาฬิกา ด้วยแต่อย่างใด ฟ้องโจทก์ข้อหานี้จึงไม่ครบองค์ประกอบความผิดฐานตั้งสถานบริการโดยไม่ได้รับใบอนุญาตตาม พ.ร.บ.สถานบริการ พ.ศ.2509 มาตรา 3 และมาตรา 4 ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
โจทก์บรรยายฟ้องในความผิดฐานค้ามนุษย์ว่า จำเลยกระทำการค้ามนุษย์เพื่อแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ เพื่อสนองความใคร่ของผู้อื่น เป็นธุระจัดหา ล่อไป โดยการพูดยุยงส่งเสริม โดยใช้อุบายหลอกลวง ใช้อำนาจครอบงำผิดคลองธรรมหรือใช้วิธีข่มขืนใจด้วยประการอื่นใดด้วยการให้ผู้เสียหายซึ่งเป็นเด็กอายุเกินสิบห้าปีแต่ไม่เกินสิบแปดปีให้ค้าประเวณี ทั้งนี้ เพื่อการอนาจารและสนองความใคร่ของผู้อื่นเพื่อสินจ้างหรือประโยชน์อื่นใด แม้ผู้เสียหายจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม และเป็นการกระทำความผิดเกี่ยวกับการค้าเด็กอายุเกินกว่าสิบห้าปีแต่ไม่เกินสิบแปดปีโดยบังคับ ขู่เข็ญ ชักจูง ยุยง ส่งเสริม หรือยินยอมให้ผู้เสียหายซึ่งเป็นเด็กกระทำการค้าประเวณี ไม่ว่าจะเป็นไปเพื่อให้ได้มาซึ่งค่าตอบแทนหรือเพื่อการใด เพื่อแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบสำหรับตนเองหรือผู้อื่น ไม่ว่าเด็กนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม เป็นการบรรยายฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดฐานค้ามนุษย์ตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551 มาตรา 6 (1) แต่โจทก์ฎีกาว่า พฤติการณ์ของจำเลยเป็นการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ รับผู้เสียหายซึ่งเป็นเด็กไว้ให้มานั่งดริ้ง และเมื่อเด็กจะออกไปค้าประเวณีต้องจ่ายค่าปรับค่าร้านให้แก่จำเลย 300 บาท มิฉะนั้นเด็กไม่มีโอกาสที่จะออกจากร้านจำเลยไปได้นั้น เป็นการกล่าวอ้างว่าจำเลยกระทำความผิดฐานค้ามนุษย์ด้วยการรับไว้ซึ่งเด็กเพื่อแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบอันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551 มาตรา 6 (2) ซึ่งเป็นการกระทำที่โจทก์ไม่ได้บรรยายไว้ในฟ้อง อีกทั้งฟ้องตามที่บรรยายมาก็ไม่อาจแปลความหรือทำให้เข้าใจได้ว่าจำเลยรับไว้ซึ่งเด็กเพื่อแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ ข้อที่โจทก์ฎีกามาจึงเป็นการนอกเหนือไปจากที่โจทก์ฟ้อง ศาลจะลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551 มาตรา 6 (2) ไม่ได้ ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง
โจทก์บรรยายฟ้องในความผิดฐานค้ามนุษย์ว่า จำเลยกระทำการค้ามนุษย์เพื่อแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ เพื่อสนองความใคร่ของผู้อื่น เป็นธุระจัดหา ล่อไป โดยการพูดยุยงส่งเสริม โดยใช้อุบายหลอกลวง ใช้อำนาจครอบงำผิดคลองธรรมหรือใช้วิธีข่มขืนใจด้วยประการอื่นใดด้วยการให้ผู้เสียหายซึ่งเป็นเด็กอายุเกินสิบห้าปีแต่ไม่เกินสิบแปดปีให้ค้าประเวณี ทั้งนี้ เพื่อการอนาจารและสนองความใคร่ของผู้อื่นเพื่อสินจ้างหรือประโยชน์อื่นใด แม้ผู้เสียหายจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม และเป็นการกระทำความผิดเกี่ยวกับการค้าเด็กอายุเกินกว่าสิบห้าปีแต่ไม่เกินสิบแปดปีโดยบังคับ ขู่เข็ญ ชักจูง ยุยง ส่งเสริม หรือยินยอมให้ผู้เสียหายซึ่งเป็นเด็กกระทำการค้าประเวณี ไม่ว่าจะเป็นไปเพื่อให้ได้มาซึ่งค่าตอบแทนหรือเพื่อการใด เพื่อแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบสำหรับตนเองหรือผู้อื่น ไม่ว่าเด็กนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม เป็นการบรรยายฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดฐานค้ามนุษย์ตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551 มาตรา 6 (1) แต่โจทก์ฎีกาว่า พฤติการณ์ของจำเลยเป็นการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ รับผู้เสียหายซึ่งเป็นเด็กไว้ให้มานั่งดริ้ง และเมื่อเด็กจะออกไปค้าประเวณีต้องจ่ายค่าปรับค่าร้านให้แก่จำเลย 300 บาท มิฉะนั้นเด็กไม่มีโอกาสที่จะออกจากร้านจำเลยไปได้นั้น เป็นการกล่าวอ้างว่าจำเลยกระทำความผิดฐานค้ามนุษย์ด้วยการรับไว้ซึ่งเด็กเพื่อแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบอันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551 มาตรา 6 (2) ซึ่งเป็นการกระทำที่โจทก์ไม่ได้บรรยายไว้ในฟ้อง อีกทั้งฟ้องตามที่บรรยายมาก็ไม่อาจแปลความหรือทำให้เข้าใจได้ว่าจำเลยรับไว้ซึ่งเด็กเพื่อแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ ข้อที่โจทก์ฎีกามาจึงเป็นการนอกเหนือไปจากที่โจทก์ฟ้อง ศาลจะลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551 มาตรา 6 (2) ไม่ได้ ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10774/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขแผนฟื้นฟูกิจการต้องไม่กระทบสิทธิเจ้าหนี้มีประกันที่จะได้รับชำระหนี้ไม่น้อยกว่าราคาทรัพย์หลักประกัน
เจ้าหนี้กลุ่มที่ 1 และที่ 2 เป็นเจ้าหนี้มีประกันโดยมีที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างอันเป็นทรัพย์สินของลูกหนี้จำนองเป็นประกัน และมีข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนองว่า ในกรณีบังคับจำนองเอาทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดได้เงินสุทธิไม่พอชำระหนี้ หรือในกรณีผู้รับจำนองเอาทรัพย์ที่จำนองหลุดเป็นสิทธิและราคาทรัพย์ที่จำนองต่ำกว่าจำนวนหนี้อยู่เท่าใด ลูกหนี้ผู้จำนองยอมชำระหนี้ที่ขาดนั้นจากทรัพย์สินอื่นของลูกหนี้ผู้จำนองให้แก่ผู้รับจำนองจนครบถ้วน จึงเป็นกรณีที่ตามกฎหมายลูกหนี้ต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้กลุ่มที่ 1 และที่ 2 ซึ่งรวมถึงเจ้าหนี้รายที่ 242 และที่ 445 เกินกว่าราคาทรัพย์สินที่เป็นหลักประกัน และหากลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในคดีล้มละลายเจ้าหนี้กลุ่มที่ 1 และที่ 2 ย่อมมีสิทธิขอรับชำระหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 96 (3) หรือ (4) ซึ่งหมายความว่า เจ้าหนี้มีประกันเหล่านี้จะต้องได้รับชำระหนี้อย่างน้อยเท่ากับราคาทรัพย์สินอันเป็นหลักประกัน หนี้ส่วนที่เหลือจึงจะมีสิทธิได้รับชำระหนี้อย่างเจ้าหนี้ไม่มีประกันตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 130 (7) และการที่แผนฟื้นฟูกิจการที่มีการแก้ไขจัดให้เจ้าหนี้รายที่ 242 และที่ 445 เป็นเจ้าหนี้มีประกันในกลุ่มที่ 2 ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/46 ทวิ (2) ก็ย่อมแสดงว่าในจำนวนหนี้ดังกล่าวเป็นหนี้ที่มีเจ้าหนี้บุริมสิทธิเหนือทรัพย์อันเป็นหลักประกันนั้น นอกจากนี้เจ้าหนี้มีประกันจะใช้สิทธิบังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันโดยไม่ต้องขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการก็ได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/28 และแม้ว่าในระหว่างลูกหนี้เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการ เจ้าหนี้มีประกันจะถูกจำกัดสิทธิมิให้บังคับชำระหนี้เอาแก่ทรัพย์สินที่เป็นหลักประกัน เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาลที่รับคำร้องขอ แต่การจำกัดสิทธินั้นจะต้องให้ความคุ้มครองสิทธิของเจ้าหนี้มีประกันอย่างเพียงพอตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/12 (6) และมาตรา 90/13 แผนฟื้นฟูกิจการจึงต้องไม่กระทบต่อสิทธิของเจ้าหนี้มีประกันโดยเจ้าหนี้มีประกันที่มีสิทธิได้รับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการตามแผนจะต้องได้รับชำระหนี้เมื่อดำเนินการสำเร็จตามแผนเป็นจำนวนไม่น้อยกว่าราคาทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/58 (3)
เมื่อพิจารณาสิทธิของเจ้าหนี้มีประกันในคดีล้มละลายในอันที่จะบังคับเอาแก่ทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 95 และมาตรา 110 วรรคสาม หรือเจ้าหนี้มีประกันอาจขอรับชำระหนี้โดยตีราคาทรัพย์หลักประกันแล้วขอรับชำระหนี้ส่วนที่ขาด ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 96 (4) ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเจ้าหนี้มีประกันย่อมมีสิทธิได้รับชำระหนี้จากทรัพย์หลักประกันจนเต็มจำนวนบุริมสิทธิที่ตนมีอยู่ เจ้าหนี้มีประกันจึงมีสิทธิได้รับชำระหนี้ในมูลค่าปัจจุบันในวันที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนไม่น้อยกว่ามูลค่าทรัพย์หลักประกัน หากว่ายังไม่ได้มีการชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้มีประกันโดยเต็มจำนวนและในทันทีที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนแล้ว ลูกหนี้ย่อมจะต้องชำระดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นเนื่องจากการชำระหนี้ล่าช้านั้นเพื่อให้เจ้าหนี้มีประกันได้รับชำระหนี้ไม่น้อยกว่ามูลค่าทรัพย์หลักประกัน ส่วนการประเมินมูลค่าหลักประกันที่จะนำมาใช้ประกอบการพิจารณานั้น เมื่อปรากฏว่าหลักประกันเป็นที่ดินพร้อมโรงงานซึ่งในการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้จะมีการประกอบธุรกิจของลูกหนี้ในส่วนนี้ต่อไป มิได้มีการขายทอดตลาดทรัพย์หลักประกันไปในราคาบังคับขายแต่อย่างใด ราคาประเมินที่เหมาะสมซึ่งจะนำมาใช้ก็คือ ราคาตลาดอันมีราคา 228,788,921 บาท หาใช่ราคาบังคับขายอันมีราคา 148,974,000 บาท ไม่
การที่ข้อเสนอขอแก้ไขแผนกำหนดให้เจ้าหนี้มีประกันได้รับชำระหนี้ในอัตราร้อยละ 80 ของต้นเงินตามแผนฟื้นฟูกิจการที่มีการแก้ไขเดิม ซึ่งศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแล้วนั้นย่อมไม่อาจกระทำได้ เนื่องจากผลของคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนที่มีการแก้ไขแล้วย่อมผูกพันบุคคลที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ทั้งการขอแก้ไขดังกล่าวยังเป็นการกระทบสิทธิของเจ้าหนี้มีประกันในอันที่จะได้รับชำระหนี้ไม่น้อยกว่ากรณีที่ศาลพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลาย ผู้บริหารแผนจะอ้างราคาบังคับขายทรัพย์หลักประกันเพื่อแสดงว่าเจ้าหนี้รายที่ 242 และที่ 445 ได้รับชำระหนี้มากกว่ากรณีที่ศาลพิพากษาให้ล้มละลายหาได้ไม่ เนื่องจากกิจการของลูกหนี้มิได้ปิดลง ทั้งไม่มีค่าใช้จ่ายในการขายทรัพย์หลักประกันแต่อย่างใด ดังนี้ การประเมินราคาทรัพย์สินตามข้อเสนอขอแก้ไขแผนของผู้บริหารแผนจึงเป็นการประเมินราคาทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันโดยมิชอบ ทำให้สิทธิของเจ้าหนี้มีประกันไม่ได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/58 (3) ประกอบมาตรา 90/13 อันมีผลให้เจ้าหนี้กลุ่มที่ 1 และที่ 2 อาจได้รับชำระหนี้น้อยกว่ากรณีที่มีการขายทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันเมื่อศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/63 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 90/58 (3) ทั้งเป็นการขัดต่อผลของคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนที่มีการแก้ไขซึ่งศาลมีคำสั่งเห็นชอบแล้วซึ่งไม่อาจทำได้
เมื่อพิจารณาสิทธิของเจ้าหนี้มีประกันในคดีล้มละลายในอันที่จะบังคับเอาแก่ทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 95 และมาตรา 110 วรรคสาม หรือเจ้าหนี้มีประกันอาจขอรับชำระหนี้โดยตีราคาทรัพย์หลักประกันแล้วขอรับชำระหนี้ส่วนที่ขาด ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 96 (4) ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเจ้าหนี้มีประกันย่อมมีสิทธิได้รับชำระหนี้จากทรัพย์หลักประกันจนเต็มจำนวนบุริมสิทธิที่ตนมีอยู่ เจ้าหนี้มีประกันจึงมีสิทธิได้รับชำระหนี้ในมูลค่าปัจจุบันในวันที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนไม่น้อยกว่ามูลค่าทรัพย์หลักประกัน หากว่ายังไม่ได้มีการชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้มีประกันโดยเต็มจำนวนและในทันทีที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนแล้ว ลูกหนี้ย่อมจะต้องชำระดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นเนื่องจากการชำระหนี้ล่าช้านั้นเพื่อให้เจ้าหนี้มีประกันได้รับชำระหนี้ไม่น้อยกว่ามูลค่าทรัพย์หลักประกัน ส่วนการประเมินมูลค่าหลักประกันที่จะนำมาใช้ประกอบการพิจารณานั้น เมื่อปรากฏว่าหลักประกันเป็นที่ดินพร้อมโรงงานซึ่งในการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้จะมีการประกอบธุรกิจของลูกหนี้ในส่วนนี้ต่อไป มิได้มีการขายทอดตลาดทรัพย์หลักประกันไปในราคาบังคับขายแต่อย่างใด ราคาประเมินที่เหมาะสมซึ่งจะนำมาใช้ก็คือ ราคาตลาดอันมีราคา 228,788,921 บาท หาใช่ราคาบังคับขายอันมีราคา 148,974,000 บาท ไม่
การที่ข้อเสนอขอแก้ไขแผนกำหนดให้เจ้าหนี้มีประกันได้รับชำระหนี้ในอัตราร้อยละ 80 ของต้นเงินตามแผนฟื้นฟูกิจการที่มีการแก้ไขเดิม ซึ่งศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแล้วนั้นย่อมไม่อาจกระทำได้ เนื่องจากผลของคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนที่มีการแก้ไขแล้วย่อมผูกพันบุคคลที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ทั้งการขอแก้ไขดังกล่าวยังเป็นการกระทบสิทธิของเจ้าหนี้มีประกันในอันที่จะได้รับชำระหนี้ไม่น้อยกว่ากรณีที่ศาลพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลาย ผู้บริหารแผนจะอ้างราคาบังคับขายทรัพย์หลักประกันเพื่อแสดงว่าเจ้าหนี้รายที่ 242 และที่ 445 ได้รับชำระหนี้มากกว่ากรณีที่ศาลพิพากษาให้ล้มละลายหาได้ไม่ เนื่องจากกิจการของลูกหนี้มิได้ปิดลง ทั้งไม่มีค่าใช้จ่ายในการขายทรัพย์หลักประกันแต่อย่างใด ดังนี้ การประเมินราคาทรัพย์สินตามข้อเสนอขอแก้ไขแผนของผู้บริหารแผนจึงเป็นการประเมินราคาทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันโดยมิชอบ ทำให้สิทธิของเจ้าหนี้มีประกันไม่ได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/58 (3) ประกอบมาตรา 90/13 อันมีผลให้เจ้าหนี้กลุ่มที่ 1 และที่ 2 อาจได้รับชำระหนี้น้อยกว่ากรณีที่มีการขายทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันเมื่อศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/63 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 90/58 (3) ทั้งเป็นการขัดต่อผลของคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนที่มีการแก้ไขซึ่งศาลมีคำสั่งเห็นชอบแล้วซึ่งไม่อาจทำได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10759/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินจากการจัดสรรที่ดินเพื่อการครองชีพ ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไข พ.ร.บ.จัดที่ดินฯ และการได้มาซึ่งโฉนด
การที่ ซ. และครอบครัวเข้ามาทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทเป็นเพราะกรมประชาสงเคราะห์ จัดสรรที่ดินของรัฐให้ราษฎรเข้ามาทำกิน แต่ ซ. จะได้สิทธิเป็นเจ้าของที่ดินนั้น จะต้องปฏิบัติให้ถูกต้องครบถ้วนตามที่ พ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ.2511 มาตรา 11, 22 และ 26 กำหนดไว้อีกหลายประการ ทางนำสืบของโจทก์ทั้งสองไม่ปรากฏว่า ซ. ได้สมัครเป็นสมาชิกนิคมสร้างตนเองโพนพิสัยและเข้าทำประโยชน์ในที่ดินถูกต้องครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้แล้วหรือไม่ อีกทั้ง ซ. กับ จ. ไม่ได้ยื่นคำร้องขอออกหนังสือแสดงการทำประโยชน์ (น.ค. 3) ไว้ก่อน เจ้าหน้าที่ของนิคมสร้างตนเองโพนพิสัยจึงไม่ได้มาตรวจสอบว่าเข้าทำประโยชน์อยู่จริงหรือไม่ แม้โจทก์ทั้งสองจะอ้างใบเสร็จการเสียภาษีบำรุงท้องที่ของ ซ. กับ จ. เป็นพยานก็ไม่ใช่หลักฐานที่ยืนยันว่าผู้ชำระเงินได้เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินอย่างแท้จริง เมื่อกรมประชาสงเคราะห์ยังไม่ได้ออกหนังสือแสดงการทำประโยชน์ (น.ค. 3) ให้ ซ. หรือ จ. ที่ดินพิพาทจึงยังคงเป็นที่ดินของรัฐซึ่งรัฐสามารถนำมาจัดสรรใหม่ได้ แต่นิคมสร้างตนเองโพนพิสัยให้โอกาสจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นทายาทและครอบครองทำประโยชน์อยู่ในเวลานั้นเพียงรายเดียว อีกทั้งมีคุณสมบัติครบถ้วนสมัครเข้าเป็นสมาชิกก่อนรายอื่น ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 สมัครเป็นสมาชิกนิคมสร้างตนเองโพนพิสัยและยังครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตลอดมา ก็เพื่อให้รัฐออกหนังสือแสดงการทำประโยชน์ (น.ค. 3) ให้ตนเองในฐานะหัวหน้าครอบครัว ไม่ใช่สวมสิทธิการทำกินของบิดามารดาแต่อย่างใด เมื่อกรมประชาสงเคราะห์ออกหนังสือแสดงการทำประโยชน์ (น.ค. 3) เลขที่ 836 ให้จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงมีสิทธินำหนังสือดังกล่าวไปขอออกโฉนดตามประมวลกฎหมายที่ดินได้ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าที่ดินโฉนดเลขที่ 3493 ตำบลปากคาด อำเภอปากคาด จังหวัดหนองคาย (บึงกาฬ) เป็นของจำเลยที่ 1 ไม่ใช่ทรัพย์มรดกตกทอดของ ซ. และ จ. จำเลยที่ 1 เจ้าของที่ดินจึงขอแบ่งแยกและโอนที่ดินให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10494/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความ ป.อ.มาตรา 98: เริ่มนับเมื่อคดีถึงที่สุด แม้ผู้ต้องหาหลบหนี
บทบัญญัติ ป.อ. มาตรา 98 มีความหมาย 2 กรณี คือเมื่อมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษผู้ใด กรณีแรก ถ้าผู้กระทำความผิดยังมิได้รับโทษ ซึ่งหมายถึงหลบหนีไปก่อนศาลมีคำพิพากษาลงโทษ หรือหลบหนีไปเมื่อศาลมีคำพิพากษาลงโทษแล้วและยังไม่ได้ตัวผู้กระทำความผิดมาเพื่อรับโทษ นับแต่วันที่มีคำพิพากษาถึงที่สุด เกินกำหนดเวลาที่กำหนดไว้จะลงโทษผู้กระทำความผิดไม่ได้ กรณีที่สอง ถ้าผู้กระทำความผิดได้รับโทษแต่ยังไม่ครบถ้วนโดยหลบหนีไป ซึ่งหมายถึงหลบหนีไประหว่างต้องโทษและยังไม่ได้ตัวผู้กระทำความผิดมาเพื่อรับโทษ นับแต่วันที่ผู้กระทำความผิดหลบหนีเกินกำหนดเวลาที่กำหนดไว้จะลงโทษผู้กระทำความผิดไม่ได้ ผู้ถูกกล่าวหาหลบหนีไปไม่มาฟังคำสั่งศาลชั้นต้น คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ และคำพิพากษาศาลฎีกา จึงเป็นกรณีที่ผู้ถูกกล่าวหายังไม่ได้รับโทษตามคำพิพากษา การนับระยะเวลาว่าจะลงโทษผู้ถูกกล่าวหาได้หรือไม่ จึงต้องนับแต่วันที่ได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษผู้ถูกกล่าวหา เมื่อศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้คู่ความฟังวันที่ 24 เมษายน 2555 คดีจึงถึงที่สุดในวันดังกล่าว เมื่อนับถึงวันที่ 4 พฤศจิกายน 2557 ซึ่งเป็นวันที่ได้ตัวผู้ถูกกล่าวหามาจึงไม่เกินห้าปีอันล่วงเลยการลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 98 (4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10494/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความการลงโทษทางอาญา: การนับระยะเวลาเริ่มต้นจากวันคดีถึงที่สุด แม้ผู้ต้องหาหลบหนี
ป.อ. มาตรา 98 บัญญัติว่า เมื่อได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษผู้ใด ผู้นั้นยังมิได้รับโทษก็ดี ได้รับโทษแต่ยังไม่ครบถ้วนโดยหลบหนีก็ดี ถ้ายังมิได้ตัวผู้นั้นมาเพื่อรับโทษนับแต่วันที่มีคำพิพากษาถึงที่สุดหรือนับแต่วันที่ผู้กระทำความผิดหลบหนี แล้วแต่กรณีเกินกำหนดเวลาดังต่อไปนี้ เป็นอันล่วงเลยการลงโทษ จะลงโทษผู้นั้นมิได้... บทบัญญัติดังกล่าวมีความหมาย 2 กรณี กล่าวคือเมื่อได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษผู้ใด กรณีแรก ถ้าผู้กระทำความผิดยังมิได้รับโทษซึ่งหมายถึงหลบหนีไปก่อนศาลมีคำพิพากษาลงโทษ หรือหลบหนีไปเมื่อศาลมีคำพิพากษาลงโทษแล้วและยังไม่ได้ตัวผู้กระทำความผิดมาเพื่อรับโทษ นับแต่วันที่มีคำพิพากษาถึงที่สุด เกินกำหนดเวลาที่กำหนดไว้จะลงโทษผู้กระทำความผิดไม่ได้ และกรณีที่สอง ถ้าผู้กระทำความผิดได้รับโทษแต่ยังไม่ครบถ้วนโดยหลบหนีไปซึ่งหมายถึงหลบหนีไประหว่างต้องโทษและยังไม่ได้ตัวผู้กระทำความผิดมาเพื่อรับโทษนับแต่วันที่ผู้กระทำความผิดหลบหนี เกินกำหนดเวลาที่กำหนดไว้จะลงโทษผู้กระทำความผิดไม่ได้ คดีนี้ ผู้ถูกกล่าวหาหลบหนีไม่มาฟังคำสั่งศาลชั้นต้น คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ และคำพิพากษาศาลฎีกา และเพิ่งได้ตัวผู้ถูกกล่าวหามารับโทษตามคำพิพากษาศาลฎีกาเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2557 จึงเป็นกรณีที่ผู้ถูกกล่าวหายังไม่ได้รับโทษตามคำพิพากษา การนับระยะเวลาว่าจะลงโทษผู้ถูกกล่าวหาได้หรือไม่ จึงต้องนับแต่วันที่ได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษผู้ถูกกล่าวหา เมื่อศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้คู่ความฟังวันที่ 24 เมษายน 2555 คดีจึงถึงที่สุดในวันดังกล่าวเมื่อนับถึงวันที่ 4 พฤศจิกายน 2557 ซึ่งเป็นวันที่ได้ตัวผู้ถูกกล่าวหามาจึงยังไม่เกินห้าปีอันจะล่วงเลยการลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 98 (4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10493/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คดีอาญาที่มีอัตราโทษจำกัด โจทก์ต้องขออนุญาตอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริงตามขั้นตอนกฎหมาย
คดีนี้มีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง จึงต้องห้ามมิให้โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง เว้นแต่ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาหรือทำความเห็นแย้งในศาลชั้นต้นพิเคราะห์แล้วเห็นว่าข้อความที่ตัดสินนั้นเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลอุทธรณ์และอนุญาตให้อุทธรณ์ หรืออัยการสูงสุดหรือพนักงานอัยการซึ่งอัยการสูงสุดได้มอบหมายลงลายมือชื่อรับรองในอุทธรณ์ว่ามีเหตุอันควรที่ศาลอุทธรณ์จะได้วินิจฉัย ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 22 และมาตรา 22 ทวิ ประกอบ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 มาตรา 3 ซึ่งขั้นตอนในการปฏิบัติตามข้อยกเว้นให้โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้ดังกล่าวมิได้มีบัญญัติวางหลักเกณฑ์ไว้โดยเฉพาะใน พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 จึงต้องนำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคท้าย มาใช้บังคับโดยอนุโลม คือ โจทก์ต้องยื่นคำร้องพร้อมกับคำฟ้องอุทธรณ์ต่อศาลชั้นต้นขอให้ผู้พิพากษาคนใดซึ่งพิจารณา หรือลงชื่อในคำพิพากษา หรือทำความเห็นแย้งในศาลชั้นต้น อนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้ แต่โจทก์ไม่ได้ยื่นคำร้องดังที่กล่าวข้างต้น การที่ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์และให้ส่งสำเนาให้จำเลยทั้งสามแก้ จึงไม่มีผลตามกฎหมายให้โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10438/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหนี้มีประกันในคดีล้มละลาย: การยึดโฉนดที่ดินเพื่อประกันตัวไม่ใช่การมีสิทธิเหนือทรัพย์สิน
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 6 ได้ให้นิยามเจ้าหนี้มีประกันว่า เจ้าหนี้มีประกัน หมายความว่า เจ้าหนี้ผู้มีสิทธิเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ในทางจำนอง จำนำ หรือสิทธิยึดหน่วง หรือเจ้าหนี้ผู้มีบุริมสิทธิที่บังคับได้ทำนองเดียวกับผู้รับจำนำ และ ป.พ.พ. มาตรา 241 บัญญัติว่า ผู้ใดเป็นผู้ครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นและมีหนี้อันเป็นคุณประโยชน์แก่ตนเกี่ยวด้วยทรัพย์สินซึ่งครอบครองนั้นไซร้ ท่านว่าผู้นั้นจะยึดหน่วงทรัพย์สินนั้นไว้จนกว่าจะได้รับชำระหนี้ก็ได้ แต่ความที่กล่าวนี้ท่านมิให้ใช้บังคับเมื่อหนี้นั้นยังไม่ถึงกำหนด การที่เจ้าหนี้จะมีฐานะเป็นเจ้าหนี้มีประกันในฐานะเจ้าหนี้ผู้ทรงสิทธิยึดหน่วงนั้นจะต้องเป็นเจ้าหนี้ซึ่งได้ครอบครองทรัพย์สินของลูกหนี้และมีหนี้อันเป็นคุณแก่ตนเกี่ยวกับทรัพย์สินนั้น คดีนี้ลูกหนี้ได้นำที่ดินโฉนดเลขที่ 14088 มาเป็นทรัพย์หลักประกันในการขอปล่อยชั่วคราวจำเลยในคดีอาญา ดังนั้นในการทำประกัน เจ้าหนี้ก็เพียงแต่ยึดโฉนดที่ดินดังกล่าวไว้เท่านั้น แม้ศาลจะได้แจ้งไปยังเจ้าพนักงานที่ดินให้ระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในที่ดินดังกล่าวก็เป็นเพียงเพื่อประโยชน์ในการห้ามไม่ให้ลูกหนี้โอนทรัพย์ดังกล่าวไปให้ผู้อื่น หาทำให้เจ้าหนี้มีสิทธิเหนือที่ดินอันเป็นทรัพย์หลักประกันแต่อย่างใดไม่ การที่ลูกหนี้มอบโฉนดที่ดินให้เจ้าหนี้ยึดถือไว้เช่นนี้จึงมีผลเป็นเพียงบุคคลสิทธิที่เจ้าหนี้จะยึดถือโฉนดที่ดินดังกล่าวไว้จนกว่าจะได้มีการปฏิบัติตามสัญญาประกันหรือสัญญาประกันนั้นสิ้นสุดลง จึงมิใช่เจ้าหนี้มีประกัน เจ้าหนี้จึงต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ในมูลหนี้ที่อาจขอรับชำระหนี้ได้ภายในเวลา 2 เดือน นับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 27 และมาตรา 91
พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 22) พ.ศ.2547 ซึ่งได้โอนอำนาจในการบังคับคดีนายประกันจากพนักงานอัยการมาเป็นของหัวหน้าสำนักงานประจำศาลยุติธรรมนั้น ได้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 24 ธันวาคม 2547 อันเป็นระยะเวลาก่อนที่จะมีการผิดสัญญาประกันในคดีนี้ ซึ่งลูกหนี้ได้ผิดนัดไม่ส่งตัวจำเลยในคดีอาญาในวันที่ 23 สิงหาคม 2548 เจ้าหนี้จึงทราบการบังคับใช้กฎหมายอยู่ก่อนแล้ว อีกทั้งสามารถวางแผนในการดำเนินงานต่าง ๆ ได้ ที่เจ้าหนี้อ้างว่าสำนวนบังคับคดีในประกันมีเป็นจำนวนมากนั้น ก็ไม่ปรากฏว่าสำนวนบังคับคดีดังกล่าวมีจำนวนมากถึงขนาดที่เจ้าหนี้ไม่อยู่ในวิสัยที่จะดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ กรณีจึงถือไม่ได้ว่ามีเหตุสุดวิสัยที่เจ้าหนี้ไม่อาจยื่นคำขอรับชำระหนี้ได้หรือมีเหตุอันสมควรที่จะขยายระยะเวลาในการยื่นคำขอรับชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้
พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 22) พ.ศ.2547 ซึ่งได้โอนอำนาจในการบังคับคดีนายประกันจากพนักงานอัยการมาเป็นของหัวหน้าสำนักงานประจำศาลยุติธรรมนั้น ได้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 24 ธันวาคม 2547 อันเป็นระยะเวลาก่อนที่จะมีการผิดสัญญาประกันในคดีนี้ ซึ่งลูกหนี้ได้ผิดนัดไม่ส่งตัวจำเลยในคดีอาญาในวันที่ 23 สิงหาคม 2548 เจ้าหนี้จึงทราบการบังคับใช้กฎหมายอยู่ก่อนแล้ว อีกทั้งสามารถวางแผนในการดำเนินงานต่าง ๆ ได้ ที่เจ้าหนี้อ้างว่าสำนวนบังคับคดีในประกันมีเป็นจำนวนมากนั้น ก็ไม่ปรากฏว่าสำนวนบังคับคดีดังกล่าวมีจำนวนมากถึงขนาดที่เจ้าหนี้ไม่อยู่ในวิสัยที่จะดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ กรณีจึงถือไม่ได้ว่ามีเหตุสุดวิสัยที่เจ้าหนี้ไม่อาจยื่นคำขอรับชำระหนี้ได้หรือมีเหตุอันสมควรที่จะขยายระยะเวลาในการยื่นคำขอรับชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10110/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสภาพนิติบุคคลของบริษัทจำกัดที่ถูกขีดชื่อออกจากทะเบียน และผลกระทบต่ออำนาจฟ้องคดีล้มละลาย
การที่นายทะเบียนขีดชื่อจำเลยที่ 1 ออกจากทะเบียน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1273/3 อันเป็นบทบัญญัติในหมวด 6 การถอนทะเบียนห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัดและบริษัทจำกัดร้าง ซึ่งได้แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 18) พ.ศ.2551 มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2551 เช่นนี้ การขีดชื่อบริษัทดังกล่าวออกจากทะเบียนย่อมเป็นไปตามมาตรา 1273/3 กล่าวคือ บริษัทนั้นสิ้นสภาพนิติบุคคลตั้งแต่เมื่อนายทะเบียนขีดชื่อบริษัทออกจากทะเบียนและบริษัทที่ถูกขีดชื่อจะกลับคืนฐานะนิติบุคคลอีกครั้งเมื่อศาลได้มีคำสั่งให้จดชื่อบริษัทกลับคืนเข้าสู่ทะเบียนตามมาตรา 1273/4 เมื่อปรากฏว่าในวันที่โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดีล้มละลายศาลยังไม่ได้มีคำสั่งให้จดชื่อจำเลยที่ 1 กลับคืนเข้าสู่ทะเบียน จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสภาพนิติบุคคลในขณะโจทก์ยื่นฟ้อง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 กรณีของจำเลยที่ 1 เป็นการถอนทะเบียนบริษัทจำกัดร้าง กรณีจึงต้องบังคับตามบทบัญญัติในหมวด 6 หาใช่เป็นการเลิกบริษัทแล้วต้องมีการชำระบัญชีตามบทบัญญัติในหมวด 4 ส่วนที่ 8 ซึ่งจะต้องดำเนินการชำระบัญชีตามบทบัญญัติในหมวด 5 แต่อย่างใดไม่