พบผลลัพธ์ทั้งหมด 57 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 673/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แผนฟื้นฟูกิจการ: ข้อกำหนดชำระหนี้เจ้าหนี้ที่ไม่ยื่นคำขอ และความชอบด้วยกฎหมาย
เมื่อ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ไม่ได้บัญญัติให้สิทธิหรือคุ้มครองแก่หนี้ภาษีอากรที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการเป็นกรณีพิเศษแล้ว ภายใต้บังคับมาตรา 90/58 (2) ประกอบมาตรา 130 (6) สิทธิของกรมศุลกากรและกรมสรรพากรเจ้าหนี้รายที่ 66 จึงมีฐานะเช่นเดียวกับเจ้าหนี้อื่น หนี้ภาษีอากรที่เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องอันมีอยู่แล้วหรือจะมีขึ้นต่อไปก็อาจถูกปรับลดหรือเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขในการชำระหนี้ได้ และศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยไว้ในคำวินิจฉัยที่ 35 - 36/2544 แล้วว่าบทบัญญัติมาตรา 90/58 ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ ศาลสามารถใช้ดุลพินิจเห็นชอบด้วยแผนฟื้นฟูกิจการที่ให้งดเบี้ยปรับและเงินเพิ่มอันเกิดจากมูลหนี้ภาษีอากรได้
ในการฟื้นฟูกิจการตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 หมวด 3/1 นั้น หลังจากที่ที่ประชุมเจ้าหนี้มีมติยอมรับแผนแล้ว จะต้องให้ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนอีกชั้นหนึ่ง แผนจึงจะมีผลบังคับผูกพันเจ้าหนี้และลูกหนี้รวมทั้งบุคคลที่เกี่ยวข้อง ส่วนผู้บริหารแผนมีหน้าที่ในการดำเนินการตามแผนและดำเนินการชำระหนี้ในมูลหนี้ที่อาจขอรับชำระหนี้ได้ให้เป็นไปตามแผนฟื้นฟูกิจการ การที่แผนจะกำหนดให้ลูกหนี้และเจ้าหนี้ไปตกลงกันต่างหากในสาระสำคัญนอกเหนือจากแผนที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบแล้วไม่อาจทำได้ และตามบทบัญญัติมาตรา 90/61 เจ้าหนี้ซึ่งอาจขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการผู้ใดไม่ยื่นคำขอรับชำระหนี้ เจ้าหนี้ผู้นั้นย่อมหมดสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้ เว้นแต่แผนกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น กล่าวคือ แผนกำหนดให้เจ้าหนี้รายนั้นมีสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้ได้ ซึ่งแผนจะต้องระบุไว้ให้ชัดเจนว่า จะให้เจ้าหนี้รายใดที่ไม่ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้มีสิทธิได้รับชำระหนี้เพียงใด ซึ่งข้อเสนอในแผนดังกล่าวจะต้องผ่านการพิจารณาของที่ประชุมเจ้าหนี้และได้รับความเห็นชอบจากศาล ซึ่งกรณีดังกล่าว ศาลย่อมจะต้องพิจารณาถึงเหตุอันสมควรและความเป็นธรรมในการที่แผนจะกำหนดให้เจ้าหนี้ที่ไม่ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ได้รับชำระหนี้
แม้แผนฟื้นฟูกิจการกำหนดให้ลูกหนี้โดยผู้บริหารแผนพิจารณาร่วมกันกับคณะกรรมการเจ้าหนี้สามารถชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ทางการค้าปกติที่ไม่ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ โดยนำวิธีการและเงื่อนไขเดียวกับเจ้าหนี้ตามแผนในลักษณะหนี้ประเภทนั้นมาใช้บังคับโดยอนุโลม แต่มิได้มีการกำหนดรายละเอียดไว้ในแผนว่าเจ้าหนี้ที่ไม่ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้มีรายใดบ้างและมีจำนวนหนี้เท่าใด ซึ่งมีผลให้การได้รับชำระหนี้ที่ไม่ยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามที่กำหนดไว้ในแผนส่วนนี้ไม่ได้ผ่านการพิจารณาของที่ประชุมเจ้าหนี้และศาลได้พิจารณาให้ความเห็นชอบ แผนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ข้อนี้จึงมิชอบด้วยกฎหมาย แต่ข้อกำหนดในแผนข้างต้น เป็นข้อกำหนดที่ไม่เป็นข้อสำคัญอันจะทำให้แผนฟื้นฟูกิจการทั้งฉบับตกไปเสียทีเดียว แผนส่วนอื่น ๆ ยังใช้บังคับได้
ในการฟื้นฟูกิจการตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 หมวด 3/1 นั้น หลังจากที่ที่ประชุมเจ้าหนี้มีมติยอมรับแผนแล้ว จะต้องให้ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนอีกชั้นหนึ่ง แผนจึงจะมีผลบังคับผูกพันเจ้าหนี้และลูกหนี้รวมทั้งบุคคลที่เกี่ยวข้อง ส่วนผู้บริหารแผนมีหน้าที่ในการดำเนินการตามแผนและดำเนินการชำระหนี้ในมูลหนี้ที่อาจขอรับชำระหนี้ได้ให้เป็นไปตามแผนฟื้นฟูกิจการ การที่แผนจะกำหนดให้ลูกหนี้และเจ้าหนี้ไปตกลงกันต่างหากในสาระสำคัญนอกเหนือจากแผนที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบแล้วไม่อาจทำได้ และตามบทบัญญัติมาตรา 90/61 เจ้าหนี้ซึ่งอาจขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการผู้ใดไม่ยื่นคำขอรับชำระหนี้ เจ้าหนี้ผู้นั้นย่อมหมดสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้ เว้นแต่แผนกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น กล่าวคือ แผนกำหนดให้เจ้าหนี้รายนั้นมีสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้ได้ ซึ่งแผนจะต้องระบุไว้ให้ชัดเจนว่า จะให้เจ้าหนี้รายใดที่ไม่ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้มีสิทธิได้รับชำระหนี้เพียงใด ซึ่งข้อเสนอในแผนดังกล่าวจะต้องผ่านการพิจารณาของที่ประชุมเจ้าหนี้และได้รับความเห็นชอบจากศาล ซึ่งกรณีดังกล่าว ศาลย่อมจะต้องพิจารณาถึงเหตุอันสมควรและความเป็นธรรมในการที่แผนจะกำหนดให้เจ้าหนี้ที่ไม่ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ได้รับชำระหนี้
แม้แผนฟื้นฟูกิจการกำหนดให้ลูกหนี้โดยผู้บริหารแผนพิจารณาร่วมกันกับคณะกรรมการเจ้าหนี้สามารถชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ทางการค้าปกติที่ไม่ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ โดยนำวิธีการและเงื่อนไขเดียวกับเจ้าหนี้ตามแผนในลักษณะหนี้ประเภทนั้นมาใช้บังคับโดยอนุโลม แต่มิได้มีการกำหนดรายละเอียดไว้ในแผนว่าเจ้าหนี้ที่ไม่ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้มีรายใดบ้างและมีจำนวนหนี้เท่าใด ซึ่งมีผลให้การได้รับชำระหนี้ที่ไม่ยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามที่กำหนดไว้ในแผนส่วนนี้ไม่ได้ผ่านการพิจารณาของที่ประชุมเจ้าหนี้และศาลได้พิจารณาให้ความเห็นชอบ แผนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ข้อนี้จึงมิชอบด้วยกฎหมาย แต่ข้อกำหนดในแผนข้างต้น เป็นข้อกำหนดที่ไม่เป็นข้อสำคัญอันจะทำให้แผนฟื้นฟูกิจการทั้งฉบับตกไปเสียทีเดียว แผนส่วนอื่น ๆ ยังใช้บังคับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5667/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าหนี้ภาษีอากรในคดีฟื้นฟูกิจการ: หลักเกณฑ์และฐานะเช่นเดียวกับเจ้าหนี้อื่น
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/27 และ 90/60 ประสงค์ให้หนี้ที่อาจขอรับชำระได้ทุกประเภทซึ่งเกิดก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการเข้ามาอยู่ในระบบการฟื้นฟูกิจการทั้งหมด แม้ว่าหนี้นั้นจะเป็นหนี้ภาษีอากรก็ตาม ทั้งนี้เพื่อให้หนี้สินของลูกหนี้ที่มีอยู่แล้วได้รับการชำระสะสางภายใต้กรอบของแผนฟื้นฟูกิจการให้เสร็จไป นอกจากนี้กรณีใดที่ พ.ร.บ.ล้มละลายฯ ต้องการให้มูลหนี้ภาษีอากรมีสิทธิเหนือเจ้าหนี้ธรรมดาหรือคุ้มครองสิทธิของเจ้าหนี้ภาษีอากรเป็นพิเศษ กฎหมายก็จะบัญญัติไว้ชัดแจ้ง เมื่อกฎหมายไม่ได้ให้สิทธิหรือคุ้มครองแก่เจ้าหนี้ภาษีอากรในมูลหนี้ซึ่งเกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการเป็นพิเศษ ภายใต้บังคับของมาตรา 90/58 (2) ประกอบด้วยมาตรา 130 (6) สิทธิของเจ้าหนี้จึงมีฐานะเช่นเดียวกับเจ้าหนี้อื่น แผนฟื้นฟูกิจการจึงกำหนดให้ยกเว้นเบี้ยปรับ เงินเพิ่ม หรือลดหนี้ภาษีอากรซึ่งเกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการรวมทั้งกำหนดระยะเวลาชำระหนี้ตามแผนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5613/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับลดหนี้ภาษีอากรในแผนฟื้นฟูกิจการ และการแปลงหนี้เป็นทุนของกรมศุลกากร
พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/27, 90/60 ประสงค์ให้มูลหนี้ที่อาจขอรับชำระหนี้ได้ทุกประเภทที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการเข้ามาอยู่ในระบบการฟื้นฟูกิจการทั้งหมด แม้ว่าหนี้นั้นจะเป็นหนี้ภาษีอากรก็ตามหาก พ.ร.บ.ล้มละลายฯ ต้องการให้มูลหนี้ภาษีอากรมีสิทธิเหนือเจ้าหนี้ธรรมดาหรือคุ้มครองสิทธิของเจ้าหนี้ภาษีอากรเป็นพิเศษ กฎหมายก็จะบัญญัติไว้ชัดแจ้ง ดังนี้ ภายใต้บังคับมาตรา 90/58 (2) ประกอบด้วยมาตรา 130 (6) สิทธิของเจ้าหนี้ภาษีอากรมีฐานะเช่นเดียวกับเจ้าหนี้อื่น ทั้ง พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/60 วรรคหนึ่ง ได้บัญญัติผลของการที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนไว้เป็นการเฉพาะโดยชัดแจ้งแล้ว จึงไม่อาจนำมาตรา 56 เรื่องของการประนอมหนี้ก่อนล้มละลายมาใช้โดยอนุโลมได้ ดังนั้น แผนฟื้นฟูกิจการจึงกำหนดปรับลดหนี้ภาษีอากรซึ่งเกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการได้
พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มิได้บัญญัติเกี่ยวกับเรื่องการรับชำระหนี้ของกรมศุลกากรไว้โดยเฉพาะหรือมีบทบัญญัติห้ามมิให้นำบทบัญญัติเกี่ยวกับศุลกากรมาใช้บังคับ กรณีจึงต้องปฏิบัติไปตาม พ.ร.บ.ศุลกากรฯ พ.ร.ฎ.แบ่งส่วนราชการกรมศุลกากร กระทรวงการคลังฯ พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดินฯ ซึ่งกำหนดให้กรมศุลกากรมีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร กฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากรและกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง การที่แผนฟื้นฟูกิจการกำหนดวิธีการชำระหนี้ค่าภาษีด้วยการแปลงหนี้เป็นทุนอันจะทำให้กรมศุลกากรเข้าเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทเอกชนนั้น ย่อมเป็นการขัดต่อวัตถุประสงค์ของกรมศุลกากรในการบริหารราชการแผ่นดิน ข้อกำหนดในแผนส่วนนี้จึงขัดต่อกฎหมายไม่อาจใช้บังคับได้ อย่างไรก็ตามเมื่อแผนได้จัดทำโดยสุจริตและมีความมุ่งหมายเพื่อรักษาองค์กรทางธุรกิจเอาไว้และเพื่อจะนำเงินมาชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ทั้งปวงประกอบกับแผนฟื้นฟูกิจการได้รับการยอมรับจากเจ้าหนี้เป็นส่วนใหญ่แล้ว เพียงแต่ปรากฏเหตุขัดข้องในแผนเฉพาะส่วนที่กำหนดให้มีการชำระหนี้ค่าภาษีด้วยหุ้น จึงสมควรแจ้งให้ผู้ทำแผนทราบเพื่อดำเนินการแก้ไขเหตุขัดข้องดังกล่าวเสียก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งไม่เห็นชอบด้วยแผนไปเสียทีเดียว
พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มิได้บัญญัติเกี่ยวกับเรื่องการรับชำระหนี้ของกรมศุลกากรไว้โดยเฉพาะหรือมีบทบัญญัติห้ามมิให้นำบทบัญญัติเกี่ยวกับศุลกากรมาใช้บังคับ กรณีจึงต้องปฏิบัติไปตาม พ.ร.บ.ศุลกากรฯ พ.ร.ฎ.แบ่งส่วนราชการกรมศุลกากร กระทรวงการคลังฯ พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดินฯ ซึ่งกำหนดให้กรมศุลกากรมีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร กฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากรและกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง การที่แผนฟื้นฟูกิจการกำหนดวิธีการชำระหนี้ค่าภาษีด้วยการแปลงหนี้เป็นทุนอันจะทำให้กรมศุลกากรเข้าเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทเอกชนนั้น ย่อมเป็นการขัดต่อวัตถุประสงค์ของกรมศุลกากรในการบริหารราชการแผ่นดิน ข้อกำหนดในแผนส่วนนี้จึงขัดต่อกฎหมายไม่อาจใช้บังคับได้ อย่างไรก็ตามเมื่อแผนได้จัดทำโดยสุจริตและมีความมุ่งหมายเพื่อรักษาองค์กรทางธุรกิจเอาไว้และเพื่อจะนำเงินมาชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ทั้งปวงประกอบกับแผนฟื้นฟูกิจการได้รับการยอมรับจากเจ้าหนี้เป็นส่วนใหญ่แล้ว เพียงแต่ปรากฏเหตุขัดข้องในแผนเฉพาะส่วนที่กำหนดให้มีการชำระหนี้ค่าภาษีด้วยหุ้น จึงสมควรแจ้งให้ผู้ทำแผนทราบเพื่อดำเนินการแก้ไขเหตุขัดข้องดังกล่าวเสียก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งไม่เห็นชอบด้วยแผนไปเสียทีเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5032-5080/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการรับชำระหนี้ค่าจ้างในคดีล้มละลาย: การแบ่งประเภทหนี้บุริมสิทธิและข้อจำกัดวงเงิน
หนี้ค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด ค่าล่วงเวลาในวันหยุด ค่าชดเชย ค่าชดเชยพิเศษ และเงินอื่นใดที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับเพื่อการงานที่ได้ทำให้ นับถอยหลังขึ้นไปสี่เดือนแต่รวมกันแล้วต้องไม่เกินหนึ่งแสนบาทต่อลูกจ้างคนหนึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 257 อยู่ในฐานะหนี้บุริมสิทธิตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 130 (6) ส่วนดอกเบี้ยหรือเงินที่เกินหนึ่งแสนบาท เจ้าหนี้จะต้องได้รับชำระหนี้ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 130 (7)
การที่เจ้าหนี้ได้นำหนี้สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าจ้างค้างจ่าย ค่าชดเชยและค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีนั้นไปฟ้องเป็นคดีแรงงาน จนกระทั่งศาลแรงงานกลาง (สมุทรปราการ) มีคำพิพากษา ถือว่าเป็นการรับรองสิทธิของเจ้าหนี้ที่มีอยู่ต่อลูกหนี้อีกชั้นหนึ่งและทำให้เจ้าหนี้มีสิทธิในการบังคับคดีตามคำพิพากษาคดีส่วนแพ่ง เมื่อศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด และเจ้าหนี้ได้นำมูลหนี้อันเกิดจากการเลิกจ้างซึ่งมีคำพิพากษารับรองแล้วมายื่นคำขอรับชำระหนี้ก็หาทำให้บุริมสิทธิที่เจ้าหนี้มีอยู่ก่อนแล้วเปลี่ยนแปลงไปแต่อย่างใดไม่
การที่เจ้าหนี้ได้นำหนี้สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าจ้างค้างจ่าย ค่าชดเชยและค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีนั้นไปฟ้องเป็นคดีแรงงาน จนกระทั่งศาลแรงงานกลาง (สมุทรปราการ) มีคำพิพากษา ถือว่าเป็นการรับรองสิทธิของเจ้าหนี้ที่มีอยู่ต่อลูกหนี้อีกชั้นหนึ่งและทำให้เจ้าหนี้มีสิทธิในการบังคับคดีตามคำพิพากษาคดีส่วนแพ่ง เมื่อศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด และเจ้าหนี้ได้นำมูลหนี้อันเกิดจากการเลิกจ้างซึ่งมีคำพิพากษารับรองแล้วมายื่นคำขอรับชำระหนี้ก็หาทำให้บุริมสิทธิที่เจ้าหนี้มีอยู่ก่อนแล้วเปลี่ยนแปลงไปแต่อย่างใดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 753/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หุ้นส่วนผู้จัดการรับผิดชอบหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัด และการขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินตามกฎหมายล้มละลาย
จำเลยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการซึ่งเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดของห้างหุ้นส่วนจำกัด ย่อมต้องรับผิดเป็นส่วนตัวในหนี้ของห้างหุ้นส่วน เมื่อกรมสรรพากรเป็นเจ้าหนี้ของห้างหุ้นส่วนดังกล่าวจึงถือได้ว่าเป็นเจ้าหนี้ของจำเลย อันอาจขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของจำเลยได้
มูลหนี้ค่าภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีการค้าของห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. เกิดขึ้นก่อนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยการที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เพิ่งมีคำวินิจฉัยภายหลังที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลย ให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. ชำระค่าภาษีอากรตามที่เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมิน เป็นเรื่องให้ห้างหุ้นส่วนดังกล่าวชำระค่าภาษีอากรที่เกิดขึ้นแล้วให้ถูกต้องครบถ้วน หาใช่มูลหนี้ค่าภาษีเพิ่งเกิดขึ้นเมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยไม่
ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. ต้องยื่นแบบแสดงรายการพร้อมกับชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลต่ออำเภอภายใน 150 วันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีแต่ละปี ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 68 ต้องนำภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ตนมีหน้าที่ต้องหักไปส่งณ ที่ว่าการอำเภอภายใน 7 วันนับแต่วันที่จ่ายเงินตามมาตรา 52และต้องยื่นแบบแสดงรายการพร้อมกับชำระภาษีการค้าแต่ละเดือนภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ตามมาตรา 85 ทวิ และมาตรา 86รอบระยะเวลาบัญชีของห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. คือตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมถึงวันที่ 31 ธันวาคม ดังนั้น หนี้ค่าภาษีเงินได้นิติบุคคลของห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. ปี 2518 ถึง 2520 จึงถึงกำหนดชำระภายใน 150 วันนับแต่วันที่ 31 ธันวาคม ของปีนั้นๆ หนี้ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายในการจ่ายค่าแรงงานแต่ละคราวในปี 2517 ถึงปี 2519 ถึงกำหนดชำระภายใน 7 วันนับแต่วันจ่ายเงินแต่ละคราวและหนี้ค่าภาษีการค้าในเดือนมีนาคม พฤษภาคม กรกฎาคมและสิงหาคม 2520 ถึงกำหนดชำระภายในวันที่ 15 ของเดือนเมษายนมิถุนายน สิงหาคมและกันยายน 2520 ตามลำดับศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม2522 กำหนด 6 เดือนก่อนมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์คือวันที่21 พฤศจิกายน 2521หนี้ค่าภาษีดังกล่าวจึงถึงกำหนดก่อนมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เกินกว่า 6 เดือน
เงินเพิ่มภาษีการค้าตามมาตรา 89 ทวิ เป็นเงินเพิ่มเนื่องจากห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. ไม่ชำระหนี้ค่าภาษีการค้าที่จะต้องชำระแต่ละเดือนภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ต้องเสียเพิ่มอีกร้อยละ 1 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของภาษีการค้าที่ต้องชำระเงินเพิ่มภาษีการค้าจึงถึงกำหนดชำระเป็นเดือนๆ ไปนับแต่วันที่ 15 ของเดือนที่ต้องชำระภาษีการค้า เงินเพิ่มภาษีการค้าที่ถึงกำหนดชำระตั้งแต่วันที่ 21 พฤศจิกายน 2521 เป็นต้นมาย่อมเป็นหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 130(6)
ภาษีเทศบาลหรือภาษีท้องถิ่นเป็นภาษีที่คำนวณมาจากภาษีการค้าอัตราร้อยละ 10 ของภาษีการค้า เมื่อเงินเพิ่มภาษีการค้าส่วนหนึ่งเป็นหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช2483 มาตรา 130(6)ภาษีเทศบาลจำนวนเท่ากับร้อยละ 10ของเงินเพิ่มภาษีการค้าส่วนนั้นก็เป็นหนี้ตามมาตรา 130(6) เช่นเดียวกัน
มูลหนี้ค่าภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีการค้าของห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. เกิดขึ้นก่อนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยการที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เพิ่งมีคำวินิจฉัยภายหลังที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลย ให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. ชำระค่าภาษีอากรตามที่เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมิน เป็นเรื่องให้ห้างหุ้นส่วนดังกล่าวชำระค่าภาษีอากรที่เกิดขึ้นแล้วให้ถูกต้องครบถ้วน หาใช่มูลหนี้ค่าภาษีเพิ่งเกิดขึ้นเมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยไม่
ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. ต้องยื่นแบบแสดงรายการพร้อมกับชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลต่ออำเภอภายใน 150 วันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีแต่ละปี ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 68 ต้องนำภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ตนมีหน้าที่ต้องหักไปส่งณ ที่ว่าการอำเภอภายใน 7 วันนับแต่วันที่จ่ายเงินตามมาตรา 52และต้องยื่นแบบแสดงรายการพร้อมกับชำระภาษีการค้าแต่ละเดือนภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ตามมาตรา 85 ทวิ และมาตรา 86รอบระยะเวลาบัญชีของห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. คือตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมถึงวันที่ 31 ธันวาคม ดังนั้น หนี้ค่าภาษีเงินได้นิติบุคคลของห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. ปี 2518 ถึง 2520 จึงถึงกำหนดชำระภายใน 150 วันนับแต่วันที่ 31 ธันวาคม ของปีนั้นๆ หนี้ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายในการจ่ายค่าแรงงานแต่ละคราวในปี 2517 ถึงปี 2519 ถึงกำหนดชำระภายใน 7 วันนับแต่วันจ่ายเงินแต่ละคราวและหนี้ค่าภาษีการค้าในเดือนมีนาคม พฤษภาคม กรกฎาคมและสิงหาคม 2520 ถึงกำหนดชำระภายในวันที่ 15 ของเดือนเมษายนมิถุนายน สิงหาคมและกันยายน 2520 ตามลำดับศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม2522 กำหนด 6 เดือนก่อนมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์คือวันที่21 พฤศจิกายน 2521หนี้ค่าภาษีดังกล่าวจึงถึงกำหนดก่อนมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เกินกว่า 6 เดือน
เงินเพิ่มภาษีการค้าตามมาตรา 89 ทวิ เป็นเงินเพิ่มเนื่องจากห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. ไม่ชำระหนี้ค่าภาษีการค้าที่จะต้องชำระแต่ละเดือนภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ต้องเสียเพิ่มอีกร้อยละ 1 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของภาษีการค้าที่ต้องชำระเงินเพิ่มภาษีการค้าจึงถึงกำหนดชำระเป็นเดือนๆ ไปนับแต่วันที่ 15 ของเดือนที่ต้องชำระภาษีการค้า เงินเพิ่มภาษีการค้าที่ถึงกำหนดชำระตั้งแต่วันที่ 21 พฤศจิกายน 2521 เป็นต้นมาย่อมเป็นหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 130(6)
ภาษีเทศบาลหรือภาษีท้องถิ่นเป็นภาษีที่คำนวณมาจากภาษีการค้าอัตราร้อยละ 10 ของภาษีการค้า เมื่อเงินเพิ่มภาษีการค้าส่วนหนึ่งเป็นหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช2483 มาตรา 130(6)ภาษีเทศบาลจำนวนเท่ากับร้อยละ 10ของเงินเพิ่มภาษีการค้าส่วนนั้นก็เป็นหนี้ตามมาตรา 130(6) เช่นเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1826/2511
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีการค้าเกิดขึ้นเมื่อนำเข้าสินค้า แม้ยังมิได้ยื่นแบบแสดงรายการ กรมสรรพากรมีสิทธิรับชำระหนี้ในฐานะเจ้าหนี้บุริมสิทธิ
89ตรี จำเลยนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรตั้งแต่ปี 2507-2508. โดยมิได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าและชำระภาษีการค้า. ตามประกาศของอธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรี. ถือว่าผู้ประกอบการค้าที่เป็นผู้นำเข้าซึ่งสินค้าทุกชนิดได้ขายสินค้านั้นในวันนำเข้าในราชอาณาจักร. จำเลยย่อมมีรายรับตามมูลค่าของสินค้าในวันนำเข้าในราชอาณาจักร. และมีหน้าที่ต้องชำระเงินค่าภาษีการค้าทุกเดือนภาษี ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป. มูลหนี้ค่าภาษีการค้าจึงเกิดขึ้นตั้งแต่เดือนภาษีที่จำเลยผู้ประกอบการค้ามีรายรับ.
การที่เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินในภายหลัง. เนื่องจากจำเลยมิได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้า. แล้วมีหนังสือแจ้งยอดเงินภาษีไปให้จำเลยชำระเงินดังกล่าวไม่ทำให้มูลหนี้ค่าภาษีการค้าเพิ่งเกิด. แม้หนังสือแจ้งยอดเงินภาษีที่ประเมินจะเพิ่งมีไปยังจำเลยภายหลังจากจำเลยถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้ว. กรมสรรพากรก็ยังมีสิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้ค่าภาษีการค้า ซึ่งมีมูลหนี้เกิดขึ้นก่อนได้.
เบี้ยปรับและเงินเพิ่มซึ่งผู้ประกอบการค้าต้องเสียตามประมวลรัษฎากรถือว่าเป็นเงินภาษีด้วย.
สิทธิเรียกร้องของรัฐบาลเพื่อเอาค่าภาษีอากรมีกำหนดอายุความ 10 ปี.
คำขอรับชำระหนี้ของกรมสรรพากรซึ่งระบุว่าขอรับชำระหนี้ค่าภาษีอากร (ภาษีการค้า) ถือได้ว่าขอรับชำระหนี้ในฐานะเป็นเจ้าหนี้บุริมสิทธิ. เพราะค่าภาษีอากรเป็นหนี้บุริมสิทธิสามัญตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 253(3) อยู่แล้ว.
การที่เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินในภายหลัง. เนื่องจากจำเลยมิได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้า. แล้วมีหนังสือแจ้งยอดเงินภาษีไปให้จำเลยชำระเงินดังกล่าวไม่ทำให้มูลหนี้ค่าภาษีการค้าเพิ่งเกิด. แม้หนังสือแจ้งยอดเงินภาษีที่ประเมินจะเพิ่งมีไปยังจำเลยภายหลังจากจำเลยถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้ว. กรมสรรพากรก็ยังมีสิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้ค่าภาษีการค้า ซึ่งมีมูลหนี้เกิดขึ้นก่อนได้.
เบี้ยปรับและเงินเพิ่มซึ่งผู้ประกอบการค้าต้องเสียตามประมวลรัษฎากรถือว่าเป็นเงินภาษีด้วย.
สิทธิเรียกร้องของรัฐบาลเพื่อเอาค่าภาษีอากรมีกำหนดอายุความ 10 ปี.
คำขอรับชำระหนี้ของกรมสรรพากรซึ่งระบุว่าขอรับชำระหนี้ค่าภาษีอากร (ภาษีการค้า) ถือได้ว่าขอรับชำระหนี้ในฐานะเป็นเจ้าหนี้บุริมสิทธิ. เพราะค่าภาษีอากรเป็นหนี้บุริมสิทธิสามัญตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 253(3) อยู่แล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1826/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
มูลหนี้ภาษีการค้าเกิดขึ้นเมื่อใด: การประเมินภาษีและการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย
จำเลยนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรตั้งแต่ปี 2507- 2508 โดยมิได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าและชำระภาษีการค้า ตามประกาศของอธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรี ถือว่า ผู้ประกอบการค้าที่เป็นผู้นำเข้าซึ่งสินค้าทุกชนิดได้ขาย สินค้านั้นในวันนำเข้าในราชอาณาจักร จำเลยย่อมมีรายรับตาม มูลค่าของสินค้าในวันนำเข้าในราชอาณาจักร และมีหน้าที่ต้อง ชำระเงินค่าภาษีการค้าทุกเดือนภาษี ภายในวันที่ 15 ของ เดือนถัดไป มูลหนี้ค่าภาษีการค้าจึงเกิดขึ้นตั้งแต่ เดือนภาษีที่จำเลยผู้ประกอบการค้ามีรายรับ
การที่เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินในภายหลัง เนื่องจาก จำเลยมิได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้า แล้วมี หนังสือแจ้งยอดเงินภาษีไปให้จำเลยชำระเงินดังกล่าวไม่ทำให้ มูลหนี้ค่าภาษีการค้าเพิ่งเกิด แม้หนังสือแจ้งยอดเงินภาษีที่ ประเมินจะเพิ่งมีไปยังจำเลยภายหลังจากจำเลยถูกศาลสั่ง พิทักษ์ทรัพย์แล้ว กรมสรรพากรก็ยังมีสิทธิยื่น คำขอรับชำระหนี้ค่าภาษีการค้า ซึ่งมีมูลหนี้เกิดขึ้นก่อนได้
เบี้ยปรับและเงินเพิ่มซึ่งผู้ประกอบการค้าต้องเสียตาม ประมวลรัษฎากรถือว่าเป็นเงินภาษีด้วย
สิทธิเรียกร้องของรัฐบาลเพื่อเอาค่าภาษีอากรมีกำหนดอายุความ 10 ปี
คำขอรับชำระหนี้ของกรมสรรพากรซึ่งระบุว่าขอรับชำระหนี้ ค่าภาษีอากร (ภาษีการค้า) ถือได้ว่าขอรับชำระหนี้ในฐานะ เป็นเจ้าหนี้บุริมสิทธิ เพราะค่าภาษีอากรเป็น หนี้บุริมสิทธิสามัญตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 253(3) อยู่แล้ว
การที่เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินในภายหลัง เนื่องจาก จำเลยมิได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้า แล้วมี หนังสือแจ้งยอดเงินภาษีไปให้จำเลยชำระเงินดังกล่าวไม่ทำให้ มูลหนี้ค่าภาษีการค้าเพิ่งเกิด แม้หนังสือแจ้งยอดเงินภาษีที่ ประเมินจะเพิ่งมีไปยังจำเลยภายหลังจากจำเลยถูกศาลสั่ง พิทักษ์ทรัพย์แล้ว กรมสรรพากรก็ยังมีสิทธิยื่น คำขอรับชำระหนี้ค่าภาษีการค้า ซึ่งมีมูลหนี้เกิดขึ้นก่อนได้
เบี้ยปรับและเงินเพิ่มซึ่งผู้ประกอบการค้าต้องเสียตาม ประมวลรัษฎากรถือว่าเป็นเงินภาษีด้วย
สิทธิเรียกร้องของรัฐบาลเพื่อเอาค่าภาษีอากรมีกำหนดอายุความ 10 ปี
คำขอรับชำระหนี้ของกรมสรรพากรซึ่งระบุว่าขอรับชำระหนี้ ค่าภาษีอากร (ภาษีการค้า) ถือได้ว่าขอรับชำระหนี้ในฐานะ เป็นเจ้าหนี้บุริมสิทธิ เพราะค่าภาษีอากรเป็น หนี้บุริมสิทธิสามัญตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 253(3) อยู่แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1826/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
มูลหนี้ภาษีการค้าเกิดขึ้นเมื่อนำเข้าสินค้า แม้ยังมิได้ยื่นแบบฯ กรมสรรพากรมีสิทธิรับชำระหนี้ในฐานะเจ้าหนี้บุริมสิทธิ
จำเลยนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรตั้งแต่ปี 2507-2508 โดยมิได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าและชำระภาษีการค้า ตามประกาศของอธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรี ถือว่าผู้ประกอบการค้าที่เป็นผู้นำเข้าซึ่งสินค้าทุกชนิดได้ขายสินค้านั้นในวันนำเข้าในราชอาณาจักร จำเลยย่อมมีรายรับตามมูลค่าของสินค้าในวันนำเข้าในราชอาณาจักร และมีหน้าที่ต้องชำระเงินค่าภาษีการค้าทุกเดือนภาษี ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป มูลหนี้ค่าภาษีการค้าจึงเกิดขึ้นตั้งแต่เดือนภาษีที่จำเลยผู้ประกอบการค้ามีรายรับ
การที่เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินในภายหลัง เนื่องจากจำเลยมิได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้า แล้วมีหนังสือแจ้งยอดเงินภาษีไปให้จำเลยชำระเงินดังกล่าวไม่ทำให้มูลหนี้ค่าภาษีการค้าเพิ่งเกิด แม้หนังสือแจ้งยอดเงินภาษีที่ประเมินจะเพิ่งมีไปยังจำเลยภายหลังจากจำเลยถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้ว กรมสรรพากรก็ยังมีสิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้ค่าภาษีการค้า ซึ่งมีมูลหนี้เกิดขึ้นก่อนได้
เบี้ยปรับและเงินเพิ่มซึ่งผู้ประกอบการค้าต้องเสียตามประมวลรัษฎากรถือว่าเป็นเงินภาษีด้วย
สิทธิเรียกร้องของรัฐบาลเพื่อเอาค่าภาษีอากรมีกำหนดอายุความ 10 ปี
คำขอรับชำระหนี้ของกรมสรรพากรซึ่งระบุว่าขอรับชำระหนี้ค่าภาษีอากร (ภาษีการค้า) ถือได้ว่าขอรับชำระหนี้ในฐานะเป็นเจ้าหนี้บุริมสิทธิ เพราะค่าภาษีอากรเป็นหนี้บุริมสิทธิสามัญตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 253(3) อยู่แล้ว
การที่เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินในภายหลัง เนื่องจากจำเลยมิได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้า แล้วมีหนังสือแจ้งยอดเงินภาษีไปให้จำเลยชำระเงินดังกล่าวไม่ทำให้มูลหนี้ค่าภาษีการค้าเพิ่งเกิด แม้หนังสือแจ้งยอดเงินภาษีที่ประเมินจะเพิ่งมีไปยังจำเลยภายหลังจากจำเลยถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้ว กรมสรรพากรก็ยังมีสิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้ค่าภาษีการค้า ซึ่งมีมูลหนี้เกิดขึ้นก่อนได้
เบี้ยปรับและเงินเพิ่มซึ่งผู้ประกอบการค้าต้องเสียตามประมวลรัษฎากรถือว่าเป็นเงินภาษีด้วย
สิทธิเรียกร้องของรัฐบาลเพื่อเอาค่าภาษีอากรมีกำหนดอายุความ 10 ปี
คำขอรับชำระหนี้ของกรมสรรพากรซึ่งระบุว่าขอรับชำระหนี้ค่าภาษีอากร (ภาษีการค้า) ถือได้ว่าขอรับชำระหนี้ในฐานะเป็นเจ้าหนี้บุริมสิทธิ เพราะค่าภาษีอากรเป็นหนี้บุริมสิทธิสามัญตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 253(3) อยู่แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 336/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ภาษีที่ประเมินเพิ่มเติมหลังล้มละลาย: สิทธิการรับชำระหนี้ในฐานะเจ้าหนี้บุริมสิทธิ
ประมวลรัษฎากรมาตรา 78 บัญญัติให้ผู้ประกอบการค้ามีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าจากรายรับของทุกเดือนภาษี โดยผู้ประกอบการค้าจะต้องยื่นแบบแสดงรายการต่อเจ้าพนักงานภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไปพร้อมกับชำระค่าภาษีตามมาตรา 85 ทวิ และ 86 ด้วยนั้น เป็นการชำระค่าภาษีการค้าล่วงหน้าไปก่อนตามรายการที่ยื่นไว้เท่านั้น ซึ่งเมื่อเจ้าพนักงานตรวจสอบรายการที่ยื่นเห็นว่าถูกต้องและพอใจ ก็ถือว่าเป็นการชำระหนี้ค่าภาษีโดยสมบูรณ์แล้ว ส่วนเงินค่าภาษีที่มิได้ยื่นแบบแสดงรายการหรือยื่นแบบแสดงรายการไว้ไม่ครบถ้วนบริบูรณ์ จะถือว่าค่าภาษีสำหรับรายการดังกล่าวนั้นได้ถึงกำหนดชำระด้วยแล้วหาได้ไม่ เพราะเมื่อยังไม่ได้ยื่นแสดงรายการก็ยังไม่มีค่าภาษีที่ต้องชำระ แต่เมื่อเจ้าพนักงานอาศัยอำนาจตามมาตรา 19, 20 ทำการไต่สวนและประเมินค่าภาษีใหม่สำหรับรายการตามแบบที่ยื่นไม่ถูกต้องครบถ้วน และสั่งให้นำเงินภาษีไปชำระเพิ่มเติมภายใน 30 วันแล้ว ค่าภาษีที่จะต้องเสียเพิ่มเติมใหม่นี้ก็ย่อมถึงกำหนดชำระภายใน 30 วันนับแต่วันที่เจ้าพนักงานได้แจ้งไป
หนี้ค่าภาษีอากรที่ลูกหนี้จะต้องเสียและถึงกำหนดชำระภายหลังที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดนั้น กฎหมายยอมให้เจ้าหนี้เข้ามาขอรับชำระหนี้ได้ และเมื่อหนี้ค่าภาษีนี้เป็นหนี้ที่จะได้รับในลำดับก่อนหนี้อื่น ๆ แล้ว ก็หาทำให้การที่จะได้รับชำระหนี้นั้นเปลี่ยนแปลงไปแต่ประการใดไม่
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 22/2506)
หนี้ค่าภาษีอากรที่ลูกหนี้จะต้องเสียและถึงกำหนดชำระภายหลังที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดนั้น กฎหมายยอมให้เจ้าหนี้เข้ามาขอรับชำระหนี้ได้ และเมื่อหนี้ค่าภาษีนี้เป็นหนี้ที่จะได้รับในลำดับก่อนหนี้อื่น ๆ แล้ว ก็หาทำให้การที่จะได้รับชำระหนี้นั้นเปลี่ยนแปลงไปแต่ประการใดไม่
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 22/2506)