พบผลลัพธ์ทั้งหมด 179 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2470/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำสัญญาโดยตัวแทนที่ไม่ได้ประทับตราบริษัท และผลผูกพันตามสัญญาจ้างทำของ
หนังสือสัญญาว่าจ้างการรักษาความปลอดภัยมีข้อความระบุไว้ชัดแจ้งว่า ทำขึ้นระหว่างจำเลยที่ 1 ผู้ว่าจ้างฝ่ายหนึ่ง กับโจทก์ผู้รับจ้างอีกฝ่ายหนึ่ง แม้ ด. กรรมการของโจทก์คนหนึ่งจะลงลายมือชื่อในสัญญาว่าจ้างดังกล่าวในฐานะผู้รับจ้างโดยมิได้ประทับตราสำคัญของโจทก์ตามข้อบังคับที่จดทะเบียนไว้ซึ่งอาจไม่สมบูรณ์ในฐานะเป็นผู้แทนของโจทก์ แต่โจทก์ได้รับเอางานจ้างดังกล่าวมาทำอันแสดงว่าโจทก์ยอมรับหนังสือสัญญาว่าจ้างดังกล่าว และเมื่อมีเหตุผิดสัญญาก็ได้ฟ้องบังคับเอาแก่จำเลยทั้งสองตามสัญญา จึงถือได้ว่า ด. ทำสัญญาว่าจ้างในฐานะเป็นตัวแทนของโจทก์โดยไม่จำต้องทำเป็นหนังสือหรือมีหลักฐานการแต่งตั้งตัวแทนเป็นหนังสือ เนื่องจากสัญญาว่าจ้างการรักษาความปลอดภัยเป็นสัญญาจ้างทำของ ซึ่งไม่มีกฎหมายบังคับว่าต้องทำเป็นหนังสือหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือ ดังนี้ สัญญาว่าจ้างการรักษาความปลอดภัยดังกล่าวจึงมีผลผูกพันโจทก์หาได้เป็นโมฆะไม่ โจทก์ซึ่งเป็นตัวการจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสอง
แม้สัญญาว่าจ้างการรักษาความปลอดภัยจะเป็นสัญญาจ้างทำของ ซึ่งจะต้องปิดอากรแสตมป์ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายหมวด 6 แห่ง ป. รัษฎากร แต่จำเลยทั้งสองให้การยอมรับว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้ลงลายมือชื่อทำสัญญาว่าจ้างการรักษาความปลอดภัยตามฟ้องกับโจทก์ และสัญญาว่าจ้างดังกล่าวมีกำหนด 1 ปี นับแต่วันทำสัญญาตามฟ้องจริง มิได้ปฏิเสธถึงความถูกต้องของข้อความในสัญญาว่าจ้างการรักษาความปลอดภัยดังกล่าว เพียงแต่ต่อสู้ว่าจำเลยที่ 1 ไม่ต้องร่วมรับผิดเพราะจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อในสัญญาว่าจ้างดังกล่าวโดยไม่ได้ประทับตราสำคัญของจำเลยที่ 1 และโจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 ได้มอบหมายหรือแต่งตั้งให้กระทำการแทนเท่านั้น จึงต้องฟังว่าจำเลยทั้งสองยอมรับว่า จำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาว่าจ้างการรักษาความปลอดภัยกับโจทก์โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยหนังสือสัญญาว่าจ้างเป็นหลักฐานในคดีแต่ประการใด ฉะนั้น แม้สัญญาว่าจ้างการรักษาความปลอดภัยดังกล่าวมิได้ปิดอากรแสตมป์ก็ไม่ต้องห้ามตาม ป. รัษฎากร มาตรา 118
สัญญาว่าจ้างการรักษาความปลอดภัยระบุว่าทำขึ้นระหว่างจำเลยที่ 1 ผู้ว่าจ้างฝ่ายหนึ่งกับโจทก์ผู้รับจ้างอีกฝ่ายหนึ่ง ทั้งหลังจากทำสัญญาว่าจ้างดังกล่าวแล้วจำเลยที่ 1 ก็ได้รับเอางานที่โจทก์รับเอางานที่โจทก์รับจ้างทำทั้งหมด และได้จ่ายเงินค่าจ้างตามสัญญาบางส่วนให้แก่โจทก์ตามสำเนาใบแจ้งหนี้และสำเนาหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ทั้งต่อมาจำเลยที่ 1 ก็ได้ทำหนังสือขอยกเลิกสัญญาจ้างกับโจทก์เองตามหนังสือบอกกล่าวยกเลิกสัญญา พฤติการณ์ดังกล่าวย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 1 เชิดให้จำเลยที่ 2 ออกแสดงเป็นตัวแทนของตนในการเข้าทำสัญญาว่าจ้างการรักษาความปลอดภัยกับโจทก์แล้ว จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวการจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 821
แม้สัญญาว่าจ้างการรักษาความปลอดภัยจะเป็นสัญญาจ้างทำของ ซึ่งจะต้องปิดอากรแสตมป์ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายหมวด 6 แห่ง ป. รัษฎากร แต่จำเลยทั้งสองให้การยอมรับว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้ลงลายมือชื่อทำสัญญาว่าจ้างการรักษาความปลอดภัยตามฟ้องกับโจทก์ และสัญญาว่าจ้างดังกล่าวมีกำหนด 1 ปี นับแต่วันทำสัญญาตามฟ้องจริง มิได้ปฏิเสธถึงความถูกต้องของข้อความในสัญญาว่าจ้างการรักษาความปลอดภัยดังกล่าว เพียงแต่ต่อสู้ว่าจำเลยที่ 1 ไม่ต้องร่วมรับผิดเพราะจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อในสัญญาว่าจ้างดังกล่าวโดยไม่ได้ประทับตราสำคัญของจำเลยที่ 1 และโจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 ได้มอบหมายหรือแต่งตั้งให้กระทำการแทนเท่านั้น จึงต้องฟังว่าจำเลยทั้งสองยอมรับว่า จำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาว่าจ้างการรักษาความปลอดภัยกับโจทก์โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยหนังสือสัญญาว่าจ้างเป็นหลักฐานในคดีแต่ประการใด ฉะนั้น แม้สัญญาว่าจ้างการรักษาความปลอดภัยดังกล่าวมิได้ปิดอากรแสตมป์ก็ไม่ต้องห้ามตาม ป. รัษฎากร มาตรา 118
สัญญาว่าจ้างการรักษาความปลอดภัยระบุว่าทำขึ้นระหว่างจำเลยที่ 1 ผู้ว่าจ้างฝ่ายหนึ่งกับโจทก์ผู้รับจ้างอีกฝ่ายหนึ่ง ทั้งหลังจากทำสัญญาว่าจ้างดังกล่าวแล้วจำเลยที่ 1 ก็ได้รับเอางานที่โจทก์รับเอางานที่โจทก์รับจ้างทำทั้งหมด และได้จ่ายเงินค่าจ้างตามสัญญาบางส่วนให้แก่โจทก์ตามสำเนาใบแจ้งหนี้และสำเนาหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ทั้งต่อมาจำเลยที่ 1 ก็ได้ทำหนังสือขอยกเลิกสัญญาจ้างกับโจทก์เองตามหนังสือบอกกล่าวยกเลิกสัญญา พฤติการณ์ดังกล่าวย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 1 เชิดให้จำเลยที่ 2 ออกแสดงเป็นตัวแทนของตนในการเข้าทำสัญญาว่าจ้างการรักษาความปลอดภัยกับโจทก์แล้ว จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวการจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 821
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2454/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องไม่สิ้นสุดแม้มีการโอนสิทธิในที่ดินระหว่างดำเนินคดี
การที่จำเลยฎีกาว่า ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ โจทก์โอนที่ดินพิพาทให้แก่บุคคลอื่นแล้วนั้น โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง เป็นฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายซึ่งเคยมีคำพิพากษาศาลฎีกาวินิจฉัยข้อกฎหมายดังกล่าวไว้แล้วว่า เมื่อขณะยื่นฟ้องโจทก์มีอำนาจฟ้อง แม้ภายหลังฟ้องคดีแล้วโจทก์จดทะเบียนโอนสิทธิการครอบครองที่ดินพิพาทแก่บุคคลอื่น อำนาจฟ้องของโจทก์ที่บริบูรณ์อยู่แล้วยังคงมีผลอยู่ต่อไปและยังไม่มีเหตุที่จะเปลี่ยนแปลงแนวคำวินิจฉัยเดิม ฎีกาของจำเลยจึงไม่เป็นสาระอันควรแก่การพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 975/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแสวงหาประโยชน์จากผู้มีอรรถคดีในศาล ละเมิดอำนาจศาล
ผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 และที่ 2 เป็นนายหน้าให้แก่ผู้ที่มายื่นประกันตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยที่ศาลชั้นต้น ย่อมจะทราบกระบวนการและขั้นตอนต่างๆ ดีกว่าผู้กล่าวหาซึ่งเป็นเพียงชาวบ้าน หากผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 และที่ 2 มีความสุจริตใจที่จะช่วยเหลือผู้กล่าวหาเพียงขอค่าตอบแทนจากการช่วยดำเนินการดังกล่าว ก็ไม่ควรที่จะเรียกเอาค่าตอบแทนเป็นจำนวนที่สูงจนเกินสมควร ทั้งควรที่จะพาผู้กล่าวหาไปติดต่อขอใช้บริการประกันอิสรภาพจากบริษัท ว. ซึ่งก็อยู่ที่ศาลชั้นต้นด้วยตนเอง แต่ผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 และที่ 2 หาได้กระทำไม่ อันมีลักษณะเป็นการปกป้องด้วยเกรงว่าผู้กล่าวหาจะทราบค่าใช้จ่ายที่เป็นจริงนั่นเอง ทำให้ผู้กล่าวหาที่ไม่ทราบความจริงต้องยอมจ่ายเงินไปในจำนวนสูงเกินสมควร โดยผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 และที่ 2 ได้รับเงินส่วนต่างหลังหักชำระค่าเบี้ยประกันภัยจากผู้กล่าวหาถึง 16,232 บาท จึงมิใช่เป็นเพียงให้ค่าตอบแทนจากการที่ผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 และที่ 2 ให้ช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกอย่างธรรมดาทั่วไป การกระทำของผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 และที่ 2 ถือได้ว่าเป็นการแสวงหาประโยชน์ที่ไม่ควรได้จากผู้มีอรรถคดีและได้กระทำในศาลชั้นต้นจึงเป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาล อันเป็นการกระทำความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 31 (1), 33 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 975/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแสวงหาประโยชน์จากผู้มีอรรถคดีในศาล ละเมิดอำนาจศาล
ผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 และที่ 2 เป็นนายหน้าให้แก่ผู้ที่มายื่นประกันตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยที่ศาลชั้นต้น ย่อมจะทราบกระบวนการและขั้นตอนต่าง ๆ ดีกว่าผู้กล่าวหาซึ่งเป็นเพียงชาวบ้าน หากผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 และที่ 2 มีความสุจริตใจที่จะช่วยเหลือผู้กล่าวหาเพียงขอค่าตอบแทนจากการช่วยดำเนินการดังกล่าว ก็ไม่ควรที่จะเรียกเอาค่าตอบแทนเป็นจำนวนที่สูงจนเกินสมควร ทั้งควรที่จะพาผู้กล่าวหาไปติดต่อขอใช้บริการประกันอิสรภาพจากบริษัท ว. ซึ่งก็อยู่ที่ศาลชั้นต้นด้วยตนเอง แต่ผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 และที่ 2 หาได้กระทำไม่ อันมีลักษณะเป็นการปกป้องด้วยเกรงว่าผู้กล่าวหาจะทราบค่าใช้จ่ายที่เป็นจริง ทำให้ผู้กล่าวหาที่ไม่ทราบความจริงต้องยอมจ่ายเงินไปในจำนวนสูงเกินสมควร โดยผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 และที่ 2 ได้รับเงินส่วนต่างหลังจากหักชำระค่าตอบแทนจากการชำระค่าเบี้ยประกันภัยถึง 16,232 บาท ซึ่งมิใช่เป็นเพียงการให้ค่าตอบแทนจากการให้ความช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกอย่างธรรมดาทั่วไป การกระทำของผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 และที่ 2 ถือได้ว่าเป็นการแสวงหาประโยชน์ที่ไม่ควรได้จากผู้มีอรรถคดีและได้กระทำในศาลชั้นต้นจึงเป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาล อันเป็นการกระทำความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 31 (1), 33 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 625/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสอบสวนคดีอาญาหลายท้องที่: พนักงานสอบสวนท้องที่ที่จับกุมและทำการสอบสวนเป็นผู้รับผิดชอบ
จำเลยกระทำความผิดหลายกรรมซึ่งกระทำลงในท้องที่ต่างๆ กัน โดยความผิดตามฟ้องข้อ (ก) (ข) และ (ค) กระทำในท้องที่สถานีตำรวจภูธรตำบลบ้านเสด็จส่วนความผิดตามฟ้องข้อ (ง) และ (จ) กระทำลงในท้องที่สถานีตำรวจภูธร อำเภอเมืองลำปาง พนักงานสอบสวนท้องที่หนึ่งท้องที่ใดที่เกี่ยวข้องมีอำนาจสอบสวนได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 19 วรรคหนึ่ง (4) ร้อยตำรวจเอก บ. พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรตำบลบ้านเสด็จจึงมีอำนาจสอบสวน ส่วนที่ จ. ได้ไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองลำปาง และเจ้าพนักงานตำรวจสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองลำปางจับกุมจำเลยเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2545 นั้น ข้อเท็จจริงได้ความว่าเป็นเรื่องของการร้องทุกข์และจับกุมจำเลยที่ได้กระทำชำเราผู้เสียหายเมื่อเดือนมกราคม 2545 โดยเหตุเกิดที่หมู่บ้าน ก. ตำบลพระบาท อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง ดังนั้น แม้จะมีการจับกุมจำเลยได้ในท้องที่สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองลำปางก่อน แต่ก็เป็นการจับกุมจำเลยสำหรับการกระทำผิดอาญาคนละกรรมกับคดีนี้ กรณีจึงถือไม่ได้ว่าพนักงานสอบสวน สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองลำปางเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ ตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.อ. มาตรา 19 วรรคสอง (ก) เมื่อมีการจับกุมจำเลยในท้องที่สถานีตำรวจภูธรตำบลบ้านเสด็จเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2545 ร้อยตำรวจเอก บ. พนักงานสอบสวนสถานตำรวจภูธรตำบลบ้านเสด็จจึงเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ การสอบสวนเป็นไปโดยชอบและพนักงานอัยการโจทก์มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 309/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสัญญาซื้อขายปุ๋ย, อายุความ, เบี้ยปรับ, และดอกเบี้ย: การพิจารณาความถูกต้องตามกฎหมาย
โจทก์เป็นองค์การของรัฐบาลมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรตามที่บัญญัติไว้ในพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร พ.ศ.2517 มาตรา 6 แม้โจทก์จะมีวัตถุประสงค์เพื่อซื้อและจัดให้มีการซื้อผลิตผลเกษตรกรรมและสินค้าอุตสาหกรรมในครัวเรือนของเกษตรกร รวมถึงเครื่องอุปโภคและบริโภคอันจำเป็นเพื่อจำหน่ายด้วย แต่ก็ต้องจำหน่ายในราคาอันสมควร และแม้สัญญาซื้อขายปุ๋ยจะระบุว่า ราคาที่เหลือผู้ซื้อจะชำระให้เสร็จสิ้นภายในวันที่กำหนดโดยผู้ซื้อยินยอมเสียดอกเบี้ยตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในประกาศกำหนดราคาจำหน่ายปุ๋ย ก็มิได้แสดงว่าโจทก์มีวัตถุประสงค์มุ่งแสวงหากำไรอันจะถือว่าเป็นการประกอบการค้า โจทก์จึงมิใช่ผู้ประกอบการค้าตามความหมายของ ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) ต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30
ประกาศของโจทก์เรื่องราคาจำหน่ายปุ๋ยที่กำหนดหลักเกณฑ์การชำระค่าปุ๋ยไว้โดยให้มีการเสียดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นในกรณีที่ชำระค่าปุ๋ยล่าช้า เป็นการกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าในกรณีที่จำเลยที่ 1 ชำระหนี้เกิน 6 เดือน หรือ 9 เดือน ในอัตราลดหลั่นกันไป ถือได้ว่าเป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 ศาลย่อมลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้
สัญญาซื้อขายปุ๋ยไม่มีกำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ทั้งจะอนุมานจากพฤติการณ์ทั้งปวงก็ไม่ได้ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกให้ชำระหนี้ได้โดยพลันตาม ป.พ.พ. มาตรา 203 วรรคหนึ่ง ย่อมถือว่าจำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระหนี้ต่อเมื่อโจทก์ได้ทวงถามแล้ว โจทก์มีหนังสือทวงถามให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ค่าปุ๋ย โดยกำหนดให้จำเลยที่ 1 ชำระภายใน 15 วัน นับแต่วันได้รับหนังสือ แต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้รับหนังสือทวงถามดังกล่าวแล้วหรือไม่ จึงไม่อาจเริ่มนับวันที่จำเลยที่ 1 ผิดนัดได้ ศาลจึงพิพากษาให้จำเลยทั้งยี่สิบชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินที่ค้างชำระนับแต่วันฟ้องไปจนกว่าจะชำระเสร็จ
ประกาศของโจทก์เรื่องราคาจำหน่ายปุ๋ยที่กำหนดหลักเกณฑ์การชำระค่าปุ๋ยไว้โดยให้มีการเสียดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นในกรณีที่ชำระค่าปุ๋ยล่าช้า เป็นการกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าในกรณีที่จำเลยที่ 1 ชำระหนี้เกิน 6 เดือน หรือ 9 เดือน ในอัตราลดหลั่นกันไป ถือได้ว่าเป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 ศาลย่อมลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้
สัญญาซื้อขายปุ๋ยไม่มีกำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ทั้งจะอนุมานจากพฤติการณ์ทั้งปวงก็ไม่ได้ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกให้ชำระหนี้ได้โดยพลันตาม ป.พ.พ. มาตรา 203 วรรคหนึ่ง ย่อมถือว่าจำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระหนี้ต่อเมื่อโจทก์ได้ทวงถามแล้ว โจทก์มีหนังสือทวงถามให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ค่าปุ๋ย โดยกำหนดให้จำเลยที่ 1 ชำระภายใน 15 วัน นับแต่วันได้รับหนังสือ แต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้รับหนังสือทวงถามดังกล่าวแล้วหรือไม่ จึงไม่อาจเริ่มนับวันที่จำเลยที่ 1 ผิดนัดได้ ศาลจึงพิพากษาให้จำเลยทั้งยี่สิบชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินที่ค้างชำระนับแต่วันฟ้องไปจนกว่าจะชำระเสร็จ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14835/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่จดบันทึกคำคัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้น ทำให้ไม่อาจอุทธรณ์ฎีกาได้
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 26 ถ้าศาลได้ตั้งข้อถามหรือออกคำสั่งหรือชี้ขาดเกี่ยวด้วยการดำเนินคดีเรื่องใดเรื่องหนึ่ง และคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งในคดีเรื่องนั้นคัดค้านข้อถามหรือคำสั่ง หรือคำชี้ขาดนั้นว่าไม่ชอบด้วยกฎหมาย ก่อนที่ศาลจะดำเนินคดีต่อไปให้ศาลจดข้อถามหรือคำสั่งหรือคำชี้ขาดที่ถูกคัดค้านและสภาพแห่งการคัดค้านลงไว้ในรายงาน แต่ส่วนเหตุผลที่ผู้คัดค้านยกขึ้นอ้างอิงนั้นให้ศาลใช้ดุลพินิจจดลงไว้ในรายงาน หรือกำหนดให้คู่ความฝ่ายที่คัดค้านยื่นคำแถลงเป็นหนังสือเพื่อรวมไว้ในสำนวน แต่ตามสำนวนไม่ปรากฏว่าศาลได้จดไว้ว่าโจทก์คัดค้านคำสั่งที่อ้างว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้ ธ. ถามค้านพยานโจทก์ไว้เป็นการไม่ชอบ เมื่อไม่มีคำสั่งของศาลชั้นต้นเป็นหลักฐานก็ไม่อาจถือได้ว่ามีคำสั่งของศาลชั้นต้นในอันที่จะอุทธรณ์ฎีกาได้ ดังนั้น แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 จะรับวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ในเรื่องนี้ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 1 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10823/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนิยาม 'ผู้มีวิชาชีพ' ใน ป.อ. มาตรา 227 ไม่จำกัดเฉพาะผู้มีวุฒิทางการศึกษา แต่รวมถึงผู้มีประสบการณ์และความชำนาญในการประกอบอาชีพ
ป.อ. ไม่ได้ให้คำนิยามของคำว่า ผู้มีวิชาชีพ ไว้จึงต้องถือตามความหมายที่ยอมรับกันโดยทั่วไป ซึ่งตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 ให้ความหมายของคำว่าวิชาชีพ หมายถึงอาชีพที่ต้องอาศัยวิชาความรู้ความชำนาญ ส่วนพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 ให้ความหมายของคำว่า วิชาชีพ หมายถึงวิชาที่จะนำไปใช้ในการประกอบอาชีพ เช่น วิชาแพทย์ วิชาช่างไม้ วิชาช่างยนต์ และคำว่า วิชา พจนานุกรมทั้งสองฉบับให้ความหมายว่า ความรู้ ความรู้ที่ได้ด้วยการเล่าเรียนหรือฝึกฝน ดังนั้น คำว่า ผู้มีวิชาชีพจึงหมายถึงผู้มีอาชีพที่ต้องอาศัยวิชาความรู้ความชำนาญหรือผู้ที่มีความรู้ซึ่งอาจได้จากการเล่าเรียนโดยตรงหรือจากการทำงานอันเป็นการฝึกฝนในการประกอบอาชีพเป็นปกติธุระก็ได้ ผู้มีวิชาชีพในการก่อสร้างตามความหมายของมาตรานี้จึงหาได้จำกัดเฉพาะผู้ที่ได้เล่าเรียนมาโดยตรงเพื่อเป็นสถาปนิก วิศวกร หรือโฟร์แมน (หัวหน้าคนงาน) ดังที่จำเลยที่ 3 ฎีกาไม่ เมื่อบริษัทจำเลยที่ 1 มีกรรมการเพียงคนเดียวคือจำเลยที่ 3 ในการรับเหมาก่อสร้างบ้านให้แก่โจทก์ทั้งสองนั้น จำเลยที่ 3 เป็นผู้ทำการแทนจำเลยที่ 1 ตลอดมาตั้งแต่ก่อนการทำสัญญารับเหมาก่อสร้างและรับผิดชอบการก่อสร้างในฐานะเป็นเจ้าของกิจการบริษัทจำเลยที่ 1 ทั้งเป็นผู้กระทำการแก้ไขแบบแปลนการก่อสร้าง เพื่อให้การก่อสร้างเสียค่าใช้จ่ายน้อยลง ดังนี้ แม้จำเลยที่ 3 จะไม่ได้จบการศึกษาทางด้านการก่อสร้างอาคาร ก็ถือได้ว่าจำเลยที่ 3 มีความรู้ความชำนาญและใช้ความรู้ด้านการก่อสร้างในการประกอบอาชีพเป็นปกติธุระ จำเลยที่ 3 จึงเป็นผู้มีวิชาชีพในการก่อสร้างอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างใดๆ ตามความหมายของ ป.อ. มาตรา 227
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10823/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้มีวิชาชีพก่อสร้าง: ความรู้ความชำนาญจากการปฏิบัติจริงก็ถือเป็นผู้มีวิชาชีพได้ แม้ไม่มีวุฒิการศึกษาโดยตรง
ตาม ป.อ. ไม่ได้ให้คำนิยามของคำว่า ผู้มีวิชาชีพ ไว้จึงต้องถือตามความหมายที่ยอมรับกันโดยทั่วไป ซึ่งตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 ให้ความหมายของคำว่า วิชาชีพ หมายถึง อาชีพที่ต้องอาศัยวิชาความรู้ความชำนาญ ส่วนพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 ให้ความหมายของคำว่า วิชาชีพ หมายถึง วิชาที่จะนำไปใช้ในการประกอบอาชีพ เช่น วิชาแพทย์ วิชาช่างไม้ วิชาช่างยนต์ และคำว่า วิชา พจนานุกรมทั้งสองฉบับให้ความหมายว่า ความรู้ ความรู้ที่ได้ด้วยการเล่าเรียนหรือฝึกฝน ดังนั้น คำว่า ผู้มีวิชาชีพ จึงหมายถึง ผู้ที่มีอาชีพที่ต้องอาศัยวิชาความรู้ความชำนาญหรือผู้ที่มีความรู้ซึ่งอาจได้จากการเล่าเรียนโดยตรงหรือจากการทำงานอันเป็นการฝึกฝนในการประกอบอาชีพเป็นปกติธุระก็ได้ ผู้มีวิชาชีพในการก่อสร้างตามความหมายของ ป.อ. มาตรา 227 จึงไม่ได้จำกัดเฉพาะผู้ที่ได้เล่าเรียนมาโดยตรงเพื่อเป็นสถาปนิก วิศวกร หรือโฟร์แมน (หัวหน้าคนงาน) บริษัทจำเลยที่ 1 มีจำเลยที่ 3 เป็นกรรมการเพียงคนเดียว ในการรับเหมาก่อสร้างบ้านให้แก่โจทก์ทั้งสอง จำเลยที่ 3 เป็นผู้ทำการแทนจำเลยที่ 1 ตลอดมาตั้งแต่ก่อนทำสัญญารับเหมาก่อสร้างและรับผิดชอบการก่อสร้างในฐานะเป็นเจ้าของกิจการบริษัทจำเลยที่ 1 ทั้งเป็นผู้ทำการแก้ไขแบบแปลนการก่อสร้างเพื่อให้การก่อสร้างเสียค่าใช้จ่ายน้อยลง ดังนี้แม้จำเลยที่ 3 จะไม่ได้จบการศึกษาทางด้านการก่อสร้างอาคารก็ถือได้ว่าจำเลยที่ 3 มีความรู้ความชำนาญและใช้ความรู้ด้านการก่อสร้างในการประกอบอาชีพเป็นปกติธุระ จำเลยที่ 3 จึงเป็นผู้มีวิชาชีพในการก่อสร้างอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างใดๆ ตามความหมายของ ป.อ. มาตรา 227
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10694/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์คำสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาด: ประเด็นเหตุเพิกถอนตามมาตรา 296 วรรคสอง มิใช่ 309 ทวิ
คำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดของจำเลยที่ 2 มีประเด็นวินิจฉัย 2 ประเด็น คือ เจ้าพนักงานบังคับคดีส่งประกาศการขายทอดตลาดให้แก่จำเลยที่ 2 โดยชอบหรือไม่ และเจ้าพนักงานบังคับคดีทำการขายทอดตลาดในราคาที่ต่ำเกินสมควรหรือไม่ ซึ่งศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยทั้งสองประเด็นและมีคำสั่งให้ยกคำร้อง จำเลยที่ 2 ยื่นอุทธรณ์คำสั่งฉบับลงวันที่ 21 สิงหาคม 2549 เฉพาะประเด็นเจ้าพนักงานบังคับคดีส่งประกาศการขายทอดตลาดโดยมิชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น อุทธรณ์คำสั่งของจำเลยที่ 2 มิใช่ประเด็นที่ร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดโดยอาศัยเหตุตาม ป.วิ.พ. มาตรา 309 ทวิ วรรคสอง แต่เป็นประเด็นที่ร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดโดยอาศัยเหตุอื่นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสอง ซึ่งไม่อยู่ในบังคับของ มาตรา 309 ทวิ และไม่มีกฎหมายบัญญัติให้คำสั่งศาลชั้นต้นตามมาตรา 296 วรรคสอง เป็นที่สุดการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยที่ 2 ฉบับวันที่ 21 สิงหาคม 2549 และศาลอุทธรณ์ภาค 4 มีคำสั่งให้ยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 จึงไม่ชอบ