คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ชินวิทย์ จินดา แต้มแก้ว

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 179 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9430/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาล: มูลคดีเกิดที่ใด การฟ้องคดีจึงอยู่ในอำนาจศาลใด แม้มีการโอนสิทธิเรียกร้อง
สัญญาจ้างระหว่างจำเลยกับห้างหุ้นส่วนจำกัด ว. ทำขึ้น ณ ที่ทำการของจำเลยซึ่งอยู่ในเขตอำนาจศาลจังหวัดพล แม้ห้างหุ้นส่วนจำกัด ว. ทำสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องตามสัญญาจ้างให้แก่โจทก์ โจทก์ก็เป็นเพียงผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องของห้างหุ้นส่วนจำกัด ว. ในอันที่จะบังคับชำระหนี้ตามมูลหนี้เดิมจากจำเลยแทนห้างหุ้นส่วนจำกัด ว. เมื่อสัญญาที่เป็นมูลหนี้ให้เกิดการโอนสิทธิเรียกร้องเกิดขึ้น ณ ที่ทำการของจำเลย และจำเลยปฏิเสธไม่ชำระหนี้ตามสัญญาจ้างให้แก่โจทก์ มูลเหตุซึ่งเป็นที่มาแห่งการโต้แย้งสิทธิอันจะทำให้โจทก์มีอำนาจฟ้องจึงเกิดขึ้น ณ ที่ทำการของจำเลย ซึ่งอยู่ในเขตอำนาจศาลจังหวัดพล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8356/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้สนับสนุนการกระทำความผิด: การเปลี่ยนแปลงเจตนาและขอบเขตการกระทำ
จำเลยที่ 1 บอกจำเลยที่ 3 ว่าจะไปทำร้ายผู้เสียหาย จำเลยที่ 3 จึงพูดว่า เอามันให้หนักไปเลย และขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 3 เข้าพูดจายั่วยุผู้เสียหาย เพื่อเปิดทางให้จำเลยที่ 1 ทำร้ายผู้เสียหาย แสดงให้เห็นเจตนาของจำเลยที่ 3 เพียงว่าจะให้จำเลยที่ 1 ทำร้ายผู้เสียหายเท่านั้น เมื่อจำเลยที่ 1 ไปหยิบไม้ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ให้เปลี่ยนเป็นท่อนเหล็กแทน จึงเป็นการเปลี่ยนเจตนาและวิธีการทำร้ายของจำเลยที่ 1 ที่เกินขอบเขตเจตนาของจำเลยที่ 3 ผู้สนับสนุน จำเลยที่ 3 จึงมีความผิดเพียงเป็นผู้สนับสนุนให้จำเลยที่ 1 ทำร้ายผู้เสียหายเท่านั้น และเมื่อผลของการทำร้ายทำให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัส จำเลยที่ 3 จึงมีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนให้จำเลยที่ 1 ทำร้ายผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัสเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8131/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำให้การขัดแย้งกันเอง การยกประเด็นใหม่ในชั้นอุทธรณ์และฎีกา เป็นการไม่ชอบตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ข้อต่อสู้ในคำให้การ จำเลยที่ 2 ว่า จำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ เพราะจำเลยที่ 1 ไม่ได้เป็นลูกจ้างซึ่งปฏิบัติหน้าที่ไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 และโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เพราะโจทก์ทำสัญญาประนีประนอมยอมความตกลงรับเงินจากจำเลยที่ 2 เพื่อระงับข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 แล้ว มูลคดีนี้จึงเป็นอันระงับ เป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้งว่าจำเลยที่ 2 ยอมรับหรือปฏิเสธว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างโจทก์จริงหรือไม่ เพราะหากจำเลยที่ 1 ไม่ได้เป็นลูกจ้างจำเลยที่ 2 แล้ว จำเลยที่ 2 ก็ไม่จำต้องทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ หากโจทก์ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยที่ 2 จริง ก็เท่ากับจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างจำเลยที่ 2 และกระทำละเมิดในทางการที่จ้างดังฟ้อง จึงเป็นคำให้การที่ไม่อาจให้รวมกันมาได้เพราะขัดแย้งกันเอง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง ไม่ก่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีว่า จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 และโจทก์ทำสัญญาประนีประนอมยอมความระงับข้อพิพาทกับจำเลยที่ 2 แล้วหรือไม่ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 วินิจฉัยประเด็นข้อพิพาททั้งสองดังกล่าวจึงไม่ชอบ ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่าง ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7245/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำรับสารภาพในชั้นจับกุมเป็นเหตุบรรเทาโทษได้ แม้ห้ามใช้เป็นหลักฐานในการพิจารณา
แม้ว่ากฎหมายจะห้ามมิให้ศาลรับฟังคำรับสารภาพในชั้นจับกุมของจำเลยเป็นพยานหลักฐานในการพิจารณาพิพากษาคดี ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 84 วรรคท้าย ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 22) พ.ศ.2547 มาตรา 19 แต่กฎหมายก็ไม่ได้ห้ามมิให้ศาลนำมาเป็นเหตุบรรเทาโทษแก่จำเลย ซึ่งถือได้ว่าคำให้การรับสารภาพในชั้นจับกุมดังกล่าวเป็นเหตุบรรเทาโทษโดยเหตุอื่นที่มีลักษณะทำนองเดียวกันกับเหตุบรรเทาโทษที่กฎหมายกำหนดไว้ใน ป.อ. มาตรา 78 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6844/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนคำร้องทุกข์ของผู้เสียหายกระทบสิทธิโจทก์ในการฟ้องคดีอาญา ความผิดอันยอมความได้
จำเลยยื่นอุทธรณ์โดยมีคำร้องของผู้เสียหายแนบท้ายมีความว่า จำเลยได้ชดใช้ค่าเสียหายให้ผู้เสียหายเป็นที่พอใจแล้ว จึงไม่ติดใจเอาความแก่จำเลย โจทก์รับสำเนาแล้วมิได้ยื่นคำแก้อุทธรณ์คัดค้านว่าคำร้องของผู้เสียหายไม่เป็นความจริงหรือไม่ถูกต้องประการใด เมื่อคำร้องดังกล่าวมีข้อความสรุปได้ว่า ผู้เสียหายไม่ประสงค์จะดำเนินคดีแก่จำเลยอีกต่อไป จึงมีลักษณะเช่นคำร้องขอถอนคำร้องทุกข์
แม้การกระทำของจำเลยตามฟ้องจะเป็นความผิดฐานพยายามข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายอันมีลักษณะเป็นการโทรมหญิงซึ่งยอมความไม่ได้ แต่เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 276 วรรคแรก, 80, 83 โจทก์ไม่อุทธรณ์ ข้อหาที่ว่าจำเลยกระทำในลักษณะเป็นการโทรมหญิงจึงยุติไป ในชั้นนี้หากฟังว่าจำเลยกระทำความผิดก็ลงโทษจำเลยได้ตาม ป.อ. มาตรา 276 วรรคแรก เท่านั้น ซึ่งความผิดดังกล่าวเป็นความผิดอันยอมความได้ตามมาตรา 281 เมื่อผู้เสียหายได้ยื่นคำร้องขอถอนคำร้องทุกข์แล้ว ย่อมมีผลทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) คำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองยอมระงับไปในตัว ไม่มีผลบังคับอีกต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6638/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ องค์คณะผู้พิพากษาไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ส่งผลให้การพิจารณาคดีทั้งหมดเป็นโมฆะ
คดีนี้เป็นคดีที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสามตาม ป.อ. มาตรา 297 มีอัตราโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสิบปีซึ่งอยู่ในอำนาจของศาลจังหวัด และตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 26 บัญญัติให้การพิจารณาพิพากษาคดีของศาลจังหวัดต้องมีผู้พิพากษาอย่างน้อยสองคนและต้องไม่เป็นผู้พิพากษาประจำศาลเกินหนึ่งคนจึงเป็นองค์คณะที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีได้ แต่ปรากฏว่าการพิจารณาของศาลชั้นต้นตามรายงานกระบวนพิจารณาฉบับลงวันที่ 23 สิงหาคม 2544 วันที่ 4 กันยายน 2544 วันที่ 30 พฤศจิกายน 2544 และวันที่ 13 มีนาคม 2545 มีผู้พิพากษานั่งพิจารณาเพียงผู้เดียว จึงเป็นการพิจารณาที่ไม่ชอบตามบทบัญญัติดังกล่าว ซึ่งมีผลให้การพิจารณาและคำพิพากษาของศาลชั้นต้นภายหลังย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมาย และมีผลให้ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีเช่นกัน แม้คู่ความจะมิได้หยิบยกปัญหาดังกล่าวเป็นข้อโต้แย้งในชั้นอุทธรณ์หรือฎีกา แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาจึงมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6568/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องที่ไม่ชัดเจนถึงจำนวนกรรมความผิด ทำให้ศาลต้องยกฟ้อง แม้จะมีหลักฐาน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เมื่อระหว่างต้นเดือนตุลาคม 2545 ถึงวันที่ 23 ตุลาคม 2545 เวลากลางวันต่อเนื่องกัน วันเวลาใดไม่ปรากฏชัด จำเลยกระทำอนาจารผู้เสียหายที่ 1 และผู้เสียหายที่ 2 ด้วยการใช้มือจับหน้าอกและอวัยวะเพศของผู้เสียหายทั้งสองจำนวนหลายครั้ง และใช้อวัยวะเพศถูไถที่อวัยะเพศของผู้เสียหายที่ 2 โดยผู้เสียหายทั้งสองยินยอมต่างกรรมต่างวาระกัน รวมจำนวน 10 ครั้ง การกระทำอนาจารผู้เสียหายแต่ละคนแต่ละคราวย่อมเป็นความผิดแต่ละกรรมแยกต่างหากจากกัน ที่โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยกระทำอนาจารผู้เสียหาย 2 คน ต่างกรรมต่างวาระกัน รวม 10 ครั้ง จึงไม่อาจทราบได้ว่าจำเลยกระทำอนาจารผู้เสียหายแต่ละคน คนละกี่กรรม จึงเป็นฟ้องที่ไม่บรรยายให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) ซึ่งศาลต้องยกฟ้อง ไม่อาจลงโทษจำเลยได้แม้แต่กรรมเดียว ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความไม่ได้ฎีกา ศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5258/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตั๋วสัญญาใช้เงิน: การกำหนดดอกเบี้ยรายเดือนขัดต่อหลักกฎหมายตั๋วเงิน ผู้รับอาวัลไม่ต้องรับผิด
ตั๋วสัญญาใช้เงินเป็นตั๋วเงินอันมีลักษณะเป็นตราสารเปลี่ยนมือที่ย่อมโอนกันได้ด้วยสลักหลังและส่งมอบ การสลักหลังต่อไปย่อมโอนไปซึ่งบรรดาสิทธิอันเกิดแต่ตั๋วเงินนั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 920 วรรคหนึ่ง และผู้ทรงซึ่งเป็นผู้รับโอนตั๋วเงินไปชอบที่จะเรียกร้องเอาเงินใช้จากบุคคลซึ่งตนใช้สิทธิไล่เบี้ยในจำนวนเงินในตั๋วเงินซึ่งเขาไม่รับรองหรือไม่ใช้กับทั้งดอกเบี้ยด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 968(1) การที่ตั๋วสัญญาใช้เงินกำหนดให้คิดดอกเบี้ยก่อนถึงกำหนดใช้เงินตามความในมาตรา 911 จำนวนดอกเบี้ยดังกล่าวจึงเป็นจำนวนที่ต้องรวมเป็นยอดเงินที่ผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินและผู้รับอาวัลต้องผูกพันรับผิดเมื่อมีการไล่เบี้ย การสลักหลังโอนตั๋วสัญญาใช้เงินจึงต้องเป็นการโอนไปทั้งจำนวนเต็มของยอดเงินที่กำหนดไว้ในตั๋วเงินและดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นตามผลของมาตรา 911 กรณีจึงไม่อาจกำหนดให้มีการให้มีการจ่ายดอกเบี้ยออกไปจากตั๋วสัญญาใช้เงินก่อนได้ เพราะจะทำให้ความรับผิดในตั๋วสัญญาใช้เงินลดลง การระบุในตั๋วสัญญาใช้เงินให้จ่ายดอกเบี้ยเป็นรายเดือนจึงเป็นการกำหนดข้อความอื่นใด ซึ่งมิได้บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. ลักษณะ 21 เรื่องตั๋วเงิน ถ้าเขียนลงในตั๋วเงิน ท่านว่าข้อความนั้นหาเป็นผลอย่างหนึ่งอย่างใดแก่ตั๋วเงินนั้นไม่ตามมาตรา 899 ดังนั้น ข้อความที่เขียนให้มีการจ่ายดอกเบี้ยเป็น "รายเดือน" จึงถือเสมือนว่าไม่มีการเขียนลงไว้ในตั๋วเงินโจทก์จึงไม่อาจฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 2 ผู้รับอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินรับผิดชำระค่าเสียหายจากการที่จำเลยที่ 2 ไม่จ่ายดอกเบี้ยตามตั๋วสัญญาใช้เงินเป็นรายเดือนให้แก่โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4135/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าของที่ดินจากการซื้อขายทอดตลาด & อำนาจศาลในการออกคำสั่งระหว่างพิจารณา
โจทก์เป็นผู้ซื้อที่ดินและบ้านพิพาทจากการขายทอดตลาดและได้รับโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินและบ้านพิพาททางทะเบียนโดยชอบแล้ว แต่โจทก์ไม่สามารถเข้าไปใช้ประโยชน์ได้ เนื่องจากจำเลยทั้งสองและบริวารขัดขวางโต้แย้ง โดยจำเลยที่ 1 อ้างว่า จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของ ส. และครอบครองที่ดินและบ้านพิพาท ส่วนจำเลยที่ 2 เป็นผู้เช่าบ้านพิพาทจากทายาทของ ส. ซึ่งเป็นการอาศัยสิทธิของ ส. ลูกหนี้ตามคำพิพากษาเดิมนั่นเอง ดังนั้น โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินและบ้านพิพาทโดยชอบย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสองซึ่งอยู่ในฐานะบริวารของ ส. ได้
ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 24 (2) บัญญัติว่า ให้ผู้พิพากษาคนหนึ่งมีอำนาจดังต่อไปนี้... (2) ออกคำสั่งใด ๆ ซึ่งมิใช่เป็นไปในทางวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทแห่งคดี ซึ่งหมายความว่า ในการพิจารณาคดีของศาลทุกชั้นศาล หากผู้พิพากษาคนเดียวจะมีคำสั่งใดซึ่งมิใช่เป็นคำวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทแห่งคดีแล้ว ก็ย่อมมีอำนาจที่จะทำได้โดยชอบ แม้คดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลชั้นต้นจะต้องมีองค์คณะผู้พิพากษาสองคน แต่ในการพิจารณาของศาลในวันที่ 20 มกราคม 2548 เป็นการสั่งเลื่อนการสืบพยานและระบุรายละเอียดการส่งเอกสารไปสืบพยานประเด็นจำเลยที่ 1 ยังศาลชั้นต้นอื่น ซึ่งล้วนเป็นการที่ศาลชั้นต้นได้ออกคำสั่งที่มิใช่เป็นไปในทางวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทแห่งคดี คำสั่งและการพิจารณาของผู้พิพากษาศาลชั้นต้นตามรายงานกระบวนพิจารณา ลงวันที่ 20 มกราคม 2548 จึงชอบตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3753/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค้าเด็กข้ามชาติ: ศาลฎีกาพิพากษาโทษจำเลยร่วมกันกระทำผิด มีการใช้กฎหมายใหม่และพิจารณาโทษเดิม
การที่จำเลยที่ 2 ร่วมกันกับจำเลยที่ 1 และที่ 3 ลักลอบนำเด็กทารกข้ามแดนไปในประเทศมาเลเซียเพื่อส่งให้แก่นาง อ. พี่สาวจำเลยที่ 2 จึงเป็นความผิดฐานสมคบกันกระทำความผิดเกี่ยวกับการค้าเด็ก และฐานรับไว้ จำหน่าย เป็นธุระจัดหา และพาเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปโดยทุจริต แต่การกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำโดยมีเจตนาเดียวเพื่อจะส่งเด็กทารกไปให้นาง อ. จึงเป็นการกระทำกรรมเดียว เป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย และเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษามาตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 และที่ 3 ที่มิได้ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง และ 213 ประกอบมาตรา 225
ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาได้มี พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551 มาตรา 3 ยกเลิก พ.ร.บ.มาตรการในการป้องกันและปราบปรามการค้าหญิงและเด็ก พ.ศ.2540 แต่ พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551 มาตรา 6 (2) ยังคงบัญญัติให้การกระทำความผิดเกี่ยวกับการค้าเด็กตามฟ้องเป็นความผิดโดยมีบทลงโทษตามมาตรา 52 วรรคสาม ระวางโทษจำคุกตั้งแต่แปดปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนหกหมื่นบาทถึงสามแสนบาท จึงเป็นกรณีกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิด แต่เนื่องจากความผิดเกี่ยวกับการค้าเด็กตาม พ.ร.บ.มาตรการในการป้องกันและปราบปรามการค้าหญิงและเด็ก พ.ศ.2540 มาตรา 7 ระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ จึงเป็นกรณีที่กฎหมายที่แก้ไขใหม่ไม่เป็นคุณแก่จำเลย ต้องใช้กฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดบังคับแก่จำเลยตาม ป.อ. มาตรา 3
การที่โจทก์มีคำขอท้ายฎีกาขอให้ศาลฎีกาพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 9 ให้ลงโทษจำเลยที่ 1 และที่ 3 ตามฟ้อง จึงพอแปลได้ว่า โจทก์ขอให้ศาลฎีกาลงโทษจำเลยที่ 1 และที่ 3 ในความผิดฐานอื่นที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษายกฟ้องนั่นเอง แต่ฎีกาของโจทก์ดังกล่าวมิได้โต้แย้งคัดค้านว่าศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษาไม่ชอบอย่างไร และไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 9 เพราะเหตุใด จึงเป็นฎีกาที่มิได้คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 9 อันเป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 216 แม้ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของโจทก์ส่วนนี้ไว้ ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัยให้
of 18