พบผลลัพธ์ทั้งหมด 179 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 672/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีซื้อต้องห้าม: การขนส่งสินค้าระหว่างประเทศที่ไม่มีการทำธุรกรรมในไทย ไม่อาจนำมาหักลดหย่อนภาษีมูลค่าเพิ่ม
กิจการขนส่งระหว่างประเทศที่จะอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม หมายถึงกิจการขนส่งที่บางส่วนได้ทำหรือได้ใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 77/2 แต่กิจการของโจทก์ในส่วนที่เป็นการขนส่งสินค้านอกราชอาณาจักรจากประเทศหนึ่งไปยังอีกประเทศหนึ่ง มีลักษณะเป็นการรับขนสินค้านอกราชอาณาจักรทั้งสิ้น ไม่มีส่วนใดได้ทำหรือได้ใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร จึงไม่อยู่ในบังคับที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 77/2 ดังนั้น จึงไม่อาจนำภาษีซื้อที่เกี่ยวกับกิจการในส่วนนี้มาหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้ เนื่องจากเป็นภาษีซื้อต้องห้ามที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับกิจการตามมาตรา 82/5 (3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 290/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำร้ายร่างกาย vs. พยายามฆ่า: การพิจารณาบาดแผล, พยานหลักฐาน, และเจตนาของผู้กระทำ
ตามผลการตรวจชันสูตรบาดแผลของแพทย์ไม่ได้ระบุขนาดของบาดแผลเพียงแต่ระบุว่า บาดแผลไม่ผ่านเข้าปอด แสดงว่า บาดแผลไม่ได้มีความลึกถึงปอดอันเป็นอวัยวะภายในที่สำคัญอันจะทำให้ถึงแก่ความตายได้ ทั้งบาดแผลดังกล่าวสามารถรักษาหายภายใน 7 วัน หากไม่มีภาวะแทรกซ้อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งได้ความจากคำเบิกความของผู้เสียหายว่า หลังจากถูกแทงแล้วผู้เสียหายยังสามารถวิ่งไล่จำเลยที่ 1 ไปได้ประมาณ 300 เมตร ซึ่งสนับสนุนให้เห็นว่าบาดแผลของผู้เสียหายไม่ร้ายแรงนักทั้งก่อนเกิดเหตุไม่ปรากฏว่า จำเลยที่ 1 เคยมีสาเหตุโกรธเคืองกับผู้เสียหายมาก่อนเหตุที่เกิดขึ้นก็เป็นเพราะผู้เสียหายขับรถจักรยานยนต์ด้วยความเร็วจึงมีการด่าทอและท้าทายกัน ไม่ใช่เรื่องร้ายแรงถึงขนาดจะมีมูลเหตุจูงใจให้จำเลยที่ 1 ใช้อาวุธมีดของกลางแทงผู้เสียหายโดยเจตนาฆ่า ทั้งผู้เสียหายยังเบิกความว่า จำเลยที่ 1 กับพวกวิ่งหลบหนีไปก่อนที่พวกของผู้เสียหายจะออกมาช่วย แสดงว่า หลังจากจำเลยที่ 1 แทงผู้เสียหายไปเพียง 1 ครั้ง จำเลยที่ 1 ก็วิ่งหนีไปโดยมิได้แทงซ้ำอีกทั้งที่มีโอกาสจะกระทำได้ พยานหลักฐานโจทก์ที่นำสืบยังไม่มีน้ำหนักเพียงพอให้รับฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหาย แต่รับฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้เสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 171/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยายามฆ่า ร่วมกันมีอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต ศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์
การที่ผู้เสียหายพยายามบ่ายเบี่ยงไม่ยอมเบิกความต่อศาล ครั้นเมื่อมาเบิกความกลับระบุว่าจำเลยที่ 1 ไม่ใช่คนร้าย อันขัดแย้งกับคำให้การในชั้นสอบสวนที่ให้การยืนยันว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหาย จึงเชื่อว่าเป็นการเบิกความเพื่อช่วยเหลือจำเลยที่ 1 ให้ไม่ต้องรับโทษ ชั้นสอบสวนผู้เสียหายให้การตั้งแต่วันเกิดเหตุยังไม่มีเวลาไตร่ตรองหาเหตุผลมาช่วยเหลือจำเลยที่ 1 มายังสถานีตำรวจ ผู้เสียหายก็ชี้ตัวยืนยันว่าจำเลยที่ 1 เป็นคนร้ายตั้งแต่วันเกิดเหตุนั้นเอง คำให้การชั้นสอบสวนของผู้เสียหายจึงน่าเชื่อถือมากกว่าคำเบิกความชั้นศาล
โจทก์ฎีกาเพียงว่า การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 ไม่ลงโทษจำเลยทั้งสองในบางข้อหานั้น โจทก์ไม่เห็นด้วย ขอให้ศาลฎีกาลงโทษจำเลยทั้งสองตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นตามฎีกาของโจทก์ดังกล่าวมิได้แสดงโดยชัดแจ้งซึ่งข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่จะยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาเพื่อให้เห็นว่าคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6 คลาดเคลื่อนหรือไม่ถูกต้องอย่างไร จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 216 วรรคหนึ่ง
โจทก์ฎีกาเพียงว่า การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 ไม่ลงโทษจำเลยทั้งสองในบางข้อหานั้น โจทก์ไม่เห็นด้วย ขอให้ศาลฎีกาลงโทษจำเลยทั้งสองตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นตามฎีกาของโจทก์ดังกล่าวมิได้แสดงโดยชัดแจ้งซึ่งข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่จะยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาเพื่อให้เห็นว่าคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6 คลาดเคลื่อนหรือไม่ถูกต้องอย่างไร จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 216 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13379/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม: การโต้เถียงดุลพินิจการลงโทษเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลไม่รับวินิจฉัย
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษปรับจำเลยที่ 3 เป็นเงิน 254,155.78 บาท ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า หากจำเลยที่ 3 ไม่ชำระค่าปรับให้กักขังแทนไม่เกินหนึ่งปี เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ยังคงพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดและลงโทษปรับสถานเดียวตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น เพียงแต่กำหนดวิธีการเพื่อการบังคับคดีในกรณีที่จำเลยที่ 3 ไม่ชำระค่าปรับเท่านั้น จึงเป็นการแก้ไขเล็กน้อย ฎีกาของจำเลยที่ 3 ที่ว่า ไม่สมควรลงโทษปรับจำเลยที่ 3 สถานเดียว แต่ขอให้รอการกำหนดโทษหรือรอการลงโทษ เป็นการฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการลงโทษ จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13045/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากฎีกาเกินขอบเขตและคดีถึงที่สุดแล้ว
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดฐานกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบห้าปีซึ่งมิใช่ภริยาของตนโดยเด็กหญิงนั้นยินยอม ส่วนความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเพื่อการอนาจารให้ยกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานพรากเด็ก ฯ ด้วย ส่วนจำเลยอุทธรณ์ขอให้ยกฟ้อง ต่อมาจำเลยขอถอนอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์มีคำสั่งอนุญาตแล้ว ย่อมมีผลทำให้คำพิพากษาศาลชั้นต้นฐานกระทำชำเราเด็กหญิง ฯ เด็ดขาดเฉพาะจำเลย ต่อมาศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานพรากเด็ก ฯ ตามอุทธรณ์ของโจทก์ด้วย จำเลยมีสิทธิฎีกาคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เฉพาะในความผิดฐานพรากเด็ก ฯ ได้เท่านั้น ดังนั้น เมื่อจำเลยยื่นฎีกาโดยขอให้ศาลฎีกาใช้ดุลพินิจลงโทษจำเลยสถานเบาหรือลดโทษแก่จำเลย ซึ่งหมายถึงขอให้ศาลฎีกาใช้ดุลพินิจกำหนดโทษให้จำเลยเสียใหม่ทั้งสองฐานความผิด การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฎีกาของจำเลยในข้อหากระทำชำเราเด็กหญิง ฯ ซึ่งเด็ดขาดไปแล้ว จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ ส่วนในความผิดฐานพรากเด็ก ฯ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกา เมื่อจำเลยมิได้ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับฎีกา มีผลทำให้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในความผิดฐานนี้เป็นอันถึงที่สุดไปด้วย ศาลฎีกาย่อมไม่อาจรับวินิจฉัยให้ได้เช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12779/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตรวจค้นและจับกุมโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย & ความรับผิดทางแพ่งฐานรับของโจร: ศาลฎีกาไม่รับฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง และแก้ไขคำพิพากษาเรื่องค่าเสียหาย
การที่จะวินิจฉัยว่าเจ้าพนักงานตำรวจสามารถตรวจค้นอู่ซ่อมรถยนต์ของจำเลยที่ 1 และจับจำเลยที่ 1 โดยไม่ต้องมีหมายค้นและหมายจับนั้น จำเป็นต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงเสียก่อนว่า มีพยานหลักฐานตามสมควรว่าสิ่งของที่ได้มาโดยการกระทำความผิดได้อยู่ในสถานที่ตรวจค้นและมีเหตุอันควรเชื่อว่าเนื่องจากการเนิ่นช้ากว่าจะเอาหมายค้นมาได้สิ่งของนั้นจะถูกโยกย้ายเสียก่อน และมีเหตุที่เจ้าพนักงานตำรวจจะจับจำเลยที่ 1 ได้โดยไม่มีหมายจับของศาลตาม ป.วิ.อ. มาตรา 78 และมาตรา 92 (4) หรือไม่ จึงเป็นการฎีกาโต้เถียงในปัญหาข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยในปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวอันเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้จำเลยที่ 1 คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ที่ยังไม่ได้คืนโดยคำนวณจากราคารถยนต์ 370,000 บาท หักราคาของกลางที่ได้คืนจำนวน 192,710 บาท คิดเป็นราคาทรัพย์ที่ยังไม่ได้คืน 177,290 บาท นั้นเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 กระทำผิดฐานรับของโจร ความรับผิดทางแพ่งของจำเลยที่ 1 จะต้องมีอยู่เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวเนื่องกับความผิดทางอาญาฐานรับของโจรเท่านั้น เมื่อปรากฏว่าโจทก์ร่วมได้รับของกลางที่จำเลยที่ 1 รับของโจรไว้คืนไปแล้ว โจทก์จึงไม่มีอำนาจขอให้คืนหรือใช้ราคาในส่วนนี้เพราะ ป.วิ.อ. มาตรา 43 ไม่ได้ให้อำนาจไว้
ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้จำเลยที่ 1 คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ที่ยังไม่ได้คืนโดยคำนวณจากราคารถยนต์ 370,000 บาท หักราคาของกลางที่ได้คืนจำนวน 192,710 บาท คิดเป็นราคาทรัพย์ที่ยังไม่ได้คืน 177,290 บาท นั้นเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 กระทำผิดฐานรับของโจร ความรับผิดทางแพ่งของจำเลยที่ 1 จะต้องมีอยู่เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวเนื่องกับความผิดทางอาญาฐานรับของโจรเท่านั้น เมื่อปรากฏว่าโจทก์ร่วมได้รับของกลางที่จำเลยที่ 1 รับของโจรไว้คืนไปแล้ว โจทก์จึงไม่มีอำนาจขอให้คืนหรือใช้ราคาในส่วนนี้เพราะ ป.วิ.อ. มาตรา 43 ไม่ได้ให้อำนาจไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12543/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รถจักรยานยนต์เป็นทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิด ริบได้ตาม ป.อ. มาตรา 33(1)
ฝ่ายผู้เสียหายขับรถจักรยานยนต์ แล้วจำเลยขับรถจักรยานยนต์พานาย ฉ. ไปยิงผู้เสียหาย หากไม่มีรถจักรยานยนต์ของกลาง การกระทำความผิดในคดีนี้ก็คงไม่เกิดขึ้น การที่จำเลยกับพวกกระทำความผิดในคดีนี้สำเร็จหรือไม่ จึงอาศัยการใช้รถจักรยานยนต์เป็นสำคัญ รถจักรยานยนต์ของกลางจึงเป็นทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำผิด จึงต้องริบตาม ป.อ. มาตรา 33 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12473/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินหลังสัญญาซื้อขายเป็นโมฆะจากข้อจำกัดตามกฎหมายที่ดิน การครอบครองร่วมของสามีภริยาทำให้ได้สิทธิครอบครอง
การที่จำเลยที่ 1 ขายที่ดินให้แก่ ป. และมอบการครอบครองที่ดินพิพาทให้โดยมิได้กลับเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับที่ดินอีก แสดงว่าจำเลยที่ 1 สละเจตนาครอบครองไม่ยึดถือที่ดินพิพาทอีกต่อไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 1377 วรรคหนึ่ง แล้ว แม้ ป. จะได้ซื้อที่ดินและยึดถือทำประโยชน์เพื่อตนในระยะเวลาห้ามโอน ป. ไม่ได้สิทธิครอบครองเนื่องจากถูกจำกัดสิทธิโดยบทบัญญัติแห่ง ป. ที่ดิน มาตรา 58 ทวิ แต่เมื่อ ป. และโจทก์ซึ่งอยู่กินฉันสามีภริยาได้ร่วมกันครอบครองที่ดินตลอดมาจนเลยเวลาห้ามโอนแล้ว ก็ยังครอบครองที่ดินอยู่ จึงถือได้ว่า ป. และโจทก์ย่อมได้สิทธิครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1367 นับแต่วันพ้นกำหนดระยะเวลาห้ามโอน จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทและไม่อาจนำที่ดินพิพาทไปแบ่งแยกโอนให้แก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 9 ได้ จำเลยที่ 2 ถึงที่ 10 จึงไม่มีสิทธิเข้าไปในที่ดินของโจทก์และจำเลยที่ 9 ไม่อาจนำที่ดินพิพาทบางส่วนไปจดทะเบียนจำนอง
สัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทตกเป็นโมฆะเพราะต้องห้ามตามกฎหมายที่มิให้โอนที่ดินพิพาท การที่ ป. ได้สิทธิครอบครองในที่ดินเป็นการได้ตามผลของกฎหมายจึงหาอาจเรียกให้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่ ป. ได้ไม่
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 11/2553)
สัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทตกเป็นโมฆะเพราะต้องห้ามตามกฎหมายที่มิให้โอนที่ดินพิพาท การที่ ป. ได้สิทธิครอบครองในที่ดินเป็นการได้ตามผลของกฎหมายจึงหาอาจเรียกให้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่ ป. ได้ไม่
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 11/2553)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11814/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปฏิบัติตามหน้าที่ขายเงินตราต่างประเทศภายใน 7 วัน ไม่ถือเป็นความผิด หากได้ดำเนินการตามกำหนด
กฎกระทรวง ฉบับที่ 13 (พ.ศ.2497) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน พ.ศ.2485 ข้อ 20 แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 23 (พ.ศ.2541) บัญญัติว่า "บุคคลใดได้มาซึ่งเงินตราต่างประเทศ... ต้องขายเงินตราระหว่างประเทศนั้นให้แก่ธนาคารรับอนุญาต หรือบริษัทรับอนุญาต หรือบุคคลรับอนุญาตที่ตั้งอยู่ในประเทศ...ภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้มาหรือนำเข้าแล้วแต่กรณี..." ซึ่งมีความหมายแต่เพียงว่าหากการได้เงินตราต่างประเทศแล้วมิได้มีการขายให้แก่ธนาคารหรือบุคคลผู้รับอนุญาตภายใน 7 วัน จึงจะมีความผิดตามกฎหมาย ซึ่งเป็นการกำหนดหน้าที่ปฏิบัติ หากฝ่าฝืนด้วยการงดเว้นไม่ปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนดจึงจะมีความผิด การที่จำเลยที่ 2 ได้รับเงินตราต่างประเทศแล้วทำการขายให้แก่ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้เงินตราต่างประเทศ จึงถือว่าได้มีการปฏิบัติครบตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดไว้แล้ว ไม่ปรากฏว่ามีกรณีงดเว้นไม่กระทำการที่กฎหมายได้กำหนดหน้าที่ไว้ การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงไม่เป็นความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11298/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวการร่วมปล้นทรัพย์: การกระทำที่แสดงเจตนาคบคิดแบ่งหน้าที่ชัดเจนบ่งชี้ถึงการเป็นตัวการร่วม
จำเลยที่ 1 ขับรถจักรยานยนต์ให้จำเลยที่ 2 และ ฉ. นั่งซ้อนท้าย เมื่อพบผู้เสียหายและ พ. ขับรถจักรยานยนต์แล่นสวนทางมา จำเลยที่ 1 เลี้ยวกลับรถจักรยานยนต์ขับไล่ติดตามรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายพร้อมทั้งมีการตะโกนบอกให้ผู้เสียหายหยุดรถ เมื่อผู้เสียหายไม่ยอมหยุดรถ ฉ. ใช้อาวุธปืนยิงถูกกระจกมองข้างรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายจนแตก แล้วจอดรถให้ ฉ. ลงจากรถไปใช้อาวุธปืนจี้เอาเงินสดและรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหาย โดยในระหว่างนั้น จำเลยที่ 1 ก็ยังคงจอดรถจักรยานยนต์รออยู่ในบริเวณใกล้เคียงในลักษณะที่พร้อมจะให้ความช่วยเหลือ ฉ. ได้ทันที หากมีเหตุที่จะต้องให้ความช่วยเหลือ เมื่อ ฉ. ได้ทรัพย์ของผู้เสียหายและขับรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายออกไปจากที่เกิดเหตุ จำเลยที่ 1 ก็ขับรถจักรยานยนต์พาจำเลยที่ 2 นั่งซ้อนท้ายหลบหนีตาม ฉ. ไปด้วยกัน ย่อมแสดงให้เห็นว่ามีการคบคิดกันมาแต่แรกโดยมีการแบ่งหน้าที่กันทำ พฤติการณ์ดังกล่าวย่อมฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นตัวการร่วมกับจำเลยที่ 2 และ ฉ. ปล้นทรัพย์ผู้เสียหาย