พบผลลัพธ์ทั้งหมด 179 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4789/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการบังคับใช้ ป.วิ.พ. มาตรา 229: การอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่กระทบคำพิพากษา
ป.วิ.พ. มาตรา 229 ซึ่งบัญญัติบังคับให้ผู้อุทธรณ์ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมที่จะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาหรือคำสั่งมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์นั้นใช้บังคับเฉพาะกรณีอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีของศาลชั้นต้นตลอดจนการอุทธรณ์คำสั่งอื่นๆ ของศาลชั้นต้นที่มีผลกระทบต่อคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีของศาลชั้นต้นเท่านั้น คดีนี้ปรากฏว่าหลังจากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้แก่โจทก์ จำเลยที่ 1 ได้ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ศาลชั้นต้นเห็นว่าคำร้องของจำเลยที่ 1 ยื่นเมื่อพ้นเวลาที่กฎหมายกำหนดและมีคำสั่งยกคำร้องจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 อุทธรณ์คำสั่งซึ่งตามอุทธรณ์ดังกล่าวแม้จะขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 6 กลับคำสั่งของศาลชั้นต้นและมีคำสั่งให้พิจารณาคดีใหม่ก็ตามแต่หากศาลอุทธรณ์ภาค 6 เห็นด้วยกับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ก็ทำได้เพียงแต่พิพากษายกคำพิพากษาของศาลชั้นต้นและให้ศาลชั้นต้นรับคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ไว้พิจารณาและมีคำสั่งต่อไปตามรูปคดี การอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยที่ 1 ในชั้นนี้ไม่มีผลกระทบโดยตรงต่อคำพิพากษาศาลชั้นต้น ดังนั้น จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งต้องใช้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3578/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายยาเสพติดต้องเป็นการส่งมอบให้บุคคลภายนอก ไม่ใช่ผู้ร่วมกระทำความผิด
คำว่า "จำหน่าย" ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ หมายถึง การจำหน่ายให้แก่บุคคลภายนอกที่ไม่ใช่ผู้ร่วมกระทำความผิดด้วยกัน ดังนั้น การที่จำเลยส่งมอบเมทแอมเฟตามีนของกลางให้แก่ ส. ผู้ร่วมกระทำความผิดด้วยกันจึงไม่อาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนของกลางได้ ปัญหานี้แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3547/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ใบอนุญาตให้ทำสิ่งล่วงล้ำลำน้ำไม่ใช่เอกสารสิทธิแสดงกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน
ใบอนุญาตให้ทำสิ่งล่วงล้ำลำน้ำ เป็นเพียงคำสั่งอนุญาตของเจ้าท่าภูมิภาคที่ 6 ที่ให้สร้างท่าเทียบเรือขนาดไม่เกิน 500 ตันกรอส แม้ใบอนุญาตดังกล่าวจะระบุชื่อจำเลยผู้ขออนุญาต แต่ก็มีเงื่อนไขว่าผู้รับอนุญาตจะต้องเริ่มดำเนินการก่อสร้างภายใน 6 เดือน นับแต่วันที่ลงไว้ในอนุญาต ถ้ามิได้จัดการตามคำขอภายในกำหนดจะต้องมาขอนุญาตใหม่ รวมทั้งมีเงื่อนไขระบุให้กรมเจ้าท่ามีสิทธิเรียกใบอนุญาตคืนได้ทุกเมื่อถ้ามีเหตุอย่างใดเกิดขึ้นตามที่ระบุไว้ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าใบอนุญาตเช่นนี้สามารถออกใหม่ได้หรือถูกเรียกคืนได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม่มีข้อความที่แสดงว่าผู้ขออนุญาตเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์สะพานปลาท่าเทียบเรือประมงพิพาท ใบอนุญาตให้ทำสิ่งล่วงล้ำลำน้ำดังกล่าวจึงไม่ใช่เอกสารสิทธิที่แสดงว่าสะพานปลาท่าเทียบเรือประมงพิพาทเป็นของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3248/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโฆษณาจัดสรรที่ดินโดยยังไม่ได้รับอนุญาต และผลกระทบจากภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจ ไม่ถือเป็นการหลอกลวง
ใบโฆษณาขายที่ดินในโครงการจัดสรรที่ดินของจำเลยที่ 1 ระบุว่า ที่ดินในโครงการมีเนื้อที่ 200 ไร่ ซึ่งตามใบโฆษณาก็มีเครื่องหมาย "ฯลฯ" ไว้ด้านหลังข้อความ โฉนดเลขที่ 48513 ถึง 48535 ที่โจทก์อ้างว่ามีชื่อนาง ล. เป็นเจ้าของมิใช่จำเลยที่ 1 ซึ่งมีความหมายว่า นอกจากที่ดินทั้ง 23 แปลง ดังกล่าวที่มีเนื้อที่รวมเพียง 3 ไร่เศษ นี้แล้วยังมีที่ดินแปลงอื่น ๆ อีก ทั้งใบโฆษณายังระบุอีกว่าอยู่ระหว่างการดำเนินการขออนุญาตจัดสรรที่ดิน แต่จำเลยที่ 1 ไม่สามารถดำเนินการขออนุญาตจัดสรรที่ดินให้แล้วเสร็จได้เนื่องจากจำเลยที่ 1 ประสบภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจถูกเจ้าหนี้ฟ้องหลายราย ต่อมาจำเลยที่ 1 ได้ยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการ และโจทก์ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้แล้วก่อนที่โจทก์จะฟ้องจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 เป็นคดีนี้ ดังนั้น ยังไม่ฟังว่าจำเลยทั้งห้าโฆษณาหลอกลวงโจทก์ว่าจะจัดสรรที่ดินโดยไม่มีเจตนาที่จะจัดสรรที่ดินจริง การกระทำของจำเลยทั้งห้าจึงไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2637-2638/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดร่วมของผู้ประกอบการ โครงการคอนโดมิเนียม และอำนาจฟ้องของ คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
แม้ตามสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดเป็นการทำสัญญาระหว่างผู้บริโภคทั้ง 21 ราย ในคดีนี้กับจำเลยที่ 1 ก็ตาม แต่จากข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ของจำเลยทั้งสองดังกล่าวย่อมฟังได้โดยแจ้งชัดว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ร่วมกันดำเนินธุรกิจโครงการประตูทองพลาซ่าและคอนโดมิเนียมโดยต่างมีผลประโยชน์ร่วมกันในโครงการดังกล่าว จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดต่อผู้บริโภคทั้ง 21 รายด้วย
โจทก์ได้รับยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวง และโจทก์ดำเนินคดีเองโดยไม่ได้แต่งตั้งทนายความ ที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้ค่าฤชาธรรมเนียมอื่นเป็นพับและกำหนดให้ฝ่ายจำเลยใช้ค่าทนายความแทนโจทก์ และศาลอุทธรณ์กำหนดให้จำเลยที่ 2 ใช้ค่าทนายความแทนโจทก์และมิได้สั่งเรื่องความรับผิดในชั้นที่สุดของค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์จึงไม่ถูกต้อง ซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภคยกขึ้นเองได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) จึงเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
โจทก์ได้รับยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวง และโจทก์ดำเนินคดีเองโดยไม่ได้แต่งตั้งทนายความ ที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้ค่าฤชาธรรมเนียมอื่นเป็นพับและกำหนดให้ฝ่ายจำเลยใช้ค่าทนายความแทนโจทก์ และศาลอุทธรณ์กำหนดให้จำเลยที่ 2 ใช้ค่าทนายความแทนโจทก์และมิได้สั่งเรื่องความรับผิดในชั้นที่สุดของค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์จึงไม่ถูกต้อง ซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภคยกขึ้นเองได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) จึงเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2573/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ: เจ้าพนักงานตำรวจข่มขืนใจเพื่อรับเงิน แต่ผู้เสียหายวางแผนจับกุม ศาลแก้ไขเป็นพยายามกรรโชก
จำเลยซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจกองปราบปรามขู่ให้โจทก์ร่วมนำเงินมามอบให้โดยอ้างว่าเพื่อลบชื่อโจทก์ร่วมออกจากบัญชีผู้ค้ายาเสพติดของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด และเพื่อที่จะไม่จับกุมโจทก์ร่วม จึงเป็นความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการฐานเป็นเจ้าพนักงานใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบข่มขืนใจและจูงใจเพื่อให้โจทก์ร่วมมอบให้ซึ่งทรัพย์สินแก่ตนเอง แต่การที่โจทก์ร่วมนำเงินไปมอบให้แก่จำเลยก็เพื่อที่จะให้เจ้าพนักงานจับกุม แสดงว่าโจทก์ร่วมไม่ได้กลัวคำขู่ของจำเลย ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยข่มขืนใจโจทก์ร่วมจนโจทก์ร่วมยอมเช่นว่านั้น การกระทำของจำเลยเป็นเพียงความผิดฐานพยายามกรรโชก แม้จำเลยจะไม่ได้ฎีกาในปัญหานี้ แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1864/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาล: คดีขับไล่ที่ดินงอกริมตลิ่งเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ หากจำเลยไม่ได้อ้างกรรมสิทธิ์ในที่ดิน
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยและบริวารออกไปจากอสังหาริมทรัพย์และออกไปจากที่ดินซึ่งเป็นที่งอกริมตลิ่งของโจทก์ จำเลยให้การเพียงว่าที่งอกริมตลิ่งตามฟ้องเป็นที่สาธารณประโยชน์ไม่ได้กล่าวอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย จึงเท่ากับมิได้กล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ กรณีจึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ โดยเป็นคดีฟ้องขับไล่บุคคลใดๆ ออกจากอสังหาริมทรัพย์ ศาลแขวงจึงไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17 ประกอบมาตรา 25 (4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1831/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกานี้วินิจฉัยว่าการอนุญาตให้ฎีกาโดยตรงต่อศาลฎีกาในคดีผู้บริโภคขัดกับเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค
แม้ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 มาตรา 7 จะบัญญัติให้นำบทบัญญัติ ป.วิ.พ. มาใช้บังคับโดยอนุโลมก็ตาม แต่การอนุญาตให้อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาโดยได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ นั้น ขัดกับหลักการและเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 มาตรา 52 ในเรื่องการอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ฎีกาในคดีที่จะขึ้นมาสู่ศาลฎีกา โดยให้ศาลฎีกาเป็นผู้พิจารณาและมีคำสั่งอนุญาตให้ฎีกาเท่านั้น คดีจึงจะขึ้นสู่การพิจารณาของศาลฎีกาได้ จึงไม่นำบทบัญญัติตาม ป.วิ.พ. ดังกล่าวมาปรับใช้ในคดีผู้บริโภค การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาตาม ป.วิ.พ. จึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1632/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ความผิดฐานมียาเสพติดไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย: พยานหลักฐานที่ไม่น่าเชื่อถือและการยกประโยชน์แห่งความสงสัย
ข้อนำสืบของโจทก์ที่ว่าก่อนมอบธนบัตรที่จะใช้ล่อซื้อให้แก่สายลับมีการเปลี่ยนแผนโดยตกลงกับสายลับใหม่ว่า หากสายลับพูดคุยกับจำเลยแล้ว ได้ความว่าจำเลยนำเมทแอมเฟตามีนมาจริงให้ส่งสัญญาณด้วยการลูบผมโดยไม่มีการส่งมอบธนบัตรที่ใช้ล่อซื้อแก่จำเลยนั้น มีเพียงร้อยตำรวจเอก ม. เบิกความยืนยันในข้อนี้ ซึ่งแตกต่างจากคำเบิกความของสิบตำรวจโท ส. ที่ว่า มีการให้สายลับนำธนบัตรไปใช้ล่อซื้อเมทแอมเฟตามีนจากจำเลย ซึ่งเป็นข้อแตกต่างในสาระสำคัญ ทั้งยังขัดต่อเหตุผลที่ว่าเหตุใดสิบตำรวจโท ส. จึงไม่ทราบถึงข้อความนี้ ส่วนแผนที่สังเขปแสดงสถานที่เกิดเหตุ ไม่ได้ระบุจุดที่พยานโจทก์ทั้งสองนำรถยนต์ไปจอดซุ่มดูเหตุการณ์และในข้อนี้พยานโจทก์ทั้งสองเบิกความแตกต่างกัน โดยร้อยตำรวจเอก ม. เบิกความตอบทนายจำเลยถามค้านว่า ซุ่มอยู่ห่างจากจุดเกิดเหตุประมาณไม่เกิน 50 เมตรส่วนสิบตำรวจโท ส. เบิกความตอบทนายความจำเลยถามค้านว่า ซุ่มอยู่ห่างจากจุดเกิดเหตุประมาณ 10 ถึง 15 เมตร ทั้งการติดต่อระหว่างสายลับกับจำเลยมีแต่เพียงการพูดคุยกันเท่านั้นไม่มีการส่งมอบสิ่งของหรือธนบัตร ซึ่งในระยะห่างเช่นนั้นพยานโจทก์ทั้งสองย่อมไม่ได้ยินการพูดคุยกัน ส่วนสายลับที่เป็นประจักษ์พยานโดยตรงโจทก์มิได้อ้างและนำสืบเป็นพยาน คำเบิกความของพยานโจทก์ทั้งสองจึงมีข้อสงสัยนอกจากนี้เมทแอมเฟตามีนของกลางมีเพียง 10 เม็ด แตกต่างจากที่มีการตกลงซื้อขาย 30 เม็ด ทั้งมีจำนวนไม่มากนัก น้ำหนักสุทธิและปริมาณสารบริสุทธิ์ก็ไม่เข้าข้อสันนิษฐานว่ามีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ลำพังคำให้การรับสารภาพในชั้นสอบสวนของจำเลย รวมทั้งรับว่าใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ของกลางในการติดต่อจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนนั้น ยังไม่มีน้ำหนักเพียงพอต่อการรับฟัง พยานหลักฐานของโจทก์ที่นำสืบมายังมีความสงสัยตามสมควรว่า จำเลยกระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายหรือไม่ ให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 227 วรรคสอง
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย แต่ข้อเท็จจริงรับฟังได้เพียงว่า จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ศาลมีอำนาจลงโทษในความผิดฐานนี้ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย แต่ข้อเท็จจริงรับฟังได้เพียงว่า จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ศาลมีอำนาจลงโทษในความผิดฐานนี้ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1364/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิใช้ทางจำเป็น: การแบ่งแยกที่ดินและการใช้ทางเดิมต่อเนื่อง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยได้ทำทางเข้าออกจากที่ดินของจำเลยสู่ทางสาธารณะโดยทำจากถนนคูหามุข ซอยจินากุล อันเป็นทางสาธารณะซึ่งอยู่ห่างที่ดินของโจทก์ประมาณ 200 เมตรเข้ามาในที่ดินของจำเลยจรดกับที่ดินของโจทก์ มีความกว้างประมาณ 5 เมตร ที่ดินของโจทก์ไม่มีทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะ โจทก์มีความจำเป็นต้องใช้ทางที่จำเลยทำขึ้นในที่ดินของจำเลยดังกล่าวเป็นทางเข้าออกจากที่ดินของโจทก์สู่ทางสาธารณะ ตามคำฟ้องของโจทก์ได้แสดงถึงความกว้างยาวของทางที่โจทก์ต้องการให้จำเลยเปิดเป็นทางจำเป็นโดยแจ้งชัดแล้ว ส่วนปัญหาว่าทางดังกล่าวจะคิดเป็นเนื้อที่เท่าใดนั้นมิใช่สภาพแห่งข้อหาที่โจทก์จำต้องบรรยายในคดี คำฟ้องของโจทก์ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสองแล้ว
โจทก์บรรยายฟ้องว่าที่ดินของโจทก์ถูกที่ดินแปลงอื่นล้อมรอบไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ โจทก์มีความจำเป็นต้องใช้ทางที่จำเลยทำขึ้นในที่ดินของจำเลยเป็นทางออกสู่ทางสาธารณะ มิได้บรรยายว่าเดิมที่ดินของโจทก์และที่ดินของจำเลยเป็นที่ดินแปลงเดียวกันต่อมามีการแบ่งแยกกันเป็นเหตุให้ที่ดินของโจทก์ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะอันจะทำให้โจทก์มีสิทธิเรียกร้องเอาทางจำเป็นจากที่ดินของจำเลยคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 9 ในส่วนที่โจทก์มิได้บรรยายฟ้องดังกล่าวจึงไม่ชอบ
โจทก์เคยใช้ทางพิพาทเป็นทางเข้าออกจากที่ดินของโจทก์สู้ทางสาธารณะ และในขณะยื่นฟ้องผู้เช่าที่ดินของโจทก์ทำสวนผลไม้ซึ่งเป็นผู้ครอบครองที่ดินแทนโจทก์มีความจำเป็นที่จะต้องใช้ทางพิพาทเป็นทางเข้าออกเช่นเดียวกัน โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขอให้จำเลยเปิดทางจำเป็นในที่ดินของจำเลย
ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษาว่าทางพิพาทมีความกว้าง 3 เมตร โจทก์ยื่นคำแก้ฎีกาขอให้พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 9 เป็นว่า ทางพิพาทมีความกว้าง 5 เมตร ตามสภาพความเป็นจริงเป็นการขอนอกเหนือไปจากคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 9 โจทก์จะต้องกระทำโดยยื่นเป็นคำฟ้องฎีกาเข้ามา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 247 จะเพียงแต่ขอมาในคำแก้ฎีกาหาได้ไม่ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์บรรยายฟ้องว่าที่ดินของโจทก์ถูกที่ดินแปลงอื่นล้อมรอบไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ โจทก์มีความจำเป็นต้องใช้ทางที่จำเลยทำขึ้นในที่ดินของจำเลยเป็นทางออกสู่ทางสาธารณะ มิได้บรรยายว่าเดิมที่ดินของโจทก์และที่ดินของจำเลยเป็นที่ดินแปลงเดียวกันต่อมามีการแบ่งแยกกันเป็นเหตุให้ที่ดินของโจทก์ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะอันจะทำให้โจทก์มีสิทธิเรียกร้องเอาทางจำเป็นจากที่ดินของจำเลยคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 9 ในส่วนที่โจทก์มิได้บรรยายฟ้องดังกล่าวจึงไม่ชอบ
โจทก์เคยใช้ทางพิพาทเป็นทางเข้าออกจากที่ดินของโจทก์สู้ทางสาธารณะ และในขณะยื่นฟ้องผู้เช่าที่ดินของโจทก์ทำสวนผลไม้ซึ่งเป็นผู้ครอบครองที่ดินแทนโจทก์มีความจำเป็นที่จะต้องใช้ทางพิพาทเป็นทางเข้าออกเช่นเดียวกัน โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขอให้จำเลยเปิดทางจำเป็นในที่ดินของจำเลย
ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษาว่าทางพิพาทมีความกว้าง 3 เมตร โจทก์ยื่นคำแก้ฎีกาขอให้พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 9 เป็นว่า ทางพิพาทมีความกว้าง 5 เมตร ตามสภาพความเป็นจริงเป็นการขอนอกเหนือไปจากคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 9 โจทก์จะต้องกระทำโดยยื่นเป็นคำฟ้องฎีกาเข้ามา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 247 จะเพียงแต่ขอมาในคำแก้ฎีกาหาได้ไม่ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย