คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 407

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 114 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7082/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มเพิ่มเติมหลังเปลี่ยนแปลงอัตราภาษี และการใช้สิทธิโดยสุจริตของผู้ประกอบการ
โจทก์เป็นผู้ประกอบการผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มย่อมเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากจำเลยซึ่งเป็นผู้รับบริการได้ เมื่อความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น การที่โจทก์ต้องเรียกภาษีมูลค่าเพิ่มเพิ่มจากจำเลยเนื่องจากได้มีพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 309) พ.ศ. 2540 ให้ยกเลิกมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 236) พ.ศ. 2534 ให้จัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มเพิ่มขึ้นรวมแล้วเป็นอัตราร้อยละ 10 เป็นผลให้ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเพิ่มขึ้นจากเดิมรวมแล้วร้อยละ 3 กรรมการของโจทก์ในฐานะนายกสมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยได้มีหนังสือหารือกรมสรรพากรว่ากรณีเช่นโจทก์จะได้รับสิทธิไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเพิ่มขึ้นหรือไม่ ซึ่งกรมสรรพากรได้มีหนังสือตอบข้อหารือของกรรมการของโจทก์มาแล้วว่า กรณีของโจทก์ไม่ได้รับประโยชน์ที่จะเสียภาษีในอัตราเดิม ดังนี้ เมื่อต่อมาสำนักงานสรรพากรพื้นที่ 5 มีหนังสือแจ้งโจทก์ให้ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มเพิ่มขึ้นอีกดังกล่าว แม้จะระบุในหนังสือแจ้งด้วยว่าหากโจทก์จะโต้แย้งให้ยื่นคำคัดค้านภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือ และข้อเท็จจริงรับกันว่าโจทก์ไม่ได้ยื่นคำคัดค้านซึ่งถึงแม้โจทก์จะยื่นคำคัดค้าน ผลก็ไม่เปลี่ยนแปลงเพราะอธิบดีกรมสรรพากรได้วินิจฉัยตอบข้อหารือแล้ว ดังนั้น การที่โจทก์เรียกให้จำเลยชำระภาษีมูลค่าเพิ่มเติมอีกร้อยละ 3 สำหรับเงินค่าจ้างที่โจทก์ได้รับจากจำเลยตั้งแต่วันที่ 10 มีนาคม 2541 แต่จำเลยไม่ชำระ โจทก์จึงได้นำเงินไปชำระแก่กรมสรรพากรเป็นค่าภาษีมูลค่าเพิ่มที่เพิ่มขึ้น จึงมีเหตุผลอันสมควรและเป็นการกระทำตามหน้าที่ที่กฎหมายกำหนด ไม่เป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจตาม ป.พ.พ. มาตรา 407 การที่โจทก์ใช้สิทธิฟ้องเรียกเงินจำนวนดังกล่าวคืนจากจำเลย ก็เป็นการใช้สิทธิตาม ป.รัษฎากร มาตรา 82/4 วรรคหนึ่ง ไม่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตแต่อย่างใด จำเลยจึงต้องรับผิดในเงินเพิ่มดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2425/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้เช็ค การคิดดอกเบี้ยทบต้นที่เกินอัตราตามกฎหมาย และการหักชำระหนี้
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คธนาคาร ก. ลงวันที่ 5 มิถุนายน2540 จำนวนเงิน 691,960 บาท เพื่อชำระหนี้แก่โจทก์ โดยระบุข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าเมื่อเช็คถึงกำหนดชำระ โจทก์นำเช็คดังกล่าวไปเรียกเก็บเงิน แต่ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน และมีคำขอบังคับให้จำเลยชำระเงินตามจำนวนที่ลงในเช็ค เป็นการบรรยายฟ้องครบถ้วนแล้ว ส่วนการออกเช็คเป็นการชำระหนี้ค่าอะไร มูลหนี้เกิดจากอะไร และชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เป็นรายละเอียดที่นำสืบได้ในชั้นพิจารณาไม่จำต้องบรรยายมาในฟ้อง ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
ก่อนที่จำเลยจะชำระหนี้ด้วยเช็คพิพาท จำเลยเคยชำระหนี้ให้โจทก์มาแล้วรวม6 ครั้ง เป็นการชำระหนี้เพื่อไถ่ถอนจำนอง 5 ครั้ง ซึ่งการชำระหนี้แต่ละครั้งไม่พอที่จะเปลื้องหนี้สินได้ทั้งหมด จึงต้องหักชำระดอกเบี้ยที่ค้างทั้งหมดไปก่อนที่จะชำระต้นเงิน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 329 วรรคหนึ่ง และถือว่าการที่จำเลยชำระดอกเบี้ยที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจ ทั้งที่รู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระ จำเลยจึงไม่อาจเรียกร้องคืนหรือให้นำมาหักหนี้ที่จำเลยค้างชำระอยู่ได้ตามมาตรา 407
แม้เช็คพิพาทมีหนี้ในส่วนที่เป็นโมฆะรวมอยู่ด้วย โจทก์ก็ยังมีสิทธิเรียกร้องต้นเงินอันเป็นหนี้ประธานที่สมบูรณ์แยกออกจากส่วนที่เป็นโมฆะได้ มิใช่เช็คพิพาทตกเป็นโมฆะทั้งหมด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2425/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ดอกเบี้ยเกินอัตรา และการหักชำระหนี้ที่ถูกต้องตามกฎหมาย
การที่จำเลยชำระดอกเบี้ยที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจทั้งที่รู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระ จำเลยจึงไม่อาจเรียกร้องคืนหรือให้นำมาหักหนี้ที่จำเลยค้างชำระอยู่ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 407
เมื่อจำเลยชำระหนี้ครั้งที่ 6 จำนวน 250,000 บาท จึงต้องนำเงินจำนวนดังกล่าวไปหักชำระดอกเบี้ยและต้นเงินที่ค้างชำระในวันที่ 16 พฤษภาคม 2540 การที่ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดให้นำเงินไปหักในวันดังกล่าว แต่กลับให้นำไปหักจากต้นเงินพร้อมดอกเบี้ยที่คำนวณได้ในวันที่จำเลยชำระเสร็จ จึงขัดกับ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 329 วรรคหนึ่ง ทำให้จำเลยต้องชำระหนี้ดอกเบี้ยมากกว่าที่ควรเพราะความรับผิดของดอกเบี้ยจะมากหรือน้อย ย่อมแปรผันไปตามจำนวนต้นเงิน กล่าวคือ ถ้าต้นเงินมากดอกเบี้ยที่จะต้องชำระก็มาก หากต้นเงินน้อย ดอกเบี้ยก็จะน้อย
แม้เช็คพิพาท มีหนี้ในส่วนที่เป็นโมฆะรวมอยู่ด้วย โจทก์ยังมีสิทธิเรียกร้องต้นเงินอันเป็นหนี้ประธานที่สมบูรณ์แยกออกจากส่วนที่เป็นโมฆะได้ มิใช่เช็คพิพาทตกเป็นโมฆะทั้งหมดโจทก์จึงมีสิทธินำเช็คดังกล่าวฟ้องจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2425/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ดอกเบี้ยเกินอัตราและผลกระทบต่อการเรียกร้องหนี้และการหักชำระ
การที่จำเลยชำระดอกเบี้ยที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจ ทั้งที่รู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระ จำเลยจึงไม่อาจเรียกร้องคืนหรือให้นำมาหักหนี้ที่จำเลยค้างชำระอยู่ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 407
เมื่อจำเลยชำระหนี้ครั้งที่ 6 จำนวน 250,000 บาท จึงต้องนำเงินจำนวนดังกล่าวไปหักชำระดอกเบี้ยและต้นเงินที่ค้างชำระในวันที่ 16 พฤษภาคม 2540 การที่ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดให้นำเงินไปหักในวันดังกล่าว แต่กลับให้นำไปหักจากต้นเงินพร้อมดอกเบี้ยที่คำนวณได้ในวันที่จำเลยชำระเสร็จ จึงขัดกับ ป.พ.พ. มาตรา 329 วรรคหนึ่ง ทำให้จำเลยต้องชำระหนี้ดอกเบี้ยมากกว่าที่ควรเพราะความรับผิดของดอกเบี้ยจะมากหรือน้อย ย่อมแปรผันไปตามจำนวนต้นเงิน กล่าวคือ ถ้าต้นเงินมาก ดอกเบี้ยที่จะต้องชำระก็มาก หากต้นเงินน้อย ดอกเบี้ยก็จะน้อย
แม้เช็คพิพาท มีหนี้ในส่วนที่เป็นโมฆะรวมอยู่ด้วย โจทก์ยังมีสิทธิเรียกร้องต้นเงินอันเป็นหนี้ประธานที่สมบูรณ์แยกออกจากส่วนที่เป็นโมฆะได้ มิใช่เช็คพิพาทตกเป็นโมฆะทั้งหมดโจทก์จึงมีสิทธินำเช็คดังกล่าวฟ้องจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2167/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมาย แม้เป็นโมฆะ แต่การชำระโดยสมัครใจไม่อาจเรียกคืนหรือหักชำระหนี้ได้
จำเลยกู้เงินจากโจทก์จำนวน 200,000 บาท โดยตกลงคิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 3 ต่อเดือน จำเลยได้ชำระ ดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าวให้โจทก์ไปแล้ว 80,000 บาท แม้การกระทำของโจทก์ที่คิดดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดจะเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ. ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475 มาตรา 3 ประกอบด้วย ป.พ.พ. มาตรา 654 อันมีผลให้ดอกเบี้ยตกเป็นโมฆะ แต่เมื่อจำเลยชำระดอกเบี้ยดังกล่าวด้วยความสมัครใจตามที่ตกลงกับโจทก์ไว้ จึงเป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจและเป็นการชำระหนี้อันเป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมายตาม ป.พ.พ. มาตรา 407, 411 จำเลยจะเรียกเงินดอกเบี้ยจำนวนดังกล่าวคืน หรือนำมาหักชำระต้นเงิน 200,000 บาท หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2167/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระดอกเบี้ยเกินกฎหมาย แม้เป็นโมฆะ แต่หากชำระโดยสมัครใจแล้ว จะนำมาหักหนี้ต้นเงินไม่ได้
โจทก์คิดดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475 มาตรา 3ประกอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 654 มีผลให้ดอกเบี้ยตกเป็นโมฆะ แต่เมื่อจำเลยชำระดอกเบี้ยดังกล่าวด้วยความสมัครใจตามที่ตกลงกู้ยืมเงินกับโจทก์ จึงเป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจและเป็นการชำระหนี้อันเป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมายตามมาตรา 407 และ 411 จำเลยจะเรียกดอกเบี้ยคืนหรือนำมาหักชำระหนี้ต้นเงินหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6223/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยเกินกฎหมายและการหักกลบลบหนี้: จำเลยไม่สามารถนำดอกเบี้ยที่ชำระไปแล้วซึ่งเป็นโมฆะมาหักกลบลบหนี้ได้ และดอกเบี้ยระหว่างเวลาผิดนัดชอบแล้ว
การที่จำเลยตกลงชำระดอกเบี้ยเงินกู้เกินอัตราตามกฎหมายให้แก่โจทก์ไปแล้วเท่ากับเป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจ โดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระ จำเลยจึงหามีสิทธิจะได้รับดอกเบี้ยจำนวนที่ชำระไปแล้วคืนไม่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 407 เมื่อเป็นเช่นนี้จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะนำไปหักกลบลบหนี้กับต้นเงินที่จำเลยยังไม่ได้ชำระหรือถือเอาว่าเป็นการชำระหนี้ต้นเงินกู้บางส่วนตามสัญญาแล้วได้
ศาลอุทธรณ์ภาค 3 วินิจฉัยว่าดอกเบี้ยเงินกู้ที่จำเลยชำระไปแล้วเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด ข้อตกลงในส่วนดอกเบี้ยจึงตกเป็นโมฆะ โจทก์ไม่มีสิทธิบังคับเอาดอกเบี้ยตามสัญญาแก่จำเลยแต่โจทก์ยังมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละ 7.5ต่อปีได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่งเริ่มนับแต่วันที่ 29 ตุลาคม 2541 ซึ่งเป็นวันที่ครบกำหนดชำระหนี้ตามหนังสือทวงถาม ดังนั้น ดอกเบี้ยที่จำเลยต้องชำระตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 จึงเป็นดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัด หาใช่ดอกเบี้ยตามสัญญาซึ่งโจทก์ขอให้บังคับเอาแก่จำเลยไม่ เมื่อหนังสือทวงถามครบกำหนดชำระหนี้ในวันที่ 29 ตุลาคม 2541ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์นับแต่วันดังกล่าวจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6223/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมาย ไม่อาจนำไปหักกลบหนี้หรือถือเป็นการชำระหนี้ต้นเงินได้
การที่จำเลยชำระดอกเบี้ยเงินกู้เกินอัตราตามกฎหมายให้แก่โจทก์ไป เป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจ โดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระจำเลยจึงไม่มีสิทธิจะได้รับดอกเบี้ยจำนวนที่ชำระไปแล้วคืน ตาม ป.พ.พ.มาตรา 407จำเลยย่อมไม่มีสิทธินำไปหักกลบลบหนี้กับต้นเงินกู้ที่จำเลยยังไม่ได้ชำระหรือถือเอาว่าเป็นการชำระหนี้ต้นเงินกู้บางส่วนตามสัญญาแล้วได้
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ดอกเบี้ยเงินกู้ที่จำเลยชำระไปแล้วตามสัญญาคำนวณแล้วได้เท่ากับอัตราร้อยละ 36 ต่อปี เกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด ข้อตกลงในส่วนดอกเบี้ยตกเป็นโมฆะ โจทก์ไม่มีสิทธิบังคับเอาดอกเบี้ยตามสัญญาแก่จำเลยแต่โจทก์ยังมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละ 7.5 ต่อปีได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 224 วรรคหนึ่ง โดยเริ่มนับแต่วันที่ครบกำหนดชำระหนี้ตามหนังสือทวงถามดังนั้น ดอกเบี้ยที่จำเลยต้องชำระแก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงเป็นดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัด หาใช่ดอกเบี้ยตามสัญญาซึ่งโจทก์ขอให้บังคับเอาแก่จำเลยไม่เมื่อหนังสือทวงถามระบุให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ให้แล้วเสร็จภายในกำหนด 7 วันนับแต่วันที่จำเลยได้รับหนังสือ จำเลยได้รับหนังสือดังกล่าววันที่ 22 ตุลาคม 2541จึงครบกำหนดชำระหนี้ในวันที่ 29 ตุลาคม 2541 ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์นับแต่วันดังกล่าวจึงไม่เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าคำขอท้ายฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 101/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยเกินอัตราและผลของการชำระหนี้โดยสมัครใจ แม้ผิดกฎหมาย
หนังสือสัญญากู้ยืมเงินระบุว่าผู้กู้ยอมให้ดอกเบี้ยแก่ผู้ให้กู้ชั่งละ 1 บาทต่อเดือน แต่โจทก์นำสืบว่าได้มีการตกลงด้วยวาจาให้คิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือน จำนวนเงินที่จำเลยออกเช็คชำระให้แก่โจทก์เป็นการชำระดอกเบี้ยตามอัตราที่ตกลงกันด้วยวาจาและจำเลยยังมิได้ชำระต้นเงินกู้ยืมกับยังค้างดอกเบี้ยอยู่อีกจึงฟ้องเรียกต้นเงินกู้ยืมพร้อมดอกเบี้ยตามที่ระบุไว้ในสัญญากู้ยืมนั้นเป็นการนำสืบถึงรายละเอียดแห่งข้อเท็จจริงในมูลกรณีที่โจทก์ฟ้องไม่เป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94(ข)
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยตกลงให้โจทก์เรียกดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือน เช็คที่จำเลยสั่งจ่ายเป็นการชำระดอกเบี้ยเงินกู้ยืม ให้แก่โจทก์ซึ่งเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้อันเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯ มาตรา 3 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 654 และเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลย่อมมีอำนาจขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)
การที่จำเลยสมยอมชำระดอกเบี้ยเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้แก่โจทก์ถือได้ว่าเป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจโดยรู้ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 407 จำเลยไม่มีสิทธิจะได้รับคืนดอกเบี้ยส่วนที่ได้ชำระไปแล้ว และจะให้นำไปหัก กับต้นเงินไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7909/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ต้นเงินกู้ยืมและดอกเบี้ยเป็นสิทธิแยกกัน แม้ดอกเบี้ยผิดกฎหมายก็ไม่กระทบสิทธิรับต้นเงิน การออกเช็คที่ไม่มีเงินในบัญชีเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เช็ค
หนี้ต้นเงินกู้ยืมที่จำเลยออกเช็คพิพาทสั่งจ่ายให้แก่โจทก์กับดอกเบี้ยของต้นเงินกู้ยืมเป็นหนี้คนละส่วนแยกต่างหากจากกันได้ แม้จำนวนดอกเบี้ยที่โจทก์เรียกเก็บจากจำเลยจะเกินจากอัตราที่กฎหมายกำหนดหรือเป็นการคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยก็คงมีผลแต่เพียงว่าโจทก์สิ้นสิทธิในการได้รับดอกเบี้ยที่คิดเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดหรือไม่อาจคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยเท่านั้น แต่หาได้สิ้นสิทธิที่จะได้รับต้นเงินกู้ยืมไม่ และหากจำเลยชำระดอกเบี้ยไปแล้วก็หาอาจที่จะเรียกคืนหรือนำไปหักจากต้นเงินกู้ยืมได้ไม่ เมื่อเช็คพิพาทที่จำเลยออกมิได้รวมดอกเบี้ยที่มิชอบเข้าไว้ด้วย การออกเช็คพิพาทของจำเลยจึงเป็นการออกเช็คชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย เมื่อเช็คดังกล่าวไม่สามารถเรียกเก็บเงินได้เพราะขณะที่ออกไม่มีเงินอยู่ในบัญชีอันจะพึงใช้เงินได้ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2534 มาตรา 4
of 12