พบผลลัพธ์ทั้งหมด 114 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1413/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความลาภมิควรได้: การคืนเงินบำนาญหลังไล่ออกจากราชการ, ระยะเวลาที่โจทก์รู้สิทธิ, และข้อยกเว้นอายุความ
จำเลยได้รับราชการจนเกษียณอายุราชการเมื่อวันที่30กันยายน2530จำเลยได้รับเงินบำนาญและเงินช่วยค่าครองชีพตั้งแต่วันที่1ตุลาคม2530เป็นต้นมาจนถึงวันนี้15พฤศจิกายน2533และโจทก์ได้มีคำสั่งลงโทษไล่จำเลยออกจากราชการเมื่อวันที่16พฤศจิกายน2533โดยให้มีผลนับตั้งแต่วันที่30กันยายน2530การที่จำเลยได้รับเงินบำนาญและเงินช่วยค่าครองชีพเป็นการได้มาในขณะที่โจทก์ยังมิได้มีคำสั่งลงโทษจำเลยออกจากราชการจำเลยมีสิทธิที่จะได้รับเงินบำนาญและเงินช่วยค่าครองชีพตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการและพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญอันเป็นสิทธิของจำเลยที่พึงได้ตามกฎหมายการที่จำเลยรับเงินบำนวญและเงินช่วยค่าครองชีพจึงมิใช่เป็นการรับชำระเงินไว้โดยปราศจากมูลที่จะอ้างได้ตามกฎหมายและมิใช่เป็นทางให้บุคคลอื่นเสียเปรียบแต่ประการใดกรณีจึงมิใช่ลาภมิควรได้โจทก์ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนด1ปีจึงไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตร419การจ่ายเงินบำนาญและเงินค่าครองชีพเป็นการกระทำที่ถูกต้องตามกฎหมายมิใช่เป็นการจ่ายเงินไปตามอำเภอใจตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา407จำเลยจึงต้องคืนเงินที่รับมานั้นให้แก่โจทก์และโจทก์มีสิทธิที่จะฟ้องเรียกเงินดังกล่าวได้ในกำหนด10ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/30 เมื่อโจทก์มีคำสั่งไล่จำเลยออกจากราชการแล้วโจทก์ย่อมไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายเงินบำนาญและเงินช่วยค่าครองชีพให้แก่จำเลยตั้งแต่วันที่16พฤศจิกายน2533เป็นต้นไปและจำเลยก็ไม่มีสิทธิรับเงินดังกล่าวอีกต่อไปการที่จำเลยรับเงินบำนาญและเงินช่วยค่าครองชีพไปจากโจทก์ตั้งแต่วันที่16พฤศจิกายน2533จนถึงวันที่30พฤศจิกายน2534จึงเป็นการได้มาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้และเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบเข้าลักษณะลาภมิควรได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา406จำเลยจำต้องคืนเงินดังกล่าวให้แก่โจทก์แต่อายุความสำหรับเรียกเอาคืนในเรื่องลาภมิควรได้นั้นประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา419ห้ามมิให้ฟ้องคดีเพื่อกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันเวลาที่โจทก์รู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืนปรากฏว่าโจทก์มีคำสั่งไล่จำเลยออกจากราชการตั้งแต่วันที่16พฤศจิกายน2533ถือว่าโจทก์รู้ว่าความจริงที่โจทก์ชำระหนี้แก่จำเลยโดยปราศจากมูลหนี้ในวันนั้นดังนั้นเงินบำนาญและเงินช่วยค่าครองชีพที่จำเลยได้รับไปนับแต่วันฟ้องย้อนหลังไปเกินหนึ่งปีคือตั้งแต่วันที่16พฤศจิกายน2533จนถึงวันที่25พฤศจิกายน2534จึงขาดอายุความโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกคืน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9087/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดินในเขตนิคมสหกรณ์ที่เป็นโมฆะเนื่องจากข้อห้ามโอน
ขณะโจทก์ทำสัญญาจะซื้อขายที่พิพาทจากจำเลยนั้น โจทก์ไม่ทราบว่ามีข้อกำหนดห้ามโอน นิติกรรมดังกล่าว จึงเป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายย่อมตกเป็นโมฆะ โจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องชำระหนี้ที่ค้างชำระและจำเลยต้อง คืนเงินที่โจทก์ชำระไว้โดยถือไม่ได้ว่าโจทก์กระทำตามอำเภอใจเหมือนหนึ่งว่าเพื่อชำระหนี้โดยรู้ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 602/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดินแปลงที่ดินหวงห้ามเพื่อประโยชน์ราชการทหารเป็นโมฆะ จำเลยต้องคืนเงินมัดจำ
ที่พิพาทเป็นที่ดินหวงห้ามเพื่อประโยชน์ในราชการทหารที่ห้ามมิให้ผู้ใดเข้าหักร้างจัดทำหรือปลูกสร้างด้ายประการใดๆในที่ดินเว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากเจ้าหน้าที่เช่นนี้ที่พิพาทก็เป็นทรัพย์สินซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินจะโอนแก่กันมิได้เว้นแต่อาศัยอำนาจแห่งกฎหมายเฉพาะหรือพระราชกฤษฎีกาตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1305การที่โจทก์และจำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทกันตามหนังสือสัญญาจะซื้อขายหรือสัญญาวางมัดจำสัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทย่อมมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายจึงตกเป็นโมฆะไม่มีผลบังคับตั้งแต่วันทำสัญญาจะซื้อจะขายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา113ซึ่งบังคับใช้อยู่ในขณะนั้นโจทก์และจำเลยจะอ้างว่าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิดสัญญาและบังคับเอาประโยชน์แห่งสัญญาจากอีกฝ่ายหนึ่งไม่ได้ โจทก์ไม่รู้มาก่อนทำสัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทว่าที่พิพาทเป็นที่ดินที่อยู่ในเขตหวงห้ามเพื่อประโยชน์ในทางราชการทหารการวางมัดจำจำนวน300,000บาทของโจทก์ต่อจำเลยจึงมิใช่เป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจตามความที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา407เมื่อการวางมัดจำของโจทก์ต่อจำเลยมิได้เป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจการรับเงินมัดจำจำนวน300,000บาทของจำเลยก็เป็นการรับไว้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้และเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบจำเลยจึงต้องคืนเงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา406
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 602/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดินหวงห้ามเป็นโมฆะ การคืนเงินมัดจำ
ที่พิพาทเป็นที่ดินหวงห้ามเพื่อประโยชน์ในราชการทหารที่ห้ามมิให้ผู้ใดเข้าหักร้าง จัดทำ หรือปลูกสร้างด้วยประการใด ๆ ในที่ดิน เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากเจ้าหน้าที่ เช่นนี้ ที่พิพาทก็เป็นทรัพย์สินซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินจะโอนแก่กันมิได้ เว้นแต่อาศัยอำนาจแห่งกฎหมายเฉพาะหรือพระราช-กฤษฎีกาตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1305 การที่โจทก์และจำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทกันตามหนังสือสัญญาจะซื้อขายหรือสัญญาวางมัดจำ สัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทย่อมมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายจึงตกเป็นโมฆะไม่มีผลบังคับตั้งแต่วันทำสัญญาจะซื้อจะขายตาม ป.พ.พ.มาตรา 113 ซึ่งบังคับใช้อยู่ในขณะนั้น โจทก์และจำเลยจะอ้างว่าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิดสัญญาและบังคับเอาประโยชน์แห่งสัญญาจากอีกฝ่ายหนึ่งไม่ได้
โจทก์ไม่รู้มาก่อนทำสัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทว่า ที่พิพาทเป็นที่ดินที่อยู่ในเขตหวงห้ามเพื่อประโยชน์ในทางราชการทหาร การวางมัดจำจำนวน300,000 บาท ของโจทก์ต่อจำเลยจึงมิใช่เป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจ ตามความที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 407 เมื่อการวางมัดจำของโจทก์ต่อจำเลยมิได้เป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจ การรับเงินมัดจำจำนวน 300,000 บาทของจำเลยก็เป็นการรับไว้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้และเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบ จำเลยจึงต้องคืนเงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 406
โจทก์ไม่รู้มาก่อนทำสัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทว่า ที่พิพาทเป็นที่ดินที่อยู่ในเขตหวงห้ามเพื่อประโยชน์ในทางราชการทหาร การวางมัดจำจำนวน300,000 บาท ของโจทก์ต่อจำเลยจึงมิใช่เป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจ ตามความที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 407 เมื่อการวางมัดจำของโจทก์ต่อจำเลยมิได้เป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจ การรับเงินมัดจำจำนวน 300,000 บาทของจำเลยก็เป็นการรับไว้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้และเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบ จำเลยจึงต้องคืนเงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 406
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6129/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยินยอมให้ลดค่าธรรมเนียมและภาษีโดยมิชอบ ทำให้ไม่มีสิทธิเรียกร้องเงินคืน
โจทก์รู้เห็นยินยอมให้จำเลยนำเงินไปมอบให้เจ้าพนักงานเพื่อให้มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการโอนที่ดินและค่าภาษีให้น้อยลงเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนต่อกฎหมายโดยโจทก์รู้อยู่แล้วว่าโจทก์ไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระเงินส่วนที่เหลือจากค่าธรรมเนียมและค่าภาษีการโอนโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกเงินคืนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา407
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6129/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหลีกเลี่ยงภาษีและการยินยอมให้ผู้อื่นกระทำผิดกฎหมาย ทำให้สิทธิเรียกร้องเงินคืนไม่มีผลบังคับ
โจทก์รู้เห็นยินยอมให้จำเลยนำเงินไปมอบให้เจ้าพนักงาน เพื่อให้มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการโอนที่ดินและค่าภาษี ให้น้อยลง เป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนต่อกฎหมายโดยโจทก์ รู้อยู่แล้วว่าโจทก์ไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระเงิน ส่วนที่เหลือจากค่าธรรมเนียมและค่าภาษีการโอน โจทก์ไม่มีสิทธิ เรียกเงินคืนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 407
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3236/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิรุธสัญญากู้และการแปลงหนี้ รวมดอกเบี้ยเกินอัตราเป็นต้นเงิน ศาลฎีกาวินิจฉัยสัญญากู้เป็นโมฆะ
จำเลยไม่ชำระหนี้เงินกู้ตามสัญญากู้ โจทก์จำเลยจึงตกลงแปลงหนี้ตามสัญญากู้นั้น ซึ่งรวมดอกเบี้ยเกินอัตราและคิดโดยวิธีทบต้นมาเป็นต้นเงินกู้ด้วย ดังนี้ ส่วนที่เป็นดอกเบี้ยเกินอัตราและคิดโดยวิธีทบต้น จึงต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 113มาตรา 654 และมาตรา 655 จำเลยชำระหนี้ให้โจทก์เป็นเงิน 5,080 บาท แต่หนี้ที่จำเลยชำระเป็นดอกเบี้ยเกินอัตราที่คิดโดยวิธีทบต้น เพราะหลังจากชำระเงินจำนวนนั้นให้โจทก์ก็ไม่ปรากฏว่าต้นเงินกู้ได้ลดลงแต่ประการใดดังนั้น จำนวนเงินที่จำเลยชำระจึงเป็นการชำระหนี้ไปตามอำเภอใจจะนำเงินจำนวนนั้นมาหักต้นเงินกู้ที่จำเลยจะต้องชำระให้โจทก์ไม่ได้ทั้งจะนำมาหักหนี้ดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดก็ไม่ได้ด้วย เพราะจำเลยมิได้ชำระดอกเบี้ยจำนวนนั้น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4165/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งเงินตามหมายอายัดโดยเข้าใจผิด และสิทธิในการติดตามเอาคืนจากผู้รับเงินไปโดยมิชอบ
ช. เจ้าหนี้โจทก์ได้โอนสิทธิการรับเงินค่าก่อสร้างให้ ก.และโจทก์ยอมรับว่าจะจ่ายให้ ก. แล้ว สิทธิการรับเงินของ ช.ย่อมหมดไป การที่โจทก์ส่งเงินดังกล่าวให้ศาลตามหมายอายัดเป็นความเข้าใจผิดของโจทก์ โจทก์มีสิทธิติดตามเอาคืนได้ โจทก์ส่งเงินค่าก่อสร้างที่ยังค้างชำระ ช. ให้แก่ศาลตามหมายอายัดในคดีที่ ช. เจ้าหนี้โจทก์ถูกจำเลยฟ้อง โดยโจทก์เข้าใจว่ามีหน้าที่ต้องส่งและศาลคงอายัดไม่ส่งไปชำระหนี้แก่ผู้ใดจะถือว่าโจทก์กระทำตามอำเภอใจเหมือนหนึ่งว่าเพื่อชำระหนี้โดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 407 ไม่ได้ โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์มีสิทธิติดตามเอาเงินที่โจทก์ส่งศาลตามหมายอายัด ซึ่งจำเลยกับ ช. ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันให้จำเลยรับเงินดังกล่าวไปคืนจากจำเลยได้ เป็นการใช้สิทธิติดตามและเอาคืนทรัพย์สินของโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1336 จึงไม่มีอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4165/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งเงินชำระหนี้ตามหมายอายัดศาลโดยเข้าใจผิด และสิทธิในการติดตามเงินคืน
ช. เจ้าหนี้โจทก์ได้โอนสิทธิการรับเงินค่าก่อสร้างให้ ก.และโจทก์ยอมรับว่าจะจ่ายให้ ก. แล้ว สิทธิการรับเงินของ ช.ย่อมหมดไป การที่โจทก์ส่งเงินดังกล่าวให้ศาลตามหมายอายัดเป็นความเข้าใจผิดของโจทก์ โจทก์มีสิทธิติดตามเอาคืนได้ โจทก์ส่งเงินค่าก่อสร้างที่ยังค้างชำระแก่ศาลในคดีที่ ช.เจ้าหนี้เดิมถูกจำเลยฟ้องเพราะมีหมายอายัดมา โจทก์จึงเข้าใจว่าต้องส่งไปให้ศาลและศาลคงอายัดไม่ได้ส่งไปชำระหนี้ผู้ใด การที่จำเลยกับ ช. ประนีประนอมยอมความกัน โดยจำเลยยอมรับเงินที่โจทก์ส่งศาล จะถือว่าโจทก์กระทำตามอำเภอใจเหมือนหนึ่งว่าเพื่อชำระหนี้โดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระตาม ป.พ.พ.มาตรา 407 ไม่ได้ การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่ามีสิทธิติดตามเอาเงินคืนจากจำเลยได้เป็นการใช้สิทธิติดตามตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ซึ่งไม่มีอายุความบัญญัติห้ามไว้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4165/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งเงินชำระหนี้ตามหมายอายัดศาลโดยเข้าใจผิด และสิทธิในการติดตามเอาเงินคืน
ช. เจ้าหนี้โจทก์ได้โอนสิทธิการรับเงินค่าก่อสร้างให้ ก. และโจทก์ยอมรับว่าจะจ่ายให้ ก. แล้ว สิทธิการรับเงินของ ช. ย่อมหมดไป การที่โจทก์ส่งเงินดังกล่าวให้ศาลตามหมายอายัดเป็นความเข้าใจผิดของโจทก์ โจทก์มีสิทธิติดตามเอาคืนได้
โจทก์ส่งเงินค่าก่อสร้างที่ยังค้างชำระแก่ศาลในคดีที่ ช. เจ้าหนี้เดิมถูกจำเลยฟ้องเพราะมีหมายอายัดมา โจทก์จึงเข้าใจว่าต้องส่งไปให้ศาลและศาลคงอายัดไม่ได้ส่งไปชำระหนี้ผู้ใด การที่จำเลยกับ ช. ประนีประนอมยอมความกัน โดยจำเลยยอมรับเงินที่โจทก์ส่งศาล จะถือว่าโจทก์กระทำตามอำเภอใจเหมือนหนึ่งว่าเพื่อชำระหนี้โดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระตาม ป.พ.พ. มาตรา 407 ไม่ได้
การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่ามีสิทธิติดตามเอาเงินคืนจากจำเลยได้เป็นการใช้สิทธิติดตามตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ซึ่งไม่มีอายุความบัญญัติห้ามไว้
โจทก์ส่งเงินค่าก่อสร้างที่ยังค้างชำระแก่ศาลในคดีที่ ช. เจ้าหนี้เดิมถูกจำเลยฟ้องเพราะมีหมายอายัดมา โจทก์จึงเข้าใจว่าต้องส่งไปให้ศาลและศาลคงอายัดไม่ได้ส่งไปชำระหนี้ผู้ใด การที่จำเลยกับ ช. ประนีประนอมยอมความกัน โดยจำเลยยอมรับเงินที่โจทก์ส่งศาล จะถือว่าโจทก์กระทำตามอำเภอใจเหมือนหนึ่งว่าเพื่อชำระหนี้โดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระตาม ป.พ.พ. มาตรา 407 ไม่ได้
การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่ามีสิทธิติดตามเอาเงินคืนจากจำเลยได้เป็นการใช้สิทธิติดตามตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ซึ่งไม่มีอายุความบัญญัติห้ามไว้