คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 407

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 114 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2819/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างและค่าจ้าง: การยอมรับความเป็นลูกจ้าง, ค่าครองชีพเป็นค่าจ้าง, การจ่ายค่าจ้างเกิน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยจ้าง โจทก์เป็นลูกจ้างประจำ โดยให้ทำงานที่โรงงานกระดาษบางปะอิน แล้วจำเลยได้เลิกจ้างโจทก์แม้จำเลยให้การในตอนต้นว่า จำเลยไม่เคยว่าจ้างโจทก์ ไม่มีนิติสัมพันธ์ทางการจ้าง หรือสัญญาจ้างกับโจทก์ แต่จำเลยได้ให้การเป็นข้อต่อมาว่า โจทก์ทุกคนถูกโรงงานกระดาษบางปะอินเลิกจ้างตั้งแต่วันที่ 21 มกราคม 2531 โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าจ้างเพียงวันที่ 21 มกราคม 2531 หลังจากนั้นโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างอีก ที่โรงงานกระดาษบางปะอินจ่ายค่าจ้างงวดเดือนมกราคม 2531จนถึงวันที่ 31 มกราคม 2531 เป็นจำนวนเกินกว่าที่มีสิทธิได้รับจึงฟ้องแย้งเรียกค่าจ้างที่จ่ายเกินจากโจทก์ตามคำให้การดังกล่าวย่อมเห็นได้ชัดว่าจำเลยได้เลิกจ้างโจทก์ จึงมีผลเป็นการยอมรับอยู่ในตัวว่า โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยและจำเลยได้เลิกจ้างโจทก์เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2531 ตามฟ้อง ทั้งจำเลยยังฟ้องแย้งเรียกค่าจ้างที่อ้างว่าได้จ่ายเกินจากโจทก์อีกด้วย จึงไม่มีประเด็นว่าโจทก์เป็นลูกจ้างประจำของจำเลยหรือไม่ จำเลยจ่ายค่าครองชีพให้แก่โจทก์มีจำนวนแน่นอน เป็นการประจำทุกเดือนเพื่อตอบแทนการทำงานเช่นเดียวกับค่าจ้างค่าครองชีพจึงเป็นค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน และระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยบำเหน็จลูกจ้าง จำเลยรู้ดีอยู่ว่าโจทก์ทุกคนมีสิทธิได้รับค่าจ้างเพียงถึงวันที่ 21 มกราคม 2531 เท่านั้น การที่จำเลยจ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์หลังจากวันดังกล่าวจนถึงวันที่ 31 เดือนเดียวกัน จึงเป็นการจ่ายตามอำเภอใจโดยไม่ปรากฏเหตุที่จะทำให้สำคัญผิดแต่ประการใดจำเลยไม่มีสิทธิเรียกเงินคืน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2819/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้าง, ค่าจ้าง, ค่าบำเหน็จ, ค่าครองชีพ: การจ่ายค่าจ้างเกิน, การยอมรับความสัมพันธ์นายจ้าง-ลูกจ้าง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยจ้างโจทก์เป็นลูกจ้างประจำ โดยให้ทำงานที่โรงงานกระดาษบางปะอิน แล้วจำเลยได้เลิกจ้างโจทก์แม้จำเลยให้การในตอนต้นว่า จำเลยไม่เคยว่าจ้างโจทก์ ไม่มีนิติสัมพันธ์ทางการจ้างหรือสัญญาจ้างกับโจทก์ แต่จำเลยได้ให้การเป็นข้อต่อมาว่า โจทก์ทุกคนถูกโรงงานกระดาษบางปะอินเลิกจ้างตั้งแต่วันที่ 21 มกราคม 2531 โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าจ้างเพียงวันที่ 21 มกราคม 2531 หลังจากนั้นโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างอีก ที่โรงงานกระดาษบางปะอินจ่ายค่าจ้างงวดเดือนมกราคม 2531จนถึงวันที่ 31 มกราคม 2531 เป็นจำนวนเกินกว่าที่มีสิทธิได้รับจึงฟ้องแย้งเรียกค่าจ้างที่จ่ายเกินจากโจทก์ ตามคำให้การดังกล่าวย่อมเห็นได้ชัดว่าจำเลยได้เลิกจ้างโจทก์ จึงมีผลเป็นการยอมรับอยู่ในตัวว่า โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยและจำเลยได้เลิกจ้างโจทก์เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2531 ตามฟ้อง ทั้งจำเลยยังฟ้องแย้งเรียกค่าจ้างที่อ้างว่าได้จ่ายเกินจากโจทก์อีกด้วย จึงไม่มีประเด็นว่าโจทก์เป็นลูกจ้างประจำของจำเลยหรือไม่ จำเลยจ่ายค่าครองชีพให้แก่โจทก์มีจำนวนแน่นอนเป็นการประจำทุกเดือนเพื่อตอบแทนการทำงานเช่นเดียวกับค่าจ้าง ค่าครองชีพจึงเป็นค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานและระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยบำเหน็จลูกจ้าง จำเลยรู้ดีอยู่ว่าโจทก์ทุกคนมีสิทธิได้รับค่าจ้างเพียงถึงวันที่ 21 มกราคม 2531 เท่านั้น การที่จำเลยจ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์หลังจากวันดังกล่าวจนถึงวันที่ 31 เดือนเดียวกัน จึงเป็นการจ่ายตามอำเภอใจโดยไม่ปรากฏเหตุที่จะทำให้สำคัญผิดแต่ประการใด จำเลยไม่มีสิทธิเรียกเงินคืน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 533/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดเป็นโมฆะ ผู้กู้ไม่มีสิทธิหักดอกเบี้ยที่ชำระแล้วออกจากเงินต้น
แม้การกู้ยืมเงินโดยตกลงให้มีการคิดดอกเบี้ยในอัตราเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ดอกเบี้ยสำหรับต้นเงินกู้ตกเป็นโมฆะทั้งหมดก็ตามแต่จำเลยก็ไม่มีสิทธินำดอกเบี้ยที่เป็นโมฆะซึ่งได้ชำระแก่โจทก์ไปหักกับต้นเงินให้ลดน้อยลงไปได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 407

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 533/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยเกินกฎหมาย: ดอกเบี้ยเป็นโมฆะทั้งสิ้น ไม่สามารถนำไปหักกับเงินต้นได้
การกู้ยืมเงินโดย ตกลง ให้มีการคิดดอกเบี้ย ในอัตราเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ดอกเบี้ย สำหรับต้น เงินกู้ตก เป็นโมฆะทั้งหมดจำเลยไม่มีสิทธินำดอกเบี้ย ที่เป็นโมฆะไปหักกับต้นเงินให้ลดน้อยลงไปได้ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 407.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 533/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยเกินกฎหมายทำให้ดอกเบี้ยเป็นโมฆะ จำเลยต้องชำระต้นเงินกู้
จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์โดยโจทก์จำเลยตกลงให้มีการคิดดอกเบี้ยในอัตราเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ดอกเบี้ยสำหรับต้นเงินกู้จึงตกเป็นโมฆะทั้งหมด จำเลยไม่มีสิทธินำดอกเบี้ยที่ชำระให้โจทก์ไปแล้วซึ่งตกเป็นโมฆะนั้นไปหักกับต้นเงินให้ลดน้อยลงไปได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 407 เมื่อจำเลยยังไม่ได้ชำระต้นเงิน จำเลยจึงยังต้องรับผิดชำระต้นเงินให้แก่โจทก์.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3926/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โมฆะสัญญาซื้อขาย & การชำระหนี้เพื่อประโยชน์จำเลย: สิทธิเรียกร้องเงินคืนจากผู้รับประโยชน์
จำเลยขายที่พิพาทให้โจทก์ โดยให้โจทก์ไถ่ถอนการขายฝากจาก ส. เป็นการชำระเงินค่าที่พิพาทส่วนหนึ่ง โจทก์นำที่พิพาทไปจำนองกับธนาคารเพื่อประกันหนี้เงินที่โจทก์กู้มาไถ่ถอนการขายฝาก ต่อมาจำเลยฟ้องโจทก์และศาลฎีกาพิพากษาว่า สัญญาซื้อขายเกิดขึ้นด้วยการแสดงเจตนาลวง ตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 118 ปรากฏว่าโจทก์ได้ผ่อนชำระหนี้เงินกู้และดอกเบี้ยให้แก่ธนาคารไปตามสัญญาจำนองก่อนแล้วจำนวน 106,373.20 บาท จำเลยคงชำระเงินส่วนที่เหลือแก่ธนาคารเป็นการไถ่ถอนการจำนองอีกเพียง 26,601.44 บาท จึงเป็นกรณีที่จำเลยได้รับที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมาในสภาพที่ปลอดจำนองด้วยเงินที่โจทก์ชำระไปส่วนหนึ่ง ซึ่งจำเลยไม่มีมูลอันจะอ้างกฎหมายได้และทำให้โจทก์เสียเปรียบ ทั้งโจทก์มิได้ชำระหนี้ไปตามอำเภอใจ จำเลยจึงต้องชำระเงินจำนวนดังกล่าวคืนแก่โจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 406 โจทก์ทราบคำพิพากษาศาลฎีกาซึ่งถือว่าเป็นวันที่รู้ว่าตนมีสิทธิเรียกเงินคืน อายุความจึงเริ่มนับแต่วันดังกล่าว มิใช่นับแต่วันทำสัญญาซื้อขาย เมื่อฟ้องคดีนี้ยังไม่พ้นกำหนด 1 ปีนับแต่เวลาที่ทราบคำพิพากษาศาลฎีกา จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3926/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนเงินค่าไถ่จำนองเมื่อสัญญาซื้อขายเป็นโมฆะ และประเด็นอายุความ
จำเลยขายที่พิพาทให้โจทก์ โดยให้โจทก์ไถ่ถอนการขายฝากจาก ส.เป็นการชำระเงินค่าที่พิพาทส่วนหนึ่ง โจทก์นำที่พิพาทไปจำนองกับธนาคารเพื่อประกันหนี้เงินที่โจทก์กู้มาไถ่ถอนการขายฝาก ต่อมาจำเลยฟ้องโจทก์และศาลฎีกาพิพากษาว่า สัญญาซื้อขายเกิดขึ้นด้วยการแสดงเจตนาลวง ตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 118 ปรากฏว่าโจทก์ได้ผ่อนชำระหนี้เงินกู้และดอกเบี้ยให้แก่ธนาคารไปตามสัญญาจำนองก่อนแล้วจำนวน 106,373.20 บาทจำเลยคงชำระเงินส่วนที่เหลือแก่ธนาคารเป็นการไถ่ถอนการจำนองอีกเพียง 26,601.44 บาทจึงเป็นกรณีที่จำเลยได้รับที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมาในสภาพที่ปลอดจำนองด้วยเงินที่โจทก์ชำระไปส่วนหนึ่ง ซึ่งจำเลยไม่มีมูลอันจะอ้างกฎหมายได้และทำให้โจทก์เสียเปรียบ ทั้งโจทก์มิได้ชำระหนี้ไปตามอำเภอใจ จำเลยจึงต้องชำระเงินจำนวนดังกล่าวคืนแก่โจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 406 โจทก์ทราบคำพิพากษาศาลฎีกาซึ่งถือว่าเป็นวันที่รู้ว่าตนมีสิทธิเรียกเงินคืนอายุความจึงเริ่มนับแต่เวลาดังกล่าว มิใช่นับแต่วันทำสัญญาซื้อขายเมื่อฟ้องคดีนี้ไม่พ้นกำหนด 1 ปีนับแต่วันเวลาที่ทราบคำพิพากษาศาลฎีกา จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3215-3218/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกคืนภาษีการค้า: การชำระภาษีโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมาย ไม่ถือเป็นการรับชำระหนี้โดยไม่มีมูล อายุความ 10 ปี
กรมสรรพากรจำเลยที่ 5 ฎีกาและยื่นคำร้องว่า กำลังดำเนินการโอนเงินมาเพื่อวางศาลเป็นค่าฤชาธรรมเนียม ขอผัดการวางเงินประมาณ 1 เดือนดังนี้ เป็นการขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าฤชาธรรมเนียมมีกำหนดแน่นอนเท่าที่จะทำได้ ต่อมาจำเลยที่ 5 นำเงินค่าฤชาธรรมเนียมมาวางศาลภายใน 1 เดือนตามที่ขอผัดไว้ ที่ศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตตามคำร้องและสั่งรับฎีกาจำเลยที่ 5 จึงชอบแล้ว
โจทก์ชำระเงินค่าภาษีอากรตามที่ฝ่ายจำเลยเรียกเก็บโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมาย จำเลยจะอ้างว่าโจทก์กระทำตามอำเภอใจเพื่อชำระหนี้โดยตนรู้ว่าไม่มีความผูกพันที่ต้องชำระอันเป็นลาภมิควรได้ซึ่งมีอายุความ 1 ปีหาได้ไม่ เมื่อโจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกคืนได้ภายในอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 164.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2013/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงบัญชีซ้ำซ้อนและความรับผิดชอบในการคืนเงิน กรณีจำเลยนำเงินไปใช้ประโยชน์
จำเลยนำเช็คจำนวนเงิน 120,000 บาท เข้าฝากในบัญชีออมทรัพย์ที่ธนาคารโจทก์ โจทก์ลงบัญชีซ้ำอีกครั้งหนึ่ง รวมเป็นเงิน240,000 บาท จำเลยได้ถอนเงินออกจากบัญชีเหลือเพียง 57 บาท 32สตางค์ ดังนี้ โจทก์มีสิทธิเรียกเงิน 120,000 บาท คืนได้ กรณีเป็นเรื่องลงบัญชีซ้ำซ้อนเนื่องจากความพลั้งเผลอหาใช่เป็นการกระทำการตามอำเภอใจเหมือนหนึ่งว่าเพื่อชำระหนี้โดยรู้อยู่แล้วว่าไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 407 ไม่ และการที่จำเลยปฏิเสธไม่คืนเงินให้แก่โจทก์ตามคำบอกกล่าว จำเลยจึงผิดนัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 204 วรรคสอง.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 999/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมายและการคิดดอกเบี้ยหลังบอกกล่าวบังคับจำนอง
โจทก์คิดดอกเบี้ยร้อยละ 60 ต่อปีซึ่งเกินอัตราดอกเบี้ยตามป.พ.พ. มาตรา 654 และเป็นความผิดต่อ พ.ร.บ. ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา ฯ ข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยเป็นโมฆะ จำเลยไม่มีสิทธินำเงินดอกเบี้ยที่ชำระเกินไปหักเงินต้นให้ลดน้อยลงได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 407
การจำนองมิได้กำหนดระยะเวลาไว้ เมื่อโจทก์บอกกล่าวบังคับจำนองแล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง และมีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้ตั้งแต่วันที่จำเลยผิดนัดในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 224
of 12