พบผลลัพธ์ทั้งหมด 114 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 999/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยผิดกฎหมาย สัญญาจำนอง และอำนาจฟ้องบังคับจำนอง
โจทก์คิดดอกเบี้ยร้อยละ 60 ต่อปีซึ่งเกินอัตราดอกเบี้ยตามป.พ.พ. มาตรา 654 และเป็นความผิดต่อ พ.ร.บ. ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา ฯ ข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยเป็นโมฆะ จำเลยไม่มีสิทธินำเงินดอกเบี้ยที่ชำระเกินไปหักเงินต้นให้ลดน้อยลงได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 407
การจำนองมิได้กำหนดระยะเวลาไว้ เมื่อโจทก์บอกกล่าวบังคับจำนองแล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง และมีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้ตั้งแต่วันที่จำเลยผิดนัดในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 224.
การจำนองมิได้กำหนดระยะเวลาไว้ เมื่อโจทก์บอกกล่าวบังคับจำนองแล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง และมีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้ตั้งแต่วันที่จำเลยผิดนัดในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 224.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 999/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมาย สัญญาเป็นโมฆะ ศาลแก้ไขดอกเบี้ยเป็นอัตราตามกฎหมาย
โจทก์คิดดอกเบี้ยร้อยละ 60 ต่อปีซึ่งเกินอัตราดอกเบี้ยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 654 และเป็นความผิดต่อพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475 ข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยเป็นโมฆะ จำเลยไม่มีสิทธินำเงินดอกเบี้ยที่ชำระแล้วไปหักเงินต้นให้ลดน้อยลงได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 407 การจำนองมิได้กำหนดระยะเวลาไว้ เมื่อโจทก์บอกกล่าวบังคับ จำนองแล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง และมีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้ตั้งแต่วันที่จำเลยผิดนัดในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4062/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ่ายค่ากะซ้ำซ้อนกับค่าทำงานในวันหยุด และการเรียกร้องเงินคืนจากความผิดพลาดในการคำนวณค่าจ้าง
ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 56 นั้น หากข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานรับฟังมายังไม่เพียงพอที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยข้อกฎหมาย ศาลฎีกาไม่มีอำนาจวินิจฉัยข้อเท็จจริงเอง แต่ต้องให้ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงเพิ่มเติมเพื่อศาลฎีกาจะได้วินิจฉัยข้อกฎหมายตามที่คู่ความอุทธรณ์ต่อไป
เดิมโจทก์ซึ่งทำงานเป็นกะจะได้รับค่าล่วงเวลาหรือค่าทำงานในวันหยุดเฉพาะที่ทำงานตรงกับวันหยุด ต่อมาจำเลยออกข้อบังคับว่าด้วยเงินเพิ่มสำหรับผู้ปฏิบัติงานกะ กำหนดอัตราเงินเพิ่มให้แก่ผู้ปฏิบัติงานกะทุกคนโดยให้ทุกคนมีสิทธิได้รับทุกวันที่มาปฏิบัติงาน แม้จะไม่ตรงกับวันหยุดและโจทก์ได้รับเงินเพิ่มเป็นจำนวนมาก ดังนี้ แสดงว่าจำเลยมีเจตนาที่จะจ่ายเงินเพิ่มค่ากะดังกล่าวเป็นค่าทำงานในวันหยุดไปในตัวทั้งมิได้มีกฎหมายใดบัญญัติห้ามมิให้กำหนดการจ่ายเงินค่ากะโดยให้รวมค่าทำงานในวันหยุดไว้ด้วย โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาค่าทำงานในวันหยุดจากจำเลยอีกได้.
โจทก์ได้รับเงินค่าทำงานในวันหยุดตามประเพณีตามข้อบังคับเดิมจากจำเลยไปแล้วจำนวนหนึ่ง ต่อมาจำเลยได้ออกข้อบังคับว่าด้วยเงินเพิ่มสำหรับผู้ปฏิบัติงานกะโดยให้มีผลบังคับย้อนหลังไปด้วย และโจทก์ได้รับเงินเพิ่มสำหรับผู้ปฏิบัติงานกะไปตามข้อบังคับใหม่ครบถ้วนแล้วซึ่งเป็นการซ้ำซ้อนกับเงินที่ได้รับไปแล้วเช่นนี้ จำเลยย่อมมีสิทธิเรียกร้องเงินค่าทำงานในวันหยุดที่จ่ายตามข้อบังคับเดิมพร้อมดอกเบี้ยคืนจากโจทก์ได้.
เดิมโจทก์ซึ่งทำงานเป็นกะจะได้รับค่าล่วงเวลาหรือค่าทำงานในวันหยุดเฉพาะที่ทำงานตรงกับวันหยุด ต่อมาจำเลยออกข้อบังคับว่าด้วยเงินเพิ่มสำหรับผู้ปฏิบัติงานกะ กำหนดอัตราเงินเพิ่มให้แก่ผู้ปฏิบัติงานกะทุกคนโดยให้ทุกคนมีสิทธิได้รับทุกวันที่มาปฏิบัติงาน แม้จะไม่ตรงกับวันหยุดและโจทก์ได้รับเงินเพิ่มเป็นจำนวนมาก ดังนี้ แสดงว่าจำเลยมีเจตนาที่จะจ่ายเงินเพิ่มค่ากะดังกล่าวเป็นค่าทำงานในวันหยุดไปในตัวทั้งมิได้มีกฎหมายใดบัญญัติห้ามมิให้กำหนดการจ่ายเงินค่ากะโดยให้รวมค่าทำงานในวันหยุดไว้ด้วย โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาค่าทำงานในวันหยุดจากจำเลยอีกได้.
โจทก์ได้รับเงินค่าทำงานในวันหยุดตามประเพณีตามข้อบังคับเดิมจากจำเลยไปแล้วจำนวนหนึ่ง ต่อมาจำเลยได้ออกข้อบังคับว่าด้วยเงินเพิ่มสำหรับผู้ปฏิบัติงานกะโดยให้มีผลบังคับย้อนหลังไปด้วย และโจทก์ได้รับเงินเพิ่มสำหรับผู้ปฏิบัติงานกะไปตามข้อบังคับใหม่ครบถ้วนแล้วซึ่งเป็นการซ้ำซ้อนกับเงินที่ได้รับไปแล้วเช่นนี้ จำเลยย่อมมีสิทธิเรียกร้องเงินค่าทำงานในวันหยุดที่จ่ายตามข้อบังคับเดิมพร้อมดอกเบี้ยคืนจากโจทก์ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4133/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมาย: การชำระหนี้โดยสมัครใจไม่มีสิทธิเรียกคืน
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกู้เงินโจทก์กำหนดดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี โดยสัญญากู้ระบุว่า ดอกเบี้ยตามกฎหมาย แต่โจทก์นำสืบว่า ขั้นแรกตกลงคิดดอกเบี้ยกันอัตราร้อยละ 5 ต่อเดือน ต่อมาลดลงเหลือร้อยละ 3 ต่อเดือน จำนวนเงินที่จำเลยชำระมาแล้วเป็นการชำระดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมาย จำเลยยังมิได้ชำระต้นเงินกู้ทั้งยังค้างชำระดอกเบี้ยอีกสามหมื่นบาทเศษ จึงฟ้องเรียกต้นเงินกู้เต็มจำนวนกับดอกเบี้ยตามที่ระบุในสัญญานับตั้งแต่วันกู้ ดังนี้เป็นการนำสืบเรื่องรายละเอียดแห่งข้อเท็จจริงในมูลกรณีที่ฟ้อง เมื่อได้ความว่าโจทก์เรียกดอกเบี้ยเกินอัตราเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พุทธศักราช 2475 มาตรา 3ประกอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 654 อันเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลย่อมมีอำนาจยกขึ้นปรับแก่คดีได้เองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 (5) ทั้งการรับฟังพยานบุคคลว่าหนี้ที่ระบุไว้ในเอกสารไม่สมบูรณ์ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 ข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยจึงเป็นโมฆะ
การที่จำเลยสมยอมชำระดอกเบี้ยเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดแก่โจทก์ ถือว่าเป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจโดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 407 จำเลยไม่มีสิทธิเรียกคืนจึงจะให้นำไปหักดอกเบี้ยตามกฎหมายหรือหักจากยอดต้นเงินไม่ได้
การที่จำเลยสมยอมชำระดอกเบี้ยเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดแก่โจทก์ ถือว่าเป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจโดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 407 จำเลยไม่มีสิทธิเรียกคืนจึงจะให้นำไปหักดอกเบี้ยตามกฎหมายหรือหักจากยอดต้นเงินไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4133/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมาย: ศาลมีอำนาจปรับปรุงสัญญาและจำเลยไม่มีสิทธิเรียกคืน
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกู้เงินโจทก์กำหนดดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี โดยสัญญากู้ระบุว่า ดอกเบี้ยตามกฎหมาย แต่โจทก์นำสืบว่า ขั้นแรกตกลงคิดดอกเบี้ยกันอัตราร้อยละ 5 ต่อเดือน ต่อมาลดลงเหลือร้อยละ 3 ต่อเดือนจำนวนเงินที่จำเลยชำระมาแล้วเป็นการชำระดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมาย จำเลยยังมิได้ชำระต้นเงินกู้ทั้งยังค้างชำระดอกเบี้ยอีกสามหมื่นบาทเศษ จึงฟ้องเรียกต้นเงินกู้เต็มจำนวนกับดอกเบี้ยตามที่ระบุในสัญญานับตั้งแต่วันกู้ ดังนี้เป็นการนำสืบเรื่องรายละเอียดแห่งข้อเท็จจริงในมูลกรณีที่ฟ้อง เมื่อได้ความว่าโจทก์เรียกดอกเบี้ยเกินอัตราเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พุทธศักราช 2475 มาตรา 3 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 654 อันเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลย่อมมีอำนาจยกขึ้นปรับแก่คดีได้เองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142(5) ทั้งการรับฟังพยานบุคคลว่าหนี้ที่ระบุไว้ในเอกสารไม่สมบูรณ์ ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 ข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยจึงเป็นโมฆะ
การที่จำเลยสมยอมชำระดอกเบี้ยเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดแก่โจทก์ ถือว่าเป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจโดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 407 จำเลยไม่มีสิทธิเรียกคืนจึงจะให้นำไปหักดอกเบี้ยตามกฎหมายหรือหักจากยอดต้นเงินไม่ได้
การที่จำเลยสมยอมชำระดอกเบี้ยเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดแก่โจทก์ ถือว่าเป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจโดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 407 จำเลยไม่มีสิทธิเรียกคืนจึงจะให้นำไปหักดอกเบี้ยตามกฎหมายหรือหักจากยอดต้นเงินไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4133/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมาย: สัญญาเป็นโมฆะ, การชำระหนี้โดยไม่มีความผูกพัน, และการหักหนี้
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกู้เงินโจทก์กำหนดดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีโดยสัญญากู้ระบุว่าดอกเบี้ยตามกฎหมายแต่โจทก์นำสืบว่าขั้นแรกตกลงคิดดอกเบี้ยกันอัตราร้อยละ5ต่อเดือนต่อมาลดลงเหลือร้อยละ3ต่อเดือนจำนวนเงินที่จำเลยชำระมาแล้วเป็นการชำระดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมายจำเลยยังมิได้ชำระต้นเงินกู้ทั้งยังค้างชำระดอกเบี้ยอีกสามหมื่นบาทเศษจึงฟ้องเรียกต้นเงินกู้เต็มจำนวนกับดอกเบี้ยตามที่ระบุในสัญญานับตั้งแต่วันกู้ดังนี้เป็นการนำสืบเรื่องรายละเอียดแห่งข้อเท็จจริงในมูลกรณีที่ฟ้องเมื่อได้ความว่าโจทก์เรียกดอกเบี้ยเกินอัตราเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราพุทธศักราช2475มาตรา3ประกอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา654อันเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลย่อมมีอำนาจยกขึ้นปรับแก่คดีได้เองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142(5)ทั้งการรับฟังพยานบุคคลว่าหนี้ที่ระบุไว้ในเอกสารไม่สมบูรณ์ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา94ข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยจึงเป็นโมฆะ การที่จำเลยสมยอมชำระดอกเบี้ยเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดแก่โจทก์ถือว่าเป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจโดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา407จำเลยไม่มีสิทธิเรียกคืนจึงจะให้นำไปหักดอกเบี้ยตามกฎหมายหรือหักจากยอดต้นเงินไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2557/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้โดยไม่ผูกพันตามกฎหมาย: สิทธิในการเรียกคืนเงินบำเหน็จ
หลังจากพระราชบัญญัติระงับการนับเวลาราชการทวีคูณในระหว่างเวลาประกาศใช้กฎอัยการศึกตามคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินฉบับที่1ลงวันที่6ตุลาคมพ.ศ.2519พ.ศ.2519ออกใช้บังคับแล้วจำเลยก็ยังยึดมั่นในความเห็นของตนตลอดมาว่าจำเลยไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายเงินบำเหน็จโดยคำนวณเวลาทำงานทวีคูณให้แก่พนักงานและคนงานของจำเลยทั้งยังได้โต้แย้งตลอดมาดังนั้นการที่จำเลยเห็นว่าหากจำเลยไม่ยอมปฏิบัติตามคำชี้ขาดของคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาทที่สั่งให้จำเลยจ่ายเงินบำเหน็จโดยคำนวณเวลาทำงานทวีคูณให้แก่พนักงานและคนงานแล้วก็อาจเป็นสาเหตุให้กระทรวงอุตสาหกรรมเลิกสัญญาเช่าโรงงานสุราบางยี่ขันกับจำเลยทำให้จำเลยต้องเสียหายเป็นเงินจำนวนมากนั้นจึงเป็นเรื่องที่จำเลยคาดคิดเอาเองเป็นส่วนตัวและไม่แน่นอนเมื่อจำเลยได้จ่ายเงินบำเหน็จโดยรวมเวลาทำงานทวีคูณให้แก่โจทก์ไปแล้วกรณีเป็นเรื่องที่จำเลยกระทำการชำระหนี้ตามอำเภอใจโดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา407จำเลยจึงไม่มีสิทธิเรียกเงินบำเหน็จคืนจากโจทก์ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2557/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้โดยไม่ผูกพันตามกฎหมาย และสิทธิในการเรียกคืนเงินบำเหน็จกรณีพระราชบัญญัติระงับการนับเวลาราชการ
หลังจากพระราชบัญญัติระงับการนับเวลาราชการทวีคูณในระหว่างเวลาประกาศใช้กฎอัยการศึกตามคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 1 ลงวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 พ.ศ. 2519 ออกใช้บังคับแล้ว จำเลยก็ยังยึดมั่นในความเห็นของตนตลอดมาว่า จำเลยไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายเงินบำเหน็จโดยคำนวณเวลาทำงานทวีคูณให้แก่พนักงานและคนงานของจำเลยทั้งยังได้โต้แย้งตลอดมา ดังนั้น การที่จำเลยเห็นว่าหากจำเลยไม่ยอมปฏิบัติตามคำชี้ขาดของคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาทที่สั่งให้จำเลยจ่ายเงินบำเหน็จโดยคำนวณเวลาทำงานทวีคูณให้แก่พนักงานและคนงานแล้วก็อาจเป็นสาเหตุให้กระทรวงอุตสาหกรรมเลิกสัญญาเช่าโรงงานสุราบางยี่ขันกับจำเลย ทำให้จำเลยต้องเสียหายเป็นเงินจำนวนมากนั้น จึงเป็นเรื่องที่จำเลยคาดคิดเอาเองเป็นส่วนตัวและไม่แน่นอน เมื่อจำเลยได้จ่ายเงินบำเหน็จโดยรวมเวลาทำงานทวีคูณให้แก่โจทก์ไปแล้วกรณีเป็นเรื่องที่จำเลยกระทำการชำระหนี้ตามอำเภอใจโดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 407 จำเลยจึงไม่มีสิทธิเรียกเงินบำเหน็จคืนจากโจทก์ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1637/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขเช็คให้สูงขึ้นโดยไม่ประจักษ์ ผู้ทรงเช็คมีสิทธิเรียกเก็บเงินได้เฉพาะจำนวนเดิม การรับเงินส่วนเกินเป็นอันไม่มีมูล
ผู้สั่งจ่ายออกเช็คล่วงหน้าสั่งธนาคารโจทก์จ่ายเงินจำนวนหนึ่งแก่ ช.ต่อมาได้มีการแก้ไขจำนวนเงินในเช็คให้สูงขึ้น แล้ว ส. ได้นำเช็คดังกล่าวมามอบให้ธนาคารจำเลยเพื่อเป็นประกันหนี้เบิกเงินเกินบัญชีของ ส. ครั้นเช็คถึงกำหนดจำเลยได้เรียกเก็บเงินจากโจทก์หักล้างหนี้ของ ส.ต่อมาผู้สั่งจ่ายทราบจึงเรียกเงินคืนจากโจทก์ โจทก์ได้จ่ายเงินจำนวนที่ถูกแก้ไขให้สูงขึ้นแก่ผู้สั่งจ่ายแล้วมาฟ้องเรียกคืนจากจำเลย ดังนี้ เมื่อการแก้ไขเปลี่ยนแปลงจำนวนเงินไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าจึงเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงที่ไม่ประจักษ์ในข้อสำคัญ เมื่อผู้สั่งจ่ายไม่ได้รู้เห็นยินยอมในการแก้ไขด้วย จำเลยผู้ทรงเช็คย่อมมีสิทธิบังคับการใช้เงินตามเช็คได้เพียงจำนวนเงินเดิมก่อนมีการแก้ไขเท่านั้น จำนวนที่เกินเป็นการรับไว้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ เมื่อโจทก์มิได้จ่ายเงินให้จำเลยรับไปตามอำเภอใจ แต่จ่ายไปโดยเชื่อว่าผู้สั่งจ่ายออกเช็คสั่งจ่ายเงินตามจำนวนที่แก้ไข จำเลยจึงต้องคืนเงินส่วนที่รับเกินมาแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันที่โจทก์แจ้งให้ทราบ
แม้ผู้สั่งจ่ายเขียนเช็คเว้นช่องว่างหน้าตัวเลขและตัวหนังสือจำนวนเงินไว้มากเป็นเหตุให้มีการเพิ่มเติมจำนวนเงินได้ง่าย แต่จำนวนเงินส่วนเกินที่จำเลยรับก็เป็นการรับไว้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ หากจำเลยได้รับความเสียหายจากความประมาทเลินเล่อของผู้สั่งจ่ายอย่างไร ก็เป็นเรื่องที่จำเลยจะต้องว่ากล่าวเอาแก่ผู้สั่งจ่าย
แม้ผู้สั่งจ่ายเขียนเช็คเว้นช่องว่างหน้าตัวเลขและตัวหนังสือจำนวนเงินไว้มากเป็นเหตุให้มีการเพิ่มเติมจำนวนเงินได้ง่าย แต่จำนวนเงินส่วนเกินที่จำเลยรับก็เป็นการรับไว้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ หากจำเลยได้รับความเสียหายจากความประมาทเลินเล่อของผู้สั่งจ่ายอย่างไร ก็เป็นเรื่องที่จำเลยจะต้องว่ากล่าวเอาแก่ผู้สั่งจ่าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1637/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คแก้ไขเปลี่ยนแปลงจำนวนเงิน ธนาคารผู้ทรงเช็คต้องคืนเงินส่วนเกินให้ผู้สั่งจ่าย
ผู้สั่งจ่ายออกเช็คล่วงหน้าสั่งธนาคารโจทก์จ่ายเงินจำนวนหนึ่งแก่ ช. ต่อมาได้มีการแก้ไขจำนวนเงินในเช็คให้สูงขึ้น แล้ว ส. ได้นำเช็คดังกล่าวมามอบให้ธนาคารจำเลยเพื่อเป็นประกันหนี้เบิกเงินเกินบัญชีของ ส. ครั้นเช็คถึงกำหนด จำเลยได้เรียกเก็บเงินจากโจทก์หักล้างหนี้ของ ส.ต่อมาผู้สั่งจ่ายทราบจึงเรียกเงินคืนจากโจทก์ โจทก์ได้จ่ายเงินจำนวนที่ถูกแก้ไขให้สูงขึ้นแก่ผู้สั่งจ่ายแล้วมาฟ้องเรียกคืนจากจำเลย ดังนี้ เมื่อการแก้ไขเปลี่ยนแปลงจำนวนเงินไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าจึงเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงที่ไม่ประจักษ์ในข้อสำคัญเมื่อผู้สั่งจ่ายไม่ได้รู้เห็นยินยอมในการแก้ไขด้วย จำเลยผู้ทรงเช็คย่อมมีสิทธิบังคับการใช้เงินตามเช็คได้เพียงจำนวนเงินเดิมก่อนมีการแก้ไขเท่านั้นจำนวนที่เกินเป็นการรับไว้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ เมื่อโจทก์มิได้จ่ายเงินให้จำเลยรับไปตามอำเภอใจ แต่จ่ายไปโดยเชื่อว่าผู้สั่งจ่ายออกเช็คสั่งจ่ายเงินตามจำนวนที่แก้ไข จำเลยจึงต้องคืนเงินส่วนที่รับเกินมาแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันที่โจทก์แจ้งให้ทราบ
แม้ผู้สั่งจ่ายเขียนเช็คเว้นช่องว่างหน้าตัวเลขและตัวหนังสือจำนวนเงินไว้มากเป็นเหตุให้มีการเพิ่มเติมจำนวนเงินได้ง่าย แต่จำนวนเงินส่วนเกินที่จำเลยรับก็เป็นการรับไว้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ หากจำเลยได้รับความเสียหายจากความประมาทเลินเล่อของผู้สั่งจ่ายอย่างไรก็เป็นเรื่องที่จำเลยจะต้องว่ากล่าวเอาแก่ผู้สั่งจ่าย
แม้ผู้สั่งจ่ายเขียนเช็คเว้นช่องว่างหน้าตัวเลขและตัวหนังสือจำนวนเงินไว้มากเป็นเหตุให้มีการเพิ่มเติมจำนวนเงินได้ง่าย แต่จำนวนเงินส่วนเกินที่จำเลยรับก็เป็นการรับไว้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ หากจำเลยได้รับความเสียหายจากความประมาทเลินเล่อของผู้สั่งจ่ายอย่างไรก็เป็นเรื่องที่จำเลยจะต้องว่ากล่าวเอาแก่ผู้สั่งจ่าย