พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5874/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดประเภทธุรกรรมเป็น 'จ้างทำของ' ไม่ใช่ 'ซื้อขาย' และผลกระทบต่อการเสียอากรแสตมป์
โจทก์ประกอบกิจการผลิตชิ้นส่วนคอมเพรสเซอร์โดยในการผลิตชิ้นส่วนคอมเพรสเซอร์ดังกล่าว โจทก์ต้องผลิตตามแบบแม่พิมพ์ที่ทางบริษัท ซ. ซึ่งถือหุ้นในบริษัทโจทก์ร้อยละเก้าสิบห้ากำหนดขึ้น เป็นการผลิตตามแบบรูปทรงและขนาดที่บริษัท ซ. ต้องการและกำหนดให้โจทก์ทำขึ้น โจทก์ต้องผลิตให้แล้วเสร็จตามที่บริษัท ซ. ต้องการโดยมิได้ตีตราหรือยี่ห้อของโจทก์ไว้และโจทก์มิได้นำออกจำหน่ายแก่ลูกค้าทั่ว ๆ ไป นอกจากนี้ในรอบระยะเวลาบัญชีพิพาท โจทก์ได้จดทะเบียนการค้าประเภทการรับจ้างหล่อโลหะ (ชิ้นส่วนคอมเพรสเซอร์ (ไม่สำเร็จรูป) และเหล็กหล่ออื่น ๆ ) เท่านั้น เมื่อโจทก์ผลิตชิ้นส่วนคอมเพรสเซอร์เสร็จและส่งมอบให้บริษัท ซ. โจทก์จะระบุถึงรายละเอียดในการส่งของไว้ตามเอกสารว่าเป็นใบส่งของ และระบุไว้ด้วยว่าส่งตามใบจ้างทำของของบริษัท ซ. พฤติการณ์ต่าง ๆ เห็นได้ชัดว่าการประกอบกิจการของโจทก์เป็นการรับจ้างทำของ ไม่ใช่เป็นเรื่องการซื้อขายดังที่โจทก์อุทธรณ์
ป. รัษฎากร มาตรา 103 บัญญัติว่า "ตราสาร" หมายความว่าเอกสารที่ต้องเสียอากรตามหมวดนี้ และมาตรา 104 บัญญัติว่า ตราสารที่ระบุไว้ในบัญชีท้ายหมวดนี้ ต้องปิดแสตมป์บริบูรณ์ตามอัตราที่กำหนดไว้ในบัญชีนั้น ซึ่งตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ ข้อ 4 ได้บัญญัติลักษณะแห่งตราสาร จ้างทำของ ต้องเสียค่าอากรแสตมป์ 1 บาท ทุกจำนวนเงิน 1,000 บาท หรือเศษของ 1,000 บาท แห่งสินจ้างที่กำหนดไว้ด้วย เอกสารที่บริษัท ซ. มีถึงโจทก์จำนวน 467 ฉบับนั้น มีเพียงพนักงานของบริษัท ซ. ลงลายมือชื่อสั่งจ้างโจทก์ให้ผลิตชิ้นส่วนคอมเพรสเซอร์ส่งให้แก่บริษัท ซ. เท่านั้น โดยไม่มีการลงลายมือชื่อโจทก์หรือพนักงานของโจทก์เป็นผู้รับจ้างแต่อย่างใด เอกสารดังกล่าวจึงเป็นเพียงหลักฐานแห่งการว่าจ้างทำของที่ทำเป็นหนังสือ มิใช่เป็นหนังสือสัญญาว่าจ้างทำของระหว่างโจทก์กับบริษัท ซ. อันจะถือเป็นตราสารที่ต้องเสียอากรแสตมป์ตามความมุ่งหมายของมาตรา 103 และ 104 แห่ง ป. รัษฎากร
ป. รัษฎากร มาตรา 103 บัญญัติว่า "ตราสาร" หมายความว่าเอกสารที่ต้องเสียอากรตามหมวดนี้ และมาตรา 104 บัญญัติว่า ตราสารที่ระบุไว้ในบัญชีท้ายหมวดนี้ ต้องปิดแสตมป์บริบูรณ์ตามอัตราที่กำหนดไว้ในบัญชีนั้น ซึ่งตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ ข้อ 4 ได้บัญญัติลักษณะแห่งตราสาร จ้างทำของ ต้องเสียค่าอากรแสตมป์ 1 บาท ทุกจำนวนเงิน 1,000 บาท หรือเศษของ 1,000 บาท แห่งสินจ้างที่กำหนดไว้ด้วย เอกสารที่บริษัท ซ. มีถึงโจทก์จำนวน 467 ฉบับนั้น มีเพียงพนักงานของบริษัท ซ. ลงลายมือชื่อสั่งจ้างโจทก์ให้ผลิตชิ้นส่วนคอมเพรสเซอร์ส่งให้แก่บริษัท ซ. เท่านั้น โดยไม่มีการลงลายมือชื่อโจทก์หรือพนักงานของโจทก์เป็นผู้รับจ้างแต่อย่างใด เอกสารดังกล่าวจึงเป็นเพียงหลักฐานแห่งการว่าจ้างทำของที่ทำเป็นหนังสือ มิใช่เป็นหนังสือสัญญาว่าจ้างทำของระหว่างโจทก์กับบริษัท ซ. อันจะถือเป็นตราสารที่ต้องเสียอากรแสตมป์ตามความมุ่งหมายของมาตรา 103 และ 104 แห่ง ป. รัษฎากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7268/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจปิดอากรแสตมป์ถูกต้องและผลของการไม่คัดค้านเอกสารพยานหลักฐาน
หนังสือมอบอำนาจมีข้อความว่า "....ฯลฯ.... ข้าพเจ้า อ.ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ในตึกแถวเลขที่ 1/11 ซอยวัฒนโยธิน ถนนราชวิถี แขวงถนนพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร ขอมอบอำนาจให้ ม. ....ฯลฯ....เป็นผู้รับมอบอำนาจให้มีอำนาจกระทำการแทนข้าพเจ้าในกิจการดังต่อไปนี้ ข้อ 1.ให้มีอำนาจเป็นโจทก์ฟ้อง ว.ผู้เช่าตึกแถวดังกล่าวเป็นจำเลยต่อศาลแพ่ง รวมทั้งมีอำนาจแก้ฟ้องแย้งของจำเลย และให้มีอำนาจดำเนินคดีแทนข้าพเจ้าได้ทุกประการ...." การมอบอำนาจตามข้อความที่ระบุไว้ดังกล่าวจึงเป็นเรื่องที่โจทก์มอบอำนาจให้กระทำการครั้งเดียว มิใช่มอบอำนาจทั่วไปให้แก่ ม. จึงต้องปิดอากรแสตมป์เพียง 10 บาท ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 104 และบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ 7 (ก) ดังนั้น เมื่อปรากฏว่าหนังสือมอบอำนาจฉบับนี้ ได้ปิดอากรแสตมป์10 บาท ครบถ้วนแล้วในวันยื่นฟ้อง ศาลจึงรับฟังหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานในคดีได้โดยชอบด้วยกฎหมาย และแม้ภายหลังโจทก์นำหนังสือมอบอำนาจนั้นไปติดอากรแสตมป์เพิ่มอีก 20 บาท โดยไม่ได้รับอนุญาตหรือขออนุญาตปิดอากรแสตมป์จากศาล ก็หามีผลทำให้หนังสือมอบอำนาจนั้นกลับเป็นหนังสือมอบอำนาจที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่อย่างใดไม่
โจทก์ได้ระบุอ้างหนังสือให้ความยินยอมเป็นพยานและได้นำต้นฉบับเอกสารดังกล่าวมาสืบเป็นพยานหลักฐานของโจทก์ในวันสืบพยาน การที่โจทก์มิได้ส่งสำเนาเอกสารดังกล่าวให้แก่จำเลยก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 3 วัน ตามป.วิ.พ.มาตรา 90 วรรคหนึ่ง อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น หากจำเลยเห็นว่าโจทก์ไม่ได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายอันเป็นผิดระเบียบจำเลยจะต้องยื่นคัดค้านเสียภายใน 8 วัน ตามมาตรา 27 แห่ง ป.วิ.พ. เมื่อจำเลยทราบตั้งแต่ขณะที่โจทก์นำต้นฉบับเอกสารดังกล่าวมาสืบแล้วว่าเป็นการผิดระเบียบ แต่จำเลยก็มิได้คัดค้านเสียภายใน 8 วัน นับแต่วันที่จำเลยได้ทราบเช่นนั้น จำเลยจึงไม่อาจยกเหตุดังกล่าวขึ้นมาอุทธรณ์ฎีกาคัดค้านในภายหลังได้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ได้ระบุอ้างหนังสือให้ความยินยอมเป็นพยานและได้นำต้นฉบับเอกสารดังกล่าวมาสืบเป็นพยานหลักฐานของโจทก์ในวันสืบพยาน การที่โจทก์มิได้ส่งสำเนาเอกสารดังกล่าวให้แก่จำเลยก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 3 วัน ตามป.วิ.พ.มาตรา 90 วรรคหนึ่ง อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น หากจำเลยเห็นว่าโจทก์ไม่ได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายอันเป็นผิดระเบียบจำเลยจะต้องยื่นคัดค้านเสียภายใน 8 วัน ตามมาตรา 27 แห่ง ป.วิ.พ. เมื่อจำเลยทราบตั้งแต่ขณะที่โจทก์นำต้นฉบับเอกสารดังกล่าวมาสืบแล้วว่าเป็นการผิดระเบียบ แต่จำเลยก็มิได้คัดค้านเสียภายใน 8 วัน นับแต่วันที่จำเลยได้ทราบเช่นนั้น จำเลยจึงไม่อาจยกเหตุดังกล่าวขึ้นมาอุทธรณ์ฎีกาคัดค้านในภายหลังได้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย