พบผลลัพธ์ทั้งหมด 52 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2286/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจำนองโมฆะ: เจตนาประกันหนี้แต่ไม่ได้จดทะเบียนตามกฎหมาย
สัญญาจะจำนองไม่มีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไม่เหมือนสัญญาจะซื้อขายทรัพย์สินสัญญาจะแลกเปลี่ยนและคำมั่นจะให้ตามมาตรา456วรรคสอง,519,526การที่จำเลยมอบโฉนดที่ดินพร้อมใบมอบอำนาจและเอกสารอื่นให้โจทก์เพื่อจดทะเบียนจำนองประกันหนี้ขาดลดเช็คโดยมีข้อกำหนดให้จดทะเบียนจำนองได้หลังจากเรียกเก็บเงินตามเช็คไม่ได้เป็นเรื่องที่จำเลยเจตนาจะเอาทรัพย์จำนองเป็นประกันเมื่อไม่ได้จดทะเบียนจำนองให้ถูกต้องสัญญาจำนองจึงเป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5564/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนการครอบครองที่ดินไม่มีหนังสือสำคัญฯ โดยการส่งมอบทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1378
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ขาดที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์และได้ส่งมอบการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ ครอบครองแล้วจริง แต่จากการที่ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินไม่มีหนังสือสำคัญสำหรับที่ดิน ย่อมโอนการครอบครองกันได้โดยเพียงส่งมอบทรัพย์สินที่ครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1378 การซื้อขายที่ดินพิพาทจึงเป็นไปโดยชอบ ฉะนั้นโจทก์จึงมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทการที่โจทก์จำเลยซื้อขายที่ดินพิพาทโดยไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จะเป็นโมฆะหรือไม่ ไม่เป็นเหตุให้โจทก์เสียสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทที่โจทก์ซื้อจากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5212/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในรถยนต์โอนเมื่อส่งมอบ ไม่จำเป็นต้องจดทะเบียน โจทก์มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายจากอุบัติเหตุ
การให้รถยนต์อันเป็นสังหาริมทรัพย์ย่อมสมบูรณ์เมื่อส่งมอบทรัพย์สินที่ให้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 523ไม่มีกฎหมายบังคับว่าการให้ทรัพย์สินดังกล่าวต้องทำตามแบบกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ย่อมโอนไปยังโจทก์ผู้รับแล้วหาจำต้องจดทะเบียนโอนกันเสียก่อนไม่ เพราะกฎหมายเกี่ยวกับทะเบียนรถยนต์เป็นเรื่องเกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่จะควบคุมยานพาหนะและภาษีรถยนต์ ไม่ใช่แบบของนิติกรรมแต่อย่างใด ดังนั้นแม้ยังไม่ได้เปลี่ยนชื่อในทะเบียนรถยนต์เป็นชื่อโจทก์โจทก์ก็เป็นเจ้าของรถยนต์ที่โจทก์ขับในวันเกิดเหตุโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายเนื่องจากละเมิดจากจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 331/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือค้ำประกัน - สำคัญผิด - ผิดนัดชำระหนี้ - สิทธิของผู้ค้ำประกัน - อายุความ
คำพิพากษาศาลชั้นต้นพิมพ์นามสกุลจำเลยที่ 1 "คล่องอักขระ" ผิดเป็น "คล่องอักษร" เป็นการพิมพ์ผิดพลาดเล็กน้อย ศาลมีอำนาจแก้ให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นลูกค้าของโจทก์โดยมีบัญชีเงินฝากอยู่ในธนาคารโจทก์สาขาคลองตันและสาขาสุขุมวิท 57 จำเลยที่ 1 ได้นำเช็คเดินทางและเช็คส่วนตัวมาเข้าบัญชีในสาขาทั้งสองเพื่อให้เรียกเก็บเงินจากธนาคารต่างประเทศ แต่ปรากฏว่าเช็คที่จำเลยที่ 1 นำมาเข้านั้นเรียกเก็บเงินไม่ได้ด้วยเหตุต่าง ๆ เมื่อจำเลยที่ 1 นำเช็คมาเข้าบัญชี เจ้าหน้าที่สาขาทั้งสองของโจทก์ได้เปลี่ยนค่าเงินตราเป็นเงินไทยและเข้าในบัญชีกระแสรายวันของจำเลยที่ 1 โดยยังมิได้ทราบผลว่าเช็คที่จำเลยที่ 1 นำมาเข้าเรียกเงินได้หรือไม่ เป็นผิดระเบียบของโจทก์ โจทก์สงสัยว่าจำเลยที่ 1 กับเจ้าหน้าที่ของโจทก์จะยักยอกฉ้อโกงโจทก์จึงร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนกองปราบปรามให้ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ได้ทำบันทึกข้อตกลงยอมชดใช้เงินให้โจทก์ โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันและสัญญาว่าจะจำนองที่ดินของจำเลยที่ 2 เป็นประกันหนี้สินและความรับผิดของจำเลยทั้งสองด้วย แต่จำเลยทั้งสองบิดพลิ้ว จึงฟ้องเรียกเงินจากจำเลยทั้งสองตามสัญญา ดังนี้ ตามคำฟ้องของโจทก์โจทก์ได้ฟ้องของให้บังคับจำเลยใช้หนี้ให้โจทก์ตามบันทึกข้อตกลงและสัญญาค้ำประกัน คำฟ้องดังกล่าวได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 บัญญัติไว้แล้ว คำฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
บันทึกข้อตกลงที่จำเลยที่ 1 กับพวกทำกับโจทก์ในข้อ 1 ระบุว่าจำเลยที่ 1 ได้นำเช็คต่าง ๆ มาให้โจทก์สาขาคลองตันและสาขาสุขุมวิท 57 เรียกเก็บเงินจากธนาคารต่างประเทศ และสาขาทั้สองได้นำเข้าบัญชีกระแสรายวันแล้วเท่าที่ตรวจพบในขณะทำบันทึกมีจำนวนประมาณ 5,035,407 บาทนั้น จำเลยที่ 1 ยอมชดใช้เงินจำนวนนี้ให้กับธนาคารโจทก์เป็นงวด ๆ ตามที่ปรากฏในสัญญาข้อ 2 และเพื่อเป็นหลักประกันจำเลยที่ 1 จะจัดให้จำเลยที่ 2 นำที่ดินโฉนดที่ 1193 มาจำนองเป็นหลักประกันภายในวงเงินไม่เกิน 3,000,000 บาท และทั้งสองฝ่ายไม่ติดใจที่จะดำเนินคดีในทางแพ่งและอาญากันต่อไป ตอนท้ายของบันทึกลงชื่อของจำเลยที่ 1 กับพวก และนายสำราญผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ ตามบันทึกข้อตกลงนี้มีลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความที่ทั้งสองฝ่ายมุ่งประสงค์ที่จะระงับข้อพิพาทในทางแพ่งและทางอาญาต่อกัน ข้อตกลงที่ว่าโจทก์จะถอนคำร้องทุกข์ให้ต่อเมื่อมีการจดทะเบียนจำนองและจำเลยที่ 1 กับพวกจะไม่ดำเนินการกล่าวหาโจทก์หรือพนักงานของโจทก์นั้น เป็นหนี้หรือนัยหนึ่งข้อตกลงในสัญญาที่ลูกหนี้คือจำเลยที่ 1 จะต้องปฏิบัติก่อนที่โจทก์จะถอนคำร้องทุกข์ มิใช่เป็นเงื่อนไขที่เป็นไปได้หรือไม่สุดแล้วแต่ใจของลูกหนี้อันจะเป็นเหตุให้จำเลยที่ 2 หลุดพ้นความรับผิด เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่สามารถจัดการให้จำเลยที่ 2 จดทะเบียนจำนองตามข้อตกลง จำเลยที่ 1 ก็เป็นฝ่ายผิดสัญญา ข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 มิใช่เป็นเงื่อนไขแห่งนิติกรรมที่เงื่อนไขจะสำเร็จหรือไม่สุดแต่ใจของลูกหนี้
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองให้รับผิดชอบตามบันทึกข้อตกลงและตามหนังสือค้ำประกัน แม้ว่าตามฟ้องโจทก์จะได้บรรยายถึงเรื่องการที่จำเลยที่ 1 นำเช็คมาเข้าบัญชีให้โจทก์เรียกเก็บเงินและเช็คเก็บเงินไม่ได้และถูกส่งคืนก็เป็นแต่เพียงมูลเหตุถึงที่มาของการทำบันทึกข้อตกลงและหนังสือค้ำประกันขึ้นเท่านั้นฟ้องโจทก์เป็นฟ้องเรียกเงินตามสัญญา ซึ่งจำเลยทั้งสองได้ทำให้โจทก์ยึดถือไว้ซึ่งอายุความฟ้องคดีชนิดนี้กฎหมายไม่ได้บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีสิทธิฟ้องได้ภายในอายุความสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164
เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัดโจทก์ก็มีสิทธิฟ้องบังคับจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันชำระหนี้ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 686 และเมื่อจำเลยผิดสัญญา การที่โจทก์จะบอกเลิกสัญญาหรือไม่เป็นสิทธิของโจทก์เมื่อโจทก์ไม่ได้บอกเลิกสัญญาสัญญาก็ยังมีอยู่ โจทก์มีสิทธิที่จะร้องต่อศาลให้สั่งบังคับจำเลยให้ชำระหนี้แก่โจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 213
จำเลยที่ 1 ให้การต่อสู้คดีว่าจำเลยที่ 1 ทำบันทึกข้อตกลงไปโดยถูกข่มขู่ จำเลยที่ 1 มิได้เป็นหนี้โจทก์ แสดงว่าจำเลยที่ 1 ไม่ยอมปฏิบัติตามสัญญาโดยสิ้นเชิง มิใช่แต่เพียงไม่ยอมรับผิดตามข้อสัญญาในเรื่องชำระหนี้แต่ละงวด โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะฟ้องเรียกเงินได้ทั้งหมดเมื่อมีการผิดสัญญาเกิดขึ้นไม่ใช่เฉพาะแต่งวดที่ผิดสัญญา เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัด โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันให้ชำระหนี้ได้ และจำเลยที่ 2 ไม่มีสิทธิที่จะอ้างเงื่อนเวลาเป็นข้อต่อสู้ได้ เพราะจำเลยที่ 2 ให้การสู้คดีโจทก์ว่าจำเลยที่ 2 ไม่ได้เป็นหนี้โจทก์เนื่องจากทำหนังสือค้ำประกันโดยสำคัญผิด เท่ากับสละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาเสียแล้ว
จำเลยที่ 1 ให้การรับว่าได้ทำบันทึกข้อตกลงให้โจทก์ไว้จริง แต่ต่อสู้ว่าทำโดยถูกข่มขู่ ส่วนจำเลยที่ 2 ให้การรับว่าได้ทำหนังสือค้ำประกันไว้จริง แต่ต่อสู้ว่ากระทำโดยสำคัญผิดว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับประกันตัวจำเลยที่ 1 ฉะนั้นประเด็นที่ว่าจำเลยที่ 1 ถูกข่มขู่หรือไม่ และจำเลยที่ 2 สำคัญผิดหรือไม่จึงเป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยทั้งสองกล่าวอ้างขึ้นมาใหม่ ภาระการพิสูจน์ข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงตกเป็นหน้าที่ของจำเลยทั้งสองเป็นฝ่ายนำสืบก่อนไม่ใช่ฝ่ายโจทก์
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นลูกค้าของโจทก์โดยมีบัญชีเงินฝากอยู่ในธนาคารโจทก์สาขาคลองตันและสาขาสุขุมวิท 57 จำเลยที่ 1 ได้นำเช็คเดินทางและเช็คส่วนตัวมาเข้าบัญชีในสาขาทั้งสองเพื่อให้เรียกเก็บเงินจากธนาคารต่างประเทศ แต่ปรากฏว่าเช็คที่จำเลยที่ 1 นำมาเข้านั้นเรียกเก็บเงินไม่ได้ด้วยเหตุต่าง ๆ เมื่อจำเลยที่ 1 นำเช็คมาเข้าบัญชี เจ้าหน้าที่สาขาทั้งสองของโจทก์ได้เปลี่ยนค่าเงินตราเป็นเงินไทยและเข้าในบัญชีกระแสรายวันของจำเลยที่ 1 โดยยังมิได้ทราบผลว่าเช็คที่จำเลยที่ 1 นำมาเข้าเรียกเงินได้หรือไม่ เป็นผิดระเบียบของโจทก์ โจทก์สงสัยว่าจำเลยที่ 1 กับเจ้าหน้าที่ของโจทก์จะยักยอกฉ้อโกงโจทก์จึงร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนกองปราบปรามให้ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ได้ทำบันทึกข้อตกลงยอมชดใช้เงินให้โจทก์ โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันและสัญญาว่าจะจำนองที่ดินของจำเลยที่ 2 เป็นประกันหนี้สินและความรับผิดของจำเลยทั้งสองด้วย แต่จำเลยทั้งสองบิดพลิ้ว จึงฟ้องเรียกเงินจากจำเลยทั้งสองตามสัญญา ดังนี้ ตามคำฟ้องของโจทก์โจทก์ได้ฟ้องของให้บังคับจำเลยใช้หนี้ให้โจทก์ตามบันทึกข้อตกลงและสัญญาค้ำประกัน คำฟ้องดังกล่าวได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 บัญญัติไว้แล้ว คำฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
บันทึกข้อตกลงที่จำเลยที่ 1 กับพวกทำกับโจทก์ในข้อ 1 ระบุว่าจำเลยที่ 1 ได้นำเช็คต่าง ๆ มาให้โจทก์สาขาคลองตันและสาขาสุขุมวิท 57 เรียกเก็บเงินจากธนาคารต่างประเทศ และสาขาทั้สองได้นำเข้าบัญชีกระแสรายวันแล้วเท่าที่ตรวจพบในขณะทำบันทึกมีจำนวนประมาณ 5,035,407 บาทนั้น จำเลยที่ 1 ยอมชดใช้เงินจำนวนนี้ให้กับธนาคารโจทก์เป็นงวด ๆ ตามที่ปรากฏในสัญญาข้อ 2 และเพื่อเป็นหลักประกันจำเลยที่ 1 จะจัดให้จำเลยที่ 2 นำที่ดินโฉนดที่ 1193 มาจำนองเป็นหลักประกันภายในวงเงินไม่เกิน 3,000,000 บาท และทั้งสองฝ่ายไม่ติดใจที่จะดำเนินคดีในทางแพ่งและอาญากันต่อไป ตอนท้ายของบันทึกลงชื่อของจำเลยที่ 1 กับพวก และนายสำราญผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ ตามบันทึกข้อตกลงนี้มีลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความที่ทั้งสองฝ่ายมุ่งประสงค์ที่จะระงับข้อพิพาทในทางแพ่งและทางอาญาต่อกัน ข้อตกลงที่ว่าโจทก์จะถอนคำร้องทุกข์ให้ต่อเมื่อมีการจดทะเบียนจำนองและจำเลยที่ 1 กับพวกจะไม่ดำเนินการกล่าวหาโจทก์หรือพนักงานของโจทก์นั้น เป็นหนี้หรือนัยหนึ่งข้อตกลงในสัญญาที่ลูกหนี้คือจำเลยที่ 1 จะต้องปฏิบัติก่อนที่โจทก์จะถอนคำร้องทุกข์ มิใช่เป็นเงื่อนไขที่เป็นไปได้หรือไม่สุดแล้วแต่ใจของลูกหนี้อันจะเป็นเหตุให้จำเลยที่ 2 หลุดพ้นความรับผิด เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่สามารถจัดการให้จำเลยที่ 2 จดทะเบียนจำนองตามข้อตกลง จำเลยที่ 1 ก็เป็นฝ่ายผิดสัญญา ข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 มิใช่เป็นเงื่อนไขแห่งนิติกรรมที่เงื่อนไขจะสำเร็จหรือไม่สุดแต่ใจของลูกหนี้
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองให้รับผิดชอบตามบันทึกข้อตกลงและตามหนังสือค้ำประกัน แม้ว่าตามฟ้องโจทก์จะได้บรรยายถึงเรื่องการที่จำเลยที่ 1 นำเช็คมาเข้าบัญชีให้โจทก์เรียกเก็บเงินและเช็คเก็บเงินไม่ได้และถูกส่งคืนก็เป็นแต่เพียงมูลเหตุถึงที่มาของการทำบันทึกข้อตกลงและหนังสือค้ำประกันขึ้นเท่านั้นฟ้องโจทก์เป็นฟ้องเรียกเงินตามสัญญา ซึ่งจำเลยทั้งสองได้ทำให้โจทก์ยึดถือไว้ซึ่งอายุความฟ้องคดีชนิดนี้กฎหมายไม่ได้บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีสิทธิฟ้องได้ภายในอายุความสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164
เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัดโจทก์ก็มีสิทธิฟ้องบังคับจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันชำระหนี้ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 686 และเมื่อจำเลยผิดสัญญา การที่โจทก์จะบอกเลิกสัญญาหรือไม่เป็นสิทธิของโจทก์เมื่อโจทก์ไม่ได้บอกเลิกสัญญาสัญญาก็ยังมีอยู่ โจทก์มีสิทธิที่จะร้องต่อศาลให้สั่งบังคับจำเลยให้ชำระหนี้แก่โจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 213
จำเลยที่ 1 ให้การต่อสู้คดีว่าจำเลยที่ 1 ทำบันทึกข้อตกลงไปโดยถูกข่มขู่ จำเลยที่ 1 มิได้เป็นหนี้โจทก์ แสดงว่าจำเลยที่ 1 ไม่ยอมปฏิบัติตามสัญญาโดยสิ้นเชิง มิใช่แต่เพียงไม่ยอมรับผิดตามข้อสัญญาในเรื่องชำระหนี้แต่ละงวด โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะฟ้องเรียกเงินได้ทั้งหมดเมื่อมีการผิดสัญญาเกิดขึ้นไม่ใช่เฉพาะแต่งวดที่ผิดสัญญา เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัด โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันให้ชำระหนี้ได้ และจำเลยที่ 2 ไม่มีสิทธิที่จะอ้างเงื่อนเวลาเป็นข้อต่อสู้ได้ เพราะจำเลยที่ 2 ให้การสู้คดีโจทก์ว่าจำเลยที่ 2 ไม่ได้เป็นหนี้โจทก์เนื่องจากทำหนังสือค้ำประกันโดยสำคัญผิด เท่ากับสละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาเสียแล้ว
จำเลยที่ 1 ให้การรับว่าได้ทำบันทึกข้อตกลงให้โจทก์ไว้จริง แต่ต่อสู้ว่าทำโดยถูกข่มขู่ ส่วนจำเลยที่ 2 ให้การรับว่าได้ทำหนังสือค้ำประกันไว้จริง แต่ต่อสู้ว่ากระทำโดยสำคัญผิดว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับประกันตัวจำเลยที่ 1 ฉะนั้นประเด็นที่ว่าจำเลยที่ 1 ถูกข่มขู่หรือไม่ และจำเลยที่ 2 สำคัญผิดหรือไม่จึงเป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยทั้งสองกล่าวอ้างขึ้นมาใหม่ ภาระการพิสูจน์ข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงตกเป็นหน้าที่ของจำเลยทั้งสองเป็นฝ่ายนำสืบก่อนไม่ใช่ฝ่ายโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 872/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายถ่านสังเคราะห์, การผิดสัญญา, ค่าเสียหาย, และการทิ้งฟ้องอุทธรณ์
การทิ้งฟ้อง กฎหมายไม่ได้บังคับให้จำต้องจำหน่ายคดีเสมอไป แม้โจทก์ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่กำหนดให้โจทก์นำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยภายใน 7 วัน แต่เมื่อโจทก์ยื่นคำแถลงขอให้ศาลชั้นต้นส่งสำเนาอุทธรณ์มาให้ศาลแพ่งจัดการให้ ศาลชั้นต้นซึ่งถือว่าทำการแทนศาลอุทธรณ์ ก็สั่งว่าจัดการให้ แล้วต่อมาศาลอุทธรณ์ก็มิได้จำหน่ายคดี ของโจทก์ตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 133 ให้อำนาจไว้ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยคดีของโจทก์ต่อมาจึงถือว่าเป็นการกระทำโดยชอบ
โจทก์เป็นผู้มีสิทธิซื้อถ่านสังเคราะห์จากบริษัท ด.จำกัด จำเลยทำสัญญาขอรับโอนสิทธิการซื้อถ่านสังเคราะห์จากโจทก์โดยให้ค่าตอบแทนสัญญาระหว่างโจทก์จำเลยเป็นสัญญาต่างตอบแทนอย่างหนึ่ง จึงเป็นสัญญาที่สมบูรณ์ตามกฎหมาย เมื่อจำเลยผิดสัญญาโจทก์ชอบที่จะบังคับตามสัญญาได้ และไม่จำต้องวินิจฉัยว่าเป็นเรื่องแปลงหนี้ใหม่หรือไม่
ข้อสัญญาที่ว่าหากจำเลยไม่ชำระค่าตอบแทนให้เสร็จในกำหนดตามสัญญาถือว่าสัญญาสิ้นผลบังคับ และจำเลยยินยอมชดใช้เบี้ยปรับแก่โจทก์ ดังนั้นเมื่อจำเลยผิดสัญญาจำเลยจะอ้างสิทธิรับซื้อถ่านสังเคราะห์ในนามโจทก์ต่อไปไม่ได้ กับต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ตามที่กำหนดไว้เป็นเบี้ยปรับ และสัญญาดังกล่าวมิใช่สัญญาที่มีเงื่อนไขบังคับก่อนที่จะสำเร็จหรือไม่สุดแต่ใจลูกหนี้
โจทก์เป็นผู้มีสิทธิซื้อถ่านสังเคราะห์จากบริษัท ด.จำกัด จำเลยทำสัญญาขอรับโอนสิทธิการซื้อถ่านสังเคราะห์จากโจทก์โดยให้ค่าตอบแทนสัญญาระหว่างโจทก์จำเลยเป็นสัญญาต่างตอบแทนอย่างหนึ่ง จึงเป็นสัญญาที่สมบูรณ์ตามกฎหมาย เมื่อจำเลยผิดสัญญาโจทก์ชอบที่จะบังคับตามสัญญาได้ และไม่จำต้องวินิจฉัยว่าเป็นเรื่องแปลงหนี้ใหม่หรือไม่
ข้อสัญญาที่ว่าหากจำเลยไม่ชำระค่าตอบแทนให้เสร็จในกำหนดตามสัญญาถือว่าสัญญาสิ้นผลบังคับ และจำเลยยินยอมชดใช้เบี้ยปรับแก่โจทก์ ดังนั้นเมื่อจำเลยผิดสัญญาจำเลยจะอ้างสิทธิรับซื้อถ่านสังเคราะห์ในนามโจทก์ต่อไปไม่ได้ กับต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ตามที่กำหนดไว้เป็นเบี้ยปรับ และสัญญาดังกล่าวมิใช่สัญญาที่มีเงื่อนไขบังคับก่อนที่จะสำเร็จหรือไม่สุดแต่ใจลูกหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 872/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายถ่านสังเคราะห์: การผิดสัญญา, ค่าเสียหาย, และการแปลงหนี้
การทิ้งฟ้อง กฎหมายไม่ได้บังคับให้จำต้องจำหน่ายคดีเสมอไป แม้โจทก์ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่กำหนดให้โจทก์นำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยภายใน 7 วัน แต่เมื่อโจทก์ยื่นคำแถลงขอให้ศาลชั้นต้นส่งสำเนาอุทธรณ์มาให้ศาลแพ่งจัดการให้ ศาลชั้นต้นซึ่งถือว่าทำการแทนศาลอุทธรณ์ ก็สั่งว่าจัดการให้ แล้วต่อมาศาลอุทธรณ์ก็มิได้จำหน่ายคดีของโจทก์ตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 133 ให้อำนาจไว้ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยคดีของโจทก์ต่อมาจึงถือว่าเป็นการกระทำโดยชอบ
โจทก์เป็นผู้มีสิทธิซื้อถ่านสังเคราะห์จากบริษัท ด. จำกัด จำเลยทำสัญญาขอรับโอนสิทธิการซื้อถ่านสังเคราะห์จากโจทก์โดยให้ค่าตอบแทนสัญญาระหว่างโจทก์จำเลยเป็นสัญญาต่างตอบแทนอย่างหนึ่งจึงเป็นสัญญาที่สมบูรณ์ตามกฎหมาย เมื่อจำเลยผิดสัญญาโจทก์ชอบที่จะบังคับตามสัญญาได้ และไม่จำต้องวินิจฉัยว่าเป็นเรื่องแปลงหนี้ใหม่หรือไม่
ข้อสัญญาที่ว่าหากจำเลยไม่ชำระค่าตอบแทนให้เสร็จในกำหนดตามสัญญาถือว่าสัญญาสิ้นผลบังคับ และจำเลยยินยอมชดใช้เบี้ยปรับแก่โจทก์ ดังนั้นเมื่อจำเลยผิดสัญญาจำเลยจะอ้างสิทธิรับซื้อถ่านสังเคราะห์ในนามโจทก์ต่อไปไม่ได้ กับต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ตามที่กำหนดไว้เป็นเบี้ยปรับ และสัญญาดังกล่าวมิใช่สัญญาที่มีเงื่อนไขบังคับก่อนที่จะสำเร็จหรือไม่สุดแต่ใจลูกหนี้
โจทก์เป็นผู้มีสิทธิซื้อถ่านสังเคราะห์จากบริษัท ด. จำกัด จำเลยทำสัญญาขอรับโอนสิทธิการซื้อถ่านสังเคราะห์จากโจทก์โดยให้ค่าตอบแทนสัญญาระหว่างโจทก์จำเลยเป็นสัญญาต่างตอบแทนอย่างหนึ่งจึงเป็นสัญญาที่สมบูรณ์ตามกฎหมาย เมื่อจำเลยผิดสัญญาโจทก์ชอบที่จะบังคับตามสัญญาได้ และไม่จำต้องวินิจฉัยว่าเป็นเรื่องแปลงหนี้ใหม่หรือไม่
ข้อสัญญาที่ว่าหากจำเลยไม่ชำระค่าตอบแทนให้เสร็จในกำหนดตามสัญญาถือว่าสัญญาสิ้นผลบังคับ และจำเลยยินยอมชดใช้เบี้ยปรับแก่โจทก์ ดังนั้นเมื่อจำเลยผิดสัญญาจำเลยจะอ้างสิทธิรับซื้อถ่านสังเคราะห์ในนามโจทก์ต่อไปไม่ได้ กับต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ตามที่กำหนดไว้เป็นเบี้ยปรับ และสัญญาดังกล่าวมิใช่สัญญาที่มีเงื่อนไขบังคับก่อนที่จะสำเร็จหรือไม่สุดแต่ใจลูกหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3539/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อบังคับบริษัทเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ลูกจ้าง ถือเป็นสัญญา ไม่ใช่เงื่อนไขบังคับก่อน
ข้อบังคับองค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ว่าด้วยการสงเคราะห์พนักงาน พ.ศ.2519 ซึ่งเป็นข้อบังคับเกี่ยวกับการสงเคราะห์พนักงานของจำเลย ถือได้ว่าเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ซึ่งมีลักษณะเป็นสัญญาอย่างหนึ่งระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างและมีผลใช้บังคับระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างโดยไม่จำต้องอาศัยเงื่อนไขใด ลูกจ้างจะมีสิทธิเมื่อเลิกจ้างอย่างใด ย่อมเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ในข้อบังคับดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3539/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อบังคับสงเคราะห์พนักงานเป็นสัญญาทางแรงงาน ข้อกำหนดจ่ายบำเหน็จไม่ใช่เงื่อนไขบังคับก่อน
ข้อบังคับองค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ว่าด้วยการสงเคราะห์พนักงาน พ.ศ.2519 ซึ่งเป็นข้อบังคับเกี่ยวกับการสงเคราะห์พนักงานของจำเลย ถือได้ว่าเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ซึ่งมีลักษณะเป็นสัญญาอย่างหนึ่งระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างและมีผลใช้บังคับระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างโดยไม่จำต้องอาศัยเงื่อนไขใด ลูกจ้างจะมีสิทธิเมื่อเลิกจ้างอย่างใด ย่อมเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ในข้อบังคับดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 725/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาฝึกงานและข้อตกลงเรื่องเงินเดือนที่บริษัทกำหนดได้ ศาลฎีกาเห็นว่าไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรม
สัญญาที่โจทก์จัดส่งและออกค่าใช้จ่ายให้จำเลยไปฝึกงาน เมื่อจำเลยฝึกงานสำเร็จแล้ว จำเลยจะทำงานให้โจทก์ชั่วระยะเวลาหนึ่ง โดยยอมให้โจทก์กำหนดอัตราเงินเดือนของจำเลยได้ตามความพอใจแต่ฝ่ายเดียวนั้น เป็นสัญญาต่างตอบแทนที่โจทก์จำเลยสมัครใจทำกันเอง ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 411/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง: สัญญาไม่เป็นโมฆะ แม้ยังมิได้ปลูกสร้างอาคารตามที่ตกลง
จำเลยทำสัญญาเช่าที่ดินโจทก์เพื่อปลูกบ้านและทำการค้าขายมีกำหนด 15 ปี เมื่อครบสัญญาให้สิ่งปลูกสร้างตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ ดังนี้เป็นสัญญาที่มีข้อตกลงกันอย่างตรงไปตรงมา ไม่มีเงื่อนไขอะไรที่จะเป็นเหตุให้สัญญาเป็นโมฆะ
เมื่อตามสัญญาเช่าไม่ได้บังคับว่าจำเลยผู้เช่าจะต้องปลูกบ้านเมื่อใด ก็ย่อมเป็นสิทธิของจำเลยที่จะเลือกปฎิบัติได้ภายในระยะเวลาแห่งสัญญานั้น กรณีมิใช่เรื่องเงื่อนไขบังคับก่อนที่จะสำเร็จได้หรือไม่แล้วแต่ใจของฝ่ายลูกหนี้เท่านั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 152 สัญญาเช่าจึงไม่เป็นโมฆะ
ข้อสัญญาเช่าที่ว่า จำเลยผู้เช่าจะปลูกสร้างเป็นอาคารถาวรในที่ดินของโจทก์แล้วยกให้โจทก์ เมื่ออาคารถาวรตามที่อ้างยังมิได้ก่อสร้างและโจทก์ก็มิได้ฟ้องขอให้อาคารตกเป็นกรรมสิทธิ์ เป็นแต่ฟ้องขอให้แสดงว่าสัญญาเช่าเป็นโมฆะและขับไล่ ศาลจึงไม่จำต้องวินิจฉัยปัญหานี้เพราะไม่เป็นประโยชน์แก่คดีอย่างใด
เมื่อตามสัญญาเช่าไม่ได้บังคับว่าจำเลยผู้เช่าจะต้องปลูกบ้านเมื่อใด ก็ย่อมเป็นสิทธิของจำเลยที่จะเลือกปฎิบัติได้ภายในระยะเวลาแห่งสัญญานั้น กรณีมิใช่เรื่องเงื่อนไขบังคับก่อนที่จะสำเร็จได้หรือไม่แล้วแต่ใจของฝ่ายลูกหนี้เท่านั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 152 สัญญาเช่าจึงไม่เป็นโมฆะ
ข้อสัญญาเช่าที่ว่า จำเลยผู้เช่าจะปลูกสร้างเป็นอาคารถาวรในที่ดินของโจทก์แล้วยกให้โจทก์ เมื่ออาคารถาวรตามที่อ้างยังมิได้ก่อสร้างและโจทก์ก็มิได้ฟ้องขอให้อาคารตกเป็นกรรมสิทธิ์ เป็นแต่ฟ้องขอให้แสดงว่าสัญญาเช่าเป็นโมฆะและขับไล่ ศาลจึงไม่จำต้องวินิจฉัยปัญหานี้เพราะไม่เป็นประโยชน์แก่คดีอย่างใด