คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 152

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 52 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 411/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง: สัญญาไม่เป็นโมฆะ แม้จะยังมิได้ปลูกสร้าง
จำเลยทำสัญญาเช่าที่ดินโจทก์เพื่อปลูกบ้านและทำการค้าขาย มีกำหนด 15 ปี. เมื่อครบสัญญาให้สิ่งปลูกสร้างตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์. ดังนี้เป็นสัญญาที่มีข้อตกลงกันอย่างตรงไปตรงมา. ไม่มีเงื่อนไขอะไรที่จะเป็นเหตุให้สัญญาเป็นโมฆะ.
เมื่อตามสัญญาเช่าไม่ได้บังคับ.ว่าจำเลยผู้เช่าจะต้องปลูกบ้านเมื่อใด. ก็ย่อมเป็นสิทธิของจำเลยที่จะเลือกปฎิบัติได้ภายในระยะเวลาแห่งสัญญานั้น. กรณีมิใช่เรื่องเงื่อนไขบังคับก่อนที่จะสำเร็จได้หรือไม่แล้วแต่ใจของฝ่ายลูกหนี้เท่านั้น. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 152สัญญาเช่าจึงไม่เป็นโมฆะ.
ข้อสัญญาเช่าที่ว่า จำเลยผู้เช่าจะปลูกสร้างเป็นอาคารถาวรในที่ดินของโจทก์แล้วยกให้โจทก์. เมื่ออาคารถาวรตามที่อ้างยังมิได้ก่อสร้าง.และโจทก์ก็มิได้ฟ้องขอให้อาคารตกเป็นกรรมสิทธิ์. เป็นแต่ฟ้องขอให้แสดงว่าสัญญาเช่าเป็นโมฆะและขับไล่. ศาลจึงไม่จำต้องวินิจฉัยปัญหานี้. เพราะไม่เป็นประโยชน์แก่คดีอย่างใด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 411/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าที่ดินมีเงื่อนไขให้สิ่งปลูกสร้างตกเป็นของเจ้าของที่ดินเมื่อครบกำหนด ไม่เป็นโมฆะ หากไม่ได้กำหนดระยะเวลาปลูกสร้าง
จำเลยทำสัญญาเช่าที่ดินโจทก์เพื่อปลูกบ้านและทำการค้าขาย มีกำหนด 15 ปี เมื่อครบสัญญาให้สิ่งปลูกสร้างตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ ดังนี้ เป็นสัญญาที่มีข้อตกลงกันอย่างตรงไปตรงมา ไม่มีเงื่อนไขอะไรที่จะเป็นเหตุให้สัญญาเป็นโมฆะ
เมื่อตามสัญญาเช่าไม่ได้บังคับว่าจำเลยผู้เช่าจะต้องปลูกบ้านเมื่อใด ก็ย่อมเป็นสิทธิของจำเลยที่จะเลือกปฏิบัติได้ภายในระยะเวลาแห่งสัญญานั้น กรณีมิใช่เรื่องเงื่อนไขบังคับก่อนที่จะสำเร็จได้หรือไม่แล้วแต่ใจของฝ่ายลูกหนี้เท่านั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 152 สัญญาเช่าจึงไม่เป็นโมฆะ
ข้อสัญญาเช่าที่ว่า จำเลยผู้เช่าจะปลูกสร้างเป็นอาคารถาวรในที่ดินของโจทก์ แล้วยกให้โจทก์ เมื่ออาคารถาวรตามที่อ้างยังมิได้ก่อสร้างและโจทก์มิได้ฟ้องขอให้อาคารตกเป็นกรรมสิทธิ์ เป็นแต่ฟ้องขอให้แสดงว่าสัญญาเช่าเป็นโมฆะและขับไล่ ศาลจึงไม่จำต้องวินิจฉัยปัญหานี้ เพราะไม่เป็นประโยชน์แก่คดีอย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1153/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำมั่นจะจ่ายเงินรางวัลตามระเบียบกรมสรรพสามิตเข้าข่ายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 362 และต้องมีเหตุผลชอบที่ควรในการไม่จ่าย
ระเบียบการจ่ายเงินรางวัลฝิ่นของกรมสรรพสามิตที่มีข้อความระบุให้ข้าหลวงประจำจังหวัด ผู้บังคับการตำรวจผู้กำกับการตำรวจ นายอำเภอหรือปลัดกิ่งอำเภอมีอำนาจรับแจ้งความจากผู้ขอรับเงินรางวัลนำจับได้นั้น เมื่อได้ส่งไปยังกรมศุลกากรและกรมตำรวจ จนกระทั่งกรมตำรวจได้ออกแจ้งความต่อไปอีกนั้น ไม่เพียงแต่เป็นระเบียบภายในเท่านั้น แต่เป็นการออกโฆษณาภายนอกซึ่งคำมั่นที่จะจ่ายเงินรางวัลตอบแทนให้แก่ผู้ช่วยเหลือราชการในการจับฝิ่น เข้าลักษณะออกโฆษณาให้คำมั่นจะให้รางวัลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 362 แล้ว
คำมั่นจะให้รางวัลตามระเบียบนี้ ถ้าจะไม่จ่ายเงินรางวัลหรือจ่ายน้อยกว่าระเบียบแล้ว จะต้องมีเหตุผลที่ชอบที่ควร หาใช่ว่าสุดแล้วแต่ใจโดยไม่มีเหตุที่ชอบที่ควรไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1153/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำมั่นจ่ายเงินรางวัลนำจับฝิ่นตามระเบียบกรมสรรพสามิตเข้าข่ายสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 362 และมีผลผูกพันตามกฎหมาย
ระเบียบการจ่ายเงินรางวัลฝิ่นของกรมสรรพสามิตที่มีข้อความระบุให้ข้าหลวงประจำจังหวัด ผู้บังคับการตำรวจ ผู้กำกับการตำรวจ นายอำเภอหรือปลัดกิ่งอำเภอ มีอำนาจรับแจ้งความจากผู้ขอรับเงินรางลัลนำจับได้นั้น เมื่อได้ส่งไปยังกรมศุลการกรและกรมตำรวจ จนกระทั่งกรมตำรวจได้ออกแจ้งความต่อไปอีกนั้น ไม่เพียงแต่เป็นระเบียบภายในเท่านั้นแต่เป็นการออกโฆษณาภายนอกซึ่งคำมั่นที่จะจ่ายเงินรางวัลตอบแทนให้แก่ผู้ช่วยเหลือราชการในการจับฝิ่น เข้าลักษณะออกโฆษณาให้คำมั่นจะให้รางวัลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 362 แล้ว
คำมั่นจะให้รางวัลตามระเบียบนี้ ถ้าจะไม่จ่ายเงินรางวัลหรือจ่ายน้อยกว่าระเบียบแล้ว จะต้องมีเหตุผลที่ชอบที่ควร หาใช่ว่าสุดแล้วแต่ใจโดยไม่มีเหตุที่ชอบที่ควรไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2014/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เสรีภาพในการทำสัญญาและการยินยอมโดยสมัครใจ คู่สัญญามีสิทธิกำหนดเงื่อนไขและผลประโยชน์ได้เอง
การทำสัญญานั้นจะตกลงให้ได้เปรียบเสียเปรียบแก่กันอย่างไรแล้วแต่ความสมัครใจของคู่สัญญาซึ่งจะต้องระวังรักษาประโยชน์ของตน
สัญญาที่โจทก์มีหน้าที่ส่งเสริมและจัดหาคู่ชกให้จำเลยโดยโจทก์ยังไม่คิดค่าตอบแทนจนกระทั่งจำเลยมีชื่อเสียงแล้วจำเลยยอมให้โจทก์รับเงินรางวัลโดยหักค่าป่วยการร้อยละห้า และจะไปหาคู่ชกโดยมิได้รับความยินยอมจากโจทก์ไม่ได้ ทั้งจะย้ายสังกัดคณะมวยก็ไม่ได้นั้น หาขัดต่อกฎหมายหรือความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2014/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เสรีภาพในการทำสัญญาและการระวังประโยชน์ตนเอง คู่สัญญามีสิทธิกำหนดเงื่อนไขได้ตามความสมัครใจ
การทำสัญญานั้น จะตกลงให้ได้เปรียบเสียเปรียบแก่กันอย่างไร แล้วแต่ความสมัครใจของคู่สัญญาซึ่งจะต้องระวังรักษาประโยชน์ของตน
สัญญาที่โจทก์มีหน้าที่ส่งเสริมและจัดหาคู่ชกให้จำเลยโดยโจทก์ยังไม่คิดค่าตอบแทนจนกระทั่งจำเลยมีชื่อเสียงแล้ว จำเลยยอมให้โจทก์รับเงินรางวัลโดยหักค่าป่วยการร้อยละห้า และจะไปหาคู่ชกโดยมิได้รับความยินยอมจากโจทก์ไม่ได้ ทั้งจะย้ายสังกัดคณะมวยก็ไม่ได้นั้น หาขัดต่อกฎหมายหรือความสงบเรียบร้อยหรือคิลธรรมอันดีของประชาชนไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 49/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขาย: เหตุสุดวิสัยและการหาแหล่งนุ่นทดแทน
ปัญหาที่ว่าสัญญารายพิพาทเป็นนิติกรรมมีเงื่อนไขบังคับก่อนแล้วแต่ใจลูกหนี้ฝ่ายเดียวหรืออย่างไร นั้นไม่ใช่ปัญหาที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
การที่ไม่มีนุ่นตามตัวอย่างที่ตกลงกัน เพราะโรงงานที่จำเลยตกลงจะซื้อนุ่นเพื่อขายให้โจทก์ต้องเลิกล้มไปเช่นนี้ ไม่ถือเป็นเหตุสุดวิสัย อันจะทำให้จำเลยพ้นจากความรับผิด เพราะปรากฎว่าขณะทำสัญญาซื้อขายนุ่นกันนี้ มีโรงงานทำนุ่นหลายแห่งที่จำเลยสามารถหาซื้อนุ่นได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 49/2502

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขาย - เหตุสุดวิสัย - การหาซื้อสินค้าทดแทน
ปัญหาที่ว่าสัญญารายพิพาทเป็นนิติกรรมมีเงื่อนไขบังคับก่อนแล้วแต่ใจลูกหนี้ฝ่ายเดียวหรืออย่างไรนั้นไม่ใช่ปัญหาที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
การที่ไม่มีนุ่นตามตัวอย่างที่ตกลงกัน เพราะโรงงานที่จำเลยตกลงจะซื้อนุ่นเพื่อขายให้โจทก์ต้องเลิกล้มไป เช่นนี้ ไม่ถือเป็นเหตุสุดวิสัยอันจะทำให้จำเลยพ้นจากความรับผิด เพราะปรากฏว่าขณะทำสัญญาซื้อขายนุ่นกันนี้ มีโรงงานทำนุ่นหลายแห่งที่จำเลยสามารถหาซื้อนุ่นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 289/2495

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าของรวม vs. สัญญาซื้อขาย: การแบ่งแยกกรรมสิทธิ์และเงื่อนไขสัญญา
เจ้าของรวมตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1357 นั้นต้องเป็นเจ้าของทรัพย์สินอันรวมกันอยู่ไม่ทราบว่าส่วนของใครเท่าไร ตรงไหนในทรัพย์นั้นๆ กฎหมายจึงให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้เป็นเจ้าของรวมมีส่วนเท่ากัน
โฉนดที่ดินมีชื่อบุคคล 2 คนเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ แต่ได้จดทะเบียนบรรยายส่วนของใครไว้ในโฉนดแล้วว่าของใครอยู่ตอนไหน เป็นจำนวนเนื้อที่เท่าไรชัดแจ้งแล้วเช่นนี้หาใช่เป็นเจ้าของรวมไม่
เงื่อนไขแห่งนิติกรรมนั้นหมายถึงเหตุการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งจะเกิดขึ้นในอนาคตและ ไม่แน่นอน
สัญญาจะซื้อขายมีข้อตกลงกันว่าผู้ซื้อผู้ขายจะมาทำการโอนซื้อขายกันในวันมาทำการจดทะเบียนแบ่งแยกที่ดินนั้น หาใช่เป็นเงื่อนไขไม่
แม้สัญญาจะซื้อขายที่ดินได้ กำหนดเบี้ยปรับกันไว้ในเมื่อผู้ขายผิดสัญญาก็ดี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 380 บัญญัติให้สิทธิแก่เจ้าหนี้เลือกเรียกเอาเบี้ยปรับหรือเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้แต่อย่างหนึ่งอย่างใดได้ ฉะนั้นถ้าผู้ขายทำผิดสัญญาโดยไม่ยอมขายที่ดินให้แก่ผู้ซื้อผู้ซื้อก็ย่อมมีสิทธิฟ้องร้องผู้ขายขอให้ศาลบังคับให้โอนขายตามสัญญาได้(อ้างฎีกาที่ 131/2489)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 146/2495

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าต่ออายุและการบอกเลิกสัญญาเช่าเมื่อผู้เช่ายังคงครอบครองทรัพย์สิน
ทำหนังสือสัญญาเช่าตึกกำหนดเวลาเช่ากันไว้ 3 ปี แล้วมีข้อตกลงกันในข้อหนึ่งว่า "เมื่อสัญญาฉะบับนี้ ได้ครบ 3ปีแล้ว ผู้ให้เช่าและผู้เช่าจะทำสัญญาเช่าฉะบับใหม่ต่อไปอีกเป็นเวลากำหนด 3 ปี" ดังนี้ ข้อตกลงดังกล่าวมิใช่คำมั่นของผู้ให้เช่าฝ่ายเดียว แต่ผู้เช่าเองก็ยอมตกลงจะทำสัญญาเช่าตามกำหนดนั้นเหมือนกัน จึงเป็นข้อตกลงผูกพันกันทั้งสองฝ่ายว่า จะต้องทำสัญญาเช่ากันต่อไปอีก 3 ปี แต่เมื่อครบ 3 ปีแล้ว ผู้เช่ายังคงครอบครองทรัพย์สินที่เช่าต่อไปอีก ก็ต้องถือว่าผู้เช่าและผู้ให้เช่าได้ทำสัญญาต่อไปอีกไม่มีกำหนดเวลาตาม ป.ม.แพ่งฯมาตรา 570 เมื่อเป็นเช่นนี้ให้เช่าย่อมบอกเลิกการเช่าได้ตามมาตรา 566 ผู้เช่าจะอ้างข้อตกลงในสัญญาดังกล่าวแล้วว่าสัญญาเช่าต่อมีกำหนด 3 ปี หาได้ไม่ เพราะสัญญาเช่าต่อที่มีกำหนด 3 ปี นั้น ยังมิได้เกิดมีขึ้น
of 6