พบผลลัพธ์ทั้งหมด 14 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6503/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยมีวัตถุออกฤทธิ์เกินปริมาณที่กฎหมายกำหนด และการแก้ไขโทษทางอาญาที่ศาลอุทธรณ์พิพากษา
อีเฟดรีนของกลางที่จำเลยที่ 1 มีไว้ในครอบครองหรือใช้ประโยชน์ซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ดังกล่าวต้องรับโทษเพียงใดอยู่ที่ปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ว่าหนักเท่าใด เมื่อข้อเท็จจริง ฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 มีอีเฟดรีน ของกลางไว้ในครอบครอง คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์หนัก 13.12 กรัม ซึ่งตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 92(พ.ศ. 2538)รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศกำหนดไว้ว่าการมีไว้ในครอบครองหรือใช้ประโยชน์อีเฟดรีน ซึ่งเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์แล้วต้องไม่เกินปริมาณ 12.000 กรัม การที่จำเลยมีอีเฟดรีน ไว้ในครอบครองเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดดังกล่าวจึงเป็นความผิดตาม พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ. 2518 มาตรา 106 ทวิ ศาลย่อมพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1ตามที่โจทก์ฟ้องนั้นได้ หาใช่เป็นการเพิ่มโทษจำเลยที่ 1 ไม่ ขณะเจ้าพนักงานเข้าตรวจค้น พบจำเลยที่ 2 นอนอยู่ที่เพิง ข้างบ้าน โดยจำเลยที่ 2 อ้างว่าไปนอนที่บ้านเกิดเหตุเพื่อดู หนังสือเตรียมตัวสอบ ส่วนจำเลยที่ 3 ไปพบจำเลยที่ 1เพราะจำเลยที่ 1 ชวนให้นอนค้างที่บ้านเกิดเหตุ เมื่อไม่ปรากฏพฤติการณ์ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้รู้เห็นในการกระทำผิดของจำเลยที่ 1 หรือสมคบกับจำเลยที่ 1กระทำผิดรายนี้ แม้จำเลยที่ 1 จะให้การในชั้นสอบสวนว่าจำเลยที่ 1 ให้จำเลยที่ 2 ช่วยถอดเครื่องมือที่ใช้ผลิตอีเฟดรีน เพื่อนำออกไปซ่อมก็ตาม แต่ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ได้ทราบข้อเท็จจริงที่จำเลยที่ 1 ผลิตอีเฟดรีน มาก่อน เพียงเท่านี้จึงยังไม่พอชี้ขาดว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 มีส่วนร่วมกระทำผิดรายนี้ด้วย โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสามตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518มาตรา 13 ทวิ,62,86,106 ทวิ ซึ่งการฝ่าฝืนมาตรา 13 ทวิ วรรคหนึ่ง บทกำหนดโทษคือมาตรา 89การที่โจทก์ขอให้ลงโทษตามมาตรา 86 แทนที่จะเป็นมาตรา 89 จึงเป็นกรณีโจทก์อ้างบทมาตราผิดศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยที่ 1 ตามฐานความผิดที่ถูกต้องได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคห้า การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 มาตรา 13 วรรคหนึ่ง,62 วรรคหนึ่ง,89,106 ทวิ ให้ลงโทษฐานผลิตตามมาตรา 13 ทวิ วรรคหนึ่ง,89 อันเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 90 นั้น ยังไม่ถูกต้อง เพราะมาตรา 89 และมาตรา 106 ทวิ ต่างก็มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่ ห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาทเท่ากัน ต้องพิพากษาว่าการกระทำของจำเลยที่ 1เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทซึ่งมีอัตราโทษเท่ากันให้ลงโทษฐานผลิตวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ตามมาตรา 13 ทวิ วรรคหนึ่ง และมาตรา 89
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 955/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองเมทแอมเฟตามีนเกินปริมาณที่กฎหมายกำหนด และการเปลี่ยนแปลงกฎหมายระหว่างการพิจารณาคดี
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยมีเมทแอมเฟตามีนจำนวน55เม็ดกับ1ห่อน้ำหนัก4.91กรัมไว้ในครอบครองเพื่อขายโดยไม่ได้รับอนุญาตขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ.2518ดังนี้แม้ขณะเกิดเหตุการกระทำของจำเลยจะเป็นความผิดตามฟ้องแต่ขณะคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาได้มีประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่92(พ.ศ.2538)ออกมายกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่85(พ.ศ.2536)ซึ่งบังคับใช้ขณะเกิดเหตุโดยกำหนดการมีไว้ในครอบครองหรือใช้ประโยชน์ซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท1หรือ2เมื่อคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์แล้วสำหรับเมทแอมเฟตามีนต้องไม่เกิน0.500กรัมเมื่อไม่มีการคำนวณว่าเมทแอมเฟตามีนของกลางน้ำหนักรวม4.91กรัมมีสารบริสุทธิ์ได้ปริมาณเกินกว่าที่กำหนดจำเลยจึงไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทฯมาตรา106ทวิเพราะประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่92(พ.ศ.2538)เป็นคุณแก่จำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา3จำเลยจึงมีความผิดตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทฯมาตรา106วรรคหนึ่งเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1727/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคิดคำนวณปริมาณสารบริสุทธิ์ในคดีครอบครองเมทแอมเฟตามีน และผลต่อการพิจารณาความผิด
ความผิดตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ ฯ มาตรา 106 ทวิ ฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดนั้น ได้มีประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 92 (พ.ศ.2538) ออกใช้ภายหลังการกระทำความผิดและเป็นคุณแก่จำเลย ซึ่งจะต้องนำมาบังคับใช้ในคดีนี้ตาม ป.อ.มาตรา 3 ประกาศดังกล่าวระบุว่าเมทแอมเฟตามีนที่ห้ามมีเกินกว่า 0.500 กรัม นั้น จะต้องคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์เสียก่อน แต่ไม่ปรากฏว่าเมทแอมเฟตามีนตามฟ้องได้คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์แล้วเกิน 0.500 กรัม การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามมาตรา 106 ไม่เป็นความผิดตามมาตรา 106 ทวิ ดังนั้น แม้โจทก์จะอ้างว่าได้อ้างมาตราท้ายฟ้องผิดไปเป็นมาตรา 106 ก็ตาม คดีก็ไม่จำต้องวินิจฉัยว่าจะลงโทษตามมาตรา 106 ทวิ ตามป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคห้า ได้หรือไม่อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1727/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณปริมาณเมทแอมเฟตามีนเป็นสารบริสุทธิ์เพื่อความผิดตาม พ.ร.บ.วัตถุออกฤทธิ์ฯ มาตรา 106 ทวิ
ความผิดตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ฯมาตรา106ทวิฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดนั้นได้มีประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่92(พ.ศ.2538)ออกใช้ภายหลังการกระทำความผิดและเป็นคุณแก่จำเลยซึ่งจะต้องนำมาบังคับใช้ในคดีนี้ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา3ประกาศดังกล่าวระบุว่าเมทแอมเฟตามีนที่ห้ามมีเกินกว่า0.500กรัมนั้นจะต้องคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์เสียก่อนแต่ไม่ปรากฎว่าเมทแอมเฟตามีนตามฟ้องได้คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์แล้วเกิน0.500กรัมการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามมาตรา106ไม่เป็นความผิดตามมาตรา106ทวิดังนั้นแม้โจทก์จะอ้างว่าได้อ้างมาตราท้ายฟ้องผิดไปเป็นมาตรา106ก็ตามคดีก็ไม่จำต้องวินิจฉัยว่าจะลงโทษตามมาตรา106ทวิตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา192วรรคห้าได้หรือไม่อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8737/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ปริมาณเมทแอมเฟตามีนที่ครอบครองและการเปลี่ยนแปลงประกาศกระทรวงสาธารณสุขมีผลต่อความผิดตาม พ.ร.บ.วัตถุออกฤทธิ์
ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 92(พ.ศ. 2538) เรื่อง กำหนดปริมาณการมีไว้ในครอบครองหรือใช้ประโยชน์ซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 1 หรือประเภท 2ตามความในพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ. 2518 ให้ยกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 85(พ.ศ. 2536) เรื่องกำหนดปริมาณการมีไว้ในครอบครองหรือใช้ประโยชน์ซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 1 หรือประเภท 2ตามความในพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ. 2518 ลงวันที่ 19 มกราคม 2536 และกำหนดการมีไว้ในครอบครองหรือใช้ประโยชน์ซึ่งวัตถุที่ออกฤทธิ์ในประเภท 1หรือประเภท 2 เมื่อคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์แล้ว สำหรับเมทแอมเฟตามีนต้องไม่เกิน 0.500 กรัม เมื่อตามคำฟ้องและตามทางพิจารณาที่โจทก์นำสืบข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าวัตถุของกลางรวมน้ำหนัก 0.740 กรัม คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ปริมาณเกินกว่าที่รัฐมนตรีกำหนดหรือไม่ การที่วัตถุของกลางมีจำนวนเพียง 11 เม็ด รวมน้ำหนัก 0.740 กรัมไม่อาจฟังว่ามีสารบริสุทธิ์เกินกว่าที่รัฐมนตรีกำหนดจำเลยจึงไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 มาตรา 106 ทวิ เพราะประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 92(พ.ศ. 2538) เป็นคุณแก่จำเลยทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้แม้จำเลยให้การรับสารภาพว่ามีเมทแอมเฟตามีนของกลางซึ่งเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2จำนวน 11 เม็ด ไว้ในครอบครองจริง จำเลยก็คงมีความผิดฐานมีวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ. 2518 มาตรา 62 วรรคหนึ่ง,106 วรรคหนึ่ง เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8737/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ปริมาณวัตถุออกฤทธิ์ที่กฎหมายกำหนดและผลต่อความผิดฐานครอบครอง
ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา รัฐมนตรีว่าการกระทรวง-สาธารณสุขได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 92 (พ.ศ.2538) เรื่องกำหนดปริมาณการมีไว้ในครอบครองหรือใช้ประโยชน์ซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 1หรือประเภท 2 ตามความใน พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518ให้ยกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 85 (พ.ศ.2536) เรื่อง กำหนดปริมาณการมีไว้ในครอบครองหรือใช้ประโยชน์ซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 1 หรือประเภท 2 ตามความใน พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518ลงวันที่ 19 มกราคม 2536 และกำหนดการมีไว้ในครอบครองหรือใช้ประโยชน์ซึ่งวัตถุที่ออกฤทธิ์ในประเภท 1 หรือประเภท 2 เมื่อคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์แล้ว สำหรับเมทแอมเฟตามีนต้องไม่เกิน 0.500 กรัม เมื่อตามคำฟ้องและตามทางพิจารณาที่โจทก์นำสืบข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่า วัตถุของกลางรวมน้ำหนัก 0.740 กรัม คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ปริมาณเกินกว่าที่รัฐมนตรีกำหนดหรือไม่ การที่วัตถุของกลางมีจำนวนเพียง 11 เม็ด รวมน้ำหนัก 0.740 กรัม ไม่อาจฟังว่ามีสารบริสุทธิ์เกินกว่าที่รัฐมนตรีกำหนด จำเลยจึงไม่มีความผิดตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 106 ทวิ เพราะประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 92 (พ.ศ.2538) เป็นคุณแก่จำเลย ทั้งนี้ตาม ป.อ.มาตรา 3 ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้แม้จำเลยให้การรับสารภาพว่ามีเมทแอมเฟตามีนของกลางซึ่งเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 จำนวน 11 เม็ด ไว้ในครอบครองจริง จำเลยก็คงมีความผิดฐานมีวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ไว้ในครอบครองโดยไม่รับอนุญาต ตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 62 วรรคหนึ่ง, 106วรรคหนึ่ง เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8231/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ปริมาณวัตถุออกฤทธิ์และผลต่อความผิดตาม พ.ร.บ.วัตถุออกฤทธิ์ฯ การยกประโยชน์ให้จำเลยตามประกาศกระทรวง
ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 92 (พ.ศ.2538) เรื่องกำหนดปริมาณการมีไว้ในครอบครองหรือใช้ประโยชน์ซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 1หรือประเภท 2 ตามความใน พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518ให้ยกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 85 (พ.ศ.2536) เรื่อง กำหนดปริมาณการมีไว้ในครอบครองหรือใช้ประโยชน์ซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 1 หรือประเภท 2 ตามความใน พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518ลงวันที่ 19 มกราคม 2536 และกำหนดการมีไว้ในครอบครองหรือใช้ประโยชน์ซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 1 หรือประเภท 2 เมื่อคำนวณปริมาณเป็นสารบริสุทธิ์แล้ว สำหรับเมทแอมเฟตามีนต้องไม่เกินปริมาณ 0.500 กรัม เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าวัตถุของกลางรวมน้ำหนัก 0.840 กรัม คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ปริมาณเกินกว่าที่รัฐมนตรีกำหนดหรือไม่ จำเลยจึงไม่มีความผิดตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 106 ทวิ เพราะประกาศกระทรวง-สาธารณสุข ฉบับที่ 92 (พ.ศ. 2538) เป็นคุณแก่จำเลย ทั้งนี้ตาม ป.อ.มาตรา 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8231/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ปริมาณเมทแอมเฟตามีนตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขและการมีผลต่อความผิดฐานครอบครองวัตถุออกฤทธิ์
ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีการัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่92(พ.ศ.2538)เรื่องกำหนดปริมาณการมีไว้ในครอบครองหรือใช้ประโยชน์ซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท1หรือประเภท2ตามความในพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ.2518ให้ยกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่85(พ.ศ.2536)เรื่องกำหนดปริมาณมีไว้ในครอบครองหรือใช้ประโยชน์ซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท1หรือประเภท2ตามความในพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ.2518ลงวันที่19มกราคม2536และกำหนดการมีไว้ในครอบครองหรือใช้ประโยชน์ซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท1หรือประเภท2เมื่อคำนวณปริมาณเป็นสารบริสุทธิ์แล้วสำหรับเมทแอมเฟตามีนต้องไม่เกินปริมาณ0.500กรัมเมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าวัตถุของกลางรวมน้ำหนัก0.840กรัมคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ปริมาณเกินกว่าที่รัฐมนตรีกำหนดหรือไม่จำเลยจึงไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ.2518มาตรา106ทวิเพราะประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่92(พ.ศ.2538)เป็นคุณแก่จำเลยทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8226/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงประกาศกระทรวงสาธารณสุขเกี่ยวกับปริมาณวัตถุออกฤทธิ์และการมีผลต่อความผิดทางอาญา
ในขณะที่จำเลยกระทำผิด ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่85 พ.ศ.2536 เรื่อง กำหนดปริมาณการมีไว้ในครอบครองหรือใช้วัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 1 หรือประเภท 2 ตามความใน พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ.2518 ลงวันที่ 19 มกราคม 2536 ได้กำหนดการมีไว้ในครอบครองหรือใช้ประโยชน์ซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 1 หรือประเภท 2 โดยสำหรับเมทแอมเฟตามีนกำหนดว่าต้องไม่เกิน 0.500 กรัม แต่ไม่ได้กำหนดให้คำนวณปริมาณเป็นสารบริสุทธิ์และตาม พ.ร.บ.ที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 59 บัญญัติให้ถือว่าวัตถุตำรับที่มีวัตถุออกฤทธิ์ในประเภทหนึ่งประเภทใดปรุงผสมอยู่เป็นวัตถุออกฤทธิ์ประเภทนั้นด้วย และมาตรา 4 บัญญัติว่า "วัตถุตำรับ หมายความว่า สิ่งปรุงไม่ว่าจะมีรูปลักษณะใด ที่มีวัตถุออกฤทธิ์รวมอยู่ด้วย ฯลฯ" ดังนี้ ปริมาณของวัตถุออกฤทธิ์จึงต้องรวมถึงวัตถุตำรับที่ปรุงผสมอยู่ด้วยตามบทบัญญัติดังกล่าวถือว่าของกลางเป็นวัตถุออกฤทธิ์ทั้งหมด เมื่อของกลางมีปริมาณเกิน 0.500 กรัม จึงเป็นความผิดตามพ.ร.บ.ที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 106 ทวิ ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่จำเลยกระทำผิดตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ แต่เมื่อต่อมาในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 92 (พ.ศ.2538) เรื่อง กำหนดปริมาณการมีไว้ในครอบครอง หรือใช้ประโยชน์ซึ่งวัตถุที่ออกฤทธิ์ในประเภท 1 หรือประเภท 2ตามความใน พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 ลงวันที่ 3เมษายน 2538 ให้ยกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 85 (พ.ศ.2536)ดังกล่าว และกำหนดการมีไว้ในครอบครองหรือใช้ประโยชน์ซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 1 หรือประเภท 2 โดยเมื่อคำนวณปริมาณเป็นสารบริสุทธิ์แล้วสำหรับเมทแอมเฟตามีนต้องไม่เกิน 0.500 กรัม เมื่อเป็นดังนี้และปรากฏว่าของกลางตรวจพบเมทแอมเฟตามีนวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 อันถือเป็นสารบริสุทธิ์หนัก0.217 กรัม ซึ่งไม่เกินตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 92 (พ.ศ.2538) ดังกล่าว จำเลยจึงไม่มีความผิดตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 106 ทวิ คงมีความผิดตามมาตรา 62 วรรคหนึ่งและมาตรา 106 วรรคหนึ่ง เท่านั้น ซึ่งเป็นคุณแก่จำเลย จึงต้องใช้บังคับในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยตาม ป.อ.มาตรา 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8226/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงประกาศกระทรวงสาธารณสุขเกี่ยวกับปริมาณวัตถุออกฤทธิ์และการใช้บังคับกฎหมายที่เอื้อประโยชน์แก่จำเลย
ในขณะที่จำเลยกระทำผิดประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่85พ.ศ.2536เรื่องกำหนดปริมาณการมีไว้ในครอบครองหรือใช้วัตถุออกฤทธิ์ในประเภท1หรือประเภท2ตามความในพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ.2518ลงวันที่19มกราคม2536ได้กำหนดการมีไว้ในครอบครองหรือใช้ประโยชน์ซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท1หรือประเภท2โดยสำหรับเมทแอมเฟตามีนกำหนดว่าต้องไม่เกิน0.500กรัมแต่ไม่ได้กำหนดให้คำนวณปริมาณเป็นสารบริสุทธิ์และตามพระราชบัญญัติที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ.2518มาตรา59บัญญัติให้ถือว่าวัตถุตำรับที่มีวัตถุออกฤทธิ์ในประเภทหนึ่งประเภทใดปรุงผสมอยู่เป็นวัตถุออกฤทธิ์ประเภทนั้นด้วยและมาตรา4บัญญัติว่า"วัตถุตำรับหมายความว่าสิ่งปรุงไม่ว่าจะมีรูปลักษณะใดที่มีวัตถุออกฤทธิ์รวมอยู่ด้วยฯลฯ"ดังนี้ปริมาณของวัตถุออกฤทธิ์จึงต้องรวมถึงวัตถุตำรับที่ปรุงผสมอยู่ด้วยตามบทบัญญัติดังกล่าวถือว่าของกลางเป็นวัตถุออกฤทธิ์ทั้งหมดเมื่อของกลางมีปริมาณเกิน0.500กรัมจึงเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ.2518มาตรา106ทวิซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่จำเลยกระทำผิดตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แต่เมื่อต่อมาในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีการัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่92(พ.ศ.2538)เรื่องกำหนดปริมาณการมีไว้ในครอบครองหรือใช้ประโยชน์ซึ่งวัตถุที่ออกฤทธิ์ในประเภท1หรือประเภท2ตามความในพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ.2518ลงวันที่3เมษายน2538ให้ยกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่85(พ.ศ.2536)ดังกล่าวและกำหนดการมีไว้ในครอบครองหรือใช้ประโยชน์ซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท1หรือประเภท2โดยเมื่อคำนวณปริมาณเป็นสารบริสุทธิ์แล้วสำหรับเมทแอมเฟตามีนต้องไม่เกิน0.500กรัมเมื่อเป็นดังนี้และปรากฏว่าของกลางตรวจพบเมทแอมเฟตามีนวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท2อันถือเป็นสารบริสุทธิ์หนัก0.217กรัมซึ่งไม่เกินตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่92(พ.ศ.2538)ดังกล่าวจำเลยจึงไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ.2518มาตรา106ทวิคงมีความผิดตามมาตรา62วรรคหนึ่งและมาตรา106วรรคหนึ่งเท่านั้นซึ่งเป็นคุณแก่จำเลยจึงต้องใช้บังคับในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา3