พบผลลัพธ์ทั้งหมด 271 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4679/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับเรื่องข้อเท็จจริง, อำนาจสอบสวนคดีปลอมเอกสาร, และการฟ้องคดีอาญาความผิดต่อแผ่นดิน
แม้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในฎีกาของจำเลยเพียงว่า "รับเฉพาะฎีกาในปัญหาข้อกฎหมาย ส่วนฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงในข้อ 3 ให้รอไว้สั่งเมื่อผู้พิพากษาศาลชั้นต้นและผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิจารณาคำร้องขอให้อนุญาตให้ฎีกาเสร็จแล้ว" แต่เมื่อผู้พิพากษาศาลชั้นต้นและผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4 ไม่อนุญาตให้ฎีกา ศาลชั้นต้นมิได้มีคำสั่งเกี่ยวกับฎีกาของจำเลยอีก กลับส่งสำนวนมาศาลฎีกาโดยไม่ได้แจ้งคำสั่งให้จำเลยทราบ แต่เมื่อจำเลยฎีกาในข้อ 3 ว่า พยานหลักฐานโจทก์ฟังไม่ได้ว่าจำเลยกระทำความผิดตามฟ้องและขอให้รอการลงโทษจำเลยไว้ จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง เพื่อมิให้คดีล่าช้า ศาลฎีกาเห็นควรสั่งไม่รับฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงในข้อ 3 โดยไม่จำต้องย้อนสำนวน
ความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลเป็นความผิดต่อศาลในการดำเนินกระบวนพิจารณาและรักษาความสงบเรียบร้อยในบริเวณศาล เป็นเรื่องต่างหากจากความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารสำเนาคำสั่งศาลชั้นต้นปลอมในคดีนี้ แม้ศาลฎีกายกฟ้องความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล เนื่องจากฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยไม่ได้กระทำในศาล ไม่ได้วินิจฉัยว่าจำเลยปลอมหรือใช้คำสั่งศาลปลอมหรือไม่ จำเลยจะนำคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวมาเป็นเหตุอ้างว่าไม่มีความผิดในคดีนี้หาได้ไม่
จำเลยปลอมเอกสารสำเนาคำสั่งศาลชั้นต้นที่ตั้ง ท. เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย เมื่อ ท. นำสำเนาคำสั่งศาลชั้นต้นปลอมดังกล่าวไปอ้างส่งต่อศาลชั้นต้นในการไต่สวนคดีละเมิดอำนาจศาล จึงถือว่ามีการใช้เอกสารสำเนาคำสั่งศาลชั้นต้นปลอมในท้องที่สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองขอนแก่นซึ่งศาลชั้นต้นตั้งอยู่ในเขตอำนาจสอบสวน เมื่อขณะนั้นยังไม่แน่ว่าบุคคลใดเป็นผู้ปลอมคำสั่งศาลดังกล่าว และการกระทำความผิดฐานปลอมเอกสารได้กระทำในท้องที่ใด ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 19 (1) และเหตุที่จำเลยปลอมคำสั่งศาลชั้นต้นและ ท. นำสำเนาคำสั่งศาลชั้นต้นปลอมไปอ้างส่งต่อศาลชั้นต้นเป็นความผิดหลายกรรมกระทำลงในท้องที่ต่างๆ กัน ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 19 (4) ด้วยแล้ว พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองขอนแก่นจึงมีอำนาจสอบสวนคดีนี้ได้
ความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารสำเนาคำสั่งศาลชั้นต้นปลอมเป็นคดีอาญาความผิดต่อแผ่นดิน มิใช่ความผิดต่อส่วนตัวที่ต้องมีการร้องทุกข์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 121 วรรคสอง พนักงานสอบสวนมีอำนาจสอบสวนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 121 วรรคหนึ่ง โดยไม่ต้องมีการร้องทุกข์ กรณีจึงไม่จำต้องวินิจฉัยว่าศาลชั้นต้นเป็นผู้เสียหายที่สามารถร้องทุกข์หรือไม่
ความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลเป็นความผิดต่อศาลในการดำเนินกระบวนพิจารณาและรักษาความสงบเรียบร้อยในบริเวณศาล เป็นเรื่องต่างหากจากความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารสำเนาคำสั่งศาลชั้นต้นปลอมในคดีนี้ แม้ศาลฎีกายกฟ้องความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล เนื่องจากฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยไม่ได้กระทำในศาล ไม่ได้วินิจฉัยว่าจำเลยปลอมหรือใช้คำสั่งศาลปลอมหรือไม่ จำเลยจะนำคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวมาเป็นเหตุอ้างว่าไม่มีความผิดในคดีนี้หาได้ไม่
จำเลยปลอมเอกสารสำเนาคำสั่งศาลชั้นต้นที่ตั้ง ท. เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย เมื่อ ท. นำสำเนาคำสั่งศาลชั้นต้นปลอมดังกล่าวไปอ้างส่งต่อศาลชั้นต้นในการไต่สวนคดีละเมิดอำนาจศาล จึงถือว่ามีการใช้เอกสารสำเนาคำสั่งศาลชั้นต้นปลอมในท้องที่สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองขอนแก่นซึ่งศาลชั้นต้นตั้งอยู่ในเขตอำนาจสอบสวน เมื่อขณะนั้นยังไม่แน่ว่าบุคคลใดเป็นผู้ปลอมคำสั่งศาลดังกล่าว และการกระทำความผิดฐานปลอมเอกสารได้กระทำในท้องที่ใด ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 19 (1) และเหตุที่จำเลยปลอมคำสั่งศาลชั้นต้นและ ท. นำสำเนาคำสั่งศาลชั้นต้นปลอมไปอ้างส่งต่อศาลชั้นต้นเป็นความผิดหลายกรรมกระทำลงในท้องที่ต่างๆ กัน ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 19 (4) ด้วยแล้ว พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองขอนแก่นจึงมีอำนาจสอบสวนคดีนี้ได้
ความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารสำเนาคำสั่งศาลชั้นต้นปลอมเป็นคดีอาญาความผิดต่อแผ่นดิน มิใช่ความผิดต่อส่วนตัวที่ต้องมีการร้องทุกข์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 121 วรรคสอง พนักงานสอบสวนมีอำนาจสอบสวนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 121 วรรคหนึ่ง โดยไม่ต้องมีการร้องทุกข์ กรณีจึงไม่จำต้องวินิจฉัยว่าศาลชั้นต้นเป็นผู้เสียหายที่สามารถร้องทุกข์หรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3664/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขึ้นศาลคดีมโนสาเร่: คดีผิดสัญญาหมั้นทุนทรัพย์ไม่เกิน 3 แสนบาท เสียค่าขึ้นศาล 200 บาท
ป.วิ.พ. มาตรา 189 บัญญัติว่า คดีมโนสาเร่ คือ (ง) คดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ไม่เกินสามแสนบาท และมาตรา 190 จัตวา วรรคหนึ่ง (เดิม) บัญญัติว่า ในคดีมโนสาเร่ ให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้นเท่ากับจำนวนค่าขึ้นศาลที่เรียกเก็บในคดีที่มาคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ซึ่งตาราง 1 (2) (ก) ต่อท้าย ป.วิ.พ. (เดิม) กำหนดว่า "คดีทั่วไปรวมทั้งคดีไม่มีข้อพิพาทให้เรียกเรื่องละสองร้อยบาท" ตามฟ้องโจทก์อ้างว่า จำเลยทั้งสามผิดสัญญาหมั้น ขอให้บังคับจำเลยทั้งสามร่วมกันหรือแทนกันคืนสินสอดและชดใช้ค่าเสียหาย รวมเป็นเงินจำนวน 150,000 บาท ดังนี้ เป็นคำฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ไม่เกินสามแสนบาท ย่อมเป็นคดีมโนสาเร่และเสียค่าขึ้นศาลเพียงสองร้อยบาท ตามบทกฎหมายและตารางต่อท้ายบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้น เมื่อโจทก์ชำระค่าขึ้นศาล 200 บาท จึงถูกต้องตามบทกฎหมายและตารางต่อท้ายบทกฎหมายดังกล่าวแล้ว แม้ศาลชั้นต้นจะเป็นศาลเยาวชนและครอบครัว แต่ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มิได้บัญญัติเรื่องค่าขึ้นศาลไว้ก็ต้องนำ ป.วิ.พ. มาใช้บังคับโดยอนุโลม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3663/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ – บุตรชอบด้วยกฎหมาย – สิทธิใช้ชื่อสกุล – ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148/145
แม้โจทก์คดีนี้จะเป็นจำเลยในคดีก่อนและถูกฟ้องในฐานะผู้จัดการมรดก แต่ผู้จัดการมรดกถือว่าเป็นผู้แทนของทายาท เมื่อโจทก์เป็นทายาทด้วยคนหนึ่งต้องถือว่าโจทก์ในฐานะส่วนตัวเป็นคู่ความในคดีก่อนด้วย คู่ความคดีนี้และคู่ความในคดีก่อนจึงเป็นคู่ความเดียวกัน
คดีก่อนมีประเด็นวินิจฉัยว่า โจทก์คดีก่อนซึ่งเป็นจำเลยคดีนี้เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ประเด็นคดีนี้มีว่าจำเลยคดีนี้ซึ่งเป็นโจทก์คดีก่อนเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพื่อที่จะวินิจฉัยว่าจำเลยคดีนี้มีสิทธิใช้ชื่อสกุลของบิดาหรือไม่ จึงถือว่าประเด็นในคดีนี้และประเด็นในคดีก่อนเป็นอย่างเดียวกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้ในปัญหาว่า จำเลยเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ จึงต้องห้ามมิให้คู่ความเดียวกันรื้อร้องฟ้องกันอีกตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 ส่วนปัญหาที่ว่าจำเลยมีสิทธิใช้ชื่อสกุลของบิดาหรือไม่ คำพิพากษาคดีก่อนที่พิพากษาว่า จำเลยคดีนี้เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายย่อมผูกพันโจทก์คดีนี้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง จำเลยจึงมีสิทธิใช้ชื่อสกุลของบิดาได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1561
คดีก่อนมีประเด็นวินิจฉัยว่า โจทก์คดีก่อนซึ่งเป็นจำเลยคดีนี้เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ประเด็นคดีนี้มีว่าจำเลยคดีนี้ซึ่งเป็นโจทก์คดีก่อนเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพื่อที่จะวินิจฉัยว่าจำเลยคดีนี้มีสิทธิใช้ชื่อสกุลของบิดาหรือไม่ จึงถือว่าประเด็นในคดีนี้และประเด็นในคดีก่อนเป็นอย่างเดียวกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้ในปัญหาว่า จำเลยเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ จึงต้องห้ามมิให้คู่ความเดียวกันรื้อร้องฟ้องกันอีกตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 ส่วนปัญหาที่ว่าจำเลยมีสิทธิใช้ชื่อสกุลของบิดาหรือไม่ คำพิพากษาคดีก่อนที่พิพากษาว่า จำเลยคดีนี้เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายย่อมผูกพันโจทก์คดีนี้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง จำเลยจึงมีสิทธิใช้ชื่อสกุลของบิดาได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1561
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3486/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจำนำสิทธิการรับเงินฝากคืน: สิทธิในการถอนเงินเพื่อชำระหนี้ และการหักกลบลบหนี้
สัญญาจำนำสิทธิการรับเงินฝากคืนไม่ใช่เป็นการจำนำตาม ป.พ.พ. มาตรา 747 หากแต่เป็นสัญญาประเภทหนึ่งซึ่งโจทก์และจำเลยที่ 1 ทำลงโดยชอบด้วยกฎหมายและด้วยใจสมัครมุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล เพื่อจะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ เมื่อไม่ปรากฏว่ามีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายหรือเป็นการพ้นวิสัยหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนแล้วย่อมใช้บังคับได้
การที่จำเลยที่ 1 ฟ้องโจทก์กับพวกต่อศาลเพื่อบังคับให้ชำระหนี้และโจทก์กับพวกให้การต่อสู้คดี เมื่อปรากฏว่าศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์กับพวกชำระหนี้แล้ว และในที่สุดศาลฎีกาพิพากษายืนให้โจทก์ชำระหนี้แก่จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ผู้เข้าเป็นคู่ความแทน ดังนี้ หนี้ของโจทก์ที่มีต่อจำเลยทั้งสองจึงหาใช่เป็นหนี้ที่มีข้อต่อสู้อันจะไม่สามารถหักกลบลบหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 344 ไม่
การที่จำเลยที่ 1 ฟ้องโจทก์กับพวกต่อศาลเพื่อบังคับให้ชำระหนี้และโจทก์กับพวกให้การต่อสู้คดี เมื่อปรากฏว่าศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์กับพวกชำระหนี้แล้ว และในที่สุดศาลฎีกาพิพากษายืนให้โจทก์ชำระหนี้แก่จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ผู้เข้าเป็นคู่ความแทน ดังนี้ หนี้ของโจทก์ที่มีต่อจำเลยทั้งสองจึงหาใช่เป็นหนี้ที่มีข้อต่อสู้อันจะไม่สามารถหักกลบลบหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 344 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13982/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด: การพิจารณาความผิดตามกฎหมายยาเสพติดและกฎหมายจราจร และการรับฎีกา
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 57, 91 และ พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 ทวิ, 157/1 ซึ่งเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท แม้ความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 ทวิ, 157/1 จะเป็นบทหนัก แต่ความผิดตามบทมาตราดังกล่าวถือว่าเป็นความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 5 ด้วย ดังนั้น ฟ้องโจทก์จึงเป็นฟ้องที่ขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีนี้จึงเป็นที่สุดตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 18 วรรคหนึ่ง ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของโจทก์จึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13745/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนบุตรชอบด้วยกฎหมาย: สิทธิเมื่อได้รับโต้แย้งความยินยอมจากมารดาและเด็กยังไม่สามารถให้ความยินยอมได้
ตามเจตนารมณ์ของ ป.พ.พ. มาตรา 1548 บิดาจะจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายได้ต่อเมื่อได้รับความยินยอมของเด็กและมารดาเด็ก โดยทั้งเด็กและมารดาเด็กจะต้องไปแสดงความยินยอมต่อนายทะเบียนด้วยนั้น มีความมุ่งหมายจะคุ้มครองสิทธิที่เด็กจะพึงได้รับจากผู้เป็นบิดาอันเป็นเรื่องประโยชน์ของเด็กและการให้ความยินยอมดังกล่าวเป็นเรื่องเฉพาะตัว อย่างไรก็ตามการที่กฎหมายบังคับให้ผู้ขอรับรองบุตรต้องได้รับความยินยอม ก็ต่อเมื่อเด็กและมารดาเด็กอยู่ในฐานะที่จะให้ความยินยอมได้เท่านั้น เมื่อโจทก์เคยไปติดต่อสำนักงานเขตดุสิตเพื่อจดทะเบียนว่าจำเลยที่ 2 ซึ่งมีอายุเพียง 7 ปี เป็นบุตรของตน แม้จะไม่ได้ทำเป็นหนังสือตามระเบียบ แต่เจ้าพนักงานแจ้งโจทก์ว่าต้องได้รับความยินยอมจากจำเลยทั้งสองก่อน และโจทก์ให้ทนายความมีหนังสือแจ้งไปยังจำเลยที่ 1 มารดาของจำเลยที่ 2 เพื่อดำเนินการ แต่จำเลยที่ 1 มีหนังสือตอบปฏิเสธและจำเลยที่ 2 อยู่ในวัยไร้เดียงสาไม่สามารถให้ความยินยอมได้จึงเป็นที่เห็นได้ชัดเจนแล้วว่า การที่จะให้โจทก์ไปยื่นคำร้องจดทะเบียนเป็นหนังสือเพื่อให้นายทะเบียนมีหนังสือถึงจำเลยทั้งสองตามมาตรา 1548 วรรคสอง ย่อมไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ พฤติการณ์ดังกล่าวถือว่า โจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิแล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขอต่อศาลขอให้พิพากษาว่าจำเลยที่ 2 เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11868/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายและครอบครองยาเสพติดเพื่อจำหน่าย ศาลฎีกาพิพากษาเพิ่มโทษจากคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
เมื่อจำเลยจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน 2 เม็ด ให้แก่สายลับผู้ล่อซื้อ จำเลยมีความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนและเมื่อเข้าตรวจค้นยังพบเมทแอมเฟตามีนอยู่ในความครอบครองของจำเลยอีกจำนวนหนึ่ง ย่อมเป็นข้อบ่งชี้ว่าเมทแอมเฟตามีน 2 เม็ด ที่จำเลยจำหน่ายให้สายลับเป็นเพียงส่วนหนึ่งของเมทแอมเฟตามีนที่จำเลยมีไว้เพื่อจำหน่าย ฟังได้ว่าเมทแอมเฟตามีน 24 เม็ด ที่จำเลยมีไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตนั้นเป็นการมีไว้เพื่อจำหน่าย สำหรับเมทแอมเฟตามีน 90 เม็ดของกลางซึ่งค้นได้ที่หัวเตียงในบ้านของ พ. ที่ร้อยตำรวจเอก น. กับพวกไปตรวจค้นพบภายหลังการล่อซื้อและจับกุมจำเลยโดยมิได้ตรวจค้นพบเสียแต่ในคราวแรกที่เข้าตรวจค้นบ้านของ พ. ย่อมมีเหตุผลให้น่าเชื่อว่าเป็นเพราะร้อยตำรวจเอก น. กับพวกได้ทราบข้อเท็จจริงจากคำให้การของจำเลยนั้นเอง หากจำเลยมิได้เกี่ยวข้องและเมทแอมเฟตามีนมิใช่เป็นของจำเลยย่อมเป็นไปได้ยากที่จำเลยจะสามารถทราบถึงที่ซ่อนของเมทแอมเฟตามีนดังกล่าวได้ ฟังได้ว่าเมทแอมเฟตามีน 90 เม็ด ของกลางเป็นส่วนหนึ่งของเมทแอมเฟตามีนที่จำเลยมีไว้เพื่อจำหน่ายเช่นกัน จำเลยจึงมีความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายอีกกระทงหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11274/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการจดทะเบียนรับบุตรเกินกำหนดระยะเวลา 10 ปี และสิทธิใช้ชื่อสกุลของบุตร
โจทก์อ้างในคำฟ้องว่า โจทก์มิใช่บิดาที่แท้จริงของจำเลยที่ 1 แต่ที่จดทะเบียนว่าจำเลยที่ 1 เป็นบุตรเพราะสำคัญผิด หากเป็นจริงตามคำฟ้อง โจทก์ย่อมเป็นผู้มีส่วนได้เสียตาม ป.พ.พ. มาตรา 1554 ที่จะขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรเพราะเหตุว่าโจทก์ซึ่งเป็นผู้ขอจดทะเบียนนั้นมิใช่บิดา แต่บทบัญญัติดังกล่าวกำหนดระยะเวลาให้ฟ้องภายใน 3 เดือน นับแต่วันที่รู้การจดทะเบียน และห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้น 10 ปี นับแต่วันจดทะเบียน ซึ่งกำหนดระยะเวลาดังกล่าวมิใช่สิทธิเรียกร้องอันเป็นอายุความที่ศาลจะยกมาเป็นเหตุยกฟ้องไม่ได้เมื่อไม่ได้ยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/29 เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้เกินกำหนดเวลา 10 ปี นับแต่วันจดทะเบียน จึงต้องห้ามมิให้ฟ้องขอเพิกถอนการจดทะเบียนรับจำเลยที่ 1 เป็นบุตร และถือว่าจำเลยที่ 1 เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ จำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิใช้ชื่อสกุลของโจทก์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1561 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นบุตรของจำเลยที่ 1 จึงมีสิทธิใช้ชื่อสกุลของโจทก์ได้ตามกฎหมายดังกล่าวเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9602/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบเงินทอนจากการล่อซื้อยาเสพติด: เงินทอนถือเป็นทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำผิด จึงต้องริบตามกฎหมาย
เงินทอนของกลางในการล่อซื้อเมทแอมเฟตามีนจากจำเลยถือว่าเป็นทรัพย์ที่จำเลยได้ใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ จึงต้องริบตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 102
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 7/2553)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 7/2553)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9602/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนและทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำผิด ศาลริบเงินทอนจากการซื้อขาย
เงินทอน 10 บาท ของกลางที่สายลับใช้ล่อซื้อเมทแอมเฟตามีนจากจำเลยเป็นทรัพย์ที่จำเลยได้ใช้ในการกระทำความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน ต้องริบตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 102
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 7/2553)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 7/2553)