พบผลลัพธ์ทั้งหมด 271 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5860/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลเยาวชนและครอบครัวเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งอบรมเยาวชน ไม่ถือเป็นการลงโทษตาม ป.อ. และจำกัดสิทธิฎีกาในข้อเท็จจริง
การที่ศาลชั้นต้นอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 104 (2) ให้เปลี่ยนโทษจำคุกจำเลยที่ 2 มีกำหนด 9 ปี เป็นส่งจำเลยที่ 2 ไปฝึกและอบรมมีกำหนดขั้นต่ำ 3 ปี ขั้นสูง 5 ปี นับแต่วันพิพากษา เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นอันเป็นศาลเยาวชนและครอบครัวใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนแทนการลงโทษทางอาญาแก่จำเลยที่ 2 จึงไม่เป็นการลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 18 และต้องถือว่าศาลชั้นต้นมิได้พิพากษาให้ลงโทษจำคุกจำเลยที่ 2 เกิน 5 ปี เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษายืน จึงห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 6 และมาตรา 124
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5478/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความจำกัดสิทธิบังคับคดี: โจทก์บังคับคดีเฉพาะทรัพย์จำนองตามสัญญา แม้บังคับแล้วยังขาดหนี้ โจทก์ไม่มีสิทธิบังคับคดีทรัพย์สินอื่น
ตามคำฟ้องในคดีแพ่งโจทก์ฟ้องขอให้ชำระหนี้และบังคับจำนอง หากยึดทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดไม่พอชำระหนี้ยอมให้ยึดทรัพย์สินอื่นออกขายทอดตลาดได้ แต่เมื่อทำสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมกลับระบุในสัญญาประนีประนอมยอมความว่า หากจำเลยผิดนัดชำระหนี้งวดใดงวดหนึ่งให้ถือว่าผิดนัดชำระหนี้ทั้งหมด ยอมให้โจทก์บังคับคดีและให้ยึดทรัพย์จำนองตามฟ้องได้ทันที โดยไม่ติดใจเรียกร้องเงินอื่นใดอีก ไม่ปรากฏข้อความว่า หากบังคับชำระหนี้เอาทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดได้เงินไม่พอชำระหนี้ก็ให้บังคับเอาแก่ทรัพย์สินอื่นได้ด้วย ดังนี้ แสดงว่าโจทก์และจำเลยประสงค์จะบังคับคดีแก่ทรัพย์จำนองตามฟ้องเท่านั้น เมื่อโจทก์บังคับเอาแก่ทรัพย์จำนองแล้วได้เงินไม่พอชำระหนี้ โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิที่จะบังคับเอาแก่ทรัพย์สินอื่นของจำเลยได้อีก โจทก์จึงไม่มีอำนาจนำหนี้ดังกล่าวมาฟ้องจำเลยเป็นคดีล้มละลาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5478/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการบังคับคดีตามสัญญาประนีประนอมยอมความ: การจำกัดสิทธิเรียกร้องเมื่อบังคับคดีเฉพาะทรัพย์จำนอง
ตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งศาลได้พิพากษาตามยอมกำหนดไว้ว่า จำเลยที่ 1 และที่ 3 ยอมรับว่าเป็นหนี้โจทก์ หนี้เบิกเงินเกินบัญชีและหนี้เงินกู้รวม 36,130,856.01 บาทพร้อมดอกเบี้ย จำเลยที่ 2 ตกลงร่วมรับผิดในหนี้ 27,265,664.86 บาท โจทก์ตกลงลดยอดหนี้ให้จำเลยทั้งสามเหลือจำนวน 19,152,000 บาท โดยให้ผ่อนชำระเป็นงวดรายเดือน หากผิดนัดงวดใดงวดหนึ่งยอมให้โจทก์บังคับคดีในยอดหนี้เต็มจำนวนและยึดทรัพย์จำนองตามฟ้องได้ทันที โดยไม่มีข้อความว่า หากบังคับชำระหนี้เอาทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดได้เงินไม่พอชำระหนี้ก็ให้โจทก์บังคับเอาแก่ทรัพย์สินอื่นได้ด้วย แสดงว่าโจทก์ประสงค์จะบังคับคดีเอาจากทรัพย์จำนองเท่านั้น ดังนั้นเมื่อโจทก์บังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์จำนองได้เงินไม่พอชำระหนี้ตามคำพิพากษา โจทก์จึงไม่มีสิทธิบังคับชำระหนี้เอาแก่ทรัพย์สินอื่นของจำเลยทั้งสามได้อีก และไม่อาจนำหนี้ที่เหลือมาฟ้องจำเลยทั้งสามเป็นคดีล้มละลายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4825/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรวมโทษหลายกระทง, ลดโทษที่ถูกต้อง, และการลงโทษปรับควบคู่จำคุกในคดีอาญา
บทบัญญัติ ป.วิ.อ. มาตรา 134/1 วรรคหนึ่ง เพิ่งจะบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา 38 แห่ง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.อ. (ฉบับที่ 22)ฯ ประกาศในราชกิจจานุเบกษาวันที่ 23 ธันวาคม 2547 แต่คดีนี้เหตุเกิดเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2547 พนักงานสอบสวนทำการสอบคำให้การจำเลยทั้งสองซึ่งมีอายุ 48 ปี และ 37 ปี ตามลำดับ เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2547 ซึ่งเป็นระยะเวลาก่อนที่มาตรา 38 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าวจะใช้บังคับ จึงไม่อาจนำบทบัญญัติดังกล่าวมาใช้ย้อนหลังดังนั้น การสอบสวนและจัดทำบันทึกการสอบสวนจำเลยที่ 1 ซึ่งพนักงานสอบสวนดำเนินการตามบทบัญญัติของกฎหมายเดิมย่อมชอบด้วยกฎหมายในขณะนั้นแล้ว
จำเลยทั้งสองกระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน ศาลชั้นต้นรวมโทษทุกกระทงแล้วจึงลดโทษให้จำเลยทั้งสองแทนที่จะลดโทษแต่ละกระทงก่อนแล้วจึงรวมโทษ ทั้งอัตราโทษสูงสุดที่จะลงแก่จำเลยทั้งสองตาม ป.อ. มาตรา 91 นั้นถ้าเป็นกรณีที่มีการเพิ่มโทษหรือลดโทษแล้วจะต้องมีการเพิ่มโทษหรือลดโทษก่อน มิใช่ต้องปรับบทมาตรา 91 เสียก่อนแล้วจึงจะเพิ่มโทษหรือลดโทษ การที่ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยทั้งสองฐานเดินทางไปนอกราชอาณาจักรปรับคนละ 1,000 บาท ฐานเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อจำหน่ายและฐานมีเมทแอมเฟตามีนเพื่อจำหน่ายเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานนำเมทแอมเฟตามีนเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อจำหน่าย ลงโทษจำเลยทั้งสองให้ประหารชีวิต รวมโทษจำเลยทั้งสองทุกกระทงแล้ว คงประหารชีวิตสถานเดียวแล้วลดโทษให้จำเลยทั้งสองตาม ป.อ. มาตรา 78 ประกอบมาตรา 52 (1) หนึ่งในสาม และมาตรา 78 ประกอบมาตรา 52 (2) กึ่งหนึ่ง ตามลำดับ เป็นจำคุกตลอดชีวิต และศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษายืนเป็นการไม่ชอบเพราะไม่ได้ลดโทษก่อนตามมาตรา 78 แล้วจึงรวมโทษตามมาตรา 91 นอกจากนี้โทษปรับมิใช่การจำคุกดังนั้น แม้จะจำคุตลอดชีวิตแล้วก็ปรับได้ด้วยไม่เป็นการต้องห้ามตามมาตรา 91 ที่ศาลล่างทั้งสองไม่ได้ลงโทษปรับย่อมเป็นการไม่ชอบ แต่อย่างไรก็ตามศาลฎีกาก็ไม่อาจลงโทษปรับจำเลยทั้งสองได้เนื่องจากเป็นการเพิ่มเติมโทษซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225
จำเลยทั้งสองกระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน ศาลชั้นต้นรวมโทษทุกกระทงแล้วจึงลดโทษให้จำเลยทั้งสองแทนที่จะลดโทษแต่ละกระทงก่อนแล้วจึงรวมโทษ ทั้งอัตราโทษสูงสุดที่จะลงแก่จำเลยทั้งสองตาม ป.อ. มาตรา 91 นั้นถ้าเป็นกรณีที่มีการเพิ่มโทษหรือลดโทษแล้วจะต้องมีการเพิ่มโทษหรือลดโทษก่อน มิใช่ต้องปรับบทมาตรา 91 เสียก่อนแล้วจึงจะเพิ่มโทษหรือลดโทษ การที่ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยทั้งสองฐานเดินทางไปนอกราชอาณาจักรปรับคนละ 1,000 บาท ฐานเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อจำหน่ายและฐานมีเมทแอมเฟตามีนเพื่อจำหน่ายเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานนำเมทแอมเฟตามีนเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อจำหน่าย ลงโทษจำเลยทั้งสองให้ประหารชีวิต รวมโทษจำเลยทั้งสองทุกกระทงแล้ว คงประหารชีวิตสถานเดียวแล้วลดโทษให้จำเลยทั้งสองตาม ป.อ. มาตรา 78 ประกอบมาตรา 52 (1) หนึ่งในสาม และมาตรา 78 ประกอบมาตรา 52 (2) กึ่งหนึ่ง ตามลำดับ เป็นจำคุกตลอดชีวิต และศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษายืนเป็นการไม่ชอบเพราะไม่ได้ลดโทษก่อนตามมาตรา 78 แล้วจึงรวมโทษตามมาตรา 91 นอกจากนี้โทษปรับมิใช่การจำคุกดังนั้น แม้จะจำคุตลอดชีวิตแล้วก็ปรับได้ด้วยไม่เป็นการต้องห้ามตามมาตรา 91 ที่ศาลล่างทั้งสองไม่ได้ลงโทษปรับย่อมเป็นการไม่ชอบ แต่อย่างไรก็ตามศาลฎีกาก็ไม่อาจลงโทษปรับจำเลยทั้งสองได้เนื่องจากเป็นการเพิ่มเติมโทษซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4742/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำคดีล้มละลาย: เหตุอื่นที่ไม่ควรล้มละลายเปลี่ยนไปถือเป็นประเด็นใหม่
ผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องจากธนาคาร ท. เจ้าหนี้เดิมหากมาฟ้องร้องลูกหนี้ในประเด็นที่เจ้าหนี้เดิมได้ฟ้องร้องและศาลได้วินิจฉัยถึงที่สุดไปแล้วโดยเหตุอย่างเดียวกัน ย่อมเป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 ประกอบกับ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 14 ได้
คดีก่อนธนาคาร ท. เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองขอให้พิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยทั้งสองเด็ดขาดและพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลายศาลล้มละลายกลางเห็นว่าแม้จำเลยทั้งสองจะมีหนี้สินล้นพ้นตัว แต่จำเลยทั้งสองมีรายได้ประจำรวมกันเกินเดือนละ 100,000 บาท ย่อมสามารถชำระหนี้ได้ อีกทั้งหากเจ้าหนี้เดิมยินยอมลดหนี้จำนวนหนึ่งน่าเชื่อว่าจำเลยทั้งสองจะสามารถผ่อนชำระหนี้ได้ในระยะเวลาอันสั้น สมควรให้จำเลยทั้งสองไปเจรจาชำระหนี้แก่เจ้าหนี้เดิม กรณีจึงมีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้จำเลยทั้งสองล้มละลาย คดีถึงที่สุด แต่คดีนี้โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องจากธนาคาร ท. ฟ้องจำเลยเป็นคดีล้มละลายโดยกล่าวอ้างในอุทธรณ์ว่า ระยะเวลาผ่านพ้นไป 4 ปีเศษแล้ว จำเลยทั้งสองไม่ได้เข้าทำสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้แก่โจทก์ ทั้งไม่ชำระหนี้ใดๆ ให้แก่โจทก์เลย เช่นนี้ หากเป็นจริงดังที่โจทก์อ้างในอุทธรณ์ก็ถือว่าเหตุอื่นที่ไม่ควรให้จำเลยทั้งสองล้มละลายนั้นอาจจะเปลี่ยนไปในสาระสำคัญ ประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยในคดีนี้จึงเป็นประเด็นที่เกิดขึ้นใหม่ ไม่ใช่ประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันกับคดีก่อนอันจะเป็นฟ้องซ้ำ
คดีก่อนธนาคาร ท. เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองขอให้พิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยทั้งสองเด็ดขาดและพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลายศาลล้มละลายกลางเห็นว่าแม้จำเลยทั้งสองจะมีหนี้สินล้นพ้นตัว แต่จำเลยทั้งสองมีรายได้ประจำรวมกันเกินเดือนละ 100,000 บาท ย่อมสามารถชำระหนี้ได้ อีกทั้งหากเจ้าหนี้เดิมยินยอมลดหนี้จำนวนหนึ่งน่าเชื่อว่าจำเลยทั้งสองจะสามารถผ่อนชำระหนี้ได้ในระยะเวลาอันสั้น สมควรให้จำเลยทั้งสองไปเจรจาชำระหนี้แก่เจ้าหนี้เดิม กรณีจึงมีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้จำเลยทั้งสองล้มละลาย คดีถึงที่สุด แต่คดีนี้โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องจากธนาคาร ท. ฟ้องจำเลยเป็นคดีล้มละลายโดยกล่าวอ้างในอุทธรณ์ว่า ระยะเวลาผ่านพ้นไป 4 ปีเศษแล้ว จำเลยทั้งสองไม่ได้เข้าทำสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้แก่โจทก์ ทั้งไม่ชำระหนี้ใดๆ ให้แก่โจทก์เลย เช่นนี้ หากเป็นจริงดังที่โจทก์อ้างในอุทธรณ์ก็ถือว่าเหตุอื่นที่ไม่ควรให้จำเลยทั้งสองล้มละลายนั้นอาจจะเปลี่ยนไปในสาระสำคัญ ประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยในคดีนี้จึงเป็นประเด็นที่เกิดขึ้นใหม่ ไม่ใช่ประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันกับคดีก่อนอันจะเป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3694/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจการเข้าร่วมเป็นโจทก์: กรรมการบริษัทต้องกระทำการในนามบริษัท ไม่ใช่ส่วนตัว
ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า จำเลยออกเช็คให้แก่บริษัท ส. โดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คนั้นและในขณะที่ออกเช็คนั้นไม่มีเงินอยู่ในบัญชีอันจะพึงให้ใช้เงินได้ อันเป็นการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4 ผู้เสียหายในคดีนี้คือบริษัท ส. ไม่ใช่นาย ส. แม้นาย ส. จะเป็นกรรมการของบริษัท ส. แต่การกระทำการแทนบริษัทจะต้องลงลายมือชื่อและประทับตราของบริษัท จึงจะมีอำนาจกระทำการแทนบริษัทได้ เมื่อปรากฏตามคำร้องของนาย ส. ว่าเป็นการยื่นคำร้องในฐานะส่วนตัว ดังนั้นนาย ส. จึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องเข้าร่วมเป็นโจทก์ได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้นาย ส. เข้าเป็นโจทก์ร่วมจึงเป็นการไม่ชอบ โจทก์ร่วมจึงไม่ใช่คู่ความในคดี ไม่มีสิทธิอุทธรณ์หรือฎีกาต่อมา ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2950/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาล: การพิพากษายกฟ้องเนื่องจากขาดเขตอำนาจศาล เป็นเหตุต้องห้ามมิให้ฎีกา
แม้ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้ว เห็นว่า คดีไม่อยู่ในเขตอำนาจของศาลชั้นต้นจึงพิพากษายกฟ้อง และต่อมาศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ก็ถือเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ ซึ่งต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาไม่ว่าจะเป็นปัญหาข้อเท็จจริงหรือปัญหาข้อกฎหมายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 220 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2171/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามในข้อเท็จจริงและการพิจารณาคำร้องรับฎีกา: ศาลชั้นต้นต้องปฏิบัติตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนด
โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นทายาทของ ส. และ ข. ฟ้องขอแบ่งมรดกจากจำเลยโดยให้จดทะเบียนเพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดินมรดกระหว่างจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกกับจำเลยในฐานะส่วนตัว และเพิกถอนการจดทะเบียนการโอนที่ดินระหว่างจำเลยกับจำเลยร่วมทั้งสี่ จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์และเป็นเรื่องที่โจทก์ทั้งสองแต่ละคนใช้สิทธิฟ้องเรียกส่วนแบ่งทรัพย์มรดกจากจำเลยเป็นการเฉพาะตัว โจทก์แต่ละคนชอบที่จะเสนอคดีต่อศาลได้โดยลำพัง แม้โจทก์ทั้งสองจะฟ้องคดีรวมกันมาก็ต้องถือทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนแยกต่างหากจากกัน คู่ความตีราคาทรัพย์พิพาทตามคำขอท้ายฟ้อง 210,000 บาท ฉะนั้นทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนจึงคิดเป็นเงินเพียง 52,500 บาท ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริง เว้นแต่ผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ได้รับรองให้ฎีกา ทั้งนี้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง เมื่อจำเลยและจำเลยร่วมทั้งสี่ได้ยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ภาค 3 รับรองให้ฎีกาพร้อมกับฎีกาตามมาตรา 248 วรรคสี่ แล้ว ศาลชั้นต้นชอบที่จะส่งคำร้องขอให้ผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิจารณาว่าจะรับรองให้ฎีกาในข้อเท็จจริงหรือไม่ก่อนแล้วจึงมีคำสั่งว่าจะรับฎีกาหรือไม่ การที่ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นที่ไม่ได้นั่งพิจารณาคดีสั่งยกคำร้องและสั่งรับฎีกาดังกล่าวข้างต้นจึงเป็นการผิดหลงและเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบเนื่องจากไม่ได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณาคดี ศาลฎีกามีอำนาจเพิกถอนคำสั่งของผู้พิพากษาศาลชั้นต้นที่สั่งยกคำร้องและสั่งรับฎีกาดังกล่าวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1) และ มาตรา 27 ประกอบด้วยมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1711/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาโทษจำเลยอายุไม่เกิน 18 ปีในคดีพยายามฆ่า: การปรับโทษตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนตาม ป.อ. มาตรา 289 (4) ประกอบมาตรา 80 และ 83 ขณะกระทำความผิดจำเลยอายุ 17 ปีเศษ ลดมาตราส่วนโทษให้กึ่งหนึ่งตาม ป.อ. มาตรา 76 ประกอบ ป.อ. มาตรา 18 วรรคสาม แล้ว คงจำคุก 25 ปี อาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 104 (2) ให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นฝึกและอบรม ศาลอุทธรณ์แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวพิพากษากลับให้ยกฟ้อง ศาลฎีกาตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้วเห็นว่าจำเลยกระทำความผิดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น แต่เนื่องจาก ป.อ. มาตรา 18 วรรคสาม บัญญัติว่า ในกรณีผู้ซึ่งกระทำผิดในขณะที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ได้กระทำผิดที่มีระวางโทษประหารชีวิต หรือจำคุกตลอดชีวิต ให้ถือว่าระวางโทษดังกล่าวได้เปลี่ยนเป็นระวางโทษจำคุก 50 ปี ดังนั้นที่ศาลชั้นต้นวางโทษฐานร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนแล้วลดมาตราส่วนโทษให้กึ่งหนึ่งโดยประกอบ ป.อ. มาตรา 18 วรรคสาม คงจำคุก 25 ปี นั้นไม่ถูกต้อง เพราะ จะทำให้จำเลยซึ่งมีอายุเกินสิบแปดปีไม่ได้รับประโยชน์ตามเจตนารมณ์ของมาตรา 18 วรรคสาม และจะทำให้เด็กได้รับโทษเท่ากับผู้ใหญ่ จึงให้เปลี่ยนโทษประหารชีวิตเป็นห้าสิบปีเสียก่อน แล้วจึงนำ ป.อ. มาตรา 80 ซึ่งให้ระวางโทษสองในสามของโทษห้าสิบปีมาปรับ หลังจากนั้นจึงลดมาตราส่วนโทษกึ่งหนึ่งตาม ป.อ. มาตรา 76 ประกอบมาตรา 18 วรรคสาม ดังนั้น จึงคงจำคุกเพียง 16 ปี 8 เดือน ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขโทษให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1147/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องไม่ชัดแจ้ง, ดอกเบี้ย-ค่าธรรมเนียมผิดกฎหมาย, ศาลฎีกาแก้ไขคำพิพากษา
การที่โจทก์ส่งสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยขาดไป 1 หน้า จำเลยอาจจะติดต่อขอรับจากศาลหรือขอคัดถ่ายเอกสารจากศาลได้ ไม่ทำให้คำฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมายกลายเป็นคำฟ้องที่เคลือบคลุม
การประกอบธุรกิจของโจทก์อยู่ในบังคับของ พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 การเรียกดอกเบี้ยจะต้องเป็นไปตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลด ซึ่งในขณะที่จำเลยกู้ยืมเงินไปจากโจทก์นั้นธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์รวมทั้งโจทก์จะเรียกดอกเบี้ยได้จะต้องประกาศกำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้แล้วส่งสำเนาประกาศไปให้ธนาคารแห่งประเทศไทย จึงจะมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้ ดังนั้นโจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดค่าธรรมเนียมในการกู้ยืมเงินจากจำเลยอัตราร้อยละ 0.5 ของวงเงินที่กู้หรือ 1,500 บาท โดยหักจากต้นเงินที่จะจ่ายให้แก่จำเลย
ตามประกาศอัตราดอกเบี้ยของโจทก์มิได้กำหนดให้เรียกเบี้ยปรับในกรณีชำระล่าช้า โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกเบี้ยปรับในการชำระเงินล่าช้าได้
การประกอบธุรกิจของโจทก์อยู่ในบังคับของ พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 การเรียกดอกเบี้ยจะต้องเป็นไปตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลด ซึ่งในขณะที่จำเลยกู้ยืมเงินไปจากโจทก์นั้นธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์รวมทั้งโจทก์จะเรียกดอกเบี้ยได้จะต้องประกาศกำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้แล้วส่งสำเนาประกาศไปให้ธนาคารแห่งประเทศไทย จึงจะมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้ ดังนั้นโจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดค่าธรรมเนียมในการกู้ยืมเงินจากจำเลยอัตราร้อยละ 0.5 ของวงเงินที่กู้หรือ 1,500 บาท โดยหักจากต้นเงินที่จะจ่ายให้แก่จำเลย
ตามประกาศอัตราดอกเบี้ยของโจทก์มิได้กำหนดให้เรียกเบี้ยปรับในกรณีชำระล่าช้า โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกเบี้ยปรับในการชำระเงินล่าช้าได้