คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
กีรติ กาญจนรินทร์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 271 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1198/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันตัวผู้ต้องหา: การผิดสัญญา, อายุความ, และเบี้ยปรับที่สูงเกินส่วน
ที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเนื่องจากขณะยื่นฟ้อง พันตำรวจโท ป. ผู้ลงชื่อในใบแต่งทนายความได้ย้ายไปจากสถานีตำรวจทางหลวง 1 แล้ว จึงไม่มีอำนานหน้าที่ในวันที่ฟ้องคดีนั้น จำเลยไม่ได้ยกปัญหานี้ขึ้นต่อสู้ในคำให้การเพื่อให้เป็นประเด็นในคดี จึงเป็นฎาโดยยกข้อเท็จจริงที่จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ไว้เพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายเรื่องอำนาจฟ้อง ถือได้ว่าเป็นการฎีกาข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่าง
จำเลยยอมรับว่าได้ทำคำร้รองขอประกันและทำสัญญาประกันตัว อ. บุตรชายจำเลยซึ่งต้องหาว่าขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัสและทรัพย์สินเสียหาย ไปจากโจทก์ ซึ่งตามสัญญาประกันมีข้อความระบุในข้อ 1 ว่าผู้ประกันตนสัญญาว่าจะส่งตัวผู้ต้องหาให้ตามกำหนดนัดของเจ้าพนักงาน และข้อ 2 ระบุว่าถ้าหากผิดสัญญาข้อ 1 ผู้ประกันยินยอมใช้เงิน 50,000 บาท ทั้งปรากฏว่าด้านหลังของสัญญาประกันมีตารางกำหนดวันเวลาให้ผู้ประกันส่งผู้ต้องหาต่อผู้ให้ประกัน ซึ่งจำเลยได้ลงลายมือชื่อรับทราบกำหนดนัดดังกล่าวไว้ด้วย แสดงให้เห็นได้ชัดเจนว่าจำเลยทราบดีว่าตนมีหน้าที่ต้องส่งตัวผู้ต้องหาให้แก่โจทก์เมื่อใด เมื่อจำเลยมิได้นำตัวผู้ต้องหามาส่งให้โจทก์ตามกำหนดนัด จำเลยผิดสัญญาประกันตั้งแต่วันดังกล่าวและต้องรับผิดชำระเงินแก่โจทก์ตามสัญญาประกัน
กรณีผิดสัญญาประกันตัวผู้ต้องหาไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องเรียกใช้อายุความทั่วไป ซึ่งมีกำหนดสิบปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 ส่วนสิทธิเรียกร้องในส่วนของดอกเบี้ยนั้นโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้ไม่เกินห้าปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (1)
สัญญาประกันกำหนดให้จำเลยชำระเงิน 50,000 บาท แก่โจทก์ หากจำเลยผิดสัญญาไม่ส่งตัวผู้ต้องหาให้แก่โจทก์ตามกำหนดนัด จึงเป็นข้อตกลงที่กำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้ามีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ หากเห็นว่าสูงเกินส่วน ศาลสามารถลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 950/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาฆ่าต้องปรากฏชัด การยิงด้วยกระสุนที่ไม่มีเม็ดตะกั่ว ไม่ถือเป็นความพยายามฆ่า
กระสุนปืนที่จำเลยใช้ยิงผู้เสียหายไม่ได้บรรจุเม็ดตะกั่วบรรจุเฉพาะดินปืนอัดด้วยกระดาษเท่านั้น จำเลยทราบดีว่าไม่สามารถทำให้ผู้เสียหายถึงแก่ความตายหรือได้รับอันตรายแก่กาย การกระทำของจำเลยจึงถือไม่ได้ว่ามีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 809/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์หนี้ในคดีล้มละลาย: เจ้าหนี้ต้องแสดงหลักฐานจริงในชั้นสอบสวน แม้เป็นมูลหนี้ที่ฟ้องแล้ว
การขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายเจ้าหนี้ทั้งหลาย มีหน้าที่ต้องนำพยานหลักฐานมาแสดงต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในชั้นสอบสวนเพื่อพิสูจน์ให้เห็นว่า มูลหนี้ที่ยื่นคำขอรับชำระหนี้ยังคงมีอยู่จริงก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์และลูกหนี้ต้องรับผิดในหนี้ดังกล่าว แม้หนี้ที่ขอรับชำระหนี้จะเป็นมูลหนี้เดียวกับที่โจทก์นำมาฟ้องขอให้ลูกหนี้ล้มละลายก็หาผูกพันเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือศาลให้จำต้องถือตามไม่ ทั้งในการตรวจคำขอรับชำระหนี้ไม่ว่าจะเป็นหนี้ตามคำพิพากษาหรือไม่ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจออกหมายเรียกให้เจ้าหนี้ ลูกหนี้ หรือบุคคลใดมาสอบสวนในเรื่องหนี้สินที่ขอรับชำระหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 105 มิใช่หน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะต้องไปตรวจเอกสารแห่งมูลหนี้ในสำนวนศาลหรือสำนักงานบังคับคดีจังหวัด
เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในมูลหนี้ตามคำพิพากษาของศาลจังหวัดระยอง โดยมีเพียงสำเนาคำพิพากษาฉบับผู้รับมอบอำนาจเจ้าหนี้รับรองด้วยตนเองแนบท้ายคำขอรับชำระหนี้ สำเนาเอกสารดังกล่าวไม่มีเจ้าหน้าที่ศาลรับรองความถูกต้อง จึงต้องห้ามมิให้รับฟังตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 809/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหนี้ต้องแสดงหลักฐานมูลหนี้ในคดีล้มละลายก่อนศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ มิใช่พึ่งเอกสารในสำนวนศาล
การขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายไม่ว่าจะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหรือเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ก็ตาม มีหน้าที่ต้องนำพยานหลักฐานมาแสดงต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในชั้นสอบสวนเพื่อพิสูจน์ให้เห็นว่า มูลหนี้ที่ยื่นคำขอรับชำระหนี้ยังคงมีอยู่จริงก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์และลูกหนี้ต้องรับผิดในหนี้ดังกล่าวแม้หนี้ที่ขอรับชำระหนี้จะเป็นมูลหนี้เดียวกับที่โจทก์นำมาฟ้องขอให้ลูกหนี้ล้มละลายก็ตาม ก็หาผูกพันเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือศาลต้องถือตามไม่ ทั้งในการตรวจคำขอรับชำระหนี้ไม่ว่าจะเป็นหนี้ตามคำพิพากษาหรือไม่ เจ้าหนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจออกหมายเรียกให้เจ้าหนี้ ลูกหนี้ หรือบุคคลใดมาสอบสวนในเรื่องหนี้สินที่ขอรับชำระหนี้ตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 105 มิใช่หน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะต้องไปตรวจสอบเอกสารแห่งมูลหนี้ในสำนวนศาลหรือสำนักงานบังคับคดีตามที่เจ้าหนี้กล่าวอ้างแต่ประการใด
เมื่อเจ้าหนี้ไม่นำพยานหลักฐานมาให้การสอบสวนและนำส่งเอกสารตามกำหนดนัดของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์โดยไม่แจ้งเหตุขัดข้องใด ๆ ให้ทราบ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงต้องทำความเห็นไปตามพยานหลักฐานเท่าที่ปรากฏในสำนวนการสอบสวน ซึ่งปรากฏว่าเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในมูลหนี้ตามคำพิพากษาในคดีแพ่งของศาลจังหวัดระยองโดยมีเพียงสำเนาคำพิพากษาฉบับผู้รับมอบอำนาจเจ้าหนี้รับรองด้วยตนเองแนบท้ายคำขอรับชำระหนี้ สำเนาเอกสารดังกล่าวไม่มีเจ้าหน้าที่ศาลรับรองความถูกต้อง ต้องห้ามมิให้รับฟังตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93 ดังนี้ เจ้าหนี้จึงไม่มีพยานหลักฐานใดมานำสืบว่า ลูกหนี้เป็นหนี้เจ้าหนี้ก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์พิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดหรือไม่ เพียงใด ข้อเท็จจริงรับฟังไม่ได้ว่า เจ้าหนี้สิทธิได้รับชำระหนี้ตามคำขอรับชำระหนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 413/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลักทรัพย์นายจ้าง: การเคลื่อนย้ายทรัพย์ผ่านจุดตรวจถือเป็นความผิดสำเร็จ แม้ยังไม่ออกจากห้าง
จำเลยยังมิได้พาเตาอบไฟฟ้าของผู้เสียหายออกไปพ้นนอกห้างสรรพสินค้าของผู้เสียหาย แต่ก็ได้เคลื่อนย้ายเตาอบไฟฟ้าออกจากจุดที่ผู้เสียหายเก็บหรือวางทรัพย์นั้นไว้ ทั้งยังผ่านจุดที่ลูกค้าจะต้องชำระค่าสินค้าแก่พนักงานเก็บเงินไปแล้ว จึงถือได้ว่าจำเลยพาทรัพย์ของผู้เสียหายเคลื่อนที่ไปแล้วโดยมีเจตนาทุจริต การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดสำเร็จ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 53/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างทำของ, การยึดหน่วงค่าจ้าง, การหักกลบลบหนี้, และการรับรองพยานหลักฐานเพิ่มเติม
คำฟ้องของโจทก์เป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพของข้อหาของโจทก์ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา โจทก์ยังส่งสำเนาใบทำงาน/ใบแจ้งหนี้ซึ่งคำนวณถึงรายละเอียดเกี่ยวกับค่าจ้างแนบมาท้ายฟ้องด้วย จึงเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว ส่วนจำเลยค้างชำระค่าจ้างโจทก์ตามฟ้องหรือไม่ เป็นเรื่องที่คู่ความจะต้องนำพยานเข้าสืบพิสูจน์ในชั้นพิจารณา
โจทก์ยื่นคำฟ้องพร้อมแนบสำเนาสัญญาว่าจ้างรักษาความปลอดภัยมาด้วย จำเลยได้รับสำเนาสัญญาดังกล่าวแล้วมิได้ให้การโต้แย้งว่าไม่ถูกต้อง จึงต้องรับฟังว่าสัญญาว่าจ้างรักษาความปลอดภัยดังกล่าวเป็นสัญญาที่ถูกต้อง ศาลไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยอีกว่าต้นฉบับสัญญาจ้างทำของได้มีการติดอากรแสตมป์หรือไม่
โจทก์ยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติม โดยอ้างว่าฝ่ายบัญชีของโจทก์เพิ่งค้นพบเอกสารที่ยื่นเป็นพยานต่อศาลและเป็นเอกสารสำคัญที่เกี่ยวข้องในคดี เป็นกรณีที่ต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 วรรคสาม เมื่อเอกสารดังกล่าวเป็นเอกสารเกี่ยวกับประเด็นของคดีซึ่งทำให้การวินิจฉัยชี้ขาดข้อสำคัญเป็นไปโดยเที่ยงธรรมจึงชอบที่จะอนุญาตให้ยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมได้
ตามสัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยกำหนดให้โจทก์นำพนักงานรักษาความปลอดภัยมาดูแลความปลอดภัยในช่วงเวลาตามที่ตกลงไว้ในสัญญา หากนอกเหนือจากสัญญาจำเลยมีหน้าที่ต้องชำระค่าจ้างเพิ่มให้แก่โจทก์ การทำงานล่วงเวลาที่ตกลงกันไว้ตามสัญญาจึงถือว่าเป็นสัญญาจ้างทำของเช่นเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 53/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างทำของ, การยึดหน่วง/หักกลบลบหนี้, การเรียกร้องค่าจ้างล่วงเวลา, และการรับฟังพยานเพิ่มเติม
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยว่าจ้างโจทก์ให้จัดหาพนักงานรักษาความปลอดภัยบริเวณสถานที่ทำการของจำเลยคิดเป็นค่าจ้างเดือนละ 82,000 บาท จำเลยให้การยอมรับว่าเป็นหนี้โจทก์ 1 เดือน กับ 15 วัน คิดเป็นเงิน 150,333.25 บาท มิได้สูงมากดังที่โจทก์ฟ้อง โจทก์เรียกร้องมากกว่าความเป็นจริง ทำให้จำเลยไม่เข้าใจฟ้อง เห็นว่า คำฟ้องดังกล่าวข้างต้นเป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพของข้อหาของโจทก์ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้ว นอกจากนี้โจทก์ยังส่งสำเนาใบทำงาน/ใบแจ้งหนี้ซึ่งคำนวณถึงรายละเอียดเกี่ยวกับค่าจ้างแนบท้ายมาด้วย คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว ส่วนจำเลยค้างชำระค่าจ้างโจทก์ตามฟ้อง หรือไม่ เป็นเรื่องคู่ความจะต้องนำพยานเข้าสืบพิสูจน์ในชั้นพิจารณา
โจทก์ยื่นคำฟ้องพร้อมแนบสำเนาสัญญาว่าจ้างรักษาความปลอดภัยมาด้วยจำเลยได้รับสำเนาสัญญาดังกล่าวแล้วมิได้ให้การโต้แย้งว่าไม่ถูกต้อง จึงต้องรับฟังว่าสัญญาว่าจ้างรักษาความปลอดภัยดังกล่าวเป็นสัญญาที่ถูกต้อง จึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยอีกว่าต้นฉบับสัญญาดังกล่าวได้มีการติดอากรแสตมป์หรือไม่ ส่วนจำนวนเงินที่โจทก์ฟ้องเกินกว่าจำนวนเงินในสัญญาจ้างทำของหรือไม่ก็สามารถพิจารณาได้จากสัญญาดังกล่าว
โจทก์ยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมลงวันที่ 26 มิถุนายน 2546 โดยอ้างว่าฝ่ายบัญชีของโจทก์เพิ่งค้นพบเอกสารที่ยื่นเป็นพยานต่อศาลและเป็นเอกสารสำคัญที่เกี่ยวข้องในคดี คำร้องดังกล่าวจึงต้องด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 88 วรรคสาม และเอกสารดังกล่าวเป็นเอกสารเกี่ยวกับประเด็นของคดีซึ่งทำให้การวินิจฉัยชี้ขาดข้อสำคัญเป็นไปโดยเที่ยงธรรม ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานเอกสารดังกล่าวได้จึงชอบแล้ว ส่วนที่จำเลยเห็นว่าเอกสารดังกล่าวไม่ถูกต้องก็สามารถนำสืบหักล้างเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ ทั้งจำเลยเองก็ยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมหลังจากที่โจทก์ยื่นคำร้องดังกล่าวแล้ว กล่าวคือจำเลยยื่นคำร้องวันที่ 28 กรกฎาคม 2546 ขอระบุผู้จัดการจำเลยเป็นพยานซึ่งศาลชั้นต้นก็อนุญาต แสดงให้เห็นว่าศาลชั้นต้นเปิดโอกาสให้คู่ความต่อสู้กันอย่างเต็มที่แล้ว
ตามสัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยกำหนดให้โจทก์นำพนักงานรักษาความปลอดภัยดูแลความปลอดภัยในช่วงเวลาตามที่ตกลงไว้ในสัญญา หากนอกเหนือจากสัญญาจำเลยก็มีหน้าที่ต้องชำระค่าจ้างเพิ่มให้แก่โจทก์ ซึ่งโจทก์และจำเลยปฏิบัติต่อกันตลอดมาดังปรากฏตามเอกสารสำเนาใบแจ้งหนี้ที่จำเลยเคยชำระค่าจ้างล่วงเวลาให้แก่โจทก์ ซึ่งการทำงานล่วงเวลาที่ตกลงกันไว้ตามสัญญาถือเป็นสัญญาจ้างทำของเช่นเดียวกัน
ตามสัญญาว่าจ้างรักษาความปลอดภัยระบุว่า ผู้ว่าจ้าง (จำเลย) รับเงินค่าว่าจ้างตามข้อ 2 ผู้ว่าจ้างจะใช้สิทธิยึดหน่วงหรือถ่วงเวลาไว้เกินกำหนดหรือจะนำไปหักกลบลบหนี้อย่างอื่นไม่ได้เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากผู้รับจ้าง (โจทก์) เป็นลายลักษณ์อักษร จากข้อสัญญาดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงเจตนาของโจทก์จำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญาว่าจำเลยจะไม่ยึดหน่วงค่าจ้างและนำค่าจ้างไปหักกลบลบหนี้ มีข้อยกเว้นอยู่กรณีเดียวคือได้รับความยินยอมจากโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับจ้างเป็นลายลักษณ์อักษรเมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์อนุญาตให้จำเลยหักกลบลบหนี้เป็นลายลักษณ์อักษร จำเลยจึงไม่มีสิทธิยึดหน่วงหรือหักกลบลบหนี้แต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14944/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสอบสวนคดีอาญาต่อเนื่องในหลายท้องที่ และการพิจารณาโทษผู้กระทำผิดอายุต่ำกว่า 18 ปี
คดีนี้จำเลยทั้งสองร่วมกันพรากผู้เสียหายที่เป็นผู้เยาว์ในท้องที่สถานีตำรวจนครบาลบางขุนเทียนแล้วจำเลยทั้งสองได้ร่วมข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายอันมีลักษณะเป็นการโทรมหญิงในท้องที่สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองสมุทรสาคร กรณีเป็นเรื่องที่จำเลยทั้งสองกระทำความผิดต่อเนื่องกันในท้องที่ต่าง ๆ เกินกว่าท้องที่หนึ่งขึ้นไป จึงเป็นความผิดซึ่งมีหลายกรรมกระทำลงในท้องที่ต่าง ๆ กัน ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 19 (3) และ (4) พนักงานสอบสวนในท้องที่หนึ่งท้องที่ใดที่เกี่ยวข้องมีอำนาจสอบสวนได้ เมื่อผู้เสียหายไปแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจสถานีตำรวจนครบาลบางขุนเทียนว่าจำเลยทั้งสองกระทำความผิด และพาเจ้าพนักงานตำรวจสถานีตำรวจดังกล่าวไปจับจำเลยทั้งสองที่ท้องที่อำเภอเมืองสมุทรสาครในทันทีทันใด แล้วนำจำเลยทั้งสองไปส่งมอบแก่พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลบางขุนเทียนดำเนินคดี เห็นได้ว่า ขณะที่ผู้เสียหายแจ้งความยังจับกุมตัวจำเลยทั้งสองไม่ได้ ท้องที่ที่พบการกระทำความผิดก่อนคือ สถานีตำรวจนครบาลบางขุนเทียน พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลบางขุนเทียนซึ่งเป็นท้องที่ที่พบการกระทำความผิดก่อนอยู่ในเขตอำนาจเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 19 วรรคสอง (ข) ดังนั้นพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลบางขุนเทียนจึงมีอำนาจสรุปสำนวนและทำความเห็นว่าควรสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้อง ส่งไปพร้อมสำนวนเพื่อให้พนักงานอัยการพิจารณาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 140 และ 141 ถือได้ว่ามีการสอบสวนความผิดนั้นโดยชอบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10484/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทายาทมีอำนาจฟ้องเรียกหนี้จากลูกหนี้ของผู้ตาย แม้มีผู้จัดการมรดก
แม้จำเลยที่ 2 และ ฉ. จะเป็นผู้จัดการมรดกของ อ. แล้ว ก็หาทำให้สิทธิของทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของ อ. ที่จะฟ้องเรียกทรัพย์มรดกคืนจากบุคคลภายนอกหรือลูกหนี้ของ อ. สิ้นไปแต่อย่างใด ทั้งนี้เพราะไม่มีบทกฎหมายบัญญัติห้ามหรือตัดสิทธิไว้ เมื่อ อ. ถึงแก่ความตายทรัพย์มรดกย่อมตกเป็นของทายาทรวมทั้งโจทก์ทั้งสองด้วย หนี้เงินกู้ที่จำเลยที่ 1 กู้ยืมไปจาก อ. ก็ตกเป็นสิทธิของทายาทของ อ. รวมทั้งโจทก์ทั้งสองด้วยเช่นกัน โจทก์ทั้งสองจึงมีอำนาจฟ้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ถือว่ามีผลประโยชน์ขัดกับกองมรดกจำเลยที่ 2 เพิกเฉยไม่ฟ้องจำเลยที่ 1 ทั้งไม่ชำระหนี้แทนจำเลยที่ 1 กลับกล่าวอ้างว่ามิได้เป็นหนี้ตามสัญญากู้เงินอีก หากทายาทไม่มีอำนาจฟ้องย่อมก่อให้เกิดความเสียหายแก่กองมรดก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10484/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทายาทมีอำนาจฟ้องเรียกทรัพย์คืนจากลูกหนี้ของผู้ตาย แม้มีผู้จัดการมรดก และห้ามเปลี่ยนแปลงข้อความในสัญญากู้ยืม
การมีผู้จัดการมรดกแล้ว ก็หาตัดสิทธิของทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกที่จะฟ้องเรียกทรัพย์มรดกคืนจากบุคคลภายนอกหรือลูกหนี้ ทั้งนี้ เพราะไม่มีกฎหมายบัญญัติห้ามหรือตัดสิทธิไว้ โดยทรัพย์มรดกย่อมตกเป็นของทายาท โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นทายาทจึงมีอำนาจฟ้อง อีกทั้งจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกยังเป็นผู้ค้ำประกันในหนี้ที่โจทก์ฟ้องดังกล่าว ย่อมถือว่าผู้จัดการมรดกมีผลประโยชน์ขัดกับกองมรดก หากทายาทไม่มีอำนาจฟ้องแล้วย่อมก่อให้เกิดความเสียหายแก่กองมรดก
จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้ยืมเงินและรับเงินไปจากผู้ตายแล้ว การที่จำเลยที่ 1 กล่าวอ้างว่ามิได้กู้ยืมเงินแต่ผู้ตายยกเงินดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 1 นั้น เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญากู้ยืมเงินต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข)
of 28