พบผลลัพธ์ทั้งหมด 55 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15016/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาต่างตอบแทน (การให้บริการซอฟต์แวร์) ไม่ใช่สัญญาซื้อขาย จำเลยมีหน้าที่ชำระเงินเมื่อได้รับบริการครบถ้วน
สัญญาการให้สิทธิและการบริการทั้งสองฉบับเป็นสัญญาที่โจทก์อนุญาตให้จำเลยใช้ซอฟต์แวร์ระบบบริหารจัดการโรงแรมโดยจำเลยยินยอมจ่ายค่าตอบแทน ดังนั้น นิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์และจำเลยจึงเป็นสัญญาต่างตอบแทนชนิดหนึ่งซึ่งมีผลผูกพันคู่สัญญาตาม ป.พ.พ. มาตรา 369 ไม่ใช่สัญญาซื้อขาย จำเลยจึงไม่อาจยกเหตุที่ทรัพย์สินซึ่งซื้อขายชำรุดบกพร่องมาเป็นเหตุปฏิเสธไม่ชำระเงินแก่โจทก์ได้
สำหรับวัตถุประสงค์ของสัญญานั้นปรากฏข้อความในตอนต้นของสัญญาการให้สิทธิและการบริการทั้งสองฉบับว่า จำเลยประสงค์จะได้รับการจัดหา การติดตั้ง การบำรุงรักษา และสิทธิการใช้ระบบบริหารโรงแรมตามที่ระบุในภาคผนวก ก ซึ่งคือระบบซอฟต์แวร์ทั้งสี่ระบบ เมื่อโจทก์ได้จัดหา ติดตั้ง บำรุงรักษา และให้สิทธิจำเลยใช้ระบบซอฟต์แวร์ทั้งสี่ระบบตามสัญญาแล้ว ถือว่าโจทก์ได้ปฏิบัติการชำระหนี้ตรงตามวัตถุประสงค์แห่งสัญญาการให้สิทธิและการบริการทั้งสองฉบับซึ่งเป็นสัญญาต่างตอบแทนในส่วนของตนแล้ว จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องชำระราคาสัญญาให้แก่โจทก์
สำหรับวัตถุประสงค์ของสัญญานั้นปรากฏข้อความในตอนต้นของสัญญาการให้สิทธิและการบริการทั้งสองฉบับว่า จำเลยประสงค์จะได้รับการจัดหา การติดตั้ง การบำรุงรักษา และสิทธิการใช้ระบบบริหารโรงแรมตามที่ระบุในภาคผนวก ก ซึ่งคือระบบซอฟต์แวร์ทั้งสี่ระบบ เมื่อโจทก์ได้จัดหา ติดตั้ง บำรุงรักษา และให้สิทธิจำเลยใช้ระบบซอฟต์แวร์ทั้งสี่ระบบตามสัญญาแล้ว ถือว่าโจทก์ได้ปฏิบัติการชำระหนี้ตรงตามวัตถุประสงค์แห่งสัญญาการให้สิทธิและการบริการทั้งสองฉบับซึ่งเป็นสัญญาต่างตอบแทนในส่วนของตนแล้ว จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องชำระราคาสัญญาให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15015/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า: การพิจารณาความแตกต่างขององค์ประกอบรวมและประเภทสินค้า
การพิจารณาว่าเครื่องหมายการค้าใดเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วจนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้านั้น ไม่ใช่พิจารณาเปรียบเทียบเฉพาะรูปหรือคำหรือข้อความที่ปรากฏหรือเสียงเรียกขานอย่างใดอย่างหนึ่งแต่เพียงอย่างเดียว หากแต่ต้องพิจารณาถึงองค์ประกอบอื่น ๆ ของเครื่องหมายการค้าที่ประกอบกันขึ้นเป็นองค์ประกอบรวมของเครื่องหมายการค้านั้นทั้งหมด รวมทั้งสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้านั้นด้วยว่าเป็นสินค้าจำพวกเดียวกันหรือเป็นสินค้าต่างจำพวกกันแต่มีลักษณะอย่างเดียวกัน และสาธารณชนผู้ใช้หรือบริโภคสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้านั้นเป็นกลุ่มเดียวกันหรือไม่ ทั้งยังต้องคำนึงถึงความสุจริตในการขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า โดยสาระสำคัญอยู่ที่ว่าความเหมือนหรือคล้ายกันของเครื่องหมายการค้านั้นถึงขนาดที่อาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าหรือไม่
เครื่องหมายการค้า และเครื่องหมายการค้า ของโจทก์ เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบกับเครื่องหมายการค้า ของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วเฉพาะภาคส่วนที่เป็นอักษรโรมัน "HOLLISTER" แล้วเห็นได้ว่าคำดังกล่าวตามคำขอจดทะเบียนทั้งสองคำขอของโจทก์ประกอบด้วยอักษรโรมันที่เหมือนกันกับของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว เพียงแต่คำดังกล่าวตามคำขอจดทะเบียนทั้งสองคำขอของโจทก์นั้นเป็นอักษรโรมันตัวพิมพ์ใหญ่ทั้งหมด ส่วนของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วมีเพียงอักษรโรมัน H ซึ่งเป็นอักษรโรมันตัวแรกเท่านั้นที่เป็นตัวพิมพ์ใหญ่ ส่วนเสียงเรียกขานทั้งเครื่องหมายการค้าตามคำขอจดทะเบียนทั้งสองคำขอของโจทก์และของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วมีเสียงเรียกขานคล้ายกันว่า "โฮลลิสเตอร์" แต่เมื่อพิจารณาในส่วนองค์ประกอบรวมของเครื่องหมายการค้า และ ตามคำขอจดทะเบียนทั้งสองคำขอของโจทก์แล้วเห็นว่าเครื่องหมายการค้าทั้งสองคำขอของโจทก์ยังมีภาคส่วนอื่นประกอบอยู่ด้วย โดยเครื่องหมายการค้า มีรูปนกประดิษฐ์อยู่ตรงกลางของเครื่องหมาย มีคำว่า "HOLLISTER" อยู่ด้านบน และมีคำว่า "CALIFORNIA" อยู่ด้านล่างของเครื่องหมาย ส่วนเครื่องหมายการค้า มีรูปนกประดิษฐ์อยู่ด้านบน มีคำว่า "HOLLISTER" อยู่ตรงกลาง และมีคำว่า "CALIFORNIA" อยู่ด้านล่างของเครื่องหมาย แม้คำว่า "CALIFORNIA" จะเป็นชื่อมลรัฐหนึ่งในประเทศสหรัฐอเมริกาอันเป็นชื่อทางภูมิศาสตร์ที่ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะตามมาตรา 7 วรรคสอง (2) แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 และในระหว่างพิจารณาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางโจทก์ได้แถลงขอสละประเด็นตามคำฟ้องว่าโจทก์มีสิทธิยื่นคำขอจดทะเบียนคำดังกล่าวด้วยหรือไม่ โดยโจทก์แถลงว่าโจทก์ยินยอมที่จะแสดงปฏิเสธไม่ขอถือเป็นสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในอันที่จะใช้คำว่า "CALIFORNIA" แต่คำดังกล่าวก็ถือเป็นภาคส่วนหนึ่งของเครื่องหมายการค้าตามคำขอทั้งสองของโจทก์ที่ทำให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างเครื่องหมายการค้าตามคำขอทั้งสองของโจทก์และของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว นอกจากนี้ เครื่องหมายการค้าตามคำขอทั้งสองของโจทก์ยังมีรูปนกประดิษฐ์เป็นภาคส่วนที่สำคัญซึ่งแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างเครื่องหมายการค้าตามคำขอทั้งสองของโจทก์และเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วเช่นกัน โดยเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วมีแต่เพียงรูปประดิษฐ์ซึ่งเป็นอักษรโรมัน H จำนวน 4 ตัว ประกอบกันเป็นรูปคล้ายอักษรโรมัน X หรือรูปกากบาท วางอยู่ด้านหน้าคำว่า "Hollister" เท่านั้น เมื่อพิจารณาองค์ประกอบรวมทุกภาคส่วนของเครื่องหมายการค้าตามคำขอจดทะเบียนทั้งสองคำขอของโจทก์เปรียบเทียบกับรายการสินค้าตามทะเบียนเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว เห็นได้ว่าสินค้าที่โจทก์ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าทั้งสองคำขอนั้นเป็นสินค้าจำพวกที่ 3 รายการสินค้า ลิปบาล์ม ลิปกลอส สเปรย์ฉีดตัวสำหรับใช้เป็นเครื่องสำอางระงับกลิ่นตัวและให้กลิ่นหอม เครื่องสำอางระงับกลิ่นตัวใช้กับร่างกาย เครื่องสำอางระงับกลิ่นตัว ยาดับกลิ่นตัว เครื่องสำอางระงับกลิ่นเหงื่อ ครีมเสริมสวย ครีมเสริมสวยสำหรับทาตัว โลชั่นเสริมสวย เครื่องสำอางใช้กับร่างกาย เครื่องสำอางใช้เสริมสวย โลชั่นทาตัว โลชั่นทามือ เครื่องสำอางใช้ทำความสะอาดร่างกาย โคโลญ สารให้กลิ่นหอมสำหรับใช้กับร่างกาย น้ำหอม ซึ่งเป็นสินค้าประเภทเครื่องสำอางและเครื่องประทินผิว ซึ่งมักวางจำหน่ายในร้านสะดวกซื้อหรือห้างสรรพสินค้าทั่วไป และผู้ใช้สินค้าดังกล่าวส่วนใหญ่เป็นประชาชนทั่วไป แต่สินค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วเป็นสินค้าจำพวกที่ 5 รายการสินค้า วัสดุตกแต่งบาดแผล น้ำยาทำความสะอาดผิว ครีมปรับสภาพผิว ขี้ผึ้งกันความชื้น กาวใช้ในทางการแพทย์ สารลอกกาวใช้ในทางการแพทย์ แผ่นปิดผิวหนัง ครีมและแป้งใช้รักษาบาดแผลและแผลเปิดของลำไส้บริเวณหน้าท้อง สารหล่อลื่นรูเปิดผนังหน้าท้อง เจลทาผิวใช้ในทางการแพทย์ ยาดับกลิ่นที่ไม่ได้ใช้กับร่างกาย ซึ่งเป็นสินค้าที่ใช้ในทางการแพทย์ ดังนั้น ผู้ใช้สินค้าดังกล่าวจึงเป็นแพทย์ พยาบาล หรือผู้ป่วยที่แพทย์แนะนำให้ใช้สินค้าดังกล่าวเท่านั้น และสถานที่จำหน่ายก็มีเพียงเฉพาะในโรงพยาบาลหรือร้านขายยาซึ่งมีเภสัชกรคอยแนะนำซึ่งบุคคลดังกล่าวย่อมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วเป็นอย่างดี ดังนั้น ทั้งรายการสินค้า กลุ่มผู้ใช้สินค้า และสถานที่จำหน่ายสินค้าของโจทก์และของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วจึงแตกต่างกัน ยังไม่มีเหตุผลให้เชื่อว่าสาธารณชนผู้ใช้สินค้าของโจทก์และผู้ใช้สินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วจะสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า ไม่มีเหตุผลให้เชื่อว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทั้งสองคำขอคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วจนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า เครื่องหมายการค้าตามคำขอจดทะเบียนทั้งสองคำขอของโจทก์จึงมีลักษณะอันพึงรับจดทะเบียนได้ตามมาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534
เครื่องหมายการค้า และเครื่องหมายการค้า ของโจทก์ เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบกับเครื่องหมายการค้า ของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วเฉพาะภาคส่วนที่เป็นอักษรโรมัน "HOLLISTER" แล้วเห็นได้ว่าคำดังกล่าวตามคำขอจดทะเบียนทั้งสองคำขอของโจทก์ประกอบด้วยอักษรโรมันที่เหมือนกันกับของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว เพียงแต่คำดังกล่าวตามคำขอจดทะเบียนทั้งสองคำขอของโจทก์นั้นเป็นอักษรโรมันตัวพิมพ์ใหญ่ทั้งหมด ส่วนของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วมีเพียงอักษรโรมัน H ซึ่งเป็นอักษรโรมันตัวแรกเท่านั้นที่เป็นตัวพิมพ์ใหญ่ ส่วนเสียงเรียกขานทั้งเครื่องหมายการค้าตามคำขอจดทะเบียนทั้งสองคำขอของโจทก์และของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วมีเสียงเรียกขานคล้ายกันว่า "โฮลลิสเตอร์" แต่เมื่อพิจารณาในส่วนองค์ประกอบรวมของเครื่องหมายการค้า และ ตามคำขอจดทะเบียนทั้งสองคำขอของโจทก์แล้วเห็นว่าเครื่องหมายการค้าทั้งสองคำขอของโจทก์ยังมีภาคส่วนอื่นประกอบอยู่ด้วย โดยเครื่องหมายการค้า มีรูปนกประดิษฐ์อยู่ตรงกลางของเครื่องหมาย มีคำว่า "HOLLISTER" อยู่ด้านบน และมีคำว่า "CALIFORNIA" อยู่ด้านล่างของเครื่องหมาย ส่วนเครื่องหมายการค้า มีรูปนกประดิษฐ์อยู่ด้านบน มีคำว่า "HOLLISTER" อยู่ตรงกลาง และมีคำว่า "CALIFORNIA" อยู่ด้านล่างของเครื่องหมาย แม้คำว่า "CALIFORNIA" จะเป็นชื่อมลรัฐหนึ่งในประเทศสหรัฐอเมริกาอันเป็นชื่อทางภูมิศาสตร์ที่ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะตามมาตรา 7 วรรคสอง (2) แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 และในระหว่างพิจารณาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางโจทก์ได้แถลงขอสละประเด็นตามคำฟ้องว่าโจทก์มีสิทธิยื่นคำขอจดทะเบียนคำดังกล่าวด้วยหรือไม่ โดยโจทก์แถลงว่าโจทก์ยินยอมที่จะแสดงปฏิเสธไม่ขอถือเป็นสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในอันที่จะใช้คำว่า "CALIFORNIA" แต่คำดังกล่าวก็ถือเป็นภาคส่วนหนึ่งของเครื่องหมายการค้าตามคำขอทั้งสองของโจทก์ที่ทำให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างเครื่องหมายการค้าตามคำขอทั้งสองของโจทก์และของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว นอกจากนี้ เครื่องหมายการค้าตามคำขอทั้งสองของโจทก์ยังมีรูปนกประดิษฐ์เป็นภาคส่วนที่สำคัญซึ่งแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างเครื่องหมายการค้าตามคำขอทั้งสองของโจทก์และเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วเช่นกัน โดยเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วมีแต่เพียงรูปประดิษฐ์ซึ่งเป็นอักษรโรมัน H จำนวน 4 ตัว ประกอบกันเป็นรูปคล้ายอักษรโรมัน X หรือรูปกากบาท วางอยู่ด้านหน้าคำว่า "Hollister" เท่านั้น เมื่อพิจารณาองค์ประกอบรวมทุกภาคส่วนของเครื่องหมายการค้าตามคำขอจดทะเบียนทั้งสองคำขอของโจทก์เปรียบเทียบกับรายการสินค้าตามทะเบียนเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว เห็นได้ว่าสินค้าที่โจทก์ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าทั้งสองคำขอนั้นเป็นสินค้าจำพวกที่ 3 รายการสินค้า ลิปบาล์ม ลิปกลอส สเปรย์ฉีดตัวสำหรับใช้เป็นเครื่องสำอางระงับกลิ่นตัวและให้กลิ่นหอม เครื่องสำอางระงับกลิ่นตัวใช้กับร่างกาย เครื่องสำอางระงับกลิ่นตัว ยาดับกลิ่นตัว เครื่องสำอางระงับกลิ่นเหงื่อ ครีมเสริมสวย ครีมเสริมสวยสำหรับทาตัว โลชั่นเสริมสวย เครื่องสำอางใช้กับร่างกาย เครื่องสำอางใช้เสริมสวย โลชั่นทาตัว โลชั่นทามือ เครื่องสำอางใช้ทำความสะอาดร่างกาย โคโลญ สารให้กลิ่นหอมสำหรับใช้กับร่างกาย น้ำหอม ซึ่งเป็นสินค้าประเภทเครื่องสำอางและเครื่องประทินผิว ซึ่งมักวางจำหน่ายในร้านสะดวกซื้อหรือห้างสรรพสินค้าทั่วไป และผู้ใช้สินค้าดังกล่าวส่วนใหญ่เป็นประชาชนทั่วไป แต่สินค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วเป็นสินค้าจำพวกที่ 5 รายการสินค้า วัสดุตกแต่งบาดแผล น้ำยาทำความสะอาดผิว ครีมปรับสภาพผิว ขี้ผึ้งกันความชื้น กาวใช้ในทางการแพทย์ สารลอกกาวใช้ในทางการแพทย์ แผ่นปิดผิวหนัง ครีมและแป้งใช้รักษาบาดแผลและแผลเปิดของลำไส้บริเวณหน้าท้อง สารหล่อลื่นรูเปิดผนังหน้าท้อง เจลทาผิวใช้ในทางการแพทย์ ยาดับกลิ่นที่ไม่ได้ใช้กับร่างกาย ซึ่งเป็นสินค้าที่ใช้ในทางการแพทย์ ดังนั้น ผู้ใช้สินค้าดังกล่าวจึงเป็นแพทย์ พยาบาล หรือผู้ป่วยที่แพทย์แนะนำให้ใช้สินค้าดังกล่าวเท่านั้น และสถานที่จำหน่ายก็มีเพียงเฉพาะในโรงพยาบาลหรือร้านขายยาซึ่งมีเภสัชกรคอยแนะนำซึ่งบุคคลดังกล่าวย่อมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วเป็นอย่างดี ดังนั้น ทั้งรายการสินค้า กลุ่มผู้ใช้สินค้า และสถานที่จำหน่ายสินค้าของโจทก์และของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วจึงแตกต่างกัน ยังไม่มีเหตุผลให้เชื่อว่าสาธารณชนผู้ใช้สินค้าของโจทก์และผู้ใช้สินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วจะสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า ไม่มีเหตุผลให้เชื่อว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทั้งสองคำขอคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วจนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า เครื่องหมายการค้าตามคำขอจดทะเบียนทั้งสองคำขอของโจทก์จึงมีลักษณะอันพึงรับจดทะเบียนได้ตามมาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14618/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาโทษจากประวัติผู้ต้องหา การนำข้อเท็จจริงนอกสำนวนมาลงโทษขัดต่อกฎหมาย
แม้จะปรากฏจากคำพิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางถึงเหตุไม่รอการลงโทษจำคุกจำเลยว่า จำเลยเคยกระทำความผิดฐานเสนอจำหน่ายและมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักรของผู้อื่นมาแล้วหลายคดี แต่เนื่องจากข้อเท็จจริงดังกล่าวได้มาจากรายงานเจ้าหน้าที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางที่ตรวจสอบประวัติผู้กระทำผิดจากระบบงานบริหารสำนวนคดี โดยที่โจทก์มิได้บรรยายถึงข้อเท็จจริงดังกล่าวไว้ในคำฟ้อง และไม่ปรากฏว่ามีการสอบข้อเท็จจริงนี้จากจำเลยด้วย รายงานของเจ้าหน้าที่ดังกล่าวจึงไม่ใช่พยานหลักฐานแต่เป็นเพียงเอกสารภายในหน่วยงานเพื่อสื่อสารระหว่างเจ้าหน้าที่ศาลกับศาล การที่จำเลยให้การรับสารภาพจึงเป็นการยอมรับข้อเท็จจริงเท่าที่ปรากฏในคำฟ้อง ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางนำข้อเท็จจริงดังกล่าวมาวินิจฉัยและพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยโดยไม่รอการลงโทษจำคุกแก่จำเลยนั้น จึงเป็นการนำข้อเท็จจริงนอกสำนวนมาพิจารณาลงโทษจำเลย ต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเห็นควรแก้ไขโทษให้เหมาะสมกับสภาพความผิดและพฤติการณ์แห่งการกระทำความผิดของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10985/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้มาซึ่งเอกสารหลักฐานโดยชอบด้วยกฎหมาย แม้จะอยู่ในความครอบครองของบุคคลอื่นที่พบเห็นการทุจริต
ใบสำคัญจ่ายเป็นของมูลนิธิ แต่อยู่ในความครอบครองดูแลของ ย. ซึ่งเป็นหัวหน้าฝ่ายบัญชีของมูลนิธิ ย. ย่อมมีหน้าที่ปกป้องและรักษาผลประโยชน์ของนายจ้างตน เมื่อเห็นว่าผู้บริหารของมูลนิธิ ทุจริตต่อหน้าที่ยักยอกเงินของมูลนิธิ ก่อความเสียหายแก่มูลนิธิที่ตนทำงานอยู่ เมื่อตนพบเห็นย่อมแจ้งความให้ดำเนินคดีแก่ผู้กระทำความผิดได้ การที่ ย. นำเอกสารดังกล่าวไปมอบให้กรมสอบสวนคดีพิเศษเพื่อเป็นหลักฐานในการดำเนินคดีแก่จำเลย ย.ย่อมไม่มีความผิดใด ๆ ในทางอาญา เพราะเป็นการมอบหลักฐานที่สำคัญในทางคดีให้แก่เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ตามกฎหมาย การที่จะให้เจ้าพนักงานเรียกเอกสารหลักฐานแห่งการกระทำความผิดตามปกตินั้น ย่อมยากที่จะได้รับความร่วมมือจากผู้กระทำความผิด ซึ่งเป็นผู้บริหารในหน่วยงานดังกล่าว เอกสารนั้นอาจถูกทำลายหรือสูญหายหรือหาไม่พบได้ จึงเป็นอุปสรรคในการดำเนินคดีอาญาแก่ผู้กระทำความผิด การที่กรมสอบสวนคดีพิเศษได้เอกสารดังกล่าวมาเป็นพยานหลักฐานสำคัญของคดี จึงเป็นการได้มาโดยชอบ ไม่ต้องด้วย ป.วิ.อ. มาตา 226/1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9745/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเพิกถอนนิติกรรมการโอนทรัพย์มรดกของผู้จัดการมรดก: ศาลต้องพิจารณาอายุความเฉพาะการจัดการทรัพย์มรดก
โจทก์ทั้งสองในฐานะผู้จัดการมรดกของ ว. และ ส. เจ้ามรดก ฟ้องเรียกเอาคืนทรัพย์พิพาทซึ่งเป็นที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างจำนวน 18 แปลง ที่อยู่ในครอบครองของจำเลยทั้งสี่โดยอ้างว่าเป็นทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกทั้งสอง จำเลยทั้งสี่ให้การว่า ที่ดินพิพาทจำนวน 8 แปลง จำเลยที่ 1 ได้รับโอนมาจากเจ้ามรดกทั้งสองก่อนที่เจ้ามรดกทั้งสองจะถึงแก่ความตาย ที่ดินดังกล่าวจึงมิใช่ทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกทั้งสอง สำหรับที่ดินพิพาทส่วนที่เหลืออีก 10 แปลง จำเลยที่ 1 ได้รับโอนมาจาก ว. ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของ ส. โดยชอบ และได้ครอบครองเพื่อตนเองมาโดยตลอด โจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปี นับแต่วันที่เจ้ามรดกทั้งสองถึงแก่ความตาย คดีจึงขาดอายุความ ประเด็นข้อพิพาทจึงมีว่า ที่ดินพิพาทจำนวน 8 แปลง เป็นทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกทั้งสองหรือไม่ และ ว. ในฐานะผู้จัดการมรดกคนก่อนของ ส. โอนที่ดินพิพาทจำนวน 10 แปลง ให้แก่จำเลยที่ 1 โดยชอบหรือไม่ การที่ศาลชั้นต้นมิได้วินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวให้ชัดแจ้งเสียก่อนแต่กลับไปวินิจฉัยว่าคดีโจทก์ทั้งสองขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคหนึ่ง จึงเป็นการไม่ชอบ ทั้งคดีนี้โจทก์ทั้งสองในฐานะผู้จัดการมรดกฟ้องเรียกเอาทรัพย์คืนและขอให้เพิกถอนนิติกรรมจากผู้ครอบครองทรัพย์มรดกที่ได้มาโดยมิชอบอันเนื่องมาจากการจัดการทรัพย์มรดกที่ยังไม่สิ้นสุดลงซึ่งมีอายุความกำหนดไว้โดยเฉพาะแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 1733 วรรคสอง จึงไม่อาจนำอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นอายุความเกี่ยวกับการฟ้องคดีมรดกระหว่างทายาทมาปรับใช้บังคับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9745/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเพิกถอนนิติกรรมการโอนทรัพย์มรดก: ศาลต้องพิจารณาอายุความเฉพาะการจัดการทรัพย์มรดกที่ยังไม่สิ้นสุด
โจทก์ทั้งสองในฐานะผู้จัดการมรดกของ ว. และ ส. เจ้ามรดกฟ้องเรียกเอาคืนทรัพย์พิพาทซึ่งเป็นที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างจำนวน 18 แปลง ที่อยู่ในครอบครองของจำเลยทั้งสี่โดยอ้างว่าเป็นทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกทั้งสอง จำเลยทั้งสี่ให้การว่า เจ้ามรดกทั้งสองโอนที่ดินพิพาทจำนวน 8 แปลง ให้แก่จำเลยที่ 1 ก่อนที่เจ้ามรดกทั้งสองจะถึงแก่ความตาย ที่ดินดังกล่าวจึงมิใช่ทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกทั้งสอง สำหรับที่ดินพิพาทส่วนที่เหลืออีก 10 แปลง จำเลยที่ 1 ได้รับโอนมาจาก ว. ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของ ส. โดยชอบ และได้ครอบครองเพื่อตนเองมาโดยตลอด โจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่เจ้ามรดกทั้งสองถึงแก่ความตาย คดีจึงขาดอายุความ ประเด็นข้อพิพาทจึงมีว่า ที่ดินพิพาทจำนวน 8 แปลง เป็นทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกทั้งสองหรือไม่ และ ว. ในฐานะผู้จัดการมรดกคนก่อนของ ส. โอนที่ดินพิพาทจำนวน 10 แปลง ให้แก่จำเลยที่ 1 โดยชอบหรือไม่ การที่ศาลชั้นต้นมิได้วินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวให้ชัดแจ้งเสียก่อนแต่กลับไปวินิจฉัยว่าคดีโจทก์ทั้งสองขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคหนึ่ง จึงเป็นการไม่ชอบ ทั้งคดีนี้โจทก์ทั้งสองในฐานะผู้จัดการมรดกฟ้องเรียกเอาทรัพย์คืนและขอให้เพิกถอนนิติกรรมจากผู้ครอบครองทรัพย์มรดกที่ได้มาโดยมิชอบเนื่องมาจากการจัดการทรัพย์มรดกที่ยังไม่สิ้นสุดลงซึ่งมีอายุความกำหนดไว้โดยเฉพาะแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 1733 วรรคสอง จึงไม่อาจนำอายุความตาม ป.พพ. มาตรา 1754 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นอายุความเกี่ยวกับการฟ้องคดีมรดกระหว่างทายาทมาปรับใช้บังคับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9598/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำละเมิดลิขสิทธิ์: การกระทำกรรมเดียวกัน แม้ผู้เสียหายต่างกัน สิทธิฟ้องระงับ
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 70 วรรคสอง ประกอบมาตรา 31 (2) ซึ่งโจทก์อุทธรณ์รับว่าโจทก์ได้ฟ้องจำเลยในข้อหาเดียวกัน มีวันกระทำความผิดและสถานที่เกิดเหตุในคดีอาญาหมายเลขดำที่ อ.1547/2557 และ อ.1548/2557 ของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางเช่นเดียวกันกับคดีนี้ เพียงแต่ผู้เสียหายต่างรายกันเป็นเจ้าของงานดนตรีกรรม ดังนั้น การที่จำเลยนำงานอันละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายและผู้อื่นออกเผยแพร่ต่อสาธารณชนเพื่อหากำไรและเพื่อการค้า โดยนำเครื่องคอมพิวเตอร์ที่บรรจุโปรแกรมคาราโอเกะที่เป็นตัวหนังสือของเนื้อเพลงและทำนองเพลงที่ละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายและของผู้อื่นหลายรายให้ปรากฏบนหน้าจอคอมพิวเตอร์เพื่อเปิดให้บริการแก่ลูกค้า อันเป็นความประสงค์ที่จะเผยแพร่ต่อสาธารณชนเพียงอย่างเดียวเพื่อหากำไรและเพื่อการค้า การที่มีลูกค้ามาเปิดเพลงที่ละเมิดลิขสิทธิ์ดังกล่าวหลายเพลงต่อเนื่องในวันเดียวกันจึงถือได้ว่าเป็นการกระทำกรรมเดียวกัน
เมื่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในคดีอาญาหมายเลขดำที่ อ.1547/2557 ซึ่งเป็นคดีก่อนแล้ว คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำกับคดีดังกล่าว สิทธิในการนำคดีมาฟ้องในคดีนี้ซึ่งเป็นความผิดกรรมเดียวกันกับคดีก่อนจึงระงับไปตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 (4)
เมื่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในคดีอาญาหมายเลขดำที่ อ.1547/2557 ซึ่งเป็นคดีก่อนแล้ว คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำกับคดีดังกล่าว สิทธิในการนำคดีมาฟ้องในคดีนี้ซึ่งเป็นความผิดกรรมเดียวกันกับคดีก่อนจึงระงับไปตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 (4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9477/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการบังคับตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการ: ศาลบังคับได้เฉพาะตามคำขอและคำชี้ขาดเดิม, ไม่อาจเพิ่มดอกเบี้ยเกินกว่าที่อนุญาโตตุลาการตัดสิน
แม้หนี้ตามสัญญาซื้อขายที่มีคำชี้ขาดนี้จะเป็นหนี้เงิน ซึ่งกฎหมายให้คิดดอกเบี้ยได้นับแต่วันที่ผิดนัด แต่คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการก็ต้องเป็นไปตามข้อเรียกร้อง และคำขอที่ให้ชี้ขาดในเรื่องนั้น ๆ ซึ่งตามข้อเรียกร้องของผู้ร้องมิได้มีคำขอดอกเบี้ยหลังวันชี้ขาดด้วย และอนุญาโตตุลาการก็ชี้ขาดดอกเบี้ยเฉพาะตามที่ขอ เมื่อผู้ร้องมาขอบังคับตามคำชี้ขาด ผู้ร้องจึงไม่อาจขอให้บังคับเกินไปกว่าคำชี้ขาดนั้นได้ ดังนั้น แม้ผู้ร้องจะมีคำขอดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปีนับแต่วันร้องขอเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จมาท้ายคำร้อง ก็เป็นการขอบังคับเกินไปกว่าคำชี้ขาดที่กำหนดสถานะความรับผิดของผู้คัดค้านจากการผิดสัญญาซื้อขายไว้โดยเฉพาะแล้ว และตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 นั้น ศาลไม่อาจมีคำพิพากษาบังคับเกินคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9060/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 220 กรณีโจทก์ร่วมฎีกาโดยไม่ได้รับอนุญาต
ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกจำเลยที่ 2 เฉพาะในความผิดตาม ป.อ. มาตรา 199 ประกอบมาตรา 83 เพียงข้อเดียว ข้อหาอื่นนอกจากนี้ให้ยก โจทก์และโจทก์ร่วมอุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ตามฟ้อง ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษายืน จึงมีผลเท่ากับศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 6 ต่างพิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ในความผิดฐานร่วมกันฆ่าผู้อื่นตาม ป.อ. มาตรา 288 ประกอบมาตรา 83 ดังกล่าว โดยอาศัยข้อเท็จจริง โจทก์ร่วมฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ในความผิดฐานร่วมกันฆ่าผู้อื่นตาม ป.อ. มาตรา 288 ประกอบมาตรา 83 อีกไม่ได้ เพราะต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 220 เว้นแต่ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณา หรือลงชื่อในคำพิพากษาหรือทำความเห็นแย้งในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิเคราะห์แล้วเห็นว่าข้อความที่ตัดสินนั้นเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลสูงสุดและอนุญาตให้ฎีกา หรืออธิบดีกรมอัยการลงลายมือชื่อรับรองในฎีกาว่ามีเหตุอันควรที่ศาลสูงสุดจะได้วินิจฉัย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 221 แต่โจทก์ร่วมฎีกาโดยไม่ปรากฏว่ามีผู้อนุญาตหรือรับรองให้ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 221 ฎีกาของโจทก์ร่วมจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 220
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8825/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า: การพิจารณาความบ่งเฉพาะของเครื่องหมายที่ประกอบด้วยตัวเลขและคำธรรมดา
แม้เลขอารบิค 59 กับอักษรโรมันตัวพิมพ์ใหญ่คำว่า FIFTY โจทก์นำมา ขอจดทะเบียนจะเป็นตัวเลขและคำสามัญที่ใช้สื่อสารในการพูดและเขียนตามปกติทั่วไป แต่ในการขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "59FIFTY" ทำให้เห็นวัตถุประสงค์ของโจทก์ได้ว่า โจทก์ขอจดทะเบียนเลขอารบิค 59 กับอักษรโรมันตัวพิมพ์ใหญ่คำว่า FIFTY รวมกันเพื่อใช้กับสินค้าจำพวก 25 มิได้ขอจดทะเบียนเพื่อใช้เลขอารบิคและคำดังกล่าวแยกกัน ดังนั้น ในการพิจารณาว่าเครื่องหมายการค้านี้มีคุณสมบัติอันพึงรับจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าได้ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 7 วรรคหนึ่ง และมาตรา 7 วรรคสอง (3) หรือไม่ จึงต้องพิจารณาทั้ง 2 ส่วนรวมกัน ซึ่งบทบัญญัติมาตรา 7 วรรคสอง (3) เพียงแสดงให้เห็นว่า ถ้าเครื่องหมายการค้าที่มีผู้ขอจดทะเบียนเป็นตัวหนังสือ ตัวเลข หรือคำที่ประดิษฐ์ขึ้น ก็ให้ถือเป็นเด็ดขาดว่าเป็นเครื่องหมายที่มีลักษณะบ่งเฉพาะอันพึงรับจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าได้ มิได้หมายความว่า ตัวหนังสือ ตัวเลข หรือคำที่มิได้ประดิษฐ์ขึ้นแต่มีลักษณะการนำเสนอและการใช้ร่วมกันในลักษณะเช่นนี้จะไม่สามารถมีลักษณะบ่งเฉพาะได้ในทุกกรณี ซึ่งเมื่อพิจารณาทั้ง 2 ส่วนรวมกันก็หาได้สื่อถึงสินค้าที่โจทก์ขอจดทะเบียนหรือเล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าที่โจทก์ขอจดทะเบียนโดยตรงไม่ เครื่องหมายการค้าคำว่า "59FIFTY" จึงมีลักษณะที่ทำให้ประชาชนหรือผู้ใช้สินค้าของโจทก์ทราบและเข้าใจได้ว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้านี้แตกต่างไปจากสินค้าอื่น จึงมีลักษณะบ่งเฉพาะ อันพึงรับจดทะเบียนได้ตามมาตรา 6 แล้ว