พบผลลัพธ์ทั้งหมด 11 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 766/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการงานนอกสั่ง สมประโยชน์ตัวการ แม้ไม่มีสัญญาจ้าง แต่มีสิทธิเรียกร้องค่าชดใช้
การที่นายสถานีของสถานีขนส่งสินค้าของจำเลยรู้อยู่แล้วว่าโจทก์ยังคงปฏิบัติงานในการรักษาความปลอดภัยและอำนวยการจราจรต่อไป แต่กลับเพิกเฉยไม่ดำเนินการใด ๆ ให้เกิดความชัดเจนที่แสดงว่าจำเลยปฏิเสธไม่ให้โจทก์ปฏิบัติงานอีกต่อไปภายหลังจากสัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยสิ้นสุดลงแล้วประกอบกับต่อมาโจทก์มีหนังสือฉบับแรกลงวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2561 แจ้งไปยังอธิบดีกรมการขนส่งทางบกให้ชำระค่าบริการหรือค่าจ้างในเดือนตุลาคม 2560 โดยอ้างถึงสัญญาจ้างทั้งสามฉบับระหว่างโจทก์กับจำเลยว่า ภายหลังครบกำหนดตามสัญญาแล้ว โจทก์ยังคงให้บริการรักษาความปลอดภัยและเข้าปฏิบัติงานที่สถานีขนส่งสินค้าทั้งสามแห่งเรื่อยมาจนถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2560 จำเลยมิได้ทักท้วงแต่อย่างใด หลังจากนั้น โจทก์มีหนังสือฉบับลงวันที่ 21 กันยายน 2561 แจ้งไปยังอธิบดีกรมการขนส่งทางบกอีกครั้งให้ชำระค่าบริการโดยอ้างถึงสัญญาและการเข้าปฏิบัติงานเช่นเดียวกับหนังสือฉบับแรก จำเลยได้รับหนังสือบอกกล่าวทวงถามจากโจทก์แล้ว แต่ไม่ได้ตอบกลับไปยังโจทก์ อันเป็นกรณีที่จำเลยนิ่งเฉยเสียไม่ได้ชี้แจงหรือปฏิเสธให้เห็นได้ว่าจำเลยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ ทั้งที่หนังสือทวงถามให้ชำระค่าจ้างแก่โจทก์นั้น มีผลกระทบต่อจำเลยให้ต้องเสียประโยชน์โดยตรง พฤติการณ์ถือได้ว่า โจทก์ได้ปฏิบัติงานในการรักษาความปลอดภัยและอำนวยการจราจรภายในสถานีขนส่งสินค้าทั้งสามแห่งให้จำเลยและจำเลยได้รับประโยชน์จากการปฏิบัติงานตามลักษณะงานปกติเช่นที่โจทก์เคยปฏิบัติมา การที่โจทก์ให้บริการต่อมาอีก 1 เดือน แต่หาได้มีการจัดจ้างโจทก์ จึงไม่ได้มีการต่อสัญญา เป็นกรณีโจทก์เข้าจัดการงานของจำเลยโดยไม่มีหน้าที่ แต่การให้บริการของโจทก์สมประโยชน์ของจำเลยตัวการ จึงปรับบทในเรื่องจัดการงานนอกสั่งได้ ดังนั้น โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชดใช้ค่าใช้จ่ายในการให้บริการตามอัตราค่าจ้างที่กำหนดไว้ในสัญญาจ้างเดิมได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3804/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการงานนอกสั่งของอาคารชุด: สิทธิเรียกร้องค่าใช้จ่ายจากการชำระค่าส่วนกลางแทนจำเลย
จัดการงานนอกสั่งนั้น ป.พ.พ. มาตรา 395 บัญญัติว่า "บุคคลใดเข้าทำกิจการแทนผู้อื่นโดยเขามิได้ว่าขานวานใช้ให้ทำก็ดี หรือโดยมิได้มีสิทธิที่จะทำการงานนั้นแทนผู้อื่นด้วยประการใดก็ดี..." ดังนั้น บุคคลใดที่จะเข้าทำกิจการแทนผู้อื่น เช่น โจทก์เข้าไปชำระค่าใช้จ่าย ค่าไฟฟ้าและค่าน้ำประปา แทนจำเลยนั้น เข้าทำกิจการแทนได้เลยโดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าตัวการจะขอให้ทำหรือมีสิทธิทำแทนหรือไม่ ยิ่งในกรณีคดีนี้เข้าทำกิจการอันเป็นหน้าที่ตามกฎหมายของจำเลย คือเป็นการจัดการดูแลรักษาทรัพย์ส่วนกลางของอาคารชุดตาม พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 มาตรา 33 และตามข้อบังคับของจำเลยและตาม ป.พ.พ. มาตรา 397 ถ้าโจทก์ไม่เข้าชำระค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้าส่วนกลาง แทนจำเลยแล้ว อาจไม่ทันท่วงทีเป็นเหตุให้ทางการไฟฟ้านครหลวงและการประปานครหลวงตัดน้ำตัดไฟของอาคารชุด การที่เข้าทำนี้ยังเข้าข้อยกเว้นไม่ต้องคำนึงว่าจะขัดกับความประสงค์ของตัวการคือจำเลย โจทก์เข้าทำได้โดยไม่ต้องคำนึงว่าจำเลยจะต้องการหรือไม่ และเมื่อโจทก์ทำการตามมาตรา 397 นี้แล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกให้จำเลยชดใช้เงินอันตนได้ออกไปคืนแก่โจทก์อย่างเช่นโจทก์เป็นตัวแทนจำเลยได้ตามมาตรา 401
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4362/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิเรียกร้องช่วง เมื่อทายาทชำระหนี้จำนองเพื่อรักษาสิทธิในทรัพย์มรดก
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของ ม.ระหว่างโจทก์เป็นทายาทของ ม. โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท มีส่วนได้เสียในที่ดินพิพาทจำต้องไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทแทนจำเลยทั้งสอง จึงขอให้จำเลยทั้งสองชำระเงินคืนโจทก์ ถือได้ว่าฟ้องโจทก์ได้บรรยายโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของการรับช่วงสิทธิ คำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาครบถ้วนตามป.วิ.พ.มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว โดยโจทก์ไม่ต้องบรรยายว่าเงินที่นำไปไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทเป็นเงินของใคร เพราะเป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
สัญญาจำนองที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับธนาคาร ก.ไม่มีการเพิกถอน คงเพิกถอนเฉพาะการยกให้และการซื้อขายที่ดินพิพาทเท่านั้นและตามสัญญาจำนองมีความว่า ผู้จำนองตกลงจำนองที่ดินแปลงดังกล่าวข้างต้นทั้งแปลงแก่ผู้รับจำนอง เพื่อเป็นประกันหนี้การกู้เบิกเงินเกินบัญชีและหรือหนี้สินอื่น ๆทุกประเภทของจำเลยที่ 2 และหรือของผู้จำนองทั้งที่มีอยู่แล้วในขณะนี้หรือที่จะมีขึ้นในภายหน้าอันจะพึงมีต่อธนาคาร ก.เป็นจำนวนเงิน 1,000,000 บาท จากข้อความในเอกสารดังกล่าวเป็นลักษณะที่จำเลยที่ 1 จำนองทรัพย์สินของตนไว้เพื่อประกันหนี้ของจำเลยที่ 2 ด้วย ตาม ป.พ.พ.มาตรา 709
เมื่อสัญญาจำนองที่ดินพิพาทไม่มีการเพิกถอนก็ต้องถือว่าเป็นสัญญาจำนองที่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ซึ่งเป็นทายาทของ ม.จะต้องเสี่ยงภัยเสียสิทธิในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของ ม.เพราะอาจถูกธนาคาร ก.ผู้รับจำนองบังคับยึดที่ดินพิพาทออกขายทอดตลาดชำระหนี้ได้ โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกจึงใช้หนี้ตามสัญญาจำนองแทนจำเลยทั้งสองจนเป็นที่พอใจของธนาคาร ก.เจ้าหนี้โดยได้มีการไถ่ถอนจำนองแล้ว โจทก์ย่อมเข้ารับช่วงสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้บังคับเอาแก่จำเลยทั้งสองได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 230 หาใช่เรื่องจัดการงานนอกสั่งหรือลาภมิควรได้ไม่ แม้จำเลยทั้งสองจะอ้างว่าที่โจทก์ชำระหนี้แก่ธนาคารดังกล่าวไปนั้นเป็นการขืนใจลูกหนี้ก็ตาม ในเมื่อโจทก์เป็นบุคคลภายนอกได้ชำระหนี้นั้นอันเนื่องจากจำเลยทั้งสองไม่ยอมไถ่ถอนจำนอง และหากไม่มีการไถ่ถอนจำนองโจทก์ก็ย่อมเสียสิทธิในที่ดินพิพาทไป โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้
โจทก์เป็นผู้รับช่วงสิทธิจากธนาคาร ก.ผู้รับจำนองมาไล่เบี้ยเอาจากจำเลยทั้งสอง ซึ่งโจทก์ก็ชอบที่จะใช้สิทธิทั้งหลายบรรดาที่เจ้าหนี้มีอยู่โดยมูลหนี้ได้ในนามของตนเองเมื่อหนี้เดิมธนาคาร ก.ผู้รับจำนองมีสิทธิบังคับจำนองแม้หนี้ที่ประกันนั้นขาดอายุความแล้วก็ได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 189 เดิม(193/27 ที่แก้ไขใหม่)
สัญญาจำนองที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับธนาคาร ก.ไม่มีการเพิกถอน คงเพิกถอนเฉพาะการยกให้และการซื้อขายที่ดินพิพาทเท่านั้นและตามสัญญาจำนองมีความว่า ผู้จำนองตกลงจำนองที่ดินแปลงดังกล่าวข้างต้นทั้งแปลงแก่ผู้รับจำนอง เพื่อเป็นประกันหนี้การกู้เบิกเงินเกินบัญชีและหรือหนี้สินอื่น ๆทุกประเภทของจำเลยที่ 2 และหรือของผู้จำนองทั้งที่มีอยู่แล้วในขณะนี้หรือที่จะมีขึ้นในภายหน้าอันจะพึงมีต่อธนาคาร ก.เป็นจำนวนเงิน 1,000,000 บาท จากข้อความในเอกสารดังกล่าวเป็นลักษณะที่จำเลยที่ 1 จำนองทรัพย์สินของตนไว้เพื่อประกันหนี้ของจำเลยที่ 2 ด้วย ตาม ป.พ.พ.มาตรา 709
เมื่อสัญญาจำนองที่ดินพิพาทไม่มีการเพิกถอนก็ต้องถือว่าเป็นสัญญาจำนองที่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ซึ่งเป็นทายาทของ ม.จะต้องเสี่ยงภัยเสียสิทธิในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของ ม.เพราะอาจถูกธนาคาร ก.ผู้รับจำนองบังคับยึดที่ดินพิพาทออกขายทอดตลาดชำระหนี้ได้ โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกจึงใช้หนี้ตามสัญญาจำนองแทนจำเลยทั้งสองจนเป็นที่พอใจของธนาคาร ก.เจ้าหนี้โดยได้มีการไถ่ถอนจำนองแล้ว โจทก์ย่อมเข้ารับช่วงสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้บังคับเอาแก่จำเลยทั้งสองได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 230 หาใช่เรื่องจัดการงานนอกสั่งหรือลาภมิควรได้ไม่ แม้จำเลยทั้งสองจะอ้างว่าที่โจทก์ชำระหนี้แก่ธนาคารดังกล่าวไปนั้นเป็นการขืนใจลูกหนี้ก็ตาม ในเมื่อโจทก์เป็นบุคคลภายนอกได้ชำระหนี้นั้นอันเนื่องจากจำเลยทั้งสองไม่ยอมไถ่ถอนจำนอง และหากไม่มีการไถ่ถอนจำนองโจทก์ก็ย่อมเสียสิทธิในที่ดินพิพาทไป โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้
โจทก์เป็นผู้รับช่วงสิทธิจากธนาคาร ก.ผู้รับจำนองมาไล่เบี้ยเอาจากจำเลยทั้งสอง ซึ่งโจทก์ก็ชอบที่จะใช้สิทธิทั้งหลายบรรดาที่เจ้าหนี้มีอยู่โดยมูลหนี้ได้ในนามของตนเองเมื่อหนี้เดิมธนาคาร ก.ผู้รับจำนองมีสิทธิบังคับจำนองแม้หนี้ที่ประกันนั้นขาดอายุความแล้วก็ได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 189 เดิม(193/27 ที่แก้ไขใหม่)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1076/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตฟ้องแย้ง: ประเด็นเกี่ยวเนื่องกับคำฟ้องเดิมต้องรับไว้พิจารณา แต่ประเด็นอื่นที่ไม่เกี่ยวเนื่องต้องห้าม
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการห้าง ฯ โจทก์ที่ 1 โจทก์ที่ 3 และจำเลยที่ 4 เป็นหุ้นส่วน ในระหว่างที่จำเลยร่วมกันดำเนินกิจการของโจทก์ 1 แทนโจทก์ที่ 2 ได้จำหน่ายรถไถและอุปกรณ์รถไถของโจทก์ที่ 1 แล้วไม่นำเงินส่งให้โจทก์ที่ 1 กับเอาตราและเอกสารของโจทก์ที่ 1 ไปด้วย ขอให้จำเลยชำระเงินค่าสินค้าที่จำหน่ายไป กับให้ส่งมอบตราและเอกสารแก่โจทก์ จำเลยที่ 4 ให้การและฟ้องแย้งว่า โจทก์ที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการและลูกจ้างของโจทก์ที่ 1 ได้รับรถไถของจำเลยที่ 4 ไปจำหน่ายแล้วไม่นำเงินส่งมอบแก่โจทก์ 1 และจำเลยที่ 4 ตามข้อตกลง ทั้งยังได้นำเงินของโจทก์ที่ 1 ไปใช้จ่ายเป็นส่วนตัวอีกด้วย ขอให้โจทก์ที่ 2 ชำระเงินแก่โจทก์ที่ 1 และจำเลยที่ 4 กับให้โจทก์ที่ 3 ซึ่งเข้ามาช่วยโจทก์ที่ 2 ดำเนินการห้าง ฯ โจทก์ที่ร่วมรับผิดด้วย และให้โจทก์ที่ 2 ไปดำเนินการจดทะเบียนเลิกห้าง ฯ โจทก์ที่ 1 และชำระบัญชี ดังนี้ ฟ้องแย้งในเรื่องที่เกี่ยวกับรถไถเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิม ส่วนฟ้องแย้งที่อ้างว่าโจทก์ที่ 2 และที่ 3 นำเงินของโจทก์ที่ 1 ไปใช้จ่ายเป็นส่วนตัว กับให้โจทก์ที่ 2 ไปดำเนินการจดทะเบียนเลิกห้างฯ โจทก์ที่ 1และชำระบัญชีนั้น เป็นเรื่องอื่นไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิม ต้องห้ามมิให้ฟ้องแย้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1076/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการฟ้องแย้ง: ประเด็นเกี่ยวเนื่องกับคำฟ้องเดิม vs. ประเด็นอื่นนอกเหนือ
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการห้างฯ โจทก์ที่ 1 โจทก์ที่ 3 และจำเลยที่ 4 เป็นหุ้นส่วนในระหว่างที่จำเลยร่วมกันดำเนินกิจการของโจทก์ที่1 แทนโจทก์ที่ 2 ได้จำหน่ายรถไถและอุปกรณ์รถไถของโจทก์ที่ 1 แล้วไม่นำเงินส่งให้โจทก์ที่1 กับเอาตราและเอกสารของโจทก์ที่ 1 ไปด้วย ขอให้จำเลยชำระเงินค่าสินค้าที่จำหน่ายไป กับให้ส่งมอบตราและเอกสารแก่โจทก์จำเลยที่ 4 ให้การและฟ้องแย้งว่า โจทก์ที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการและลูกจ้างของโจทก์ที่ 1 ได้รับรถไถของจำเลยที่ 4 ไปจำหน่ายแล้วไม่นำเงินส่งมอบแก่โจทก์ที่ 1 และจำเลยที่ 4 ตามข้อตกลง ทั้งยังได้นำเงินของโจทก์ที่ 1 ไปใช้จ่ายเป็นส่วนตัวอีกด้วยขอให้โจทก์ที่ 2 ชำระเงินแก่โจทก์ที่ 1 และจำเลยที่ 4 กับให้โจทก์ที่ 3 ซึ่งเข้ามาช่วยโจทก์ที่ 2 ดำเนินการห้างฯ โจทก์ที่ 1 ร่วมรับผิดด้วย และให้โจทก์ที่ 2 ไปดำเนินการจดทะเบียนเลิกห้างฯ โจทก์ที่ 1 และชำระบัญชีดังนี้ ฟ้องแย้งในเรื่องที่เกี่ยวกับรถไถเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิม ส่วนฟ้องแย้งที่อ้างว่าโจทก์ที่ 2 และที่ 3 นำเงินของโจทก์ที่ 1 ไปใช้จ่ายเป็นส่วนตัวกับให้โจทก์ที่ 2 ไปดำเนินการจดทะเบียนเลิกห้างฯ โจทก์ที่ 1 และชำระบัญชีนั้น เป็นเรื่องอื่นไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมต้องห้ามมิให้ฟ้องแย้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1042/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จัดการงานนอกสั่งและการระงับหนี้ค่าซ่อมรถยนต์จากประกันภัยค้ำจุน
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์ของจำเลยตามกรมธรรม์ประกันภัยมีว่า โจทก์จะใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่บุคคลภายนอกรายหนึ่ง ๆ ไม่เกิน 10,000 บาท รถยนต์ของจำเลยคันนั้นได้ชนกับรถยนต์คันอื่น ซึ่งจำเลยจะต้องรับผิดชอบโจทก์ได้ซ่อมรถคันที่ถูกชนนั้นสิ้นเงินไป 25,000 บาท ขอให้จำเลยใช้เงิน 15,000 บาท ที่โจทก์จ่ายเกินไปให้โจทก์ดังนี้ บุคคลภายนอกผู้ต้องเสียหายชอบที่จะได้รับเงินค่าซ่อมรถจากโจทก์เป็นจำนวนเท่าที่โจทก์กับจำเลยได้ตกลงกันไว้ในกรมธรรม์ส่วนจำนวนที่ยังขาดอยู่นั้นชอบที่จะเรียกร้องให้จำเลยใช้ให้ โจทก์ไม่มีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะจ่ายเงินค่าซ่อมรถให้ผู้ต้องเสียหายเกินกว่าความรับผิดของตนซึ่งจำกัดไว้เพียง 10,000 บาท แต่เมื่อได้จ่ายไปแล้วแม้จำเลยจะไม่ได้มอบหมายให้จัดการแทนก็ตาม ก็ย่อมเป็นผลทำให้หนี้ค่าซ่อมรถที่ยังขาดอยู่นั้นระงับไป และจำเลยหลุดพ้นความรับผิดต่อผู้ต้องเสียหายจึงอาจสมประโยชน์ของจำเลยซึ่งเป็นตัวการและต้องตามความประสงค์อันแท้จริงของตัวการหรือความประสงค์ตามที่จะพึงสันนิษฐานได้ กรณีตามฟ้องเป็นเรื่องจัดการงานนอกสั่งที่อาจจะก่อให้เกิดหนี้ที่ผูกพันจำเลยให้ต้องชดใช้เงินที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการได้ออกทดรองจัดการงานให้จำเลยไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 401 โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยศาลชอบที่จะรับฟ้องไว้พิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1042/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการงานนอกสั่งของผู้รับประกันภัยค้ำจุน และสิทธิเรียกร้องเงินค่าซ่อมจากตัวการ
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์ของจำเลย ตามกรมธรรม์ประกันภัยมีว่า โจทก์จะใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่บุคคลภายนอกรายหนึ่ง ๆ ไม่เกิน 10,000 บาท รถยนต์ของจำเลยคันนั้นได้ชนกับรถยนต์คันอื่น ซึ่งจำเลยจะต้องรับผิดชอบ โจทก์ได้ซ่อมรถคันที่ถูกชนนั้นสิ้นเงินไป 25,000 บาท ขอให้จำเลยใช้เงิน 15,000 บาทที่โจทก์จ่ายเกินไปให้โจทก์ ดังนี้ บุคคลภายนอกผู้ต้องเสียหายชอบที่จะได้รับเงินค่าซ่อมรถจากโจทก์เป็นจำนวนเท่าที่โจทก์กับจำเลยได้ตกลงกันไว้ในกรมธรรม์ ส่วนจำนวนที่ยังขาดอยู่นั้นชอบที่จะเรียกร้องให้จำเลยใช้ให้ โจทก์ไม่มีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะจ่ายเงินค่าซ่อมรถให้ผู้ต้องเสียหายเกินกว่าความรับผิดของตนซึ่งจำกัดไว้เพียง 10,000 บาท แต่เมื่อได้จ่ายไปแล้ว แม้จำเลยจะไม่ได้มอบหมายให้จัดการแทนก็ตาม ก็ย่อมเป็นผลทำให้หนี้ค่าซ่อมรถที่ยังขาดอยู่นั้นระงับไป และจำเลยหลุดพ้นความรับผิดต่อผู้ต้องเสียหาย จึงอาจสมประโยชน์ของจำเลยซึ่งเป็นตัวการและต้องตามความประสงค์อันแท้จริงของตัวการหรือความประสงค์ตามที่จะพึงสันนิษฐานได้ กรณีตามฟ้องเป็นเรื่องจัดการงานนอกสั่งที่อาจจะก่อให้เกิดหนี้ที่ผูกพันจำเลยให้ต้องชดใช้เงินที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการได้ออกทดรองจัดการงานให้จำเลยไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 401 โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลย ศาลชอบที่จะรับฟ้องไว้พิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 630/2503
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่ทนายหลังถอนจากกรณี – การแจ้งผลคำพิพากษาและการปฏิบัติหน้าที่แทนตัวความ
โจทก์แต่งให้จำเลยเป็นทนายฟ้องคดีให้โจทก์จำเลยได้ดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้นเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์แพ้คดีโจทก์ขอถอนจำเลยออกจากการเป็นทนายโดยจำเลยยินยอมโจทก์ตั้งทนายใหม่เป็นผู้ดำเนินคดีชั้นอุทธรณ์ต่อมา ดังนี้ หน้าที่ทนายความระหว่างจำเลยกับโจทก์เป็นอันสิ้นสุดลง แต่ในแง่ที่เกี่ยวกับศาลและคนอื่น จำเลยยังเป็นทนายของโจทก์อยู่ เพราะโจทก์จำเลยยังหาได้แจ้งถอนหรือเลิกการการแต่งตั้งไม่
การที่จำเลยเซ็นรับทราบคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในคดีซึ่งตนพ้นจากหน้าที่ทนายแล้ว มีผลเท่ากับจำเลยทำกิจการแทนโจทก์ โดยที่ตนไม่มีสิทธิที่จะกระทำการนั้นจำเลยต้องบอกกล่าวแก่โจทก์โดยเร็ว
การที่จำเลยเซ็นรับทราบคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในคดีซึ่งตนพ้นจากหน้าที่ทนายแล้ว มีผลเท่ากับจำเลยทำกิจการแทนโจทก์ โดยที่ตนไม่มีสิทธิที่จะกระทำการนั้นจำเลยต้องบอกกล่าวแก่โจทก์โดยเร็ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 630/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่ทนายหลังถอนมอบอำนาจ: การแจ้งผลคำพิพากษาและการกระทำการแทนตัวความ
โจทก์แต่งให้จำเลยเป็นทนายฟ้องคดีให้โจทก์ จำเลยได้ดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้น เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์แพ้คดี โจทก์ขอถอนจำเลยออกจากการเป็นทนายใหม่เป็นผู้ดำเนินคดีชั้นอุทธรณ์ต่อมา ดังนี้ หน้าที่ทนายความระหว่างจำเลยกับโจทก์เป็นอันสิ้นสุดลง แต่ในแง่ที่เกี่ยวกับศาลและคนอื่น จำเลยยังเป็นทนายของโจทก์อยู่ เพราะโจทก์จำเลยยังหาได้แจ้งถอนหรือเลิกการแต่งตั้งไม่
การที่จำเลยเซ็นรับทราบคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในคดีซึ่งตนพ้นจากหน้าที่ทนายแล้ว มีผลเท่ากับจำเลยทำกิจการแทนโจทก์ โดยที่ตนไม่มีสิทธิ์ที่จะกระทำการนั้น จำเลยต้องบอกกล่าวแก่โจทก์โดยเร็ว
การที่จำเลยเซ็นรับทราบคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในคดีซึ่งตนพ้นจากหน้าที่ทนายแล้ว มีผลเท่ากับจำเลยทำกิจการแทนโจทก์ โดยที่ตนไม่มีสิทธิ์ที่จะกระทำการนั้น จำเลยต้องบอกกล่าวแก่โจทก์โดยเร็ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 510/2491
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้แทนกันและการเรียกร้องสิทธิในที่ดินที่ถูกยึดถือเพื่อเป็นหลักประกัน
บิดากู้เงินผู้อื่นมาแล้วมอบที่นาไว้ให้เขายึดถือทำกินต่างดอกเบี้ยภายหลังบิดาตาย น้าจึงไปชำระเงินกู้และไถ่ถอนที่นาคืนมาจากเจ้าหนี้แทนบุตรดังนี้ บุตรมีอำนาจฟ้องน้า ขอให้รับชำระหนี้เงินกู้และคืนนาให้แก่บุตรได้