พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,139 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1060/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผิดสัญญาซื้อขายทาวน์เฮาส์เนื่องจากก่อสร้างไม่ตรงตามแผนผังโครงการที่โฆษณา
ตามแผนผังโครงการแนบท้ายสัญญาจะซื้อขายทาวน์เฮ้าส์พร้อมที่ดินพิพาทระบุว่า ทาวน์เฮาส์และคอนโดมิเนียมตามโครงการ มีถนนด้านหน้าและด้านหลัง จากถนนด้านหน้าเข้าสู่ถนนในโครงการด้านซ้ายเป็นทาวน์เฮาส์ 7 ห้องและด้านขวาอีก 7 ห้อง ถัดจากทาวน์เฮาส์ไปเป็นบริเวณของสระว่ายน้ำและลานลอยฟ้า มีตึกคอนโดมิเนียมอยู่ด้านในติดกับถนนด้านหลัง และโจทก์ตกลงจะซื้อทาวน์เฮาส์ห้องบี 7ที่ระบายสีเหลืองไว้ซึ่งอยู่ใกล้สระว่ายน้ำจากจำเลยเมื่อแผนผังดังกล่าวเป็นการแสดงทำเลที่ตั้งของทาวน์เฮาส์ที่จะก่อสร้างเสนอขายตามโครงการของจำเลยว่ามีสระว่ายน้ำลานลอยฟ้า และคอนโดมิเนียมอันอยู่ในทำเลที่สง่าสวยงามน่าอยู่ ไม่เปลี่ยวโดดเดี่ยวเหมือนอย่างที่มีทาวน์เฮาส์ 14 ห้อง เพียงอย่างเดียวหากเป็นทำเลคนละแห่งกันก็จะเห็นถึงความแตกต่างที่ไม่อาจเปรียบเทียบกันได้ การที่จำเลยก่อสร้างทาวน์เฮาส์เพียงอย่างเดียวโดยไม่ได้สร้างสระว่ายน้ำลานลอยฟ้าและคอนโดมิเนียมให้เต็มตามโครงการที่ได้โฆษณาไว้ย่อมทำให้ทำเลที่ตั้งของทาวน์เฮาส์ที่สร้างขึ้นแตกต่างไปเป็นคนละอย่าง ไม่เหมือนทำเลที่ตั้งทาวน์เฮาส์ตามแผนผังโครงการที่นำออกโฆษณาต่อลูกค้า ถือได้ว่าจำเลยที่ 1ผิดสัญญา โจทก์ชอบที่จะบอกเลิกสัญญาได้ โดยไม่จำต้องคำนึงว่าสระว่ายน้ำและลานลอยฟ้าเป็นสิ่งอำนวยความสะดวกของทาวน์เฮาส์หรือไม่ หรือโจทก์จะมีสิทธิใช้สิ่งอำนวยความสะดวกดังกล่าวได้หรือไม่ กับไม่เกี่ยวกับความแตกต่างของการถือครองกรรมสิทธิ์ระหว่างผู้เป็นเจ้าของทาวน์เฮาส์และผู้เป็นเจ้าของห้องชุดในคอนโดมิเนียมแต่ประการใด และแม้จำเลยจะแยกโครงการดังกล่าวออกเป็นโครงการย่อย 2 ส่วนคือ ส่วนของโครงการทาวน์เฮาส์ และส่วนของโครงการคอนโดมิเนียม ก็ไม่ทำให้จำเลยผู้เป็นเจ้าของโครงการพ้นจากการตกเป็นผู้ผิดสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1060/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผิดสัญญาซื้อขายทาวน์เฮาส์จากเปลี่ยนแปลงทำเลที่ตั้งตามแผนผังโครงการ
ตามแผนผังโครงการแนบท้ายสัญญาจะซื้อขายทาวน์เฮ้าส์พร้อมที่ดินพิพาทระบุว่า ทาวน์เฮาส์และคอนโดมิเนียมตามโครงการ มีถนนด้านหน้าและด้านหลัง จากถนนด้านหน้าเข้าสู่ถนนในโครงการด้านซ้ายเป็นทาวน์เฮาส์ 7 ห้องและด้านขวาอีก 7 ห้อง ถัดจากทาวน์เฮาส์ไปเป็นบริเวณของสระว่ายน้ำและลานลอยฟ้า มีตึกคอนโดมิเนียมอยู่ด้านในติดกับถนนด้านหลัง และโจทก์ตกลงจะซื้อทาวน์เฮาส์ห้อง บี 7 ที่ระบายสีเหลืองไว้ซึ่งอยู่ใกล้สระว่ายน้ำจากจำเลย เมื่อแผนผังดังกล่าวเป็นการแสดงทำเลที่ตั้งของทาวน์เฮาส์ที่จะก่อสร้างเสนอขายตามโครงการของจำเลยว่ามีสระว่ายน้ำ ลานลอยฟ้า และคอนโดมิเนียมอันอยู่ในทำเลที่สง่าสวยงามน่าอยู่ ไม่เปลี่ยวโดดเดี่ยวเหมือนอย่างที่มีทาวน์เฮาส์ 14 ห้อง เพียงอย่างเดียวหากเป็นทำเลคนละแห่งกันก็จะเห็นถึงความแตกต่างที่ไม่อาจเปรียบเทียบกันได้ การที่จำเลยก่อสร้างทาวน์เฮาส์เพียงอย่างเดียวโดยไม่ได้สร้างสระว่ายน้ำ ลานลอยฟ้าและคอนโดมิเนียมให้เต็มตามโครงการที่ได้โฆษณาไว้ย่อมทำให้ทำเลที่ตั้งของทาวน์เฮาส์ที่สร้างขึ้นแตกต่างไปเป็นคนละอย่าง ไม่เหมือนทำเลที่ตั้งทาวน์เฮาส์ตามแผนผังโครงการที่นำออกโฆษณาต่อลูกค้า ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญา โจทก์ชอบที่จะบอกเลิกสัญญาได้ โดยไม่จำต้องคำนึงว่าสระว่ายน้ำและลานลอยฟ้าเป็นสิ่งอำนวยความสะดวกของทาวน์เฮาส์หรือไม่ หรือโจทก์จะมีสิทธิใช้สิ่งอำนวยความสะดวกดังกล่าวได้หรือไม่ กับไม่เกี่ยวกับความแตกต่างของการถือครองกรรมสิทธิ์ระหว่างผู้เป็นเจ้าของทาวน์เฮาส์และผู้เป็นเจ้าของห้องชุดในคอนโดมิเนียมแต่ประการใด และแม้จำเลยจะแยกโครงการดังกล่าวออกเป็นโครงการย่อย 2 ส่วนคือ ส่วนของโครงการทาวน์เฮาส์ และส่วนของโครงการคอนโดมิเนียม ก็ไม่ทำให้จำเลยผู้เป็นเจ้าของโครงการพ้นจากการตกเป็นผู้ผิดสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 91/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผิดสัญญาซื้อขายที่ดิน: สิทธิของโจทก์ในการบังคับตามสัญญาและเรียกร้องค่าเสียหาย
หลังจากจำเลยทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินกับโจทก์แล้ว แม้ได้มีการเจรจาขอซื้อที่ดืนคืน แต่เมื่อไม่สามารถตกลงกันได้ สัญญาจะซื้อขายที่พิพาทจึงยังมิได้ถูกยกเลิกต่อกันแล้วโดยปริยาย เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญาจำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา
จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทแล้วตั้งแต่ก่อนถึงวันกำหนดโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน จำเลยย่อมไม่มีสิทธิบังคับให้โจทก์ปฏิบัติตามสัญญา แต่คงเป็นสิทธิของโจทก์ฝ่ายเดียวที่จะบังคับตามสัญญา แม้ในวันกำหนดโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินโจทก์ที่ 1 จะไม่ไปรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินก็ตาม
ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินฉบับพิพาทระบุไว้ว่า ถ้าจำเลยผิดสัญญาไม่ว่าข้อหนึ่งข้อใด ต้องคืนเงินมัดจำตามสัญญานี้ให้แก่โจทก์ทันที และยินยอมให้โจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญานี้ได้ เมื่อปรากฏว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาตั้งแต่ก่อนถึงวันกำหนดโอนกรรรมสิทธิ์ที่ดิน ดังนั้น การที่โจทก์ไปรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและจะชำระราคาที่ดินส่วนที่เหลือ โดยนำเงินมัดจำที่จำเลยจะต้องคืนแก่โจทก์ฐานผิดสัญญามาหักออกก่อน จึงไม่ทำให้โจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา และจำเลยจะต้องชำระค่าเสียหายให้โจทก์อันเกิดขึ้นจากการที่จำเลยไม่โอนขายที่ดินให้โจทก์และค่าเสียหายของโจทก์ในการที่จะต้องว่าจ้างทุบอาคารบนที่ดิน เพราะหลังจากทำสัญญาจะขายที่ดินให้โจทก์แล้ว จำเลยเคยติดต่อขอซื้อที่ดินกลับคืนในราคาที่สูงกว่าที่จำเลยตกลงจะขายให้โจทก์หลายครั้งแต่ตกลงกันไม่ได้ และจำเลยทราบว่า โจทก์ซื้อที่ดินจากจำเลยเพื่อจะสร้างอาคารชุด ซึ่งค่าเสียหายดังกล่าวเป็นค่าเสียหายโดยตรงและจำเลยทราบดีอยู่แล้ว
จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อขายที่ดิน จำเลยจึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและริบเงินมัดจำ การบอกเลิกสัญญาและริบเงินมัดจำของจำเลยจึงไม่มีผลและในกรณีที่จำเลยไม่อาจขายที่ดินให้โจทก์ได้ จำเลยก็ไม่มีสิทธิยึดเงินมัดจำไว้ได้ต้องคืนเงินมัดจำพร้อมด้วยดอกเบี้ยให้แก่โจทก์
จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทแล้วตั้งแต่ก่อนถึงวันกำหนดโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน จำเลยย่อมไม่มีสิทธิบังคับให้โจทก์ปฏิบัติตามสัญญา แต่คงเป็นสิทธิของโจทก์ฝ่ายเดียวที่จะบังคับตามสัญญา แม้ในวันกำหนดโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินโจทก์ที่ 1 จะไม่ไปรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินก็ตาม
ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินฉบับพิพาทระบุไว้ว่า ถ้าจำเลยผิดสัญญาไม่ว่าข้อหนึ่งข้อใด ต้องคืนเงินมัดจำตามสัญญานี้ให้แก่โจทก์ทันที และยินยอมให้โจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญานี้ได้ เมื่อปรากฏว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาตั้งแต่ก่อนถึงวันกำหนดโอนกรรรมสิทธิ์ที่ดิน ดังนั้น การที่โจทก์ไปรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและจะชำระราคาที่ดินส่วนที่เหลือ โดยนำเงินมัดจำที่จำเลยจะต้องคืนแก่โจทก์ฐานผิดสัญญามาหักออกก่อน จึงไม่ทำให้โจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา และจำเลยจะต้องชำระค่าเสียหายให้โจทก์อันเกิดขึ้นจากการที่จำเลยไม่โอนขายที่ดินให้โจทก์และค่าเสียหายของโจทก์ในการที่จะต้องว่าจ้างทุบอาคารบนที่ดิน เพราะหลังจากทำสัญญาจะขายที่ดินให้โจทก์แล้ว จำเลยเคยติดต่อขอซื้อที่ดินกลับคืนในราคาที่สูงกว่าที่จำเลยตกลงจะขายให้โจทก์หลายครั้งแต่ตกลงกันไม่ได้ และจำเลยทราบว่า โจทก์ซื้อที่ดินจากจำเลยเพื่อจะสร้างอาคารชุด ซึ่งค่าเสียหายดังกล่าวเป็นค่าเสียหายโดยตรงและจำเลยทราบดีอยู่แล้ว
จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อขายที่ดิน จำเลยจึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและริบเงินมัดจำ การบอกเลิกสัญญาและริบเงินมัดจำของจำเลยจึงไม่มีผลและในกรณีที่จำเลยไม่อาจขายที่ดินให้โจทก์ได้ จำเลยก็ไม่มีสิทธิยึดเงินมัดจำไว้ได้ต้องคืนเงินมัดจำพร้อมด้วยดอกเบี้ยให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 91/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยผิดสัญญาซื้อขายที่ดิน ไม่ทุบอาคารตามสัญญา โจทก์มีสิทธิบังคับตามสัญญา และเรียกค่าเสียหายได้
หลังจากจำเลยทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินกับโจทก์แล้วแม้ได้มีการเจรจาขอซื้อที่ดินคืน แต่เมื่อไม่สามารถตกลงกันได้สัญญาจะซื้อขายที่พิพาทจึงยังมิได้ถูกยกเลิกต่อกันแล้วโดยปริยาย เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญาจำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทแล้วตั้งแต่ก่อนถึงวันกำหนดโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน จำเลยย่อมไม่มีสิทธิบังคับให้โจทก์ปฏิบัติตามสัญญา แต่คงเป็นสิทธิของโจทก์ฝ่ายเดียวที่จะบังคับตามสัญญา แม้ในวันกำหนดโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินโจทก์ที่ 1 จะไม่ไปรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินก็ตาม ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินฉบับพิพาทระบุไว้ว่า ถ้าจำเลยผิดสัญญาไม่ว่าข้อหนึ่งข้อใด ต้องคืนเงินมัดจำตามสัญญานี้ให้แก่โจทก์ทันที และยินยอมให้โจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญานี้ได้ เมื่อปรากฏว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาตั้งแต่ก่อนถึงวันกำหนดโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน ดังนั้น การที่โจทก์ไปรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและจะชำระราคาที่ดินส่วนที่เหลือ โดยนำเงินมัดจำที่จำเลยจะต้องคืนแก่โจทก์ฐานผิดสัญญามาหักออกก่อน จึงไม่ทำให้โจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาและจำเลยจะต้องชำระค่าเสียหายให้โจทก์อันเกิดขึ้นจากการที่จำเลยไม่โอนขายที่ดินให้โจทก์และค่าเสียหายของโจทก์ในการที่จะต้องว่าจ้างทุบอาคารบนที่ดิน เพราะหลังจากทำสัญญาจะขายที่ดินให้โจทก์แล้ว จำเลยเคยติดต่อขอซื้อที่ดินกลับคืนในราคาที่สูงกว่าที่จำเลยตกลงจะขายให้โจทก์หลายครั้งแต่ตกลงกันไม่ได้ และจำเลยทราบว่า โจทก์ซื้อที่ดินจากจำเลยเพื่อจะสร้างอาคารชุด ซึ่งค่าเสียหายดังกล่าวเป็นค่าเสียหายโดยตรงและจำเลยทราบดีอยู่แล้ว จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อขายที่ดิน จำเลยจึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและริบเงินมัดจำ การบอกเลิกสัญญาและริบเงินมัดจำของจำเลยจึงไม่มีผลและในกรณีที่จำเลยไม่อาจขายที่ดินให้โจทก์ได้ จำเลยก็ไม่มีสิทธิยึดเงินมัดจำไว้ได้ต้องคืนเงินมัดจำพร้อมด้วยดอกเบี้ยให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8480/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายมีเจตนาใช้ประโยชน์ทำเหมืองแร่ หากทำเหมืองแร่เสร็จต้องคืนที่ดิน สิทธิไม่ขาดอายุความ
จำเลยให้การว่า จำเลยซื้อที่ดินพิพาททั้งสองแปลงจากโจทก์ทั้งเจ็ดโดยเด็ดขาด ส่วนหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินข้อ 6 เป็นเพียงคำมั่นจะให้โดยเสน่หา เมื่อคำมั่นนั้นไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงตกเป็นโมฆะทั้งจำเลยได้เข้าประกอบกิจการเหมืองแร่แล้วและยังประกอบกิจการ เหมืองแร่อยู่จึงไม่ต้องคืนที่ดินให้โจทก์ทั้งเจ็ด และจำเลย ได้การครอบครองและได้กรรมสิทธิ์มาโดยเปิดเผยและ ชอบด้วยกฎหมายเกินกว่า 10 ปี คำให้การจำเลยนี้เมื่อรวมความแล้ว หมายถึงจำเลยไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตามหนังสือสัญญาซื้อขาย ที่ดิน ข้อ 6 นั่นเองคำให้การของจำเลยจึงไม่ขัดแย้งกัน แต่อย่างใด และชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสอง แล้ว ก่อนที่จำเลยจะเข้าทำสัญญาซื้อขายที่ดินฉบับพิพาทบิดาจำเลยได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทกับโจทก์ที่ 1ถึงที่ 6 ไว้ก่อนแล้ว เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2513 ตามหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายเอกสารหมาย จ.9 และ ตามหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินฉบับพิพาทข้อ 1 ระบุไว้ โดยแจ้งชัดว่าให้ถือหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายตามเอกสารหมาย จ.9เป็นส่วนหนึ่งของสัญญาด้วย ดังนี้ แม้หนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินฉบับพิพาทจะระบุว่าเป็นหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินก็ตามแต่ในข้อ 2 ของหนังสือสัญญาดังกล่าวระบุไว้ว่า โจทก์ทั้งเจ็ดในฐานะผู้ขายทั้งหมดจะทำการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแก่จำเลยในฐานะผู้ซื้อ ณ สำนักงานที่ดินต่อไปแสดงว่าการซื้อขายที่ดินพิพาทมิได้เสร็จเด็ดขาดตามข้อความที่ปรากฏในหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินฉบับพิพาทเท่านั้นแต่จะต้องมีการจดทะเบียนกันก่อนจึงจะสมบูรณ์ และต่อมาโจทก์ทั้งเจ็ดกับจำเลยก็ได้ทำการจดทะเบียนขายที่ดินเฉพาะส่วนของที่ดินพิพาท ซึ่งเป็นการชำระหนี้และปฏิบัติตามสัญญาบางส่วนของสัญญาไปแล้วเช่นนี้ หนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินฉบับพิพาทจึงมีลักษณะเป็นสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินย่อมมีผลบังคับใช้ได้โดยไม่ต้องจดทะเบียน และข้อตกลงจะคืนที่ดินพิพาทตามข้อ 6 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาดังกล่าวย่อมใช้บังคับกันได้ระหว่างโจทก์ทั้งเจ็ดและจำเลยในฐานะเป็นบุคคลสิทธิ สัญญาข้อ 6 ในหนังสือสัญญาจะขายที่ดินฉบับพิพาทระบุว่า "ผู้ซื้อขอให้คำมั่นไว้ต่อผู้ขายว่า การซื้อที่ดินตามหนังสือสัญญานี้ ผู้ซื้อตกลงซื้อที่ดินเพื่อประโยชน์ในการทำเหมืองแร่เท่านั้น และภายในกำหนดสิบปี เมื่อผู้ซื้อมิได้ประกอบกิจการเหมืองแร่หรือใช้ประโยชน์บนที่ดินเพื่อการทำเหมืองแร่แล้วผู้ซื้อยินยอมคืนที่ดินทั้งหมดให้แก่ผู้ขายโดยไม่คิดค่าตอบแทนใด ๆ ทั้งสิ้น" ดังนี้เป็นเงื่อนไขข้อหนึ่งของการซื้อขายที่ดินพิพาทซึ่งเป็นสัญญาต่างตอบแทน จึงไม่ใช่คำมั่นจะให้โดยเสน่หาแม้ไม่จดทะเบียนก็มีผลผูกพันต่อคู่สัญญา เพราะเป็นเงื่อนไขจะซื้อจะขายที่ดิน และเมื่อโจทก์ทั้งเจ็ดฟ้องให้จำเลยปฏิบัติตามหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินซึ่งมีผลบังคับใช้ได้โจทก์ทั้งเจ็ดไม่ได้ฟ้องบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามหนังสือสัญญาขายที่ดินเฉพาะส่วน ดังนี้การที่โจทก์ทั้งเจ็ดนำสืบถึงเหตุที่มาของการมีเงื่อนไขตามสัญญาในสัญญาจะซื้อขาย ที่ดินฉบับพิพาทจึงกระทำได้ ไม่ถือว่าเป็นการนำสืบ เปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสาร สัญญาจะซื้อขายที่ดินฉบับพิพาทระบุไว้โดยแจ้งชัดว่าจำเลยซื้อที่ดินพิพาทเพื่อประโยชน์ในการทำเหมืองแร่เท่านั้นและภายในกำหนด 10 ปี เมื่อจำเลยมิได้ประกอบกิจการเหมืองแร่หรือใช้ประโยชน์บนที่ดินเพื่อทำเหมืองแร่แล้วจำเลยในฐานะผู้ซื้อยินยอมคืนที่ดินพิพาททั้งหมดให้แก่โจทก์ทั้งเจ็ดซึ่งเป็นฝ่ายผู้ขายโดยไม่คิดค่าตอบแทนใด ๆทั้งสิ้น ย่อมแสดงว่าในขณะที่จำเลยทำสัญญานั้นจำเลยมีเจตนาจะใช้ประโยชน์ในที่ดินพิพาทเพื่อกิจการทำเหมืองแร่โดยเฉพาะเท่านั้น ไม่มีเจตนาจะใช้เพื่อกิจการอื่นทั้งจำเลยก็ได้เข้าทำเหมืองแร่บนที่ดินพิพาทภายหลังทำสัญญาแล้ว พฤติการณ์จึงเป็นการสอดคล้องต้องกันว่าจำเลยมีเจตนาเข้าผูกพันตามสัญญาดังกล่าว เมื่อข้อความในข้อ 6 ระบุไว้ว่า จำเลยในฐานะผู้ซื้อจะต้องโอนที่ดินพิพาทคืนโจทก์ทั้งเจ็ดในสองกรณีด้วยกันคือ ภายในกำหนด 10 ปี หากจำเลยมิได้ประกอบกิจการเหมืองแร่บนที่ดินพิพาทกรณีหนึ่ง และอีกกรณีหนึ่งคือจำเลย ได้เข้าใช้ประโยชน์บนที่ดินพิพาทเพื่อทำกิจการเหมืองแร่ เสร็จแล้ว ข้อความในข้อ 6 หาได้ระบุแต่เฉพาะว่าเมื่อจำเลยไม่ได้เข้าทำกิจการเหมืองแร่บนที่ดินพิพาทภายในกำหนด 10 ปีต้องคืนที่ดินพิพาทให้โจทก์ทั้งเจ็ดเพียงประการเดียวไม่ดังนี้ เมื่อจำเลยได้เข้าทำกิจการเหมืองแร่บนที่ดินพิพาทแล้วจำเลยจึงไม่ต้องคืนที่ดินพิพาทแก่โจทก์ทั้งเจ็ดในกรณีที่หนึ่งแต่จำเลยยังมีภาระต้องคืนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งเจ็ดในกรณีที่สองคือภายหลังจากจำเลยได้เข้าใช้ประโยชน์ทำกิจการเหมืองแร่บนที่ดินพิพาทเสร็จแล้ว ต่อมาเมื่อจำเลยได้ใช้ประโยชน์ที่ดินพิพาทเพื่อทำกิจการเหมืองแร่เสร็จแล้วกรณีจึงเข้าเงื่อนไขตามคำมั่นที่จำเลยให้ไว้ในข้อ 6 จำเลย จึงต้องโอนที่ดินพิพาทคืนโจทก์ทั้งเจ็ดตามสัญญาแม้โจทก์ทั้งเจ็ดเคยมอบที่ดินพิพาทให้บิดาจำเลยเข้าครอบครองตั้งแต่ปี 2513 ก็ตาม แต่จำเลยเข้าทำหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินฉบับพิพาทกับโจทก์ทั้งเจ็ดอีก แสดงว่าจำเลยยอมรับว่าโจทก์ทั้งเจ็ดยังคงมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทและต่อมาโจทก์ทั้งเจ็ดกับจำเลยได้ขอให้พนักงานเจ้าหน้าที่จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่จำเลย จำเลยจึงได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทจากโจทก์ทั้งเจ็ดโดยการจดทะเบียนโอนขาย โจทก์ทั้งเจ็ดกับจำเลยทำหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2522 และจำเลยเพิ่งทำเหมืองแร่เสร็จเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2529 เมื่อปรากฏว่าสิทธิของโจทก์ทั้งเจ็ดในการที่จะเรียกร้องให้จำเลยโอนที่ดินพิพาทคืนโจทก์ทั้งเจ็ดตามสัญญา ข้อ 6 เกิดเมื่อจำเลยใช้ประโยชน์บนที่ดินพิพาทเพื่อทำกิจการเหมืองแร่เสร็จในวันที่ 6 ธันวาคม 2529โจทก์ทั้งเจ็ดฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2535คดีของโจทก์ทั้งเจ็ดจึงยังไม่ขาดอายุความ 10 ปี ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทขึ้นใหม่โดยอาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 ซึ่งศาลชั้นต้นมีอำนาจที่จะสั่งเพิกถอนประเด็นข้อพิพาทที่ศาลชั้นต้นได้กำหนดไว้เดิม และดำเนินการกำหนดประเด็นข้อพิพาทใหม่ได้และศาลชั้นต้นได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทใหม่ก่อนที่จำเลยจะนำสืบพยานของจำเลยจึงไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลย การเพิกถอนประเด็นข้อพิพาทของศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8480/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดินมีเงื่อนไขคืนที่ดินเมื่อเลิกทำเหมืองแร่ สิทธิเรียกร้องไม่ขาดอายุความ
จำเลยให้การว่า จำเลยซื้อที่ดินพิพาททั้งสองแปลงจากโจทก์ทั้งเจ็ดโดยเด็ดขาด ส่วนหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินข้อ 6 เป็นเพียงคำมั่นจะให้โดยเสน่หา เมื่อคำมั่นนั้นไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงตกเป็นโมฆะ ทั้งจำเลยได้เข้าประกอบกิจการเหมืองแร่แล้วและยังประกอบกิจการเหมืองแร่อยู่จึงไม่ต้องคืนที่ดินให้โจทก์ทั้งเจ็ด และจำเลยได้การครอบครองและได้กรรมสิทธิ์มาโดยเปิดเผยและชอบด้วยกฎหมายเกินกว่า 10 ปี คำให้การจำเลยนี้เมื่อรวมความแล้วหมายถึงจำเลยไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตามหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดิน ข้อ 6 นั่นเองคำให้การของจำเลยจึงไม่ขัดแย้งกันแต่อย่างใด และชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 177วรรคสอง แล้ว
ก่อนที่จำเลยจะเข้าทำสัญญาซื้อขายที่ดินฉบับพิพาท บิดาจำเลยได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทกับโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 6 ไว้ก่อนแล้ว เมื่อวันที่ 18กรกฎาคม 2513 ตามหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายเอกสารหมาย จ.9 และตามหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินฉบับพิพาทข้อ 1 ระบุไว้โดยแจ้งชัดว่าให้ถือหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายตามเอกสารหมาย จ.9 เป็นส่วนหนึ่งของสัญญาด้วย ดังนี้ แม้หนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินฉบับพิพาทจะระบุว่าเป็นหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินก็ตาม แต่ในข้อ 2 ของหนังสือสัญญาดังกล่าวระบุไว้ว่า โจทก์ทั้งเจ็ดในฐานะผู้ขายทั้งหมดจะทำการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแก่จำเลยในฐานะผู้ซื้อ ณ สำนักงานที่ดินต่อไป แสดงว่าการซื้อขายที่ดินพิพาทมิได้เสร็จเด็ดขาดตามข้อความที่ปรากฏในหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินฉบับพิพาทเท่านั้น แต่จะต้องมีการจดทะเบียนกันก่อนจึงจะสมบูรณ์ และต่อมาโจทก์ทั้งเจ็ดกับจำเลยก็ได้ทำการจดทะเบียนขายที่ดินเฉพาะส่วนของที่ดินพิพาท ซึ่งเป็นการชำระหนี้และปฏิบัติตามสัญญาบางส่วนของสัญญาไปแล้วเช่นนี้ หนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินฉบับพิพาทจึงมีลักษณะเป็นสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินย่อมมีผลบังคับใช้ได้โดยไม่ต้องจดทะเบียน และข้อตกลงจะคืนที่ดินพิพาทตามข้อ 6 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาดังกล่าวย่อมใช้บังคับกันได้ระหว่างโจทก์ทั้งเจ็ดและจำเลยในฐานะเป็นบุคคลสิทธิ
สัญญาข้อ 6 ในหนังสือสัญญาจะขายที่ดินฉบับพิพาทระบุว่า"ผู้ซื้อขอให้คำมั่นไว้ต่อผู้ขายว่า การซื้อที่ดินตามหนังสือสัญญานี้ ผู้ซื้อตกลงซื้อที่ดินเพื่อประโยชน์ในการทำเหมืองแร่เท่านั้น และภายในกำหนดสิบปี เมื่อผู้ซื้อมิได้ประกอบกิจการเหมืองแร่หรือใช้ประโยชน์บนที่ดินเพื่อการทำเหมืองแร่แล้วผู้ซื้อยินยอมคืนที่ดินทั้งหมดให้แก่ผู้ขายโดยไม่คิดค่าตอบแทนใด ๆ ทั้งสิ้น" ดังนี้เป็นเงื่อนไขข้อหนึ่งของการซื้อขายที่ดินพิพาทซึ่งเป็นสัญญาต่างตอบแทน จึงไม่ใช่คำมั่นจะให้โดยเสน่หา แม้ไม่จดทะเบียนก็มีผลผูกพันต่อคู่สัญญา เพราะเป็นเงื่อนไขจะซื้อจะขายที่ดิน และเมื่อโจทก์ทั้งเจ็ดฟ้องให้จำเลยปฏิบัติตามหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินซึ่งมีผลบังคับใช้ได้ โจทก์ทั้งเจ็ดไม่ได้ฟ้องบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามหนังสือสัญญาขายที่ดินเฉพาะส่วน ดังนี้การที่โจทก์ทั้งเจ็ดนำสืบถึงเหตุที่มาของการมีเงื่อนไขตามสัญญาในสัญญาจะซื้อขายที่ดินฉบับพิพาทจึงกระทำได้ ไม่ถือว่าเป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสาร
สัญญาจะซื้อขายที่ดินฉบับพิพาทระบุไว้โดยแจ้งชัดว่า จำเลยซื้อที่ดินพิพาทเพื่อประโยชน์ในการทำเหมืองแร่เท่านั้น และภายในกำหนด 10 ปีเมื่อจำเลยมิได้ประกอบกิจการเหมืองแร่หรือใช้ประโยชน์บนที่ดินเพื่อทำเหมืองแร่แล้ว จำเลยในฐานะผู้ซื้อยินยอมคืนที่ดินพิพาททั้งหมดให้แก่โจทก์ทั้งเจ็ดซึ่งเป็นฝ่ายผู้ขายโดยไม่คิดค่าตอบแทนใด ๆ ทั้งสิ้น ย่อมแสดงว่าในขณะที่จำเลยทำสัญญานั้นจำเลยมีเจตนาจะใช้ประโยชน์ในที่ดินพิพาทเพื่อกิจการทำเหมืองแร่โดยเฉพาะเท่านั้น ไม่มีเจตนาจะใช้เพื่อกิจการอื่น ทั้งจำเลยก็ได้เข้าทำเหมืองแร่บนที่ดินพิพาทภายหลังทำสัญญาแล้ว พฤติการณ์จึงเป็นการสอดคล้องต้องกันว่าจำเลยมีเจตนาเข้าผูกพันตามสัญญาดังกล่าว
เมื่อข้อความในข้อ 6 ระบุไว้ว่า จำเลยในฐานะผู้ซื้อจะต้องโอนที่ดินพิพาทคืนโจทก์ทั้งเจ็ดในสองกรณีด้วยกัน คือ ภายในกำหนด 10 ปี หากจำเลยมิได้ประกอบกิจการเหมืองแร่บนที่ดินพิพาทกรณีหนึ่ง และอีกกรณีหนึ่งคือจำเลยได้เข้าใช้ประโยชน์บนที่ดินพิพาทเพื่อทำกิจการเหมืองแร่เสร็จแล้ว ข้อความในข้อ 6 หาได้ระบุแต่เฉพาะว่าเมื่อจำเลยไม่ได้เข้าทำกิจการเหมืองแร่บนที่ดินพิพาทภายในกำหนด 10 ปีต้องคืนที่ดินพิพาทให้โจทก์ทั้งเจ็ดเพียงประการเดียวไม่ดังนี้ เมื่อจำเลยได้เข้าทำกิจการเหมืองแร่บนที่ดินพิพาทแล้ว จำเลยจึงไม่ต้องคืนที่ดินพิพาทแก่โจทก์ทั้งเจ็ด ในกรณีที่หนึ่ง แต่จำเลยยังมีภาระต้องคืนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งเจ็ด ในกรณีที่สองคือภายหลังจากจำเลยได้เข้าใช้ประโยชน์ทำกิจการเหมืองแร่บนที่ดินพิพาทเสร็จแล้ว ต่อมาเมื่อจำเลยได้ใช้ประโยชน์ที่ดินพิพาทเพื่อทำกิจการเหมืองแร่เสร็จแล้ว กรณีจึงเข้าเงื่อนไขตามคำมั่นที่จำเลยให้ไว้ในข้อ 6จำเลยจึงต้องโอนที่ดินพิพาทคืนโจทก์ทั้งเจ็ดตามสัญญา แม้โจทก์ทั้งเจ็ดเคยมอบที่ดินพิพาทให้บิดาจำเลยเข้าคนอบคองตจั้งแต่ปี 2513 ก็ตาม แต่จำเลยเข้าทำหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินฉบับพิพาทกับโจทก์ทั้งเจ็ดอีก แสดงว่าจำเลยยอมรับว่าโจทก์ทั้งเจ็ดยังคงมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท และต่อมาโจทก์ทั้งเจ็ดกับจำเลยได้ขอให้พนักงานเจ้าหน้าที่จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่จำเลย จำเลยจึงได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทจากโจทก์ทั้งเจ็ดโดยการจดทะเบียนโอนขาย โจทก์ทั้งเจ็ดกับจำเลยทำหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2522 และจำเลยเพิ่งทำเหมืองแร่เสร็จเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2529 เมื่อปรากฏว่าสิทธิของโจทก์ทั้งเจ็ดในการที่จะเรียกร้องให้จำเลยโอนที่ดินพิพาทคืนโจทก์ทั้งเจ็ดตามสัญญาข้อ 6 เกิดเมื่อจำเลยใช้ประโยชน์บนที่ดินพิพาทเพื่อทำกิจการเหมืองแร่เสร็จในวันที่ 6 ธันวาคม 2529 โจทก์ทั้งเจ็ดฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2535คดีของโจทก์ทั้งเจ็ดจึงยังไม่ขาดอายุความ 10 ปี
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทขึ้นใหม่โดยอาศัยอำนาจตาม ป.วิ.พ.มาตรา 27 ซึ่งศาลชั้นต้นมีอำนาจที่จะสั่งเพิกถอนประเด็นข้อพิพาทที่ศาลชั้นต้นได้กำหนดไว้เดิม และดำเนินการกำหนดประเด็นข้อพิพาทใหม่ได้ และศาลชั้นต้นได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทใหม่ก่อนที่จำเลยจะนำสืบพยานของจำเลยจึงไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลย การเพิกถอนประเด็นข้อพิพาทของศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบ
ก่อนที่จำเลยจะเข้าทำสัญญาซื้อขายที่ดินฉบับพิพาท บิดาจำเลยได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทกับโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 6 ไว้ก่อนแล้ว เมื่อวันที่ 18กรกฎาคม 2513 ตามหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายเอกสารหมาย จ.9 และตามหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินฉบับพิพาทข้อ 1 ระบุไว้โดยแจ้งชัดว่าให้ถือหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายตามเอกสารหมาย จ.9 เป็นส่วนหนึ่งของสัญญาด้วย ดังนี้ แม้หนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินฉบับพิพาทจะระบุว่าเป็นหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินก็ตาม แต่ในข้อ 2 ของหนังสือสัญญาดังกล่าวระบุไว้ว่า โจทก์ทั้งเจ็ดในฐานะผู้ขายทั้งหมดจะทำการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแก่จำเลยในฐานะผู้ซื้อ ณ สำนักงานที่ดินต่อไป แสดงว่าการซื้อขายที่ดินพิพาทมิได้เสร็จเด็ดขาดตามข้อความที่ปรากฏในหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินฉบับพิพาทเท่านั้น แต่จะต้องมีการจดทะเบียนกันก่อนจึงจะสมบูรณ์ และต่อมาโจทก์ทั้งเจ็ดกับจำเลยก็ได้ทำการจดทะเบียนขายที่ดินเฉพาะส่วนของที่ดินพิพาท ซึ่งเป็นการชำระหนี้และปฏิบัติตามสัญญาบางส่วนของสัญญาไปแล้วเช่นนี้ หนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินฉบับพิพาทจึงมีลักษณะเป็นสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินย่อมมีผลบังคับใช้ได้โดยไม่ต้องจดทะเบียน และข้อตกลงจะคืนที่ดินพิพาทตามข้อ 6 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาดังกล่าวย่อมใช้บังคับกันได้ระหว่างโจทก์ทั้งเจ็ดและจำเลยในฐานะเป็นบุคคลสิทธิ
สัญญาข้อ 6 ในหนังสือสัญญาจะขายที่ดินฉบับพิพาทระบุว่า"ผู้ซื้อขอให้คำมั่นไว้ต่อผู้ขายว่า การซื้อที่ดินตามหนังสือสัญญานี้ ผู้ซื้อตกลงซื้อที่ดินเพื่อประโยชน์ในการทำเหมืองแร่เท่านั้น และภายในกำหนดสิบปี เมื่อผู้ซื้อมิได้ประกอบกิจการเหมืองแร่หรือใช้ประโยชน์บนที่ดินเพื่อการทำเหมืองแร่แล้วผู้ซื้อยินยอมคืนที่ดินทั้งหมดให้แก่ผู้ขายโดยไม่คิดค่าตอบแทนใด ๆ ทั้งสิ้น" ดังนี้เป็นเงื่อนไขข้อหนึ่งของการซื้อขายที่ดินพิพาทซึ่งเป็นสัญญาต่างตอบแทน จึงไม่ใช่คำมั่นจะให้โดยเสน่หา แม้ไม่จดทะเบียนก็มีผลผูกพันต่อคู่สัญญา เพราะเป็นเงื่อนไขจะซื้อจะขายที่ดิน และเมื่อโจทก์ทั้งเจ็ดฟ้องให้จำเลยปฏิบัติตามหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินซึ่งมีผลบังคับใช้ได้ โจทก์ทั้งเจ็ดไม่ได้ฟ้องบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามหนังสือสัญญาขายที่ดินเฉพาะส่วน ดังนี้การที่โจทก์ทั้งเจ็ดนำสืบถึงเหตุที่มาของการมีเงื่อนไขตามสัญญาในสัญญาจะซื้อขายที่ดินฉบับพิพาทจึงกระทำได้ ไม่ถือว่าเป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสาร
สัญญาจะซื้อขายที่ดินฉบับพิพาทระบุไว้โดยแจ้งชัดว่า จำเลยซื้อที่ดินพิพาทเพื่อประโยชน์ในการทำเหมืองแร่เท่านั้น และภายในกำหนด 10 ปีเมื่อจำเลยมิได้ประกอบกิจการเหมืองแร่หรือใช้ประโยชน์บนที่ดินเพื่อทำเหมืองแร่แล้ว จำเลยในฐานะผู้ซื้อยินยอมคืนที่ดินพิพาททั้งหมดให้แก่โจทก์ทั้งเจ็ดซึ่งเป็นฝ่ายผู้ขายโดยไม่คิดค่าตอบแทนใด ๆ ทั้งสิ้น ย่อมแสดงว่าในขณะที่จำเลยทำสัญญานั้นจำเลยมีเจตนาจะใช้ประโยชน์ในที่ดินพิพาทเพื่อกิจการทำเหมืองแร่โดยเฉพาะเท่านั้น ไม่มีเจตนาจะใช้เพื่อกิจการอื่น ทั้งจำเลยก็ได้เข้าทำเหมืองแร่บนที่ดินพิพาทภายหลังทำสัญญาแล้ว พฤติการณ์จึงเป็นการสอดคล้องต้องกันว่าจำเลยมีเจตนาเข้าผูกพันตามสัญญาดังกล่าว
เมื่อข้อความในข้อ 6 ระบุไว้ว่า จำเลยในฐานะผู้ซื้อจะต้องโอนที่ดินพิพาทคืนโจทก์ทั้งเจ็ดในสองกรณีด้วยกัน คือ ภายในกำหนด 10 ปี หากจำเลยมิได้ประกอบกิจการเหมืองแร่บนที่ดินพิพาทกรณีหนึ่ง และอีกกรณีหนึ่งคือจำเลยได้เข้าใช้ประโยชน์บนที่ดินพิพาทเพื่อทำกิจการเหมืองแร่เสร็จแล้ว ข้อความในข้อ 6 หาได้ระบุแต่เฉพาะว่าเมื่อจำเลยไม่ได้เข้าทำกิจการเหมืองแร่บนที่ดินพิพาทภายในกำหนด 10 ปีต้องคืนที่ดินพิพาทให้โจทก์ทั้งเจ็ดเพียงประการเดียวไม่ดังนี้ เมื่อจำเลยได้เข้าทำกิจการเหมืองแร่บนที่ดินพิพาทแล้ว จำเลยจึงไม่ต้องคืนที่ดินพิพาทแก่โจทก์ทั้งเจ็ด ในกรณีที่หนึ่ง แต่จำเลยยังมีภาระต้องคืนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งเจ็ด ในกรณีที่สองคือภายหลังจากจำเลยได้เข้าใช้ประโยชน์ทำกิจการเหมืองแร่บนที่ดินพิพาทเสร็จแล้ว ต่อมาเมื่อจำเลยได้ใช้ประโยชน์ที่ดินพิพาทเพื่อทำกิจการเหมืองแร่เสร็จแล้ว กรณีจึงเข้าเงื่อนไขตามคำมั่นที่จำเลยให้ไว้ในข้อ 6จำเลยจึงต้องโอนที่ดินพิพาทคืนโจทก์ทั้งเจ็ดตามสัญญา แม้โจทก์ทั้งเจ็ดเคยมอบที่ดินพิพาทให้บิดาจำเลยเข้าคนอบคองตจั้งแต่ปี 2513 ก็ตาม แต่จำเลยเข้าทำหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินฉบับพิพาทกับโจทก์ทั้งเจ็ดอีก แสดงว่าจำเลยยอมรับว่าโจทก์ทั้งเจ็ดยังคงมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท และต่อมาโจทก์ทั้งเจ็ดกับจำเลยได้ขอให้พนักงานเจ้าหน้าที่จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่จำเลย จำเลยจึงได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทจากโจทก์ทั้งเจ็ดโดยการจดทะเบียนโอนขาย โจทก์ทั้งเจ็ดกับจำเลยทำหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2522 และจำเลยเพิ่งทำเหมืองแร่เสร็จเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2529 เมื่อปรากฏว่าสิทธิของโจทก์ทั้งเจ็ดในการที่จะเรียกร้องให้จำเลยโอนที่ดินพิพาทคืนโจทก์ทั้งเจ็ดตามสัญญาข้อ 6 เกิดเมื่อจำเลยใช้ประโยชน์บนที่ดินพิพาทเพื่อทำกิจการเหมืองแร่เสร็จในวันที่ 6 ธันวาคม 2529 โจทก์ทั้งเจ็ดฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2535คดีของโจทก์ทั้งเจ็ดจึงยังไม่ขาดอายุความ 10 ปี
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทขึ้นใหม่โดยอาศัยอำนาจตาม ป.วิ.พ.มาตรา 27 ซึ่งศาลชั้นต้นมีอำนาจที่จะสั่งเพิกถอนประเด็นข้อพิพาทที่ศาลชั้นต้นได้กำหนดไว้เดิม และดำเนินการกำหนดประเด็นข้อพิพาทใหม่ได้ และศาลชั้นต้นได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทใหม่ก่อนที่จำเลยจะนำสืบพยานของจำเลยจึงไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลย การเพิกถอนประเด็นข้อพิพาทของศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8342/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผิดสัญญาซื้อขายที่ดินและจัดหาที่ดิน ศาลลดเบี้ยปรับเกินส่วนและหักกลบกับค่าที่ดินค้างชำระ
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันตกลงทำหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินของจำเลยทั้งสองให้แก่โจทก์และตกลงรับเป็นผู้จัดหาที่ดิน หรือจะกระทำโดยวิธีการใดก็ตามให้โจทก์ได้ซื้อและจดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในที่ดินของบุคคลอี่นอีกด้วย โดยจำเลยทั้งสองจะขายที่ดินและจัดหาที่ดินดังกล่าว ข้ออ้างของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับสัญญาจะซื้อขายฉบับพิพาท จำเลย-ทั้งสองมิได้ให้การปฏิเสธในส่วนที่เกี่ยวกับที่ดินจำนวน 38 แปลง ตามฟ้องจึงต้องถือว่าจำเลยทั้งสองรับข้อเท็จจริงส่วนนั้นตามที่โจทก์ฟ้อง เมื่อจำเลยทั้งสองคงให้การต่อสู้แต่เพียงว่าโจทก์เป็นฝ่ายประพฤติผิดสัญญาแต่ฝ่ายเดียว โดยอ้างเหตุต่าง ๆ มาในคำให้การ และว่าเมื่อโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์จึงไม่มีสิทธิปรับเอาแก่จำเลยทั้งสอง คดีตามคำฟ้องและคำให้การในส่วนที่เกี่ยวกับสัญญาจะขายที่ดินฉบับพิพาทจึงคงมีประเด็นแต่เพียงว่า จำเลยทั้งสองเป็นฝ่ายผิดสัญญาในส่วนที่เกี่ยวกับที่ดินอีก 47 แปลง ที่เหลือหรือไม่เท่านั้น และคดีไม่มีประเด็นต้องวินิจฉัยว่าสัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาเดียวกันหรือแยกออกเป็นสองสัญญา โจทก์บอกเลิกสัญญาทั้งหมดหรือแต่บางส่วน และการบอกเลิกสัญญาของโจทก์ดังกล่าวเป็นการบอกเลิกสัญญาทั้งหมดอันเป็นผลให้โจทก์และจำเลยทั้งสองต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมหรือไม่ดังนั้นการที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์หยิบยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัย จึงเป็นการวินิจฉัยนอกเหนือจากที่เป็นประเด็นข้อพิพาท และขัดแย้งกับที่จำเลยทั้งสองยอมรับแล้ว ไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณาความ
จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและสัญญาจัดหาที่ดินตามฟ้อง และโจทก์ขอบังคับให้จำเลยทั้งสองโอนที่ดินของจำเลยทั้งสองจำนวน30 แปลง ตามสัญญา และเรียกเบี้ยปรับในส่วนที่จำเลยทั้งสองมิได้จัดหาที่ดินจำนวน47 แปลง จากบุคคลอื่นมาให้โจทก์ได้ซื้อครบถ้วนตามสัญญาโดยโจทก์ได้เลิกสัญญาในส่วนนี้แล้ว โจทก์จึงชอบที่จะบังคับให้จำเลยทั้งสองโอนที่ดินของจำเลยทั้งสองจำนวน 30 แปลง ตามที่ได้ส่งมอบการครอบครองให้แก่โจทก์ และมอบเอกสารสิทธิเกี่ยวกับที่ดินไว้แก่โจทก์แล้วได้ แต่โจทก์ต้องชำระเงินค่าที่ดินส่วนที่ขาดแก่จำเลยทั้งสอง
จำเลยทั้งสองเป็นฝ่ายผิดสัญญาในส่วนที่จำเลยทั้งสองตกลงจัดหาที่ดินของบุคคลอื่นมาให้โจทก์ได้ซื้อรวม 47 แปลง แต่ไม่สามารถจัดหาได้ครบและโจทก์ได้เลิกสัญญาแล้ว โจทก์และจำเลยทั้งสองแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตาม ป.พ.พ.มาตรา 391 วรรคหนึ่ง และการใช้สิทธิเลิกสัญญาของโจทก์ในส่วนนี้หากระทบกระทั่งถึงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายไม่ ตามที่บัญญัติไว้ในวรรคสี่ และแม้หนังสือสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและจัดหาที่ดินฉบับพิพาทได้ตกลงให้ชำระเบี้ยปรับเป็นรายแปลง แปลงละ 600,000 บาท โจทก์จึงชอบที่จะได้รับเบี้ยปรับตามที่กำหนดไว้ในสัญญาตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 379 ก็ตามแต่ตาม ป.พ.พ.มาตรา 383 วรรคหนึ่ง ถ้าเบี้ยปรับที่ริบนั้นสูงเกินส่วน ศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้ ในการที่จะวินิจฉัยว่าสมควรเพียงใดนั้น ท่านให้พิเคราะห์ถึงทางได้เสียของเจ้าหนี้ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมาย มิใช่แต่เพียงทางได้เสียในเชิงทรัพย์สิน..." เมื่อเบี้ยปรับตามสัญญาโจทก์คิดคำนวณผลกำไรที่จะได้จากการประกอบกิจการเลี้ยงโคหรือถ้าขายที่ดินก็จะได้กำไรจากการขายที่ดิน ความเสียหายจากการที่ต้องเสียเงินเช่าที่ดินทำคอกกักโค ค่าลงทุนทำรั้ว ไถดิน ปลูกหญ้า สร้างโรงพยาบาลสัตว์ในที่ดินที่เช่า และต้องเสียค่าจ้างพนักงาน อีกทั้งค่าเสียหายจากการที่โจทก์ได้สั่งซื้อโคจากต่างประเทศ แต่ได้ระงับการนำโคเข้าประเทศเนื่องจากไม่มีสถานที่เลี้ยง ทำให้ผู้ขายฟ้องเรียกค่าเสียหายจากโจทก์นั้น ล้วนเป็นการที่โจทก์คาดคะเนและเป็นค่าเสียหายที่ห่างไกลจากการผิดสัญญาของจำเลยทั้งสอง ส่วนที่โจทก์ต้องเสียดอกเบี้ยให้แก่ธนาคารจากต้นเงินที่โจทก์นำมาชำระค่าที่ดินให้แก่จำเลยทั้งสองก็มิใช่ค่าเสียหายโดยตรงที่เกิดขึ้นจากการที่จำเลยทั้งสองผิดสัญญา ดังนี้เมื่อค่าเสียหายที่โจทก์นำสืบนั้นยังไม่แน่นอนและในการกำหนดเบี้ยปรับที่กำหนดให้จำเลยทั้งสองชำระตามสัญญานั้น มิได้มีเกณฑ์แน่นอนหรือน่าเชื่อถือ แต่เป็นการคาดคะเน ศาลจึงไม่กำหนดให้จำเลยทั้งสองชำระเบี้ยปรับตามสัญญา แต่การที่จำเลยทั้งสองมิได้จัดหาที่ดินให้แก่โจทก์ตามสัญญาโจทก์ย่อมเสียหาย และเมื่อศาลเห็นสมควรกำหนดเบี้ยปรับ จึงให้นำเงินค่าปรับที่จำเลยทั้งสองจะต้องชำระให้แก่โจทก์ดังกล่าวมาหักออกจากเงินที่โจทก์ต้องชำระเป็นค่าที่ดินของจำเลยทั้งสองที่ขาดอีก พร้อมกับให้จำเลยทั้งสองรับผิดในดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีของต้นเงินนั้นนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ
จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและสัญญาจัดหาที่ดินตามฟ้อง และโจทก์ขอบังคับให้จำเลยทั้งสองโอนที่ดินของจำเลยทั้งสองจำนวน30 แปลง ตามสัญญา และเรียกเบี้ยปรับในส่วนที่จำเลยทั้งสองมิได้จัดหาที่ดินจำนวน47 แปลง จากบุคคลอื่นมาให้โจทก์ได้ซื้อครบถ้วนตามสัญญาโดยโจทก์ได้เลิกสัญญาในส่วนนี้แล้ว โจทก์จึงชอบที่จะบังคับให้จำเลยทั้งสองโอนที่ดินของจำเลยทั้งสองจำนวน 30 แปลง ตามที่ได้ส่งมอบการครอบครองให้แก่โจทก์ และมอบเอกสารสิทธิเกี่ยวกับที่ดินไว้แก่โจทก์แล้วได้ แต่โจทก์ต้องชำระเงินค่าที่ดินส่วนที่ขาดแก่จำเลยทั้งสอง
จำเลยทั้งสองเป็นฝ่ายผิดสัญญาในส่วนที่จำเลยทั้งสองตกลงจัดหาที่ดินของบุคคลอื่นมาให้โจทก์ได้ซื้อรวม 47 แปลง แต่ไม่สามารถจัดหาได้ครบและโจทก์ได้เลิกสัญญาแล้ว โจทก์และจำเลยทั้งสองแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตาม ป.พ.พ.มาตรา 391 วรรคหนึ่ง และการใช้สิทธิเลิกสัญญาของโจทก์ในส่วนนี้หากระทบกระทั่งถึงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายไม่ ตามที่บัญญัติไว้ในวรรคสี่ และแม้หนังสือสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและจัดหาที่ดินฉบับพิพาทได้ตกลงให้ชำระเบี้ยปรับเป็นรายแปลง แปลงละ 600,000 บาท โจทก์จึงชอบที่จะได้รับเบี้ยปรับตามที่กำหนดไว้ในสัญญาตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 379 ก็ตามแต่ตาม ป.พ.พ.มาตรา 383 วรรคหนึ่ง ถ้าเบี้ยปรับที่ริบนั้นสูงเกินส่วน ศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้ ในการที่จะวินิจฉัยว่าสมควรเพียงใดนั้น ท่านให้พิเคราะห์ถึงทางได้เสียของเจ้าหนี้ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมาย มิใช่แต่เพียงทางได้เสียในเชิงทรัพย์สิน..." เมื่อเบี้ยปรับตามสัญญาโจทก์คิดคำนวณผลกำไรที่จะได้จากการประกอบกิจการเลี้ยงโคหรือถ้าขายที่ดินก็จะได้กำไรจากการขายที่ดิน ความเสียหายจากการที่ต้องเสียเงินเช่าที่ดินทำคอกกักโค ค่าลงทุนทำรั้ว ไถดิน ปลูกหญ้า สร้างโรงพยาบาลสัตว์ในที่ดินที่เช่า และต้องเสียค่าจ้างพนักงาน อีกทั้งค่าเสียหายจากการที่โจทก์ได้สั่งซื้อโคจากต่างประเทศ แต่ได้ระงับการนำโคเข้าประเทศเนื่องจากไม่มีสถานที่เลี้ยง ทำให้ผู้ขายฟ้องเรียกค่าเสียหายจากโจทก์นั้น ล้วนเป็นการที่โจทก์คาดคะเนและเป็นค่าเสียหายที่ห่างไกลจากการผิดสัญญาของจำเลยทั้งสอง ส่วนที่โจทก์ต้องเสียดอกเบี้ยให้แก่ธนาคารจากต้นเงินที่โจทก์นำมาชำระค่าที่ดินให้แก่จำเลยทั้งสองก็มิใช่ค่าเสียหายโดยตรงที่เกิดขึ้นจากการที่จำเลยทั้งสองผิดสัญญา ดังนี้เมื่อค่าเสียหายที่โจทก์นำสืบนั้นยังไม่แน่นอนและในการกำหนดเบี้ยปรับที่กำหนดให้จำเลยทั้งสองชำระตามสัญญานั้น มิได้มีเกณฑ์แน่นอนหรือน่าเชื่อถือ แต่เป็นการคาดคะเน ศาลจึงไม่กำหนดให้จำเลยทั้งสองชำระเบี้ยปรับตามสัญญา แต่การที่จำเลยทั้งสองมิได้จัดหาที่ดินให้แก่โจทก์ตามสัญญาโจทก์ย่อมเสียหาย และเมื่อศาลเห็นสมควรกำหนดเบี้ยปรับ จึงให้นำเงินค่าปรับที่จำเลยทั้งสองจะต้องชำระให้แก่โจทก์ดังกล่าวมาหักออกจากเงินที่โจทก์ต้องชำระเป็นค่าที่ดินของจำเลยทั้งสองที่ขาดอีก พร้อมกับให้จำเลยทั้งสองรับผิดในดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีของต้นเงินนั้นนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8342/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับสัญญาซื้อขายที่ดิน: การลดเบี้ยปรับให้เหมาะสมกับความเสียหายจริงและพิจารณาจากราคาที่ดิน
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันตกลงทำหนังสือสัญญา จะซื้อจะขายที่ดินของจำเลยทั้งสองให้แก่โจทก์และตกลง รับเป็นผู้จัดหาที่ดิน หรือจะกระทำโดยวิธีการใดก็ตามให้โจทก์ ได้ซื้อและจดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครอง ในที่ดินของบุคคลอื่นอีกด้วย โดยจำเลยทั้งสองจะขายที่ดิน และจัดหาที่ดินดังกล่าว ข้ออ้างของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับสัญญาจะซื้อขายฉบับพิพาท จำเลยทั้งสองมิได้ให้การปฏิเสธในส่วนที่เกี่ยวกับที่ดินจำนวน 38 แปลง ตามฟ้องจึงต้องถือว่าจำเลยทั้งสองรับข้อเท็จจริงส่วนนั้นตามที่โจทก์ฟ้อง เมื่อจำเลยทั้งสองคงให้การต่อสู้แต่เพียงว่าโจทก์เป็นฝ่ายประพฤติผิดสัญญาแต่ฝ่ายเดียวโดยอ้างเหตุต่าง ๆ มาในคำให้การ และว่าเมื่อโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์จึงไม่มีสิทธิปรับเอาแก่จำเลยทั้งสองคดีตามคำฟ้องและคำให้การในส่วนที่เกี่ยวกับสัญญาจะขายที่ดินฉบับพิพาทจึงคงมีประเด็นแต่เพียงว่า จำเลยทั้งสองเป็นฝ่ายผิดสัญญาในส่วนที่เกี่ยวกับที่ดินอีก 47 แปลงที่เหลือหรือไม่เท่านั้น และคดีไม่มีประเด็นต้องวินิจฉัยว่าสัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาเดียวกันหรือแยกออกเป็นสองสัญญาโจทก์บอกเลิกสัญญาทั้งหมดหรือแต่บางส่วน และการบอกเลิกสัญญา ของโจทก์ดังกล่าวเป็นการบอกเลิกสัญญาทั้งหมดอันเป็นผล ให้โจทก์และจำเลยทั้งสองต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมหรือไม่ดังนั้นการที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์หยิบยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัย จึงเป็นการวินิจฉัยนอกเหนือจากที่เป็นประเด็นข้อพิพาท และขัดแย้งกับที่จำเลยทั้งสองยอมรับแล้วไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณาความ จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและสัญญาจัดหาที่ดินตามฟ้อง และโจทก์ขอบังคับให้จำเลยทั้งสองโอนที่ดินของจำเลยทั้งสองจำนวน 30 แปลง ตามสัญญาและเรียกเบี้ยปรับในส่วนที่จำเลยทั้งสองมิได้จัดหาที่ดินจำนวน 47 แปลง จากบุคคลอื่นมาให้โจทก์ได้ซื้อครบถ้วนตามสัญญาโดยโจทก์ได้เลิกสัญญาในส่วนนี้แล้ว โจทก์จึงชอบที่จะ บังคับให้จำเลยทั้งสองโอนที่ดินของจำเลยทั้งสองจำนวน 30 แปลง ตามที่ได้ส่งมอบการครอบครองให้แก่โจทก์ และมอบเอกสารสิทธิ เกี่ยวกับที่ดินไว้แก่โจทก์แล้วได้ แต่โจทก์ต้องชำระเงิน ค่าที่ดินส่วนที่ขาดแก่จำเลยทั้งสอง จำเลยทั้งสองเป็นฝ่ายผิดสัญญาในส่วนที่จำเลยทั้งสองตกลงจัดหาที่ดินของบุคคลอื่นมาให้โจทก์ได้ซื้อรวม 47 แปลงแต่ไม่สามารถจัดหาได้ครบและโจทก์ได้เลิกสัญญาแล้ว โจทก์และจำเลยทั้งสองแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 391 วรรคหนึ่ง และการใช้สิทธิเลิกสัญญาของโจทก์ในส่วนนี้หากระทบกระทั่งถึงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายไม่ตามที่บัญญัติไว้ในวรรคสี่ และแม้หนังสือสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและจัดหาที่ดินฉบับพิพาทได้ตกลงให้ชำระเบี้ยปรับเป็นรายแปลง แปลงละ 600,000 บาท โจทก์จึงชอบที่จะได้รับเบี้ยปรับ ตามที่กำหนดไว้ในสัญญาตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 379 ก็ตามแต่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 วรรคหนึ่ง ถ้าเบี้ยปรับที่ริบนั้นสูงเกินส่วน ศาลจะลดลงเป็นจำนวน พอสมควรก็ได้ ในการที่จะวินิจฉัยว่าสมควรเพียงใดนั้น ท่านให้พิเคราะห์ถึงทางได้เสียของเจ้าหนี้ทุกอย่าง อันชอบด้วยกฎหมาย มิใช่แต่เพียงทางได้เสียในเชิงทรัพย์สิน" เมื่อเบี้ยปรับตามสัญญาโจทก์คิดคำนวณผลกำไรที่จะได้จาก การประกอบกิจการเลี้ยงโคหรือถ้าขายที่ดินก็จะได้กำไร จากการขายที่ดิน ความเสียหายจากการที่ต้องเสียเงินเช่าที่ดิน ทำคอกกักโค ค่าลงทุนทำรั้ว ไถดิน ปลูกหญ้า สร้างโรงพยาบาลสัตว์ในที่ดินที่เช่า และต้องเสียค่าจ้างพนักงาน อีกทั้งค่าเสียหายจากการที่โจทก์ได้สั่งซื้อโคจากต่างประเทศ แต่ได้ระงับการนำโคเข้าประเทศเนื่องจากไม่มีสถานที่เลี้ยง ทำให้ผู้ขายฟ้องเรียกค่าเสียหายจากโจทก์นั้น ล้วนเป็นการ ที่โจทก์คาดคะเนและเป็นค่าเสียหายที่ห่างไกลจาก การผิดสัญญาของจำเลยทั้งสอง ส่วนที่โจทก์ต้องเสียดอกเบี้ย ให้แก่ธนาคารจากต้นเงินที่โจทก์นำมาชำระค่าที่ดิน ให้แก่จำเลยทั้งสองก็มิใช่ค่าเสียหายโดยตรงที่เกิดขึ้น จากการที่จำเลยทั้งสองผิดสัญญา ดังนี้เมื่อค่าเสียหาย ที่โจทก์นำสืบนั้นยังไม่แน่นอนและในการกำหนดเบี้ยปรับ ที่กำหนดให้จำเลยทั้งสองชำระตามสัญญานั้น มิได้มีเกณฑ์แน่นอน หรือน่าเชื่อถือ แต่เป็นการคาดคะเน ศาลจึงไม่กำหนดให้ จำเลยทั้งสองชำระเบี้ยปรับตามสัญญา แต่การที่จำเลยทั้งสอง มิได้จัดหาที่ดินให้แก่โจทก์ตามสัญญาโจทก์ย่อมเสียหาย และเมื่อศาลเห็นสมควรกำหนดเบี้ยปรับ จึงให้นำเงินค่าปรับ ที่จำเลยทั้งสองจะต้องชำระให้แก่โจทก์ดังกล่าวมาหักออกจาก เงินที่โจทก์ต้องชำระเป็นค่าที่ดินของจำเลยทั้งสองที่ขาดอีก พร้อมกับให้จำเลยทั้งสองรับผิดในดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีของต้นเงินนั้นนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป จนกว่าจะชำระเสร็จ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8338/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้สัตยาบันสัญญาซื้อขายและการมอบหมายตัวแทน โดยการรับสินค้าและนำไปใช้ประโยชน์
โจทก์ได้ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นว่า เหตุที่ไม่ได้ยื่นบัญชีระบุพยานภายในกำหนดเวลานั้น สาเหตุมาจากความเจ็บป่วยของทนายโจทก์คนเดิม โดยโจทก์มีแพทย์ ผู้ตรวจร่างกายทนายโจทก์คนเดิมเบิกความยืนยัน โดยโจทก์ไม่จำต้องนำเอกสารประวัติคนไข้มาสืบประกอบ และเมื่อศาลชั้นต้นรับฟังคำเบิกความของพยานแล้วเห็นว่า ทนายโจทก์คนเดิมป่วยจริง ความบกพร่องไม่ได้เกิดจากการจงใจหรือประมาทเลินเล่อที่ไม่ได้ยื่นบัญชีระบุพยาน และข้ออ้างของทนายโจทก์มีเหตุอันสมควรที่จะรับบัญชีระบุพยานของโจทก์ไว้เพื่อให้การวินิจฉัยชี้ขาดในข้อสำคัญแห่งประเด็นเป็นไปด้วยความเที่ยงธรรม ดังนี้ จึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะอนุญาตให้โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานนั้นได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 183 ทวิ วรรคสอง ซึ่งบังคับใช้ในขณะนั้น
จำเลยได้ทราบและมีส่วนเกี่ยวข้องในการที่บริษัท ม.สั่งซื้อเหล็กหล่อเพื่อนำมาใช้ในการก่อสร้างชั้นใต้ดินของอาคาร บ. ยิ่งกว่านั้นในช่วงที่โจทก์ส่งเหล็กหล่อมาให้ตามสถานที่ก่อสร้างนั้น จำเลยได้เข้ามารับช่วงงานก่อสร้างต่อแล้ว และวัสดุก่อสร้างทุกอย่างที่ส่งมาภายหลังจำเลยก็เป็นผู้ใช้ประโยชน์ทั้งหมดดังนี้ เมื่อโจทก์ส่งเหล็กหล่อมาให้จำเลยและจำเลยได้รับไว้ใช้ประโยชน์ทั้งหมดโดยมิได้อิดเอื้อนหรือส่งคืนแก่โจทก์ ถือได้ว่าการรับสินค้าของจำเลยเป็นการให้สัตยาบันแก่การนั้น ย่อมผูกพันจำเลยในฐานะตัวการว่าได้มอบหมายให้บริษัท ม.เป็นตัวแทนสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์แล้ว สำหรับบันทึกข้อตกลงที่จำเลยกำหนดให้บริษัท ภ.ซึ่งเป็นเจ้าของโครงการอาคาร บ.จะต้องมีหน้าที่จัดหาเหล็กก่อสร้างให้ไม่เกิน200 ตัน มอบแก่จำเลย เป็นเรื่องระหว่างจำเลยกับ ภ.เท่านั้น หาได้มีผลผูกพันโจทก์แต่อย่างใดไม่ เมื่อโจทก์ส่งเหล็กมาให้จำเลย จำเลยรับไว้แล้วนำไปใช้ในกิจการของจำเลยหมด จำเลยจึงมีนิติสัมพันธ์กับโจทก์โดยเข้ามาให้สัตยาบันแก่การนั้น
จำเลยได้ทราบและมีส่วนเกี่ยวข้องในการที่บริษัท ม.สั่งซื้อเหล็กหล่อเพื่อนำมาใช้ในการก่อสร้างชั้นใต้ดินของอาคาร บ. ยิ่งกว่านั้นในช่วงที่โจทก์ส่งเหล็กหล่อมาให้ตามสถานที่ก่อสร้างนั้น จำเลยได้เข้ามารับช่วงงานก่อสร้างต่อแล้ว และวัสดุก่อสร้างทุกอย่างที่ส่งมาภายหลังจำเลยก็เป็นผู้ใช้ประโยชน์ทั้งหมดดังนี้ เมื่อโจทก์ส่งเหล็กหล่อมาให้จำเลยและจำเลยได้รับไว้ใช้ประโยชน์ทั้งหมดโดยมิได้อิดเอื้อนหรือส่งคืนแก่โจทก์ ถือได้ว่าการรับสินค้าของจำเลยเป็นการให้สัตยาบันแก่การนั้น ย่อมผูกพันจำเลยในฐานะตัวการว่าได้มอบหมายให้บริษัท ม.เป็นตัวแทนสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์แล้ว สำหรับบันทึกข้อตกลงที่จำเลยกำหนดให้บริษัท ภ.ซึ่งเป็นเจ้าของโครงการอาคาร บ.จะต้องมีหน้าที่จัดหาเหล็กก่อสร้างให้ไม่เกิน200 ตัน มอบแก่จำเลย เป็นเรื่องระหว่างจำเลยกับ ภ.เท่านั้น หาได้มีผลผูกพันโจทก์แต่อย่างใดไม่ เมื่อโจทก์ส่งเหล็กมาให้จำเลย จำเลยรับไว้แล้วนำไปใช้ในกิจการของจำเลยหมด จำเลยจึงมีนิติสัมพันธ์กับโจทก์โดยเข้ามาให้สัตยาบันแก่การนั้น