คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 456

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,139 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1640/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาแลกเปลี่ยนที่ดิน แม้ยังมิได้จดทะเบียน แต่มีผลผูกพันเมื่อมีการส่งมอบครอบครอง
จำเลยนำที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) ของจำเลยไปแลกเปลี่ยนกับที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) ของโจทก์โดยโจทก์จำเลยตกลงจะไปจดทะเบียนโอนสิทธิในภายหลัง ดังนี้ แม้การแลกเปลี่ยนที่ดินพิพาทยังมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ตาม แต่จำเลยส่งมอบที่ดินให้โจทก์ครอบครอง อันเป็นการชำระหนี้ตามสัญญาบางส่วนแล้ว สัญญาแลกเปลี่ยนจึงบังคับได้เช่นเดียวกับสัญญาจะขายหรือจะซื้อสังหาริมทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456วรรคสอง ไม่เป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1460/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขายยังไม่โอนกรรมสิทธิ์ เจ้าหนี้จำเลยยึดทรัพย์ได้
ตามสัญญาจะซื้อจะขายและสัญญาซื้อขายที่ดินพร้อมอาคารมีใจความว่าจำเลยได้จดทะเบียนจำนองบ้านและที่ดินพิพาทไว้แก่ธนาคารคงมีหนี้ค้างชำระอยู่302,000บาทผู้ร้องยอมเป็นผู้ชำระเองเมื่อผู้ร้องชำระเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่ธนาคารครบแล้วจำเลยจะโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้ร้องต่อไปแสดงว่าผู้ร้องกับจำเลยไม่มีเจตนาที่จะโอนกรรมสิทธิ์ในบ้านและสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทในทันที่แต่จะโอนกันเมื่อผู้ร้องได้ชำระหนี้จำนองของจำเลยแก่ธนาคารครบถ้วนแล้วสัญญาดังกล่าวเป็นเพียงสัญญาจะซื้อจะขายการครอบครองบ้านและที่ดินของผู้ร้องเป็นการครอบครองโดยอาศัยสิทธิของจำเลยเท่านั้นกรรมสิทธิ์ในบ้านและสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทจึงยังเป็นของจำเลยอยู่หาได้ตกเป็นของผู้ร้องไม่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาย่อมมีสิทธิยึดบ้านและที่ดินพิพาทได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1037/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินโดยการโอนชื่อในหลักฐานภาษี การปฏิบัติตามสัญญา และการไม่ยอมรับการโอน
โจทก์ได้ทำสัญญามัดจำซื้อขายที่ดินจำนวน6แปลงจากจำเลยในราคา1,200,000บาทโดยในวันดังกล่าวโจทก์ได้วางเงินมัดจำให้แก่จำเลยจำนวน350,000บาทและจะจัดการโอนที่ดินต่อเจ้าพนักงานภายในกำหนด6เดือนนับแต่วันทำสัญญาดังนี้เมื่อปรากฏว่าในขณะซื้อขายที่ดินพิพาทกันนั้นโจทก์ทราบดีอยู่แล้วว่าเป็นการซื้อขายโดยการโอนเปลี่ยนชื่อผู้ถือครองในหลักฐานการเสียภาษีบำรุงท้องที่ใบภ.บ.ท.5โดยจดแจ้งต่อเจ้าพนักงานและส่งมอบการครอบครองต่อกันดังนั้นข้อความในสัญญามัดจำที่ว่า"คู่ความตกลงกันว่าจะได้ทำพิธีโอนกรรมสิทธิ์กันต่อเจ้าพนักงาน"จึงหมายถึงการโอนที่ดินพิพาทต่อกันโดยเปลี่ยนชื่อผู้ถือครองในหลักฐานการเสียภาษีบำรุงท้องที่ใบภ.บ.ท.5โดยแจ้งต่อเจ้าพนักงานและส่งมอบการครอบครองกันนั่นเองซึ่งจำเลยก็พร้อมที่จะโอนที่ดินพิพาทโดยวิธีดังกล่าวนี้แล้วแต่โจทก์เป็นฝ่ายไม่ยอมรับโอนฉะนั้นจำเลยจึงยังไม่ตกเป็นผู้ผิดสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1037/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินโดยเปลี่ยนชื่อผู้ถือครองใน ภ.บ.ท.5 มิใช่การผิดสัญญา หากผู้ซื้อไม่ยอมรับการโอน
โจทก์ได้ทำสัญญามัดจำซื้อขายที่ดินจำนวน 6 แปลง จากจำเลยในราคา 1,200,000 บาท โดยในวันดังกล่าวโจทก์ได้วางเงินมัดจำให้แก่จำเลยจำนวน 350,000 บาท และจะจัดการโอนที่ดินต่อเจ้าพนักงานภายในกำหนด6 เดือน นับแต่วันทำสัญญา ดังนี้ เมื่อปรากฏว่าในขณะซื้อขายที่ดินพิพาทกันนั้นโจทก์ทราบดีอยู่แล้วว่าเป็นการซื้อขายโดยการโอนเปลี่ยนชื่อผู้ถือครองในหลักฐานการเสียภาษีบำรุงท้องที่ใบ ภ.บ.ท.5 โดยจดแจ้งต่อเจ้าพนักงานและส่งมอบการครอบครองต่อกัน ดังนั้น ข้อความในสัญญามัดจำที่ว่า "คู่ความตกลงกันว่าจะได้ทำพิธีโอนกรรมสิทธิ์กันต่อเจ้าพนักงาน" จึงหมายถึงการโอนที่ดินพิพาทต่อกันโดยเปลี่ยนชื่อผู้ถือครองในหลักฐานการเสียภาษีบำรุงท้องที่ใบ ภ.ท.บ.5 โดยแจ้งต่อเจ้าพนักงานและส่งมอบการครอบครองกันนั่นเอง ซึ่งจำเลยก็พร้อมที่จะโอนที่ดินพิพาทโดยวิธีดังกล่าวนี้แล้ว แต่โจทก์เป็นฝ่ายไม่ยอมรับโอน ฉะนั้นจำเลยจึงยังไม่ตกเป็นผู้ผิดสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1037/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินด้วยการโอนชื่อในหลักฐานภาษีบำรุงท้องที่ มิใช่การโอนกรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายที่ดิน คู่สัญญาตกลงกันเองได้
โจทก์ได้ทำสัญญามัดจำซื้อขายที่ดินจำนวน 6 แปลง จากจำเลยในราคา 1,200,000 บาท โดยในวันดังกล่าวโจทก์ได้วางเงินมัดจำให้แก่จำเลยจำนวน 350,000 บาท และจะจัดการโอนที่ดินต่อเจ้าพนักงานภายในกำหนด 6 เดือน นับแต่วันทำสัญญา ดังนี้ เมื่อปรากฏว่าในขณะซื้อขายที่ดินพิพาทกันนั้นโจทก์ทราบดีอยู่แล้วว่าเป็นการซื้อขายโดยการโอนเปลี่ยนชื่อผู้ถือครองในหลักฐานการเสียภาษีบำรุงท้องที่ใบ ภ.บ.ท.5 โดยจดแจ้งต่อเจ้าพนักงานและส่งมอบการครอบครองต่อกัน ดังนั้น ข้อความในสัญญามัดจำที่ว่า "คู่ความตกลงกันว่าจะได้ทำพิธีโอนกรรมสิทธิ์กันต่อเจ้าพนักงาน" จึงหมายถึงการโอนที่ดินพิพาทต่อกันโดยเปลี่ยนชื่อผู้ถือครองในหลักฐานการเสียภาษีบำรุงท้องที่ใบ ภ.บ.ท.5 โดยแจ้งต่อเจ้าพนักงานและส่งมอบการครอบครองกันนั่นเอง ซึ่งจำเลยก็พร้อมที่จะโอนที่ดินพิพาทโดยวิธีดังกล่าวนี้แล้ว แต่โจทก์เป็นฝ่ายไม่ยอมรับโอน ฉะนั้นจำเลยจึงยังไม่ตกเป็นผู้ผิดสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 438/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของบิดาต่อบุคคลภายนอกจากการจัดสรรที่ดินของบุตร และผลผูกพันของใบจองซื้อ
แม้จำเลยที่ 1 จะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกิจการค้าของบริษัทจำเลยที่ 2 แต่จำเลยที่ 1 เป็นบิดา ร.ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของจำเลยที่ 2และขณะที่จำเลยที่ 2 ดำเนินโครงการการจัดสรรที่ดินขายเป็นแปลงย่อยพร้อมบ้านจำเลยทั้งสองเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินดังกล่าว ประกอบกับจำเลยที่ 2ได้ปักป้ายโฆษณาไว้ปากทางเข้าหมู่บ้านโครงการ มีสำนักงานตั้งอยู่บริเวณหน้าหมู่บ้านโครงการ ดังนี้ พฤติการณ์แห่งคดีถือได้ว่า จำเลยที่ 1 รู้เห็นในการจัดสรรที่ดินของจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 1 รู้แล้วยอมให้จำเลยที่ 2 เชิดตัวเองว่าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวมีอำนาจจัดสรรที่ดินดังกล่าวได้เพียงผู้เดียว
โจทก์จองซื้อที่ดินจากจำเลยที่ 2 พร้อมให้จำเลยที่ 2 ปลูกสร้างบ้านในที่ดินตามใบจอง ซึ่งกำหนดให้โจทก์มาทำหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายเมื่อจำเลยที่ 2 ได้วางผังแล้ว เมื่อจำเลยที่ 2 ยังไม่ได้วางผังที่ดินแปลงที่โจทก์จองซื้อตามใบจอง การที่โจทก์ยังไม่ได้ไปทำสัญญาจะซื้อจะขายกับจำเลยที่ 2 จึงหาได้เป็นฝ่ายผิดสัญญาและสละสิทธิในใบจองตามข้ออ้างของจำเลยทั้งสองไม่
การที่โจทก์ได้วางเงินจองไว้แก่จำเลยที่ 2 ย่อมถือได้ว่าเป็นการให้มัดจำและเป็นหลักฐานว่าได้ทำสัญญากันขึ้นแล้วตาม ป.พ.พ.มาตรา 377อีกทั้งตามใบจองได้ระบุ จำนวนเนื้อที่ดินที่โจทก์จองซื้อ ราคาที่ดิน แบบบ้านที่จะปลูกสร้างและราคาค่าก่อสร้าง ตลอดจนบริเวณของที่ดินที่จองซื้อกับระบุว่าดังเอกสารแนบท้าย ซึ่งตามแผนผังที่ดินก็ระบุที่ดินที่โจทก์จองซื้อคือที่ดินในส่วนสีส้ม กรณีจึงมีสาระสำคัญครบถ้วน เป็นสัญญาจะซื้อจะขายอันบังคับจำเลยที่ 2 ตามใบจองได้
เมื่อจำเลยที่ 1 ยอมให้จำเลยที่ 2 เชิดตัวเองว่าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 629 และมีอำนาจจัดสรรที่ดินดังกล่าวได้ จำเลยที่ 1ก็ต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้สุจริตเสมือนหนึ่งว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนของตนตาม ป.พ.พ.มาตรา 821 จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 2 ปลูกสร้างบ้านและโอนที่ดินให้แก่โจทก์
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันเสียภาษีในการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ ให้จำเลยทั้งสองร่วมกับโจทก์ออกค่าธรรมเนียมการซื้อขายและค่าธรรมเนียมในการรังวัดแบ่งแยกที่ดินคนละครึ่ง กับให้จำเลยที่ 1 ส่งมอบโฉนดต่อศาลตามคำขอของโจทก์ จำเลยทั้งสองมิได้ยกขึ้นอุทธรณ์โต้แย้งในส่วนนี้แต่อย่างใดทั้งมิใช่ปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ที่ศาลอุทธรณ์จะยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5) ประกอบด้วยมาตรา 246 และมาตรา 247 การที่ศาลอุทธรณ์ยกขึ้นวินิจฉัยและพิพากษาแก้ให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนนี้ ย่อมเป็นการพิพากษานอกฟ้องนอกประเด็นจากที่จำเลยทั้งสองอุทธรณ์ จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 142 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยมาตรา 246 และมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 438/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยินยอมให้จัดสรรที่ดิน & สัญญาจะซื้อจะขาย: ความรับผิดของผู้ขาย & ผู้ซื้อ
แม้จำเลยที่ 1 จะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกิจการค้าของบริษัทจำเลยที่ 2 แต่จำเลยที่ 1 เป็นบิดา ร.ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของจำเลยที่ 2 และขณะที่จำเลยที่ 2ดำเนินโครงการการจัดสรรที่ดินขายเป็นแปลงย่อยพร้อมบ้านจำเลยทั้งสองเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินดังกล่าวประกอบกับจำเลยที่ 2 ได้ปักป้ายโฆษณาไว้ปากทางเข้าหมู่บ้าน โครงการ มีสำนักงานตั้งอยู่บริเวณหน้าหมู่บ้านโครงการดังนี้ พฤติการณ์แห่งคดีถือได้ว่า จำเลยที่ 1 รู้เห็นในการจัดสรรที่ดินของจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 1 รู้แล้วยอมให้จำเลยที่ 2 เชิดตัวเองว่าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ใน ที่ดินดังกล่าวมีอำนาจจัดสรรที่ดินดังกล่าวได้เพียงผู้เดียว โจทก์จองซื้อที่ดินจากจำเลยที่ 2 พร้อมให้จำเลยที่ 2ปลูกสร้างบ้านในที่ดินตามใบจอง ซึ่งกำหนดให้โจทก์มาทำหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายเมื่อจำเลยที่ 2 ได้วางผังแล้วเมื่อจำเลยที่ 2 ยังไม่ได้วางผังที่ดินแปลงที่โจทก์จองซื้อตามใบจอง การที่โจทก์ยังไม่ได้ไปทำสัญญาจะซื้อจะขายกับจำเลยที่ 2 จึงหาได้เป็นฝ่ายผิดสัญญาและสละสิทธิในใบจองตามข้ออ้างของจำเลยทั้งสองไม่ การที่โจทก์ได้วางเงินจองไว้แก่จำเลยที่ 2 ย่อมถือได้ว่าเป็นการให้มัดจำและเป็นหลักฐานว่าได้ทำสัญญากันขึ้นแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 377 อีกทั้งตามใบจองได้ระบุ จำนวนเนื้อที่ดินที่โจทก์จองซื้อ ราคาที่ดินแบบบ้านที่จะปลูกสร้างและราคาก่อสร้าง ตลอดจนบริเวณของที่ดินที่จองซื้อกับระบุว่าดังเอกสารแนบท้าย ซึ่งตามแผนผังที่ดินก็ระบุที่ดินที่โจทก์จองซื้อคือที่ดินในส่วนสีส้มกรณีจึงมีสาระสำคัญครบถ้วน เป็นสัญญาจะซื้อจะขายอันบังคับจำเลยที่ 2 ตามใบจองได้ เมื่อจำเลยที่ 1 ยอมให้จำเลยที่ 2 เชิดตัวเองว่าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 629 และมีอำนาจจัดสรรที่ดินดังกล่าวได้ จำเลยที่ 1 ก็ต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้สุจริตเสมือนหนึ่งว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนของตนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 821 จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 2 ปลูกสร้างบ้านและโอนที่ดินให้แก่โจทก์ ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันเสียภาษีในการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ ให้จำเลยทั้งสองร่วมกับโจทก์ออกค่าธรรมเนียมการซื้อขายและค่าธรรมเนียมในการรังวัดแบ่งแยกที่ดินคนละครึ่ง กับให้จำเลยที่ 1 ส่งมอบโฉนดต่อศาลตามคำขอของโจทก์ จำเลยทั้งสองมิได้ยกขึ้นอุทธรณ์โต้แย้งในส่วนนี้แต่อย่างใด ทั้งมิใช่ปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ที่ศาลอุทธรณ์จะยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142(5) ประกอบด้วยมาตรา 246 และมาตรา 247 การที่ ศาลอุทธรณ์ยกขึ้นวินิจฉัยและพิพากษาแก้ให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนนี้ ย่อมเป็นการพิพากษานอกฟ้องนอกประเด็นจากที่จำเลยทั้งสองอุทธรณ์ จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 วรรคหนึ่งประกอบด้วยมาตรา 246 และมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 341/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของกรรมการบริษัทจำกัดต่อหนี้ของบริษัท: สัญญาซื้อขายและเช็คพิพาท
โจทก์ประสงค์จะติดต่อค้าขายกับจำเลยที่1และที่2โดยให้จำเลยที่1และที่2ไปจดทะเบียนตั้งบริษัทเมื่อจำเลยที่1และที่2จัดตั้งบริษัทจำเลยที่3ขึ้นจำเลยที่2ก็ได้ออกเช็คพิพาทชำระหนี้ให้โจทก์โดยประทับตราจำเลยที่3แม้ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คพิพาทจำเลยที่1และที่2ซึ่งเป็นกรรมการของจำเลยที่3ก็ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นการส่วนตัว ที่โจทก์ฎีกาว่าจำเลยที่1ลงลายมือชื่อสลักหลังเช็คพิพาทจึงต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นส่วนตัวนั้นคดีนี้โจทก์ตั้งรูปเรื่องในฟ้องว่าจำเลยทั้งสามรับสินค้าของโจทก์ไปจำหน่ายโดยจำเลยทั้งสามจะต้องชำระค่าสินค้าตามราคาและเวลาที่ตกลงกันไว้ส่วนการจำหน่ายสินค้าจำเลยทั้งสามจะจำหน่ายในราคาเท่าใดก็ได้เป็นเรื่องของจำเลยทั้งสามโจทก์มิได้เกี่ยวข้องด้วยรูปเรื่องตามฟ้องโจทก์ดังกล่าวมีลักษณะเป็นเรื่องของสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดส่วนที่ฟ้องโจทก์บรรยายถึงเช็คพิพาทมาด้วยก็เพื่อแสดงให้เห็นพฤติการณ์ที่จำเลยทั้งสามนำเช็คพิพาทมาชำระหนี้ค่าสินค้าแล้วโจทก์ยังไม่ได้รับเงินเท่านั้นไม่มีผลทำให้ฟ้องโจทก์เป็นเรื่องตั๋วเงินไปด้วยแม้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าที่โจทก์นำสืบว่าเช็คมีจำเลยที่1ลงชื่อสลักหลังก็ไม่ปรากฎลายมือชื่อจำเลยที่1ตามที่พยานโจทก์อ้างโจทก์ก็อุทธรณ์เกี่ยวกับเรื่องนี้เพียงว่าเป็นการวินิจฉัยที่ฝ่าฝืนต่อพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบทั้งๆที่โจทก์ได้ชี้ตำแหน่งที่จำเลยที่1ลงลายมือชื่อด้านหลังเช็คให้ศาลทราบแล้วจำเลยไม่สืบพยานจึงต้องฟังตามที่โจทก์นำสืบว่าจำเลยที่1และที่2เป็นผู้ค้ากับโจทก์ส่วนจำเลยที่3เป็นเพียงเครื่องมือที่เชิดออกมาให้เป็นผู้เสียภาษีกำไรที่ได้เป็นของจำเลยที่1และที่2เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าได้ตรวจดูเช็คทั้ง7ฉบับแล้วไม่ปรากฎว่ามีชื่อจำเลยที่1เป็นผู้สลักหลังดังนั้นที่โจทก์ฎีกาในทำนองขอให้จำเลยที่1รับผิดต่อโจทก์เป็นส่วนตัวในฐานะผู้สลักหลังเช็คพิพาทนั้นจึงเป็นเรื่องนอกประเด็นตามคำฟ้องศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 341/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดส่วนบุคคลจากการสลักหลังเช็ค: ประเด็นนอกคำฟ้องสัญญาซื้อขาย
โจทก์ประสงค์จะติดต่อค้าขายกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 โดยให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไปจดทะเบียนตั้งบริษัท เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 จัดตั้งบริษัทจำเลยที่ 3 ขึ้น จำเลยที่ 2 ก็ได้ออกเช็คพิพาทชำระหนี้ให้โจทก์โดยประทับตราจำเลยที่ 3 แม้ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คพิพาท จำเลยที่ 1 และที่ 2ซึ่งเป็นกรรมการของจำเลยที่ 3 ก็ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นการส่วนตัว
ที่โจทก์ฎีกาว่า จำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อสลักหลังเช็คพิพาทจึงต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นส่วนตัวนั้น คดีนี้โจทก์ตั้งรูปเรื่องในฟ้องว่า จำเลยทั้งสามรับสินค้าของโจทก์ไปจำหน่ายโดยจำเลยทั้งสามจะต้องชำระค่าสินค้าตามราคาและเวลาที่ตกลงกันไว้ ส่วนการจำหน่ายสินค้าจำเลยทั้งสามจะจำหน่ายในราคาเท่าใดก็ได้ เป็นเรื่องของจำเลยทั้งสาม โจทก์มิได้เกี่ยวข้องด้วย รูปเรื่องตามฟ้องโจทก์ดังกล่าวมีลักษณะเป็นเรื่องของสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด ส่วนที่ฟ้องโจทก์บรรยายถึงเช็คพิพาทมาด้วยก็เพื่อแสดงให้เห็นพฤติการณ์ที่จำเลยทั้งสามนำเช็คพิพาทมาชำระหนี้ค่าสินค้าแล้วโจทก์ยังไม่ได้รับเงินเท่านั้น ไม่มีผลทำให้ฟ้องโจทก์เป็นเรื่องตั๋วเงินไปด้วย แม้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ที่โจทก์นำสืบว่า เช็คมีจำเลยที่ 1 ลงชื่อสลักหลังก็ไม่ปรากฏลายมือชื่อจำเลยที่ 1 ตามที่พยานโจทก์อ้าง โจทก์ก็อุทธรณ์เกี่ยวกับเรื่องนี้เพียงว่าเป็นการวินิจฉัยที่ฝ่าฝืนต่อพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบ ทั้ง ๆ ที่โจทก์ได้ชี้ตำแหน่งที่จำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อด้านหลังเช็คให้ศาลทราบแล้ว จำเลยไม่สืบพยาน จึงต้องฟังตามที่โจทก์นำสืบว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นผู้ค้ากับโจทก์ส่วนจำเลยที่ 3 เป็นเพียงเครื่องมือที่เชิดออกมาให้เป็นผู้เสียภาษี กำไรที่ได้เป็นของจำเลยที่ 1 และที่ 2 เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ได้ตรวจดูเช็คทั้ง 7 ฉบับแล้ว ไม่ปรากฏว่ามีชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้สลักหลัง ดังนั้น ที่โจทก์ฎีกาในทำนองขอให้จำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์เป็นส่วนตัวในฐานะผู้สลักหลังเช็คพิพาทนั้นจึงเป็นเรื่องนอกประเด็นตามคำฟ้อง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 252/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อขายที่ดินและบ้าน: การชำระเงินไม่ตรงเวลา, การสร้างบ้านไม่แล้วเสร็จ, และผลกระทบต่อการเลิกสัญญา
กำหนดเวลาชำระหนี้ที่ตกลงกันไว้เป็นส่วนหนึ่งของสัญญาซึ่งเป็นสาระสำคัญแต่คู่สัญญาจะถือปฏิบัติตามสัญญาหรือไม่เป็นอีกเรื่องหนึ่งการนำสืบข้อเท็จจริงว่าโจทก์ชำระหนี้ตามงวดไม่ตรงเวลาที่กำหนดไม่ใช่การนำสืบแก้ไขเปลี่ยนแปลงเอกสารและที่จำเลยผ่อนผันให้โดยยินยอมรับชำระไว้แสดงว่าในทางปฏิบัติโจทก์จำเลยมิได้มีเจตนาถือเอากำหนดเวลาชำระเงินค่าที่ดินตามงวดเคร่งครัดตามสัญญาดังนั้นเมื่อครบกำหนดชำระเงินงวดที่10โจทก์ยังไม่ชำระจำเลยมีหน้าที่ต้องบอกกล่าวให้โจทก์ชำระหนี้ภายในเวลาพอสมควรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา387หากโจทก์ไม่ชำระจำเลยมีสิทธิเลิกสัญญาได้ปรากฏว่าเมื่อถึงกำหนดชำระเงินงวดที่10โจทก์ไม่ชำระจำเลยไม่เคยแจ้งโจทก์ให้ชำระในเวลาที่กำหนดและมิได้ปฏิบัติตามมาตรา387ดังกล่าวถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาสัญญาจึงไม่เลิกกัน สัญญาจะซื้อขายที่ดินพร้อมบ้านเป็นสัญญาต่างตอบแทนซึ่งจำเลยจะต้องสร้างบ้านให้เสร็จและโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพร้อมบ้านแก่โจทก์ในวันที่โจทก์จะชำระเงินงวดสุดท้ายซึ่งตามปกติจะต้องมีกำหนดเวลาสร้างบ้านให้แล้วเสร็จไว้ในสัญญาด้วยแต่ข้อตกลงในสัญญามีว่าเงินงวดสุดท้ายจะชำระให้ในวันโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมอาคารณสำนักงานที่ดินโดยไม่ได้กำหนดเวลาการปลูกบ้านให้แล้วเสร็จไว้ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของจำเลยจะต้องปลูกบ้านในที่ดินให้แล้วเสร็จและพร้อมจะจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้โจทก์จึงจะมีสิทธิเรียกให้โจทก์ชำระงวดสุดท้ายได้แม้โจทก์จะขอชำระในงวดที่10ก่อนงวดสุดท้ายซึ่งล่วงเลยกำหนดเวลาชำระตามสัญญามา1ปีแต่ปรากฏว่าในช่วงเวลาดังกล่าวจำเลยยังปลูกบ้านไม่แล้วเสร็จจึงไม่อาจเรียกให้โจทก์ชำระเงินที่เหลือทั้งหมดได้โจทก์ไม่ได้เป็นฝ่ายผิดสัญญาจึงมีสิทธิฟ้องจำเลยให้ปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้
of 114