คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 456

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,139 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 980/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ และผลของการซื้อขายที่ตกเป็นโมฆะ
การที่โจทก์ฟ้องคดีโดยยังไม่มีหลักฐานให้ความยินยอมจากภริยาเป็นเพียงข้อบกพร่องเกี่ยวกับความสามารถซึ่งศาลจะพึงสั่งให้โจทก์ดำเนินการแก้ไขเสียก่อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา56ได้แต่ศาลชั้นต้นมิได้สั่งให้โจทก์แก้ไขก่อนที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาได้มีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์(ฉบับที่10)พ.ศ.2533ใช้บังคับซึ่งมาตรา1476ประกอบด้วยมาตรา1477ที่แก้ไขเพิ่มเติมได้บัญญัติให้มีผลว่าสำหรับการจัดการทรัพย์สินดังเช่นกรณีที่โจทก์ฟ้องคดีนี้สามีหรือภริยามีอำนาจจัดการหรือฟ้องคดีได้โดยมิได้ต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่งดังนั้นเท่ากับมีบทบัญญัติแห่งกฎหมายแก้ไขข้อบกพร่องเกี่ยวกับความสามารถของโจทก์แล้วโจทก์จึงฟ้องคดีได้เองโดยหาจำต้องได้รับความยินยอมของภริยาเสียก่อนไม่ การซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยกับพ. แม้จะยอมให้มีการผ่อนชำระราคาที่ดินกันก็ตามแต่เมื่อไม่ปรากฏมีข้อสัญญาว่าหากชำระราคาครบถ้วนแล้วจะไปจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทกันภายหลังจึงเป็นการซื้อขายเสร็จเด็ดขาดมิใช่เป็นสัญญาจะซื้อขายเมื่อมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา456หลังจากจำเลยซื้อที่ดินพิพาทจากพ. แล้วได้เข้าครอบครองที่ดินพิพาทโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของตลอดมาโดยการสร้างรั้วมีลักษณะเป็นการถาวรล้อมรอบที่พิพาทและปลูกสร้างโรงเก็บของและโรงเก็บรถซึ่งพ. ก็รู้เห็นตลอดมาแต่มิได้แสดงเจตนาหวงแหนที่ดินพิพาทหรือห้ามปรามจำเลยแต่อย่างใดกลับยอมให้จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทโดยความสงบตลอดมาติดต่อกันเป็นเวลากว่า10ปีจำเลยจึงได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1382 ก่อนที่โจทก์จะซื้อที่ดินพิพาทโจทก์เห็นอยู่ก่อนแล้วว่าที่ดินพิพาทมีการล้อมรั้วและมีบ้านหลังเล็กๆปลูกอยู่ซึ่งพง บอกโจทก์ว่าเป็นบ้านของจำเลยลูกพี่ลูกน้องโจทก์ถ้าโจทก์ต้องการก็จะให้รื้อไปแต่ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้สอบถามจำเลยให้แน่ชัดเสียก่อนที่จะซื้อที่ดินพิพาทจากพ.ว่าจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทในฐานะอะไรอาศัยพ.อยู่ในที่ดินพิพาทหรือไม่ทั้งโจทก์ก็ไม่ได้ขอโฉนดที่ดินพิพาทจากพ. มาดูเพื่อตรวจสอบว่าที่ดินพิพาทมีเนื้อที่มากน้อยเพียงใดการที่โจทก์ตัดสินใจซื้อที่ดินพิพาทซึ่งมีราคาถึง770,000บาทโดยอาศัยการมองจากหน้าต่างบ้านพ.เพียงอย่างเดียวมิได้เข้าไปดูที่ดินพิพาทด้วยตนเองผิดวิสัยวิญญูชนโดยทั่วไปที่จะพึงกระทำจึงเป็นพิรุธอย่างยิ่งถือได้ว่าโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทโดยไม่สุจริตจำเลยย่อมยกการครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ได้จำเลยจึงมีสิทธิในที่ดินพิพาทดีกว่าโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 640/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดิน: การส่งมอบเนื้อที่ตามสัญญา, ทางสาธารณะโดยปริยาย, สิทธิบอกปัดสัญญา
สัญญาจะซื้อขายมีข้อความว่าจำเลยทั้งสองผู้ขายตกลงขายที่ดินเนื้อที่ดิน285ตารางวาเป็นเงิน7,267,500บาทแสดงว่าคู่สัญญาได้ระบุที่ดินที่จะซื้อขายมีเนื้อที่285ตารางวาไว้ชัดเจนในหนังสือสัญญาจะซื้อขายซึ่งเป็นสาระสำคัญและยึดถือเป็นหลักในการคิดราคาที่ดินที่ซื้อขายมิใช่เป็นการขายเหมาโดยประมาณจำเลยทั้งสองจึงมีหน้าที่ต้องโอนหรือส่งมอบที่ดินจำนวนเนื้อที่ดังกล่าวให้แก่โจทก์ครบถ้วน การที่เจ้าของที่ดินยอมให้ประชาชนทั่วไปใช้ถนนซอยสัญจรไปมาเป็นเวลาช้านานหลายสิบปีย่อมถือได้ว่าได้อุทิศที่ดินพิพาทส่วนที่เป็นถนนซอยดังกล่าวให้เป็นทางสาธารณะโดยปริยายแล้วที่ดินดังกล่าวจึงตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภททรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1304(2)ทันทีโดยไม่จำต้องจดทะเบียนเป็นทางสาธารณประโยชน์ เมื่อจำเลยเนื้อที่ดินขาดไปจากจำนวนที่ระบุไว้ในสัญญาเกินกว่าร้อยละ5ของเนื้อที่ทั้งหมดที่จะซื้อขายกันโจทก์ผู้ซื้อจึงชอบที่จะขอใช้ราคาลดลงตามส่วนหรือบอกปัดเสียได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา466วรรคแรกเมื่อโจทก์ได้ต่อรองขอลดราคาลงเพื่อใช้ราคาตามส่วนกับจำเลยทั้งสองแล้วแต่จำเลยทั้งสองไม่ยอมโจทก์จึงมีสิทธิบอกปัดเสียได้จำเลยทั้งสองต้องคืนเงินมัดจำแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 640/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดิน, ที่ดินสาธารณะ, สิทธิของผู้ซื้อเมื่อที่ดินไม่ครบตามสัญญา
สัญญาจะซื้อขายมีข้อความว่า จำเลยทั้งสองผู้ขายตกลงขายที่ดินเนื้อที่ดิน 285 ตารางวา เป็นเงิน 7,267,500 บาท แสดงว่า คู่สัญญาได้ระบุที่ดินที่จะซื้อขายมีเนื้อที่ 285 ตารางวาไว้ชัดเจนในหนังสือสัญญาจะซื้อขายซึ่งเป็นสาระสำคัญ และยึดถือเป็นหลักในการคิดราคาที่ดินที่ซื้อขาย มิใช่เป็นการขายเหมาโดยประมาณ จำเลยทั้งสองจึงมีหน้าที่ต้องโอนหรือส่งมอบที่ดินจำนวนเนื้อที่ดังกล่าวให้แก่โจทก์ครบถ้วน
การที่เจ้าของที่ดินยอมให้ประชาชนทั่วไปใช้ถนนซอยสัญจรไปมาเป็นเวลาช้านานหลายสิบปี ย่อมถือได้ว่าได้อุทิศที่ดินพิพาทส่วนที่เป็นถนนซอยดังกล่าวให้เป็นทางสาธารณะโดยปริยายแล้ว ที่ดินดังกล่าวจึงตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภททรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน ตาม ป.พ.พ. มาตรา1304 (2) ทันที โดยไม่จำต้องจดทะเบียนเป็นทางสาธารณประโยชน์
เมื่อจำนวนเนื้อที่ดินขาดไปจากจำนวนที่ระบุไว้ในสัญญาเกินกว่าร้อยละ 5 ของเนื้อที่ทั้งหมดที่จะซื้อขายกัน โจทก์ผู้ซื้อจึงชอบที่จะขอใช้ราคาลดลงตามส่วนหรือบอกปัดเสียได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 466 วรรคแรก เมื่อโจทก์ได้ต่อรองขอลดราคาลงเพื่อใช้ราคาตามส่วนกับจำเลยทั้งสองแล้ว แต่จำเลยทั้งสองไม่ยอม โจทก์จึงมีสิทธิบอกปัดเสียได้ จำเลยทั้งสองต้องคืนเงินมัดจำแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 72/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความแตกต่างระหว่างมูลหนี้สัญญาซื้อขายกับมูลหนี้ละเมิด: การฟ้องเรียกราคาซื้อขายไม่เป็นการฟ้องซ้อน
ตามคำฟ้องบรรยายว่า โจทก์ประกอบธุรกิจรับผลิตกระเป๋าหนังเมื่อมีลูกค้าสั่งทำสั่งซื้อ โจทก์ก็จะทำการผลิตตามที่ลูกค้ากำหนดแล้วส่งมอบให้แก่ลูกค้าเมื่อจำเลยในฐานะลูกค้าสั่งให้โจทก์ผลิตกระเป๋าส่งให้ ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยต่างมีเจตนาให้มีการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์คือกระเป๋าหนังโดยโจทก์ในฐานะผู้ขายโอนกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินให้แก่จำเลยในฐานะผู้ซื้อและผู้ซื้อตอบแทนด้วยการใช้ราคา อันมีลักษณะเป็นสัญญาซื้อขาย มิใช่เป็นสัญญาจ้างทำของ
โจทก์ได้ผลิตกระเป๋าส่งมอบให้แก่จำเลยรับไปครบถ้วนตามข้อตกลงแล้ว แต่จำเลยยังค้างชำระค่ากระเป๋าอยู่อีกร้อยละ 75 โจทก์จึงชอบที่จะฟ้องบังคับให้จำเลยชำระราคาทรัพย์สินของโจทก์ซึ่งจำเลยซื้อไปและยังไม่ได้ชำระราคาได้ แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องด้วยว่าจำเลยเจตนาฉ้อโกงโจทก์ก็เป็นการบรรยายฟ้องในลักษณะเล่าเรื่องตามความเข้าใจของโจทก์เองว่าถูกจำเลยหลอกลวงให้ทำกระเป๋าโดยจ่ายเงินเพียงร้อยละ 25 ของราคาทั้งหมด การจะปรับข้อเท็จจริงตามคำฟ้องว่าเข้าลักษณะสัญญาหรือละเมิดนั้นเป็นข้อหารือบทเป็นหน้าที่ของศาลที่จะปรับบทกฎหมายเอง แม้จะกล่าวในฟ้องว่าเป็นเรื่องเรียกทรัพย์คืนหรือใช้ราคาก็หาเป็นเรื่องละเมิดเสมอไปไม่ ฟ้องโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย และศาลมีอำนาจวินิจฉัยไปตามฟ้องได้ ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็นและไม่เกินคำขอ
ในคดีอาญาเรื่องก่อน พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยในฐานความผิดร่วมกันฉ้อโกง และขอให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ที่ฉ้อโกงไป ซึ่งศาลได้มีคำพิพากษายกฟ้อง แต่การขอให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ให้ผู้เสียหายที่พนักงานอัยการขอมาในคำฟ้องคดีอาญานั้น แม้จะถือว่าเป็นการขอแทนผู้เสียหาย ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ.มาตรา 43 ก็ตาม แต่ก็เป็นกรณีที่ความเสียหายนั้นเนื่องมาจากการกระทำผิดอาญาเท่านั้น ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญาซื้อขายที่ทำให้เป็นบ่อเกิดแห่งหนี้ที่จะใช้สิทธิเรียกร้องในมูลแห่งสัญญาซื้อขายที่มีต่อกันอยู่ ในคดีอาญาดังกล่าวกับคดีนี้ถึงแม้คำขอบังคับจะมีการขอคืนหรือใช้ราคาทรัพย์เป็นอย่างเดียวกันคือขอให้จำเลยใช้ราคาทรัพย์กระเป๋าหนังที่จำเลยรับไป แต่ยังค้างชำระราคาแก่โจทก์อยู่ แต่ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหามิได้เป็นอย่างเดียวกัน เพราะในคดีอาญานั้นข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาที่พนักงานอัยการขอบังคับในส่วนแพ่งเป็นที่เห็นได้ว่ามาจากข้ออ้างเนื่องจากการกระทำผิดอาญาอันเป็นการเรียกร้องในมูลหนี้ละเมิดอันเกิดจากข้อกล่าวหาว่าฉ้อโกง ส่วนคดีนี้มีที่มาจากมูลหนี้แห่งสัญญาซื้อขาย โดยโจทก์เรียกร้องเอามูลค่าทรัพย์สินของโจทก์ที่จำเลยยังค้างชำระราคาอยู่ มิใช่ฟ้องคดีในเรื่องเดียวกันฟ้องของโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้อนตาม ป.วิ.พ.มาตรา 173 วรรคสอง (1) ทั้งกรณีไม่ใช่เป็นการฟ้องซ้ำ เพราะขณะโจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ คดีอาญาเรื่องก่อนดังกล่าวอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลและยังมิได้มีคำพิพากษาถึงที่สุด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7556/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในสินสมรสและการบังคับคดี: การร้องกล่าวอ้างสิทธิในทรัพย์สินที่ถูกขายโดยคู่สมรสโดยไม่ยินยอม
ในคดีเดิมศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์ได้ทำสัญญาขายที่พิพาททั้งแปลงให้แก่จำเลย และจำเลยครอบครองยึดถือเพื่อตนแล้วจำเลยจึงได้สิทธิครอบครองที่พิพาท ดังนั้นการที่จำเลยได้สิทธิครอบครองที่พิพาทซึ่งเป็นที่ดิน น.ส.3 จึงเป็นผลจากสัญญาซื้อขายที่โจทก์ตกลงขายและส่งมอบการครอบครองให้แก่จำเลยนั่นเองการได้สิทธิครอบครองที่พิพาทของจำเลยย่อมเป็นการได้สิทธิมาตามสัญญาซื้อขาย ดังนั้นผู้ร้องชอบที่จะกล่าวอ้างได้ว่าที่พิพาทเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับผู้ร้อง โจทก์ขายให้แก่จำเลยโดยผู้ร้องมิได้ให้ความยินยอมได้ การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยได้สิทธิครอบครองที่พิพาทให้โจทก์จดทะเบียนโอนแก่จำเลย หากไม่ดำเนินการให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาแทน คดีถึงที่สุดแล้ว จำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาย่อมมีสิทธิบังคับคดีตามคำพิพากษาเอาแก่โจทก์ซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาต่อไป การที่ผู้ร้องซึ่งเป็นบุคคลภายนอกร้องเข้ามาในชั้นนี้ว่า โจทก์นำที่พิพาทซึ่ง เป็นสินสมรสไปขายให้แก่จำเลยโดยผู้ร้องซึ่งเป็นภริยาโจทก์มิได้ให้ความยินยอม เท่ากับเป็นการกล่าวอ้างข้อเท็จจริงขึ้นว่าการซื้อขายที่พิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยไม่ผูกพันที่พิพาทอันเป็นสินสมรสในส่วนของผู้ร้อง และนับได้ว่าเป็นสิทธิอื่น ๆ ที่ผู้ร้องอาจขอให้บังคับเหนือทรัพย์สินนั้นได้ตามกฎหมาย ซึ่งการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษานั้นย่อมไม่กระทบกระทั่งถึง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287 ผู้ร้องจึงมีสิทธิร้องกล่าวอ้างเข้ามาในคดีนี้ได้ ศาลชั้นต้นชอบที่จะรับคำร้องของผู้ร้องไว้ไต่สวนต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6810/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดินช่วงห้ามโอนเป็นโมฆะ แม้เจตนาจดทะเบียนภายหลัง
ที่ดินที่เจ้าของกรรมสิทธิ์ได้มาตามพระราชบัญญัติจัดสรรที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2511 นั้น ภายในกำหนดเวลาห้าปีนับแต่วันได้รับโอนที่ดิน ผู้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินจะโอนที่ดินนั้นไปยังผู้อื่นไม่ได้ นอกจากตกทอดโดยทางมรดกหรือโอนไปยังสหกรณ์ที่ตนเป็นสมาชิกอยู่แล้วแต่กรณี และที่ดินประเภทนี้ก็ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี การที่โจทก์กับจำเลยทำสัญญาอันมีผลเป็นการโอนสิทธิในที่พิพาทโดยส่งมอบการครอบครองให้แก่กัน ภายในกำหนดระยะเวลาห้ามโอนตามกฎหมาย แม้จะเป็นสัญญาจะซื้อขาย และโจทก์กับจำเลยมีเจตนาจะจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาทกันภายหลังเมื่อครบกำหนดเวลาห้ามโอนตามกฎหมายแล้วก็ตามก็เป็นกรรมสิทธิ์ที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งตามกฎหมาย สัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113(เดิม),140(ใหม่) จำเลยฎีกาว่าคดีเกี่ยวกับที่ดินอันเป็นที่ทำกินของประชาชนซึ่งมีราคาสูงขึ้น ผู้ทำสัญญาจะขายมักจะบ่ายเบี่ยงไม่ยอมขายทำให้เกิดความไม่ชอบธรรมสังคม ศาลชอบที่จะหยิบยกเรื่องอำนาจฟ้องขึ้นวินิจฉัยนั้น เป็นฎีกาที่มิได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และมิได้กล่าวไว้โดยชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6810/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อขายที่ดินจัดสรรภายในระยะห้ามโอนเป็นโมฆะ แม้เจตนาจะจดทะเบียนภายหลัง
ที่ดินที่เจ้าของกรรมสิทธิ์ได้มาตาม พ.ร.บ. จัดสรรที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ.2511 นั้น ภายในกำหนดเวลาห้าปีนับแต่วันได้รับโอนที่ดิน ผู้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินจะโอนที่ดินนั้นไปยังผู้อื่นไม่ได้ นอกจากตกทอดโดยทางมรดกหรือโอนไปยังสหกรณ์ที่ตนเป็นสมาชิกอยู่แล้วแต่กรณี และที่ดินประเภทนี้ก็ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี การที่โจทก์กับจำเลยทำสัญญาอันมีผลเป็นการโอนสิทธิในที่พิพาทโดยส่งมอบการครอบครองให้แก่กัน ภายในกำหนดระยะเวลาห้ามโอนตามกฎหมาย แม้จะเป็นสัญญาจะซื้อขาย และโจทก์กับจำเลยมีเจตนาจะจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาทกันภายหลังเมื่อครบกำหนดเวลาห้ามโอนตามกฎหมายแล้วก็ตามก็เป็นนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งตามกฎหมาย สัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 113 (เดิม),140 (ใหม่)
จำเลยฎีกาว่าคดีเกี่ยวกับที่ดินอันเป็นที่ทำกินของประชาชนซึ่งมีราคาสูงขึ้น ผู้ทำสัญญาจะขายมักจะบ่ายเบี่ยงไม่ยอมขาย ทำให้เกิดความไม่ชอบธรรมในสังคม ศาลชอบที่จะหยิบยกเรื่องอำนาจฟ้องขึ้นวินิจฉัยนั้น เป็นฎีกาที่มิได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ และมิได้กล่าวไว้โดยชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6810/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดินในช่วงระยะเวลาห้ามโอนตามพ.ร.บ.จัดสรรที่ดินเป็นโมฆะ
ที่ดินที่เจ้าของกรรมสิทธิ์ได้มาตามพระราชบัญญัติจัดสรรที่ดินเพื่อการครองชีพพ.ศ.2511นั้นภายในกำหนดเวลาห้าปีนับแต่วันได้รับโอนที่ดินผู้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินจะโอนที่ดินนั้นไปยังผู้อื่นไม่ได้นอกจากตกทอดโดยทางมรดกหรือโอนไปยังสหกรณ์ที่ตนเป็นสมาชิกอยู่แล้วแต่กรณีและที่ดินประเภทนี้ก็ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีการที่โจทก์กับจำเลยทำสัญญาอันมีผลเป็นการโอนสิทธิในที่พิพาทโดยส่งมอบการครอบครองให้แก่กันภายในกำหนดระยะเวลาห้ามโอนตามกฎหมายแม้จะเป็นสัญญาจะซื้อขาย และโจทก์กับจำเลยมีเจตนาจะจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาทกันภายหลังเมื่อครบกำหนดเวลาห้ามโอนตามกฎหมายแล้วก็ตามก็เป็นกรรมสิทธิ์ที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งตามกฎหมายสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา113(เดิม),140(ใหม่) จำเลยฎีกาว่าคดีเกี่ยวกับที่ดินอันเป็นที่ทำกินของประชาชนซึ่งมีราคาสูงขึ้นผู้ทำสัญญาจะขายมักจะบ่ายเบี่ยงไม่ยอมขายทำให้เกิดความไม่ชอบธรรมสังคมศาลชอบที่จะหยิบยกเรื่องอำนาจฟ้องขึ้นวินิจฉัยนั้นเป็นฎีกาที่มิได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และมิได้กล่าวไว้โดยชัดแจ้งไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6592/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนที่ดินมีข้อจำกัดตามประมวลกฎหมายที่ดิน การซื้อขายที่ดินในช่วงเวลาห้ามโอนเป็นโมฆะ สิทธิของผู้ซื้อที่สุจริต
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3)มีข้อกำหนดห้ามโอนภายใน 10 ปี ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 31จำเลยที่ 1 และที่ 2 ซื้อที่ดินพิพาทจากนาง จ. ภายในกำหนดระยะเวลาห้ามโอน การซื้อขายที่ดินพิพาทเป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย จึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113(เดิม) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะทำสัญญา แม้นาง จ.จะสละสิทธิครอบครองก็ไม่ทำให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้สิทธิครอบครอง จำเลยที่ 3 ซึ่งได้รับโอนที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 และที่ 2 ย่อมไม่มีสิทธิครอบครองเช่นเดียวกัน โดยถือหลักว่า ผู้รับโอนย่อมไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทจากนางจ. หลังจากพ้นกำหนดระยะเวลาห้ามโอนตามกฎหมายแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิในที่ดินพิพาทดีกว่าจำเลยที่ 3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5851/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดินที่มิได้จดทะเบียนเป็นโมฆะ แม้เป็นที่ดินมี น.ส.3 โจทก์ไม่มีสิทธิบังคับให้จำเลยจดทะเบียนโอน
สัญญาซื้อขายที่ดินระหว่าง จ. ผู้ตาย กับจำเลยเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดที่จะต้องทำตามแบบที่กฎหมายกำหนดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 วรรคแรก เมื่อสัญญาซื้อขายมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมตกเป็นโมฆะ แม้ที่ดินที่ซื้อขายกันจะเป็นเพียงที่ดินที่มีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ซึ่งไม่เคยมีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์ เจ้าของที่ดินมีเพียงสิทธิครอบครอง และการซื้อขายจะสมบูรณ์ด้วยการส่งมอบการครอบครอง ไม่จำต้องทำตามแบบของนิติกรรมก็ตาม แต่โจทก์ซึ่งเป็นทายาทของ จ. ฟ้องขอให้บังคับจำเลยจดทะเบียนโอนสิทธิในที่ดินให้แก่โจทก์ตามหนังสือสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดซึ่งตกเป็นโมฆะ โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะฟ้องบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาได้
of 114