พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,443 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1457/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเด็นเรื่องการแก้ไขข้อความในสัญญาโดยไม่ได้รับความยินยอม ทำให้สัญญานั้นเป็นเอกสารปลอม และการนำสืบหลักฐานนอกประเด็น
จำเลยเคยกู้ยืมเงินโจทก์จำเลย 40,000 บาท แต่โจทก์กลับนำแบบพิมพ์หนังสือสัญญากูยืมเงินที่จำเลยลงลายมือชื่อไว้ในช่องผู้กู้ไปกรอกข้อความเป็นว่าจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ 50,000 บาท โดยไม่ได้รับความยินยอมจากจำเลย จึงเป็นเอกสารปลอม คดีจึงมีประเด็นเพียงว่า จำเลยได้กู้ยืมเงินโจทก์จำนวน 50,000 บาท ตามฟ้องหรือไม่ไม่มีประเด็นว่า จำเลยได้ชำระหนี้ตามหนังสือสัญญากู้ยืมเงินที่โจทก์นำมาฟ้องให้แก่โจทก์แล้วหรือไม่ ดังนั้น จำเลยจะนำสืบว่าจำเลยได้ชำระหนี้ตามหนังสือสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าวให้แก่โจทก์ครบถ้วนแล้วหาได้ไม่ เป็นการนำสืบนอกประเด็น ส่วนที่จำเลยให้การไว้ตอนหนึ่งว่าจำเลยได้ชำระหนี้ให้โจทก์ครบถ้วนแล้วเป็นการให้การประกอบข้ออ้างที่ว่าจำเลยเคยกู้ยืมเงินโจทก์ 40,000 บาท มิใช่เป็นการให้การในประเด็นที่เกี่ยวกับการกู้ยืมเงินจำนวน 50,000 บาท ที่โจทก์ยกขึ้นเป็นข้ออ้างในคำฟ้อง การที่ศาลล่างทั้งสองฟังข้อเท็จจริงจากทางนำสืบของจำเลยแล้วเชื่อว่าจำเลยชำระหนี้จำนวนตามฟ้องให้โจทก์แล้ว จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1442/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินเกิน 5 ปีนับจากวันยื่นแบบฯ เป็นการประเมินที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์ยื่นแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินสำหรับห้องชุดพิพาทประจำปี 2540 ถึง 2549 ต่อกรุงเทพมหานครจำเลยตามกำหนดเวลาของกฎหมาย จำเลยให้การว่า เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2548 โจทก์ยื่นแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปีภาษี 2548 สำหรับห้องชุดพิพาทต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลย พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยตรวจสอบสมุดทะเบียนภาษีโรงเรือนและที่ดินแล้วปรากฏว่าห้องชุดพิพาทยังไม่เคยมีการยื่นเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน คำให้การในตอนแรกนี้จำเลยเพียงแต่ต่อสู้ว่า โจทก์ยังมิได้เสียภาษีโรงเรือนและที่ดินเท่านั้น มิได้ต่อสู้ว่าโจทก์ยังไม่ได้ยื่นแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน นอกจากนี้จำเลยยังให้การต่อไปว่า ในเดือนธันวาคม 2549 สำนักงานเขตคลองเตยได้จัดกิจกรรมทำความสะอาดครั้งใหญ่จึงพบเอกสารแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินของโจทก์ก่อนปีภาษี 2548 บางปี โดยจำเลยมิได้ให้การปฏิเสธโดยชัดแจ้งว่าแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินก่อนปีภาษี 2548 ที่พบเป็นแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปีภาษีใด และมิใช่ปี 2540 ถึง 2544 ที่พิพาทหรือไม่ คำให้การของจำเลยจึงเป็นคำให้การที่ไม่ชอบ ถือได้ว่าจำเลยยอมรับข้ออ้างของโจทก์ที่ว่าโจทก์ยื่นแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินสำหรับห้องชุดพิพาทประจำปีภาษี 2540 ถึง 2544 ต่อจำเลยตามกำหนดเวลาของกฎหมายแล้ว คดีจึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉันว่าโจทก์ยื่นแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปีภาษี 2540 ถึง 2544 ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยภายในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปีภาษีหรือไม่ การที่ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวจึงเป็นคำวินิจฉัยที่ไม่ชอบไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่จำเลยที่จะอุทธรณ์ตามกฎหมาย อุทธรณ์ข้อนี้ของจำเลยจึงเป็นอุทธรณ์ในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากรกลาง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 29 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
โจทก์ยื่นแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปีภาษีพิพาทภายในกำหนดเวลาตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 19 แล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยจึงมีหน้าที่ต้องประเมินค่ารายปีและค่าภาษีแจ้งไปยังโจทก์ภายใน 5 ปี นับแต่วันสุดท้ายของเดือนกุมภาพันธ์ของแต่ละปีที่โจทก์ยื่นแบบพิมพ์ไว้ ไม่ว่าการประเมินนั้นจะเป็นเพราะโจทก์แจ้งค่ารายปีไม่ถูกต้อง หรือมีทรัพย์สินบางรายการต้องนำมาคำนวณเพิ่มเติม หรือเพราะโจทก์ยื่นแบบพิมพ์ไว้ถูกต้อง แต่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยยังมิได้ดำเนินการประเมิน
สิทธิเรียกร้องของรัฐที่จะเรียกเอาค่าภาษีอากรแม้จะมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/31 แต่การที่จำเลยจะใช้สิทธิเรียกร้องเงินค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินจากโจทก์ กฎหมายกำหนดให้ต้องมีการแจ้งรายการประเมินไปยังโจทก์ก่อน การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยแจ้งรายการประเมินไปยังโจทก์ย้อนหลังเกิน 5 ปี นับแต่วันสุดท้าของเดือนกุมภาพันธ์ของแต่ละปีภาษีพิพาทที่โจทก์ยื่นแบบพิมพ์ไว้เป็นการประเมินเมื่อล่วงเลยกำหนดเวลาตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 24 ทวิ วรรคสอง (2) เป็นผลให้การประเมินของพนักงานเจ้าหน้าที่และคำชี้ขาดยืนตามการประเมินของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จึงไม่มีหน้าที่ต้องชำระค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินให้แก่จำเลยแม้จะยังไม่ขาดอายุความ
โจทก์ยื่นแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปีภาษีพิพาทภายในกำหนดเวลาตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 19 แล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยจึงมีหน้าที่ต้องประเมินค่ารายปีและค่าภาษีแจ้งไปยังโจทก์ภายใน 5 ปี นับแต่วันสุดท้ายของเดือนกุมภาพันธ์ของแต่ละปีที่โจทก์ยื่นแบบพิมพ์ไว้ ไม่ว่าการประเมินนั้นจะเป็นเพราะโจทก์แจ้งค่ารายปีไม่ถูกต้อง หรือมีทรัพย์สินบางรายการต้องนำมาคำนวณเพิ่มเติม หรือเพราะโจทก์ยื่นแบบพิมพ์ไว้ถูกต้อง แต่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยยังมิได้ดำเนินการประเมิน
สิทธิเรียกร้องของรัฐที่จะเรียกเอาค่าภาษีอากรแม้จะมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/31 แต่การที่จำเลยจะใช้สิทธิเรียกร้องเงินค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินจากโจทก์ กฎหมายกำหนดให้ต้องมีการแจ้งรายการประเมินไปยังโจทก์ก่อน การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยแจ้งรายการประเมินไปยังโจทก์ย้อนหลังเกิน 5 ปี นับแต่วันสุดท้าของเดือนกุมภาพันธ์ของแต่ละปีภาษีพิพาทที่โจทก์ยื่นแบบพิมพ์ไว้เป็นการประเมินเมื่อล่วงเลยกำหนดเวลาตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 24 ทวิ วรรคสอง (2) เป็นผลให้การประเมินของพนักงานเจ้าหน้าที่และคำชี้ขาดยืนตามการประเมินของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จึงไม่มีหน้าที่ต้องชำระค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินให้แก่จำเลยแม้จะยังไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1442/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินต้องแจ้งประเมินภายใน 5 ปี นับจากวันยื่นแบบพิมพ์ หากเกินกำหนด การประเมินเป็นโมฆะ
จำเลยมิได้ให้การปฏิเสธโดยชัดแจ้งว่าแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินก่อนปี 2548 ที่พบเป็นแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปีภาษีใด และมิใช่ปี 2540 ถึง 2544 ที่พิพาทหรือไม่ คำให้การของจำเลยจึงไม่แสดงโดยชัดแจ้งว่ายอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้นหรือบางส่วนเป็นคำให้การที่ไม่ชอบ ถือได้ว่าจำเลยยอมรับข้ออ้างของโจทก์ที่ว่าโจทก์ยื่นแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินสำหรับห้องชุดพิพาทประจำปีภาษี 2540 ถึง 2544 ต่อจำเลยตามกำหนดเวลาของกฎหมายแล้ว คดีจึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉันว่าโจทก์ยื่นแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปีภาษีพิพาทต่อจำเลยภายในกำหนดหรือไม่ การที่ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวจึงเป็นคำวินิจฉัยที่ไม่ชอบ ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่จำเลยที่จะอุทธรณ์ตามกฎหมายอุทธรณ์ข้อนี้ของจำเลยจึงเป็นอุทธรณ์ในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากรกลางต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ มาตรา 29 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
โจทก์ยื่นแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปีภาษีพิพาทภายในกำหนดเวลาตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดินฯ มาตรา 19 แล้ว จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องประเมินค่ารายปีและค่าภาษีแจ้งไปยังโจทก์ภายใน 5 ปี นับแต่วันสุดท้ายของเดือนกุมภาพันธ์ของแต่ละปีที่โจทก์ยื่นแบบพิมพ์ไว้ ไม่ว่าการประเมินนั้นจะเป็นเพราะโจทก์แจ้งค่ารายปีไม่ถูกต้อง หรือมีทรัพย์สินบางรายการต้องนำมาคำนวณเพิ่มเติมหรือเพราะโจทก์ยื่นแบบพิมพ์ไว้ถูกต้อง แต่จำเลยยังมิได้ดำเนินการประเมินก็ตาม แม้สิทธิเรียกร้องของรัฐที่จะเรียกเอาค่าภาษีอากรจะมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/31 แต่การที่จำเลยจะใช้สิทธิเรียกร้องเงินค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินจากโจทก์ในกรณีนี้ได้ กฎหมายกำหนดให้ต้องมีการแจ้งรายการประเมินไปยังโจทก์ก่อน เมื่อจำเลยแจ้งรายการประเมินไปยังโจทก์เกิน 5 ปี นับแต่วันสุดท้ายของเดือนกุมภาพันธ์ของแต่ละปีภาษีพิพาทที่โจทก์ยื่นแบบพิมพ์ไว้ เป็นการประเมินเมื่อล่วงเลยกำหนดเวลาตามมาตรา 24 ทวิ วรรคสอง (2) เป็นผลให้การประเมินและคำชี้ขาดไม่ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ยื่นแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปีภาษีพิพาทภายในกำหนดเวลาตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดินฯ มาตรา 19 แล้ว จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องประเมินค่ารายปีและค่าภาษีแจ้งไปยังโจทก์ภายใน 5 ปี นับแต่วันสุดท้ายของเดือนกุมภาพันธ์ของแต่ละปีที่โจทก์ยื่นแบบพิมพ์ไว้ ไม่ว่าการประเมินนั้นจะเป็นเพราะโจทก์แจ้งค่ารายปีไม่ถูกต้อง หรือมีทรัพย์สินบางรายการต้องนำมาคำนวณเพิ่มเติมหรือเพราะโจทก์ยื่นแบบพิมพ์ไว้ถูกต้อง แต่จำเลยยังมิได้ดำเนินการประเมินก็ตาม แม้สิทธิเรียกร้องของรัฐที่จะเรียกเอาค่าภาษีอากรจะมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/31 แต่การที่จำเลยจะใช้สิทธิเรียกร้องเงินค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินจากโจทก์ในกรณีนี้ได้ กฎหมายกำหนดให้ต้องมีการแจ้งรายการประเมินไปยังโจทก์ก่อน เมื่อจำเลยแจ้งรายการประเมินไปยังโจทก์เกิน 5 ปี นับแต่วันสุดท้ายของเดือนกุมภาพันธ์ของแต่ละปีภาษีพิพาทที่โจทก์ยื่นแบบพิมพ์ไว้ เป็นการประเมินเมื่อล่วงเลยกำหนดเวลาตามมาตรา 24 ทวิ วรรคสอง (2) เป็นผลให้การประเมินและคำชี้ขาดไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 791/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกหนี้ร่วมจำกัดความรับผิด: สิทธิไล่เบี้ยของโจทก์ในคดีล้มละลาย
จำเลยที่ 1 เป็นหนี้บรรษัท ง. โดยมีโจทก์ จำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน และจำเลยที่ 1 กับที่ 3 ได้จำนองที่ดินในวงเงิน 4,000,000 บาท เพื่อประกันหนี้ โดยมีข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนองว่า ถ้าหากบังคับจำนองแล้วได้เงินไม่พอชำระหนี้ จำเลยที่ 1 และที่ 3 ยอมรับผิดชำระหนี้ส่วนที่ขาดจนครบถ้วน เช่นนี้ความรับผิดของโจทก์จำเลยที่ 2 และที่ 3 ที่มีต่อบรรษัท ง. นั้นอยู่ในฐานะลูกหนี้ร่วมที่จะต้องชำระหนี้ตามฐานะของตน และวงเงินที่มีการกำหนดความรับผิดไว้ โดยจำเลยที่ 3 ต้องรับผิดในฐานะผู้จำนองซึ่งกำหนดวงเงินจำกัดความรับผิดไว้ การที่โจทก์ได้ชำระหนี้ตามภาระค้ำประกันให้แก่บรรษัท ง. ไปนั้น โจทก์ย่อมรับช่วงสิทธิของบรรษัท ง. ที่จะมาไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ชั้นต้นโดยเต็มจำนวน แต่ในส่วนความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์ จำเลยที่ 2 และที่ 3 นั้น เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 3 จำนองที่ดินประกันหนี้ในวงเงิน 4,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย และบรรษัท ง. ได้ฟ้องบังคับจำนองจนกระทั่งศาลมีคำพิพากษาให้บังคับจำนองแล้ว และหนี้ที่จำเลยที่ 1 มีต่อบรรษัท ง. นั้น มีจำนวนมากกว่าวงเงินที่จำนองอยู่ เช่นนี้ เมื่อจำเลยที่ 3 ได้จำกัดความรับผิดของตนต่อบรรษัท ง. ไว้ และมีภาระต้องรับผิดต่อบรรษัท ง. ตามวงเงินที่จำนอง แต่โจทก์มิได้แสดงให้เห็นว่าการชำระหนี้เงินของโจทก์ทำให้จำเลยที่ 3 หลุดพ้นความรับผิดต่อบรรษัท ง. หรือรับผิดน้อยกว่าวงเงินที่แต่ละคนเข้าผูกพันแล้ว โจทก์จะใช้สิทธิไล่เบี้ยในความรับผิดระหว่างลูกหนี้ร่วมกันอันจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อบรรษัท ง. ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ชั้นต้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 230 วรรคสอง หาได้ไม่ โจทก์จะใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยที่ 3 ได้หรือไม่ยังไม่อาจกำหนดได้แน่นอน โจทก์จึงยังไม่อาจนำหนี้ในส่วนนี้มาฟ้องจำเลยที่ 3 เป็นคดีล้มละลายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 682/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีมโนสาเร่: กระบวนการพิจารณาคดีที่ถูกต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 193 และการไม่อนุญาตให้ยื่นคำให้การ
ตามบทบัญญัติมาตรา 193 แห่งป.วิ.พ. กรณีจะถือว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ คือกรณีที่จำเลยมาศาลตามวันที่กำหนดในหมายเรียกแต่ไม่ยอมให้การ และศาลมีคำสั่งไม่ยอมเลื่อนเวลาให้จำเลยยื่นคำให้การและดำเนินการพิจารณาต่อไป โดยศาลไม่ต้องมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ เมื่อคดีนี้ศาลชั้นต้นรับฟ้องเป็นคดีมโนสาเร่ การที่ศาลชั้นต้นออกหมายเรียกอย่างคดีแพ่งสามัญจึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ และในวันนัดพิจารณาเมื่อโจทก์และจำเลยทั้งสองมาพร้อมกันแล้ว การที่ศาลชั้นต้นด่วนมีคำสั่งว่าจำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การแล้วศาลไกล่เกลี่ยต่อไป เมื่อคู่ความไม่อาจตกลงกันได้ ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งอนุญาตให้เลื่อนคดีไป จึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 682/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีมโนสาเร่: การออกหมายเรียกและคำสั่งขาดนัดยื่นคำให้การที่ไม่ถูกต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 193
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฟ้องเป็นคดีมโนสาเร่ การที่ศาลชั้นต้นออกหมายเรียกอย่างคดีแพ่งสามัญจึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ และในวันนัดพิจารณาเมื่อโจทก์และจำเลยทั้งสองมาพร้อมกันแล้วการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การก็เป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบเช่นกัน ไม่ต้องด้วยบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 193 จำเลยทั้งสองจึงยื่นคำให้การได้โดยไม่จำต้องยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 561/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การต่อเติมอาคารรุกล้ำเขตที่ดินและการรับฟังพยานเพิ่มเติม ศาลต้องเปิดโอกาสให้คู่ความนำเสนอหลักฐานเพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นมีหนังสือถึงเจ้าพนักงานที่ดินกรุงเทพมหานคร สาขาพระโขนงให้จัดทำแผนที่พิพาท เพื่อให้ทราบว่าอาคารพาณิชย์เลขที่ 17 ก่อสร้างรุกล้ำแนวเขตที่ดินของโจทก์ทั้งสองหรือไม่ และกำหนดวันนัดสืบพยานโจทก์วันที่ 4 ถึง 6 สิงหาคม 2547 นัดสืบพยานจำเลยวันที่ 10, 11 และ 13 สิงหาคม 2547 หลังจากสำนักงานที่ดินกรุงเทพมหานคร สาขาพระโขนง ส่งแผนที่พิพาทมายังศาลชั้นต้นแล้ว โจทก์ทั้งสองได้ยื่นคำแถลงขอระบุบัญชีพยานเพิ่มเติมลงวันที่ 7 มิถุนายน 2547 ขออ้าง ส. เจ้าหน้าที่ฝ่ายหลักประกันและจดจำนองของธนาคาร ก. ซึ่งเป็นประจักษ์พยานในการทำแผนที่พิพาท และ ฉ. เจ้าพนักงานที่ดินผู้ทำการรังวัดแผนที่พิพาท ศาลชั้นต้นไม่อนุญาต ต่อมาวันที่ 16 มิถุนายน 2547 โจทก์ทั้งสองยื่นคำแถลงขอระบุบัญชีพยานเพิ่มเติมดังกล่าวเข้ามาอีก โดยแถลงว่าประสงค์จะสืบพยานบุคคลทั้งสองแทนพยานบุคคลสองอันดับที่ได้ขอให้ศาลชั้นต้นออกหมายเรียกไปแล้ว เพื่อไม่ให้กระทบกับวันนัดพยานโจทก์ที่ได้กำหนดไว้ แสดงให้เห็นว่าโจทก์ทั้งสองไม่มีเจตนาประวิงคดี ประกอบกับแผนที่พิพาทไม่มีรายละเอียดเกี่ยวกับที่ดินของโจทก์ทั้งสองที่ถูกรุกล้ำ โจทก์ทั้งสองจึงอาจจำเป็นต้องนำพยานบุคคลที่เห็นว่าเป็นกลางมานำสืบเพื่อให้ได้ความชัดเจน ซึ่งไม่ทำให้จำเลยทั้งสามเสียเปรียบ เพราะจำเลยทั้งสามมีสิทธิถามค้านและนำพยานของตนเข้าสืบแก้ได้ การที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้โจทก์ทั้งสองยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมกรณีเช่นนี้ ย่อมทำให้โจทก์ทั้งสองไม่อาจเสนอข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับประเด็นสำคัญแห่งคดีและอาจทำให้รูปคดีของโจทก์ทั้งสองเสียหายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 482-483/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงชื่อบริษัท และผลต่อการฟ้องร้องคดี การแจ้งชื่อใหม่ทางเอกสารถือเป็นการแจ้งให้ทราบ
แม้โจทก์ยังไม่ได้พิมพ์โฆษณาชื่อโจทก์ที่ได้จดทะเบียนแก้ไขใหม่ในราชกิจจานุเบกษา และ ป.พ.พ. มาตรา 1023 บัญญัติว่า บริษัทจะถือเอาประโยชน์แก่บุคคลภายนอกเพราะเหตุที่มีสัญญาหรือเอกสาร หรือข้อความอันบังคับให้จดทะเบียนยังไม่ได้จนกว่าจะได้ลงพิมพ์โฆษณาแล้วก็ตาม แต่การบัญญัติดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการให้บุคคลทั่วไปทั้งที่เกี่ยวข้องหรือไม่เกี่ยวข้องกับบริษัทมีโอกาสทราบถึงรายการต่างๆ ที่ได้จดทะเบียนไว้ แต่เมื่อตามใบแจ้งยอดใช้จ่ายบัตรเครดิต/ใบกำกับภาษีที่โจทก์ส่งให้จำเลยที่ 1 ได้ระบุชื่อโจทก์ที่ได้จดทะเบียนแก้ไขใหม่ไว้แล้ว ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ทราบถึงการจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อของโจทก์แล้ว จำเลยที่ 1 จึงไม่สามารถยกเอาเรื่องที่ยังไม่มีการพิมพ์โฆษณาข้อความในส่วนชื่อโจทก์ที่มีการจดทะเบียนแก้ไขใหม่มาเป็นข้อต่อสู้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 278/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสัญญากู้ยืมเงิน vs. ตั๋วสัญญาใช้เงิน: การฟ้องไม่ขาดอายุความ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 กู้ยืมเงินจากบริษัท ง. โดยวิธีออกตั๋วสัญญาใช้เงินจำนวน 1,000,000 บาท จำเลยที่ 1 ได้รับเงินที่กู้ยืมไปครบถ้วนแล้ว มีจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นผู้ค้ำประกันยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม และจำเลยที่ 2 ได้จำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นการประกันการชำระหนี้ ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตามคำฟ้องของโจทก์จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องโดยอาศัยมูลหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงิน ค้ำประกันและจำนอง การที่โจทก์อ้างถึงตั๋วสัญญาใช้เงินก็เพื่อแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 ได้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อเป็นหลักฐานในการกู้ยืมเงินและชำระหนี้เงินกู้ยืม กรณีจึงหาใช่ฟ้องบังคับตามตั๋วสัญญาใช้เงินไม่ ซึ่งการกู้ยืมเงินไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 เมื่อจำเลยที่ 1 ทำคำขอกู้เงินโดยออกตั๋วสัญญาใช้เงินเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2540 โจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2543 ยังไม่เกิน 10 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ เมื่อหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินซึ่งเป็นหนี้ประธานยังไม่ขาดอายุความ จำเลยที่ 2 และที่ 3 ในฐานะผู้ค้ำประกันจึงต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์