พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,443 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4052/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในคดีครอบครองปรปักษ์: มูลค่าทรัพย์สินและข้อพิพาทเรื่องมรดก
คู่ความตกลงกัน ตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นฉบับลงวันที่ 1 มีนาคม 2547 ว่าที่ดินพิพาทมีราคา 250,000 บาท ผู้คัดค้านประสงค์จะให้แบ่งที่ดินพิพาทแก่ผู้คัดค้านและบุตรเจ้ามรดกคนอื่น ๆ รวม 5 คน ตามส่วนที่แต่ละคนมีสิทธิได้รับตามกฎหมาย โดยขอให้แบ่งแก่ผู้คัดค้านเฉพาะส่วนที่ผู้คัดค้านจะได้รับในฐานะทายาทโดยธรรม อันเป็นฎีกาในทำนองว่าที่ดินพิพาท 1 ใน 5 ส่วนของผู้คัดค้านไม่ได้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องโดยการครอบครองปรปักษ์ ราคาทรัพย์สินที่พิพาทในชั้นฎีการะหว่างผู้ร้องกับผู้คัดค้านจึงไม่เกินสองแสนบาท คดีของผู้คัดค้านจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3915/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การล้มละลาย: การโอนทรัพย์สินเพื่อหลีกเลี่ยงหนี้และการสันนิษฐานเรื่องหนี้สินล้นพ้นตัว
จำเลยถูกยึดทรัพย์ตามหมายบังคับคดี กรณีจึงต้องด้วยข้อสันนิษฐานตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 8 (5) ว่า จำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว จำเลยมีหน้าที่นำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าว แต่จำเลยไม่สืบพยานกรณีจึงไม่อาจหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายได้ ส่วนที่จำเลยอ้างในอุทธรณ์ว่า จำเลยได้รับโอนที่ดิน 1 แปลง เพียงพอชำระหนี้ได้นั้น คดีนี้จำเลยขอเลื่อนการนัดฟังคำพิพากษาหลายครั้งเพื่อเจรจาประนอมหนี้กับโจทก์ จนกระทั่งปรากฏว่าเช็คที่ญาติของจำเลยออกให้เพื่อชำระหนี้แก่โจทก์นั้น ธนาคารได้ปฏิเสธการจ่ายเงินทุกฉบับ จึงมีการโอนที่ดินให้แก่จำเลยก่อนวันนัดฟังคำพิพากษา 3 วัน พฤติการณ์แห่งคดีเห็นได้ว่าเป็นการโอนที่ดินให้เพื่อเป็นพยานหลักฐานให้ศาลพิพากษายกฟ้องในคดีล้มละลาย ซึ่งมีผลให้จำเลยไม่ต้องรับผิดในหนี้ส่วนที่ค้างชำระตามคำพิพากษาคดีแพ่งอีกต่อไปเนื่องจากพ้นกำหนดระยะเวลาบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว และกรณีไม่มีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้จำเลยล้มละลาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3722/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟื้นฟูกิจการและการรับคำขอรับชำระหนี้ แม้พ้นกำหนด หากลูกหนี้จงใจปกปิดข้อมูลเจ้าหนี้
การที่ลูกหนี้ยื่นคำร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการโดยมิได้แสดงรายชื่อและที่อยู่ของเจ้าหนี้มาพร้อมกับคำร้องขอ ทั้งๆ ที่ได้ปรากฏชื่อเจ้าหนี้ตามเอกสารต่างๆ ของลูกหนี้ที่ทำไว้เป็นหลักฐานสำคัญในการประกอบธุรกิจจัดสรรที่ดินของลูกหนี้ พฤติการณ์แห่งคดีส่อเจตนาของลูกหนี้ว่าจงใจไม่แสดงรายชื่อและที่อยู่ของเจ้าหนี้มาพร้อมคำร้องขอตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/6 วรรคสี่ อันเป็นที่เสียหายแก่เจ้าหนี้เพราะทำให้ศาลล้มละลายกลางไม่ได้ส่งสำเนาคำร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการแก่เจ้าหนี้และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ได้แจ้งคำสั่งตั้งผู้ทำแผนและกำหนดเวลาให้เจ้าหนี้เสนอขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เมื่อเจ้าหนี้ไม่ทราบคำสั่งแต่งตั้งผู้ทำแผนและกำหนดเวลายื่นคำขอรับชำระหนี้มาก่อนหน้านี้ กรณีนับว่ามีเหตุตามกฎหมายให้รับคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ไว้พิจาณาแม้จะได้ยื่นเมื่อพ้นกำหนดเวลาตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/26 แล้วก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3516/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพาอาวุธปืนติดตัวในเมืองโดยไม่ได้รับอนุญาต แม้มีเหตุผลอื่นใดก็ไม่เป็นเหตุให้การกระทำนั้นชอบด้วยกฎหมาย
การที่จำเลยรับฝากอาวุธปืนของกลางไว้จาก ป. แล้วนำไปเก็บไว้ในช่องเก็บของในรถยนต์ของ ม. โดยจำเลยนั่งไปด้วย ถือได้ว่าจำเลยพาอาวุธปืนของกลางติดตัวไปด้วย เมื่อจำเลยนั่งโดยสารรถยนต์ของ ม. จากร้านอาหาร จ. ไปตามถนนจรัญสนิทวงศ์ถึงบริเวณที่เกิดเหตุสี่แยกบรมราชชนนี อันเป็นเมืองและทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาตให้มีอาวุธปืนติดตัว การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมืองหรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ส่วนที่จำเลยอ้างว่าอาวุธปืนของกลางเป็นของ ส. ได้นำมาฝาก บ. ไว้จะไปทำธุระในเมือง แต่ บ. กลัวว่าบุตรของตนซึ่งยังเล็กและซุกซนจะได้รับอันตรายจึงฝากจำเลยไว้ ก็มิใช่กรณีที่มีเหตุจำเป็นเร่งด่วนต้องมีอาวุธปืนของกลางติดตัวไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3319/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คไม่สามารถชำระได้ ผู้สั่งจ่ายต้องรับผิดตามจำนวนเงินในเช็ค แม้จะมีมูลหนี้ลดลง
จำเลยเป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทจำนวนเงิน 200,000 บาท ให้แก่โจทก์เมื่อเช็คถึงกำหนดชำระ ธนาคารตามเช็คได้ปฏิเสธการจ่ายเงินโดยให้เหตุผลว่าเงินในบัญชีไม่พอจ่าย คดีคงมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า จำเลยจะต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นจำนวนเท่าใด เห็นว่าคดีนี้ศาลอุทธรณ์ภาค 3 วินิจฉัยว่า แม้จำเลยลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทจำนวนเงิน 200,000 บาท แต่โจทก์กับจำเลยมีมูลหนี้กัน 100,000 บาท จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์เพียง 100,000 บาท ทั้งนี้โดยรับฟังข้ออ้างของจำเลยที่ว่า หากจำเลยต้องรับผิดก็คงรับผิดเพียงหนี้ตามเช็คที่ ส. ได้สั่งจ่ายเช็ค 2 ฉบับ ฉบับละ 50,000 บาท รวม 100,000 บาท ซึ่งจำเลยเป็นผู้ลงลายมือชื่อสลักหลังเช็คทั้งสองไว้เท่านั้น ทั้งนี้จำเลยได้ขอให้ศาลออกคำสั่งเรียกสมุดบัญชีเงินสดรายวันของโจทก์ที่แสดงให้ปรากฏรายการรับเงินการจ่ายเงินทุกประเภทของทุกวันทำการระหว่างวันที่ 17 กันยายน 2539 ถึงวันที่ 15 กรกฎาคม 2540 และระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน 2543 ถึงวันที่ 30 สิงหาคม 2543 ซึ่งเป็นเอกสารที่อยู่ในความครอบครองของโจทก์มาเป็นพยานหลักฐาน เพื่อพิสูจน์ถึงข้ออ้างของจำเลยแต่โจทก์ไม่สามารถส่งเอกสารดังกล่าวต่อศาล ศาลอุทธรณ์ภาค 3 จึงได้วินิจฉัยว่าโจทก์มิได้ปฏิบัติตามคำสั่งเรียกเอกสารของศาลโดยไม่มีเหตุผลสมควร ถือว่าข้อเท็จจริงแห่งข้ออ้างของจำเลยที่ว่ามูลหนี้ที่จำเลยมีต่อโจทก์จำนวน 100,000 บาท โจท์ยอมรับแล้วตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 123 วรรคหนึ่ง จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตามเช็คพิพาทเพียง 100,000 บาท เท่านั้น การจะนำข้อสันนิษฐานตามมาตรา 123 วรรคหนึ่ง มาใช้บังคับต่อคดีได้นั้น ต้นฉบับเอกสารที่จำเลยอ้างว่าอยู่ในความครอบครองของโจทก์ที่จำเลยประสงค์จะอ้างอิงเป็นพยานหลักฐานจะต้องเป็นพยานหลักฐานสำคัญที่ทำให้สามารถพิสูจน์พยานซึ่งเป็นประเด็นในดคีได้โดยตรง คดีนี้ได้ความจากทางนำสืบของจำเลยซึ่งรับเองว่า จำเลยได้สั่งจ่ายเช็คพิพาทให้โจทก์ในปี พ.ศ.2541 ส่วนพยานเอกสารที่จำเลยขอให้ศาลมีคำสั่งเรียกจากโจทก์นั้น เป็นสมุดเงินสดรายวันของโจทก์ระหว่างวันที่ 17 กันยายน 2539 ถึงวันที่ 25 กรกฎาคม 2540 และระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน 2543 ถึงวันที่ 13 สิงหาคม 2543 ซึ่งไม่อยู่ในระยะเวลาที่จำเลยอ้างว่าได้สั่งจ่ายเช็คพิพาทแก่โจทก์ ดังนั้น แม้จะได้เอกสารที่จำเลยขอมาและจำเลยจะพิสูจน์ได้ว่าผู้ใดเป็นคนนำเช็คไปขายลดเช็คให้โจท์หรือมีหลักฐานว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์อยู่เท่าใด ก็ไม่ใช่ประเด็นสำคัญที่จะมีน้ำหนักหักล้างพยานหลักฐานของโจทก์ได้ เมื่อจำเลยเป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทจำนวน 200,000 บาท แก่โจทก์ แล้วต่อมาโจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบนำเช็คไปขึ้นเงินต่อธนาคารแต่ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน จำเลยย่อมต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คนั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 900 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3095/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้กรรมสิทธิ์ที่ดินโดยครอบครองปรปักษ์: สิทธิครอบครองเดิม vs. การได้กรรมสิทธิ์ใหม่หลังมีโฉนด
ที่ดินที่จะได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 จะต้องเป็นที่ดินซึ่งบุคคลอื่นมีกรรมสิทธิ์อยู่ การที่ผู้ร้องบรรยายมาในคำร้องขอว่าผู้ร้องซื้อที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เฉพาะส่วนจาก ป. โดยไม่ได้จดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานที่ดิน แต่ได้มีการส่งมอบการครอบครองให้แก่กันอันเป็นเพียงการแสดงให้เห็นถึงเหตุแห่งการที่ผู้ร้องได้ที่ดินมาครอบครอง เมื่อที่ดินมีหลักฐานเป็นหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) ผู้ร้องจึงมีเพียงสิทธิครอบครองเท่านั้น ผู้ร้องจะครอบครองปรปักษ์ไม่ได้ ผู้ร้องจึงไม่อาจเป็นเจ้าของผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินได้ ต่อมาหลังจากผู้ร้องซื้อที่ดินแล้ว ที่ดินดังกล่าวได้ออกหลักฐานเป็นโฉนดที่ดิน ดังนั้น การที่ผู้ร้องได้เข้าครอบครองโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ ซึ่งเมื่อนับระยะเวลาการครอบครองตั้งแต่วันที่ออกโฉนดที่ดินถึงวันยื่นคำร้องขอเกินกว่าสิบปีแล้ว ผู้ร้องจึงมีสิทธิร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2861/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้รับผลประโยชน์กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ: กำหนดผู้รับผลประโยชน์ได้อิสระ ไม่จำกัดเฉพาะบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย
ว.ลูกจ้าง ซึ่งเป็นสมาชิกกองทุนจำเลยได้กำหนดตัวบุคคลผู้จะพึงได้รับเงินกองทุนจำเลยไว้ตามหนังสือแต่งตั้งผู้รับผลประโยชน์ และผู้จะพึงได้รับผลประโยชน์ยังมีชีวิตอยู่ การจ่ายเงินกองทุนจำเลยจึงต้องเป็นไปตามข้อกำหนดของสมาชิก โดยไม่มีข้อจำกัดว่าผู้ที่ลูกจ้างกำหนดเป็นผู้จะพึงได้รับเงินจากกองทุนจะต้องเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ดังนั้นแม้ ร. กับ จ. จะมิใช่บุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของ ว. ก็ย่อมเป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินจากกองทุนตามที่ ว. กำหนดไว้ในหนังสือแต่งตั้งผู้รับผลประโยชน์โดยหาได้ต้องห้ามหรือจะต้องให้แบ่งจ่ายเงินกองทุนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ของ พ.ร.บ.กองทุนสำรองเลี้ยงชีพฯ มาตรา 23 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2551/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและการพิสูจน์ข้อเท็จจริงเรื่องการยักยอกเงิน จำเป็นต้องไต่สวนเพิ่มเติม
หลังจากศาลฎีกามีคำสั่งให้รับอุทธรณ์ของจำเลยไว้พิจารณาแล้ว ศาลฎีกามีคำสั่งให้ศาลแรงงานกลางส่งสำเนาคำร้องที่ ร. ผู้ร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่โจทก์และไต่สวนคำร้องว่าข้อเท็จจริงเป็นไปตามคำร้องหรือไม่ ศาลแรงงานกลางดำเนินการตามคำสั่งศาลฎีกาแล้ว แต่มีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องเข้าเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ด้วยซึ่งเป็นการไม่ชอบ เพราะเมื่อมีการสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยไว้พิจารณาแล้ว การสั่งเรื่องขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะอยู่ในอำนาจของศาลฎีกา จึงให้ยกคำสั่งศาลแรงงานกลางที่อนุญาตให้ผู้ร้องเข้าเป็นคู่ความแทนที่โจทก์เสีย แต่เนื่องจากมีการไต่สวนพยานหลักฐานแล้ว ได้ความว่าผู้ร้องเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์และโจทก์ถึงแก่กรรมแล้วจึงอนุญาตให้ ร. ผู้ร้องเข้าเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ผู้มรณะได้
ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยเพียงว่า ว. ผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรบุคคลของจำเลยได้สอบสวนอย่างไร และวินิจฉัยว่าการที่จำเลยอ้างว่าโจทก์ยักยอกเงินของเพื่อนพนักงานซึ่งจำเลยถือว่าโจทก์ทำผิดระเบียบของโรงแรมจำเลยนั้น การยักยอกเงินของเพื่อนพนักงานไม่ได้ระบุไว้ในระเบียบข้อบังคับว่าเป็นความผิดร้ายแรงด้วย การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทันทีโดยโจทก์มิได้กระทำผิดร้ายแรง จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและไม่ชอบด้วย กฎหมาย อันมีความหมายว่า แม้ข้อเท็จจริงฟังได้ตามข้อต่อสู้ของจำเลยว่า โจทก์ยักยอกเงินที่แขกทิปให้พนักงานก็ยังไม่ถือว่าเป็นความผิดร้ายแรง เท่ากับศาลแรงงานกลางยังไม่ได้วินิจฉัยชี้ชัดว่าโจทก์ได้กระทำการยักยอกเงินที่แขกทิปให้พนักงานหรือไม่ จึงยังไม่อาจนำข้อเท็จจริงในปัญหาเรื่องนี้ไปวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายว่าโจทก์ทุจริตต่อหน้าที่หรือไม่ เห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยข้อเท็จจริงเพิ่มเติมเกี่ยวกับการกระทำของโจทก์ตามที่จำเลยให้การต่อสู้เสียก่อน
ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยเพียงว่า ว. ผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรบุคคลของจำเลยได้สอบสวนอย่างไร และวินิจฉัยว่าการที่จำเลยอ้างว่าโจทก์ยักยอกเงินของเพื่อนพนักงานซึ่งจำเลยถือว่าโจทก์ทำผิดระเบียบของโรงแรมจำเลยนั้น การยักยอกเงินของเพื่อนพนักงานไม่ได้ระบุไว้ในระเบียบข้อบังคับว่าเป็นความผิดร้ายแรงด้วย การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทันทีโดยโจทก์มิได้กระทำผิดร้ายแรง จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและไม่ชอบด้วย กฎหมาย อันมีความหมายว่า แม้ข้อเท็จจริงฟังได้ตามข้อต่อสู้ของจำเลยว่า โจทก์ยักยอกเงินที่แขกทิปให้พนักงานก็ยังไม่ถือว่าเป็นความผิดร้ายแรง เท่ากับศาลแรงงานกลางยังไม่ได้วินิจฉัยชี้ชัดว่าโจทก์ได้กระทำการยักยอกเงินที่แขกทิปให้พนักงานหรือไม่ จึงยังไม่อาจนำข้อเท็จจริงในปัญหาเรื่องนี้ไปวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายว่าโจทก์ทุจริตต่อหน้าที่หรือไม่ เห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยข้อเท็จจริงเพิ่มเติมเกี่ยวกับการกระทำของโจทก์ตามที่จำเลยให้การต่อสู้เสียก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2474/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องหนี้และการฟ้องบังคับจำนอง: สิทธิเรียกร้องขาดอายุความเมื่อฟ้องไม่บังคับจำนอง
ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคสามบัญญัติห้ามมิให้เจ้าหนี้ฟ้องบังคับตามสิทธิเรียกร้องอันมีต่อเจ้ามรดกเมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่เมื่อเจ้าหนี้ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก แม้บทกฎหมายหนี้จะอยู่ภายใต้บังคับของมาตรา 193/27 แห่ง ป.พ.พ. เป็นผลให้เจ้าหนี้จำนองยังคงมีสิทธิฟ้องบังคับชำระหนี้แม้ว่าสิทธิเรียกร้องส่วนที่เป็นประธานจะขาดอายุความแล้วก็ตาม แต่ก็ต้องเป็นกรณีที่เจ้าหนี้ฟ้องบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนองเท่านั้น การที่โจทก์ฟ้องว่า บ. ร่วมกับจำเลยที่ 1 จำนองที่ดินเป็นประกันหนี้เงินกู้ ต่อมา บ. ถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นทายาทโดยธรรมของ บ. ขอให้จำเลยทั้งสี่ชำระหนี้อันเป็นต้นเงินและดอกเบี้ยมิได้ขอให้บังคับชำระหนี้จากที่ดินที่จำนอง จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ใช้สิทธิฟ้องเรียกให้ชำระหนี้เงินกู้อย่างเจ้าหนี้สามัญมิใช่ฟ้องบังคับจำนองถึงไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 193/27 ต้องนำอายุความ 1 ปี ตามมาตรา 1754 วรรคสาม มาใช้บังคับ เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าโจทก์รู้ถึงความตายของ บ. ตั้งแต่วันที่ 22 สิงหาคม 2548 แต่โจทก์ฟ้องคดีจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 วันที่ 26 มกราคม 2550 พ้นกำหนด 1 ปี นับแต่โจทก์ได้รู้ถึงความตายของ บ. สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในหนี้เงินกู้อันเป็นหนี้ประธานจึงขาดอายุความ ดอกเบี้ยซึ่งเป็นสิทธิเรียกร้องส่วนที่เป็นอุปกรณ์ย่อมขาดอายุความด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/26 ฟ้องโจทก์ในส่วนจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จึงขาดอายุความแล้ว
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (1) บัญญัติให้สิทธิเรียกร้องในดอกเบี้ยค้างชำระนับย้อนหลังขึ้นไปตั้งแต่วันฟ้องเมื่อพ้นกำหนด 5 ปี จึงเป็นอันขาดอายุความ เมื่อโจทก์ฟ้องคดีวันที่ 26 มกราคม 2550 ดอกเบี้ยที่โจทก์เรียกร้องตั้งแต่วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2541 ถึงวันที่ 25 มกราคม 2545 จึงเกิน 5 ปี และขาดอายุความแล้ว
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (1) บัญญัติให้สิทธิเรียกร้องในดอกเบี้ยค้างชำระนับย้อนหลังขึ้นไปตั้งแต่วันฟ้องเมื่อพ้นกำหนด 5 ปี จึงเป็นอันขาดอายุความ เมื่อโจทก์ฟ้องคดีวันที่ 26 มกราคม 2550 ดอกเบี้ยที่โจทก์เรียกร้องตั้งแต่วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2541 ถึงวันที่ 25 มกราคม 2545 จึงเกิน 5 ปี และขาดอายุความแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2474/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องหนี้และการฟ้องบังคับจำนอง: การฟ้องเรียกชำระหนี้เงินกู้กับทายาทเมื่อเลยกำหนดอายุความ และการฟ้องบังคับจำนอง
ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคสามอยู่ใต้บังคับมาตรา 193/27 เป็นผลให้เจ้าหนี้จำนองยังคงมีสิทธิฟ้องบังคับชำระหนี้ แม้ว่าสิทธิเรียกร้องส่วนที่เป็นประธานจะขาดอายุความแล้ว แต่ก็ต้องเป็นกรณีที่เจ้าหนี้จำนองฟ้องบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนอง อันเป็นการบังคับตามทรัพยสิทธิเหนือทรัพย์สินนั้น แม้โจทก์กล่าวอ้างมาในคำฟ้องว่า บ. ร่วมกับจำเลยที่ 1 จำนองที่ดินเพื่อเป็นประกันหนี้เงินกู้ แต่โจทก์เพียงแต่ขอให้บังคับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ในฐานะทายาทโดยธรรมของ บ. ชำระหนี้อันเป็นตัวเงินคืนต้นเงินและดอกเบี้ย มิได้ขอให้บังคับชำระหนี้จากที่ดินที่จำนองจึงเป็นเรื่องที่โจทก์ใช้สิทธิฟ้องเรียกให้ชำระหนี้เงินกู้อย่างเจ้าหนี้สามัญ มิใช่ฟ้องบังคับจำนอง กรณีจึงไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 193/27 จึงต้องนำอายุความ 1 ปี ตามมาตรา 1754 วรรคสาม มาใช้บังคับแก่คดี
โจทก์ได้รู้ถึงความตายของ บ. ตั้งแต่วันที่ 22 สิงหาคม 2548 แต่โจทก์นำคดีมาฟ้องจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2550 ซึ่งพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่โจทก์ได้รู้ถึงความตายของ บ. สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในหนี้เงินกู้อันเป็นหนี้ประธานจึงขาดอายุความ ดอกเบี้ยซึ่งเป็นสิทธิเรียกร้องส่วนที่เป็นอุปกรณ์ย่อมเป็นอันขาดอายุความด้วย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/26
ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (1) บัญญัติให้สิทธิเรียกร้องดอกเบี้ยค้างชำระ มีกำหนดอายุความ 5 ปี สิทธิเรียกร้องในดอกเบี้ยค้างชำระที่พ้นกำหนดอายุความ 5 ปี นับย้อนหลังตั้งแต่วันฟ้องขึ้นไปจึงเป็นอันขาดอายุความ
โจทก์ได้รู้ถึงความตายของ บ. ตั้งแต่วันที่ 22 สิงหาคม 2548 แต่โจทก์นำคดีมาฟ้องจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2550 ซึ่งพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่โจทก์ได้รู้ถึงความตายของ บ. สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในหนี้เงินกู้อันเป็นหนี้ประธานจึงขาดอายุความ ดอกเบี้ยซึ่งเป็นสิทธิเรียกร้องส่วนที่เป็นอุปกรณ์ย่อมเป็นอันขาดอายุความด้วย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/26
ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (1) บัญญัติให้สิทธิเรียกร้องดอกเบี้ยค้างชำระ มีกำหนดอายุความ 5 ปี สิทธิเรียกร้องในดอกเบี้ยค้างชำระที่พ้นกำหนดอายุความ 5 ปี นับย้อนหลังตั้งแต่วันฟ้องขึ้นไปจึงเป็นอันขาดอายุความ