คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุทัศน์ ศิริมหาพฤกษ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,443 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 381/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายนัดพิจารณาคดีที่ถูกต้องตามภูมิลำเนาปัจจุบันของผู้ถูกฟ้องคดี และผลกระทบต่อการเพิกเฉยไม่ดำเนินคดี
เดิมขณะโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่บ้านเลขที่ 37 ต่อมาในปี 2540 โจทก์จำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาตามยอมแล้ว ต่อมาในปี 2545 จำเลยย้ายภูมิลำเนาไปอยู่ที่บ้านเลขที่ 43 การติดต่อยื่นคำร้องและคำแถลงต่อศาลหลังจากนั้นจำเลยระบุภูมิลำเนาคือบ้านเลขที่ 43 ทั้งสิ้น การที่ต่อมาเจ้าพนักงานศาลส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 และแจ้งให้จำเลยเสียค่าขึ้นศาลให้ถูกต้องได้กระทำในเดือนมกราคม 2550 ซึ่งเป็นระยะเวลาหลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอมเกือบ 10 ปี เจ้าพนักงานศาลน่าจะตรวจสอบที่อยู่ของจำเลยในสายงานว่ามีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าเจ้าพนักงานศาลส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 และแจ้งให้จำเลยเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ให้แก่จำเลยโดยปิดหมายตามภูมิลำเนาเดิมคือบ้านเลขที่ 37 ซึ่งจำเลยย้ายที่อยู่ออกไปแล้ว จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการส่งหมายโดยชอบและถือไม่ได้ว่าจำเลยทราบนัดแล้ว การที่จำเลยมิได้มาฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 และมิได้นำเงินค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์มาวางศาลเพิ่มตามนัด จึงไม่เป็นการเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 307/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องบังคับภาระจำยอมต้องเป็นเจ้าของที่ดิน การใช้ทางต่อเนื่องไม่ทำให้เกิดภาระจำยอม
ป.พ.พ. มาตรา 1387 บัญญัติให้ภาระจำยอมเป็นทรัพยสิทธิที่กฎหมายก่อตั้งขึ้นสำหรับเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ ผู้ที่จะฟ้องบังคับภาระจำยอมจึงต้องเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์นั้น โจทก์ที่ 2 เป็นเพียงผู้ดำเนินกิจการโรงเรียนซึ่งปลูกสร้างอยู่บนที่ดินของโจทก์ที่ 1 จึงไม่ใช่เจ้าของที่ดิน ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยให้เปิดทางภาระจำยอม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 307/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องภาระจำยอม: เจ้าของที่ดินเท่านั้นที่ฟ้องบังคับได้ การได้สิทธิภาระจำยอมจากการครอบครอง
ป.พ.พ. มาตรา 1387 บัญญัติให้ภาระจำยอมเป็นทรัพย์สิทธิที่กฎหมายก่อตั้งขึ้นสำหรับเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ ฉะนั้นผู้ที่จะฟ้องบังคับภาระจำยอมจำต้องเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์นั้น โจทก์ที่ 2 เป็นเพียงผู้ดำเนินกิจการโรงเรียน จ. ซึ่งปลูกสร้างอยู่บนที่ดินพิพาทของโจทก์ที่ 1 จึงไม่ใช่เจ้าของที่ดิน ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยให้เปิดทาง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 296-297/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเหมาค่าก่อสร้าง, ความรับผิดของผู้รับเหมาและผู้ค้ำประกัน, ค่าเสียหาย, การแก้ไขคำพิพากษา
ว. กรรมการผู้มีอำนาจอีกคนหนึ่งของจำเลยที่ 1 เคยมีหนังสือแจ้งให้จำเลยที่ 2 ระงับการชำระเงินตามสัญญาค้ำประกันไว้ก่อนโดยระบุว่าคดีได้ขึ้นสู่ศาลแล้วซึ่งเป็นหนังสือลงวันที่ 2 เมษายน 2546 ดังนั้น ข้ออ้างของจำเลยที่ 1 ว่าเพิ่งทราบเรื่องที่ถูกโจทก์ฟ้องเมื่อวันที่ 11 เมษายน 2546 จึงรับฟังไม่ได้ น่าเชื่อว่าจำเลยที่ 1 ทราบดีอยู่แล้วว่าถูกโจทก์ฟ้อง อย่างช้าที่สุดก็ในวันที่ 2 เมษายน 2546 ซึ่งเป็นวันที่ ว. ทำหนังสือไปถึงจำเลยที่ 2 และเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นคำให้การของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ยังมีเวลาอีกหลายวันพอแก่การจัดทำคำให้การเพื่อยื่นต่อศาลได้ เนื่องจากวันที่ 12 เมษายน 2546 ซึ่งครบกำหนดยื่นคำให้การเป็นวันเสาร์ ต่อจากนั้นเป็นวันหยุดตรุษสงกรานต์ซึ่งศาลหยุดทำการ แต่จำเลยที่ 1 ก็หาได้จัดทำคำให้การมายื่นต่อศาลในวันแรกที่ศาลเปิดทำการไม่ จนกระทั่งเมื่อวันที่ 24 เมษายน 2546 ซึ่งล่วงพ้นกำหนดยื่นคำให้การไปแล้วหลายวัน จำเลยที่ 1 จึงได้ยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การโดยอ้างเหตุซึ่งไม่เป็นความจริง พฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวแสดงว่า จำเลยที่ 1 มิได้สนใจเกี่ยวกับการที่ถูกโจทก์ฟ้องและไม่เอาใจใส่ที่จะดำเนินการต่อสู้คดี ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การโดยไม่จงใจหรือมีเหตุอันสมควรที่ศาลจะอนุญาตให้จำเลยที่ 1 ยื่นคำให้การได้
สัญญาค้ำประกันข้อ 2 ระบุว่า จำเลยที่ 2 รับรองว่าขณะใดที่ได้รับหนังสือแจ้งความจากโจทก์ว่า จำเลยที่ 1 ปฏิบัติผิดสัญญาและไม่ชำระหนี้ให้โจทก์ จำเลยที่ 2 ยอมชำระเงินแทนภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งความดังกล่าวแต่โจทก์จะต้องแจ้งเหตุแห่งการปฏิบัติผิดสัญญาให้จำเลยที่ 2 ทราบภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่เหตุการณ์นั้น ๆ ได้เกิดขึ้น ข้อความดังกล่าวเป็นการค้ำประกันจำเลยที่ 1 โดยไม่มีเงื่อนไข แม้ข้อความตอนท้ายระบุให้โจทก์แจ้งให้จำเลยที่ 2 ทราบภายในกำหนด 15 วัน ก็เป็นเพียงกำหนดเวลาที่จะต้องแจ้งให้ผู้ค้ำประกันรู้ตัวว่าจะต้องรับผิดเท่านั้น หาใช่เงื่อนไขจำกัดความรับผิดของผู้ค้ำประกันแต่อย่างใดไม่เพราะข้อความในสัญญาข้อ 2 ดังกล่าวมิได้ระบุไว้เช่นนั้นโดยชัดแจ้ง การที่โจทก์มิได้แจ้งให้จำเลยที่ 2 ทราบถึงการปฏิบัติผิดสัญญาของจำเลยที่ 1 ภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่จำเลยที่ 1 ปฏิบัติผิดสัญญา จึงไม่ทำให้จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นความรับผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 295/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา การบังคับคดีต้องสอดคล้องกับข้อเท็จจริงที่รับฟังในคดีอาญา
เรื่องคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 46 ในคดีอาญาพนักงานอัยการบรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองบุกรุกที่ดินของโจทก์ โดยจำเลยทั้งสองร่วมกันสร้างบ้านพักอาศัยเป็นบ้านชั้นเดียว ตัวบ้านทิศตะวันตกล้ำเข้ามาในที่ดินของโจทก์ด้านหลังบ้านมีสุขา และเล้าไก่ อยู่ในที่ดินของโจทก์ จำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพข้อหาบุกรุก ข้อเท็จจริงจึงต้องฟังว่า บ้าน สุขา และเล้าไก่ของจำเลยทั้งสองปลูกสร้างบนที่ดินของโจทก์ ซึ่งศาลอุทธรณ์ภาค 5 ได้พิพากษาคดีส่วนแพ่งให้จำเลยทั้งสองรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจากที่ดินพิพาทตามแผนที่พิพาทที่ทำไว้ในคดีอาญา ในการปฎิบัติตามคำพิพากษาศาลุอทธรณ์ภาค 5 ที่จำเลยทั้งสองต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจึงต้องถือตามแนวที่ปรากฏในแผนที่พิพาทดังกล่าว เพราะหากถือตามแนวที่เจ้าพนักงานที่ดินรังวัดบ้านของจำเลยทั้งสองก็จะอยู่นอกแนวและไม่ถูกบังคับคดีซึ่งไม่ตรงกับข้อเท็จจริงที่รับฟังได้ในคดีอาญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 220/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่ชอบ หากโต้แย้งเฉพาะคำร้องแก้ไขฟ้อง ไม่โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
ฎีกาของจำเลยเพียงแต่โต้แย้งคัดค้านคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องของโจทก์ มิได้ฎีกาโต้แย้งคัดค้านว่าคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไม่ชอบอย่างไรและจำเลยไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษาอุทธรณ์เพราะเหตุใด จึงเป็นฎีกาที่มิได้คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 216 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15179/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตควบคุมการแปรรูปไม้: โจทก์ไม่นำสืบประกาศ แต่จำเลยไม่โต้แย้ง ถือว่าจำเลยทราบแล้ว ศาลลงโทษได้
มาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.ป่าไม้ ฯ ที่กำหนดให้คัดสำเนาประกาศรัฐมนตรีซึ่งกำหนดขึ้นตามบทแห่งกฎหมายดังกล่าวประกาศไว้ตามสถานที่ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องนั้นเป็นแต่เพียงการกำหนดวิธีการให้พนักงานเจ้าหน้าที่กระทำในการประกาศให้ทราบถึงประกาศรัฐมนตรีเท่านั้น ไม่ใช่บทบังคับอันเป็นองค์ประกอบความผิด การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยร่วมกับพวกมีไม้สักแปรรูปไว้ในครอบครองภายในเขตควบคุมการแปรรูปไม้ตามประกาศของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร ลงวันที่ 3 พฤศจิกายน 2499 โดยประกาศดังกล่าวได้มีการคัดสำเนาประกาศไว้ ณ สถานที่ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องให้ทราบโดยทั่วกัน และจำเลยกับพวกได้ทราบแล้ว ซึ่งจำเลยไม่เคยโต้เถียงทั้งไม่ฎีกาว่าท้องที่เกิดเหตุมิใช่เขตควบคุมการแปรรูปไม้ แสดงว่าจำเลยทราบประกาศดังกล่าวแล้ว หากจำเลยเห็นว่ายังไม่ได้มีการปิดประกาศดังกล่าว ซึ่งจะใช้บังคับแก่จำเลยไม่ได้ ก็เป็นข้อที่จำเลยจะต่อสู้ขึ้นมาให้เห็นเป็นประเด็นในศาลชั้นต้น ดังนั้น แม้โจทก์จะมิได้นำสืบให้เห็นว่า ได้มีการคัดสำเนาประกาศกระทรวงเกษตร เรื่อง กำหนดเขตควบคุมการแปรรูปไม้ตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ ฯ ปิดประกาศไว้ ณ สถานที่ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ก็ลงโทษจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15179/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประกาศเขตควบคุมการแปรรูปไม้ตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ การพิสูจน์ทราบประกาศไม่ใช่องค์ประกอบความผิด
มาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 ที่กำหนดให้คัดสำเนาประกาศรัฐมนตรีซึ่งกำหนดขึ้นตามบทแห่งกฎหมายดังกล่าวประกาศไว้ตามสถานที่ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องนั้นเป็นแต่เพียงการกำหนดวิธีการให้พนักงานเจ้าหน้าที่ที่กระทำในการประกาศให้ทราบถึงประกาศรัฐมนตรีเท่านั้น ไม่ใช่บทบังคับอันเป็นองค์ประกอบความผิดการที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยร่วมกับพวกมีไม้สักแปรรูปไว้ในครอบครองภายในเขตควบคุมการแปรรูปไม้ตามประกาศของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร ลงวันที่ 3 พฤศจิกายน 2499 โดยประกาศดังกล่าวได้มีการคัดสำเนาประกาศไว้ ณ สถานที่ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องให้ทราบโดยทั่วกัน และจำเลยกับพวกได้ทราบแล้ว ดังนั้น แม้โจทก์จะมิได้นำสืบให้เห็นว่า ได้มีการคัดสำเนาประกาศกระทรวงเกษตร เรื่องกำหนดเขตควบคุมการประรูปไม้ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 ปิดประกาศไว้ ณ สถานที่ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ก็ลงโทษจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13116-14666/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ่ายบำเหน็จดำรงชีพของรัฐวิสาหกิจ จำเป็นต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์และคณะรัฐมนตรี
บำเหน็จดำรงชีพแตกต่างจากบำเหน็จตกทอดทั้งตัวผู้รับคือบำเหน็จดำรงชีพจ่ายให้ตัวผู้รับบำนาญเองแต่บำเหน็จตกทอดจ่ายให้ทายาทผู้มีสิทธิหลังจากผู้ได้รับบำนาญถึงแก่ความตายแล้ว และบำเหน็จดำรงชีพเป็นการเร่งระยะเวลาที่ต้องจ่ายเงินให้เร็วขึ้นจากที่ทยอยจ่ายตามอายุขัยของผู้ได้รับบำนาญมาเป็นการจ่ายตามคำขอของผู้รับบำนาญในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ ดังนั้นการที่จำเลยจะอนุโลมเอาการจ่ายบำเหน็จดำรงชีพมาใช้ในข้อบังคับของจำเลยฉบับที่ 4.9 ตามข้อ 17 วรรคสอง จึงมีการเปลี่ยนแปลงในหลักการของสภาพการจ้างที่เป็นตัวเงินเกิดขึ้น ทำให้ลักษณะการจ่ายเงินสงเคราะห์ตกทอดแก่ทายาทแตกต่างไปจากเดิมทั้งตัวผู้รับและกำหนดเวลาที่ได้รับ กับลักษณะการจ่ายเงินจากทยอยจ่ายตามอายุขัยของผู้ที่ได้รับเงินสงเคราะห์เป็นรายเดือนในอนาคตก็เปลี่ยนเป็นจ่ายตามความประสงค์ของผู้ที่ได้รับเงินสงเคราะห์เป็นรายเดือนที่ยังมีชีวิตอยู่ การจ่ายบำเหน็จดำรงชีพเป็นการเพิ่มภาระทางการเงินของจำเลยในปัจจุบันจำเลยไม่สามารถจ่ายบำเหน็จดำรงชีพได้โดยงบประมาณของจำเลยเองจนจำเลยต้องขอคณะรัฐมนตรีให้สนับสนุนเป็นเงินทุน 1,469 ล้านบาทเศษ และเป็นเงินทุนสนับสนุนรายปีจากรัฐบาลเมื่อจำเลยเห็นสมควรให้แก้ไขหลักการในสภาพการจ้างที่เกี่ยวกับการเงินโดยจ่ายบำเหน็จดำรงชีพตาม พ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ 21) พ.ศ.2546 กรณีจึงอยู่ในบังคับของ พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2543 มาตรา 13 เมื่อไม่ปรากฏว่าคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์เสนอต่อคณะรัฐมนตรีกำหนดขอบเขตสภาพการจ้างเกี่ยวกับบำเหน็จดำรงชีพสำหรับจำเลยที่จำเลยอาจดำเนินการเองได้ตามมาตรา 13 (2) และไม่ปรากฏว่าจำเลยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์และคณะรัฐมนตรีให้ปรับปรุงสภาพการจ้างให้จ่ายบำเหน็จดำรงชีพตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 13 วรรคสามแล้ว ศาลฎีกาย่อมไม่อาจบังคับให้จำเลยดำเนินการจ่ายบำเหน็จดำรงชีพให้โจทก์ทั้งหนึ่งพันห้าร้อยห้าสิบเอ็ดได้ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5), 246 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10899-10901/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดพรากผู้เยาว์ ตัวการ-ผู้สนับสนุน การพิสูจน์เจตนาและบทบาทของจำเลย
ความผิดฐานพรากผู้เยาว์สำเร็จ นับแต่จำเลยที่ 1 เริ่มพรากผู้เยาว์ขึ้นรถยนต์กระบะบริเวณหลังหอพักโดยมีเจตนาเพื่อการอนาจาร ดังนั้น ไม่ถือว่าผู้เยาว์อยู่ในความปกครองดูแลของบิดามารดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลแล้ว เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 4 และที่ 5 ได้ร่วมรู้เห็นหรือคบคิดกับจำเลยที่ 1 ในการพรากผู้เยาว์ตั้งแต่ต้น จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 4 และที่ 5 เป็นตัวการร่วมกับจำเลยที่ 1 ในการพรากผู้เยาว์ การที่จำเลยที่ 4 และที่ 5 ขับรถและเรือพาจำเลยที่ 1 และผู้เยาว์ไปส่งที่บ้าน ช. เป็นระยะเวลาหลังมีการกระทำความผิดฐานพรากผู้เยาว์สำเร็จแล้ว ไม่ใช่ก่อนหรือขณะกระทำความผิด จึงหาใช่เป็นตัวการหรือผู้สนับสนุนตาม ป.อ. มาตรา 83 และ 86
of 245